คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประพันธ์ ทรัพย์แสง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 352 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 238/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้เสียหายต้องเป็นผู้ฟ้องเอง
คดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้ววินิจฉัยว่า โจทก์มิใช่ผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ให้ยกฟ้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นที่ให้ยกฟ้อง คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาไม่ว่าจะเป็นปัญหาข้อเท็จจริงหรือปัญหาข้อกฎหมายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 210/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาแก้เรื่องการลงโทษคดีฉ้อโกงโดยใช้หนังสือเดินทางปลอม ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์ว่าเป็นการกระทำกรรมเดียว
จำเลยปลอมหนังสือเดินทางของประเทศอังกฤษและใช้หนังสือเดินทางปลอมอ้างแสดงเป็นหลักฐานต่อธนาคาร ก. ในการเปิดบัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์ชื่อเจ้าของบัญชี นายแนท เวสต์แบงค์ (NAT WESTBANK) เพื่อหลอกลวงให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าหากโอนเงินเข้าฝากในบัญชีที่เปิดไว้นี้ จะได้รับดอกเบี้ยร้อยละ 8 ต่อปี เป็นเหตุให้ผู้เสียหายหลงเชื่อโอนเงินเข้าบัญชีที่จำเลยเปิดไว้ดังกล่าว การกระทำของจำเลยก็เพื่อเจตนาเพียงประการเดียวก็คือเพื่อฉ้อโกงเงินจากผู้เสียหาย จึงเป็นการกระทำความผิดกรรมเดียวแต่ผิดกฎหมายหลายบท
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นให้รอการลงโทษจำคุกจำเลยไว้อันเป็นการแก้ไขมาก แต่ยังลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 40,000 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 219 ที่โจทก์ฎีกาขอให้ไม่รอการลงโทษจำคุกแก่จำเลยเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 100/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการใช้รายงานสืบเสาะพินิจประกอบการลงโทษ และเหตุไม่รอการลงโทษคดีลักรถ
ในคดีอาญาเมื่อศาลเห็นสมควรย่อมมีอำนาจสั่งให้พนักงานคุมประพฤติทำการสืบเสาะและพินิจจำเลยแล้วทำรายงานพร้อมทั้งความเห็นเสนอต่อศาล เพื่อประกอบการใช้ดุลพินิจลงโทษจำเลยได้ เมื่อจำเลยที่ 3 ไม่ได้โต้แย้งว่ารายงานดังกล่าวไม่ถูกต้อง ศาลย่อมหยิบยกข้อเท็จจริงตามรายงานมาประกอบการวินิจฉัยได้ ไม่ว่าจะเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่จำเลยที่ 3 การที่ศาลล่างทั้งสองหยิบยกเอาพฤติกรรมการกระทำความผิดหรือพฤติการณ์อันเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตามรายงานการสืบเสาะและพินิจจำเลยที่ 3 ของพนักงานคุมประพฤติมาประกอบการใช้ดุลพินิจลงโทษจำเลยที่ 3 นั้น จึงชอบแล้ว
ในปัจจุบันคดีลักรถจักรยานยนต์มีเป็นจำนวนมาก สร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชนโดยทั่วไป และพฤติการณ์หลังจากที่จำเลยทั้งสามลักรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายแล้ว จำเลยทั้งสามช่วยกันถอดแผ่นป้ายทะเบียนรถและแผ่นป้ายประกันภัย ทั้งลอกสติกเกอร์ที่ติดรถออกเพื่อไม่ให้ผู้อื่นทราบว่าเป็นรถที่ถูกลักมา แสดงว่าจำเลยที่ 3 รู้สำนึกว่าการกระทำของตนกับพวกเป็นความผิด แต่จำเลยที่ 3 ยังคงกระทำความผิดโดยไม่สนใจในความเดือดร้อนของผู้อื่น นับว่าเป็นเรื่องร้ายแรงไม่มีเหตุผลที่จะรับฟังเพื่อรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยที่ 3 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10872/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจากสัญญาประนีประนอมยอมความ vs. สิทธิได้มาโดยครอบครองปรปักษ์: ผลผูกพันต่อบุคคลภายนอก
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับ ส. เป็นเพียงบุคคลสิทธิซึ่งผูกพันเฉพาะคู่กรณี แม้ศาลจะพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์ก็เพียงแต่อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนเท่านั้น แต่สิทธิของผู้ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 เป็นสิทธิที่เกิดขึ้นด้วยผลของกฎหมาย เมื่อศาลพิพากษาถึงที่สุดยืนยันสิทธิดังกล่าว ผลของคำพิพากษาย่อมผูกพัน ส. กับพวก ซึ่งมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทร่วมกันทุกคน และผลของคำพิพากษานั้นใช้ยันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 (2) คำสั่งของจำเลยทั้งสองที่ให้จดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ก่อนการจดทะเบียนสิทธิให้แก่โจทก์จึงถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8113/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน ส.ค.1 และการปฏิรูปที่ดิน: การโอนสิทธิและผลกระทบต่อการครอบครอง
ตาม พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 12 วรรคสาม คำว่า "สิทธิในที่ดินที่บุคคลมีอยู่ตามประมวลกฎหมายที่ดิน" นั้น เมื่อพิจารณาจาก พ.ร.บ. ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 5 ซึ่งบัญญัติรับรองถึงสิทธิของผู้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ สิทธิในที่ดินที่บุคคลมีอยู่ตามประมวลกฎหมายที่ดินจึงหมายรวมถึงสิทธิครอบครองตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค. 1) ด้วย เมื่อ พ. ได้ขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินที่มีสิทธิครอบครองตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค. 1) ให้แก่จำเลย และจำเลยได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา จึงแสดงให้เห็นว่า พ. ได้สละสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทและโอนที่ดินพิพาทโดยการส่งมอบการครอบครองให้แก่จำเลย เมื่อจำเลยรับโอนมาโดยชอบ จำเลยจึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท ตามประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 59 วรรคสอง โจทก์จึงไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทและไม่มีอำนาจนำที่ดินที่พิพาทมาใช้ในการปฏิรูปเพื่อเกษตรกรรม ตาม พ.ร.บ. การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา 26 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7368/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำโดยเจตนาทำร้ายผู้อื่น ไม่ถึงแก่ความตาย ไม่เป็นตัวการร่วมกันฆ่า
ผู้ตายกับ ช. ชกต่อยกับ ก. และ ร. ระหว่างนั้น ว. วิ่งเข้าไปใช้อาวุธมีดฟันศีรษะผู้ตาย 9 ที แล้ววิ่งหนีไป ต่อมาจำเลยวิ่งไปใช้ขวดตีศีรษะผู้ตาย โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงใดที่แสดงว่าจำเลย ก. ร. และ ว. ร่วมกันคบคิดจะฆ่าผู้ตายมาก่อน ผู้ตายกับจำเลยและพวกไม่เคยมีสาเหตุโกรธเคืองอย่างรุนแรงถึงขนาดจะเอาชีวิตกันมาก่อน จำเลยไม่เคยรู้จักกับผู้ตาย เบื้องต้นจำเลยกับพวกมีวัตถุประสงค์มาเที่ยวงานวัด จำเลยไม่ทราบมาก่อนว่า ว. มีอาวุธ ก. กับ ร. ไม่ได้ชักชวนให้จำเลยไปทำร้ายผู้ตาย เหตุที่จำเลยใช้ขวดตีทำร้ายผู้ตายเกิดจากความไม่พอใจและหมั่นไส้ในกิริยาท่าทางและมีอาการเมาสุราเท่านั้น และเหตุที่จำเลยกับพวกวิ่งหนีไปขึ้นรถจักรยานยนต์ด้วยกัน เพราะเมื่อตอนมาเที่ยวงานวัดที่เกิดเหตุจำเลยกับพวกมาด้วยกันจึงต้องกลับด้วยกัน บาดแผลที่ผู้ตายได้รับมิใช่ผลโดยตรงที่เกิดจากการกระทำของจำเลย การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานเป็นตัวการร่วมกันฆ่าผู้อื่น การกระทำของจำเลยเป็นเพียงความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นไม่ถึงกับเป็นเหตุให้ถึงอันตรายแก่กายและจิตใจ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391 เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7105/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ใบสั่งจ่ายสินค้าปุ๋ย: สิทธิของผู้รับโอนโดยสุจริต และหน้าที่ของผู้ออกปุ๋ยตามประเพณีค้าขาย
ตามปกติของการซื้อขายปุ๋ยของจำเลยที่ 1 เมื่อมีผู้นำใบสั่งจ่ายสินค้ามาขอรับปุ๋ยจำเลยที่ 1 จะส่งมอบปุ๋ยให้โดยมิต้องตรวจสอบว่าผู้นำใบสั่งจ่ายสินค้ามาขอรับปุ๋ยเป็นใคร มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยที่ 1 หรือไม่ ทั้งด้านหลังของใบสั่งจ่ายสินค้ามีข้อความคำเตือน 3 ข้อ โดยข้อหนึ่งระบุว่าต้องให้ผู้โอนลงลายมือชื่อรับรองและด้านล่างมีช่องให้ผู้โอนลงลายมือชื่อด้วย แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 และลูกค้าที่มาซื้อปุ๋ยมีข้อตกลงโดยปริยายแต่ต้นว่าผู้ซื้อสามารถโอนขายใบสั่งจ่ายสินค้าให้แก่บุคคลใดก็ได้ และจำเลยที่ 1 จะมอบปุ๋ยแก่ผู้นำใบสั่งจ่ายสินค้ามาแสดง ใบสั่งจ่ายสินค้าจึงเป็นเอกสารที่อาศัยความไว้วางใจกันในประเพณีในวงการค้าขายปุ๋ยว่า จำเลยที่ 1 สัญญาจะส่งมอบปุ๋ยแก่ผู้นำใบสั่งจ่ายสินค้ามารับปุ๋ยจากจำเลยที่ 1 ดังนั้นโจทก์ในฐานะผู้ครอบครองตั๋วปุ๋ยหรือใบสั่งจ่ายสินค้าซึ่งซื้อปุ๋ยจากจำเลยที่ 2 จึงสามารถนำไปรับหรือเบิกปุ๋ยจากจำเลยที่ 1 ได้ จำเลยที่ 1 จะยกเหตุส่วนตัวระหว่างร้าน อ. กับจำเลยที่ 2 มาปฏิเสธไม่ส่งมอบปุ๋ยแก่โจทก์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5182/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟ้องแย้งและการพิจารณาความเกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม กรณีรุกล้ำที่ดิน
ฟ้องแย้งเป็นคำฟ้องและเป็นคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(3)(5) การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้ง จึงเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตามมาตรา 18 วรรคห้า คู่ความมีสิทธิอุทธรณ์ได้ตามมาตรา 227 และ 228 ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยที่ขอให้รับฟ้องแย้งได้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยปลูกสร้างโรงเรือนบนที่ดินของจำเลยและสร้างรั้วคอนกรีตล้อมรอบรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ ขอให้จำเลยรื้อถอนรั้วคอนกรีตและอาคารที่รุกล้ำออกไป จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยปลูกสร้างอาคารและรั้วคอนกรีตโดยสุจริตจึงขอให้โจทก์จดทะเบียนโอนขายที่ดินส่วนที่รุกล้ำให้แก่จำเลยในราคา 100,000 บาทหากโจทก์ไม่ยอมก็ขอให้โจทก์จดทะเบียนสิทธิภารจำยอมให้แก่จำเลย โดยจำเลยยอมเสียเงินเป็นค่าใช้ที่ดินให้แก่โจทก์ 100,000 บาท ดังนี้หากฟังได้ว่า จำเลยปลูกสร้างอาคารและรั้วคอนกรีตรุกล้ำโดยสุจริตหรือฟังได้ด้วยว่ารั้วคอนกรีตติดตรึงเป็นส่วนหนึ่งของอาคารโรงเรือน จำเลยก็มีสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312ไม่ต้องรื้อถอนโรงเรือนส่วนที่รุกล้ำ แต่ต้องเสียค่าใช้ที่ดินให้แก่โจทก์และจดทะเบียนสิทธิเป็นภารจำยอมได้ ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมโดยตรง ชอบที่จะรับฟ้องแย้งไว้พิจารณาพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5182/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินโดยสุจริต: สิทธิภาระจำยอม vs. การรื้อถอน และการรวมพิจารณาฟ้องแย้ง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยปลูกสร้างโรงเรือนและรั้วคอนกรีตรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยไม่สุจริต ให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินของโจทก์ จำเลยให้การต่อสู้เพื่อขอให้ยกฟ้อง และฟ้องแย้งว่าจำเลยปลูกสร้างโรงเรือนและรั้วคอนกรีตอยู่บนที่ดินของโจทก์โดยสุจริต จึงขอให้โจทก์จดทะเบียนโอนขายที่ดินส่วนพิพาทให้แก่จำเลย หากโจทก์ไม่ยอมก็ขอให้โจทก์จดทะเบียนสิทธิภาระจำยอมให้แก่จำเลย โดยจำเลยยอมเสียเงินให้แก่โจทก์ 100,000 บาท ซึ่งจำเลยมีสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมโดยตรง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4690/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประโยชน์พระราชบัญญัติล้างมลทินกับการเพิ่มโทษทางอาญา: การพิจารณาโทษจำคุกหลังได้รับอภัยโทษ
แม้จำเลยที่ 1 จะให้การรับสารภาพว่ากระทำความผิดตามฟ้อง และศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 รวมทั้งเพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 จนคดีถึงที่สุดแล้วก็ตาม หากต่อมาจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นแก้ไขคำพิพากษาที่เพิ่มโทษจำเลยที่ 1 เนื่องจากจำเลยที่ 1 ได้รับประโยชน์จากพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พ.ศ. 2539 และถือว่าจำเลยที่ 1 ไม่เคยถูกลงโทษจำคุกมาก่อนตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ก็จะเพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 ไม่ได้
of 36