พบผลลัพธ์ทั้งหมด 352 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5333/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะทหารกองประจำการกับการเป็นข้าราชการเพื่อการลงโทษตามกฎหมายยาเสพติด
การที่บุคคลใดจะเป็นข้าราชการหรือไม่ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย หาใช่ว่าบุคคลใดที่ต้องไปปฏิบัติราชการแล้วจะมีฐานะเป็นข้าราชการเสมอไป ซึ่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521 มาตรา 4 บัญญัติว่า "ข้าราชการทหาร" หมายความว่า ทหารประจำการและข้าราชการกลาโหมพลเรือนที่บรรจุในตำแหน่งอัตราทหาร ส่วนคำว่า "ทหารกองประจำการ" หมายความว่า ทหารกองประจำการตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร และพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2479 มาตรา 4 (3) บัญญัติว่า "ทหารกองประจำการ" หมายความว่า ผู้ซึ่งขึ้นทะเบียนกองประจำการและได้เข้ารับราชการในกองประจำการจนกว่าจะได้ปลด และมาตรา 4 (8) บัญญัติว่า "ทหารประจำการ" หมายความว่า ทหารซึ่งรับราชการตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนดซึ่งไม่ใช่ทหารกองประจำการ จึงเห็นได้ว่าตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหารฯ และพระราชบัญญัติรับราชการทหารฯ ได้แยกทหารประจำการ และ ทหารกองประจำการไว้ต่างหากจากกัน เฉพาะทหารประจำการเท่านั้นที่ถือว่าเป็นข้าราชการ จะแปลความให้หมายความรวมถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นทหารกองประจำการว่าเป็นข้าราชการ อันจะต้องรับโทษหนักขึ้นเป็นสามเท่า ตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 10 ด้วย หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5333/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะข้าราชการของทหารกองประจำการตามกฎหมายยาเสพติด: การตีความข้อยกเว้น
การที่บุคคลใดจะเป็นข้าราชการหรือไม่ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายหาใช่ว่าบุคคลใดที่ต้องไปปฏิบัติราชการแล้วจะมีฐานะเป็นข้าราชการเสมอไป ซึ่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521 มาตรา 4 บัญญัติว่า "ข้าราชการ"หมายความว่า ทหารประจำการและข้าราชการกลาโหมพลเรือนที่บรรจุในตำแหน่งอัตราทหาร ส่วนคำว่า "ทหารกองประจำการ" หมายความว่า ทหารกองประจำการตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร และพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2479มาตรา 4(3) บัญญัติว่า "ทหารกองประจำการ" หมายความว่า ผู้ซึ่งขึ้นทะเบียนกองประจำการและได้เข้ารับราชการในกองประจำการจนกว่าจะได้ปลด และมาตรา 4(8)บัญญัติว่า "ทหารประจำการ" หมายความว่า ทหารซึ่งรับราชการตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนดซึ่งไม่ใช่ทหารกองประจำการ จึงเห็นได้ว่าตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหารฯ และพระราชบัญญัติรับราชการทหารฯ ได้แยกทหารประจำการ และ ทหารกองประจำการไว้ต่างหากจากกัน เฉพาะทหารประจำการเท่านั้นที่ถือว่าเป็นข้าราชการจะแปลความให้หมายความรวมเป็นจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นทหารกองประจำการว่าเป็นข้าราชการ อันจะต้องรับโทษหนักขึ้นเป็นสามเท่า ตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 10 ด้วยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4949/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีเดิมเรื่องค่าทดแทนเวนคืน ศาลตัดสินฟ้องใหม่เป็นฟ้องซ้อน เนื่องจากเป็นเรื่องเดียวกัน
คดีก่อนโจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินพิพาทซึ่งถูกเวนคืนเพิ่มขึ้นพร้อมดอกเบี้ยของเงินค่าทดแทนที่ดินที่ขอเพิ่มในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารออมสินร้อยละ 10.75 ต่อปี ส่วนคดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยเฉพาะดอกเบี้ยที่จำเลยคำนวณให้ในอัตราร้อยละ 9 ต่อปี จากเงินค่าทดแทนที่ดินพิพาทที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยวินิจฉัยเพิ่มให้โดยอ้างว่าการคำนวณดอกเบี้ยไม่ถูกต้อง จะเห็นได้ว่าสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับคดีนี้กับคดีก่อนเป็นอย่างเดียวกัน มูลกรณีที่โจทก์ทั้งสองมีสิทธิเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มและดอกเบี้ยก็เนื่องจากที่ดินแปลงเดียวกัน ดอกเบี้ยที่โจทก์ทั้งสองฟ้องในคดีนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของดอกเบี้ยที่ฟ้องไว้แล้วในคดีก่อน แม้ว่ารัฐมนตรีฯ จะมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสองมาภายหลังที่โจทก์ทั้งสองยื่นฟ้องก่อนแล้วก็ตาม ศาลในคดีก่อนก็ต้องพิพากษาให้ดอกเบี้ยแก่โจทก์ทั้งสองในเงินค่าทดแทนที่ดินที่เพิ่มขึ้นให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 26 วรรคท้าย เมื่อคดีนี้กับคดีก่อนเป็นเรื่องเดียวกัน โจทก์ทั้งสองนำคดีนี้มาฟ้องจำเลยในระหว่างพิจารณา จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1) โจทก์ทั้งสองไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้
การที่โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์ว่า ฟ้องของโจทก์ทั้งสองคดีนี้ไม่เป็นฟ้องซ้อน ขอให้รับคำฟ้องโจทก์ทั้งสองโดยย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาต่อไปนั้น เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งตาราง 1 ข้อ 2(ก)
การที่โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์ว่า ฟ้องของโจทก์ทั้งสองคดีนี้ไม่เป็นฟ้องซ้อน ขอให้รับคำฟ้องโจทก์ทั้งสองโดยย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาต่อไปนั้น เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งตาราง 1 ข้อ 2(ก)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4201/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องค่าจ้างจากสัญญาจ้างทำของที่แบ่งชำระเป็นงวดๆ เริ่มนับจากวันที่ส่งมอบงานครบถ้วน
การที่จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้พิมพ์หนังสือเป็นเรื่องจ้างทำของสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะให้จำเลยชำระค่าจ้างดังกล่าวมีกำหนดอายุความสองปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(1)
สัญญากำหนดชำระค่าจ้างเป็นงวด ๆ ตามงานที่เสร็จเป็นช่วง ๆ โจทก์จัดส่งหนังสือให้จำเลยครบถ้วนเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2538 ฉะนั้น อายุความของโจทก์ในการฟ้องเพื่อสิทธิเรียกร้องค่าจ้างงวดสุดท้ายจึงเริ่มนับแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2538 อันเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/12 เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2541 จึงเป็นเวลาเกินกว่าสองปีแล้ว จึงขาดอายุความ ตามมาตรา 193/9 การบรรยายฟ้องของโจทก์ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสภาพความเป็นจริงของสัญญาที่แบ่งชำระค่าจ้างเป็นงวด ๆ ให้กลายเป็นการชำระหนี้ให้บางส่วน เพื่อให้อายุความสะดุดหยุดลงตามมาตรา 193/14(1) ได้
สัญญากำหนดชำระค่าจ้างเป็นงวด ๆ ตามงานที่เสร็จเป็นช่วง ๆ โจทก์จัดส่งหนังสือให้จำเลยครบถ้วนเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2538 ฉะนั้น อายุความของโจทก์ในการฟ้องเพื่อสิทธิเรียกร้องค่าจ้างงวดสุดท้ายจึงเริ่มนับแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2538 อันเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/12 เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2541 จึงเป็นเวลาเกินกว่าสองปีแล้ว จึงขาดอายุความ ตามมาตรา 193/9 การบรรยายฟ้องของโจทก์ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสภาพความเป็นจริงของสัญญาที่แบ่งชำระค่าจ้างเป็นงวด ๆ ให้กลายเป็นการชำระหนี้ให้บางส่วน เพื่อให้อายุความสะดุดหยุดลงตามมาตรา 193/14(1) ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3942/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายไม่สมบูรณ์ จำเลยต้องคืนเงินที่รับไว้ให้โจทก์
โจทก์ทำสัญญาจองซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากบริษัทจำเลย โดยชำระเงิน274,600 บาท แต่เมื่อถึงวันทำสัญญาจะซื้อจะขายโจทก์เห็นว่ามีข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมลักษณะเอาเปรียบโจทก์หลายข้อ จึงแสดงเจตนาขอแก้ไขสัญญาให้ถูกต้องและเป็นธรรมเสียก่อนว่าจำเลยจะก่อสร้างให้แล้วเสร็จเมื่อใด จะแบ่งแยกโฉนดพร้อมโอนกรรมสิทธิ์รวมถึงการชำระเงินเมื่อใด ซึ่งล้วนแต่เป็นปกติประเพณีของการซื้อขายที่อยู่ในวิสัยของจำเลยต้องกระทำและกระทำได้ ข้อสัญญาดังกล่าวถือว่าเป็นสาระสำคัญอันจะต้องตกลงกันให้เรียบร้อยก่อน เมื่อจำเลยยอมรับว่ายังไม่ได้แก้ไขสัญญาตามที่โจทก์ขอทุกข้อ โจทก์กับจำเลยจึงยังมิได้มีสัญญาต่อกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366วรรคหนึ่ง สัญญาจะซื้อจะขายยังไม่เกิดขึ้นเงินที่จำเลยรับไว้จึงเป็นการรับโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ ต้องคืนให้แก่โจทก์ฐานลาภมิควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406 วรรคหนึ่ง พร้อมดอกเบี้ย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3942/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายยังไม่ผูกพัน จำเลยต้องคืนเงินที่รับไว้ฐานลาภมิควรได้
ตามปกติเมื่อมีการจองซื้อที่ดินแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อจะต้องมาทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับจำเลยอีกครั้งหนึ่งอันจะทำให้เกิดการผูกพันที่สมบูรณ์ ด้วยเหตุนี้ เมื่อโจทก์เห็นว่าสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินมีข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมลักษณะเป็นการเอาเปรียบโจทก์หลายข้อ โจทก์ย่อมขอแก้ไขสัญญาให้ถูกต้องและเป็นธรรมเสียก่อนได้ ข้อสัญญาที่โจทก์ขอแก้ไข เช่น จะก่อสร้างเสร็จเมื่อใด จะแบ่งแยกโฉนดพร้อมโอนกรรมสิทธิ์รวมถึงการชำระเงินเมื่อใดซึ่งเป็นข้อสัญญา ที่เป็นปกติประเพณีของการซื้อขายที่อยู่ในวิสัยของจำเลยต้องกระทำและกระทำได้ ถือได้ว่าเป็นสาระสำคัญอันจะต้องตกลงกันให้เรียบร้อยฉะนั้น เมื่อยังไม่ได้แก้ไขสัญญาตามที่โจทก์ขอทุกข้อ โจทก์กับจำเลยจึงยังมิได้มีสัญญาต่อกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรคหนึ่ง สัญญาจะซื้อจะขายยังไม่เกิดขึ้น การที่จำเลยรับเงินจากโจทก์ไว้เป็นการชำระหนี้เกี่ยวกับสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวจึงปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ ต้องคืนให้แก่โจทก์ฐานลาภมิควรได้ ตามมาตรา 406 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3781/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์ซ้ำในคดีแพ่ง: การระงับหนี้จากการซื้อขายทรัพย์สินคืนและการผูกพันของตัวการต่อตัวแทน
จำเลยไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์จึงนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินของจำเลย 1 แปลง พร้อมสิ่งปลูกสร้าง แล้วมีการขายทอดตลาดโดยโจทก์เป็นผู้ซื้อได้จากนั้นโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลย แต่มีการยอมความกันโดยให้จำเลยเช่า อยู่ต่อไป ต่อมาส. ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ให้จำเลยซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวกลับคืนไปโดยบอกว่าถ้าซื้อก็จะไม่มีหนี้สินต่อกันจำเลยจึงรับซื้อคืน ทำให้หนี้ตามคำพิพากษาระหว่างโจทก์กับจำเลยระงับไป ซึ่งโจทก์ในฐานะตัวการต้องผูกพันต่อจำเลย ส่วนความรับผิดระหว่างโจทก์กับ ส. จะเป็นประการใดเป็นเรื่องที่ต้องไปว่ากล่าวกันเองหามีผลกระทบต่อจำเลยไม่ เมื่อหนี้ระหว่างโจทก์กับจำเลยหมดสิ้นต่อกันแล้ว การที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินแปลงดังกล่าวอีกเป็นครั้งที่ 2 จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3421/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะโอนที่ดินหลังมรณะ: สิทธิครอบครองของผู้ครอบครองเดิมและการบังคับตามสัญญา
โจทก์เป็นภริยาของ บ. ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท โดยมิได้จดทะเบียนสมรสกันหลังจาก บ. ถึงแก่ความตาย โจทก์ได้ครอบครองที่ดินพิพาทอย่างเป็นของตนเองตลอดมา จำเลยซึ่งเป็นพี่ของ บ. มิได้เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเลย ต่อมาโจทก์ต้องการเป็นผู้ถือสิทธิครอบครองที่ดินพิพาททางทะเบียนให้ถูกต้อง แต่พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่อาจดำเนินการให้ได้เพราะโจทก์กับ บ. มิได้จดทะเบียนสมรสกันจึงแนะนำให้โจทก์ไปตามจำเลยมาขอรับโอนมรดกที่ดินพิพาทของ บ. แล้วให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ภายหลัง ซึ่งเป็นเรื่องไม่ถูกต้องเพราะขณะนั้นที่ดินพิพาทไม่เป็นทรัพย์มรดกของ บ. แล้ว การที่จำเลยทำหนังสือสัญญาว่าจะให้ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ก่อนไปจดทะเบียนโอนมรดกจึงมิใช่สัญญาจะให้ที่ดิน แต่เป็นสัญญาที่ไม่มีชื่ออย่างหนึ่งที่ไม่ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 526 ดังนั้น ที่จำเลยยื่นคำขอรับมรดกที่ดินพิพาทต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงเป็นการดำเนินการตามสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์นั่นเอง จำเลยต้องโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3044/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องและการบังคับคดี: สิทธิของผู้รับโอนเมื่อผู้โอนดำเนินการในชั้นบังคับคดีโดยไม่มีสิทธิ
โจทก์โอนสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้นตามคำพิพากษาให้แก่ผู้ร้อง โดยโจทก์และผู้ร้องได้มีหนังสือแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทราบแล้ว การโอนสิทธิเรียกร้องรายนี้ย่อมสมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 วรรคหนึ่ง ดังนั้น สิทธิของโจทก์ที่จะได้รับชำระหนี้จากจำเลยทั้งสามตามคำพิพากษาในคดีนี้จึงตกเป็นของผู้ร้อง โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะรับเงินตามคำพิพากษาจากจำเลยทั้งสาม การที่โจทก์ยื่นคำแถลงขอรับเงินที่จำเลยที่ 2 นำมาวางศาลเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา ซึ่งศาลชั้นต้นได้ออกคำบังคับตามคำแถลงของโจทก์อันเป็นการดำเนินการในชั้นบังคับตามคำพิพากษาทั้ง ๆ ที่โจทก์สิ้นสิทธิดังกล่าวไปแล้ว เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต กรณีนี้ผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งและถูกโต้แย้งสิทธิ จึงชอบที่จะร้องสอดเข้ามาในชั้นบังคับตามคำพิพากษาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2755/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งทางปกครองต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติราชการ หากไม่ให้โอกาสคู่กรณีโต้แย้ง สั่งเพิกถอนได้
ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ มาตรา 4 บัญญัติว่า"พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่ ...(3) การพิจารณาของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีในงานทางนโยบายโดยตรง" ซึ่งงานทางนโยบายโดยตรงนั้น แม้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ แต่เมื่อพิจารณาจากบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ หมวด 5 เห็นได้ว่า งานทางนโยบายของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี คือ งานในส่วนที่เป็นการกำหนดทิศทางหรือการพิจารณาสั่งการเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายในการบริหารราชการแผ่นดิน หาใช่งานที่มีลักษณะเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการตามปกติไม่ การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยผู้รักษาการตาม พระราชบัญญัติคนเข้าเมืองฯ ใช้อำนาจที่ตนมีอยู่ตามมาตรา 16 ไม่อนุญาตให้โจทก์เข้ามาในราชอาณาจักรจึงไม่ใช่การปฏิบัติงานทางนโยบายโดยตรงตาม พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ มาตรา 4(3) อีกทั้งไม่ใช่งานเกี่ยวกับราชการทหารหรือเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ทางยุทธการร่วมกับทหารในการป้องกันและรักษาความมั่นคงของราชอาณาจักรจากภัยคุกคามทั้งภายนอกและภายในประเทศตามมาตรา 4(7) แต่เป็นการพิจารณาและออกคำสั่งทางปกครองตามบทบัญญัติของกฎหมายซึ่งไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามมาตรา 4(3) และ (7) ของพระราชบัญญัติดังกล่าว และต้องอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 30 เมื่อจำเลยที่ 1 พิจารณาและออกคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ซึ่งเป็นคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้พำนักอยู่ในประเทศไทยเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้ให้โอกาสโจทก์ทราบข้อเท็จจริงก่อนและไม่ให้โอกาสโจทก์โต้แย้งแสดงพยานหลักฐานเพื่อหักล้างข้อมูลที่จำเลยที่ 1 อาศัยเป็นเหตุในการออกคำสั่งดังกล่าว การพิจารณาและออกคำสั่งของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมายและอาจถูกเพิกถอนเสียได้ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ มาตรา 50