พบผลลัพธ์ทั้งหมด 352 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2755/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งทางปกครองต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติราชการ หากไม่ให้โอกาสคู่กรณีโต้แย้ง สั่งเพิกถอนได้
ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ มาตรา 4 บัญญัติว่า"พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่ ...(3) การพิจารณาของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีในงานทางนโยบายโดยตรง" ซึ่งงานทางนโยบายโดยตรงนั้น แม้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ แต่เมื่อพิจารณาจากบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ หมวด 5 เห็นได้ว่า งานทางนโยบายของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี คือ งานในส่วนที่เป็นการกำหนดทิศทางหรือการพิจารณาสั่งการเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายในการบริหารราชการแผ่นดิน หาใช่งานที่มีลักษณะเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการตามปกติไม่ การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยผู้รักษาการตาม พระราชบัญญัติคนเข้าเมืองฯ ใช้อำนาจที่ตนมีอยู่ตามมาตรา 16 ไม่อนุญาตให้โจทก์เข้ามาในราชอาณาจักรจึงไม่ใช่การปฏิบัติงานทางนโยบายโดยตรงตาม พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ มาตรา 4(3) อีกทั้งไม่ใช่งานเกี่ยวกับราชการทหารหรือเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ทางยุทธการร่วมกับทหารในการป้องกันและรักษาความมั่นคงของราชอาณาจักรจากภัยคุกคามทั้งภายนอกและภายในประเทศตามมาตรา 4(7) แต่เป็นการพิจารณาและออกคำสั่งทางปกครองตามบทบัญญัติของกฎหมายซึ่งไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามมาตรา 4(3) และ (7) ของพระราชบัญญัติดังกล่าว และต้องอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 30 เมื่อจำเลยที่ 1 พิจารณาและออกคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ซึ่งเป็นคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้พำนักอยู่ในประเทศไทยเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้ให้โอกาสโจทก์ทราบข้อเท็จจริงก่อนและไม่ให้โอกาสโจทก์โต้แย้งแสดงพยานหลักฐานเพื่อหักล้างข้อมูลที่จำเลยที่ 1 อาศัยเป็นเหตุในการออกคำสั่งดังกล่าว การพิจารณาและออกคำสั่งของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมายและอาจถูกเพิกถอนเสียได้ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ มาตรา 50
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2755/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตรวจสอบคำสั่งทางปกครองที่กระทบสิทธิบุคคล: หลักการตามมาตรา 30 พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
การพิจารณาพิพากษาคดีปกครองเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาในระบบไต่สวน ซึ่งมุ่งหมายให้ศาลทำหน้าที่ค้นคว้าหาความจริงและตรวจสอบการพิจารณาทางปกครองของเจ้าหน้าที่เป็นสำคัญ หาใช่เพียงแต่ควบคุมการพิจารณาและปล่อยให้คู่ความคอยระวังรักษาผลประโยชน์ของตนดังเช่นคดีแพ่งไม่ แม้ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นมีข้อความว่า คู่ความประสงค์ให้ศาลวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางการปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 3, 4, 5 และ 37 หรือไม่ โดยมิได้กล่าวถึงมาตรา 30 ที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องก็ตาม แต่เมื่อคำนึงถึงความประสงค์อันแท้จริงของโจทก์แล้วย่อมเห็นได้ว่าโจทก์มุ่งหมายให้ศาลตรวจสอบการพิจารณาและออกคำสั่งทางปกครองของจำเลยที่ 1 ว่าเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงต้องถือว่าโจทก์ยังประสงค์ให้ศาลพิจารณาและวินิจฉัยว่า การออกคำสั่งที่ 689/2540 ของจำเลยที่ 1 เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 30 หรือไม่ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการสละประเด็นข้อนี้แล้ว
พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 4 (3) บัญญัติมิให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แก่การพิจารณาของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีในงานทางนโยบายโดยตรง ส่วนงานใดเป็นงานทางนโยบายโดยตรงนั้น แม้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะแต่เมื่อพิจารณาจากบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 หมวด 5 อันว่าด้วยแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา 71 ถึงมาตรา 89 ซึ่งเป็นแนวทางในการตรากฎหมายและกำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดิน ตลอดจนแนวทางที่คณะรัฐมนตรีต้องแถลงชี้แจงนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดินต่อรัฐสภาแล้ว งานทางนโยบายของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี คืองานในส่วนที่เป็นการกำหนดทิศทางหรือการพิจารณาสั่งการเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายในการบริหารราชการแผ่นดิน หาใช่งานที่มีลักษณะเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการตามปกติไม่ การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยผู้รักษาการตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ใช้อำนาจที่ตนมีอยู่ตาม มาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ไม่อนุญาตให้โจทก์เข้ามาในราชอาณาจักรจึงมิใช่การปฏิบัติงานทางนโยบายโดยตรง ตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางการปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 4 (3) อีกทั้งไม่ใช่งานเกี่ยวกับราชการทหารหรือเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ทางยุทธการร่วมกับทหารในการป้องกันและรักษาความมั่นคงของราชอาณาจักรจากภัยคุกคามทั้งภายนอกและภายในประเทศตาม มาตรา 4 (7) แต่เป็นการพิจารณาและออกคำสั่งทางปกครองตามบทบัญญัติของกฎหมายซึ่งไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตาม มาตรา 4 (3) และ (7) ของพระราชบัญญัติดังกล่าว และต้องอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 30 เมื่อจำเลยที่ 1 พิจารณาและออกคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 689/2540 ไม่อนุญาตให้โจทก์ซึ่งเป็นคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้พำนักอยู่ในประเทศไทยเข้ามาในราชอาณาจักร โดยมิได้ให้โอกาสโจทก์ทราบข้อเท็จจริงก่อนและไม่ให้โอกาสโจทก์โต้แย้งแสดงพยานหลักฐานเพื่อหักล้างข้อมูลที่จำเลยที่ 1 อาศัยเป็นเหตุในการออกคำสั่งดังกล่าว การพิจารณาและออกคำสั่งของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมายและอาจถูกเพิกถอนเสียได้ ตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 50
พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 4 (3) บัญญัติมิให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แก่การพิจารณาของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีในงานทางนโยบายโดยตรง ส่วนงานใดเป็นงานทางนโยบายโดยตรงนั้น แม้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะแต่เมื่อพิจารณาจากบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 หมวด 5 อันว่าด้วยแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา 71 ถึงมาตรา 89 ซึ่งเป็นแนวทางในการตรากฎหมายและกำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดิน ตลอดจนแนวทางที่คณะรัฐมนตรีต้องแถลงชี้แจงนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดินต่อรัฐสภาแล้ว งานทางนโยบายของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี คืองานในส่วนที่เป็นการกำหนดทิศทางหรือการพิจารณาสั่งการเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายในการบริหารราชการแผ่นดิน หาใช่งานที่มีลักษณะเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการตามปกติไม่ การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยผู้รักษาการตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ใช้อำนาจที่ตนมีอยู่ตาม มาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ไม่อนุญาตให้โจทก์เข้ามาในราชอาณาจักรจึงมิใช่การปฏิบัติงานทางนโยบายโดยตรง ตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางการปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 4 (3) อีกทั้งไม่ใช่งานเกี่ยวกับราชการทหารหรือเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ทางยุทธการร่วมกับทหารในการป้องกันและรักษาความมั่นคงของราชอาณาจักรจากภัยคุกคามทั้งภายนอกและภายในประเทศตาม มาตรา 4 (7) แต่เป็นการพิจารณาและออกคำสั่งทางปกครองตามบทบัญญัติของกฎหมายซึ่งไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตาม มาตรา 4 (3) และ (7) ของพระราชบัญญัติดังกล่าว และต้องอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 30 เมื่อจำเลยที่ 1 พิจารณาและออกคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 689/2540 ไม่อนุญาตให้โจทก์ซึ่งเป็นคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้พำนักอยู่ในประเทศไทยเข้ามาในราชอาณาจักร โดยมิได้ให้โอกาสโจทก์ทราบข้อเท็จจริงก่อนและไม่ให้โอกาสโจทก์โต้แย้งแสดงพยานหลักฐานเพื่อหักล้างข้อมูลที่จำเลยที่ 1 อาศัยเป็นเหตุในการออกคำสั่งดังกล่าว การพิจารณาและออกคำสั่งของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมายและอาจถูกเพิกถอนเสียได้ ตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 50
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1708/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีสัญญาซื้อขาย: นับแต่วันผิดนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขาย จำเลยทั้งสองให้การว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ ซึ่งศาลชอบที่จะวินิจฉัยได้จากคำฟ้องประกอบกับสัญญาจะซื้อจะขายในคำฟ้องปรากฏข้อความชัดเจนว่าจำเลยทั้งสองตกลงจดทะเบียนโอนที่ดินในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2528ส่วนหนังสือสัญญาซื้อขายก็ปรากฏข้อความว่าจำเลยทั้งสองจะทำการโอนกรรมสิทธิ์กันให้ถูกต้องตามกฎหมายในปี2528 อันเป็นการแสดงว่าจำเลยทั้งสองต้องจดทะเบียนโอนที่ดินภายใน วันที่ 31 ธันวาคม 2528 เป็นอย่างช้าที่สุด ดังนั้น เมื่อจำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ดำเนินการทางทะเบียนให้แก่โจทก์ภายในเวลาดังกล่าว สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะให้จำเลยทั้งสองปฏิบัติตามสัญญาจึงเกิดขึ้นตั้งแต่วันถัดจากวันที่ 31 ธันวาคม 2528 เป็นต้นไป เมื่อสิทธิเรียกร้องของโจทก์ในคดีนี้มิได้มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องอยู่ในกำหนดอายุความ 10 ปี ตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 193/30บัญญัติไว้ โจทก์จึงชอบที่จะใช้สิทธิฟ้องคดีอย่างช้าภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2538 แต่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีในวันที่ 1 กรกฎาคม 2542 เกินกว่ากำหนด 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความตามบทบัญญัติ แห่ง ป.พ.พ. มาตรา193/9 ที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานโจทก์และจำเลย แล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1708/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีสัญญาซื้อขาย: คำนวณจากวันผิดนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์
ในคำฟ้องปรากฏข้อความว่าจำเลยตกลงจะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามสัญญาจะซื้อขายให้โจทก์ในวันที่ 11กุมภาพันธ์ 2528 ส่วนหนังสือสัญญาจะซื้อขายก็ปรากฏข้อความว่าจำเลยจะทำการโอนกรรมสิทธิ์กันในปี 2528 แสดงว่าจำเลยต้องจดทะเบียนโอนภายในวันที่ 31 ธันวาคม2528 เป็นอย่างช้าที่สุด ดังนั้น เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ดำเนินการทางทะเบียนให้แก่โจทก์ภายในเวลาดังกล่าว สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาจึงเกิดขึ้นตั้งแต่วันถัดจากวันที่ 31 ธันวาคม 2528 เป็นต้นไปและสิทธิเรียกร้องของโจทก์มิได้มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 โจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิฟ้องคดีอย่างช้าภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2538 แต่โจทก์ฟ้องจำเลยวันที่ 1 กรกฎาคม2542 เกินกว่ากำหนด 10 ปี จึงขาดอายุความ ตามมาตรา 193/9
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1656/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระการพิสูจน์ในคดีครอบครองปรปักษ์ แม้ศาลชั้นต้นกำหนดผิด แต่หากสืบพยานและวินิจฉัยข้อเท็จจริงครบถ้วนแล้ว ผลคดีไม่เปลี่ยนแปลง
แม้ภาระการพิสูจน์ของคู่ความต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายและหากชั้นชี้สองสถานศาลกำหนดภาระการพิสูจน์ผิดพลาดไป ศาลย่อมมีอำนาจที่จะพิพากษาคดีไปตามภาระการพิสูจน์ที่ถูกต้องได้ แต่เมื่อโจทก์และจำเลยได้สืบพยานไปตามคำสั่งศาลชั้นต้นจนสิ้นกระแสความแล้ว โดยศาลล่างทั้งสองได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในประเด็นข้อพิพาทโดยมิได้ยกเอาหน้าที่นำสืบหรือภาระการพิสูจน์มาเป็นเหตุพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี และคดีก็ยังต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงอีกด้วย ดังนั้น แม้ฝ่ายใดจะมีภาระการพิสูจน์ ผลแห่งคดีก็จะไม่เปลี่ยนแปลงไป การที่จำเลยฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 752/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนหนังสือรับรองผู้สมัครรับเลือกตั้ง สิทธิสมัครของผู้ถูกเพิกถอน
ผู้ที่จะมีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งเพียงพรรคเดียวตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 107(4) และผู้สมัครรับเลือกตั้งจะต้องยื่นหนังสือรับรองของหัวหน้าพรรคการเมืองว่าส่งผู้สมัครสมาชิกผู้นั้นเข้าสมัครรับเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาฯมาตรา 31 วรรคสอง อีกด้วย เมื่อได้รับใบสมัครแล้ว ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งต้องตรวจสอบหลักฐานการสมัครคุณสมบัติของผู้สมัครและสอบสวนว่าผู้สมัครมีสิทธิที่จะสมัครรับเลือกตั้งหรือไม่ให้เสร็จสิ้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันปิดการรับสมัครตามความในมาตรา 32 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งฯ ดังกล่าวดังนั้น แม้ผู้ร้องจะยื่นใบสมัครพร้อมกับหนังสือรับรองของหัวหน้าพรรคครบถ้วนแล้วก็ตาม แต่ในระหว่างระยะเวลาการตรวจสอบหลักฐานการสมัคร ปรากฏว่าหัวหน้าพรรคดังกล่าวยืนยันขอยกเลิกหนังสือรับรองจึงต้องถือว่าการสมัครรับเลือกตั้งของผู้ร้องขาดหลักฐานหนังสือรับรองของหัวหน้าพรรคการเมือง มีผลเท่ากับผู้ร้องไม่อาจสมัครในนามของพรรคการเมืองดังกล่าวได้ การที่ผู้คัดค้านไม่รับสมัครและไม่ปรากฏชื่อผู้ร้องเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งจึงเป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว
หัวหน้าพรรคการเมืองเป็นผู้แทนของพรรคการเมืองในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอกตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฯ มาตรา 20 วรรคสอง ดังนั้น หัวหน้าพรรคการเมืองย่อมมีอำนาจที่จะออกหนังสือและยืนยันการบอกเลิกหนังสือรับรองที่ผู้ร้องได้ยื่นไว้พร้อมกับใบสมัครได้ ส่วนการที่ผู้ร้องอ้างว่าหนังสือยืนยันขอยกเลิกหนังสือรับรองของหัวหน้าพรรคการเมืองไม่ชอบด้วยข้อกำหนดของพรรคการเมืองนั้น ก็ไม่ปรากฏว่าผู้ร้องในฐานะสมาชิกของพรรคการเมืองได้ดำเนินการขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 47 วรรคสาม และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฯ แต่ประการใด คำร้องของผู้ร้องจึงฟังไม่ขึ้น
คดีร้องขอให้รับสมัครเลือกตั้งและประกาศชื่อเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตการเลือกตั้งนั้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล
หัวหน้าพรรคการเมืองเป็นผู้แทนของพรรคการเมืองในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอกตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฯ มาตรา 20 วรรคสอง ดังนั้น หัวหน้าพรรคการเมืองย่อมมีอำนาจที่จะออกหนังสือและยืนยันการบอกเลิกหนังสือรับรองที่ผู้ร้องได้ยื่นไว้พร้อมกับใบสมัครได้ ส่วนการที่ผู้ร้องอ้างว่าหนังสือยืนยันขอยกเลิกหนังสือรับรองของหัวหน้าพรรคการเมืองไม่ชอบด้วยข้อกำหนดของพรรคการเมืองนั้น ก็ไม่ปรากฏว่าผู้ร้องในฐานะสมาชิกของพรรคการเมืองได้ดำเนินการขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 47 วรรคสาม และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฯ แต่ประการใด คำร้องของผู้ร้องจึงฟังไม่ขึ้น
คดีร้องขอให้รับสมัครเลือกตั้งและประกาศชื่อเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตการเลือกตั้งนั้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 644/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย: พยานหลักฐานต้องชัดเจนและต่อเนื่อง
โจทก์นำสืบได้ความเพียงว่า เจ้าพนักงานตำรวจสืบทราบจากสายลับว่าจำเลยที่ 1 ลักลอบจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจึงรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบแล้วขอหมายค้นจากศาลชั้นต้นเข้าตรวจค้นทันที โดยมิได้ดำเนินการเป็นขั้นตอนเพื่อรวบรวมพยานหลักฐานทั้งปวงโดยวิธีการล่อซื้อเพื่อเป็นการยืนยันให้มั่นคงถึงพฤติการณ์การกระทำของจำเลยที่ 1 ว่าร่วมกับจำเลยที่ 2ลักลอบจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจริง พฤติการณ์ที่โจทก์นำสืบมาไม่พอฟังว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 จำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่ใคร ที่ไหน อย่างใด และเมื่อใด กรณีไม่ใช่เป็นการคาดคิดหรือเป็นความเข้าใจของผู้จับกุมที่จะทราบเพียงลำพังตนเองอันเป็นการรู้เฉพาะบุคคลตามที่โจทก์ฎีกา โจทก์มีภาระการพิสูจน์ที่จะต้องนำสืบถึงพฤติการณ์ทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำความผิดตามที่โจทก์อ้างเพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่บุคคลอื่นจนปราศจากสงสัย มิใช่อาศัยคำรับในชั้นจับกุมหรือคำเบิกความของจำเลยที่ 1 ที่เบิกความตอบโจทก์ถามค้านเพียงว่า เมื่อซื้อเมทแอมเฟตามีนมาแล้วจะให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้เก็บและจำเลยที่ 1 เคยนำเมทแอมเฟตามีนจำหน่ายให้บุคคลอื่น คำเบิกความจำเลยที่ 1 เป็นเพียงคำเบิกความลอย ๆเท่านั้น แม้จะเป็นผลร้ายแก่ตนเองก็ยังไม่พอฟังลงโทษจำเลยที่ 1ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย นอกจากนี้เมทแอมเฟตามีนของกลางคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่ถึง 20 กรัมไม่เข้าข้อสันนิษฐานตามกฎหมายที่จะถือว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย คงรับฟังได้แต่เพียงว่าจำเลยที่ 1 มีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเท่านั้น ซึ่งข้อหาดังกล่าวเป็นเหตุในลักษณะคดีมีผลถึงจำเลยที่ 2 ที่มิได้อุทธรณ์ ให้ได้รับผลตามคำพิพากษาด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 213
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 626/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: การโต้แย้งดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐาน ถือเป็นฎีกาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุก 6 ปี และฐานจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 จำคุก 5 ปี รวมสองกระทง จำคุก 11 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสามตาม ป.อ. มาตรา 78 คงจำคุก 7 ปี 4 เดือน มีผลเท่ากับศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยในความผิดกระทงแรกมีกำหนด 4 ปี และในความผิดกระทงหลังมีกำหนด 3 ปี 4 เดือน ซึ่งเป็นการลงโทษจำคุกในแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 441/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินค่าทดแทนที่ดินเวนคืนเมื่อเนื้อที่เปลี่ยนแปลง ไม่ใช่ลาภมิควรได้ อายุความ 10 ปี
สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ระหว่างโจทก์กับจำเลย เป็นการตกลงซื้อขายกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 10 ซึ่งเป็นขั้นตอนของการดำเนินการกำหนดและจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่จำเลยผู้ถูกเวนคืน เมื่อปรากฏจากการรังวัดว่าเนื้อที่ที่ถูกเวนคืนน้อยกว่าที่ประมาณการไว้ จำเลยจึงต้องคืนเงินส่วนที่ รับไว้โดยที่ดินมิได้ถูกเวนคืนแก่โจทก์ กรณีหาใช่เรื่องจำเลยได้มาซึ่งเงินหรือทรัพย์เพราะโจทก์กระทำการชำระหนี้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้อันเป็นลาภมิควรได้ซึ่งมีอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 419 ไม่ และเมื่อการฟ้องร้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ชำระเกินกว่าจำนวนเนื้อที่ที่ถูกเวนคืนเนื่องจากการดำเนินตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความเป็นพิเศษ จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ซึ่งมีอายุความ 10 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 441/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริง, อายุความค่าทดแทนเวนคืน, การชำระหนี้โดยไม่มีมูล
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 180,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 11 กันยายน 2538ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน เมื่อรวมดอกเบี้ยจนถึงวันฟ้องคือวันที่ 14มิถุนายน 2539 ซึ่งเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000บาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยเชื่อโดยสุจริตว่าโจทก์เวนคืนที่ดินของจำเลยเป็นเนื้อที่แน่นอน 5 ตารางวา แต่ความจริงถูกเวนคืนเพียง 2 ตารางวา อันเป็นการสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม สัญญาซื้อขายจึงเป็นโมฆะนั้น การวินิจฉัยปัญหาดังกล่าว เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว
โจทก์จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินเนื้อที่ 5 ตารางวา ตามที่ระบุไว้ในสัญญาซื้อขายให้แก่จำเลยตามขั้นตอนที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 10กำหนดแต่เมื่อรังวัดแบ่งแยกที่ดินที่ถูกเขตทางพิเศษแล้วปรากฏว่าถูกเวนคืนเพียง 2 ตารางวา จำเลยก็ต้องคืนเงินค่าทดแทนที่ดินเนื้อที่ 3 ตารางวาซึ่งเป็นส่วนที่รับไว้โดยที่ดินไม่ได้ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์ กรณีมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยได้มาซึ่งเงิน เพราะการที่โจทก์กระทำเพื่อชำระหนี้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้อันเป็นลาภมิควรได้ซึ่งโจทก์จะต้องฟ้องร้องเรียกเงินคืนจากจำเลยภายในอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419
การฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินที่ชำระเกินกว่าจำนวนเนื้อที่ดินที่ถูกเวนคืนอันเนื่องมาจากการดำเนินการตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยอายุความบัญญัติไว้เป็นกรณีพิเศษจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30ซึ่งมีอายุความ 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ เมื่อตามสัญญาซื้อขายระบุว่าการจ่ายเงินค่าที่ดินที่เพิ่มขึ้นหรือการคืนเงินค่าที่ดินที่ลดลงให้กระทำภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ทำการรังวัดแบ่งแยกแล้วเสร็จ สำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครได้มีหนังสือลงวันที่ 14 มิถุนายน2538 แจ้งผลการรังวัดที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ทราบ โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2539 จึงยังไม่ขาดอายุความ
โจทก์จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินเนื้อที่ 5 ตารางวา ตามที่ระบุไว้ในสัญญาซื้อขายให้แก่จำเลยตามขั้นตอนที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 10กำหนดแต่เมื่อรังวัดแบ่งแยกที่ดินที่ถูกเขตทางพิเศษแล้วปรากฏว่าถูกเวนคืนเพียง 2 ตารางวา จำเลยก็ต้องคืนเงินค่าทดแทนที่ดินเนื้อที่ 3 ตารางวาซึ่งเป็นส่วนที่รับไว้โดยที่ดินไม่ได้ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์ กรณีมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยได้มาซึ่งเงิน เพราะการที่โจทก์กระทำเพื่อชำระหนี้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้อันเป็นลาภมิควรได้ซึ่งโจทก์จะต้องฟ้องร้องเรียกเงินคืนจากจำเลยภายในอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419
การฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินที่ชำระเกินกว่าจำนวนเนื้อที่ดินที่ถูกเวนคืนอันเนื่องมาจากการดำเนินการตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยอายุความบัญญัติไว้เป็นกรณีพิเศษจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30ซึ่งมีอายุความ 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ เมื่อตามสัญญาซื้อขายระบุว่าการจ่ายเงินค่าที่ดินที่เพิ่มขึ้นหรือการคืนเงินค่าที่ดินที่ลดลงให้กระทำภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ทำการรังวัดแบ่งแยกแล้วเสร็จ สำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครได้มีหนังสือลงวันที่ 14 มิถุนายน2538 แจ้งผลการรังวัดที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ทราบ โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2539 จึงยังไม่ขาดอายุความ