พบผลลัพธ์ทั้งหมด 352 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7412/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ตามคำพิพากษาและการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: อายุความสะดุดหยุดเมื่อมีการฟ้องคดีล้มละลาย
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2529 ให้ลูกหนี้ชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่เจ้าหนี้ สิทธิเรียกร้องที่เจ้าหนี้มีต่อลูกหนี้จึงเกิดขึ้นโดยคำพิพากษาที่ถึงที่สุดมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/32 เจ้าหนี้นำเอาหนี้ตามคำพิพากษานี้มาฟ้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลายเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม2538 ยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี เจ้าหนี้จึงมีสิทธิฟ้องได้ และมีผลเท่ากับเป็นการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้อย่างหนึ่งตามวิธีการที่พระราชบัญญัติล้มละลายฯ บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ซึ่งทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(2)เมื่อเจ้าหนี้นำหนี้ตามคำพิพากษานี้มายื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อวันที่ 17ตุลาคม 2540 จึงเป็นการขอรับชำระหนี้ในขณะที่อายุความสะดุดหยุดลงย่อมไม่ต้องห้ามมิให้ได้รับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 94(1) กรณีมิใช่เป็นการที่เจ้าหนี้ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาที่จะต้องนำเอาระยะเวลาบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271 มาปรับใช้แก่กรณีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6895/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน: ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดในวงเงินค้ำประกัน แม้จำเลยที่ 1 มีหนี้มากกว่า และแก้ไขสัญญาด้วยวาจาไม่ได้
จำเลยที่ 2 ยอมรับผิดในหนี้สินของจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันอย่างลูกหนี้ร่วมในวงเงินค้ำประกัน หมายความว่าแม้จำเลยที่ 1 จะมีหนี้อยู่มากกว่านี้ จำเลยที่ 2 คงต้องรับผิดเพียงวงเงินที่ค้ำประกันไว้เท่านั้นเมื่อจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่มากกว่าวงเงินที่ค้ำประกัน จำเลยที่ 2ต้องร่วมรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันที่ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมในวงเงินค้ำประกัน สัญญาค้ำประกันมิได้มีข้อความระบุว่าถ้าจำเลยที่ 1 ชำระเงินเท่าใดจะให้จำเลยที่ 2 รับภาระหนี้ที่ค้ำประกันอยู่ลดลงตามจำนวนหนี้ที่ชำระมาแล้ว จำเลยที่ 2 จะนำสืบพยานบุคคลว่าโจทก์เคยมีข้อตกลงดังกล่าวกับจำเลยที่ 2 มาแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในสัญญาค้ำประกันไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6829/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลดหนี้ผู้ค้ำประกันไม่กระทบความรับผิดของลูกหนี้รายอื่นในหนี้ตามคำพิพากษา
แม้นางสาวสุพรรณีกับจำเลย และผู้ค้ำประกันคนอื่น ๆ จะร่วมกันค้ำประกันหนี้ตามสัญญาขายลดเช็คของบริษัทถุงกระดาษไทย จำกัด ด้วยกัน และโจทก์จะได้รับชำระหนี้จากนางสาวสุพรรณีบางส่วน กระทั่งโจทก์ปลดหนี้ให้โดยได้ถอนฟ้องนางสาวสุพรรณีในคดีแพ่งดังกล่าวด้วย การที่โจทก์ได้นำหนี้ตามคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ 23817/2532 ที่พิพากษาตามสัญญายอม โดยนางสาวสุพรรณีมิได้ร่วมเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาด้วย มาฟ้องจำเลยให้ล้มละลายเป็นคดีนี้ นางสาวสุพรรณีจึงมิได้เป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยในหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้อง แม้โจทก์จะปลดหนี้ให้แก่นางสาวสุพรรณีก็ไม่ใช่กรณีที่โจทก์ปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ร่วมกับจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 340 และมาตรา 293
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6827/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้บัตรเครดิต: สัญญาบริการอำนวยความสะดวกมีอายุความ 2 ปี ไม่ใช่ 10 ปี
การที่โจทก์แม้จะเป็นธนาคารพาณิชย์ แต่โจทก์ก็ได้ให้บริการประเภทบัตรเครดิตแก่สมาชิกซึ่งทำให้สมาชิกสามารถใช้บัตรเครดิตที่โจทก์ออกให้ไปชำระค่าสินค้าหรือบริการได้โดยไม่ต้องนำเงินสดไปชำระในทันทีมีลักษณะเป็นกิจการงานบริการอำนวยความสะดวกแก่สมาชิกโดยโจทก์เรียกเก็บค่าบริการและค่าธรรมเนียมรายปีด้วยถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้รับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาค่าที่ได้ออกเงินทดรองไปสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7) จำเลยชำระหนี้ให้โจทก์ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2537 แล้วมิได้ชำระหนี้อีกเลยอันเป็นการรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ ทำให้ อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2537 แต่โจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 3 ตุลาคม 2540 พ้นกำหนด 2 ปี แล้ว สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความ
กรณีที่โจทก์ให้จำเลยทำคำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันและสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเฉพาะสินเชื่อธนวัฎบัตรเครดิตถือมิได้ว่า เป็นบัญชีเดินสะพัดเนื่องจากโจทก์ได้คิดค่าธรรมเนียมการใช้บัตรเป็นรายปี และค่าบริการในแต่ละคราว ย่อมมิใช่การกู้เบิกเงินเกินบัญชี
สินเชื่อบัตรเครดิตไม่ใช่การกู้ยืมเงิน แต่เป็นสัญญาที่ไม่มีชื่อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
กรณีที่โจทก์ให้จำเลยทำคำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันและสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเฉพาะสินเชื่อธนวัฎบัตรเครดิตถือมิได้ว่า เป็นบัญชีเดินสะพัดเนื่องจากโจทก์ได้คิดค่าธรรมเนียมการใช้บัตรเป็นรายปี และค่าบริการในแต่ละคราว ย่อมมิใช่การกู้เบิกเงินเกินบัญชี
สินเชื่อบัตรเครดิตไม่ใช่การกู้ยืมเงิน แต่เป็นสัญญาที่ไม่มีชื่อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6827/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องจากบริการบัตรเครดิต: พิจารณาจากลักษณะบริการไม่ใช่การกู้ยืม
โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ แต่โจทก์ก็ได้ให้บริการประเภทบัตรเครดิตแก่สมาชิกซึ่งทำให้สมาชิกสามารถใช้บัตรเครดิตที่โจทก์ออกให้ไปชำระค่าสินค้าหรือบริการได้โดยไม่ต้องนำเงินสดไปชำระในทันที มีลักษณะเป็นกิจการงานบริการอำนวยความสะดวกแก่สมาชิกโดยโจทก์เรียกเก็บค่าบริการและค่าธรรมเนียมรายปี ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้รับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาค่าที่ได้ออกเงินทดรองไป สิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/34(7) แม้โจทก์จะให้จำเลยทำคำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันและสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเฉพาะสินเชื่อธนวัฏบัตรเครดิตก็ถือไม่ได้ว่าเป็นบัญชีเดินสะพัดเนื่องจากโจทก์ได้คิดค่าธรรมเนียมการใช้บัตรเป็นรายปี และค่าบริการในแต่ละคราวย่อมมิใช่การกู้เบิกเงินเกินบัญชีในอันที่โจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ตามประเพณีการค้าของธนาคารพาณิชย์
สินเชื่อบัตรเครดิตไม่ใช่การกู้ยืมเงิน แต่เป็นสัญญาธรรมดาที่ไม่มีชื่อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บุคคลอื่นที่มิใช่ธนาคารพาณิชย์ย่อมประกอบกิจการได้
สินเชื่อบัตรเครดิตไม่ใช่การกู้ยืมเงิน แต่เป็นสัญญาธรรมดาที่ไม่มีชื่อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บุคคลอื่นที่มิใช่ธนาคารพาณิชย์ย่อมประกอบกิจการได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6827/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องบัตรเครดิต: ไม่ใช่การกู้ยืมเงิน แต่เป็นการให้บริการ
โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ แต่โจทก์ก็ได้ให้บริการประเภทบัตรเครดิตแก่สมาชิกซึ่งทำให้สมาชิกสามารถใช้บัตรเครดิตที่โจทก์ออกให้ไปชำระค่าสินค้าหรือบริการได้โดยไม่ต้องนำเงินสดไปชำระในทันที มีลักษณะเป็นกิจการงานบริการอำนวยความสะดวกแก่สมาชิก โดยโจทก์เรียกเก็บค่าบริการและค่าธรรมเนียมรายปี ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้รับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาค่าที่ได้ออกเงินทดรองไป สิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา193/34 (7) แม้โจทก์จะให้จำเลยทำคำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันและสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเฉพาะสินเชื่อธนวัฏบัตรเครดิตก็ถือไม่ได้ว่าเป็นบัญชีเดินสะพัดเนื่องจากโจทก์ได้คิดค่าธรรมเนียมการใช้บัตรเป็นรายปี และค่าบริการในแต่ละคราวย่อมมิใช่การกู้เบิกเงินเกินบัญชีในอันที่โจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ตามประเพณีการค้าของธนาคารพาณิชย์
สินเชื่อบัตรเครดิตไม่ใช่การกู้ยืมเงิน แต่เป็นสัญญาธรรมดาที่ไม่มีชื่อตาม ป.พ.พ.บุคคลอื่นที่มิใช่ธนาคารพาณิชย์ย่อมประกอบกิจการได้
สินเชื่อบัตรเครดิตไม่ใช่การกู้ยืมเงิน แต่เป็นสัญญาธรรมดาที่ไม่มีชื่อตาม ป.พ.พ.บุคคลอื่นที่มิใช่ธนาคารพาณิชย์ย่อมประกอบกิจการได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6469-6470/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งสำเนาอุทธรณ์ไม่ถูกต้องตามภูมิลำเนาจำเลย ศาลอุทธรณ์มีอำนาจเพิกถอนกระบวนพิจารณาได้
จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่หนึ่ง แต่เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องอุทธรณ์แล้วมีการจัดส่งสำเนาอุทธรณ์ของโจทก์ให้จำเลย ณ อีกที่หนึ่ง ซึ่งมิใช่ภูมิลำเนาของจำเลย ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงมีคำสั่งให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตั้งแต่การส่งสำเนาอุทธรณ์ของโจทก์ให้แก่จำเลย ตลอดจนการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาส่งสำเนาอุทธรณ์ของโจทก์ให้แก่จำเลยใหม่ ซึ่งเป็นการสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 เพราะสำเนาอุทธรณ์เป็นคำคู่ความจะต้องส่งให้แก่จำเลย ณ ภูมิลำเนาของจำเลยหากฝ่าฝืนต้องถือว่ามิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม ศาลอุทธรณ์ภาค 1จึงมีอำนาจที่จะสั่งได้
หากการส่งสำเนาคำฟ้องอุทธรณ์ให้แก่จำเลยไม่ชอบเสียแล้วการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ย่อมไม่ชอบไปด้วยเมื่อเหตุที่ทำให้คำพิพากษาไม่ชอบเป็นเพราะกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ซึ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 บัญญัติทางแก้ไว้แล้วจึงไม่ใช่เรื่องที่คู่ความจะต้องแก้ไขโดยใช้สิทธิได้เพียงฎีกาเท่านั้น
จำเลยขับรถยนต์บรรทุกมีน้ำหนักรถรวมน้ำหนักบรรทุกเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด 16,846 กิโลกรัม เป็นเรื่องเจตนากระทำผิดโดยไม่เคารพยำเกรงต่อกฎหมายหวังแต่ประโยชน์ที่จะได้โดยไม่คำนึง ถึงความเสียหายต่อประเทศชาติและผลประโยชน์ของส่วนรวม จึงสมควร ลงโทษจำคุกโดยไม่รอการลงโทษให้ และสมควรริบรถยนต์บรรทุกด้วย
หากการส่งสำเนาคำฟ้องอุทธรณ์ให้แก่จำเลยไม่ชอบเสียแล้วการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ย่อมไม่ชอบไปด้วยเมื่อเหตุที่ทำให้คำพิพากษาไม่ชอบเป็นเพราะกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ซึ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 บัญญัติทางแก้ไว้แล้วจึงไม่ใช่เรื่องที่คู่ความจะต้องแก้ไขโดยใช้สิทธิได้เพียงฎีกาเท่านั้น
จำเลยขับรถยนต์บรรทุกมีน้ำหนักรถรวมน้ำหนักบรรทุกเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด 16,846 กิโลกรัม เป็นเรื่องเจตนากระทำผิดโดยไม่เคารพยำเกรงต่อกฎหมายหวังแต่ประโยชน์ที่จะได้โดยไม่คำนึง ถึงความเสียหายต่อประเทศชาติและผลประโยชน์ของส่วนรวม จึงสมควร ลงโทษจำคุกโดยไม่รอการลงโทษให้ และสมควรริบรถยนต์บรรทุกด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5591/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข ไม่ใช่สัญญาเช่าซื้อ ศาลฎีกาพิพากษากลับให้คืนรถยนต์ หรือชดใช้เงินค้างชำระ
สัญญามีข้อความระบุว่าหนังสือสัญญาขายมีเงื่อนไข โดยตกลงในข้อ 1 ว่า ผู้จะขายตกลงจะขายและผู้จะซื้อตกลงจะซื้อรถยนต์พิพาทในราคา 1,235,680 บาท ในวันทำสัญญานี้ผู้จะซื้อได้ชำระเงินค่าสินค้าให้แก่ผู้จะขายแล้ว 70,000 บาท ส่วนที่ยังค้างอยู่อีก 1,165,680 บาทผู้จะซื้อสัญญาว่าจะชำระให้แก่ผู้จะขายเป็นงวดทุก ๆ เดือน งวดละ48,570 บาท ณ สำนักงานของผู้จะขายให้เสร็จสิ้นภายในกำหนด 24 เดือนและข้อ 5 ระบุว่าสัญญาซื้อขายนี้ตามข้อความแห่งสัญญาจะมีผลสมบูรณ์ให้กรรมสิทธิ์ตกเป็นของผู้จะซื้อต่อเมื่อผู้จะซื้อปฏิบัติตามข้อความในสัญญานี้ทั้งหมดแล้ว และผู้จะขายมีสิทธิจะบอกเลิกสัญญาและเรียกทรัพย์สินได้เมื่อผู้จะซื้อไม่ปฏิบัติตามสัญญานี้ไม่ว่าข้อหนึ่งข้อใดก็ตาม เห็นว่า สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข ไม่มีข้อความแสดงให้เห็นว่าเป็นสัญญาเช่าซื้อที่เจ้าของทรัพย์เอาทรัพย์สินออกให้เช่าและให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินหรือจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่า โดยเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราว ส่วนสัญญาข้อ 9 ที่ระบุว่าหากผู้จะซื้อผิดนัดไม่ชำระราคาสินค้าตามงวดหนึ่งงวดใด ฯลฯ ผู้จะซื้อยอมให้ถือว่าสัญญานี้เป็นอันเลิกกันทันทีตั้งแต่วาระนั้นโดยไม่จำต้องบอกกล่าวและมีสิทธิเอารถยนต์ที่จะซื้อคืนโดยไม่ต้องคืนเงินที่ผู้จะซื้อชำระแล้วนั้น เป็นข้อตกลงโดยความสมัครใจของคู่สัญญาและเป็นการรักษาผลประโยชน์ของผู้ขายมิให้เสียหายเกินกว่าความจำเป็นเมื่อผู้ซื้อผิดสัญญาเท่านั้น หาทำให้สัญญาซื้อขายโดยมีเงื่อนไขกลับกลายเป็นสัญญาเช่าซื้อไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5591/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข: กรรมสิทธิ์ยังไม่โอนจนกว่าชำระราคาครบถ้วน, ข้อตกลงยินยอมให้ริบเงินและคืนทรัพย์สินได้ไม่ขัดกฎหมาย
สัญญาฉบับพิพาทมีข้อความระบุไว้ว่าหนังสือสัญญาขายมีเงื่อนไขโดยตกลงกันไว้ในข้อ 1 ว่า ผู้จะขายตกลงจะขายและผู้จะซื้อตกลงจะซื้อรถยนต์พิพาทในราคา 1,235,680 บาท ในวันทำสัญญานี้ผู้จะซื้อได้ชำระเงินค่าสินค้า ให้แก่ผู้จะขายแล้วเป็นเงิน 70,000 บาท ส่วนที่ยังค้างอยู่อีก 1,165,680 บาท นั้น ผู้จะซื้อสัญญาว่าจะชำระให้แก่ผู้จะขายเป็นงวดทุก ๆ เดือน งวดละ 48,570 บาท ณ สำนักงานของผู้จะขายให้เสร็จสิ้นภายในกำหนด 24 เดือน และระบุไว้ในข้อ 5 อีกว่า สัญญาซื้อขายนี้ตามข้อความแห่งสัญญาจะมีผลสมบูรณ์ให้กรรมสิทธิ์ตกเป็นของผู้จะซื้อต่อเมื่อผู้จะซื้อได้ปฏิบัติตามข้อความในสัญญานี้ทั้งหมดแล้ว และผู้จะขายมีสิทธิจะบอกเลิกสัญญาและเรียกทรัพย์สินได้ เมื่อผู้จะซื้อ ไม่ปฏิบัติตามสัญญานี้ไม่ว่าข้อหนึ่งข้อใดก็ตาม เห็นได้ว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ตกลงซื้อขายกันยังเป็นของผู้ขายโดยไม่โอนไปยังผู้ซื้อจนกว่าผู้ขายจะได้รับชำระราคาครบถ้วนตามสัญญาแล้ว จึงเป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังไม่โอนไปจนกว่าจะได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขคือได้ชำระราคาแก่ผู้ขายครบถ้วนแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 459 ส่วนที่สัญญาระบุว่าหากผู้จะซื้อผิดนัดไม่ชำระราคาสินค้าตามงวดหนึ่งงวดใด ผู้จะซื้อยอมให้ถือว่า สัญญานี้เป็นอันเลิกกันทันทีตั้งแต่วาระนั้นโดยไม่จำต้องบอกกล่าวและมีสิทธิเอารถยนต์ที่จะซื้อคืนโดยไม่ต้องคืนเงินที่ผู้จะซื้อชำระแล้วนั้น เป็นข้อตกลงโดยความสมัครใจของคู่สัญญาและข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าวเป็นการรักษา ผลประโยชน์ของผู้ขายมิให้เสียหายเกินกว่าความจำเป็น เมื่อผู้ซื้อผิดสัญญา ข้อตกลงยินยอมกันดังกล่าวไม่ต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย และหาทำให้อิสระในการแสดงเจตนาทำสัญญาซื้อขายโดยมีเงื่อนไขกลับกลาย แปรเปลี่ยนเป็นสัญญาเช่าซื้อไม่
เจตนารมณ์ของคู่สัญญามุ่งที่จะซื้อขายรถยนต์คันพิพาทต่อกันโดยมีข้อตกลงป้องกันการผิดสัญญาไว้ล่วงหน้า เมื่อเกิดผิดสัญญากันขึ้นก็ต้องบังคับไปตามกฎหมายและข้อสัญญาที่ตกลงกันไว้นั้น
เจตนารมณ์ของคู่สัญญามุ่งที่จะซื้อขายรถยนต์คันพิพาทต่อกันโดยมีข้อตกลงป้องกันการผิดสัญญาไว้ล่วงหน้า เมื่อเกิดผิดสัญญากันขึ้นก็ต้องบังคับไปตามกฎหมายและข้อสัญญาที่ตกลงกันไว้นั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5587/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พระภิกษุมีอำนาจฟ้องขับไล่: การยกทรัพย์ให้ไม่ถือเป็นการเรียกร้องมรดก
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านและที่ดินที่โจทก์ได้รับการยกให้จาก ล. จำเลยต่อสู้คดีว่าบ้านพิพาทเป็นของจำเลยและบิดาจำเลย คดีมีประเด็นเฉพาะบ้านพิพาท ซึ่งคู่ความตีราคาไว้ 200,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
ป.พ.พ.มาตรา 1622 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า พระภิกษุนั้น จะเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกในฐานะที่เป็นทายาทโดยธรรมไม่ได้ เว้นแต่จะได้สึกจากสมณเพศมาเรียกร้องภายในกำหนดอายุความตามมาตรา 1754 นั้น หมายถึงกรณีที่เจ้ามรดกตายโดยมิได้ทำพินัยกรรมไว้ และพระภิกษุเป็นทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิในการรับมรดกด้วย ได้ฟ้องทายาทคนอื่น ๆ ขอแบ่งมรดก แต่โจทก์ได้รับการยกให้ซึ่งบ้านและที่ดินจาก ล. ในขณะที่ ล.มีชีวิตอยู่ โจทก์จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินดังกล่าว การฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านและที่ดินของโจทก์จึงมิใช่ฟ้องเรียกร้องเอาส่วนแบ่งทรัพย์มรดกในฐานะทายาทโดยธรรม แม้โจทก์จะเป็นพระภิกษุก็ย่อมมีอำนาจฟ้อง
ป.พ.พ.มาตรา 1622 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า พระภิกษุนั้น จะเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกในฐานะที่เป็นทายาทโดยธรรมไม่ได้ เว้นแต่จะได้สึกจากสมณเพศมาเรียกร้องภายในกำหนดอายุความตามมาตรา 1754 นั้น หมายถึงกรณีที่เจ้ามรดกตายโดยมิได้ทำพินัยกรรมไว้ และพระภิกษุเป็นทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิในการรับมรดกด้วย ได้ฟ้องทายาทคนอื่น ๆ ขอแบ่งมรดก แต่โจทก์ได้รับการยกให้ซึ่งบ้านและที่ดินจาก ล. ในขณะที่ ล.มีชีวิตอยู่ โจทก์จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินดังกล่าว การฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านและที่ดินของโจทก์จึงมิใช่ฟ้องเรียกร้องเอาส่วนแบ่งทรัพย์มรดกในฐานะทายาทโดยธรรม แม้โจทก์จะเป็นพระภิกษุก็ย่อมมีอำนาจฟ้อง