พบผลลัพธ์ทั้งหมด 352 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3529/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การปฏิเสธที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการคำนวณดอกเบี้ยผิดนัด
คำฟ้องของโจทก์บรรยายรายละเอียดไว้ชัดเจนว่า จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 สั่งซื้อสินค้าไปจากโจทก์หลายครั้ง รวม 60 รายการ เป็นเงินทั้งสิ้น 673,301 บาท จำเลยทั้งสองให้การว่า "คำฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับใบสั่งซื้อตั้งแต่รายการที่ 1 ถึงรายการที่ 60 ไม่ปรากฏคำสั่งซื้อของจำเลยทั้งสองและไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ดำเนินการส่งมอบสินค้าให้แก่จำเลย และไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองได้ลงนามรับสินค้าจากโจทก์ โจทก์จะได้ขายสินค้าตามฟ้องให้แก่จำเลยทั้งหมดหรือรายการใดรายการหนึ่งหรือไม่ ไม่ขอรับรอง" คำให้การของจำเลยดังกล่าวไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งว่าเลยทั้งสองยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน ส่วนคำให้การของจำเลยทั้งสองว่า "โจทก์จะได้ขายสินค้าตามฟ้องให้แก่จำเลยทั้งหมดหรือรายการใดรายการหนึ่งหรือไม่ ไม่ขอรับรอง" แปลได้ว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 อาจซื้อสินค้าไปจากโจทก์จริงดังฟ้องก็ได้ ส่วนคำให้การที่มีมาก่อนหน้านั้นที่ว่า "ไม่ปรากฏคำสั่งซื้อขายของจำเลยทั้งสอง และไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ดำเนินการส่งมอบสินค้าให้แก่จำเลย ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองได้ลงนามรับสินค้าจากโจทก์" เป็นฟ้องขยายความให้การที่ว่าไม่ขอรับรองเท่านั้น ไม่ได้เป็นการยืนยันปฏิเสธ คำให้การของจำเลยทั้งสองจึงเป็นคำให้การปฏิเสธที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธจึงรับฟังได้ตามฟ้องว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 สั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ไปรวม 60 รายการ เป็นเงินทั้งสิ้น 673,301 บาท
หนี้แต่ละรายการถึงกำหนดชำระไม่พร้อมกัน ในทางพิจารณาโจทก์ก็มิได้นำสืบให้เห็นว่าหนี้ตามใบส่งของ / ใบเสร็จรับเงินแต่ละรายการนั้น คำนวณเป็นดอกเบี้ยผิดนัดจนถึงวันฟ้องได้รายละเท่าใด และไม่ใช่หน้าที่ของศาลจะคำนวณให้ ที่ศาลชั้นต้นคำนวณดอกเบี้ยผิดนัดของหนี้แต่ละรายให้นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจึงชอบแล้ว
หนี้แต่ละรายการถึงกำหนดชำระไม่พร้อมกัน ในทางพิจารณาโจทก์ก็มิได้นำสืบให้เห็นว่าหนี้ตามใบส่งของ / ใบเสร็จรับเงินแต่ละรายการนั้น คำนวณเป็นดอกเบี้ยผิดนัดจนถึงวันฟ้องได้รายละเท่าใด และไม่ใช่หน้าที่ของศาลจะคำนวณให้ ที่ศาลชั้นต้นคำนวณดอกเบี้ยผิดนัดของหนี้แต่ละรายให้นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3504/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหน้าที่รัฐปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ หน่วยงานรับผิดชอบละเมิด โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเจ้าหน้าที่โดยตรง
การที่ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องของโจทก์แล้ว เห็นว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง จึงยกฟ้องโจทก์นั้น แม้ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยไม่ใช้รูปแบบคำพิพากษา ก็ไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 141 แต่ประการใด
ส่วนการที่โจทก์ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของโจทก์จึงแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัย คือ จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 และสั่งพักราชการโจทก์ การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ราชการทั้งสิ้น ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 20, 21, 22 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดในมูลละเมิดที่จำเลยทั้งสามกระทำไปในการปฏิบัติหน้าที่ แต่อาจฟ้องหน่วยงานของรัฐได้ ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 5 และเมื่อการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ดังนั้น ไม่ว่าการออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยและคำสั่งพักราชการโจทก์จะกระทำไปโดยถูกต้อง หรือปราศจากอำนาจหรือเป็นการจงใจทำละเมิดต่อจำเลยก็ตาม โจทก์ก็ชอบที่จะฟ้องให้หน่วยงานของรัฐรับผิด แต่จะฟ้องจำเลยทั้งสามไม่ได้ ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 8
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดในข้อกฎหมายเบื้องต้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 แล้วพิพากษายกฟ้อง การที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลชั้นต้นรับคำฟ้องไว้ เป็นการอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 227 ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ข. ท้าย ป.วิ.พ. แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในชั้นนี้อย่างคดีมีทุนทรัพย์ซึ่งไม่ถูกต้อง ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรย่อมมีอำนาจสั่งคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินให้แก่โจทก์ได้
ส่วนการที่โจทก์ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของโจทก์จึงแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัย คือ จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 และสั่งพักราชการโจทก์ การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ราชการทั้งสิ้น ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 20, 21, 22 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดในมูลละเมิดที่จำเลยทั้งสามกระทำไปในการปฏิบัติหน้าที่ แต่อาจฟ้องหน่วยงานของรัฐได้ ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 5 และเมื่อการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ดังนั้น ไม่ว่าการออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยและคำสั่งพักราชการโจทก์จะกระทำไปโดยถูกต้อง หรือปราศจากอำนาจหรือเป็นการจงใจทำละเมิดต่อจำเลยก็ตาม โจทก์ก็ชอบที่จะฟ้องให้หน่วยงานของรัฐรับผิด แต่จะฟ้องจำเลยทั้งสามไม่ได้ ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 8
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดในข้อกฎหมายเบื้องต้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 แล้วพิพากษายกฟ้อง การที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลชั้นต้นรับคำฟ้องไว้ เป็นการอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 227 ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ข. ท้าย ป.วิ.พ. แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในชั้นนี้อย่างคดีมีทุนทรัพย์ซึ่งไม่ถูกต้อง ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรย่อมมีอำนาจสั่งคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินให้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3412/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์ต้องยื่นก่อนครบกำหนด หากเลยกำหนดศาลไม่มีอำนาจรับอุทธรณ์
จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ภายหลังจากที่กำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ได้สิ้นสุดลงแล้วโดยกรณีไม่มีเหตุสุดวิสัยศาลชั้นต้นจึงไม่มีอำนาจสั่งขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปให้ได้
เมื่อจำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์เกินกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์หนึ่งเดือนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 198 วรรคหนึ่ง คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1จึงไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ชอบแต่จะพิจารณาพิพากษาเฉพาะอุทธรณ์ของจำเลยอื่นเท่านั้น หากพิจารณาแล้วเห็นว่ามีเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีซึ่งศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1ที่มิได้อุทธรณ์ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 213 ศาลอุทธรณ์จะพิพากษากลับหรือแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ลงโทษหรือลดโทษให้จำเลยที่ 1 ก็มีอำนาจกระทำได้โดยอาศัยบทบัญญัติของมาตรา 213 ดังกล่าว มิใช่พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เพราะจำเลยที่ 1อุทธรณ์ขึ้นมา
เมื่อจำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์เกินกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์หนึ่งเดือนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 198 วรรคหนึ่ง คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1จึงไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ชอบแต่จะพิจารณาพิพากษาเฉพาะอุทธรณ์ของจำเลยอื่นเท่านั้น หากพิจารณาแล้วเห็นว่ามีเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีซึ่งศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1ที่มิได้อุทธรณ์ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 213 ศาลอุทธรณ์จะพิพากษากลับหรือแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ลงโทษหรือลดโทษให้จำเลยที่ 1 ก็มีอำนาจกระทำได้โดยอาศัยบทบัญญัติของมาตรา 213 ดังกล่าว มิใช่พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เพราะจำเลยที่ 1อุทธรณ์ขึ้นมา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3412/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาอุทธรณ์และการพิจารณาคดีเมื่อจำเลยไม่อุทธรณ์ ศาลมีอำนาจตามมาตรา 213 ป.วิ.อ.
จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ภายหลังจากที่กำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ได้สิ้นสุดลงแล้วโดยกรณีไม่มีเหตุสุดวิสัย ศาลชั้นต้นจึงไม่มีอำนาจสั่งขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปให้ได้
เมื่อจำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์เกินกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์หนึ่งเดือนตาม ป.วิ.อ.มาตรา 198 วรรคหนึ่ง คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1จึงไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ชอบแต่จะพิจารณาพิพากษาเฉพาะอุทธรณ์ของจำเลยอื่นเท่านั้นหากพิจารณาแล้วเห็นว่ามีเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีซึ่งศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้อุทธรณ์ด้วย ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 213 ศาลอุทธรณ์จะพิพากษากลับหรือแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ลงโทษหรือลดโทษให้จำเลยที่ 1 ก็มีอำนาจกระทำได้โดยอาศัยบทบัญญัติของมาตรา 213 ดังกล่าว มิใช่พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เพราะจำเลยที่ 1 อุทธรณ์ขึ้นมา
เมื่อจำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์เกินกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์หนึ่งเดือนตาม ป.วิ.อ.มาตรา 198 วรรคหนึ่ง คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1จึงไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ชอบแต่จะพิจารณาพิพากษาเฉพาะอุทธรณ์ของจำเลยอื่นเท่านั้นหากพิจารณาแล้วเห็นว่ามีเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีซึ่งศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้อุทธรณ์ด้วย ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 213 ศาลอุทธรณ์จะพิพากษากลับหรือแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ลงโทษหรือลดโทษให้จำเลยที่ 1 ก็มีอำนาจกระทำได้โดยอาศัยบทบัญญัติของมาตรา 213 ดังกล่าว มิใช่พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เพราะจำเลยที่ 1 อุทธรณ์ขึ้นมา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3412/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ที่เกินกำหนดระยะเวลา และอำนาจศาลในการพิจารณาคดีของจำเลยที่ไม่ได้อุทธรณ์
จำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์เกินกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์หนึ่งเดือนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 198 วรรคหนึ่งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ชอบแต่จะพิจารณาพิพากษาเฉพาะอุทธรณ์ของจำเลยอื่นเท่านั้น และหากเห็นว่ามีเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีซึ่งศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้อุทธรณ์ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ศาลอุทธรณ์จะพิพากษากลับหรือแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ลงโทษหรือลดโทษให้จำเลยที่ 1 ก็มีอำนาจกระทำได้โดยอาศัยบทบัญญัติมาตรา 213มิใช่พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1เพราะจำเลยที่ 1 อุทธรณ์ขึ้นมา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3305/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฆ่าโดยเจตนาและประสงค์ทรมาน: พฤติการณ์โหดร้ายทารุณ
จำเลยไปหาผู้ตายเพราะความเจ็บใจซึ่งเกิดมานานแล้ว เมื่อจำเลยเห็นผู้ตายก็ยิงผู้ตายทันที ในวันเกิดเหตุจำเลยเป็นฝ่ายลงมือก่อเหตุจะไปเผาบ้านที่ผู้ตายพักอาศัยอยู่โดยเตรียมน้ำมันเบนซิน ไฟแช็ก ตลอดจนเตรียมยากำจัดหนูเพื่อจะฆ่าตัวตายพร้อมกับผู้ตาย บังเอิญเมื่อมาที่ห้องนอนผู้ตายพบอาวุธปืนจึงคิดจะใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายและฆ่าตัวตายตาม มูลเหตุที่จูงใจให้กระทำผิดเกิดจากความเจ็บแค้นใจซึ่งมีอยู่เดิม กรณีมิใช่บันดาลโทสะโดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม
ภายหลังจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย ผู้ตายไม่ถึงแก่ความตายทันที จำเลยใช้น้ำมันเบนซินราดผู้ตายแล้วจุดไฟเผา ซึ่งผู้ตายได้รับความเจ็บปวดและทรมานก่อนถึงแก่ความตาย แสดงให้เห็นว่าจำเลยประสงค์ให้ผู้ตายได้รับความลำบากอย่างสาหัสก่อนตาย จึงเป็นการฆ่าโดยทรมานและโดยทารุณโหดร้าย
ภายหลังจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย ผู้ตายไม่ถึงแก่ความตายทันที จำเลยใช้น้ำมันเบนซินราดผู้ตายแล้วจุดไฟเผา ซึ่งผู้ตายได้รับความเจ็บปวดและทรมานก่อนถึงแก่ความตาย แสดงให้เห็นว่าจำเลยประสงค์ให้ผู้ตายได้รับความลำบากอย่างสาหัสก่อนตาย จึงเป็นการฆ่าโดยทรมานและโดยทารุณโหดร้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3305/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฆ่าโดยเจตนาและทรมาน: ปฏิเสธบันดาลโทสะ เตรียมการล่วงหน้าและลงมืออย่างโหดร้าย
จำเลยไปหาผู้ตายเพราะความเจ็บใจซึ่งเกิดมานานแล้ว เมื่อจำเลยเห็นผู้ตายก็ยิงผู้ตายทันที ในวันเกิดเหตุจำเลยเป็นฝ่ายลงมือก่อเหตุจะไปเผาบ้านที่ผู้ตายพักอาศัยอยู่โดยเตรียมน้ำมันเบนซิน ไฟแช็ก ตลอดจนเตรียมยากำจัดหนูเพื่อจะฆ่าตัวตายพร้อมกับผู้ตาย บังเอิญเมื่อมาที่ห้องนอนผู้ตายพบอาวุธปืนจึงคิดจะใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายและฆ่าตัวตายตาม มูลเหตุที่จูงใจให้กระทำผิด เกิดจากความเจ็บแค้นใจซึ่งมีอยู่เดิม กรณีมิใช่บันดาลโทสะโดยถูกข่มเหง อย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม
ภายหลังจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย ผู้ตายไม่ถึงแก่ความตายทันที จำเลยใช้น้ำมันเบนซินราดผู้ตายแล้วจุดไฟเผา ซึ่งผู้ตายได้รับความเจ็บปวดและทรมานก่อนถึงแก่ความตาย แสดงให้เห็นว่าจำเลยประสงค์ให้ผู้ตายได้รับความลำบากอย่างสาหัสก่อนตาย จึงเป็นการฆ่าโดยทรมานและโดยทารุณโหดร้าย
ภายหลังจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย ผู้ตายไม่ถึงแก่ความตายทันที จำเลยใช้น้ำมันเบนซินราดผู้ตายแล้วจุดไฟเผา ซึ่งผู้ตายได้รับความเจ็บปวดและทรมานก่อนถึงแก่ความตาย แสดงให้เห็นว่าจำเลยประสงค์ให้ผู้ตายได้รับความลำบากอย่างสาหัสก่อนตาย จึงเป็นการฆ่าโดยทรมานและโดยทารุณโหดร้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3241/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยที่ปรับเพิ่มขึ้นหลังผิดนัดกู้เงิน มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ศาลมีอำนาจลดได้
เมื่อสัญญากู้เงินกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้แน่นอนชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้ว แต่ยังให้สิทธิผู้ให้กู้ปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นได้ต่อเมื่อผู้กู้ผิดนัดเช่นนี้ มีลักษณะเป็นค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนที่กำหนดไว้ล่วงหน้า อัตราดอกเบี้ยที่ปรับเพิ่มขึ้นจึงเป็นเบี้ยปรับเมื่อสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจปรับลดลงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3241/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับจากอัตราดอกเบี้ยที่ปรับขึ้นเมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญา
สัญญากู้ระบุว่าหากผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระหนี้เงินกู้ตามที่กำหนดไว้ไม่ว่างวดหนึ่งงวดใด ยินยอมให้ผู้ให้กู้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าที่กำหนด (สูงกว่าร้อยละ 9.5) เมื่อใดก็ได้แต่ไม่เกินอัตราสูงสุดที่กฎหมายกำหนดไว้ สัญญากู้เงิน ฉบับพิพาท ที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้แน่นอนแล้วจำนวนหนึ่ง มีระยะเวลาที่แน่นอนชั่วระยะเวลาหนึ่ง แต่ยังให้สิทธิ ผู้ให้กู้ปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นได้ใหม่เมื่อใดก็ได้เมื่อผู้กู้ผิดนัดเช่นนี้ มีลักษณะเป็นค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนความเสียหายซึ่งคู่สัญญากำหนดกันไว้ล่วงหน้า เมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้อง สมควร เป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2773/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำอนาจารเด็กและการพรากเด็ก: การพิจารณาความผิดฐานพรากเด็กเมื่อเด็กอยู่ในบริเวณวัด
ผู้เสียหายเป็นเด็กมีอายุ 8 ปี 6 เดือน ได้ไปที่วัดที่จำเลยจำพรรษาอยู่ ขณะที่ผู้เสียหายกำลังจะกลับบ้าน จำเลยได้จูงมือผู้เสียหายและเด็กหญิง ก. ชวนไปรับประทานขนมที่กุฏิของจำเลยการที่จำเลยจูงมือผู้เสียหายซึ่งไปที่วัดช่วยพระทำงานอยู่ในบริเวณวัดไปที่กุฏิของจำเลยซึ่งอยู่ในวัดนั่นเอง ยังไม่ถือว่าเป็นการพรากผู้เสียหายไปจากความปกครองดูแลของบิดามารดา การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานพรากเด็กตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 317 วรรคสาม