พบผลลัพธ์ทั้งหมด 352 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8908/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำงานของคนต่างด้าว: การปรุงอาหารตามสั่ง ไม่ใช่การขายของหน้าร้านตามกฎหมาย
งานขายของหน้าร้านตาม พ.ร.ฎ.กำหนดงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำพ.ศ.2522 มีลักษณะเป็นงานที่ผู้ทำงานขายสินค้าที่มีอยู่แล้วในสถานประกอบการค้าซึ่งอาจเป็นร้านค้าหรือแผงลอยให้แก่ลูกค้า ไม่ว่าเป็นการค้าส่งหรือค้าปลีก การที่จำเลยรับการสั่งอาหารจาก ย. แล้วเข้าไปประกอบอาหารตามคำสั่งดังกล่าวจากนั้นจำเลยจึงนำอาหารไปให้ ย. ลักษณะการทำงานดังกล่าวแสดงให้เห็นได้ว่าจำเลยต้องปรุงอาหารตามที่ลูกค้าสั่งเสียก่อนจึงจะนำอาหารไปส่งให้แก่ลูกค้า มิได้มีลักษณะเป็นการขายสินค้าที่มีอยู่แล้วในสถานประกอบการค้า การกระทำของจำเลยจึงมิใช่เป็นการขายของหน้าร้าน ตาม พ.ร.ฎ.กำหนดงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ พ.ศ.2522 และบัญชีท้ายพ.ร.ฎ. กำหนดงานในอาชีพและวิชาชีพ ที่ห้ามคนต่างด้าวทำ พ.ศ.2522 (6)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8908/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบอาหารตามสั่งก่อนส่งมอบ ไม่ถือเป็นการขายของหน้าร้านที่ห้ามคนต่างด้าวทำ
จำเลยรับการสั่งอาหารจากลูกค้าแล้วเข้าไปประกอบอาหารตามคำสั่ง จากนั้นจึงนำอาหารไปส่งให้แก่ลูกค้า ลักษณะการทำงานแสดงให้เห็นว่า จำเลยต้องปรุงอาหารตามที่ลูกค้าสั่งเสียก่อนจึงจะนำอาหารไปส่งให้แก่ลูกค้า มิได้มีลักษณะเป็นการขายสินค้าที่มีอยู่แล้วในสถานประกอบการค้าหรือแผงลอยให้แก่ลูกค้า ไม่ว่าเป็นการค้าส่งหรือค้าปลีก จึงมิใช่เป็นการขายของหน้าร้านที่ห้ามคนต่างด้าวทำตาม พ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2521 มาตรา 6 ประกอบ พ.ร.ฎ.กำหนดงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ พ.ศ.2522 และบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ พ.ศ.2522 (6)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7988/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไต่สวนละเมิดอำนาจศาลต้องรับฟังพยานหลักฐานโดยชอบ ปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับกระบวนการพิจารณา ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้
ผู้กล่าวหาร้องเรียนว่าผู้ถูกกล่าวหาอ้างตนเป็นทนายความและเรียกรับเงินจากผู้กล่าวหาประมาณ 7,000 บาท เพื่อจะนำไปให้พนักงานอัยการจังหวัดเดชอุดม เพื่อช่วยเหลือทางคดีแก่ ย. บุตรของผู้กล่าวหา กรณีดังกล่าวเป็นการกล่าวหาว่า ผู้ถูกกล่าวหากระทำความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลโดยที่มิได้กระทำต่อหน้าศาล ศาลจำต้องไต่สวนพยานหลักฐานเพื่อหาข้อเท็จจริงก่อน การที่ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดเดชอุดมสอบถามปากคำผู้กล่าวหาแล้วนำคำบอกเล่าดังกล่าวมารับฟังลงโทษผู้ถูกกล่าวหา โดยไม่ปรากฏว่าผู้กล่าวหาได้สาบานตนหรือกล่าวคำปฏิญาณว่าจะให้การตามสัตย์จริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 112 (เดิม) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ประกอบกับผู้ถูกกล่าวหาฎีกาโต้เถียงทำนองว่า ถ้อยคำของผู้กล่าวหาฟังไม่ได้ โดยอ้างว่าผู้ถูกกล่าวหาในฐานะเสมียนทนายความเรียกเงินจากผู้กล่าวหาสืบเนื่องจาก ส. ทนายความให้ผู้ถูกกล่าวหาไปเรียกเก็บเงินค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีจากผู้กล่าวหา โดยไม่ได้เกิดขึ้นในบริเวณศาล และไม่ปรากฏว่าผู้ถูกกล่าวหาจะนำเงินไปให้ผู้พิพากษาเพื่อเป็นอามิสสินจ้างในการดำเนินคดี ดังนี้ ถ้อยคำของผู้กล่าวหาจึงรับฟังเป็นความจริงยังไม่ได้ แม้ศาลชั้นต้นได้ไต่สวน ท. และ ข. ก็ตาม แต่ ท. และ ข. มิใช่ผู้กล่าวหาในคดีนี้ ปัญหาว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไต่สวนโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ผู้ถูกกล่าวหามิได้ฎีกาในปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7941/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันตนเองเกินกว่าเหตุ การใช้กำลังป้องกันต้องสมเหตุสมผลและไม่เกินขอบเขตที่จำเป็น
ผู้ตายตบและชกต่อยจำเลยจนจำเลยล้มลง ผู้ตายกระชากคอเสื้อจำเลยทำให้อาวุธปืนของผู้ตายหล่นออกจากตัวผู้ตาย ผู้ตายและจำเลยแย่งอาวุธปืนกันระหว่างนั้นจำเลยยิงปืน 2 นัด กระสุนปืนถูกผู้ตาย การที่ผู้ตายตบและชกต่อยจำเลยจนล้มลงนับได้ว่าการกระทำของผู้ตายเป็นภยันตรายต่อจำเลยซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง จำเลยจึงมีสิทธิกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อป้องกันตนเองได้ ดังนั้นเมื่ออาวุธปืนของผู้ตายหล่นจากตัวผู้ตาย ในภาวะเช่นนั้นจำเลยย่อมไม่มีทางเลือกนอกจากจะแย่งอาวุธปืนดังกล่าว เพราะหากผู้ตายแย่งอาวุธปืนได้ ผู้ตายอาจใช้อาวุธปืนยิงจำเลยได้ แต่ขณะที่แย่งอาวุธปืนกันจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายถึง 2 นัด นับว่าเป็นการกระทำเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 290 วรรคแรก ประกอบมาตรา 69
จำเลยนำอาวุธปืนของกลางไปโดยมุ่งประสงค์จะนำไปทิ้งในแม่น้ำเพื่อมิให้เจ้าพนักงานตำรวจยึดอาวุธปืนของกลางได้ เช่นนี้กรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีอาวุธปืนของกลางไว้ในครอบครอง เพราะจำเลยมิได้เจตนาจะยึดถือไว้อย่างเป็นเจ้าของทั้งการที่จำเลยนำอาวุธปืนของกลางติดตัวไปทิ้งถือว่าจำเลยไม่มีเจตนาพาอาวุธปืนของกลางไป จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานมีอาวุธปืนและพาอาวุธปืน แม้ความผิดฐานพาอาวุธปืนจะยุติไปแล้วตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225
จำเลยนำอาวุธปืนของกลางไปโดยมุ่งประสงค์จะนำไปทิ้งในแม่น้ำเพื่อมิให้เจ้าพนักงานตำรวจยึดอาวุธปืนของกลางได้ เช่นนี้กรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีอาวุธปืนของกลางไว้ในครอบครอง เพราะจำเลยมิได้เจตนาจะยึดถือไว้อย่างเป็นเจ้าของทั้งการที่จำเลยนำอาวุธปืนของกลางติดตัวไปทิ้งถือว่าจำเลยไม่มีเจตนาพาอาวุธปืนของกลางไป จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานมีอาวุธปืนและพาอาวุธปืน แม้ความผิดฐานพาอาวุธปืนจะยุติไปแล้วตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6786/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานรับของโจรไม่เพียงพอ ศาลยกฟ้องจำเลยทั้งสามตามหลักการสงสัย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันกระทำความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร เมื่อพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบเพื่อพิสูจน์ความผิดจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับจำเลยที่ 3 เป็นพยานหลักฐานชุดเดียวกันยังเป็นที่สงสัยฟังไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นความผิดฐานร่วมกันรับของโจร จึงเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 3 ที่มิได้ฎีกาด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6668/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวความผิดต่อกฎหมายหลายบท การกระทำต่อเนื่องเชื่อมโยง การรอการลงโทษและพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ
จำเลยกรีดกระโปรงนักเรียนของผู้เสียหาย แล้วใช้ลำตัวของจำเลยเบียดที่ลำตัวด้านหลังของผู้เสียหายพร้อมกับใช้อวัยวะเพศของจำเลยดันที่บริเวณก้นของผู้เสียหายขณะอยู่บนรถไฟฟ้าต่อหน้าผู้โดยสารจำนวนมาก ภายหลังจากนั้นจำเลยใช้มือชักอวัยวะเพศของจำเลยเข้าออกเพื่อสำเร็จความใคร่ของตนบนสถานีรถไฟฟ้า จำเลยกระทำการดังกล่าวก็เพื่อกระทำอนาจารผู้เสียหายและกระทำการลามกอันควรขายหน้าต่อธารกำนัล การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำต่อเนื่องเชื่อมโยงในวาระเดียวกัน โดยมีเจตนาเพื่อกระทำอนาจารผู้เสียหายและเป็นผลมาจากการกระทำอนาจาร ลักษณะของเจตนาในการกระทำผิดเป็นอันเดียวกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวมิใช่หลายกรรม แม้โจทก์บรรยายฟ้องแยกเป็นข้อ ๆ เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นการกระทำหลายกรรมต่างกันและจำเลยให้การรับสารภาพก็ตาม ก็ไม่ทำให้การกระทำของจำเลยเป็นหลายกรรมต่างกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6606/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงจากฟ้อง การต่อสู้ของจำเลย และขอบเขตการลงโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยบุกรุกเข้าไปในอาคารห้างสรรพสินค้า ต. อันเป็นสำนักงานของบริษัท ศ. ผู้เสียหาย โดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่มีเหตุอันสมควร เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเข้าไปในห้างสรรพสินค้าที่เกิดเหตุในเวลาที่ห้างสรรพสินค้าที่เกิดเหตุยังเปิดทำการ และจำเลยอยู่ในห้างสรรพสินค้าที่เกิดเหตุจนกระทั่งห้างสรรพสินค้าที่เกิดเหตุปิดทำการ จึงมิใช่เป็นการเข้าไปในห้างสรรพสินค้าที่เกิดเหตุโดยไม่มีเหตุอันสมควร แต่เป็นการซ่อนตัวอยู่ในห้างสรรพสินค้าที่เกิดเหตุ ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญเพราะโจทก์มิได้กล่าวในฟ้องว่าจำเลยซ่อนตัวอยู่ในห้างสรรพสินค้าที่เกิดเหตุโดยไม่มีเหตุอันสมควร และจำเลยก็นำสืบต่อสู้ว่าจำเลยเข้าไปในห้างสรรพสินค้าที่เกิดเหตุในระหว่างที่ห้างสรรพสินค้าที่เกิดเหตุเปิดทำการและอยู่ในห้างสรรพสินค้าจนกระทั่งปิดทำการ แสดงว่าจำเลยหลงต่อสู้แล้ว ทั้งมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยความผิดฐานซ่อนตัวในห้างสรรพสินค้าที่เกิดเหตุอันเป็นสำนักงานของผู้เสียหายโดยไม่มีเหตุอันสมควร เพราะโจทก์มิได้บรรยายฟ้องถึงการที่จำเลยซ่อนตัวอยู่ในห้างสรรพสินค้าที่เกิดเหตุ จึงลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ไม่ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง และวรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6539/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตฟ้องอาญา: การกำหนดช่วงเวลากระทำผิด และเจตนาโจทก์ในการลงโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องระบุว่า เหตุเกิดเมื่อระหว่างวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2545 เวลากลางวันถึงวันที่ 20 เมษายน 2545 เวลากลางวัน วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด ฟ้องโจทก์ไม่ได้กล่าวว่าเหตุเกิดเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2545 หรือวันที่ 20 เมษายน 2545 โดยเฉพาะเจาะจง จึงไม่ใช่จำกัดเวลาเกิดเหตุเฉพาะวันดังกล่าวเท่านั้น เมื่อทางพิจารณาได้ความว่ามีการกระทำความผิดเกิดขึ้นสองครั้ง ครั้งแรกเหตุเกิดในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2545 เวลาประมาณ 11 นาฬิกา ซึ่งตรงกับฟ้องของโจทก์ส่วนหนึ่งแล้วและปรากฏว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีในความผิดที่เกิดในวันดังกล่าวทั้งพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อกล่าวหาแก่จำเลยแล้ว โดยไม่ปรากฏว่ามีการร้องทุกข์และสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดครั้งที่สอง ดังนั้น จะฟังว่าความผิดที่เกิดขึ้นครั้งแรก เป็นข้อเท็จจริงในฟ้องและตามที่ปรากฏในทางพิจารณาไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษอันเป็นเหตุห้ามมิให้ศาลลงโทษจำเลยในข้อเท็จจริงนั้น ๆ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสี่ หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6393/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขาดไร้อุปการะจากการเสียชีวิต: ความคุ้มครองประกันภัยแยกจากค่าเสียหายอื่น
ตามกรมธรรม์ประกันภัยระบุจำนวนเงินจำกัดความรับผิด กรมธรรม์ประกันภัยนี้ให้ความคุ้มครองเฉพาะสัญญาข้อที่มีจำนวนเงินจำกัดความรับผิดระบุไว้เท่านั้น ในข้อสัญญาดังกล่าวไม่ระบุถึงต้องรับผิดในส่วนค่าขาดไร้อุปการะด้วยการที่จำเลยจ่ายเงินไปเห็นได้ชัดว่าเป็นค่าปลงศพเท่านั้น การจ่ายเงินค่าซ่อมรถก็เป็นค่าเสียหายต่อทรัพย์สินซึ่งค่าเสียหายทั้งสองรายการนี้ต้องจ่ายตามกรมธรรม์ประกันภัยที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับจำเลยร่วมเท่านั้น ในการทำละเมิดเป็นเหตุให้บุตรของโจทก์ทั้งสองถึงแก่ความตาย โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบิดามารดาโดยชอบด้วยกฎหมายย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกค่าขาดไร้อุปการะได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 443 วรรคสาม ประกอบมาตรา 1563 ไม่ว่าในขณะเกิดเหตุผู้ตายจะได้อุปการะเลี้ยงดูโจทก์ทั้งสองจริงหรือไม่ และในอนาคตจะอุปการะกันหรือไม่ การที่โจทก์ทั้งสองถอนฟ้องจำเลยร่วมที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ขอให้ศาลเรียกเข้ามานั้น ไม่มีผลเกี่ยวกับจำเลยทั้งห้าเพราะคดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้จำเลยทั้งห้าชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย ไม่ใช่ค่าปลงศพและค่าเสียหายต่อทรัพย์สินของกรมธรรม์ประกันภัย จึงไม่เป็นการปลดหนี้ให้แก่จำเลยร่วมอันจะมีผลทำให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 หลุดพ้นจากความรับผิดในส่วนนี้ ทั้งการที่โจทก์ทั้งสองทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยร่วมว่าไม่ติดใจเรียกร้องอะไรอีกนั้น เป็นกรณีเฉพาะการประนีประนอมยอมความกันในเรื่องค่าซ่อมรถเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6344/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินในคดียาเสพติด: การประกาศในหนังสือพิมพ์เป็นกระบวนการสำคัญที่ศาลต้องปฏิบัติตาม
คดีนี้พนักงานอัยการยื่นคำร้องขอให้ริบรถยนต์กระบะของกลางตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 30, 31 อันเป็นกฎหมายพิเศษที่บัญญัติเรื่องการริบทรัพย์สินของกลางในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษไว้โดยเฉพาะ ดังนั้น การดำเนินกระบวนพิจารณาจึงต้องปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 30 วรรคสอง โดยเมื่อศาลสั่งรับคำร้องแล้วให้ศาลสั่งให้ประกาศในหนังสือพิมพ์ที่มีจำหน่ายแพร่หลายในท้องถิ่นสองวันติดต่อกัน เพื่อให้บุคคลซื้ออาจอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินมายื่นคำร้องขอเข้ามาในคดีก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง แต่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นยังไม่ได้ประกาศคำร้องในหนังสือพิมพ์ที่มีจำหน่ายแพร่หลายในท้องถิ่นสองวันติดต่อกัน จึงเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามบทบัญญัติดังกล่าวอันเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบและทำให้บุคคลซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินไม่รู้ว่ามีการยื่นคำร้องขอให้ริบรถยนต์กระบะของกลางอันทำให้เสียสิทธิในการยื่นคำร้องคัดค้านเข้ามาในคดี แม้ผู้คัดค้านจะยื่นคำคัดค้านว่าเป็นเจ้าของรถยนต์กระบะของกลาง และขอให้คืนรถยนต์กระบะของกลางให้แก่ผู้คัดค้านก็ตาม ก็ไม่อาจแก้ไขกระบวนการพิจารณาที่เสียไปแล้วตั้งแต่ต้นให้กลับมาเป็นชอบด้วยกฎหมายได้ ศาลฎีกาเห็นเป็นการจำเป็นที่จะให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225