พบผลลัพธ์ทั้งหมด 352 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6174/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบเมื่อไม่ได้คัดค้านข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และการลงโทษตามบทกฎหมายที่ถูกต้อง
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 ฎีกาต้องมีข้อความคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยอ้างเหตุว่าการที่ศาลอุทธรณ์รับฟังข้อเท็จจริงหรือไม่รับฟังข้อเท็จจริงข้อใดนั้นชอบหรือไม่ชอบเพราะเหตุใด ควรรับฟังข้อเท็จจริงอย่างไร เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยบุกรุกเข้าไปในบ้านของผู้เสียหายที่ 1 แล้วใช้อาวุธมีดแทงผู้เสียหายทั้งสอง ที่จำเลยฎีกาว่าผู้เสียหายทั้งสองมีส่วนร่วมกระทำความผิดด้วย เป็นฎีกาที่ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5772/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำโดยบันดาลโทสะต้องมีเหตุข่มเหงร้ายแรง การเสียดสีไม่ถือเป็นเหตุ
ผู้เสียหายพูดกับจำเลยทำนองว่าจำเลยไม่สามารถซื้อรถจักรยานยนต์ได้เช่นเดียวกับผู้เสียหาย เป็นการพูดทำนองเสียดสีจำเลย ตามประสาของผู้ที่เคยมีสาเหตุกันมาก่อน แม้เป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมอยู่บ้าง แต่ไม่เพียงพอที่จะถือว่าเป็นการข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรม การที่จำเลยมีความโกรธแค้นและทำร้ายผู้เสียหายจึงอ้างว่าเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะตามกฎหมายไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4911/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการครอบครองที่ดินพิพาทและคุณสมบัติการเป็นผู้เสียหาย: การพิสูจน์การเช่าและการประกอบกิจการ
ข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่า โจทก์ร่วมเช่าที่ดินพิพาท โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท และไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมาย ไม่มีสิทธิเข้าเป็นโจทก์ร่วมและไม่มีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ยกฟ้องโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4723/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานลักทรัพย์จากการกสิกรรมของผู้มีอาชีพกสิกรรม การพิสูจน์เจตนาและความหมายของ 'อาชีพ'
คำว่า "อาชีพ" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 หมายความว่า งานที่ทำเป็นประจำเพื่อเลี้ยงชีพ ดังนั้น ผู้มีอาชีพกสิกรรม จึงมีความหมายถึง ผู้ที่ประกอบอาชีพกสิกรรมเพื่อเลี้ยงชีพ แม้ข้อเท็จจริงได้ความจากคำเบิกความของผู้เสียหายว่า ผู้เสียหายมีอาชีพค้าขายด้วย แต่ผู้เสียหายทำนาถึง 10 ไร่ ดังนี้ ไม่ว่าผู้เสียหายจะทำนาด้วยตนเองหรือว่าจ้างผู้อื่นทำนา ย่อมแสดงให้เห็นว่าผู้เสียหายทำนาเพื่อเลี้ยงชีพด้วย ผู้เสียหายจึงเป็นผู้มีอาชีพกสิกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3078/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษจำเลยในศาลอุทธรณ์โดยโจทก์อุทธรณ์คัดค้านการกระทำผิด และการแก้ไขโทษจำคุกของศาลฎีกา
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามฟ้อง แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์โดยตรงในข้อที่ว่าขอให้เพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสองก็ตาม แต่การที่โจทก์อุทธรณ์คัดค้านว่าการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองเป็นการมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้อุทธรณ์ในทำนองขอให้เพิ่มเติมโทษแก่จำเลยทั้งสองแล้ว ศาลอุทธรณ์ภาค 2 จึงชอบที่จะพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสองได้ หาเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6364/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องไม่ชอบเมื่อไม่บรรยายส่วนประกอบเมทแอมเฟตามีน แม้รับสารภาพเสพก็ลงโทษไม่ได้
การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันผลิตเมทแอมเฟตามีนด้วยวิธีการคือ นำเอายาแก้ปวดทั่วไปมาบดให้ละเอียดกับครกและผสมสีผสมอาหารสีส้ม จากนั้นจึงนำมาบดอัดเป็นเม็ด ฟ้องของโจทก์จึงมิได้บรรยายให้เห็นว่าสิ่งที่จำเลยทั้งสองร่วมกันผลิตมีส่วนประกอบของเมทแอมเฟตามีน เมื่อฟ้องโจทก์มิได้บรรยายถึงการกระทำอันเป็นความผิดต่อกฎหมายของจำเลยทั้งสอง จึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
แม้จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพในข้อหาเสพเมทแอมเฟตามีน ก็ลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดดังกล่าวมิได้ เนื่องจากฟ้องโจทก์ในส่วนผลิตไม่ชอบเสียแล้ว ฟ้องโจทก์ในส่วนเสพเมทแอมเฟตามีนที่ได้ผลิตดังกล่าวจึงไม่ชอบไปด้วย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2549)
แม้จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพในข้อหาเสพเมทแอมเฟตามีน ก็ลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดดังกล่าวมิได้ เนื่องจากฟ้องโจทก์ในส่วนผลิตไม่ชอบเสียแล้ว ฟ้องโจทก์ในส่วนเสพเมทแอมเฟตามีนที่ได้ผลิตดังกล่าวจึงไม่ชอบไปด้วย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2549)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5818/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลจำกัดในการพิจารณาคดีหลังการกระทำเสร็จสิ้น การฟ้องขอปรับปรุงสิ่งแวดล้อมหลังถ่ายทำภาพยนตร์เสร็จแล้วจึงไม่มีประโยชน์
บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 290 และ พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 มาตรา 23 แสดงให้เห็นว่า ทั้งองค์การบริหารส่วนตำบลโจทก์ที่ 1 และที่ 2 มีหน้าที่ในการคุ้มครองดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น เมื่อโจทก์ที่ 1 และที่ 2 อ้างว่าจำเลยที่ 4 และที่ 5 พยายามทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายในเขตหาดมาหยาที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 มีหน้าที่รับผิดชอบ โจทก์ที่ 1 และที่ 2 จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามมิให้จำเลยที่ 4 และที่ 5 กระทำหรือขอให้บังคับจำเลยที่ 4 ที่ 5 ปรับปรุงแก้ไขหาดมาหยาให้กลับคืนสภาพเดิมตามธรรมชาติได้ ซึ่งรวมทั้งฟ้องรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ที่มีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 4 และที่ 5 เข้าไปถ่ายทำภาพยนตร์ได้ด้วย
คำว่า "ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม" ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 46 ยังไม่มีคำนิยามความหมายหรือขอบเขตที่แน่นอน ทั้งบทบัญญัติมาตรานี้มีเงื่อนไขที่ต้องมีกฎหมายบัญญัติออกมาตามมาตรานี้ เมื่อในขณะที่โจทก์ที่ 3 ถึงที่ 19 ซึ่งเป็นบุคคลในชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมของจังหวัดกระบี่และอาศัยอยู่บริเวณรอบอ่าวมาหยายื่นฟ้องยังไม่มีกฎหมายบัญญัติออกมาใช้บังคับ จึงไม่อาจถือได้ว่ามีการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ที่ 3 ถึงที่ 19 แล้ว โจทก์ที่ 3 ถึงที่ 19 จึงยังไม่มีอำนาจฟ้อง
ตามฟ้องของโจทก์ทั้งสิบเก้าได้บรรยายถึงสภาพแห่งข้อหา คือจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ได้อนุญาตให้จำเลยที่ 4 และที่ 5 เข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องเดอะบีชในอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา หมู่เกาะพีพี จังหวัดกระบี่ ทำให้เปลี่ยนแปลงสภาพของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกระทบต่อสิทธิประโยชน์และคุณภาพชีวิตของโจทก์ทั้งสิบเก้า คำขอบังคับให้จำเลยทั้งห้าปรับปรุงแก้ไขหาดมาหยาให้กลับคืนสภาพเดิมตามธรรมชาติ โดยค่าใช้จ่ายของจำเลยที่ 4 และที่ 5 และให้เพิกถอนใบอนุญาตให้จำเลยที่ 4 และที่ 5 เข้าถ่ายทำภาพยนตร์ดังกล่าว และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาคือ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้โจทก์ทั้งสิบเก้าจะมิได้บรรยายถึงการทำละเมิด ค่าเสียหายหรือความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมเป็นมูลค่าเท่าใดก็มิใช่ข้อสำคัญเพราะโจทก์ทั้งสิบเก้ามิได้ฟ้องว่าจำเลยทั้งห้าทำละเมิดทำให้โจทก์ทั้งสิบเก้าเสียหายโดยเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน แต่โจทก์ทั้งสิบเก้าฟ้องขอให้ปรับปรุงหาดมาหยาให้กลับคืนสภาพเดิมแม้โจทก์ทั้งสิบเก้าจะมิได้บรรยายว่าสภาพเดิมตามธรรมชาติของหาดมาหยาเป็นอย่างไร ถูกปรับเปลี่ยนอย่างไร อันเป็นเหตุให้น้ำ อาหาร อากาศ ชายหาด ต้นไม้ ภูเขา ระบบนิเวศน์ หรือสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงเสียหาย หรือเกิดมลพิษอย่างไรก็ไม่ใช่ข้อสำคัญเพราะโจทก์ทั้งสิบเก้าอาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ทั้งสิบเก้าชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ที่ห้ามมิให้ฝ่ายจำเลยกระทำการใดเพื่อกระทำการปรับปรุง ตกแต่งบริเวณอ่าวมาหยา หากไม่วางเงินประกันความเสียหายไม่น้อยกว่า 100,000,000 บาท นั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยที่ 5 ได้กระทำการปรับปรุงตกแต่งบริเวณอ่าวมาหยาไปแล้ว และได้ถ่ายภาพยนตร์เสร็จเรียบร้อยทั้งได้ออกไปจากบริเวณอ่าวมาหยาแล้วตั้งแต่ก่อนวันที่ศาลชั้นต้นพิพากษาจึงไม่มีเหตุที่ศาลอุทธรณ์จะสั่งให้จำเลยทั้งห้าปฏิบัติตามคำขอข้อนี้
โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ฟ้องคดีอ้างว่าคำสั่งทางปกครองของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ที่อนุญาตให้จำเลยที่ 4 เข้าไปถ่ายภาพยนตร์บริเวณอ่าวมาหยาไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นโมฆะ ขอให้เพิกถอน มีวัตถุประสงค์เพื่อมิให้จำเลยที่ 4 และที่ 5 เข้าไปถ่ายทำภาพยนตร์ในบริเวณหาดมาหยา แต่เมื่อจำเลยที่ 5 เข้าไปถ่ายทำภาพยนตร์ตามใบอนุญาตเสร็จเรียบร้อยจนนำออกฉายทั่วโลกแล้ว การเพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จึงไม่บังเกิดผลในทางปฏิบัติจึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาคำขอดังกล่าวต่อไป
คำว่า "ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม" ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 46 ยังไม่มีคำนิยามความหมายหรือขอบเขตที่แน่นอน ทั้งบทบัญญัติมาตรานี้มีเงื่อนไขที่ต้องมีกฎหมายบัญญัติออกมาตามมาตรานี้ เมื่อในขณะที่โจทก์ที่ 3 ถึงที่ 19 ซึ่งเป็นบุคคลในชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมของจังหวัดกระบี่และอาศัยอยู่บริเวณรอบอ่าวมาหยายื่นฟ้องยังไม่มีกฎหมายบัญญัติออกมาใช้บังคับ จึงไม่อาจถือได้ว่ามีการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ที่ 3 ถึงที่ 19 แล้ว โจทก์ที่ 3 ถึงที่ 19 จึงยังไม่มีอำนาจฟ้อง
ตามฟ้องของโจทก์ทั้งสิบเก้าได้บรรยายถึงสภาพแห่งข้อหา คือจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ได้อนุญาตให้จำเลยที่ 4 และที่ 5 เข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องเดอะบีชในอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา หมู่เกาะพีพี จังหวัดกระบี่ ทำให้เปลี่ยนแปลงสภาพของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกระทบต่อสิทธิประโยชน์และคุณภาพชีวิตของโจทก์ทั้งสิบเก้า คำขอบังคับให้จำเลยทั้งห้าปรับปรุงแก้ไขหาดมาหยาให้กลับคืนสภาพเดิมตามธรรมชาติ โดยค่าใช้จ่ายของจำเลยที่ 4 และที่ 5 และให้เพิกถอนใบอนุญาตให้จำเลยที่ 4 และที่ 5 เข้าถ่ายทำภาพยนตร์ดังกล่าว และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาคือ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้โจทก์ทั้งสิบเก้าจะมิได้บรรยายถึงการทำละเมิด ค่าเสียหายหรือความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมเป็นมูลค่าเท่าใดก็มิใช่ข้อสำคัญเพราะโจทก์ทั้งสิบเก้ามิได้ฟ้องว่าจำเลยทั้งห้าทำละเมิดทำให้โจทก์ทั้งสิบเก้าเสียหายโดยเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน แต่โจทก์ทั้งสิบเก้าฟ้องขอให้ปรับปรุงหาดมาหยาให้กลับคืนสภาพเดิมแม้โจทก์ทั้งสิบเก้าจะมิได้บรรยายว่าสภาพเดิมตามธรรมชาติของหาดมาหยาเป็นอย่างไร ถูกปรับเปลี่ยนอย่างไร อันเป็นเหตุให้น้ำ อาหาร อากาศ ชายหาด ต้นไม้ ภูเขา ระบบนิเวศน์ หรือสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงเสียหาย หรือเกิดมลพิษอย่างไรก็ไม่ใช่ข้อสำคัญเพราะโจทก์ทั้งสิบเก้าอาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ทั้งสิบเก้าชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ที่ห้ามมิให้ฝ่ายจำเลยกระทำการใดเพื่อกระทำการปรับปรุง ตกแต่งบริเวณอ่าวมาหยา หากไม่วางเงินประกันความเสียหายไม่น้อยกว่า 100,000,000 บาท นั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยที่ 5 ได้กระทำการปรับปรุงตกแต่งบริเวณอ่าวมาหยาไปแล้ว และได้ถ่ายภาพยนตร์เสร็จเรียบร้อยทั้งได้ออกไปจากบริเวณอ่าวมาหยาแล้วตั้งแต่ก่อนวันที่ศาลชั้นต้นพิพากษาจึงไม่มีเหตุที่ศาลอุทธรณ์จะสั่งให้จำเลยทั้งห้าปฏิบัติตามคำขอข้อนี้
โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ฟ้องคดีอ้างว่าคำสั่งทางปกครองของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ที่อนุญาตให้จำเลยที่ 4 เข้าไปถ่ายภาพยนตร์บริเวณอ่าวมาหยาไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นโมฆะ ขอให้เพิกถอน มีวัตถุประสงค์เพื่อมิให้จำเลยที่ 4 และที่ 5 เข้าไปถ่ายทำภาพยนตร์ในบริเวณหาดมาหยา แต่เมื่อจำเลยที่ 5 เข้าไปถ่ายทำภาพยนตร์ตามใบอนุญาตเสร็จเรียบร้อยจนนำออกฉายทั่วโลกแล้ว การเพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จึงไม่บังเกิดผลในทางปฏิบัติจึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาคำขอดังกล่าวต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5818/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลจำกัดเมื่อการกระทำสิ้นสุดแล้ว คดีปกครองเพิกถอนคำสั่งอนุญาตถ่ายทำภาพยนตร์หลังการถ่ายทำเสร็จสิ้นและมีการปรับปรุงพื้นที่แล้ว
ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 290 พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลฯ มาตรา 23 และ พ.ร.บ.องค์การบริหารส่วนจังหวัดฯ มาตรา 45 แสดงให้เห็นว่า ทั้งโจทก์ที่ 1 และที่ 2 มีหน้าที่ในการคุ้มครองดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น เมื่อโจทก์ที่ 1 และที่ 2 อ้างว่าจำเลยที่ 4 และที่ 5 พยายามทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายในเขตที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 มีหน้าที่รับผิดชอบ โจทก์ที่ 1 และที่ 2 จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามมิให้จำเลยที่ 4 และที่ 5 กระทำหรือขอให้บังคับจำเลยที่ 4 และที่ 5 ปรับปรุงแก้ไขหาดมาหยาให้กลับคืนสภาพเดิมตามธรรมชาติได้ ซึ่งรวมทั้งฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ที่มีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 4 และที่ 5 เข้าไปถ่ายทำภาพยนตร์ได้ด้วย
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 46 บัญญัติว่า บุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมย่อมมีสิทธิอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะหรือวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นและของชาติ และมีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ จะเห็นได้ว่า คำว่า "ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมยังไม่มีคำนิยามความหมายหรือขอบเขตที่แน่นอน ทั้งบทบัญญัติมาตรานี้มีเงื่อนไขที่ต้องมีกฎหมายบัญญัติออกมาตามมาตรานี้ เมื่อในขณะที่โจทก์ที่ 3 ถึงที่ 19 ฟ้องยังไม่มีกฎหมายบัญญัติออกมาใช้บังคับ ดังนั้นยังไม่อาจถือได้ว่ามีการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ที่ 3 ถึงที่ 19 แล้วโจทก์ที่ 3 ถึงที่ 19 จึงยังไม่มีอำนาจฟ้อง
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง บัญญัติว่า คำฟ้องต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตามฟ้องของโจทก์ทั้งสิบเก้าได้บรรยายถึงสภาพแห่งข้อหาคือ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ได้อนุญาตให้จำเลยที่ 4 และที่ 5 เข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องเดอะบีชในอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา หมู่เกาะพีพี จังหวัดกระบี่ ทำให้เปลี่ยนแปลงสภาพของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกระทบต่อสิทธิประโยชน์และคุณภาพชีวิตของโจทก์ทั้งสิบเก้า คำขอบังคับคือให้จำเลยทั้งห้าปรับปรุงแก้ไขหาดมาหยาให้กลับคืนสู่สภาพเดิมตามธรรมชาติ โดยค่าใช้จ่ายของจำเลยที่ 4 และที่ 5 และให้เพิกถอนใบอนุญาตให้จำเลยที่ 4 และที่ 5 เข้าถ่ายทำภาพยนตร์ดังกล่าว และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาคือ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้โจทก์ทั้งสิบเก้าจะมิได้บรรยายถึงการทำละเมิด ค่าเสียหายหรือความเสียหายต่อทรัพยกรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมเป็นมูลค่าเท่าใดก็มิใช่ข้อสำคัญ เพราะโจทก์ทั้งสิบเก้ามิได้ฟ้องว่าจำเลยทั้งห้าทำละเมิด ทำให้โจทก์ทั้งสิบเก้าเสียหายโดยเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนแต่โจทก์ทั้งสิบเก้าฟ้องขอให้ปรับปรุงหาดมาหยาให้กลับคืนสภาพเดิม แม้โจทก์ทั้งสิบเก้าจะมิได้บรรยายว่าสภาพเดิมตามธรรมชาติของหาดมาหยาเป็นอย่างไรถูกปรับเปลี่ยนอย่างไร อันเป็นเหตุให้น้ำ อาหาร อากาศ ชายหาด ต้นไม้ ภูเขา ระบบนิเวศน์ หรือสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงเสียหายหรือเกิดมลพิษอย่างไรก็มิใช่ข้อสำคัญเพราะโจทก์ทั้งสิบเก้าอาจนำมาสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ทั้งสิบเก้าจึงไม่เคลือบคลุมและชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ที่ขอให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันหรือแทนกันวางเงินประกันความเสียหายไม่น้อยกว่า 100,000,000 บาท ถ้าจำเลยทั้งห้าไม่วางเงินประกัน ให้ศาลมีคำสั่งห้ามกระทำการใดๆ เพื่อกระทำการปรับปรุงตกแต่งบริเวณอ่าวมาหยา เป็นคำขอห้ามมิให้ฝ่ายจำเลยกระทำการใดเพื่อกระทำการปรับปรุงแตกแต่งบริเวณอ่าวมาหยา หากไม่วางเงินประกันความเสียหายไม่น้อยกว่า 100,000,000 บาท แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยที่ 5 ได้กระทำการปรับปรุงตกแต่งบริเวณอ่าวมาหยาไปแล้ว และได้ถ่ายทำภายพยนตร์เสร็จเรียบร้อยทั้งได้ออกไปจากบริเวณอ่าวมาหยาแล้วตั้งแต่ก่อนวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาจึงไม่มีเหตุที่จะสั่งให้จำเลยทั้งห้าปฏิบัติตามคำขอข้อนี้ได้
แม้คำสั่งทางการปกครองที่เจ้าหน้าที่ออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายอาจถูกเพิกถอนได้ แต่สำหรับคดีนี้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ฟ้องคดีอ้างว่าคำสั่งทางปกครองของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ที่อนุญาตให้จำเลยที่ 4 เข้าไปถ่ายภาพยนตร์บริเวณอ่าวมาหยาไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นโมฆะ ขอให้เพิกถอนก็เพื่อมิให้จำเลยที่ 4 และที่ 5 เข้าไปถ่ายทำภาพยนตร์ในบริเวณหาดมาหยา แต่เมื่อจำเลยที่ 5 เข้าไปถ่ายทำภาพยนตร์ตามใบอนุญาตเสร็จเรียบร้อยจนนำออกฉายทั่วโลกแล้วการเพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จึงไม่บังเกิดผลในทางปฏิบัติแต่อย่างใดดังนั้น คำขอที่ให้มีคำสั่งว่าการที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 อนุญาตให้จำเลยที่ 4 เข้าไปถ่ายทำภาพยนตร์บริเวณอ่าวมาหยา หมู่เกาะพีพี เป็นโมฆะ เพราะเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและคำขอที่ให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 มีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้จำเลยที่ 4 และที่ 5 เข้าทำการถ่ายทำภาพยนตร์บริเวณหาดมาหยานั้น จึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาต่อไป
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 46 บัญญัติว่า บุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมย่อมมีสิทธิอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะหรือวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นและของชาติ และมีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ จะเห็นได้ว่า คำว่า "ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมยังไม่มีคำนิยามความหมายหรือขอบเขตที่แน่นอน ทั้งบทบัญญัติมาตรานี้มีเงื่อนไขที่ต้องมีกฎหมายบัญญัติออกมาตามมาตรานี้ เมื่อในขณะที่โจทก์ที่ 3 ถึงที่ 19 ฟ้องยังไม่มีกฎหมายบัญญัติออกมาใช้บังคับ ดังนั้นยังไม่อาจถือได้ว่ามีการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ที่ 3 ถึงที่ 19 แล้วโจทก์ที่ 3 ถึงที่ 19 จึงยังไม่มีอำนาจฟ้อง
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง บัญญัติว่า คำฟ้องต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตามฟ้องของโจทก์ทั้งสิบเก้าได้บรรยายถึงสภาพแห่งข้อหาคือ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ได้อนุญาตให้จำเลยที่ 4 และที่ 5 เข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องเดอะบีชในอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา หมู่เกาะพีพี จังหวัดกระบี่ ทำให้เปลี่ยนแปลงสภาพของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกระทบต่อสิทธิประโยชน์และคุณภาพชีวิตของโจทก์ทั้งสิบเก้า คำขอบังคับคือให้จำเลยทั้งห้าปรับปรุงแก้ไขหาดมาหยาให้กลับคืนสู่สภาพเดิมตามธรรมชาติ โดยค่าใช้จ่ายของจำเลยที่ 4 และที่ 5 และให้เพิกถอนใบอนุญาตให้จำเลยที่ 4 และที่ 5 เข้าถ่ายทำภาพยนตร์ดังกล่าว และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาคือ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้โจทก์ทั้งสิบเก้าจะมิได้บรรยายถึงการทำละเมิด ค่าเสียหายหรือความเสียหายต่อทรัพยกรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมเป็นมูลค่าเท่าใดก็มิใช่ข้อสำคัญ เพราะโจทก์ทั้งสิบเก้ามิได้ฟ้องว่าจำเลยทั้งห้าทำละเมิด ทำให้โจทก์ทั้งสิบเก้าเสียหายโดยเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนแต่โจทก์ทั้งสิบเก้าฟ้องขอให้ปรับปรุงหาดมาหยาให้กลับคืนสภาพเดิม แม้โจทก์ทั้งสิบเก้าจะมิได้บรรยายว่าสภาพเดิมตามธรรมชาติของหาดมาหยาเป็นอย่างไรถูกปรับเปลี่ยนอย่างไร อันเป็นเหตุให้น้ำ อาหาร อากาศ ชายหาด ต้นไม้ ภูเขา ระบบนิเวศน์ หรือสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงเสียหายหรือเกิดมลพิษอย่างไรก็มิใช่ข้อสำคัญเพราะโจทก์ทั้งสิบเก้าอาจนำมาสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ทั้งสิบเก้าจึงไม่เคลือบคลุมและชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ที่ขอให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันหรือแทนกันวางเงินประกันความเสียหายไม่น้อยกว่า 100,000,000 บาท ถ้าจำเลยทั้งห้าไม่วางเงินประกัน ให้ศาลมีคำสั่งห้ามกระทำการใดๆ เพื่อกระทำการปรับปรุงตกแต่งบริเวณอ่าวมาหยา เป็นคำขอห้ามมิให้ฝ่ายจำเลยกระทำการใดเพื่อกระทำการปรับปรุงแตกแต่งบริเวณอ่าวมาหยา หากไม่วางเงินประกันความเสียหายไม่น้อยกว่า 100,000,000 บาท แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยที่ 5 ได้กระทำการปรับปรุงตกแต่งบริเวณอ่าวมาหยาไปแล้ว และได้ถ่ายทำภายพยนตร์เสร็จเรียบร้อยทั้งได้ออกไปจากบริเวณอ่าวมาหยาแล้วตั้งแต่ก่อนวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาจึงไม่มีเหตุที่จะสั่งให้จำเลยทั้งห้าปฏิบัติตามคำขอข้อนี้ได้
แม้คำสั่งทางการปกครองที่เจ้าหน้าที่ออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายอาจถูกเพิกถอนได้ แต่สำหรับคดีนี้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ฟ้องคดีอ้างว่าคำสั่งทางปกครองของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ที่อนุญาตให้จำเลยที่ 4 เข้าไปถ่ายภาพยนตร์บริเวณอ่าวมาหยาไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นโมฆะ ขอให้เพิกถอนก็เพื่อมิให้จำเลยที่ 4 และที่ 5 เข้าไปถ่ายทำภาพยนตร์ในบริเวณหาดมาหยา แต่เมื่อจำเลยที่ 5 เข้าไปถ่ายทำภาพยนตร์ตามใบอนุญาตเสร็จเรียบร้อยจนนำออกฉายทั่วโลกแล้วการเพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จึงไม่บังเกิดผลในทางปฏิบัติแต่อย่างใดดังนั้น คำขอที่ให้มีคำสั่งว่าการที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 อนุญาตให้จำเลยที่ 4 เข้าไปถ่ายทำภาพยนตร์บริเวณอ่าวมาหยา หมู่เกาะพีพี เป็นโมฆะ เพราะเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและคำขอที่ให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 มีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้จำเลยที่ 4 และที่ 5 เข้าทำการถ่ายทำภาพยนตร์บริเวณหาดมาหยานั้น จึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7290/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับโรงงานน้ำตาล: ความเป็นหนี้ทางแพ่ง, ดุลพินิจการปรับ, อัตราดอกเบี้ยตามกฎหมาย
จำเลยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมการขายอ้อยและน้ำตาลทรายจำนวน 972,303.26 บาท ซึ่งได้รับคืนจากกรมสรรพากรเพื่อไปชำระให้แก่กองทุนโจทก์ตามระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายฉบับที่ 4 และที่ 5 ว่าด้วยการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากการขายอ้อยและน้ำตาลทราย อันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ 5 (12) ของระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยเบี้ยปรับสำหรับโรงงานน้ำตาลทรายที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศ ระเบียบ หรือ พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 ฉบับที่ 1 พ.ศ.2528 คณะกรรมการบริหารจึงมีอำนาจสั่งให้จำเลยชำระเบี้ยปรับได้ โดยให้พิจารณาเบี้ยปรับตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ 7 ซึ่งเบี้ยปรับตามระเบียบดังกล่าวข้อ 3 หมายความว่าเป็นเงินค่าปรับที่คณะกรรมการบริหารกำหนดให้โรงงานซึ่งปฏิบัติฝ่าฝืนระเบียบนี้ชำระให้แก่กองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย ดังนี้เบี้ยปรับจึงไม่ใช่ค่าปรับอันเป็นโทษทางอาญา เพราะเบี้ยปรับดังกล่าวเป็นการกำหนดความรับผิดในทางแพ่งสำหรับโรงงานที่ฝ่าฝืนจะนำไปเปรียบกับค่าปรับทางอาญาไม่ได้ นอกจากนี้ เบี้ยปรับกรณีเช่นนี้ไม่ใช่เบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เพราะเป็นการกระทำโดยคณะกรรมการบริหารอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับทางปกครอง มิใช่เบี้ยปรับเพราะเหตุผิดสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งเป็นเรื่องของคู่สัญญาซึ่งเป็นเจ้าหนี้กับลูกหนี้ทำสัญญาไว้ต่อกันว่าลูกหนี้จะใช้เงินจำนวนหนึ่งเป็นเบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องตามสมควร ดังบัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 379 ถึง 385 และเบี้ยปรับที่คณะกรรมการของโจทก์กำหนดให้จำเลยนำไปชำระถือว่าเป็นหนี้อย่างหนึ่งไม่ว่าโจทก์จะเสียหายจริงหรือไม่ โจทก์ย่อมเรียกเบี้ยปรับได้
ระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยเบี้ยปรับสำหรับโรงงานน้ำตาลทรายที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศ ระเบียบหรือ พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 ฉบับที่ 1 พ.ศ.2528 ข้อ 6 ข้อ 7 และข้อ 8 ให้คณะกรรมการบริหารพิจารณาและคิดเบี้ยปรับเอาจากโรงงานที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศ ระเบียบหรือ พระราชบัญญัติดังกล่าว คำว่า "พิจารณา" และคำว่า "คิด" มีความหมายให้ใคร่ครวญหรือไตร่ตรองหรือตรวจตราก่อน ดังนั้น จึงเป็นดุลพินิจของคณะกรรมการบริหารที่จะสั่งปรับหรือไม่ปรับก็ได้ ทั้งนี้อยู่ที่ข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ของโรงงานที่ทำการฝ่าฝืนระเบียบเป็นเรื่องๆไป
ดอกเบี้ยตาม พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทรายไม่กำหนดไว้ว่ามีอัตราสูงสุดเท่าใดใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มีเฉพาะกรณีกู้ยืมเงินตามมาตรา 654 เท่านั้นที่ให้คิดดอกเบี้ยได้ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี กรณีอื่นๆนอกนั้นไม่มีกำหนดอัตราสูงสุดไว้เลย ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยสูงสุดตามกฎหมายจึงเป็นอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีเท่านั้น
ระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยเบี้ยปรับสำหรับโรงงานน้ำตาลทรายที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศ ระเบียบหรือ พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 ฉบับที่ 1 พ.ศ.2528 ข้อ 6 ข้อ 7 และข้อ 8 ให้คณะกรรมการบริหารพิจารณาและคิดเบี้ยปรับเอาจากโรงงานที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศ ระเบียบหรือ พระราชบัญญัติดังกล่าว คำว่า "พิจารณา" และคำว่า "คิด" มีความหมายให้ใคร่ครวญหรือไตร่ตรองหรือตรวจตราก่อน ดังนั้น จึงเป็นดุลพินิจของคณะกรรมการบริหารที่จะสั่งปรับหรือไม่ปรับก็ได้ ทั้งนี้อยู่ที่ข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ของโรงงานที่ทำการฝ่าฝืนระเบียบเป็นเรื่องๆไป
ดอกเบี้ยตาม พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทรายไม่กำหนดไว้ว่ามีอัตราสูงสุดเท่าใดใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มีเฉพาะกรณีกู้ยืมเงินตามมาตรา 654 เท่านั้นที่ให้คิดดอกเบี้ยได้ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี กรณีอื่นๆนอกนั้นไม่มีกำหนดอัตราสูงสุดไว้เลย ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยสูงสุดตามกฎหมายจึงเป็นอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4117/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยค่าทดแทนเวนคืน: กำหนดวันจ่ายตามสัญญาและผลของการเพิ่มค่าทดแทนโดยรัฐมนตรีและศาล
ผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตาม พ.ร.ฎ.ฯ กับโจทก์ได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯ กันเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2536 อันเป็นกรณีที่มีการตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันได้ตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ซึ่งฝ่ายจำเลยจะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนตามสัญญาดังกล่าวให้แก่โจทก์ภายใน 120 วัน คือ ภายในวันที่ 29 เมษายน 2537 ตามมาตรา 11 วรรคหนึ่ง วันดังกล่าวนี้เป็นวันสุดท้ายที่ฝ่ายจำเลยจะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินตามสัญญาดังกล่าวให้แก่โจทก์ จึงเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายตามมาตรา 26 วรรคท้าย โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยของเงินค่าทดแทนที่ดินที่รัฐมนตรีฯและศาลวินิจฉัยให้เพิ่มขึ้นนับแต่วันดังกล่าว
ส่วนเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลงนั้น หากคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ได้กำหนดเงินค่าทดแทนส่วนนี้ซึ่งโจทก์มีสิทธิได้รับให้แก่โจทก์ด้วยแล้ว ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ ผู้ดำเนินการตาม พ.ร.ฎ.ฯ กับโจทก์ก็น่าจะทำสัญญาเกี่ยวกับเงินค่าทดแทนส่วนนี้ในวันเดียวกันกับที่ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯ (ที่ดินที่ถูกเวนคืน) และต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนส่วนนี้ภายในวันที่ 29 เมษายน 2537 เช่นกัน แม้คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ไม่ได้กำหนดเงินค่าทดแทนส่วนนี้ให้แก่โจทก์ แต่เมื่อรัฐมนตรีฯได้กำหนดเงินค่าทดแทนส่วนนี้ให้แก่โจทก์และศาลได้วินิจฉัยเพิ่มเงินค่าทดแทนส่วนนี้ให้แก่โจทก์แล้ว กรณีพอถือได้ว่ารัฐมนตรีและศาลได้วินิจฉัยให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนส่วนนี้เพิ่มขึ้นตามมาตรา 26 วรรคท้าย โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินแต่ต้องไม่เกินอัตราที่โจทก์ขอด้วยในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ต้องมีการจ่าย คือวันที่ 29 เมษายน 2537 เช่นกัน
ส่วนเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลงนั้น หากคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ได้กำหนดเงินค่าทดแทนส่วนนี้ซึ่งโจทก์มีสิทธิได้รับให้แก่โจทก์ด้วยแล้ว ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ ผู้ดำเนินการตาม พ.ร.ฎ.ฯ กับโจทก์ก็น่าจะทำสัญญาเกี่ยวกับเงินค่าทดแทนส่วนนี้ในวันเดียวกันกับที่ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯ (ที่ดินที่ถูกเวนคืน) และต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนส่วนนี้ภายในวันที่ 29 เมษายน 2537 เช่นกัน แม้คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ไม่ได้กำหนดเงินค่าทดแทนส่วนนี้ให้แก่โจทก์ แต่เมื่อรัฐมนตรีฯได้กำหนดเงินค่าทดแทนส่วนนี้ให้แก่โจทก์และศาลได้วินิจฉัยเพิ่มเงินค่าทดแทนส่วนนี้ให้แก่โจทก์แล้ว กรณีพอถือได้ว่ารัฐมนตรีและศาลได้วินิจฉัยให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนส่วนนี้เพิ่มขึ้นตามมาตรา 26 วรรคท้าย โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินแต่ต้องไม่เกินอัตราที่โจทก์ขอด้วยในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ต้องมีการจ่าย คือวันที่ 29 เมษายน 2537 เช่นกัน