พบผลลัพธ์ทั้งหมด 352 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3843/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินเวนคืน การหักราคาที่ดินส่วนที่เหลือ และอำนาจฟ้องเรียกร้องค่าเสียหาย
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 25 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทน... ผู้ใดไม่พอใจในราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการกำหนดตามมาตรา 9 ... มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรี... ภายในหกสิบวันนับแต่วันได้รับหนังสือจากเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนดังกล่าว" เมื่อคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ได้กำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนที่ดินตามมาตรา 9 วรรคสี่ ให้แก่โจทก์เสร็จแล้ว เมื่อโจทก์ทราบและไม่พอใจในจำนวนเงินค่าทดแทนที่ดินดังกล่าว โจทก์ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ต่อจำเลยที่ 1 ได้โดยไม่จำต้องรอหนังสือแจ้งให้มารับเงินค่าทดแทนก่อน และตามบทบัญญัติมาตรา 25 วรรคหนึ่งดังกล่าวมิได้ห้ามผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยื่นอุทธรณ์ขอเพิ่มเงินค่าทดแทนก่อนได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนแต่อย่างใดไม่ การที่โจทก์ไปยื่นอุทธรณ์ขอเพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินต่อจำเลยที่ 1 ก่อนวันที่โจทก์จะได้รับแจ้งให้ไปรับเงินค่าทดแทนก็ตาม แต่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯ และจำเลยที่ 1 ยังได้รับและวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์โดยไม่ได้เพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์อีกด้วยโดยไม่ได้โต้แย้งเลยว่าอุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวไม่ชอบประการใด ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์ต่อจำเลยที่ 1 ได้และถือได้ว่าเป็นการอุทธรณ์ภายในกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 25 วรรคหนึ่งแล้ว โจทก์จึงมีสิทธินำคดีนี้มาฟ้องต่อศาลขอเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มได้ตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง
ส่วนเงินค่าทดแทนความเสียหายของต้นไม้และที่ดินกับสวนส้ม โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 1 วินิจฉัยกำหนดเงินค่าทดแทนความเสียหายดังกล่าวตามขั้นตอนในมาตรา 25 วรรคหนึ่งก่อน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกร้องขอเงินค่าทดแทนความเสียหายส่วนนี้ต่อศาลตามมาตรา 26 วรรคหนึ่งได้ ปัญหานี้เป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนและข้อเท็จจริงอันนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหานี้ปรากฏจากพยานหลักฐานของโจทก์ที่นำเข้าสู่การพิจารณาของศาลโดยชอบแล้ว แม้จำเลยทั้งสี่ไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้และไม่ได้ยกเหตุนี้ขึ้นแก้ฎีกาของโจทก์ก็ตาม ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
ส่วนเงินค่าทดแทนความเสียหายของต้นไม้และที่ดินกับสวนส้ม โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 1 วินิจฉัยกำหนดเงินค่าทดแทนความเสียหายดังกล่าวตามขั้นตอนในมาตรา 25 วรรคหนึ่งก่อน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกร้องขอเงินค่าทดแทนความเสียหายส่วนนี้ต่อศาลตามมาตรา 26 วรรคหนึ่งได้ ปัญหานี้เป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนและข้อเท็จจริงอันนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหานี้ปรากฏจากพยานหลักฐานของโจทก์ที่นำเข้าสู่การพิจารณาของศาลโดยชอบแล้ว แม้จำเลยทั้งสี่ไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้และไม่ได้ยกเหตุนี้ขึ้นแก้ฎีกาของโจทก์ก็ตาม ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3620/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การแจ้งผลการประเมินราคา และการฟ้องคดีภายในกำหนดเวลา
โจทก์แจ้งย้ายที่อยู่ตั้งแต่เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2536 จำเลยที่ 1 และที่ 2 นำส่งหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบให้ไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินไปส่งให้แก่โจทก์ในวันที่ 2 มิถุนายน 2538 จึงเป็นวันที่โจทก์ย้ายออกจากที่อยู่เดิมแล้วจึงเชื่อว่าโจทก์มิได้รับหนังสือดังกล่าว โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องแจ้งเรื่องการย้ายที่อยู่ให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทราบ เป็นหน้าที่ของฝ่ายจำเลยที่จะต้องตรวจหาที่อยู่ของโจทก์เอง เมื่อยังถือไม่ได้ว่าเจ้าหน้าที่เวนคืนมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินตามกฎหมาย จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์มิได้ยื่นอุทธรณ์ต่อจำเลยที่ 3 ภายใน 60 วันนับแต่วันได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่
เมื่อจำเลยที่ 3 มิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 3 หรือนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาที่จำเลยที่ 3 ต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวคือ ภายในวันที่ 22 พฤษภาคม 2542 แต่เนื่องจากวันดังกล่าวเป็นวันเสาร์อันเป็นวันหยุดราชการ โจทก์จึงสามารถนำคดีมาฟ้องต่อศาลวันที่ 24 พฤษภาคม 2542 ซึ่งเป็นวันเปิดทำการวันแรกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/8
เมื่อจำเลยที่ 3 มิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 3 หรือนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาที่จำเลยที่ 3 ต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวคือ ภายในวันที่ 22 พฤษภาคม 2542 แต่เนื่องจากวันดังกล่าวเป็นวันเสาร์อันเป็นวันหยุดราชการ โจทก์จึงสามารถนำคดีมาฟ้องต่อศาลวันที่ 24 พฤษภาคม 2542 ซึ่งเป็นวันเปิดทำการวันแรกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/8
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2842/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงซ่อมรถหลังเกิดอุบัติเหตุ ไม่ถือเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ เพราะยังไม่สละข้อเรียกร้องอื่น
ข้อตกลงในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีมีข้อความว่า บัดนี้คู่กรณีมาพบพนักงานสอบสวนเพื่อบันทึกเกี่ยวกับค่าเสียหาย ข้อ 1. ส. (จำเลยที่ 1) ยินยอมซ่อมรถยนต์ของ ก. (โจทก์ที่ 2) ให้อยู่ในสภาพปกติโดยจะเปลี่ยนประตูหน้าและประตูหลังขวา กระจกมองข้างขวารวมทั้งคิ้วด้านขวา ส่วนที่เหลือหากซ่อมแซมได้จะซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพปกติ ข้อ 2. ก. (โจทก์ที่ 2) ได้รับทราบข้อเสนอแล้วยินยอมในข้อเสนอทุกประการ นั้น เป็นลักษณะของเอกสารที่แสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 ยอมรับผิดในทางอาญาว่าเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ที่ 2 จริง ทั้งนี้เพื่อเหตุบรรเทาโทษในการที่พนักงานสอบสวนจะเปรียบเทียบปรับเท่านั้น ดังจะเห็นได้จากข้อความถัดมาที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาแก่จำเลยที่ 1 ว่า ขับรถประมาทเป็นเหตุให้ชนรถผู้อื่นได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ โดยมีข้อความระบุว่า ก. (โจทก์ที่ 2) ยินยอมให้เปรียบเทียบปรับ จึงทำการเปรียบเทียบปรับจำเลยที่ 1 นอกจากนี้ในข้อตกลงที่จำเลยที่ 1 ยินยอมชดใช้ดังกล่าว ไม่มีรายละเอียดหรือข้อตกลงที่แน่นอนเกี่ยวกับจำนวนเงินที่จะต้องชำระและวิธีการชำระตลอดจนระยะเวลาที่แน่นอน อันจะทำให้ปราศจากข้อโต้แย้งใด ๆ ต่อกันอีก เพราะยังมีข้อความว่า ส่วนที่เหลือหากซ่อมแซมได้จะซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพปกติ รวมอยู่ด้วย อีกทั้งข้อตกลงดังกล่าวยังไม่ชัดแจ้งว่าโจทก์ที่ 2 กับจำเลยที่ 1 ตกลงระงับข้อพิพาทโดยยอมสละข้อเรียกร้องอื่นทั้งสิ้นแต่อย่างใดไม่ ข้อตกลงในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี จึงมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ มูลหนี้ละเมิดเดิมยังไม่ระงับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2842/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงซ่อมรถในรายงานประจำวัน ไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ เหตุยังไม่สละข้อเรียกร้องอื่น
จำเลยที่ 1 และโจทก์ที่ 2 ทำข้อตกลงในบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดี แต่ลักษณะของเอกสารและข้อความเป็นการแสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 ยอมรับผิดทางอาญาว่าเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ที่ 2 จริง โดยระบุความเสียหายที่ยินดีจะซ่อมแซมรถยนต์ของจำเลยที่ 2 เพื่อเป็นเหตุบรรเทาโทษในการที่พนักงานสอบสวนจะเปรียบเทียบปรับต่อไปเท่านั้น รวมทั้งความยินยอมของจำเลยที่ 1 ที่จะซ่อมแซมรถยนต์ของโจทก์ที่ 2 ก็ไม่มีรายละเอียดหรือข้อตกลงที่แน่นอนเกี่ยวกับจำนวนเงินที่ต้องชำระและวิธีการชำระตลอดจนระยะเวลาที่แน่นอน อันจะทำให้ปราศจากข้อโต้แย้งใดๆ ต่อกันอีก รวมทั้งยังไม่ชัดแจ้งว่าโจทก์ที่ 2 กับจำเลยที่ 1 ตกลงระงับข้อพิพาทโดยยอมสละข้อเรียกร้องทั้งสิ้นแต่อย่างใดไม่ ข้อตกลงรายงานประจำวันดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2841/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความต้องระบุข้อตกลงครอบคลุมทุกค่าเสียหาย มิฉะนั้นหนี้ละเมิดยังไม่ระงับ นายจ้างต้องรับผิด
บันทึกรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีมีข้อความว่า "วันที่ 23 ธันวาคม 2539 ได้มี ป. ผู้ขับขี่รถยนต์เก๋ง และ ว. ผู้ขับขี่รถยนต์กระบะ มาพบเพื่อเจรจาค่าเสียหาย ที่ตกลงกันได้ คือ ป. ได้เรียกร้องให้ ว. ซ่อมรถที่ได้รับความเสียหายให้อยู่ในสภาพเดิม และ ว. ยอมตกลงตามข้อเสนอทุกประการ" เอกสารดังกล่าวไม่มีข้อความระบุถึงค่าเสียหายที่โจทก์ที่ 2 ได้รับบาดเจ็บเป็นอันตรายแก่กายรวมทั้งมิได้ระบุถึงค่าเสียหายอื่นๆ ที่โจทก์ทั้งสองพึงได้รับชดใช้จากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 นอกจากนี้ยังไม่ปรากฏข้อความให้เห็นด้วยว่าคู่กรณีตกลงระงับข้อพิพาทที่มีอยู่หรือจะมีขึ้นโดยยอมสละข้อเรียกร้องอื่นทั้งสิ้น หรือข้อความว่าโจทก์ทั้งสองไม่ประสงค์จะฟ้องร้องจำเลยทั้งสองทั้งทางแพ่งและทางอาญาต่อไป บันทึกรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ มูลหนี้ละเมิดระหว่างโจทก์ที่ 2 และจำเลยที่ 1 จึงยังไม่ระงับ จำเลยที่ 2 ในฐานะนายจ้างของจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2841/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความต้องระบุข้อตกลงครอบคลุมค่าเสียหายทั้งหมด จึงจะถือเป็นการระงับหนี้ได้
บันทึกรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีมีข้อความว่า "วันที่ 23 ธันวาคม 2539 ได้มี ป. ผู้ขับขี่รถยนต์เก๋ง และ ว. ผู้ขับขี่รถยนต์กระบะ มาพบเพื่อเจรจาค่าเสียหาย ที่ตกลงกันได้ คือ ป. ได้เรียกร้องให้ ว. ซ่อมรถที่ได้รับความเสียหายให้อยู่ในสภาพเดิม และ ว. ยอมตกลงตามข้อเสนอทุกประการ" เอกสารดังกล่าวไม่มีข้อความระบุถึงค่าเสียหายที่โจทก์ที่ 2 ได้รับบาดเจ็บเป็นอันตรายแก่กาย รวมทั้งมิได้ระบุถึงค่าเสียหายอื่นๆ ที่โจทก์ทั้งสองพึงได้รับชดใช้จากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 นอกจากนี้ยังไม่ปรากฏข้อความให้เห็นด้วยว่าคู่กรณีตกลงระงับข้อพิพาทที่มีอยู่หรือจะมีขึ้นโดยยอมสละข้อเรียกร้องอื่นทั้งสิ้น หรือข้อความว่าโจทก์ทั้งสองไม่ประสงค์จะฟ้องร้องจำเลยทั้งสองทั้งทางแพ่งและทางอาญาต่อไป บันทึกรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ มูลหนี้ละเมิดระหว่างโจทก์ที่ 2 และจำเลยที่ 1 จึงยังไม่ระงับ จำเลยที่ 2 ในฐานะนายจ้างของจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2584-2585/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: สัญญาซื้อขายที่อิงราคาประเมินเบื้องต้น ย่อมมีผลผูกพัน แม้เนื้อที่จริงคลาดเคลื่อน
คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ได้กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์แล้ว ต่อมาโจทก์กับจำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์และกำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนฯ กันตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ภายในอายุพระราชกฤษฎีกาฯ ถูกต้องตามขั้นต้นของ พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 แม้จะระบุไว้ในสัญญาซื้อขายดังกล่าว ข้อ 2 (1) ว่า ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนเนื้อที่ 1 ไร่ 1 งาน 88 ตารางวา ก็ตาม แต่ในข้อ 8 ก็ระบุว่า ถ้ามีการคลาดเคลื่อนในจำนวนเนื้อที่ดินที่ซื้อขาย ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงยินยอมให้คิดราคาค่าทดแทนตามจำนวนเนื้อที่ที่ซื้อขายตามความเป็นจริงที่ได้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมแล้ว เนื้อที่ที่ถูกเวนคืนที่ระบุไว้ในข้อ 2 (1) ดังกล่าว เป็นการประมาณการ แต่เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินทำการรังวัดแบ่งแยกที่ดินจึงทราบเนื้อที่ที่ดินจำนวนที่แน่อนอนว่าถูกเวนคืนเนื้อที่ 1 ไร่ 2 งาน 30.90 ตารางวา มากกว่าที่ประมาณการไว้เนื้อที่ 42.90 ตารางวา ซึ่งก็คือจำนวนเดียวกันกับที่อยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกาฯ มาตั้งแต่ต้นอันเป็นส่วนเดียวกันกับที่โจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายฯ ที่ทำขึ้นถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมายดังกล่าว จึงมีผลใช้บังคับได้ ดังนี้ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกที่ดินเนื้อที่ 42.90 ตารางวา คืนจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1969-1972/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีละเมิดต่อเทศบาลเกี่ยวกับที่ดินริมน้ำที่กลายเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 50 (2), 53 บัญญัติให้เทศบาลมีหน้าที่ต้องจัดให้มีและบำรุงทางบกทางน้ำ อีกทั้งกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งให้เทศบาลมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินตาม ป.ที่ดิน ที่อยู่ภายในเขตเทศบาล และอธิบดีกรมเจ้าท่าได้มอบหมายอำนาจเจ้าท่าตาม พ.ร.บ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456 ให้เทศบาลดูแลรักษาแม่น้ำลำคลองในเขตเทศบาล เทศบาลย่อมมีหน้าที่ดูแลรักษาตามกฎหมาย ตามคำสั่ง และตามที่ได้รับมอบหมาย จึงมีอำนาจฟ้องเกี่ยวกับที่ดินนั้นได้ ทั้งการฟ้องคดีก็ไม่จำต้องระบุว่าได้รับมอบอำนาจจากกรมเจ้าท่าอีก
ที่ดินมีโฉนดของ ป. บางส่วนถูกน้ำเซาะพังลงในแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ดินส่วนที่หายไปในน้ำแม้จะมิได้ให้เจ้าพนักงานที่ดินแบ่งหักออกจากโฉนดที่ดินตามความเป็นจริง ก็มิได้แสดงว่าที่ดินของ ป. ยังคงมีเนื้อที่อยู่เต็มตามโฉนดที่ดิน แต่คงมีอยู่ตามสภาพที่เหลืออยู่ตามความจริงเท่านั้นเพราะที่ดินบางส่วนพังจนกลายเป็นลำน้ำที่มีการใช้สัญจรไปมาของเรือแพเป็นเวลานานจนกระทั่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินไปแล้ว โจทก์ทั้งสามซื้อที่ดินตามโฉนดจาก ป. ย่อมไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่ถูกน้ำเซาะจนหายไปในแม่น้ำเจ้าพระยาแล้ว แม้ต่อมาแม่น้ำมีสภาพตื้นเขินเนื่องจาก มีการทำเขื่อนภูมิพลกั้นน้ำ ทำให้กระแสน้ำไหลเบาลงจนน้ำในแม่น้ำแห้ง เรือไม่สามารถผ่านไปมาได้ ทั้งมีการดูดทรายอีกด้านหนึ่งของเกาะมาปิดทางน้ำเพื่อสร้างท่าเรือน้ำลึก ที่ดินดังกล่าวก็ยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่ดี การที่โจทก์ทั้งสามถมดินในที่ดินพิพาท จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อเทศบาลจำเลยที่ 1
ที่ดินมีโฉนดของ ป. บางส่วนถูกน้ำเซาะพังลงในแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ดินส่วนที่หายไปในน้ำแม้จะมิได้ให้เจ้าพนักงานที่ดินแบ่งหักออกจากโฉนดที่ดินตามความเป็นจริง ก็มิได้แสดงว่าที่ดินของ ป. ยังคงมีเนื้อที่อยู่เต็มตามโฉนดที่ดิน แต่คงมีอยู่ตามสภาพที่เหลืออยู่ตามความจริงเท่านั้นเพราะที่ดินบางส่วนพังจนกลายเป็นลำน้ำที่มีการใช้สัญจรไปมาของเรือแพเป็นเวลานานจนกระทั่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินไปแล้ว โจทก์ทั้งสามซื้อที่ดินตามโฉนดจาก ป. ย่อมไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่ถูกน้ำเซาะจนหายไปในแม่น้ำเจ้าพระยาแล้ว แม้ต่อมาแม่น้ำมีสภาพตื้นเขินเนื่องจาก มีการทำเขื่อนภูมิพลกั้นน้ำ ทำให้กระแสน้ำไหลเบาลงจนน้ำในแม่น้ำแห้ง เรือไม่สามารถผ่านไปมาได้ ทั้งมีการดูดทรายอีกด้านหนึ่งของเกาะมาปิดทางน้ำเพื่อสร้างท่าเรือน้ำลึก ที่ดินดังกล่าวก็ยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่ดี การที่โจทก์ทั้งสามถมดินในที่ดินพิพาท จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อเทศบาลจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1627/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การประเมินค่าเสียหาย, การลดราคาที่ดิน, และสิทธิในการเข้าถึงถนนสาธารณะ
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ได้กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการดำเนินการเวนคืน รวมทั้งบุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตลอดจนเงินค่าทดแทนที่ผู้ถูกเวนคืนจะได้รับในกรณีใดบ้างไว้แล้ว ดังนั้น เมื่อที่ดินของโจทก์จะต้องเวนคืนและได้มีการกำหนดแนวเขตที่ดินที่จะต้องเวนคืนแล้วโจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องหรือได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินที่จะเวนคืนจากจำเลยทั้งสี่ถ้าการเวนคืนที่ดินของโจทก์แต่เพียงส่วนหนึ่ง และที่ดินส่วนที่เหลือนั้นมีราคาลดลงโจทก์ก็มีสิทธิเรียกร้องหรือได้รับเงินค่าทดแทนเฉพาะสำหรับที่ดินส่วนที่เหลืออันราคาลดลงนั้นด้วยตามมาตรา 21 วรรคสาม หาจำต้องรอให้จำเลยที่ 2 ลงมือก่อสร้างหรือก่อสร้างทางลงถนนศรีนครินทร์ให้เสร็จสิ้นก่อนดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไม่
โจทก์ยังไม่ได้ไประกอบการค้าขายหรือการงานอันชอบด้วยกฎหมายอยู่ในที่ดินที่จะต้องเวนคืนนั้นตามที่ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 21 วรรคห้าบัญญัติไว้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าเสียหายอันเนื่องจากไม่สามารถดำเนินการตามโครงการของโจทก์ได้ ทั้งโจทก์จะมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนหรือสิทธิใดเพียงใดต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการตามที่พระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดไว้ ซึ่งบทกฎหมายดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติที่ให้อำนาจโจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสี่ต้องสร้างทางเข้าออกสำหรับที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนสู่ทางสาธารณะได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสี่เปิดทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะได้
โจทก์ยังไม่ได้ไประกอบการค้าขายหรือการงานอันชอบด้วยกฎหมายอยู่ในที่ดินที่จะต้องเวนคืนนั้นตามที่ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 21 วรรคห้าบัญญัติไว้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าเสียหายอันเนื่องจากไม่สามารถดำเนินการตามโครงการของโจทก์ได้ ทั้งโจทก์จะมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนหรือสิทธิใดเพียงใดต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการตามที่พระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดไว้ ซึ่งบทกฎหมายดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติที่ให้อำนาจโจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสี่ต้องสร้างทางเข้าออกสำหรับที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนสู่ทางสาธารณะได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสี่เปิดทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1408/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นและดอกเบี้ย, อำนาจฟ้องกรณีที่ดินเหลือ
เมื่อโจทก์ทั้งสองได้รับชำระเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเพิ่มขึ้น และปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองกับเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันไว้ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนที่ดินฯ มาตรา 10 เนื่องจากไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทน ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2539 แล้ว ซึ่งตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้เจ้าหน้าที่ต้องจ่ายเงินค่าอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดให้แก่โจทก์ทั้งสองภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ทำสัญญาซื้อขาย โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2539 อันเป็นวันสุดท้ายที่จำเลยทั้งสองจะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสองตามสัญญา โดยได้รับในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน ตามความในมาตรา 26 วรรคสาม อันเป็นกฎหมายพิเศษโดยไม่ต้องนำสืบถึงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดในวันที่ 10 กรกฎาคม 2539 แต่อย่างใด
ส่วนเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่เหลือจากการเวนคืน เป็นเงินค่าทดแทนตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 21 วรรคสาม ดังนั้นเมื่อคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ไม่ได้กำหนดเงินค่าทดแทนส่วนนี้ให้แก่โจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองต้องใช้สิทธิอุทธรณ์ของเงินค่าทดแทนส่วนนี้ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมตามมาตรา 25 วรรคหนึ่งก่อน เมื่อโจทก์ทั้งสองไม่ได้อุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนส่วนนี้ต่อรัฐมนตรีฯ การที่โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนส่วนนี้จากจำเลยทั้งสองต่อศาลจึงเป็นการข้ามขั้นตอนโดยไม่ได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่กฎหมายกำหนดไว้ โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ส่วนเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่เหลือจากการเวนคืน เป็นเงินค่าทดแทนตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 21 วรรคสาม ดังนั้นเมื่อคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ไม่ได้กำหนดเงินค่าทดแทนส่วนนี้ให้แก่โจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองต้องใช้สิทธิอุทธรณ์ของเงินค่าทดแทนส่วนนี้ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมตามมาตรา 25 วรรคหนึ่งก่อน เมื่อโจทก์ทั้งสองไม่ได้อุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนส่วนนี้ต่อรัฐมนตรีฯ การที่โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนส่วนนี้จากจำเลยทั้งสองต่อศาลจึงเป็นการข้ามขั้นตอนโดยไม่ได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่กฎหมายกำหนดไว้ โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้อง