คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประพันธ์ ทรัพย์แสง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 352 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4139/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำผิด พ.ร.บ.การเล่นแชร์ และความผิดฐานฉ้อโกง เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์จัดให้มีการเล่นแชร์ จำนวนสมาชิกวงแชร์รวมกันทั้ง 5 วง มี 35 คน ซึ่งครบองค์ประกอบความผิดแล้ว เพราะองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 6 (1) (2) ห้ามมิให้บุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ที่มีจำนวนวงแชร์รวมกันมากกว่า 3 วง หรือมีจำนวนสมาชิกรวมกันทุกวงมากกว่า 30 คน ส่วนบัญชีรายชื่อผู้เสียหายจำนวน 28 คน นั้น เป็นรายชื่อของสมาชิกวงแชร์ที่ถูกจำเลยฉ้อโกงในการเล่นแชร์ทั้ง 5 วง มิใช่จำนวนสมาชิกวงแชร์ทั้ง 5 วง รวมกัน ฟ้องของโจทก์จึงครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 6 (1) (2) แล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องถึงการกระทำของจำเลยว่าได้กระทำการเป็นนายวงแชร์จัดให้มีการเล่นแชร์ถึง 5 วง นับแต่วันที่ 25 มีนาคม 2541 ถึงวันที่ 9 พฤษภาคม 2542 โดยมีจำนวนสมาชิกวงแชร์รวมกันทุกวงมากกว่า 30 คน อันเป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ. 2534 มาตรา 6 (1) (2) แล้ว และต่อมาจำเลยยังได้กระทำความผิดฐานฉ้อโกงผู้เสียหายทั้ง 28 คน ด้วยการหลอกลวงว่ามีสมาชิกวงแชร์รายอื่นประมูลเงินทุนกองกลางโดยให้ดอกเบี้ยตอบแทนสูงกว่าผู้เสียหายแต่ละคนที่เข้าร่วมประมูล จึงต้องรวบรวมเงินทุนกองกลางไปให้แก่สมาชิกผู้นั้น และบางงวดจำเลยก็แอบอ้างชื่อสมาชิกวงแชร์บางรายเข้าประมูลเงินทุนกองกลางโดยเสนอดอกเบี้ยตอบแทนสูงกว่าผู้เสียหายที่เข้าร่วมประมูล จนกระทั่งจำเลยได้เงินทุนกองกลางไปเสียเอง การกระทำของจำเลยในส่วนนี้แยกต่างหากจากการเป็นนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์ซึ่งเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.การเล่นแชร์ เป็นการหลอกลวงแอบอ้างสิทธิของสมาชิกวงแชร์คนอื่น เป็นการกระทำต่างฐานความผิดด้วยเจตนาที่ต่างกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันมิใช่เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องครบองค์ประกอบความผิดแต่ละฐานแล้ว ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขัดแย้งกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3975/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความเชื่อโดยสุจริตจากข้อมูลผิดพลาดของเจ้าหน้าที่ศาลเป็นเหตุขยายเวลาอุทธรณ์ได้ แม้ยื่นเกินกำหนด
ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันเดียวกันว่าอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ถึงวันที่ 7 พฤษภาคม 2545 ซึ่งตามกฎหมายถือว่าทนายจำเลยได้ทราบคำสั่งในวันนั้นแล้ว แต่ทนายจำเลยมิได้รอฟังคำสั่ง และได้มาขอทราบคำสั่ง ซึ่งตามทางปฏิบัติของศาลชั้นต้นการแจ้งคำสั่งให้คู่ความที่มาขอทราบคำสั่งทำโดยวิธีเปิดดูข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ และปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ศาลลงข้อมูลในคอมพิวเตอร์ผิดเป็นว่าอนุญาตถึงวันที่ 9 พฤษภาคม 2545 และเจ้าหน้าที่ศาลอีกคนหนึ่งแจ้งข้อมูลที่ผิดดังกล่าว โดยเขียนข้อความว่าอนุญาตถึงวันที่ 9 พฤษภาคม 2545 ในใบมอบฉันทะด้วย เช่นนี้แม้ทนายจำเลยจะยื่นอุทธรณ์เกินกำหนด 2 วัน ก็น่าเชื่อว่าทนายจำเลยเชื่อโดยสุจริตใจว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ถึงวันที่ 9 พฤษภาคม 2545 และเนื่องจากวันที่ 9 พฤษภาคม 2545 เป็นวันหยุดราชการ ทนายจำเลยจึงยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 10 พฤษภาคม 2545 ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3767/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่ากรณีผู้เช่าผิดสัญญา การระงับข้อพิพาทตามข้อตกลงในสัญญา
สัญญาเช่าตึกแถวมีข้อกำหนดว่า ถ้าผู้เช่าประพฤติผิดล่วงละเมิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใด หรือกระทำผิดวัตถุประสงค์ข้อหนึ่งข้อใด ผู้เช่ายอมให้ผู้ให้เช่าทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะเข้ายึดครอบครองสถานที่เช่าได้ และมีสิทธิบอกเลิกสัญญาทันที เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่าให้แก่โจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 560 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3718/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี เพื่อการอนาจาร แม้ผู้เสียหายยินยอมเดินทางไป แต่ยังอยู่ภายใต้ความปกครองของบิดามารดา
ที่ผู้เสียหายที่ 2 เบิกความว่า วันเกิดเหตุจำเลยชวนผู้เสียหายที่ 2 กับ ส. ไปเที่ยวที่อำเภอนางรองแต่กลับพาไปที่อำเภอโนนดินแดงนั้น ปรากฏว่าผู้เสียหายที่ 2 เคยให้การต่อพนักงานสอบสวนตามบันทึกคำให้การว่า วันเกิดเหตุจำเลยชวนผู้เสียหายที่ 2 ไปเที่ยวที่อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ ผู้เสียหายที่ 2 ตกลงไปและได้ชวน ส. ไปเป็นเพื่อนด้วยได้ไปเที่ยวที่เขื่อนลำนางรองจนถึงเวลาประมาณ 21 นาฬิกา จำเลยชวนไปเที่ยวต่อที่บ้านเพื่อนจำเลยหลังจากนั้นก็ชวนกลับ แต่ผู้เสียหายที่ 2 ไม่กล้ากลับบ้านเนื่องจากเป็นเวลาค่ำมืดแล้วกลัวบิดามารดาดุด่าเฆี่ยนตี ซึ่งเจือสมกับทางนำสืบของจำเลยที่ว่า จำเลยผู้เสียหายที่ 2 และ ส. ได้ไปเที่ยวเขื่อนลำนางรองด้วยกันแล้วผู้เสียหายที่ 2 ไม่ยอมกลับบ้าน ประกอบกับผู้เสียหายที่ 2 ให้ถ้อยคำต่อพนักงานสอบสวนหลังวันเกิดเหตุเพียง 3 วัน จึงเชื่อว่าให้การไปตามความเป็นจริง ทำให้เห็นได้ว่าจำเลยมิได้ใช้อุบายหลอกลวงผู้เสียหายที่ 2 ไปเที่ยวแต่ประการใด หากแต่เป็นความยินยอมพร้อมใจที่จะไปเที่ยวกับจำเลยและ ส. ตามประสาวัยรุ่น แม้ต่อมาจะปรากฏว่าจำเลยได้กระทำชำเราผู้เสียหาย ก็เป็นเรื่องเกิดเหตุภายหลังโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยวางแผนมาแต่แรก จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารโดยใช้อุบายหลอกลวงตาม ป.อ. มาตรา 284 วรรคแรก
ความผิดฐานพรากเด็กมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความคุ้มครองอำนาจปกครองของบิดามารดาที่มีต่อเด็กมิให้ผู้ใดพรากไปเสียจากความปกครอง แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความว่าผู้เสียหายที่ 2 และ ส. จะเพียงชวนกันไปเที่ยวอันเป็นการที่ผู้เสียหายที่ 2 เต็มใจไปกับจำเลยเองดังวินิจฉัยข้างต้น แต่ผู้เสียหายที่ 2 ยังไม่พ้นจากความปกครองดูแลของผู้เสียหายที่ 1 และ ท. ผู้เป็นบิดามารดา ที่จำเลยอ้างว่าผู้เสียหายที่ 2 ไม่ยอมกลับบ้านทั้ง ๆ ที่จำเลยชวนกลับแล้วนั้น จำเลยก็หามีสิทธิที่จะพาผู้เสียหายที่ 2 ไปเสียจากความปกครองของผู้เสียหายที่ 1 และ ท. ไม่ ทั้งยังปรากฏพฤติการณ์ที่จำเลยพาผู้เสียหายที่ 2 ไปยังสถานที่ต่าง ๆ ก็มีลักษณะเป็นการหลบซ่อนเพื่อมิให้ผู้เสียหายที่ 1 ตามไปพบผู้เสียหายที่ 2 อันเป็นข้อพิรุธในการกระทำของจำเลย จำเลยอยู่กับผู้เสียหายที่ 2 ตลอดมาแล้วจำเลยยังได้กระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 อีกด้วย ซึ่งข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาได้ความว่าผู้เสียหายที่ 2 กับจำเลยมิได้มีความรักใครกันทางชู้สาวมาก่อน และจำเลยก็ไม่มีเจตนาจะแต่งงานอยู่กินหรือเลี้ยงดูผู้เสียหายที่ 2 แต่อย่างใด ในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนจำเลยให้การรับสารภาพ การกระทำของจำเลยถือได้ว่าเป็นการพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดามารดาเพื่อการอนาจาร อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3651/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินเวนคืน: การซื้อขายตามเนื้อที่ประกาศ แม้ใช้ประโยชน์ไม่ครบถ้วน ไม่ถือเป็นการรังวัดคลาดเคลื่อน
ตามประกาศของคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ที่ดินของจำเลยถูกเวนคืนเนื้อที่ 42 ตารางวา และ จำเลยไปทำสัญญาซื้อขายที่ดินที่ถูกเวนคืนกับโจทก์ในจำนวนเนื้อที่ 42 ตารางวา โดยได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินที่ ถูกเวนดังกล่าวทั้งหมดแล้ว และจำเลยได้ส่งมอบที่ดินที่ถูกเวนคืนเนื้อที่ 42 ตารางวาซึ่งอยู่ในเขตเวนคืนให้โจทก์ครบถ้วนตามสัญญาซื้อขายดังกล่าว แม้โจทก์ใช้เนื้อที่ดินที่เวนคืนมาไม่หมดคงใช้ประโยชน์เพียง 28 ตารางวาก็ตาม ก็มิใช่เป็นกรณีที่เกิดจากการรังวัดคลาดเคลื่อนในจำนวนเนื้อที่ดินที่ซื้อขายกัน ดังนั้น กรรมสิทธิ์ในที่ดิน 42 ตารางวาย่อมตกเป็นของโจทก์โดยสมบูรณ์แล้วตามมาตรา 11 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 และไม่มีกฎหมายใดให้สิทธิหรือให้อำนาจโจทก์คืนที่ดินที่เวนคืนไปแล้ว แต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ตาม วัตถุประสงค์ของการเวนคืนให้แก่เจ้าของเดิม โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงินค่าทดแทนที่ดินจำนวน 14 ตารางวา ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3651/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินเวนคืน: กรรมสิทธิ์ตกเป็นของผู้ซื้อแม้ใช้ประโยชน์ไม่ครบถ้วน
ที่ดินของจำเลยถูกเวนคืนเนื้อที่ 42 ตารางวา และจำเลยไปทำสัญญาซื้อขายที่ดินที่ถูกเวนคืนกับโจทก์ในจำนวนเนื้อที่ 42 ตารางวา โดยได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนทั้งหมดแล้วและจำเลยได้ส่งมอบที่ดินที่ถูกเวนคืนให้โจทก์ครบถ้วนตามสัญญาซื้อขายดังกล่าว แม้โจทก์ใช้เนื้อที่ดินที่เวนคืนมาไม่หมดคงใช้ประโยชน์เพียง 28 ตารางวาก็มิใช่เป็นกรณีที่เกิดจากการรังวัดคลาดเคลื่อนในจำนวนเนื้อที่ดินที่ซื้อขายกัน กรรมสิทธิ์ในที่ดินทั้ง 42 ตารางวา ย่อมตกเป็นของโจทก์โดยสมบูรณ์ตามมาตรา 11 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ และไม่มีกฎหมายใดให้สิทธิหรือให้อำนาจโจทก์คืนที่ดินที่เวนคืนไปแล้วแต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของการเวนคืนแก่เจ้าของเดิม โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงินค่าทดแทนที่ดินจำนวน 14 ตารางวา ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3635/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผูกพันตามคำพิพากษาฎีกาเดิม แม้เปลี่ยนคู่ความ และอำนาจศาลในการวินิจฉัยปัญหาความสงบเรียบร้อย
คดีก่อนศาลฎีกามีคำพิพากษาว่า ที่ดินพิพาททับที่สาธารณประโยชน์คูขวางทั้งแปลง แม้โจทก์และจำเลยคดีนี้จะเป็นคนละคนกับโจทก์จำเลยในคดีก่อน แต่โจทก์คดีนี้ซื้อที่ดินพิพาทมาจากโจทก์ในคดีก่อน โจทก์คดีนี้จึงเป็นผู้สืบสิทธิจากโจทก์ในคดีก่อน ส่วนจำเลยที่ 1 ในคดีก่อนและจำเลยคดีนี้ต่างมีหน้าที่ดูแลสาธารณประโยชน์ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเช่นเดียวกัน ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกับโจทก์และจำเลยที่ 1 ในคดีก่อน ทั้งโจทก์ฟ้องคดีนี้โดยอาศัยประเด็นที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อนว่าที่ดินพิพาททับที่สาธารณประโยชน์คูขวางหรือไม่ ซึ่งได้ถึงที่สุดไปแล้ว ดังนี้โจทก์และจำเลยคดีนี้ต้องผูกพันตามคำพิพากษาในคดีก่อนด้วย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 และ 148 การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ยกฟ้องเป็นว่า ที่ดินโฉนดพิพาทคงเหลือเนื้อที่ 12 5/10 ตารางวา ให้จำเลยแก้ไขแล้วส่งมอบใบแทนโฉนดที่ดินคืนแก่โจทก์นั้น เมื่อโจทก์ต้องผูกพันตามคำพิพากษาฎีกาในคดีก่อน ก็ต้องถือว่าที่ดินพิพาทตามฟ้องของโจทก์เป็นที่สาธารณประโยชน์คูขวางทั้งแปลง ดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยแก้ไขโฉนดที่ดินพิพาทจึงไม่ถูกต้อง ปัญหาข้อนี้และปัญหาที่ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3635/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องถูกจำกัดเมื่อประเด็นข้อพิพาทถึงที่สุดแล้วในคดีก่อน แม้คู่ความต่างกัน แต่สืบสิทธิ์กัน
คดีก่อน ส. เจ้าของเดิมในที่ดินพิพาทเป็นโจทก์ฟ้องเทศบาลเมืองนครศรีธรรมราชกับพวกเป็นจำเลยโดยมีประเด็นข้อพิพาทว่าที่ดินแปลงพิพาทนี้ทับที่สาธารณประโยชน์คูขวางหรือไม่ ซึ่งต่อมาศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาททั้งแปลงทับที่สาธารณประโยชน์คูขวาง ส่วนคดีนี้แม้โจทก์และจำเลยจะเป็นคนละคนกับโจทก์และจำเลยในคดีก่อนก็ตามแต่โจทก์ได้รับที่พิพาทมาจากโจทก์ในคดีก่อนโจทก์จึงเป็นผู้สืบสิทธิ์มาจากโจทก์ในคดีก่อน ส่วนจำเลยที่ 1 ในคดีก่อนและจำเลยคดีนี้ต่างมีหน้าที่ดูแลสาธารณประโยชน์ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเช่นเดียวกัน ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกันกับโจทก์และจำเลยที่ 1 ในคดีก่อน เมื่อโจทก์คดีนี้ฟ้องจำเลยขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ให้เพิกถอนโฉนดที่ดินแปลงพิพาท ซึ่งเป็นการฟ้องโดยอาศัยประเด็นที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อนในประเด็นที่ว่าที่ดินแปลงพิพาททับที่สาธารณประโยชน์คูขวาง หรือไม่ และคดีก่อนถึงที่สุดไปแล้ว ดังนี้โจทก์และจำเลยคดีนี้ต้องผูกพันตามคำพิพากษาในคดีก่อนด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 อันต้องห้ามมิให้รื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3526/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การกำหนดค่าทดแทนที่ถูกต้องและสิทธิในการอุทธรณ์เพื่อเรียกร้องค่าเสียหายเพิ่มเติม
คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ได้พิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนอันเนื่องจากที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนในครั้งนี้โดยกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์เฉพาะในส่วนของที่ดินทั้งสองแปลงของโจทก์ที่ถูกเวนคืนตารางวาละ 40,000 บาท อันเป็นการดำเนินการตามขั้นตอนและหลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 9 วรรคสอง วรรคสามและวรรคสี่ มาตรา 18 มาตรา 21 มาตรา 22 และมาตรา 24 หากโจทก์เห็นว่า ที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์เฉพาะเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเท่านั้นยังไม่ชอบเพราะการเวนคืนทำให้ที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาลดลงด้วย ซึ่งมีผลเท่ากับการกำหนดเงินค่าทดแทนไม่ถูกต้องครบถ้วนตามสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตามมาตรา 21 วรรคสาม กรณีนี้มิใช่กรณีที่ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนหรือวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่เป็นกรณีที่ไม่กำหนดเงินค่าทดแทนให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายอันทำให้โจทก์ไม่พอใจในจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดซึ่งโจทก์สามารถที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรี ตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง เพื่อขอให้รัฐมนตรีวินิจฉัยกำหนดเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนได้ แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีขอให้เพิ่มเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลงตามขั้นตอนที่มาตรา 25 วรรคหนึ่งบัญญัติไว้ก่อนใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3190/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แก้ไขคำพิพากษาข้อผิดพลาดเนื้อที่ดิน: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจแก้ไขได้แม้คดีถึงที่สุดแล้ว
ตามคำฟ้องของโจทก์ระบุเนื้อที่ดินแต่ละแปลงของที่ดิน 10 แปลง ของโจทก์ที่ถูกเวนคืนไว้ด้วย ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วมีเนื้อที่เพียง 8 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา ทั้งโจทก์แถลงยอมรับข้อเท็จจริงในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นว่า ที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนรวม 10 แปลง มีจำนวนเนื้อที่ 8 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา เช่นเดียวกับสำเนาโฉนดที่ดินที่ถูกเวนคืนรวม 10 ฉบับ ท้ายคำแถลงของจำเลยที่ 1 ซึ่งปรากฏว่าที่ดิน 10 แปลงของโจทก์รวมกันแล้วมีจำนวนเนื้อที่ที่แท้จริงเพียง 8 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา ไม่ใช่ 9 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา ดังที่โจทก์รวมเนื้อที่ดินไว้ในคำฟ้อง ดังนั้น คำฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับผลรวมของจำนวนเนื้อที่ดินที่ถูกเวนคืนและคำขอให้ชำระเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มจึงเกิดจากการคำนวณที่ผิดพลาด เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มโดยถือเอาจากจำนวนเนื้อที่ดินที่โจทก์รวมผิดพลาดดังกล่าวในฟ้อง จึงมีข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อยซึ่งไม่ใช่ข้อผิดพลาดในสาระสำคัญแม้คำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทรณ์ดังกล่าวจะถึงที่สุดไปแล้ว ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจเพิ่มเติมแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงนั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 วรรคหนึ่ง เพราะการเพิ่มเติมแก้ไขคำพิพากษาในส่วนที่เป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อยตามบทกฎหมายดังกล่าวจะกระทำเมื่อคดีถึงที่สุดแล้วก็ได้
of 36