คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประพันธ์ ทรัพย์แสง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 352 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3190/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แก้ไขคำพิพากษาข้อผิดพลาดเนื้อที่ดิน: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจแก้ไขได้แม้คดีถึงที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143
ฟ้องโจทก์ระบุเนื้อที่ดินแต่ละแปลงของที่ดินทั้งสิบแปลงของโจทก์ที่ถูกเวนคืนไว้ด้วย รวมแล้วมีเนื้อที่ทั้งหมด 8 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา แต่โจทก์ระบุว่ารวมแล้วเป็นเนื้อที่ 9 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มโดยคิดจากจำนวนเนื้อที่ที่โจทก์รวมผิดพลาดดังกล่าวในฟ้อง ต่อมาในชั้นบังคับคดีทั้งโจทก์และจำเลยแถลงข้อเท็จจริงตรงกันว่า ที่ดินของโจทก์มีจำนวนเนื้อที่ที่แท้จริงเพียง 8 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้นโดยคิดจากจำนวนเนื้อที่ 9 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา อันเกิดจากการรวมเนื้อที่ดินที่ถูกเวนคืนผิดพลาดไปนั้น จึงเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อยซึ่งไม่ใช่ข้อผิดพลาดในสาระสำคัญ แม้คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองดังกล่าวจะถึงที่สุดไปแล้ว ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจแก้ไขข้อผิดพลาดหรือผิดหลงนั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 วรรคหนึ่ง เพราะการเพิ่มเติมแก้ไขคำพิพากษาในส่วนที่เป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อยตามบทกฎหมายดังกล่าวจะกระทำเมื่อคดีถึงที่สุดแล้วก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3102/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดโทษตาม ป.อ. มาตรา 78: ศาลอุทธรณ์เพิ่มเติมโทษโดยโจทก์มิได้อุทธรณ์ ถือไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลยโดยลดโทษให้ตาม ป.อ. มาตรา 78 หนึ่งในสาม เมื่อจำเลยอุทธรณ์แต่ฝ่ายเดียว การที่ศาลอุทธรณ์มิได้ลดโทษให้จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 78 ทั้งที่ศาลชั้นต้นลดโทษให้จำเลยหนึ่งในสามนั้น ถือได้ว่าเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งที่โจทก์มิได้อุทธรณ์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 212

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2954/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิ จำเป็นต้องระบุให้ชัดเจนถึงลักษณะของเอกสารและผลกระทบต่อสิทธิ
ตาม ป.อ. มาตรา 265 บัญญัติว่า "ผู้ใดปลอมเอกสารสิทธิ..." อันถือว่าเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานนี้ เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏข้อความว่า สัญญากู้เงินที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ปลอมและใช้เป็นเอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน และระงับซึ่งสิทธิระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 อย่างไรบ้าง อันเป็นนิยามของคำว่าเอกสารสิทธิตาม ป.อ. มาตรา 1 (9) ถือได้ว่าคำฟ้องของโจทก์มิได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) การกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องจึงไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิตาม ป.อ. มาตรา 265 คงมีความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารปลอมตามมาตรา 264 วรรคสอง และมาตรา 268 วรรคแรก เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2950/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนเวนคืน: การอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรี, การครอบครอง, และขอบเขตค่าเสียหาย
การพิจารณาว่าที่ดินที่ถูกเวนคืนแปลงใดมีที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนหรือไม่เพียงใด ต้องพิจารณาในวันที่กฎหมายกำหนดแนวเขตที่จะเวนคืนมีผลใช้บังคับในกรณีนี้คือวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ คือวันที่ 1 มกราคม 2535 ในวันดังกล่าวที่ดินของโจทก์ที่จะต้องเวนคืนเป็นที่ดินแปลงเดียวมีที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนเนื้อที่ 113 ตารางวา และไม่มีด้านหนึ่งด้านใดน้อยกว่า 5 วา ไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะขอให้ฝ่ายจำเลยเวนคืนหรือจัดซื้อที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนตามมาตรา 20 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์ดำเนินการแบ่งแยกที่ดินแปลงนี้ออกเป็นแปลงย่อยอีก 7 แปลง ภายหลังวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ เป็นผลให้ที่ดินที่แบ่งแยกดังกล่าวแต่ละแปลงมีเนื้อที่น้อยกว่า 25 ตารางวา และมีด้านหนึ่งด้านใดน้อยกว่า 5 วานั้น เกิดจากการกระทำของโจทก์เองมิใช่เกิดจากการเวนคืนโดยตรง โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะขอให้ฝ่ายจำเลยเวนคืนหรือจัดซื้อที่ดินที่เหลืออยู่นั้นได้
อุทธรณ์ของโจทก์ไม่ได้ขอให้รัฐมนตรีฯ วินิจฉัยกำหนดเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลงให้แก่โจทก์ ส่วนที่มีหนังสือถึงเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ขอให้เวนคืนหรือจัดซื้อที่ดินส่วนที่เหลือว่า หากเจ้าหน้าที่ไม่ยอมเวนคืนหรือจัดซื้อก็ขอให้กำหนดเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่เหลืออยู่อันราคาลดลงร้อยละ 60 เป็นการขอให้เจ้าหน้าที่ที่เวนคืนหรือจัดซื้อที่ดินตามมาตรา 20 มิใช่เป็นการอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีฯ ตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง เงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลงซึ่งเป็นเงินค่าทดแทนตามมาตรา 21 วรรคสามนี้ ก่อนที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18 จะมีสิทธินำคดีมาฟ้องคดีต่อศาลขอเงินค่าทดแทนส่วนนี้ได้ ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนจะต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีก่อนตามขั้นตอนในมาตรา 25 วรรคหนึ่งและมาตรา 26 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18 ไม่ได้อุทธรณ์ขอให้รัฐมนตรีฯ กำหนดเงินค่าทดแทนส่วนนี้ก่อน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนส่วนนี้จากจำเลย ปัญหานี้เป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมาย อันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน และข้อเท็จจริงอันนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวปรากฏจาก พยานหลักฐานของโจทก์ที่นำเข้าสู่การพิจารณาของศาลโดยชอบแล้ว แม้จำเลยทั้งสี่ไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้และไม่ได้ ยกเหตุนี้ขึ้นฎีกาก็ตาม ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
ผู้จะมีสิทธิได้เงินค่าทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่ต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนตาม มาตรา 21 วรรคท้าย ต้องเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่อาศัยหรือประกอบการค้าขาย หรือการงานอันชอบด้วยกฎหมายอยู่ในอสังหาริมทรัพย์อยู่แล้วในวันที่อสังหาริมทรัพย์นั้นถูกกำหนดให้เป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืน ในกรณีนี้คือวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ คือวันที่ 1 มกราคม 2535 แต่โจทก์ซื้อที่ดินที่ต้องเวนคืน มาภายหลังวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ แล้ว ทั้งการสร้างอาคารพาณิชย์แบ่งขายให้แก่บุคคลอื่นก็ไม่ใช่การอยู่อาศัยหรือประกอบการค้าขายหรือการงานอันชอบด้วยกฎหมายอยู่ในอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืน โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกเงินค่าทดแทนความเสียหายส่วนนี้
โจทก์ผู้ถูกเวนคืนจะมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนจากการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์เพียงใดนั้น ต้องเป็นไปตามที่ พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 บัญญัติไว้ แต่ตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้หาได้มีบทบัญญัติให้จ่ายเงินค่าทดแทนสำหรับความเสียหายที่โจทก์ถูกผู้ซื้อที่ดิน (ที่ถูกเวนคืน) และอาคารพาณิชย์จากโจทก์ฟ้องให้โจทก์รับผิดไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้จำเลยรับผิดชำระค่าเสียหายส่วนนี้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2893/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โกงเจ้าหนี้ต้องมีหนี้สินก่อน การทำลายทรัพย์สินหลังบังคับคดีชอบแล้ว ไม่เป็นความผิด
ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อ. มาตรา 350 ในเบื้องต้นต้องมีหนี้ระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้อยู่ก่อน โดยโจทก์อยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้และผู้เสียหาย คดีนี้โจทก์อ้างสิทธิว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แต่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ที่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวจากจำเลยที่ 3 ได้ฟ้องขับไล่โจทก์และ ด. กับพวก แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ด. มีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวซึ่งเป็นส่วนของทรัพย์มรดกของ ด. ตกได้แก่โจทก์ในฐานะภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ด. โจทก์จึงมีสิทธิที่จะอาศัยหรือใช้ประโยชน์ในที่ดินและตึกแถวนั้นได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่โจทก์ก็ตาม แต่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ก็ยังมิได้แสดงให้เห็นว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องเพราะโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง มิได้พิพากษาว่าจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ การที่โจทก์มีสิทธิได้รับมรดกในที่ดินและตึกแถวที่เป็นที่ดินกรรมสิทธิ์ร่วมกันระหว่างพี่น้องในส่วนของ ด. เป็นสิทธิในทรัพยสิทธิ มิใช่สิทธิในฐานะเป็นเจ้าหนี้อันเป็นบุคคลสิทธิ สิทธิของโจทก์ดังกล่าวมีอยู่อย่างไรย่อมไม่หมดไป เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้เป็นลูกหนี้ของโจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แม้จำเลยที่ 1 ทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วได้โอนที่ดินและตึกแถวให้แก่จำเลยที่ 2 ไป ในราคาต่ำก็ตาม การกระทำของจำเลยที่ 1 ก็ไม่ใช่เป็นการกระทำเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนได้รับชำระหนี้อันเป็นความผิดอาญาฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อ. มาตรา 350
หลังจากจำเลยที่ 2 ได้รับโอนที่ดินจากจำเลยที่ 1 มาแล้ว จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ทำลายตึกแถวตามคำฟ้องและทรัพย์สินส่วนตัวของโจทก์จนเปลี่ยนสภาพไปจากเดิม เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ส่งมอบตึกแถวแก่จำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2537 หลังจากนั้นจำเลยที่ 1 ได้โอนขายที่ดินและตึกแถวแก่จำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2538 จำเลยที่ 2 นำตึกแถวไปให้จำเลยที่ 3 เช่าทำประโยชน์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ทุบทำลายปรับปรุงดัดแปลงตึกแถวเป็นร้านค้าและหอพักมิใช่เป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ แต่เป็นการใช้สิทธิตามปรกติโดยเชื่อว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีถูกต้องแล้วซึ่งมีอำนาจทำได้ มิได้มีเจตนาทำลายตึกแถวให้เสียหายแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 358

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2893/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำที่ไม่เป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้และทำให้เสียทรัพย์ เนื่องจากไม่มีความสัมพันธ์เจ้าหนี้-ลูกหนี้ และการปรับปรุงทรัพย์สินหลังบังคับคดี
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์มิได้แสดงให้เห็นว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องเพราะโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง มิได้พิพากษาว่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ จำเลยที่ 1 จึงมิได้เป็นลูกหนี้ของโจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าว แม้จำเลยที่ 1 จะทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวแล้วได้โอนที่ดินและตึกแถวนั้นให้จำเลยที่ 2 ไปในราคาต่ำและจำเลยที่ 1 นำไปจำนองไว้แก่ธนาคารก็เป็นเรื่องในทางแพ่งที่โจทก์จะฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมหรือเพิกถอนการฉ้อฉลเท่านั้น การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่ใช่การกระทำเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนได้รับชำระหนี้อันเป็นความผิดอาญาฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อ. มาตรา 350 จำเลยที่ 2 ผู้รับโอนที่ดินและตึกแถวดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ผู้โอนที่ดินและตึกแถวนั้นให้จำเลยที่ 1 ย่อมไม่มีความผิดตามมาตรา 350 ดังกล่าวด้วย
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้ขับไล่โจทก์กับพวกแล้ว จำเลยที่ 1 ได้บังคับคดี แม้โจทก์จะอุทธรณ์คำพิพากษา แต่ก็ไม่ปรากฏว่าได้มีคำสั่งศาลให้ทุเลาการบังคับตาม ป.วิ.พ. มาตรา 231 หรืองดการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 292 ไว้แต่อย่างใด การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีตามขั้นตอนของกฎหมายจนโจทก์และบริวารได้ย้ายออกไปจากตึกแถวแล้ว หลังจากนั้นจำเลยที่ 1 ได้โอนขายที่ดินและตึกแถวดังกล่าวแก่จำเลยที่ 2 ต่อมาจำเลยที่ 2 และที่ 3 ทุบทำลายปรับปรุงดัดแปลงตึกแถวดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิตามปรกติเพราะเชื่อว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีถูกต้องแล้ว มิได้มีเจตนาทำลายตึกแถวนั้นให้เสียหายแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 358

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2433/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญาเงินกู้: ศาลปรับลดดอกเบี้ยสูงเกินส่วนได้ แม้สถาบันการเงินมีสิทธิคิดดอกเบี้ยสูงสุดตามประกาศ
โจทก์และจำเลยทำสัญญากู้เงินกันไว้เป็นหลักฐานโดยจำเลยยอมเสียดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราสูงสุดที่ธนาคารโจทก์กำหนดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งขณะทำสัญญา อัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไปในอัตราร้อยละ 18.75 ต่อปี และอัตราสูงสุดหากจำเลยประพฤติผิดเบี้ยปรับในสัญญาหรือผิดนัดไม่ชำระหนี้ในอัตราร้อยละ 19.75 ต่อปี จึงเป็นข้อตกลงกันไว้ล่วงหน้าหากจำเลยไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ จำเลยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นได้ เข้าลักษณะเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 เมื่อศาลเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยอันเป็นเบี้ยปรับสูงเกินส่วนก็ปรับลดลงมาเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
การที่โจทก์เป็นสถาบันการเงินมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากลูกหนี้ในอัตราสูงสุดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและ พ.ร.บ.ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินฯ โดยไม่อยู่ภายใต้บังคับตามบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 654 ไม่ทำให้ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่กำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าไม่เป็นเบี้ยปรับ แต่ก็ไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจศาลที่จะงดเบี้ยปรับเสียทั้งหมด ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 8.75 ต่อปีของต้นเงิน เท่ากับอัตราดอกเบี้ยสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไปอันเป็นอัตราปกติที่จำเลยต้องชำระให้แก่โจทก์ก่อนผิดนัด จึงมีผลเท่ากับเป็นการงดเบี้ยที่จำเลยต้องรับผิดชำระให้แก่โจทก์เสียทั้งสิ้นซึ่งไม่ต้องด้วยเจตนารมณ์แห่งกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2215/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนคำสั่งไม่รับสมัครเลือกตั้งและการหมดอายุความของคดีเลือกตั้ง
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเทศบาลนครระยองที่ไม่รับสมัครโจทก์เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลนครระยอง และพิพากษาให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งโดยชอบด้วยกฎหมาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องโจทก์ โจทก์อุทธรณ์คำสั่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปยังศาลฎีกา ปรากฏว่าในขณะที่คดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา การเลือกตั้งได้ผ่านพ้นไปแล้ว ดังนั้นไม่ว่าคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะชอบหรือไม่ อุทธรณ์ของโจทก์ก็ไม่เป็นสาระแก่คดีหรือทำให้คดีเปลี่ยนแปลงไป ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1968/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขต 'ส่วนที่เหลือ' ตาม พ.ร.บ.เวนคืน และสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายเพิ่มเติม นอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนด
คำว่า "ส่วนที่เหลือ" ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 วรรคสาม จะต้องพิจารณาจากที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนแปลงนั้น ๆ เป็นหลัก โดยที่ดินแปลงนั้น ๆ ไม่ได้ถูกเวนคืนทั้งหมด ส่วนที่ไม่ถูกเวนคืนจึงจะถือว่าเป็นส่วนที่เหลือจากการเวนคืนตามความหมายของบทบัญญัติดังกล่าว ส่วนที่ดินของโจทก์แปลงที่ไม่มีส่วนใดถูกเวนคืนเลย แม้จะปรากฏว่าที่ดินแปลงดังกล่าวอยู่ติดต่อเป็นผืนเดียวกันกับที่ดินของโจทก์แปลงที่ถูกเวนคืนที่มีส่วนที่เหลือจากการเวนคืนก็ตาม ก็ไม่มีผลทำให้ที่ดินแปลงที่ไม่มีส่วนใดถูกเวนคืนเลยกลายเป็นที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนตามบทบัญญัติดังกล่าวไปได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินแปลงที่ไม่มีส่วนใดถูกเวนคืนเลยโดยอ้างว่าที่ดินมีราคาลดลงเนื่องจากการเวนคืน
ผู้ถูกเวนคืนที่ดินจะมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนจากการเวนคืนอย่างไร เพียงใดนั้น จะต้องเป็นไปตามที่ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 บัญญัติไว้เท่านั้น แต่ตามพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวหาได้มีบทบัญญัติให้ทางราชการจ่ายเงินค่าทดแทนสำหรับความเสียหายเนื่องจากโจทก์จะต้องซื้อที่ดินข้างเคียงเพื่อทำเป็นทางออกให้แก่ที่ดินของโจทก์สู่ถนนสาธารณะตามที่โจทก์กล่าวอ้างไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้จำเลยรับผิดชำระค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1014/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินรกร้างว่างเปล่าที่ถูกสงวนไว้ใช้ในราชการ การได้มาซึ่งสิทธิครอบครองไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ขณะที่ ต. บิดาโจทก์เข้าจับจองครอบครองที่ดินตาม ส.ค. 1 ซึ่งมีที่ดินพิพาทรวมอยู่ด้วยนั้น ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่าที่ทางราชการได้ประกาศสงวนไว้ใช้ในราชการอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้ว ต. จะอ้างการครอบครองที่ดินพิพาทขึ้นใช้ยันต่อแผ่นดินมิได้ โจทก์ซึ่งเป็นทายาทผู้รับมรดกที่ดินจาก ต. จึงอ้างการครอบครองที่ดินพิพาทขึ้นใช้ยันต่อแผ่นดินมิได้ด้วยเช่นเดียวกัน
of 36