พบผลลัพธ์ทั้งหมด 222 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2143-2146/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์เจตนาสุจริตในการครอบครองที่ดินสาธารณะ: จำเป็นต้องมีการสืบพยานเพิ่มเติมเพื่อวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินหนองน้ำสาธารณะนายอำเภอมีคำสั่งให้ออกไป จำเลยฝ่าฝืนไม่ยอมออก ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368จำเลยให้การปฏิเสธ แม้จะปรากฏจากคำฟ้องเองว่าจำเลยครอบครองที่ดินนั้นมานานแล้ว แต่การครอบครองมานานก็มิใช่เหตุผลที่แสดงอยู่ในตัวว่าจำเลยเชื่อมั่นโดยสุจริตใจว่าที่ดินนั้นเป็นของจำเลยเองไม่ใช่ที่สาธารณะ และแม้จำเลยจะให้การว่าที่ดินนั้นมี ส.ค.1 แล้ว ซึ่งอาจเป็นพยานหลักฐานอย่างหนึ่งแสดงว่าจำเลยครอบครองมาโดยไม่รู้ว่าเป็นที่สาธารณะได้ และโจทก์แถลงรับว่าจำเลยได้ยื่น ส.ค.1 ไว้ต่อพนักงานสอบสวนจริง แต่โจทก์ก็ยังแถลงโต้แย้งอยู่ว่าที่ดินตาม ส.ค.1 ที่จำเลยอ้างนั้นเป็นคนละแห่งกับที่ที่โจทก์ฟ้อง เรื่อง ส.ค.1 อันจะเป็นเรื่องสนับสนุนข้อแก้ตัวของจำเลยจึงยังเป็นข้อโต้เถียงกันอยู่อีกเช่นกัน ตามคำฟ้อง คำให้การ และคำแถลงของโจทก์ ดังนี้ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีความเชื่อมั่นโดยสุจริตใจ ว่าที่ดินเป็นของจำเลยอันจะพึงถือว่าจำเลยมีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควรที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายอำเภอ ที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานแล้วพิพากษายกฟ้อง จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2517)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2517)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2143-2146/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินโดยเจตนาสุจริตและการพิสูจน์ความเชื่อมั่นในกรรมสิทธิ์
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินหนองน้ำสาธารณะนายอำเภอมีคำสั่งให้ออกไป จำเลยฝ่าฝืนไม่ยอมออก ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368จำเลยให้การปฏิเสธ แม้จะปรากฏจากคำฟ้องเองว่าจำเลยครอบครองที่ดินนั้นมานานแล้ว แต่การครอบครองมานานก็มิใช่เหตุผลที่แสดงอยู่ในตัวว่าจำเลยเชื่อมั่นโดยสุจริตใจว่าที่ดินนั้นเป็นของจำเลยเองไม่ใช่ที่สาธารณะ และแม้จำเลยจะให้การว่าที่ดินนั้นมี ส.ค.1 แล้ว ซึ่งอาจเป็นพยานหลักฐานอย่างหนึ่งแสดงว่าจำเลยครอบครองมาโดยไม่รู้ว่าเป็นที่สาธารณะได้และโจทก์แถลงรับว่าจำเลยได้ยื่น ส.ค.1 ไว้ต่อพนักงานสอบสวนจริงแต่โจทก์ก็ยังแถลงโต้แย้งอยู่ว่าที่ดินตาม ส.ค.1 ที่จำเลยอ้างนั้นเป็นคนละแห่งกับที่ที่โจทก์ฟ้อง เรื่อง ส.ค.1 อันจะเป็นเรื่องสนับสนุนข้อแก้ตัวของจำเลยจึงยังเป็นข้อโต้เถียงกันอยู่อีกเช่นกัน ตามคำฟ้องคำให้การ และคำแถลงของโจทก์ ดังนี้ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีความเชื่อมั่นโดยสุจริตใจ ว่าที่ดินเป็นของจำเลยอันจะพึงถือว่าจำเลยมีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควรที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายอำเภอ ที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานแล้วพิพากษายกฟ้องจึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2517)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2517)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1196/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดสืบพยานโจทก์ก่อนฟังข้อเท็จจริงถนัด ฟังไม่ได้ว่าพยานอาจเบิกความพลั้งเผลอ ศาลฎีกาสั่งให้สืบพยานต่อได้
การที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานโจทก์ที่เหลือ หลังจากสืบพยานโจทก์ไปแล้วหนึ่งปากและฟังข้อเท็จจริงจากพยานโจทก์ที่สืบไปแล้ว ซึ่งยังฟังไม่ได้ถนัดเพราะพยานอาจเบิกความพลั้งเผลอไป และโจทก์ยังแถลงขอสืบพยานต่อไปอีกนั้นไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ชอบที่ศาลจะฟังพยานโจทก์ต่อไป ศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์ที่เหลือต่อไป แล้วพิพากษาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1196/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดสืบพยานโจทก์ที่ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา กรณีความผิดฐานลักทรัพย์ของกลาง
การที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานโจทก์ที่เหลือ หลังจากสืบพยานโจทก์ไปแล้วหนึ่งปากและฟังข้อเท็จจริงจากพยานโจทก์ที่สืบไปแล้ว ซึ่งยังฟังไม่ได้ถนัดเพราะพยานอาจเบิกความพลั้งเผลอไป และโจทก์ยังแถลงขอสืบพยานต่อไปอีกนั้นไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ชอบที่ศาลจะฟังพยานโจทก์ต่อไป ศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์ที่เหลือต่อไป แล้วพิพากษาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 963/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันตัวที่พอสมควรแก่เหตุ และความผิดฐานร่วมกันทำร้ายผู้อื่น
จำเลยที่ 1 กับที่ 2 เคยมีเรื่องชกต่อยกันวันเกิดเหตุ จำเลยที่ 2,3 กับพวกไปคอยทีอยู่ พอจำเลยที่ 1 เดินผ่านมา จำเลยที่ 2,3 ยิงจำเลยที่ 1 ราว 4,5 นัด จำเลยที่ 1 วิ่งหนีจำเลยที่ 2, 3 ยังยิงมาทางจำเลยที่ 1 อีก 4-5 นัด จำเลยที่ 1จึงยิงโต้ตอบไป 1 นัดแล้ววิ่งหนีไป การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการป้องกันตัวพอสมควรแก่เหตุ เพราะไม่ทราบว่าจำเลยที่ 2,3 จะไล่ยิงต่อไปหรือไม่ และกรณีดังนี้ไม่เป็นการเข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้กัน
เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 4 เบิกความเป็นพยาน ศาลชั้นต้นไม่ยอมให้ทนายของจำเลยที่ 3 ซักค้าน แม้จะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 233 แต่เมื่อศาลไม่ได้นำคำเบิกความของจำเลยที่ 1 และที่ 4 มาวินิจฉัยให้เป็นโทษแก่จำเลยที่ 3 ย่อมไม่มีผลกระทบกระเทือนการรับฟังคำพยานนั้น ๆ ว่าทำให้จำเลยที่ 3 เสียเปรียบ
โจทก์บรรยายฟ้องในตอนต้นว่าจำเลยที่ 1 ฝ่ายหนึ่ง จำเลย ที่ 2, 3, 4 และผู้ตายฝ่ายหนึ่ง เข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้ยิงกัน ในการชุลมุนนี้ผู้ตายถูกกระสุนปืนตาย จำเลยที่ 2 ถูกกระสุนปืนบาดเจ็บ บ. ซึ่งอยู่ใกล้ที่เกิดเหตุได้รับอันตรายสาหัสและตอนท้ายบรรยายว่า จำเลยที่ 1 ยิงจำเลยที่ 2 และผู้ตายโดยเจตนาฆ่าจำเลยที่ 2,3,4 ก็ยิงจำเลยที่ 1 โดยเจตนาฆ่าถือว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องแยกความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 294, 299 กับความผิดตามมาตรา 288, 80 ออกจากกันให้เห็นได้ชัด ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
ได้ความว่า กระสุนปืนที่จำเลยที่ 2,3 ยิงจำเลยที่1 นั้นพลาดไปถูก บ. ได้รับอันตรายสาหัส แต่ฟ้องโจทก์ไม่ได้ระบุมาตรา 60 มาด้วย ศาลก็นำมาตรา 60 มาปรับแก่คดีได้ เพราะมิใช่เป็นบทกำหนดโทษที่จะใช้ลงแก่จำเลย
เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 4 เบิกความเป็นพยาน ศาลชั้นต้นไม่ยอมให้ทนายของจำเลยที่ 3 ซักค้าน แม้จะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 233 แต่เมื่อศาลไม่ได้นำคำเบิกความของจำเลยที่ 1 และที่ 4 มาวินิจฉัยให้เป็นโทษแก่จำเลยที่ 3 ย่อมไม่มีผลกระทบกระเทือนการรับฟังคำพยานนั้น ๆ ว่าทำให้จำเลยที่ 3 เสียเปรียบ
โจทก์บรรยายฟ้องในตอนต้นว่าจำเลยที่ 1 ฝ่ายหนึ่ง จำเลย ที่ 2, 3, 4 และผู้ตายฝ่ายหนึ่ง เข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้ยิงกัน ในการชุลมุนนี้ผู้ตายถูกกระสุนปืนตาย จำเลยที่ 2 ถูกกระสุนปืนบาดเจ็บ บ. ซึ่งอยู่ใกล้ที่เกิดเหตุได้รับอันตรายสาหัสและตอนท้ายบรรยายว่า จำเลยที่ 1 ยิงจำเลยที่ 2 และผู้ตายโดยเจตนาฆ่าจำเลยที่ 2,3,4 ก็ยิงจำเลยที่ 1 โดยเจตนาฆ่าถือว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องแยกความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 294, 299 กับความผิดตามมาตรา 288, 80 ออกจากกันให้เห็นได้ชัด ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
ได้ความว่า กระสุนปืนที่จำเลยที่ 2,3 ยิงจำเลยที่1 นั้นพลาดไปถูก บ. ได้รับอันตรายสาหัส แต่ฟ้องโจทก์ไม่ได้ระบุมาตรา 60 มาด้วย ศาลก็นำมาตรา 60 มาปรับแก่คดีได้ เพราะมิใช่เป็นบทกำหนดโทษที่จะใช้ลงแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 963/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันตัวที่สมควรแก่เหตุ และการพิจารณาความผิดฐานร่วมกันประทุษร้าย ทำให้ผู้อื่นได้รับอันตราย
จำเลยที่ 1 กับที่ 2 เคยมีเรื่องชกต่อยกันวันเกิดเหตุจำเลยที่ 2, 3 กับพวกไปคอยทีอยู่ พอจำเลยที่ 1 เดินผ่านมาจำเลยที่ 2, 3 ยิงจำเลยที่ 1 ราว 4, 5 นัด จำเลยที่ 1 วิ่งหนี จำเลยที่ 2, 3 ยังยิงมาทางจำเลยที่ 1 อีก 4-5 นัด จำเลยที่ 1 จึงยิงโต้ตอบไป 1 นัดแล้ววิ่งหนีไป การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการป้องกันตัวพอสมควรแก่เหตุ เพราะไม่ทราบว่าจำเลยที่ 2, 3 จะไล่ยิงต่อไปหรือไม่ และกรณีดังนี้ไม่เป็นการเข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้กัน
เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 4 เบิกความเป็นพยาน ศาลชั้นต้นไม่ยอมให้ทนายของจำเลยที่ 3 ซักค้าน แม้จะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 233 แต่เมื่อศาลไม่ได้นำคำเบิกความของจำเลยที่ 1 และที่ 4มาวินิจฉัยให้เป็นโทษแก่จำเลยที่ 3 ย่อมไม่มีผลกระทบกระเทือนการรับฟังคำพยานนั้น ๆ ว่าทำให้จำเลยที่ 3 เสียเปรียบ
โจทก์บรรยายฟ้องในตอนต้นว่าจำเลยที่ 1 ฝ่ายหนึ่ง จำเลย ที่ 2, 3, 4 และผู้ตายฝ่ายหนึ่งเข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้ยิงกัน ในการชุลมุนนี้ผู้ตายถูกกระสุนปืนตาย จำเลยที่ 2 ถูกกระสุนปืนบาดเจ็บ บ. ซึ่งอยู่ใกล้ที่เกิดเหตุได้รับอันตรายสาหัสและตอนท้ายบรรยายว่า จำเลยที่ 1 ยิงจำเลยที่ 2 และผู้ตายโดยเจตนาฆ่าจำเลยที่ 2, 3, 4 ก็ยิงจำเลยที่ 1 โดยเจตนาฆ่า ถือว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องแยกความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 294, 299 กับความผิดตามมาตรา 288, 80 ออกจากกันให้เห็นได้ชัด ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
ได้ความว่า กระสุนปืนที่จำเลยที่ 2, 3 ยิงจำเลยที่ 1 นั้นพลาดไปถูก บ. ได้รับอันตรายสาหัส แต่ฟ้องโจทก์ไม่ได้ระบุมาตรา 60 มาด้วย ศาลก็นำมาตรา 60 มาปรับแก่คดีได้เพราะมิใช่เป็นบทกำหนดโทษที่จะใช้ลงแก่จำเลย
เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 4 เบิกความเป็นพยาน ศาลชั้นต้นไม่ยอมให้ทนายของจำเลยที่ 3 ซักค้าน แม้จะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 233 แต่เมื่อศาลไม่ได้นำคำเบิกความของจำเลยที่ 1 และที่ 4มาวินิจฉัยให้เป็นโทษแก่จำเลยที่ 3 ย่อมไม่มีผลกระทบกระเทือนการรับฟังคำพยานนั้น ๆ ว่าทำให้จำเลยที่ 3 เสียเปรียบ
โจทก์บรรยายฟ้องในตอนต้นว่าจำเลยที่ 1 ฝ่ายหนึ่ง จำเลย ที่ 2, 3, 4 และผู้ตายฝ่ายหนึ่งเข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้ยิงกัน ในการชุลมุนนี้ผู้ตายถูกกระสุนปืนตาย จำเลยที่ 2 ถูกกระสุนปืนบาดเจ็บ บ. ซึ่งอยู่ใกล้ที่เกิดเหตุได้รับอันตรายสาหัสและตอนท้ายบรรยายว่า จำเลยที่ 1 ยิงจำเลยที่ 2 และผู้ตายโดยเจตนาฆ่าจำเลยที่ 2, 3, 4 ก็ยิงจำเลยที่ 1 โดยเจตนาฆ่า ถือว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องแยกความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 294, 299 กับความผิดตามมาตรา 288, 80 ออกจากกันให้เห็นได้ชัด ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
ได้ความว่า กระสุนปืนที่จำเลยที่ 2, 3 ยิงจำเลยที่ 1 นั้นพลาดไปถูก บ. ได้รับอันตรายสาหัส แต่ฟ้องโจทก์ไม่ได้ระบุมาตรา 60 มาด้วย ศาลก็นำมาตรา 60 มาปรับแก่คดีได้เพราะมิใช่เป็นบทกำหนดโทษที่จะใช้ลงแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2665/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิแก้คำให้การในคดีอาญา: เหตุผลอันควรเมื่อจำเลยปรึกษาทนายความและเข้าใจสิทธิในการต่อสู้คดี
จำเลยถูกฟ้องว่าพยายามฆ่าผู้อื่น ตอนแรกจำเลยให้การรับสารภาพ และไม่ต้องการทนาย ครั้นถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยได้แต่งทนาย และยื่นคำร้องขอถอนคำให้การเดิม ขอให้การใหม่ว่ามิได้กระทำผิด อ้างเหตุผลว่ารับสารภาพเพราะเข้าใจผิด และไม่ตรงต่อความจริงดังนี้ เป็นเหตุผลที่อาจเป็นไปได้ เพราะขณะจำเลยให้การรับสารภาพ จำเลยไม่มีทนายความต่อเมื่อได้ปรึกษาทนายความแล้ว จึงเกิดความเข้าใจถูกต้องในการต่อสู้คดี นับว่าเป็นเหตุอันควรเมื่อประกอบกับในคดีอาญา จำเลยย่อมมีสิทธิต่อสู้คดีได้เต็มที่ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 165วรรคหนึ่ง ตามรูปคดีจึงสมควรที่จะอนุญาตให้จำเลยแก้คำให้การได้ เมื่อศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยแก้คำให้การ และสืบพยานโจทก์ไปฝ่ายเดียว แล้วพิพากษาลงโทษจำเลย จึงไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1512-1518/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค: ศาลต้องพิจารณาเจตนาออกเช็คทั้งสองประการตามมาตรา 3(1) และ (2) อย่างครบถ้วน
ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คที่โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับเจตนา ในการออกเช็คของจำเลยมาว่า ทั้งนี้ โดยจำเลยมีเจตนาทุจริต ออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น โดยขณะที่ออกไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงใช้เงินได้ และระบุอ้างมาตรา 3(1) (2) มาในคำขอที่ให้ลงโทษท้ายคำฟ้องมาไว้ด้วย ดังนี้ เป็นคำฟ้องที่โจทก์กล่าวหา ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยทั้งในข้อออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น และออกเช็คในขณะที่ออกไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงใช้เงินได้ ทั้งสองประการ
เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยความผิดมายังไม่หมดประเด็นตามข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์ กรณีก็ต้องยกคำพิพากษาย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่
เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยความผิดมายังไม่หมดประเด็นตามข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์ กรณีก็ต้องยกคำพิพากษาย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักยอกทรัพย์ที่เกิดจากการตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์ในผลผลิต ศาลต้องฟังพยานให้ครบถ้วนเพื่อพิสูจน์ความผิด
ฟ้องยักยอกทรัพย์ สืบพยาน 1 ปากแล้วศาลชั้นต้นงดสืบพยานเมื่อคำพยานโจทก์ที่นำสืบมายังไม่เพียงพอจะชี้ขาดว่า จำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ จึงควรจะได้ฟังพยานต่อไป กรณีต้องให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่
ฟ้องว่า จำเลยกับผู้เสียหายได้ตกลงกันและยอมรับปฏิบัติตามประเพณีท้องถิ่นว่าจำเลยเป็นลูกน้องผู้เสียหายเป็นนายทุนออกค่าใช้จ่ายเมื่อจำเลยขุดหาพลอยได้เท่าใด จำเลยและผู้เสียหายเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในพลอยนั้นคนละครึ่ง ต่อมาจำเลยขุดพลอยได้ 1 เม็ด ผู้เสียหายจึงมีกรรมสิทธิ์ครึ่งหนึ่งและจำเลยเป็นผู้ได้รับมอบให้ครอบครองเก็บรักษาพลอยไว้ แล้วจำเลยได้บังอาจเบียดบังยักยอกเอาพลอยดังกล่าวไปเป็นของตนโดยทุจริต ถ้าข้อเท็จจริงได้ความตามฟ้อง จำเลยอาจมีความผิดฐานยักยอกทรัพย์ได้
ฟ้องว่า จำเลยกับผู้เสียหายได้ตกลงกันและยอมรับปฏิบัติตามประเพณีท้องถิ่นว่าจำเลยเป็นลูกน้องผู้เสียหายเป็นนายทุนออกค่าใช้จ่ายเมื่อจำเลยขุดหาพลอยได้เท่าใด จำเลยและผู้เสียหายเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในพลอยนั้นคนละครึ่ง ต่อมาจำเลยขุดพลอยได้ 1 เม็ด ผู้เสียหายจึงมีกรรมสิทธิ์ครึ่งหนึ่งและจำเลยเป็นผู้ได้รับมอบให้ครอบครองเก็บรักษาพลอยไว้ แล้วจำเลยได้บังอาจเบียดบังยักยอกเอาพลอยดังกล่าวไปเป็นของตนโดยทุจริต ถ้าข้อเท็จจริงได้ความตามฟ้อง จำเลยอาจมีความผิดฐานยักยอกทรัพย์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1520/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนการพิจารณาคดีอาญาเนื่องจากทนายจำเลยติดว่าความคดีอื่น ศาลต้องอนุญาตหากมีเหตุสมควร
ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนการพิจารณาโดยอ้างว่าในวันนัดนั้น ทนายจำเลยติดว่าความที่ศาลอื่น ข้ออ้างของทนายจำเลยเป็นความจริงทั้งเป็นกรณีที่มีเหตุอันสมควร ชอบที่ศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้เลื่อนการพิจารณาสืบพยานโจทก์ไปได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 175 วรรค 2 แต่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและทำการพิจารณาพิพากษาไปเลย จึงเป็นการปฏิบัติไม่ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาศาลฎีกาจึงให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาพิพากษาใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 208(2)