คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 208

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 222 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 464/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษความผิดพิกัดศุลกากร: พิจารณาโทษหนักเบาตามกฎหมายเฉพาะ และการจ่ายเงินรางวัลแก่เจ้าหน้าที่
การคำนวณค่าปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งรวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว ตามพระราชบัญญัติศุลกากร ฯ มาตรา 27 นั้น ต้องถือเอาราคาของในท้องตลาดอันเป็นราคาที่แท้จริง และรวมค่าอากรเข้าด้วย เป็นเกณฑ์ในการคำนวณ
การลักลอบนำข้าวออกนอกประเทศเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมการส่งออกไปนอกและนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2490 มาตรา 3 กับตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปีเท่ากัน แต่การกระทำฐานพยายามนั้น พระราชบัญญัติศุลกากรถือว่าเป็นความผิดตามมาตรา 27 เสมือนกับเป็นความผิดสำเร็จลงโทษจำคุกได้ถึง 10 ปี แต่ตามพระราชบัญญัติควบคุมการส่งออกไปนอก ฯ ลงโทษได้เพียง 2 ใน 3 จำคุกได้อย่างสูง 6 ปี 8 เดือน จึงต้องลงโทษตามพระราชบัญญัติศุลกากร อันเป็นกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90 (อ้างฎีกาที่ 1027/2504)
การกระทำผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรนั้น ศาลต้องนำพระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำผิด พ.ศ. 2489 มาใช้บังคับในการสั่งจ่ายเงินรางวัลแก่ผู้จับ
จำเลยทั้ง 3 พยายามนำข้าวออกนอกประเทศ ข้าวสารเป็นของจำเลยที่ 2 จำนวน 6 กระสอบ เป็นของจำเลยที่ 3 จำนวน 6 กระสอบ จำเลยที่ 2,3 ไม่ได้สมคบกัน ส่วนจำเลยที่ 1 สมคบกับจำเลยที่ 2,3 ดังนี้ เมื่อค่าปรับทั้งหมด 8002.56 บาท จึงปรับจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 4001.28 บาท จำเลยที่ 2,3 คนละ 2000.64 บาท จำเลยที่ 2,3 รับสารภาพลดกึ่ง คงปรับคนละ 1000.32 บาท
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 32 บัญญัติว่า เรือ...รถ...หากใช้ในการย้าย ถอน ซ่อนเร้น หรือขนของที่ยังมิได้เสียภาษี... ให้ริบเสียสิ้น นั้น หากเจ้าของมิได้รู้เห็นเกี่ยวข้องในการกระทำผิดแล้ว ศาลไม่ริบ (อ้างฎีกาที่ 193/2491) ฉะนั้น เมื่อศาลชั้นต้นยังมิได้ไต่สวน ข้อเท็จจริงยังไม่ปรากฏว่าเจ้าของรถยนต์ของกลางรู้เห็นเกี่ยวข้องในการกระทำหรือไม่ อัยการโจทก์ก็ค้านอยู่ว่ารู้เห็นเป็นใจ จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะดำเนินการไต่สวนแล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 464/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราโทษความผิดพ.ร.บ.ศุลกากรและพ.ร.บ.ควบคุมการส่งออกฯ: ศาลเลือกใช้กฎหมายที่มีโทษหนักกว่าตามประมวลกฎหมายอาญา ม.90
การคำนวณค่าปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งรวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 27 นั้น ต้องถือเอาราคาของในท้องตลาดอันเป็นราคาที่แท้จริงและรวมค่าอากรเข้าด้วย เป็นเกณฑ์ในการคำนวณ
การลักลอบนำข้าวออกนอกประเทศเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมการส่งออกไปนอกและนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2490 มาตรา 3 กับตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี เท่ากัน แต่การกระทำฐานพยายามนั้นพระราชบัญญัติศุลกากรถือว่าเป็นความผิดตามมาตรา 27 เสมือนกับเป็นความผิดสำเร็จลงโทษจำคุกได้ถึง 10 ปี แต่ตามพระราชบัญญัติควบคุมการส่งออกไปนอกฯ ลงโทษได้เพียง 2 ใน 3 จำคุกได้อย่างสูง 6 ปี 8 เดือนจึงต้องลงโทษตามพระราชบัญญัติศุลกากร อันเป็นกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90(อ้างฎีกาที่ 1027/2504)
การกระทำผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรนั้น ศาลต้องนำพระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำผิด พ.ศ.2489 มาใช้บังคับในการสั่งจ่ายเงินรางวัลแก่ผู้จับ
จำเลยทั้ง 3 พยายามนำข้าวออกนอกประเทศ ข้าวสารเป็นของจำเลยที่ 2 จำนวน 6 กระสอบ เป็นของจำเลยที่ 3 จำนวน 6 กระสอบจำเลยที่ 2,3 ไม่ได้สมคบกันส่วนจำเลยที่ 1 สมคบกับจำเลยที่ 2,3ดังนี้ เมื่อค่าปรับทั้งหมด 8,002.56 บาท จึงปรับจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 4,001.28 บาท จำเลยที่ 2,3 คนละ 2,000.64บาท จำเลยที่ 2,3 รับสารภาพลดกึ่ง คงปรับคนละ1,000.32 บาท
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 32 บัญญัติว่าเรือ...รถ...หากใช้ในการย้าย ถอน ซ่อนเร้น หรือขนของที่ยังมิได้เสียภาษี...ให้ริบเสียสิ้น นั้น หากเจ้าของมิได้รู้เห็นเกี่ยวข้องในการกระทำผิดแล้ว ศาลไม่ริบ(อ้างฎีกาที่ 193/2491) ฉะนั้น เมื่อศาลชั้นต้นยังมิได้ไต่สวนข้อเท็จจริงยังไม่ปรากฏว่าเจ้าของรถยนต์ของกลางรู้เห็นเกี่ยวข้องในการกระทำหรือไม่อัยการโจทก์ก็ค้านอยู่ว่ารู้เห็นเป็นใจ จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะดำเนินการไต่สวนแล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 419/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนนัดสืบพยานซ้ำๆ และดุลพินิจของศาลในการผ่อนผันการตัดพยาน
นัดสืบพยานโจทก์ครั้งแรก พยานโจทก์ไม่มาศาล โจทก์ไม่มาศาล โจทก์แถลงว่าไม่ทราบเหตุขัดข้องขอเลื่อนไป ศาลเลื่อนไปสืบพยานโจทก์อีกครั้งหนึ่ง ครั้นถึงวันนัด พยานโจทก์ก็ไม่มาศาลอีก โจทก์แถลงไม่ทราบเหตุขัดข้องและขอเลื่อนอีก ดังนี้ศาลไม่สมควรที่จะตัดพยานโจทก์และพิพากษายกฟ้อง เฉพาะคดีนี้มีพฤติการณ์ สมควรผ่อนผัน ครั้งหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 419/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนนัดสืบพยาน: ศาลฎีกาเห็นควรผ่อนผันการตัดพยานเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
นัดสืบพยานโจทก์ครั้งแรกพยานโจทก์ไม่มาศาล โจทก์แถลงว่าไม่ทราบเหตุขัดข้องขอเลื่อนไป ศาลเลื่อนไปสืบพยานโจทก์อีกครั้งหนึ่งครั้นถึงวันนัด พยานโจทก์ก็ไม่มาศาลอีก โจทก์แถลงไม่ทราบเหตุขัดข้องและขอเลื่อนอีกดังนี้ศาลไม่สมควรที่จะตัดพยานโจทก์และพิพากษายกฟ้องเฉพาะคดีนี้มีพฤติการณ์สมควรผ่อนผันให้อีกครั้งหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 499/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาพยานหลักฐานขัดแย้งในคดีอาญา และการใช้อำนาจเรียกสำนวนคดีอื่นมาพิจารณาเพื่อประกอบการวินิจฉัย
ในคดีอาญา ฟ้องของโจทก์กล่าวว่าจำเลยสมคบกันจำเลยอีกคนหนึ่งซึ่งถูกฟ้องศาลไปก่อนแล้ว และปรากฏว่าจำเลยในคดีก่อนถูกศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง ส่วนจำเลยในคดีหลังถูกศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษ จำเลยที่ถูกศาลลงโทษฎีกา และขอให้ศาลเรียกสำนวนคดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องจำเลยอีกคนหนึ่งมาประกอบการวินิจฉัย โดยอ้างว่าพยานโจทก์ทั้ง 2 คดี เป็นพยานชุดเดียวกัน เบิกความ 2 ครั้ง แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีเกี่ยวกับตัวจำเลยต่างกัน ดังนี้ ศาลฎีกาย่อมอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 208, 225, 228 เรียกสำนวนคดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาปล่อยจำเลยมาประกอบการวินิจฉัยได้ และเมื่อเห็นว่าคำพยานโจทก์ที่เบิกความ 2 ครั้ง ขัดแย้งกัน ศาลฎีกาก็ตัดสินยกฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 499/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาพยานหลักฐานที่ขัดแย้งกันในคดีอาญา และอำนาจศาลฎีกาในการพิจารณาสำนวนอื่น
ในคดีอาญา ฟ้องของโจทก์กล่าวว่าจำเลยสมคบกับจำเลยอีกคนหนึ่งซึ่งถูกฟ้องศาลไปก่อนแล้วและปรากฏว่าจำเลยในคดีก่อนถูกศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องส่วนจำเลยในคดีหลังถูกศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยที่ถูกศาลลงโทษฎีกา และขอให้ศาลฎีกาเรียกสำนวนคดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องจำเลยอีกคนหนึ่งมาประกอบการวินิจฉัยโดยอ้างว่าพยานโจทก์ทั้ง 2 คดี เป็นพยานชุดเดียวกัน เบิกความ 2ครั้ง แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีเกี่ยวกับตัวจำเลยต่างกันดังนี้ ศาลฎีกาย่อมอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 208,225,228 เรียกสำนวนคดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาปล่อยจำเลยมาประกอบการวินิจฉัยได้ และเมื่อเห็นว่าคำพยานโจทก์ที่เบิกความ 2 ครั้ง ขัดแย้งกัน ศาลฎีกาก็ตัดสินยกฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 629/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทเรื่องการขุดมันสำปะหลังในที่ดินโฉนดร่วม ศาลต้องฟังพยานทั้งสองฝ่ายเพื่อวินิจฉัยความผิด
ตามฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลยตลอดจนข้อเท็จจริงที่โจทก์จำเลยแถลงรับกันฟังได้ว่ามันสัมปะหลังที่โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยขุดลักเอาไปตามฟ้องนั้นปลูกไว้ในที่ดินมีโฉนดซึ่งมีชื่อของจำเลยและนางอัวมารดาผู้เสียหายซึ่งเป็นภรรยาจำเลยถือกรรมสิทธิร่วมกัน นางอัวตายแล้วผู้เสียหายถือว่าที่ดินเป็นมรดกตกได้แก่ผู้เสียหาย ส่วนมันสำปะหลังผู้เสียหายและจำเลยต่างเกี่ยงกันว่าตนเป็นผู้ปลูกเช่นนี้จะงดสืบพยานและพิพากษายกฟ้อง โดยถือว่าจำเลยไม่มีเถยยะจิตเป็นโจรยังไม่ได้ มูลคดียังไม่พอวินิจฉัยชี้ชาดว่าจำเลยได้ทำผิดดังข้อหาหรือไม่จึงจำเป็นต้องฟังคำพยานทั้งสองฝ่ายให้สิ้นกระแสความก่อน.
เพราะเถียงกันว่าใครเป็นผู้ปลูกมันสำปะหลัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 629/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความผิดฐานลักทรัพย์: จำเป็นต้องรับฟังพยานทั้งสองฝ่ายเพื่อวินิจฉัยข้อเท็จจริง
ตามฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลยตลอดจนข้อเท็จจริงที่โจทก์จำเลยแถลงรับกันฟังได้ว่ามันสัมปะหลังที่โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยขุดลักเอาไปตามฟ้องนั้นปลูกไว้ในที่ดินมีโฉนดซึ่งมีชื่อของจำเลยและนางอัวมารดาผู้เสียหายซึ่งเป็นภรรยาจำเลยถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันนางอัวตายแล้วผู้เสียหายถือว่าที่ดินเป็นมรดกตกได้แก่ผู้เสียหาย ส่วนมันสัมปะหลังผู้เสียหายและจำเลยต่างเกี่ยงกันว่าตนเป็นผู้ปลูกเช่นนี้จะงดสืบพยานและพิพากษายกฟ้องโดยถือว่าจำเลยไม่มีเถยจิตเป็นโจรยังไม่ได้มูลคดียังไม่พอวินิจฉัยชี้ขาดว่าจำเลยได้ทำผิดดังข้อหาหรือไม่จึงจำเป็นต้องฟังคำพยานทั้งสองฝ่ายให้สิ้นกระแสความก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2081-2082/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งออกหมายจับเพื่อรับสำเนาอุทธรณ์: หน้าที่ศาลชั้นต้น และขอบเขตอำนาจศาลอุทธรณ์
โจทก์ขอให้ศาลอุทธรณ์ออกหมายจับ ศาลอุทธรณ์สั่งให้ยกคำร้องเสีย โจทก์ฎีกาขึ้นมาได้โดยที่ศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้จำหน่ายคดีนั้น เพราะไม่ใช่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตาม วิ.อาญา มาตรา 196, (ป.ช.ญ. ครั้งที่ 7/2498)
การส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่คู่ความนั้นเป็นหน้าที่ศาลชั้นต้น (อ้างฎีกาที่ 130/2482 ) โจทก์จึงชอบที่จะร้องขอต่อศาลชั้นต้นให้ออกหมายจับ
ม.207 ไม่ใช่บทบังคับศาลอุทธรณ์ เพียงแต่ให้อำนาจศาลอุทธรณ์พิจารณาสั่งแล้วแต่กรณีศาลฎีกาจะสั่งกลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว ให้ศาลอุทธรณ์สั่งศาลชั้นต้นออกหมายจับอีกต่อหนึ่งนั้นไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2081-2082/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งออกหมายจับเพื่อรับสำเนาอุทธรณ์: ศาลชั้นต้นมีอำนาจโดยตรง ศาลอุทธรณ์มีอำนาจใช้ดุลพินิจ
โจทก์ขอให้ศาลอุทธรณ์ออกหมายจับ ศาลอุทธรณ์สั่งให้ยกคำร้องเสียโจทก์ฎีกาขึ้นมาได้โดยที่ศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้จำหน่ายคดีนั้น เพราะไม่ใช่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 196(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7/2498)
การส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่คู่ความนั้นเป็นหน้าที่ศาลชั้นต้น(อ้างฎีกาที่ 130/2482) โจทก์จึงชอบที่จะร้องขอต่อศาลชั้นต้นให้ออกหมายจับ
มาตรา 207 ไม่ใช่บทบังคับศาลอุทธรณ์ เพียงแต่ให้อำนาจศาลอุทธรณ์พิจารณาสั่งแล้วแต่กรณี ศาลฎีกาจะสั่งกลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว ให้ศาลอุทธรณ์สั่งศาลชั้นต้นออกหมายจับอีกต่อหนึ่งนั้นไม่ชอบ
of 23