พบผลลัพธ์ทั้งหมด 222 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3971/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ศาลสอบถามจำเลยเรื่องทนายก่อนพิจารณาคดีอาญาที่มีโทษจำคุก หากไม่ทำกระบวนการพิจารณาไม่ถูกต้อง
เป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะต้องสอบถามจำเลยก่อนเริ่มพิจารณาคดีที่มีอัตราโทษจำคุกเสียก่อนว่าจำเลยมีและต้องการทนายความหรือไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 วรรคสอง เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้มีการดำเนินการดังกล่าว การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงไม่ถูกต้อง จำเป็นต้องดำเนินการใหม่ให้ถูกต้อง แม้จำเลยมิได้ฎีกาในปัญหานี้ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3971/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ศาลในการสอบถามจำเลยเรื่องทนายความก่อนพิจารณาคดีที่มีอัตราโทษจำคุก หากไม่ดำเนินการ กระบวนพิจารณาไม่ถูกต้อง
เป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะต้องสอบถามจำเลยก่อนเริ่มพิจารณาคดีที่มีอัตราโทษจำคุกเสียก่อนว่าจำเลยมีและต้องการทนายความหรือไม่ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 173 วรรคสอง เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้มีการดำเนินการดังกล่าว การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงไม่ถูกต้อง จำเป็นต้องดำเนินการใหม่ให้ถูกต้อง แม้จำเลยมิได้ฎีกาในปัญหานี้ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 313/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานยักยอก, แจ้งความเท็จ, และการเรียงกระทงลงโทษในคดีอาญา
++ เรื่อง ยักยอก ฉ้อโกง ความผิดต่อเจ้าพนักงาน ++
ในกรณีที่ผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคลที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนนิติบุคคลเป็นผู้กระทำความผิดทางอาญาต่อนิติบุคคลเสียเองนั้นผู้แทนของนิติบุคคลซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดย่อมไม่จัดการแทนนิติบุคคลโดยฟ้องร้องกล่าวหาตนเองต่อศาล ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นของนิติบุคคลนั้นย่อมได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิด และ ป.พ.พ.มาตรา 1169 บัญญัติให้ผู้ถือหุ้นฟ้องคดีได้หากกรรมการทำให้เกิดความเสียหายต่อบริษัทและบริษัทไม่ฟ้องคดี ดังนี้จึงถือได้ว่าผู้ถือหุ้นในบริษัท พ.เป็นผู้เสียหาย ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 2(4) มีอำนาจฟ้องคดีได้ตามมาตรา 28(2) โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นบริษัทดังกล่าวจึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งหกในความผิดฐานยักยอก
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะกรรมการบริษัท พ.ร่วมกันทำรายงานการประชุมของบริษัท พ.ว่า โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทไม่ได้นำเงินมาให้บริษัทกู้ยืมตามสัดส่วนที่ถือหุ้นเพื่อชำระราคาที่ดินเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 และที่ 2ต้องหาเงินมาให้บริษัทกู้ยืมแทน และที่ดินพิพาทไม่เป็นประโยชน์แก่บริษัทจึงเห็นสมควรขายให้จำเลยที่ 3 ในราคา 21,000,000 บาท อันเป็นความเท็จ การที่จำเลยที่ 2ทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 3โดยไม่มีการซื้อขายกันจริง เป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท พ.ได้รับความเสียหาย ทั้งนี้จำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 4 ได้ทำรายงานการประชุมมีข้อความว่าได้ติดต่อซื้อที่ดินพิพาทจากบริษัท พ. ซึ่งเป็นข้อความเท็จ การกระทำของจำเลยที่ 3 จึงเป็นการยักยอกทรัพย์ของบริษัท พ.
ในวันที่จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาท บริษัท พ.ได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ทำการขายที่ดินพิพาทตลอดจนให้ถ้อยคำต่าง ๆ ต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ผู้ซื้อที่ดินพิพาทคือจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจ แต่เนื่องจากคู่สัญญาต่างเป็นนิติบุคคลจึงต้องแสดงหนังสือรับรองการจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินด้วยเพื่อตรวจสอบอำนาจของกรรมการของนิติบุคคลนั้น และคู่สัญญาต้องส่งรายงานการประชุมของนิติบุคคลดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อตรวจสอบเจตนาและวัตถุประสงค์ของคู่สัญญาด้วย ข้อเท็จจริงรับฟังว่ารายงานการประชุมของบริษัท พ.เป็นเอกสารเท็จ และไม่มีการซื้อขายที่ดินพิพาทกันจริง ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 4 ให้ถ้อยคำดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดินจึงเป็นการแจ้งข้อความเท็จแก่เจ้าพนักงานและแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐานในการซื้อขาย โดยประการที่ทำให้โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท พ.ได้รับความเสียหาย การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จและแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 3 มีความผิดฐานยักยอก ฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการและฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน และเห็นว่าความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานและแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการเป็นกรรมเดียว แต่เป็นคนละกรรมกับความผิดฐานยักยอก และเรียงกระทงลงโทษเมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยที่ 3 เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ซึ่งแต่ละบทมีอัตราโทษเท่ากัน ให้ลงโทษจำเลยที่ 3 ในความผิดฐานยักยอกเพียงบทเดียวจึงชอบแล้ว แต่ที่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้พิพากษาแก้โทษของจำเลยที่ 3ที่ศาลชั้นต้นเรียงกระทงลงโทษมา กลับพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นจึงเป็นการไม่ชอบ
ในกรณีที่ผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคลที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนนิติบุคคลเป็นผู้กระทำความผิดทางอาญาต่อนิติบุคคลเสียเองนั้นผู้แทนของนิติบุคคลซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดย่อมไม่จัดการแทนนิติบุคคลโดยฟ้องร้องกล่าวหาตนเองต่อศาล ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นของนิติบุคคลนั้นย่อมได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิด และ ป.พ.พ.มาตรา 1169 บัญญัติให้ผู้ถือหุ้นฟ้องคดีได้หากกรรมการทำให้เกิดความเสียหายต่อบริษัทและบริษัทไม่ฟ้องคดี ดังนี้จึงถือได้ว่าผู้ถือหุ้นในบริษัท พ.เป็นผู้เสียหาย ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 2(4) มีอำนาจฟ้องคดีได้ตามมาตรา 28(2) โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นบริษัทดังกล่าวจึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งหกในความผิดฐานยักยอก
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะกรรมการบริษัท พ.ร่วมกันทำรายงานการประชุมของบริษัท พ.ว่า โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทไม่ได้นำเงินมาให้บริษัทกู้ยืมตามสัดส่วนที่ถือหุ้นเพื่อชำระราคาที่ดินเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 และที่ 2ต้องหาเงินมาให้บริษัทกู้ยืมแทน และที่ดินพิพาทไม่เป็นประโยชน์แก่บริษัทจึงเห็นสมควรขายให้จำเลยที่ 3 ในราคา 21,000,000 บาท อันเป็นความเท็จ การที่จำเลยที่ 2ทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 3โดยไม่มีการซื้อขายกันจริง เป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท พ.ได้รับความเสียหาย ทั้งนี้จำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 4 ได้ทำรายงานการประชุมมีข้อความว่าได้ติดต่อซื้อที่ดินพิพาทจากบริษัท พ. ซึ่งเป็นข้อความเท็จ การกระทำของจำเลยที่ 3 จึงเป็นการยักยอกทรัพย์ของบริษัท พ.
ในวันที่จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาท บริษัท พ.ได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ทำการขายที่ดินพิพาทตลอดจนให้ถ้อยคำต่าง ๆ ต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ผู้ซื้อที่ดินพิพาทคือจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจ แต่เนื่องจากคู่สัญญาต่างเป็นนิติบุคคลจึงต้องแสดงหนังสือรับรองการจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินด้วยเพื่อตรวจสอบอำนาจของกรรมการของนิติบุคคลนั้น และคู่สัญญาต้องส่งรายงานการประชุมของนิติบุคคลดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อตรวจสอบเจตนาและวัตถุประสงค์ของคู่สัญญาด้วย ข้อเท็จจริงรับฟังว่ารายงานการประชุมของบริษัท พ.เป็นเอกสารเท็จ และไม่มีการซื้อขายที่ดินพิพาทกันจริง ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 4 ให้ถ้อยคำดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดินจึงเป็นการแจ้งข้อความเท็จแก่เจ้าพนักงานและแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐานในการซื้อขาย โดยประการที่ทำให้โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท พ.ได้รับความเสียหาย การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จและแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 3 มีความผิดฐานยักยอก ฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการและฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน และเห็นว่าความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานและแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการเป็นกรรมเดียว แต่เป็นคนละกรรมกับความผิดฐานยักยอก และเรียงกระทงลงโทษเมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยที่ 3 เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ซึ่งแต่ละบทมีอัตราโทษเท่ากัน ให้ลงโทษจำเลยที่ 3 ในความผิดฐานยักยอกเพียงบทเดียวจึงชอบแล้ว แต่ที่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้พิพากษาแก้โทษของจำเลยที่ 3ที่ศาลชั้นต้นเรียงกระทงลงโทษมา กลับพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปลอมใช้เอกสาร, มีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต และพาอาวุธปืนในเมือง ศาลฎีกาตัดสินแก้โทษจำคุก
จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์เพื่อโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษาลงโทษจำเลยในการกระทำอันเป็นความผิด ของจำเลยว่าเป็นกรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกัน ซึ่งเป็นปัญหา ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยแม้จำเลยให้การ รับสารภาพในศาลชั้นต้นก็ตาม แต่เมื่อจำเลยมีสิทธิอุทธรณ์ ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบและเมื่อ ศาลฎีกาเห็นว่าไม่จำเป็นต้องส่งสำนวนให้ศาลอุทธรณ์พิจารณา พิพากษาใหม่ศาลฎีกาย่อมวินิจฉัย ในปัญหานี้ไปเสียเลย การที่จำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจตรวจดูหลักฐานเพราะมี พฤติการณ์เป็นที่น่าสงสัยเนื่องจากแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ ไม่ใช่ทะเบียนที่ทางราชการออกให้ โดยตรวจพบว่าแผ่นป้าย ทะเบียนรถยนต์ แผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีเป็นเอกสาร ที่ทำปลอมขึ้น การกระทำของจำเลยทั้งหมดคือ การปลอมใช้และ อ้างแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ปลอม แผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสีย ภาษีปลอมเป็นความผิดกรรมเดียวเพราะเป็นเอกสารและหลักฐาน ที่ติดอยู่ที่รถยนต์คันเดียวกันและตามฟ้องของโจทก์ก็ปรากฏ ว่าจำเลยแสดงเอกสารดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานตำรวจในเวลาเดียวกัน ซึ่งตามพฤติการณ์เห็นได้ว่า จำเลยมีเจตนาอย่างเดียวกันคือ เพื่อให้เจ้าพนักงานตำรวจเห็นว่ารถยนต์คันดังกล่าวเป็น รถยนต์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยในจึงเป็นกรรมเดียวตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 สำหรับข้อหาใช้หรืออ้างแผ่นป้ายแสดงการประกันภัย คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถปลอม ใช้หรืออ้างใบอนุญาต ขับรถยนต์ปลอม และใช้หรืออ้างใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน (แบบ ป.4) ปลอม แม้ตามฟ้องจะปรากฏว่าจำเลยได้แสดงต่อ เจ้าพนักงานตำรวจในคราวเดียวกัน แต่ก็เป็นเอกสารคนละประเภทกันโดยเจตนาของการปลอม การใช้และอ้างซึ่งเอกสารดังกล่าว มีเจตนาก่อให้เกิดผลที่แตกต่างกัน กล่าวคือ การใช้หรืออ้าง แผ่นป้ายแสดงการประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถปลอม เพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่ารถยนต์คันดังกล่าวมีการประกันภัย คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัย จากรถ พ.ศ. 2535 จริง การใช้หรืออ้างใบอนุญาตขับรถยนต์ปลอมเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าจำเลยที่ 1 มีความสามารถขับรถยนต์ ได้ซึ่งทางราชการได้ออกใบอนุญาตให้แก่จำเลยแล้วและการใช้ หรืออ้างใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน (แบบ ป.4) ปลอมเพื่อ ให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่า จำเลยได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน ดังกล่าวได้ ซึ่งทางราชการได้อนุญาตให้จำเลยที่ 1 มีและ ใช้อาวุธปืนดังกล่าวแล้ว การกระทำของจำเลยที่ 1 ส่วนนี้จึงเป็นคนละกรรมต่างกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 แผ่นป้ายแสดงการประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ มิใช่เอกสารซึ่งเจ้าพนักงานได้ทำขึ้นหรือรับรองในหน้าที่ จึงมิใช่เอกสารราชการการปลอมและใช้แผ่นป้ายแสดงการประกันภัย คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถจึงเป็นเพียงความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 วรรคแรก,268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 วรรคแรก การที่ศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 โดยไม่ได้ระบุ บทมาตราประกอบ และไม่ได้ระบุวรรคในความผิดอื่น ๆ ให้ครบถ้วน ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกัน กรณีใช้เอกสารปลอมและการปลอมแปลงเอกสารประเภทต่างๆ
จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์เพื่อโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษาลงโทษจำเลยในการกระทำอันเป็นความผิดของจำเลยว่าเป็นกรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกัน ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยแม้จำเลยให้การรับสารภาพในศาลชั้นต้นก็ตาม แต่เมื่อจำเลยมีสิทธิอุทธรณ์ได้ตามป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบและเมื่อศาลฎีกาเห็นว่าไม่จำเป็นต้องส่งสำนวนให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ศาลฎีกาย่อมวินิจฉัย ในปัญหานี้ไปเสียเลย
การที่จำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจตรวจดูหลักฐานเพราะมีพฤติการณ์เป็นที่น่าสงสัยเนื่องจากแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ไม่ใช่ทะเบียนที่ทางราชการออกให้ โดยตรวจพบว่าแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ แผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีเป็นเอกสารที่ทำปลอมขึ้น การกระทำของจำเลยทั้งหมดคือ การปลอมใช้และอ้างแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ปลอม แผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีปลอมเป็นความผิดกรรมเดียวเพราะเป็นเอกสารและหลักฐานที่ติดอยู่ที่รถยนต์คันเดียวกันและตามฟ้องของโจทก์ก็ปรากฏว่าจำเลยแสดงเอกสารดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานตำรวจในเวลาเดียวกัน ซึ่งตามพฤติการณ์เห็นได้ว่า จำเลยมีเจตนาอย่างเดียวกันคือเพื่อให้เจ้าพนักงานตำรวจเห็นว่ารถยนต์คันดังกล่าวเป็นรถยนต์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยในจึงเป็นกรรมเดียวตาม ป.อ.มาตรา 90
สำหรับข้อหาใช้หรืออ้างแผ่นป้ายแสดงการประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถปลอม ใช้หรืออ้างใบอนุญาตขับรถยนต์ปลอม และใช้หรืออ้างใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน (แบบ ป.4) ปลอม แม้ตามฟ้องจะปรากฏว่าจำเลยได้แสดงต่อเจ้าพนักงานตำรวจในคราวเดียวกัน แต่ก็เป็นเอกสารคนละประเภทกันโดยเจตนาของการปลอม การใช้และอ้างซึ่งเอกสารดังกล่าวมีเจตนาก่อให้เกิดผลที่แตกต่างกัน กล่าวคือ การใช้หรืออ้างแผ่นป้ายแสดงการประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถปลอมเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่ารถยนต์คันดังกล่าวมีการประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535จริง การใช้หรืออ้างใบอนุญาตขับรถยนต์ปลอมเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าจำเลยที่ 1มีความสามารถขับรถยนต์ได้ซึ่งทางราชการได้ออกใบอนุญาตให้แก่จำเลยแล้วและการใช้หรืออ้างใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน (แบบ ป.4) ปลอมเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่า จำเลยได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนดังกล่าวได้ ซึ่งทางราชการได้อนุญาตให้จำเลยที่ 1 มีและใช้อาวุธปืนดังกล่าวแล้ว การกระทำของจำเลยที่ 1ส่วนนี้จึงเป็นคนละกรรมต่างกันตาม ป.อ.มาตรา 91
แผ่นป้ายแสดงการประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถมิใช่เอกสารซึ่งเจ้าพนักงานได้ทำขึ้นหรือรับรองในหน้าที่ จึงมิใช่เอกสารราชการการปลอมและใช้แผ่นป้ายแสดงการประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถจึงเป็นเพียงความผิดตาม ป.อ.มาตรา 264 วรรคแรก, 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา264 วรรคแรก การที่ศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม ป.อ.มาตรา 268โดยไม่ได้ระบุบทมาตราประกอบ และไม่ได้ระบุวรรคในความผิดอื่น ๆ ให้ครบถ้วนถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
การที่จำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจตรวจดูหลักฐานเพราะมีพฤติการณ์เป็นที่น่าสงสัยเนื่องจากแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ไม่ใช่ทะเบียนที่ทางราชการออกให้ โดยตรวจพบว่าแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ แผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีเป็นเอกสารที่ทำปลอมขึ้น การกระทำของจำเลยทั้งหมดคือ การปลอมใช้และอ้างแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ปลอม แผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีปลอมเป็นความผิดกรรมเดียวเพราะเป็นเอกสารและหลักฐานที่ติดอยู่ที่รถยนต์คันเดียวกันและตามฟ้องของโจทก์ก็ปรากฏว่าจำเลยแสดงเอกสารดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานตำรวจในเวลาเดียวกัน ซึ่งตามพฤติการณ์เห็นได้ว่า จำเลยมีเจตนาอย่างเดียวกันคือเพื่อให้เจ้าพนักงานตำรวจเห็นว่ารถยนต์คันดังกล่าวเป็นรถยนต์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยในจึงเป็นกรรมเดียวตาม ป.อ.มาตรา 90
สำหรับข้อหาใช้หรืออ้างแผ่นป้ายแสดงการประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถปลอม ใช้หรืออ้างใบอนุญาตขับรถยนต์ปลอม และใช้หรืออ้างใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน (แบบ ป.4) ปลอม แม้ตามฟ้องจะปรากฏว่าจำเลยได้แสดงต่อเจ้าพนักงานตำรวจในคราวเดียวกัน แต่ก็เป็นเอกสารคนละประเภทกันโดยเจตนาของการปลอม การใช้และอ้างซึ่งเอกสารดังกล่าวมีเจตนาก่อให้เกิดผลที่แตกต่างกัน กล่าวคือ การใช้หรืออ้างแผ่นป้ายแสดงการประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถปลอมเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่ารถยนต์คันดังกล่าวมีการประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535จริง การใช้หรืออ้างใบอนุญาตขับรถยนต์ปลอมเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าจำเลยที่ 1มีความสามารถขับรถยนต์ได้ซึ่งทางราชการได้ออกใบอนุญาตให้แก่จำเลยแล้วและการใช้หรืออ้างใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน (แบบ ป.4) ปลอมเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่า จำเลยได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนดังกล่าวได้ ซึ่งทางราชการได้อนุญาตให้จำเลยที่ 1 มีและใช้อาวุธปืนดังกล่าวแล้ว การกระทำของจำเลยที่ 1ส่วนนี้จึงเป็นคนละกรรมต่างกันตาม ป.อ.มาตรา 91
แผ่นป้ายแสดงการประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถมิใช่เอกสารซึ่งเจ้าพนักงานได้ทำขึ้นหรือรับรองในหน้าที่ จึงมิใช่เอกสารราชการการปลอมและใช้แผ่นป้ายแสดงการประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถจึงเป็นเพียงความผิดตาม ป.อ.มาตรา 264 วรรคแรก, 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา264 วรรคแรก การที่ศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม ป.อ.มาตรา 268โดยไม่ได้ระบุบทมาตราประกอบ และไม่ได้ระบุวรรคในความผิดอื่น ๆ ให้ครบถ้วนถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6466/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขฟ้องอุทธรณ์ที่ผิดรูปแบบ และอำนาจศาลในการย้อนสำนวนเพื่อแก้ไขกระบวนการ
ฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยที่ทนายความลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์โดยที่จำเลยยังมิได้ยื่นใบแต่งทนายความตั้งทนายความผู้นั้นเป็นทนายจำเลยเท่ากับเป็นฟ้องอุทธรณ์ที่ยังมิได้ลงลายมือชื่อจำเลยผู้อุทธรณ์ จึงเป็นฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ถูกต้องในส่วนที่เป็นรูปแบบซึ่งสามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งให้จำเลยแก้ไขฟ้องอุทธรณ์ให้ถูกต้องเสียก่อน ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 161 วรรคหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นกลับสั่งรับฟ้องอุทธรณ์ของจำเลย และศาลอุทธรณ์พบข้อผิดพลาดในการดำเนินกระบวนพิจารณาของคู่ความและศาลชั้นต้นดังกล่าวแล้ว ก็ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาให้ถูกต้องได้ ด้วยการให้จำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์หรือยื่นใบแต่งทนายความตั้งทนายความที่ลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์เป็นทนายจำเลย และกรณีนี้ก็หาได้ล่วงเลยเวลาที่ควรปฏิบัติไม่ ทั้งไม่ต้องด้วยความยุติธรรมที่จะให้จำเลยเสียสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาในชั้นอุทธรณ์อันเนื่องมาแต่ข้อผิดพลาดในการดำเนินกระบวนพิจารณาของคู่ความและศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์จำเลยเพราะเหตุที่จำเลยมิได้ยื่นใบแต่งทนายความจำเลย ย่อมเป็นการไม่ชอบ ประกอบกับคดีนี้จำเลยอุทธรณ์ขอให้รอการลงโทษ และผู้เสียหายไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยต่อไป จึงมีเหตุสมควร ให้ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้จำเลยแก้ไขฟ้องอุทธรณ์ให้ถูกต้อง แล้วดำเนินการต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6466/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขฟ้องอุทธรณ์ที่ขาดการลงลายมือชื่อ และสิทธิในการได้รับการพิจารณาคดี
ฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยที่ทนายความลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์โดยที่จำเลยยังมิได้ยื่นใบแต่งทนายความตั้งทนายความผู้นั้นเป็นทนายจำเลยเท่ากับเป็นฟ้องอุทธรณ์ที่ยังมิได้ลงลายมือชื่อจำเลยผู้อุทธรณ์ จึงเป็นฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ถูกต้องในส่วนที่เป็นรูปแบบซึ่งสามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งให้จำเลยแก้ไขฟ้องอุทธรณ์ ให้ถูกต้องเสียก่อน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 161 วรรคหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นกลับสั่งรับฟ้อง อุทธรณ์ของจำเลย และศาลอุทธรณ์พบข้อผิดพลาดในการ ดำเนินกระบวนพิจารณาของคู่ความและศาลชั้นต้น ดังกล่าวแล้ว ก็ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะย้อนสำนวนไป ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาให้ถูกต้องได้ ด้วยการให้จำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์หรือยื่น ใบแต่งทนายความตั้งทนายความที่ลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์เป็นทนายจำเลย และกรณีนี้ก็หาได้ล่วงเลยเวลาที่ควรปฏิบัติไม่ ทั้งไม่ต้องด้วยความยุติธรรมที่จะให้จำเลยเสียสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาในชั้นอุทธรณ์ อันเนื่องมาแต่ข้อผิดพลาดในการดำเนินกระบวนพิจารณา ของคู่ความและศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ จำเลยเพราะเหตุที่จำเลยมิได้ยื่นใบแต่งทนายความจำเลย ย่อมเป็นการไม่ชอบ ประกอบกับคดีนี้จำเลยอุทธรณ์ ขอให้รอการลงโทษ และผู้เสียหายไม่ติดใจดำเนินคดี แก่จำเลยต่อไป จึงมีเหตุสมควร ให้ศาลฎีกายกคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ และให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้จำเลยแก้ไข ฟ้องอุทธรณ์ให้ถูกต้อง แล้วดำเนินการต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6398/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการพิจารณาคดีในชั้นอุทธรณ์: ศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษในประเด็นที่จำเลยไม่โต้แย้ง เป็นการพิพากษาเกินคำฟ้อง
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีใดแล้ว คู่ความฝ่ายที่ไม่พอใจหรือไม่เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้น ย่อมมีสิทธิที่จะอุทธรณ์และฎีกาได้ตามที่กฎหมายบัญญัติ เว้นแต่ถูกจำกัดสิทธิ ตามบทบัญญัติของกฎหมาย และการพิจารณาคดีนี้ในชั้นอุทธรณ์ก็ต้องเป็นไปดังที่บัญญัติไว้ในภาค 4 ลักษณะ 1 อุทธรณ์การที่โจทก์อุทธรณ์เฉพาะความผิดต่อ พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษเท่านั้น ส่วนความผิด ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ จำเลยมิได้อุทธรณ์ คำพิพากษาศาลชั้นต้น ถือว่าจำเลยพอใจไม่โต้แย้งดุลพินิจ ในการกำหนดโทษตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ย่อมเป็นอันยุติ ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์จะก้าวล่วงไป วินิจฉัยกำหนดโทษเสียใหม่ในความผิดที่ยุติไปแล้วนั้น ให้เบาลงมิได้ เป็นการพิพากษาเกินคำฟ้องอุทธรณ์ ทั้งไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดที่ให้อำนาจศาลอุทธรณ์ในกรณีเช่นนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6398/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการอุทธรณ์และการวินิจฉัยศาลอุทธรณ์: หลักการจำกัดการเปลี่ยนแปลงโทษในคดีที่จำเลยไม่โต้แย้ง
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีใดแล้ว คู่ความฝ่ายที่ไม่พอใจหรือไม่เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้น ย่อมมีสิทธิที่จะอุทธรณ์และฎีกาได้ตามที่กฎหมายบัญญัติ เว้นแต่ถูกจำกัดสิทธิตามบทบัญญัติของกฎหมาย และการพิจารณาคดีนี้ในชั้นอุทธรณ์ก็ต้องเป็นไปดังที่บัญญัติไว้ในภาค 4 ลักษณะ 1 อุทธรณ์การที่โจทก์อุทธรณ์เฉพาะความผิดต่อ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษเท่านั้น ส่วนความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ จำเลยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น ถือว่าจำเลยพอใจไม่โต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ย่อมเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์จะก้าวล่วงไปวินิจฉัยกำหนดโทษเสียใหม่ในความผิดที่ยุติไปแล้วนั้นให้เบาลงมิได้ เป็นการพิพากษาเกินคำฟ้องอุทธรณ์ ทั้งไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดที่ให้อำนาจศาลอุทธรณ์ในกรณีเช่นนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5883/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางในคดีอาญา แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีอำนาจแก้ไขคำพิพากษา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 144, 33และให้ริบเงินสดของกลางที่จำเลยได้ให้แก่เจ้าพนักงานเพื่อจูงใจให้เจ้าพนักงานปล่อยตัวจำเลยไป โดยไม่ต้องนำส่งพนักงานสอบสวน การที่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำวินิจฉัยในเรื่องของกลางดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 186(9) ปัญหาข้อนี้เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจวินิจฉัยแก้ไขให้ถูกต้องและพิพากษาให้ริบของกลางได้ ไม่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย