คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 208

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 222 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9334/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีซ้ำซ้อนและการดำเนินคดีโดยสมยอม: สิทธิฟ้องไม่ระงับหากเป็นการกระทำที่ไม่สุจริต
หลักการของ ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) ที่บัญญัติให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปเมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องอันเป็นหลักการห้ามดำเนินคดีซ้ำสองแก่จำเลยนั้น จะต้องปรากฏว่าคดีก่อนเป็นกรณีที่จำเลยถูกฟ้องร้องดำเนินคดีอย่างแท้จริง หากปรากฏว่าคดีก่อนเป็นการฟ้องร้องดำเนินคดีอย่างสมยอมกัน แม้ว่าเป็นการกระทำกรรมเดียวกัน ก็ถือไม่ได้ว่าการกระทำกรรมนั้นจำเลยเคยถูกฟ้องและศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดอันจะมีผลทำให้สิทธินำคดีมาฟ้องในความผิดกรรมนั้นระงับไปไม่
คดีนี้โจทก์ได้อุทธรณ์ว่า คดีก่อนคือคดีอาญาหมายเลขแดงที่548/2537 ของศาลชั้นต้น ซึ่งเด็กหญิง ส.เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดกรรมเดียวกันกับคดีนี้ มีพฤติการณ์ว่าโจทก์ในคดีนั้นจะดำเนินคดีโดยสมยอมโดยไม่สุจริต เพราะขณะเกิดเหตุที่จำเลยขับรถจักรยานยนต์ชนเด็กชาย ว.ผู้เสียหายคดีนี้ เด็กหญิง ส.โจทก์คดีก่อนนั้นเป็นคนนั่งซ้อนท้ายมากับรถจักรยานยนต์ของจำเลย เมื่อเกิดเหตุแล้วทนายโจทก์คดีนั้นก็ได้รีบยื่นฟ้องจำเลย อีกทั้งเด็กหญิง ส.โจทก์คดีนั้นและจำเลยต่างก็เป็นลูกจ้างของทนายจำเลยคดีนี้ด้วยกันนอกจากนี้ยังปรากฏด้วยว่าทนายโจทก์คดีก่อนนั้นก็เป็นบุตรของทนายจำเลยคดีนี้และอาศัยอยู่ด้วยกันด้วย และในการดำเนินคดีก่อนทนายโจทก์เพียงแต่นำนาง ส.มารดาเด็กหญิง ส.ซึ่งไม่รู้เห็นเหตุการณ์ในขณะเกิดเหตุมาเบิกความต่อศาลในชั้นไต่สวนมูลฟ้องเพียงปากเดียว เป็นเหตุให้ศาลพิพากษายกฟ้องคดีนั้นเพราะเห็นว่าคดีไม่มีมูล ข้ออ้างตามอุทธรณ์ของโจทก์เช่นนี้ หากฟังได้ว่าเป็นความจริง ย่อมส่อแสดงว่าคดีก่อนโจทก์ในคดีนั้นได้ฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลยในลักษณะสมยอมกันเป็นการดำเนินคดีโดยไม่สุจริตเพื่อหวังผลเพียงต้องการตัดสิทธิผู้เสียหายและพนักงานอัยการโจทก์คดีนี้มิให้มีสิทธิฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลยซ้ำสองได้อีกเท่านั้น ย่อมถือไม่ได้ว่าคดีก่อนได้มีการฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลยอย่างแท้จริงสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในคดีนี้หาได้ระงับไปไม่ ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 เพียงแต่ฟังข้อเท็จจริงว่าความผิดตาม ป.อ. มาตรา 300 กรรมเดียวกันนี้ จำเลยเคยถูกโจทก์คดีก่อนฟ้องร้องและดำเนินคดีมาแล้วก็ด่วนวินิจฉัยว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์คดีนี้สำหรับการกระทำกรรมดังกล่าวนั้นระงับไปเพราะมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดแล้ว โดยไม่สั่งให้ศาลชั้นต้นไต่สวนให้ได้ความจริงเสียก่อนว่าคดีก่อนนั้นเป็นการดำเนินคดีในลักษณะสมยอมกันจริงดังที่โจทก์กล่าวอ้างในอุทธรณ์หรือไม่ ย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา สมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาพิพากษาในข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 300 ใหม่
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในความผิดฐานหลบหนีไม่หยุดช่วยเหลือตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522มาตรา 38, 160 วรรคสอง ยังไม่ระงับ แต่พิพากษาแก้เป็นว่าให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาความผิดฐานนี้ใหม่โดยมิได้พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนนี้ ย่อมเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9334/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินคดีซ้ำสอง: คดีก่อนเป็นการสมยอมหรือไม่ หากเป็นการสมยอม สิทธิฟ้องของโจทก์ไม่ระงับ
หลักการของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(4)ที่บัญญัติให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปเมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องอันเป็นหลักการห้ามดำเนินคดีซ้ำสองแก่จำเลยทั้งจะต้องปรากฎว่าคดีก่อนเป็นกรณีที่จำเลยถูกฟ้องร้องดำเนินคดีอย่างแท้จริงหากปรากฎว่าคดีก่อนเป็นการฟ้องร้องดำเนินคดีอย่างสมยอมกันแม้ว่าเป็นการกระทำกรรมเดียวกันก็ถือไม่ได้ว่าการกระทำกรรมนั้นจำเลยเคยถูกฟ้องและศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดอันจะมีผลทำให้สิทธินำคดีมาฟ้องในความผิดกรรมนั้นระงับไปไม่ คดีนี้โจทก์ได้อุทธรณ์ว่าคดีก่อนคือคดีอาญาหมายเลขแดงที่548/2537ของศาลชั้นต้นซึ่งเด็กหญิง ส. เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดกรรมเดียวกันกับคดีนี้มีพฤติการณ์ว่าโจทก์ในคดีนั้นจะดำเนินคดีโดยสมยอมโดยไม่สุจริตเพราะขณะเกิดเหตุที่จำเลยขับรถจักรยานยนต์ชนเด็กชายว.ผู้เสียหายคดีนี้เด็กหญิงส.โจทก์คดีก่อนนั้นเป็นคนนั่งซ้อนท้ายมากับรถจักรยานยนต์ของจำเลยเมื่อเกิดเหตุแล้วทนายโจทก์คดีนั้นก็ได้รีบยื่นฟ้องจำเลยอีกทั้งเด็กหญิงส. โจทก์คดีนั้นและจำเลยต่างก็เป็นลูกจ้างของทนายจำเลยคดีนี้ด้วยกันนอกจากนี้ยังปรากฎด้วยว่าทนายโจทก์คดีก่อนนั้นก็เป็นบุตรของทนายจำเลยคดีนี้และอาศัยอยู่ด้วยกันด้วยและในการดำเนินคดีก่อนทนายโจทก์เพียงแต่นำนางส. มารดาเด็กหญิงส. ซึ่งไม่รู้เห็นเหตุการณ์ในขณะเกิดเหตุมาเบิกความต่อศาลในชั้นไต่สวนมูลฟ้องเพียงปากเดียวเป็นเหตุให้ศาลพิพากษายกฟ้องคดีนั้นเพราะเห็นว่าคดีไม่มีมูลข้ออ้างตามอุทธรณ์ของโจทก์เช่นนี้หากฟังได้ว่าเป็นความจริงย่อมส่อแสดงว่าคดีก่อนโจทก์ในคดีนั้นได้ฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลยในลักษณะสมยอมกันเป็นการดำเนินคดีโดยไม่สุจริตเพื่อหวังผลเพียงต้องการตัดสิทธิผู้เสียหายและพนักงานอัยการโจทก์คดีนี้มิให้มีสิทธิฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลยซ้ำสองได้อีกเท่านั้นย่อมถือไม่ได้ว่าคดีก่อนได้มีการฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลยอย่างแท้จริงสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในคดีนี้หาได้ระงับไปไม่ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์ภาค2เพียงแต่ฟังข้อเท็จจริงว่าความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา300กรรมเดียวกันนี้จำเลยเคยถูกโจทก์คดีก่อนฟ้องร้องและดำเนินคดีมาแล้วก็ด่วนวินิจฉัยว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์คดีนี้สำหรับการกระทำกรรมดังกล่าวนั้นระงับไปเพราะมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดแล้วโดยไม่สั่งให้ศาลศาลชั้นต้นไต่สวนให้ได้ความจริงเสียก่อนว่าคดีก่อนนั้นเป็นการดำเนินคดีในลักษณะสมยอมกันจริงดังที่โจทก์กล่าวอ้างในอุทธรณ์หรือไม่ย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค2พิจารณาพิพากษาให้ข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา300ใหม่ ศาลอุทธรณ์ภาค2วินิจฉัยว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในความผิดฐานหลบหนีไม่หยุดช่วยเหลือตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522มาตรา38,160วรรคสองยังไม่ระงับแต่พิพากษาแก้เป็นว่าให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาความผิดฐานนี้ใหม่โดยมิได้พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนนี้ย่อมเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2008/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ศาลในการพิจารณาแก้ไขคำฟ้อง และผลกระทบต่อกระบวนการพิจารณาที่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องศาลชั้นต้นมีหน้าที่ต้องสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา163,164การที่ศาลชั้นต้นไม่สั่งคำร้องนั้นแล้วพิพากษาคดีไปเป็นการมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนการพิจารณาชอบที่ศาลอุทธรณ์จะยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาหรือสั่งใหม่ตามรูปคดีตามมาตรา208(2)การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยเห็นว่าเป็นความผิดของโจทก์ที่ไม่แถลงต่อศาลชั้นต้นเพื่อให้ดำเนินการดังกล่าวก่อนจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 138/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีอาญาเมื่อศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยประเด็นสำคัญ ศาลฎีกามีอำนาจย้อนสำนวนเพื่อพิจารณา
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษประหารชีวิตจำเลยที่1จำเลยที่1อุทธรณ์ขอให้ลงโทษสถานเบาแม้จะมิได้อุทธรณ์ในปัญหาว่าจำเลยที่1กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ศาลอุทธรณ์ก็ต้องวินิจฉัยปัญหานี้อีกครั้งหนึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา245วรรคสองปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้เมื่อศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยปัญหาข้อนี้ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2119/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อหาและการฟ้องคดีอาญา: การเปลี่ยนแปลงฐานความผิดที่เกี่ยวเนื่องกัน
การแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134หาได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกฐานความผิดไม่ แม้เดิมพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาจำเลยฐานตั้งสถานบริการโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฎว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานตั้งสถานบริการโดยมิได้แจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อนจัดตั้งไม่น้อยกว่า 15 วัน อันเป็นความผิดที่เกี่ยวเนื่องในเรื่องการจัดตั้งสถานบริการเหมือนกัน ก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดฐานดังกล่าวแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2119/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีสถานบริการ: แม้แจ้งข้อหาไม่ครบถ้วน หากสอบสวนความผิดอื่นที่เกี่ยวเนื่องแล้ว โจทก์ยังมีอำนาจฟ้องได้
การแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 134 หาได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกฐานความผิดไม่ แม้เดิมพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาจำเลยฐานตั้งสถานบริการโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฏว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานตั้งสถานบริการโดยมิได้แจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อนจัดตั้งไม่น้อยกว่า15 วัน อันเป็นความผิดที่เกี่ยวเนื่องในเรื่องการจัดตั้งสถานบริการเหมือนกัน ก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดฐานดังกล่าวแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1927/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิบัติตามขั้นตอนการอุทธรณ์และการพิจารณาเลื่อนคดีเนื่องจากความป่วยไข้ของคู่ความ
ศาลชั้นต้นเพียงแต่ส่งสำเนาอุทธรณ์ของโจทก์ให้จำเลยทราบมิได้กำหนดให้จำเลยแก้อุทธรณ์ภายในระยะเวลาตามกฎหมายด้วยเป็นการที่ศาลชั้นต้นไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการอุทธรณ์ แต่เมื่อระยะเวลาล่วงเลยมาจนศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีแล้ว การที่จำเลยยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาย่อมเห็นสมควรไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ทนายโจทก์ขอเลื่อนอ้างว่าป่วยการที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานไว้ยังมีพยานปากอื่นที่สามารถนำมาเบิกความไปพลางก่อนได้และทนายโจทก์ก็ไม่มาศาลในวันนั้น ส่อให้เห็นว่าโจทก์เจตนาประวิงคดีนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับพยานปากอื่นของโจทก์และทนายโจทก์มาหรือไม่มาศาลนั้นหาใช่เหตุที่จะนำมาพิจารณาสมควรให้เลื่อนคดีเพราะคู่ความอ้างเหตุป่วยเจ็บไม่ โจทก์อุทธรณ์ว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานโจทก์ไม่ชอบนั้นเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงที่มิได้เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 392/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ที่ล่าช้า ต้องระบุเหตุจำเป็นที่ไม่อาจยื่นได้ทันเวลา
คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งแต่เพียงเหตุที่จำเลยได้ขาดนัด และข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลเท่านั้น ส่วนในกรณีที่ยื่นคำขอล่าช้า จำเลยมิได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งว่าจำเลยไม่อาจยื่นคำร้องภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ได้ โดยพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้อันจะทำให้จำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่พฤติการณ์นั้นได้สิ้นสุดลง คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1875/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีอาญาโดยศาลแขวงต้องมีผู้พิพากษาลงนามมากกว่าหนึ่งคน หากลงโทษจำคุกเกินหกเดือน
คำพิพากษาของศาลแขวงที่ให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 2 ปีแต่มีผู้พิพากษาเพียงคนเดียวลงชื่อ เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 15 วรรคท้ายศาลอุทธรณ์จึงไม่มีอำนาจพิจารณาและพิพากษาไปในทันทีเกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี แต่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการดังกล่าวให้ถูกต้องเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2819/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลฎีกายกฟ้องฐานรับของโจร แม้ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษ เนื่องจากข้อหาดังกล่าวสิ้นสุดแล้วหลังศาลชั้นต้นพิพากษาเฉพาะความผิดฐานลักทรัพย์
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานลักทรัพย์ จึงถือได้ว่าศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ข้อหาฐานรับของโจร เมื่อโจทก์ไม่อุทธรณ์ ต้องถือว่าข้อหาความผิดฐานรับของโจรได้ยุติไปแล้ว จำเลยอุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องข้อหาฐานลักทรัพย์ ประเด็นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะวินิจฉัยคือ จำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์หรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2วินิจฉัยว่า จำเลยไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์จึงชอบแล้ว แต่ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 กลับไปวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าจำเลยมีความผิดฐานรับของโจร และลงโทษจำเลยฐานรับของโจรซึ่งยุติไปแล้วนั้นไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา จำเลยมีสิทธิฎีกา ขอให้ยกฟ้องข้อหาฐานรับของโจรได้ และศาลฎีกาไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาพิพากษาใหม่ เพราะศาลอุทธรณ์ภาค 2 ได้ยกฟ้องจำเลยในข้อหาฐานลักทรัพย์แล้ว ศาลฎีกาจึงพิพากษายกฟ้องในข้อหาฐานรับของโจรได้
of 23