พบผลลัพธ์ทั้งหมด 790 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5392/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดสืบพยานในคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา และหน้าที่การนำสืบมูลหนี้
การที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาจึงมีคำสั่งให้งดสืบพยานแล้วฟังข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาคดีส่วนอาญาและพิพากษาให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ทั้งสี่ เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตามป.วิ.พ.มาตรา 24 ไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 227 จำเลยย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้โดยไม่ต้องโต้แย้งไว้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 226
จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า จำเลยไม่เคยกู้ยืมเงินจากโจทก์ ซึ่งถือได้ว่าจำเลยปฏิเสธว่าไม่มีมูลหนี้ โจทก์จึงยังมีหน้าที่ต้องนำสืบถึงมูลหนี้ตามสัญญากู้เพื่อให้จำเลยรับผิด เมื่อปัญหาว่าหนี้ที่ ม.นำที่ดินโจทก์ไปจำนองธนาคารได้มีการชำระหนี้ให้แก่ธนาคารเสร็จสิ้นไปแล้วหรือไม่ และ ม.นำโฉนดที่ดินมาคืนโจทก์แล้วหรือไม่ ยังไม่เป็นที่ยุติ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์ทั้งสี่และจำเลยแล้วพิพากษาคดีไปโดยยังมิได้ฟังข้อเท็จจริงให้ครบถ้วนเสียก่อน จึงถือว่าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 243 (2) การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ในปัญหาดังกล่าวจึงชอบแล้ว
จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า จำเลยไม่เคยกู้ยืมเงินจากโจทก์ ซึ่งถือได้ว่าจำเลยปฏิเสธว่าไม่มีมูลหนี้ โจทก์จึงยังมีหน้าที่ต้องนำสืบถึงมูลหนี้ตามสัญญากู้เพื่อให้จำเลยรับผิด เมื่อปัญหาว่าหนี้ที่ ม.นำที่ดินโจทก์ไปจำนองธนาคารได้มีการชำระหนี้ให้แก่ธนาคารเสร็จสิ้นไปแล้วหรือไม่ และ ม.นำโฉนดที่ดินมาคืนโจทก์แล้วหรือไม่ ยังไม่เป็นที่ยุติ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์ทั้งสี่และจำเลยแล้วพิพากษาคดีไปโดยยังมิได้ฟังข้อเท็จจริงให้ครบถ้วนเสียก่อน จึงถือว่าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 243 (2) การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ในปัญหาดังกล่าวจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5243/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อสู้คดีของผู้ค้ำประกัน: คำให้การไม่ชัดเจน ทำให้จำเลยไม่มีสิทธิสืบพยานเพิ่มเติม
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 4 ให้รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 4 ให้การว่า จำเลยที่ 4 ไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกัน ลายมือชื่อผู้ค้ำประกันในสัญญาค้ำประกันไม่ใช่ลายมือชื่อจำเลยที่ 4 สัญญาค้ำประกันเป็นเอกสารปลอมหากศาล ฟังว่าจำเลยที่ 4 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไว้ต่อโจทก์ แต่หนี้ที่จำเลยที่ 4 ค้ำประกันได้กำหนดจำนวนเงินและเวลา ในการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ไว้แน่นอน เมื่อถึงกำหนดเวลาชำระหนี้โจทก์ได้ผ่อนเวลาในการชำระหนี้ ให้จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 4 ผู้ค้ำประกันไม่ได้ให้ความยินยอม จำเลยที่ 4 จึงหลุดพ้นความรับผิด คำให้การดังกล่าวไม่ชัดแจ้ง ว่าจำเลยที่ 4 ได้ทำสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์หรือไม่ ไม่ชอบ ด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสองคงเป็นเพียงคำให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ จำเลยที่ 4 ไม่มีสิทธิ นำพยานหลักฐานเข้าสืบตามข้อต่อสู้ตามคำให้การดังกล่าว ดังนั้น จึงไม่มีเหตุสมควรอนุญาตให้จำเลยที่ 4 เลื่อนคดีไป สืบพยานจำเลยที่ 4 ในประเด็นที่ว่า จำเลยที่ 4 ต้องรับผิด ตามสัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำมาฟ้องหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5243/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันหนี้: ผลของการผ่อนเวลาชำระหนี้โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ค้ำประกัน
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 4 ให้รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 4 ให้การว่า จำเลยที่ 4 ไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกัน ลายมือชื่อผู้ค้ำประกันในสัญญาค้ำประกันไม่ใช่ลายมือชื่อจำเลยที่ 4 สัญญาค้ำประกันเป็นเอกสารปลอมหากศาลฟังว่าจำเลยที่ 4 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไว้ต่อโจทก์ แต่หนี้ที่จำเลยที่ 4 ค้ำประกันได้กำหนดจำนวนเงินและเวลาในการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ไว้แน่นอน เมื่อถึงกำหนดเวลาชำระหนี้โจทก์ได้ผ่อนเวลาในการชำระหนี้ให้จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 4 ผู้ค้ำประกันไม่ได้ให้ความยินยอม จำเลยที่ 4 จึงหลุดพ้นความรับผิด คำให้การดังกล่าวไม่ชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 4 ได้ทำสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์หรือไม่ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง คงเป็นเพียงคำให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ จำเลยที่ 4 ไม่มีสิทธินำพยานหลักฐานเข้าสืบตามข้อต่อสู้ตามคำให้การดังกล่าว ดังนั้น จึงไม่มีเหตุสมควรอนุญาตให้จำเลยที่ 4 เลื่อนคดีไปสืบพยานจำเลยที่ 4 ในประเด็นที่ว่า จำเลยที่ 4 ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำมาฟ้องหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5090/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประวิงคดีโดยอ้างเหตุเจ็บป่วยที่ไม่ร้ายแรง ศาลมีสิทธิไม่อนุญาตเลื่อนคดีและงดสืบพยานได้
นับตั้งแต่วันนัดสืบพยานจำเลยครั้งแรกจนถึงวันนัดสืบพยานจำเลยครั้งสุดท้ายเป็นเวลานานถึง 8 เดือนเศษ ทั้งที่พยานจำเลยคงมีแต่ตัวจำเลยเพียงปากเดียวเท่านั้น และมีการส่งประเด็นไปสืบตัวจำเลยที่ศาลอื่นมาก่อน และศาลชั้นต้นได้ให้โอกาสเต็มที่แก่จำเลยตลอดมา จนครั้งสุดท้ายทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างเหตุป่วยกะทันหัน ปวดศีรษะมีอาการมึนงง และแน่นหน้าอกอันเนื่องมาจากรับประทานทุเรียนมาก แม้ทนายจำเลยขอเลื่อนคดีอ้างเหตุป่วยเจ็บก็ตามแต่เมื่อศาลเชื่อได้ว่าอาการของผู้ที่อ้างว่าป่วยนั้นไม่ร้ายแรงถึงกับจะมาศาลไม่ได้ ซึ่งให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาตามบทบัญญัติว่าด้วยการขาดนัดหรือการไม่มาศาลของ บุคคลที่อ้างว่าป่วยนั้นแล้วแต่กรณี ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 41 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเมื่อตามคำร้องขอเลื่อนคดีของทนายจำเลยเป็นการกล่าวอ้างลอย ๆที่จำเลยโต้แย้งว่า การเจ็บป่วยเป็นสาเหตุหนึ่งซึ่งไม่อาจก้าวล่วงเสียได้นั้น จำเลยก็หาได้คัดค้านแสดงให้เห็นว่าอาการเจ็บป่วยของทนายจำเลยรุนแรงจนไม่สามารถมาศาลได้แต่อย่างใดไม่ พฤติการณ์ต่าง ๆ ดังกล่าวแล้วส่อแสดงชัดแจ้งว่าจำเลยมีเจตนาประวิงคดีให้ชักช้า ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและให้งดสืบพยานจำเลย จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5090/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประวิงคดีโดยอ้างเหตุป่วย ศาลมีอำนาจงดสืบพยานและดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้
นับตั้งแต่วันนัดสืบพยานจำเลยครั้งแรกจนถึงวันนัดสืบพยานจำเลยครั้งสุดท้ายเป็นเวลานานถึง 8 เดือนเศษ ทั้งที่พยานจำเลยคงมีแต่ตัวจำเลยเพียงปากเดียวเท่านั้น และมีการส่งประเด็นไปสืบตัวจำเลยที่ศาลอื่นมาก่อน และศาลชั้นต้นได้ให้โอกาสเต็มที่แก่จำเลยตลอดมา จนครั้งสุดท้ายทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างเหตุป่วยกะทันหัน ปวดศีรษะมีอาการมึนงง และแน่นหน้าอกอันเนื่องมาจากรับประทานทุเรียนมาก แม้ทนายจำเลยขอเลื่อนคดีอ้างเหตุป่วยเจ็บก็ตาม แต่เมื่อศาลเชื่อได้ว่าอาการของผู้ที่อ้างว่าป่วยนั้นไม่ร้ายแรงถึงกับจะมาศาลไม่ได้ ซึ่งให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาตามบทบัญญัติว่าด้วยการขาดนัดหรือการไม่มาศาลของบุคคลที่อ้างว่าป่วยนั้นแล้วแต่กรณี ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 41 วรรคหนึ่ง แห่ง ป.วิ.พ.เมื่อตามคำร้องขอเลื่อนคดีของทนายจำเลยเป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ ที่จำเลยโต้แย้งว่า การเจ็บป่วยเป็นสาเหตุหนึ่งซึ่งไม่อาจก้าวล่วงเสียได้นั้น จำเลยก็หาได้คัดค้านแสดงให้เห็นว่าอาการเจ็บป่วยของทนายจำเลยรุนแรงจนไม่สามารถมาศาลได้แต่อย่างใดไม่ พฤติการณ์ต่าง ๆ ดังกล่าวแล้วส่อแสดงชัดแจ้งว่าจำเลยมีเจตนาประวิงคดีให้ชักช้า ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและให้งดสืบพยานจำเลย จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4474/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้มาซึ่งที่ดินโดยการชำระหนี้ การครอบครองปรปักษ์ และสิทธิครอบครอง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ซื้อที่พิพาทตามหนังสือแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) จาก ป.และ จ. ป.และ จ.ได้มอบสิทธิครอบครองที่พิพาทและหนังสือแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน ส.ค.1 ให้แก่โจทก์เข้าครอบครองอย่างเป็นเจ้าของตลอดมา จำเลยทั้งสี่ให้การต่อสู้คดีว่า ป.และ จ.ได้กู้เงินโจทก์และมอบที่พิพาทให้โจทก์ทำกินต่างดอกเบี้ย คดีจึงมีประเด็นพิพาทว่าโจทก์เป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่พิพาทหรือไม่ การที่โจทก์นำสืบว่า ป.กู้เงินโจทก์ และมอบ ส.ค.1 ที่พิพาทให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นประกัน หากไม่ชำระเงินกู้คืนภายในกำหนด ป.ยินยอมสละสิทธิที่พิพาทแก่โจทก์ ต่อมา ป.ไม่ชำระเงินคืนภายในกำหนดจึงยกที่พิพาทชำระหนี้ โจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทตลอดมา การนำสืบของโจทก์ดังกล่าวจึงมีความหมายว่า โจทก์ได้ซื้อที่พิพาทจาก ป.ในราคาเท่ากับจำนวนเงินที่ ป.กู้เงินโจทก์ไป เป็นการนำสืบให้เห็นถึงที่มาของที่พิพาทว่าโจทก์ได้ที่พิพาทมาอย่างไร ซึ่งเป็นการนำสืบในประเด็นเดียวกันว่าโจทก์เป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่พิพาทหรือไม่นั่นเอง จึงมิใช่เป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็น
โจทก์เป็นผู้ครอบครองที่พิพาทอย่างเป็นเจ้าของ โดย จ.ผู้มีสิทธิครอบครองเดิมมิได้เกี่ยวข้องกับที่พิพาทแล้ว การที่ จ.ไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ น.ส.3 ก. สำหรับที่พิพาทตามที่เจ้าพนักงานแนะนำเพื่อโอนที่พิพาทให้โจทก์ มิใช่เพื่อยึดถือที่พิพาทเป็นของ จ.เอง จ.ย่อมไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท
ป.ได้กู้เงินโจทก์ และไม่ชำระเงินคืนภายในกำหนด จึงยกที่พิพาทชำระหนี้แก่โจทก์ตามสัญญา โจทก์ได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทตลอดมาโดยความสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ โจทก์ย่อมเป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่พิพาท
โจทก์เป็นผู้ครอบครองที่พิพาทอย่างเป็นเจ้าของ โดย จ.ผู้มีสิทธิครอบครองเดิมมิได้เกี่ยวข้องกับที่พิพาทแล้ว การที่ จ.ไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ น.ส.3 ก. สำหรับที่พิพาทตามที่เจ้าพนักงานแนะนำเพื่อโอนที่พิพาทให้โจทก์ มิใช่เพื่อยึดถือที่พิพาทเป็นของ จ.เอง จ.ย่อมไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท
ป.ได้กู้เงินโจทก์ และไม่ชำระเงินคืนภายในกำหนด จึงยกที่พิพาทชำระหนี้แก่โจทก์ตามสัญญา โจทก์ได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทตลอดมาโดยความสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ โจทก์ย่อมเป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่พิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4474/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้มาซึ่งที่ดินโดยการชำระหนี้ การครอบครองปรปักษ์ และสิทธิในการครอบครองที่ดิน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ซื้อที่พิพาทตามหนังสือแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) จาก ป. และจ. ป. และ จ. ได้มอบสิทธิครอบครองที่พิพาทและหนังสือแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน ส.ค.1 ให้แก่โจทก์เข้าครอบครองอย่างเป็นเจ้าของตลอดมา จำเลยทั้งสี่ให้การต่อสู้คดีว่า ป. และ จ. ได้กู้เงินโจทก์และมอบที่พิพาทให้โจทก์ทำกินต่างดอกเบี้ย คดีจึงมีประเด็นพิพาทว่าโจทก์เป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่พิพาทหรือไม่ การที่โจทก์นำสืบว่า ป. กู้เงินโจทก์ และมอบ ส.ค.1 ที่พิพาทให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นประกัน หากไม่ชำระเงินกู้คืนภายในกำหนด ป.ยินยอมสละสิทธิที่พิพาทแก่โจทก์ ต่อมา ป. ไม่ชำระเงินคืนภายในกำหนดจึงยกที่พิพาทชำระหนี้ โจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทตลอดมา การนำสืบของโจทก์ดังกล่าวจึงมีความหมายว่า โจทก์ได้ซื้อที่พิพาทจาก ป. ในราคาเท่ากับจำนวนเงินที่ ป. กู้เงินโจทก์ไป เป็นการนำสืบให้เห็นถึงที่มาของที่พิพาทว่าโจทก์ได้ที่พิพาทมาอย่างไรซึ่งเป็นการนำสืบในประเด็นเดียวกันว่าโจทก์เป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่พิพาทหรือไม่นั่นเอง จึงมิใช่เป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็น โจทก์เป็นผู้ครอบครองที่พิพาทอย่างเป็นเจ้าของ โดย จ.ผู้มีสิทธิครอบครองเดิมมิได้เกี่ยวข้องกับที่พิพาทแล้วการที่ จ. ไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ น.ส.3 ก.สำหรับที่พิพาทตามที่เจ้าพนักงานแนะนำเพื่อโอนที่พิพาทให้โจทก์ มิใช่เพื่อยึดถือที่พิพาทเป็นของ จ. เองจ. ย่อมไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท ป. ได้กู้เงินโจทก์ และไม่ชำระเงินคืนภายในกำหนดจึงยกที่พิพาทชำระหนี้แก่โจทก์ตามสัญญา โจทก์ได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทตลอดมาโดยความสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ โจทก์ย่อมเป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่พิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3630/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการรับผิดในกรณีที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวน ผู้ซื้อจากการขายทอดตลาดมีสิทธิเรียกร้องเงินคืนได้หรือไม่
โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาให้รับผิดต่อโจทก์ผู้เป็นบุคคลภายนอกอันเกิดจากการ นำยึด และขายทรัพย์สินโดยมิชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 284 วรรคสอง ซึ่งมิได้มีกฎหมายบัญญัติในเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนดสิบปีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 193/30 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อโจทก์ฟ้องคดี ยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ได้ใช้ราคาซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งของศาลชั้นต้นอันเป็นวันเริ่มนับอายุความนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ เมื่อปรากฏภายหลังว่าที่ดินที่จำเลยคดีนี้ในฐานะเจ้าหนี้คำพิพากษาให้นำยึดและโจทก์เป็นผู้ซื้อได้จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งของศาลเป็นที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติตามกฎกระทรวงฉบับที่ 1,085(พ.ศ. 2527) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ลงวันที่ 1 พฤศจิกายน2527 และปัจจุบันกลายเป็นอ่างเก็บน้ำที่กรมชลประทานก่อสร้างขึ้น แต่เดิมที่ดินแปลงนี้เป็นที่ดิน น.ส.3 ก. ซึ่งทางราชการออกให้ไว้แก่ส. ซึ่งถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีที่มีการขายทอดตลาดดังกล่าวตั้งแต่ก่อนที่จะมีกฎกระทรวงกำหนดให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ กรณีย่อมมีผลทำให้ ส.ยังคงมีสิทธิครอบครองที่ดินนั้นอยู่ต่อไป ตามมาตรา 12 วรรคสุดท้ายแห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ. 2507 เมื่อโจทก์ซื้อที่ดินไปจากการขายทอดตลาด แต่ไม่ได้ สิทธิครอบครองในที่ดินที่ซื้อมา โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้ จำเลยผู้นำยึดคืนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดนั้นได้ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้บริเวณพื้นที่ตาม น.ส.3 ก.ที่ดินพิพาทตามฟ้องเป็นเขตป่าไม้ถาวร กรณียังต้องฟังข้อเท็จจริงให้แน่ชัดเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นกรณีสิทธิในที่ดินที่บุคคลมีอยู่ตามป.ที่ดิน กล่าวคือ น.ส.3 ก.รายนี้ออกโดยชอบด้วยกฎหมายดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 12 วรรคสุดท้าย แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ. 2507 อันเป็นประเด็นที่รวมอยู่ในประเด็นที่ว่า โจทก์มี อำนาจฟ้องให้จำเลยคืนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินตามฟ้อง หรือไม่ เพราะข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นสาระสำคัญอันทำให้ผลคดี เปลี่ยนแปลง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานทำให้มีข้อเท็จจริง ไม่เพียงพอที่จะวินิจฉัยคดี จึงจำต้องทำการสืบพยานโจทก์ และจำเลยต่อไปให้สิ้นกระแสความ กรณีเป็นเรื่องที่มิได้ ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการพิจารณาตามมาตรา 243(2) ประกอบด้วยมาตรา 247 ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลล่าง ทั้งสองตลอดจนคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาเฉพาะประเด็นดังกล่าวต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3630/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกคืนเงินจากการขายทอดตลาดที่ดินพิพาท และสิทธิในที่ดินป่าสงวน
คำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้เป็นบุคคลภายนอกอันเกิดจากการยึดและขายทรัพย์สินโดยมิชอบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 284 วรรคสอง ซึ่งมิได้มีกฎหมายใดบัญญัติในเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดสิบปีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 193/30 แห่ง ป.พ.พ. ดังนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องคดียังไม่พ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ได้ใช้ราคาซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งของศาลชั้นต้นอันเป็นวันเริ่มนับอายุความนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป คดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ
เมื่อปรากกภายหลังงว่าที่ดินที่จำเลยคดีนี้ในฐานะเจ้าหนี้คำพิพากษาให้นำยึดและโจทก์เป็นผู้ซื้อได้จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งของศาลเป็นที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติตามกฎกระทรวงฉบับที่ 1,085 (พ.ศ.2527)ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 ลงวันที่ 1 พฤศจิกายน2527 และปัจจุบันกลายเป็นอ่างเก็บน้ำห้วยสงสัยซึ่งกรมชลประทานก่อสร้างขึ้นซึ่งแต่เดิมที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดิน น.ส.3 ก.ซึ่งทางราชการออกให้ไว้แก่ ส. จำเลยในคดีที่มีการขายทอดตลาดดังกล่าวก่อนที่จะมีกฎกระทรวงกำหนดให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ กรณีย่อมมีผลทำให้ ส.ยังคงมีสิทธิครอบครองที่ดินนั้นอยู่ต่อไป ในมาตรา 12วรรคสุดท้าย แห่ง พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 เมื่อโจทก์ซื้อที่ดินไปจากการขายทอดตลาด แต่ไม่ได้สิทธิครอบครองในที่ดินที่ซื้อมา โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเดลยผู้นำยึดคืนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดนั้นได้ ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้บริเวณพื้นที่ตาม น.ส.3 ก.ที่ดินพิพาทตามฟ้องเป็นเขตป่าไม้ถาวร ให้เก็บรักษาไว้เป็นสมบัติของชาติทั้งแปลง กรณียังต้องฟังข้อเท็จจริงให้แน่ชัดเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นกรณีสิทธิในที่ดินที่บุคคลมีอยู่ตามป.ที่ดิน กล่าวคือ น.ส.3 ก.รายนี้ออกโดยชอบด้วยกฎหมายดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา12 วรรคสุดท้าย แห่ง พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 อันเป็นประเด็นที่รวมอยู่ในประเด็นที่ว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องให้จำเลยคืนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินตามฟ้องหรือไม่ เพราะข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นสาระสำคัญอันทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงตรงกันข้าม การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานทำให้มีข้อเท็จจริงไม่เพียงพอที่จะวินิจฉัย คดีจึงจำต้องทำการสืบพยานโจทก์และจำเลยต่อไปให้สิ้นกระแสความ กรณีเป็นเรื่องที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ว่าด้วยการพิจารณาตามมาตรา 243 (2) ประกอบด้วยมาตรา 247
เมื่อปรากกภายหลังงว่าที่ดินที่จำเลยคดีนี้ในฐานะเจ้าหนี้คำพิพากษาให้นำยึดและโจทก์เป็นผู้ซื้อได้จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งของศาลเป็นที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติตามกฎกระทรวงฉบับที่ 1,085 (พ.ศ.2527)ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 ลงวันที่ 1 พฤศจิกายน2527 และปัจจุบันกลายเป็นอ่างเก็บน้ำห้วยสงสัยซึ่งกรมชลประทานก่อสร้างขึ้นซึ่งแต่เดิมที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดิน น.ส.3 ก.ซึ่งทางราชการออกให้ไว้แก่ ส. จำเลยในคดีที่มีการขายทอดตลาดดังกล่าวก่อนที่จะมีกฎกระทรวงกำหนดให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ กรณีย่อมมีผลทำให้ ส.ยังคงมีสิทธิครอบครองที่ดินนั้นอยู่ต่อไป ในมาตรา 12วรรคสุดท้าย แห่ง พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 เมื่อโจทก์ซื้อที่ดินไปจากการขายทอดตลาด แต่ไม่ได้สิทธิครอบครองในที่ดินที่ซื้อมา โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเดลยผู้นำยึดคืนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดนั้นได้ ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้บริเวณพื้นที่ตาม น.ส.3 ก.ที่ดินพิพาทตามฟ้องเป็นเขตป่าไม้ถาวร ให้เก็บรักษาไว้เป็นสมบัติของชาติทั้งแปลง กรณียังต้องฟังข้อเท็จจริงให้แน่ชัดเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นกรณีสิทธิในที่ดินที่บุคคลมีอยู่ตามป.ที่ดิน กล่าวคือ น.ส.3 ก.รายนี้ออกโดยชอบด้วยกฎหมายดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา12 วรรคสุดท้าย แห่ง พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 อันเป็นประเด็นที่รวมอยู่ในประเด็นที่ว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องให้จำเลยคืนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินตามฟ้องหรือไม่ เพราะข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นสาระสำคัญอันทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงตรงกันข้าม การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานทำให้มีข้อเท็จจริงไม่เพียงพอที่จะวินิจฉัย คดีจึงจำต้องทำการสืบพยานโจทก์และจำเลยต่อไปให้สิ้นกระแสความ กรณีเป็นเรื่องที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ว่าด้วยการพิจารณาตามมาตรา 243 (2) ประกอบด้วยมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3461/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเรียกร้องเด็กคืนจากบุคคลที่มิใช่บิดามารดาโดยชอบด้วยกฎหมาย และการงดสืบพยานเมื่อข้อเท็จจริงชัดเจน
คำว่า "บุคคลอื่น" ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1567(4) หมายถึง บุคคลอื่นนอกจากผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรซึ่งได้แก่บิดามารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของบุตร ดังนั้นเมื่อจำเลยกับโจทก์มิใช่สามีภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงมิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของบุตรผู้เยาว์ ทั้งมิได้เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองของบุตรผู้เยาว์ตามกฎหมาย และไม่มีสิทธิตามมาตรา 1567(1) ถึง (14) การที่จำเลยกักบุตรผู้เยาว์ไว้จึงเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจและไม่ชอบด้วยกฎหมายโจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกบุตรผู้เยาว์คืนจากจำเลยได้ คู่ความมีหน้าที่ต้องนำพยานเข้าสืบในชั้นพิจารณาเพื่อสนับสนุนข้อกล่าวอ้างตามคำฟ้องหรือคำให้การของตนแสดงให้เห็นว่าข้อเท็จจริงเป็นดังที่ตนกล่าวอ้าง แต่เมื่อข้อเท็จจริงที่กล่าวอ้างในคำฟ้องและคำให้การเห็น ได้ชัดแจ้งแล้ว คู่ความก็ไม่จำต้องนำพยานเข้าสืบอีก เพราะแม้จะสืบพยานศาลก็ไม่อาจรับฟังข้อเท็จจริงนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องและคำให้การได้อีก ในกรณีเช่นนี้ศาลมีอำนาจสั่งให้ งดสืบพยานได้ คำร้องขอเพิ่มคำฟ้องฎีกาซึ่งเพิ่มประเด็นจากคำฟ้องฎีกาฉบับเดิม ตกอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 247 ที่จะต้องยื่นภายในกำหนดเวลา 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ อันเป็นกำหนดระยะเวลาเดียวกันการยื่นคำฟ้องฎีกา หากพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้วจะขอเพิ่มเติมคำฟ้องฎีกาไม่ได้