พบผลลัพธ์ทั้งหมด 790 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6270/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ไม่สมบูรณ์และการคืนสัญญา การอ้างสัญญาหายไม่ปลดความรับผิด
การที่จำเลยอ้างว่ามีการชำระหนี้หมดสิ้นกันแล้ว แต่โจทก์ไม่ยอมคืนสัญญา โดยอ้างว่าหายนั้น มิใช่เหตุที่ทำให้จำเลยทั้งสองหลุดพ้นจากความรับผิดดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 653 วรรคสอง
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2530 จำเลยที่ 1ได้กู้ยืมเงินโจทก์จำนวน 250,000 บาท ที่โจทก์นำสืบว่า จำเลยทั้งสองเคยกู้ยืมเงินโจทก์ไป 150,000 บาท ต่อมาในวันที่ 15 ตุลาคม 2530 จำเลยที่ 1 มาขอกู้อีก100,000 บาท รวมเป็นเงินต้นที่จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์ไปจำนวน 250,000 บาทเป็นการนำสืบที่มาของจำนวนเงินที่กู้เป็นเรื่องรายละเอียดของคำฟ้อง โจทก์สามารถนำสืบได้ หาใช่นอกฟ้องนอกประเด็นไม่
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2530 จำเลยที่ 1ได้กู้ยืมเงินโจทก์จำนวน 250,000 บาท ที่โจทก์นำสืบว่า จำเลยทั้งสองเคยกู้ยืมเงินโจทก์ไป 150,000 บาท ต่อมาในวันที่ 15 ตุลาคม 2530 จำเลยที่ 1 มาขอกู้อีก100,000 บาท รวมเป็นเงินต้นที่จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์ไปจำนวน 250,000 บาทเป็นการนำสืบที่มาของจำนวนเงินที่กู้เป็นเรื่องรายละเอียดของคำฟ้อง โจทก์สามารถนำสืบได้ หาใช่นอกฟ้องนอกประเด็นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6065/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดบัญชีค่าหนังสือและการโต้แย้งรายการบัญชีที่ไม่ชัดเจน จำเลยไม่มีสิทธิสืบพยานหลักฐาน
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ประกอบธุรกิจจัดจำหน่ายหนังสือชนิดต่างๆให้แก่ผู้พิมพ์หนังสือที่ไม่สามารถจัดส่งหนังสือไปจำหน่ายเองได้และโจทก์เป็นผู้แทนจัดจำหน่ายหนังสือให้แก่จำเลยโดยโจทก์ยินยอมให้จำเลยเบิกเงินค่าหนังสือที่ขอให้โจทก์จัดจำหน่ายไปก่อนล่วงหน้าบางส่วนได้แล้วจึงนำมาหักกลบลบกับจำนวนเงินที่ได้จากการขายหนังสือของจำเลยโจทก์คิดบัญชีเมื่อวันที่18พฤษภาคม2530แล้วยังมีเงินที่จำเลยเบิกจากโจทก์ไปล่วงหน้าซึ่งต้องคืนโจทก์อยู่จำนวนหนึ่งคำให้การของจำเลยที่ให้การปฏิเสธในเรื่องจำนวนเงินที่ต้องชำระคืนแก่โจทก์ว่าไม่ถูกต้องนั้นจำเลยให้การลอยๆเพียงว่าไม่ถูกต้องเพราะโจทก์รวมเอาหนังสือบางเล่มที่เกิดการชำรุดฉีกขาดหรือเปียกน้ำในระหว่างที่อยู่ในความครอบครองของโจทก์เข้าด้วยและถือว่าเป็นหนังสือที่คืนแก่จำเลยแล้วโดยมิได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงให้ชัดแจ้งว่าหนังสือรายการใดที่ชำรุดฉีกขาดหรือเปียกน้ำและมีเป็นจำนวนเท่าใดคิดเป็นเงินเท่าใดที่จะต้องหักออกจากรายการในช่องมูลค่าหนังสือที่รับคืนไปตามเอกสารท้ายฟ้องทั้งที่โจทก์ได้แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับรายการจัดจำหน่ายหนังสือให้แก่จำเลยในช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม2527ถึงวันที่14พฤษภาคม2530มาอย่างละเอียดในเอกสารท้ายฟ้องแล้วซึ่งจำเลยสามารถให้การโต้แย้งรายการเหล่านั้นแต่ละรายการว่าไม่ถูกต้องอย่างไรได้โดยง่ายแต่จำเลยกลับให้การเพียงว่ามีรายการหนังสือเปียกน้ำที่ต้องหักออกคำให้การจำเลยในเรื่องหนังสือที่เปียกน้ำจึงไม่ชัดแจ้งไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177วรรคสองจำเลยจึงไม่มีสิทธินำพยานหลักฐานเข้านำสืบตามข้อต่อสู้นั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6065/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้การไม่ชัดเจนในคดีแพ่ง จำเลยต้องแสดงรายละเอียดข้อต่อสู้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ประกอบธุรกิจจัดจำหน่ายหนังสือชนิดต่าง ๆให้แก่ผู้พิมพ์หนังสือที่ไม่สามารถจัดส่งหนังสือไปจำหน่ายเองได้ และโจทก์เป็นผู้แทนจัดจำหน่ายหนังสือให้แก่จำเลยโดยโจทก์ยินยอมให้จำเลยเบิกเงินค่าหนังสือที่ขอให้โจทก์จัดจำหน่ายไปก่อนล่วงหน้าบางส่วนได้ แล้วจึงนำมาหักกลบลบกับจำนวนเงินที่ได้จากการขายหนังสือของจำเลย โจทก์คิดบัญชีเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2530แล้วยังมีเงินที่จำเลยเบิกจากโจทก์ไปล่วงหน้าซึ่งต้องคืนโจทก์อยู่จำนวนหนึ่งคำให้การของจำเลยที่ให้การปฎิเสธในเรื่องจำนวนเงินที่ต้องชำระคืนแก่โจทก์ว่าไม่ถูกต้องนั้น จำเลยให้การลอย ๆ เพียงว่า ไม่ถูกต้องเพราะโจทก์รวมเอาหนังสือบางเล่มที่เกิดการชำรุดฉีกขาดหรือเปียกน้ำในระหว่างที่อยู่ในความครอบครองของโจทก์เข้าด้วยและถือว่าเป็นหนังสือที่คืนแก่จำเลยแล้วโดยมิได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงให้ชัดแจ้งว่าหนังสือรายการใดที่ชำรุดฉีกขาดหรือเปียกน้ำและมีเป็นจำนวนเท่าใดคิดเป็นเงินเท่าใด ที่จะต้องหักออกจากรายการในช่องมูลค่าหนังสือที่รับคืนไปตามเอกสารท้ายฟ้อง ทั้งที่โจทก์ได้แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับรายการจัดจำหน่ายหนังสือให้แก่จำเลยในช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม 2527 ถึงวันที่ 14 พฤษภาคม 2530มาอย่างละเอียดในเอกสารท้ายฟ้องแล้ว ซึ่งจำเลยสามารถให้การโต้แย้งรายการเหล่านั้นแต่ละรายการว่าไม่ถูกต้องอย่างไรได้โดยง่าย แต่จำเลยกลับให้การเพียงว่ามีรายการหนังสือเปียกน้ำที่ต้องหักออก คำให้การจำเลยในเรื่องหนังสือที่เปียกน้ำจึงไม่ชัดแจ้งไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง จำเลยจึงไม่มีสิทธินำพยานหลักฐานเข้านำสืบตามข้อต่อสู้นั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5376/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาซื้อขาย และสิทธิในการนำสืบพยานหักล้างข้อกล่าวอ้างเรื่องการปลอมแปลงสัญญา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยขายที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์จำเลยให้การว่าจำเลยตกลงขายเฉพาะที่ดินให้โจทก์ไม่ได้ขายบ้านพิพาทให้ด้วยจำเลยเคยไปตรวจสอบสัญญาซื้อขายแล้วเดิมมีข้อความระบุไว้เพียงว่าขายเฉพาะที่ดินแต่ภายหลังกลับมีข้อความเพิ่มเติมขึ้นมาว่าจำเลยขายบ้านพิพาทด้วยศาลชั้นต้นสอบถามโจทก์จำเลยแล้วต่างแถลงรับตรงกันว่าวันทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทบ้านพิพาทได้ปลูกสร้างอยู่ในที่ดินพิพาทแล้วและนอกจากทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทแล้วทั้งสองฝ่ายไม่ได้ตกลงเพิ่มเติมเกี่ยวกับการซื้อขายบ้านพิพาทอีกดังนี้คำแถลงรับของคู่ความดังกล่าวเมื่อพิจารณาประกอบกับสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทที่มีการระบุว่าขายบ้านพิพาทด้วยก็แสดงว่ามีการเพิ่มเติมข้อความส่วนนี้เข้าไปในสัญญาดังกล่าวตามข้อต่อสู้ของจำเลยซึ่งเท่ากับจำเลยต่อสู้ว่ามีการปลอมข้อความของสัญญาขึ้นบางส่วนนั่นเองจำเลยย่อมมีสิทธิจะนำพยานบุคคลมาสืบหักล้างได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94วรรคท้ายข้ออ้างตามคำฟ้องของโจทก์กับข้อต่อสู้ตามคำให้การของจำเลยจำเป็นต้องฟังข้อเท็จจริงให้แน่ชัดต่อไปแม้ว่าศาลชั้นต้นได้สอบถามคู่ความแล้วก็ตามจึงไม่ชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งงดสืบพยานโจทก์พยานจำเลยและพิพากษาขับไล่จำเลยตามฟ้องโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5376/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อสู้คดีเรื่องการซื้อขายบ้านที่เพิ่มเติมในสัญญาซื้อขายที่ดิน ศาลต้องเปิดโอกาสให้สืบพยาน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยขายที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ จำเลยให้การว่า จำเลยตกลงขายเฉพาะที่ดินให้โจทก์ ไม่ได้ขายบ้านพิพาทให้ด้วย จำเลยเคยไปตรวจสอบสัญญาซื้อขายแล้ว เดิมมีข้อความระบุไว้เพียงว่าขายเฉพาะที่ดิน แต่ภายหลังกลับมีข้อความเพิ่มเติมขึ้นมาว่าจำเลยขายบ้านพิพาทด้วย ศาลชั้นต้นสอบถามโจทก์จำเลยแล้วต่างแถลงรับตรงกันว่า วันทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาท บ้านพิพาทได้ปลูกสร้างอยู่ในที่ดินพิพาทแล้ว และนอกจากทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทแล้ว ทั้งสองฝ่ายไม่ได้ตกลงเพิ่มเติมเกี่ยวกับการซื้อขายบ้านพิพาทอีก ดังนี้ คำแถลงรับของคู่ความดังกล่าว เมื่อพิจารณาประกอบกับสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทที่มีการระบุว่า ขายบ้านพิพาทด้วย ก็แสดงว่ามีการเพิ่มเติมข้อความส่วนนี้เข้าไปในสัญญาดังกล่าวตามข้อต่อสู้ของจำเลย ซึ่งเท่ากับจำเลยต่อสู้ว่ามีการปลอมข้อความของสัญญาขึ้นบางส่วนนั่นเอง จำเลยย่อมมีสิทธิจะนำพยานบุคคลมาสืบหักล้างได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 วรรคท้าย ข้ออ้างตามคำฟ้องของโจทก์กับข้อต่อสู้ตามคำให้การของจำเลย จำเป็นต้องฟังข้อเท็จจริงให้แน่ชัดต่อไปแม้ว่าศาลชั้นต้นได้สอบถามคู่ความแล้วก็ตาม จึงไม่ชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งงดสืบพยานโจทก์พยานจำเลยและพิพากษาขับไล่จำเลยตามฟ้องโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 983/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับหนี้โดยปริยายจากคำให้การที่ไม่ชัดเจน และผลของการเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบ
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทชำระหนี้ให้โจทก์แต่จำเลยให้การแต่เพียงว่าจำเลยไม่เคยเป็นหนี้โจทก์ไม่เคยรู้จักและไม่มีนิติสัมพันธ์ใดๆกับโจทก์มาก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยโดยไม่สุจริตโดยไม่ได้อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธไว้ว่าเป็นเพราะเหตุใดรวมทั้งไม่ได้ปฏิเสธว่าเช็คพิพาทไม่ใช่เป็นเช็คของจำเลยหรือจำเลยไม่ได้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทคำให้การจำเลยจึงเป็นคำให้การที่มิได้ปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์โดยชัดแจ้งรวมทั้งไม่ได้อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177วรรคสองจึงต้องถือว่าจำเลยยอมรับว่าจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทและธนาคารตามเช็คได้ปฏิเสธการจ่ายเงินเช็คพิพาทเป็นเช็คสั่งจ่ายเงินแก่ผู้ถือเมื่อโจทก์เป็นผู้ถือจึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมายมีอำนาจฟ้องและจำเลยต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็ค
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 983/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับหนี้โดยปริยายจากคำให้การที่ไม่ชัดเจนและการฟ้องร้องเช็คของผู้ถือ
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทชำระหนี้ให้โจทก์ แต่จำเลยให้การแต่เพียงว่าจำเลยไม่เคยเป็นหนี้โจทก์ ไม่เคยรู้จักและไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับโจทก์มาก่อน โจทก์ฟ้องจำเลยโดยไม่สุจริต โดยไม่ได้อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธไว้ว่าเป็นเพราะเหตุใด รวมทั้งไม่ได้ปฏิเสธว่าเช็คพิพาทไม่ใช่เป็นเช็คของจำเลยหรือจำเลยไม่ได้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาท คำให้การจำเลยจึงเป็นคำให้การที่มิได้ปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์โดยชัดแจ้ง รวมทั้งไม่ได้อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธไว้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง จึงต้องถือว่าจำเลยยอมรับว่า จำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทและธนาคารตามเช็คได้ปฏิเสธการจ่ายเงิน เช็คพิพาทเป็นเช็คสั่งจ่ายเงินแก่ผู้ถือ เมื่อโจทก์เป็นผู้ถือจึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมายมีอำนาจฟ้องและจำเลยต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็ค
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 40/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานรับรองพินัยกรรม & กลฉ้อฉล: ศาลต้องสืบพยานก่อนมีคำพิพากษา
จำเลยลงชื่อเป็นพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วหัวแม้มือของผู้ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ลงชื่อเป็นพยานรับรองพินัยกรรม ไม่มีผลให้ข้อกำหนดพินัยกรรมยกที่ดินแก่จำเลยเป็นโมฆะจำเลยมีสิทธิรับมรดกตามพินัยกรรม
เมื่อยังมีประเด็นตามคำฟ้องว่าพินัยกรรมกระทำขึ้นด้วยกลฉ้อฉล พินัยกรรมไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย ซึ่งจำเลยให้การปฏิเสธ จึงต้องฟังคำพยานโจทก์จำเลยก่อน ที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยและมีคำพิพากษาเป็นการไม่ชอบ
เมื่อยังมีประเด็นตามคำฟ้องว่าพินัยกรรมกระทำขึ้นด้วยกลฉ้อฉล พินัยกรรมไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย ซึ่งจำเลยให้การปฏิเสธ จึงต้องฟังคำพยานโจทก์จำเลยก่อน ที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยและมีคำพิพากษาเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7697/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายห้องชุด: การเปลี่ยนแปลงพื้นที่และผลผูกพันตามสัญญา
การให้งดสืบพยานเป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลยพินิจสั่งตามสมควรแก่กรณีเป็นเรื่อง ๆ ไป ถ้าข้อเท็จจริงเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีแล้วก็ไม่จำต้องนำสืบพยานหลักฐานใดอีก กรณีคดีนี้ ศาลชั้นต้นพิจารณาคำฟ้อง คำให้การเอกสาร และคำเบิกความรับรองเอกสารของโจทก์ เห็นว่าเป็นการเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีแล้ว จึงมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์ต่อไป เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลยพินิจทั้งนี้ก็เพื่อให้คดีดำเนินไปโดยรวดเร็วและยุติธรรม ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 86วรรคสอง คำสั่งงดสืบพยานของศาลชั้นต้น จึงชอบแล้ว
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด เนื้อที่ประมาณ157 ตารางเมตร เมื่อจำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารชุดเสร็จปรากฏว่าห้องชุดมีเนื้อที่206 ตารางเมตรเศษ ซึ่งเกินกว่าร้อยละ 5 ของพื้นที่ที่กำหนดไว้ในสัญญา โจทก์จึงบอกปัดไม่ยอมรับมอบและชำระราคาห้องชุดดังกล่าว แต่จะขอรับมอบในพื้นที่ 157ตารางเมตร พร้อมกับชำระราคาส่วนที่เหลือตามพื้นที่เดิม แต่เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายระบุว่า ผู้จะขายตกลงกับผู้จะซื้อห้องชุดเลขที่ 205 ชั้นที่ 2 คิดเป็นพื้นที่อันเป็นทรัพย์ส่วนบุคคลจำนวนประมาณ 157 ตารางเมตร ตามที่ปรากฏในแผนผังของอาคารชุดที่ทำเครื่องหมายเส้นสีแดงที่แนบท้ายสัญญาและหากพื้นที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง คู่สัญญาตกลงให้เพิ่มหรือลดราคาลงตามอัตราส่วนของราคาซื้อขายดังกล่าวข้างต้น เห็นได้ว่าคู่กรณีคือโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีเจตนาจะซื้อจะขายห้องชุดกัน โดยมิได้ถือเป็นสาระ-สำคัญว่าพื้นที่ของห้องชุดจะต้องมีเนื้อที่เพียงประมาณ 157 ตารางเมตร เท่านั้นหากพื้นที่เพิ่มหรือลดลง คู่สัญญาตกลงกันให้เพิ่มหรือลดราคาลงตามอัตราส่วนของราคาที่ตกลงซื้อขายกัน ข้อสัญญาดังกล่าวจึงใช้บังคับได้ บทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 466 วรรคสอง มิใช่ข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อปรากฏชัดว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงสัญญาอันเป็นข้อยกเว้นมิให้ใช้ข้อกฎหมายดังกล่าวข้างต้นบังคับ โจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงต้องผูกพันกันตามข้อสัญญาที่ตกลงกัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกปัดไม่รับพื้นที่ห้องชุดที่เพิ่มขึ้นและเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 มอบห้องชุดในพื้นที่ที่ประมาณไว้ตามสัญญา ส่วนจำเลยที่ 1 เมื่อสร้างห้องชุดเสร็จพร้อมส่งมอบแก่โจทก์ แต่โจทก์เพิกเฉยไม่ยอมชำระราคาห้องชุดดังกล่าวภายในกำหนดเวลาที่จำเลยที่ 1 แจ้งให้ทราบโดยไม่มีเหตุจะอ้างได้ตามกฎหมาย โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด เนื้อที่ประมาณ157 ตารางเมตร เมื่อจำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารชุดเสร็จปรากฏว่าห้องชุดมีเนื้อที่206 ตารางเมตรเศษ ซึ่งเกินกว่าร้อยละ 5 ของพื้นที่ที่กำหนดไว้ในสัญญา โจทก์จึงบอกปัดไม่ยอมรับมอบและชำระราคาห้องชุดดังกล่าว แต่จะขอรับมอบในพื้นที่ 157ตารางเมตร พร้อมกับชำระราคาส่วนที่เหลือตามพื้นที่เดิม แต่เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายระบุว่า ผู้จะขายตกลงกับผู้จะซื้อห้องชุดเลขที่ 205 ชั้นที่ 2 คิดเป็นพื้นที่อันเป็นทรัพย์ส่วนบุคคลจำนวนประมาณ 157 ตารางเมตร ตามที่ปรากฏในแผนผังของอาคารชุดที่ทำเครื่องหมายเส้นสีแดงที่แนบท้ายสัญญาและหากพื้นที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง คู่สัญญาตกลงให้เพิ่มหรือลดราคาลงตามอัตราส่วนของราคาซื้อขายดังกล่าวข้างต้น เห็นได้ว่าคู่กรณีคือโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีเจตนาจะซื้อจะขายห้องชุดกัน โดยมิได้ถือเป็นสาระ-สำคัญว่าพื้นที่ของห้องชุดจะต้องมีเนื้อที่เพียงประมาณ 157 ตารางเมตร เท่านั้นหากพื้นที่เพิ่มหรือลดลง คู่สัญญาตกลงกันให้เพิ่มหรือลดราคาลงตามอัตราส่วนของราคาที่ตกลงซื้อขายกัน ข้อสัญญาดังกล่าวจึงใช้บังคับได้ บทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 466 วรรคสอง มิใช่ข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อปรากฏชัดว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงสัญญาอันเป็นข้อยกเว้นมิให้ใช้ข้อกฎหมายดังกล่าวข้างต้นบังคับ โจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงต้องผูกพันกันตามข้อสัญญาที่ตกลงกัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกปัดไม่รับพื้นที่ห้องชุดที่เพิ่มขึ้นและเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 มอบห้องชุดในพื้นที่ที่ประมาณไว้ตามสัญญา ส่วนจำเลยที่ 1 เมื่อสร้างห้องชุดเสร็จพร้อมส่งมอบแก่โจทก์ แต่โจทก์เพิกเฉยไม่ยอมชำระราคาห้องชุดดังกล่าวภายในกำหนดเวลาที่จำเลยที่ 1 แจ้งให้ทราบโดยไม่มีเหตุจะอ้างได้ตามกฎหมาย โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7697/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายห้องชุด: การเปลี่ยนแปลงพื้นที่และผลกระทบต่อสัญญา
การให้งดสืบพยานเป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลพินิจสั่งตามสมควรแก่กรณีเป็นเรื่อง ๆ ไป ถ้าข้อเท็จจริงเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีแล้วก็ไม่จำต้องนำสืบพยานหลักฐานใดอีกกรณีคดีนี้ ศาลชั้นต้นพิจารณาคำฟ้อง คำให้การเอกสาร และคำเบิกความรับรองเอกสารของโจทก์ เห็นว่าเป็นการเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีแล้ว จึงมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์ต่อไปเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลยพินิจทั้งนี้ก็เพื่อให้คดี ดำเนินไปโดยรวดเร็วและยุติธรรม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 86 วรรคสอง คำสั่งงดสืบพยานของศาลชั้นต้น จึงชอบแล้ว โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด เนื้อที่ประมาณ 157 ตารางเมตร เมื่อจำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารชุดเสร็จปรากฏว่าห้องชุดมีเนื้อที่ 206 ตารางเมตรเศษ ซึ่งเกินกว่าร้อยละ 5 ของพื้นที่ที่กำหนดไว้ในสัญญา โจทก์จึงบอกปัดไม่ยอมรับมอบและชำระราคาห้องชุดดังกล่าว แต่จะขอรับมอบในพื้นที่ 157 ตารางเมตร พร้อมกับชำระราคาส่วนที่เหลือตามพื้นที่เดิม แต่เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายระบุว่า ผู้จะขายตกลงกับผู้จะซื้อห้องชุดเลขที่ 205 ชั้นที่ 2 คิดเป็นพื้นที่อันเป็นทรัพย์ส่วนบุคคลจำนวนประมาณ 157 ตารางเมตร ตามที่ปรากฏในแผนผังของอาคารชุดที่ทำเครื่องหมายเส้นสีแดงที่แนบท้ายสัญญาและหากพื้นที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง คู่สัญญาตกลงให้เพิ่มหรือลดราคาลงตามอัตราส่วนของราคาซื้อขายดังกล่าวข้างต้นเห็นได้ว่า คู่กรณีคือโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีเจตนาจะซื้อจะขายห้องชุดกัน โดยมิได้ถือเป็นสาระสำคัญว่าพื้นที่ของห้องชุดจะต้องมีเนื้อที่เพียงประมาณ 157 ตารางเมตร เท่านั้นหากพื้นที่เพิ่มหรือลดลง คู่สัญญาตกลงกันให้เพิ่มหรือลดราคาลงตามอัตราส่วนของราคาที่ตกลงซื้อขายกัน ข้อสัญญาดังกล่าวจึงใช้บังคับได้ บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 466 วรรคสอง มิใช่ข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อปรากฏชัดว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงสัญญาอันเป็นข้อยกเว้นมิให้ใช้ข้อกฎหมายดังกล่าวข้างต้นบังคับ โจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงต้องผูกพันกันตามข้อสัญญาที่ตกลงกัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกปัดไม่รับพื้นที่ห้องชุดที่เพิ่มขึ้นและเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 มอบห้องชุดในพื้นที่ที่ประมาณไว้ตามสัญญา ส่วนจำเลยที่ 1 เมื่อสร้างห้องชุดเสร็จพร้อมส่งมอบแก่โจทก์ แต่โจทก์เพิกเฉยไม่ยอมชำระราคาห้องชุดดังกล่าวภายในกำหนดเวลาที่จำเลยที่ 1 แจ้งให้ทราบโดยไม่มีเหตุจะอ้างได้ตามกฎหมาย โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา