พบผลลัพธ์ทั้งหมด 790 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1565/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แผนที่พิพาทที่ศาลสั่งทำเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมเป็นพยานได้ แม้ไม่ได้ระบุในบัญชีพยาน
โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินมือเปล่าเนื้อที่ 26 ไร่ ห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้อง โดยตั้งราคาที่ดินเป็นเงิน 300,000 บาท ระหว่างพิจารณา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้คู่ความทำแผนที่พิพาท ปรากฏว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ 19 ไร่ 3 งาน 69 ตารางวา ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งมีที่ตั้งตามรูปแผนที่ครอบในระวางแผนที่ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินรังวัดเฉพาะส่วนที่โจทก์นำชี้ตามเส้นสีแดงเนื้อที่ 11 ไร่ 3 งาน 69 ตารางวา ซึ่งคิดเป็นจำนวนทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ทำแผนที่พิพาทเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 86 วรรคท้าย ซึ่งศาลสามารถสั่งได้เองโดยไม่ต้องมีฝ่ายใดร้องขอ แม้คู่ความจะมิได้ระบุพยานเพิ่มเติมศาลก็รับฟังพยานหลักฐานที่มีการสืบเพิ่มเติมนั้นได้ตามมาตรา 87 (2) ส่วนพยานหลักฐานนั้นจะมีน้ำหนักรับฟังได้เพียงใดเป็นเรื่องของการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน มิใช่เรื่องนอกประเด็นนอกคำฟ้อง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ทำแผนที่พิพาทเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 86 วรรคท้าย ซึ่งศาลสามารถสั่งได้เองโดยไม่ต้องมีฝ่ายใดร้องขอ แม้คู่ความจะมิได้ระบุพยานเพิ่มเติมศาลก็รับฟังพยานหลักฐานที่มีการสืบเพิ่มเติมนั้นได้ตามมาตรา 87 (2) ส่วนพยานหลักฐานนั้นจะมีน้ำหนักรับฟังได้เพียงใดเป็นเรื่องของการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน มิใช่เรื่องนอกประเด็นนอกคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1141/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่า, การบอกเลิกสัญญา, ข้อตกลงพิเศษ, ผลของการบอกเลิกสัญญา, การส่งมอบทรัพย์สิน
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 22 เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ กระทำการที่จำเป็นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ที่ค้างอยู่เสร็จสิ้นไป เก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้หรือซึ่งลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น ประนีประนอมยอมความ ฟ้องร้อง หรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ สิทธิตามสัญญาเช่าเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของลูกหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านจึงเป็นคู่กรณีกับผู้ร้องผู้ให้เช่าโดยตรง โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้คนหนึ่งมีหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือผู้คัดค้านในการดำเนินการต่อสู้คดีตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 155 แม้โจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียเนื่องจากเป็นผู้รับสิทธิตามสัญญาเช่าจากจำเลยที่ 1 ไว้เป็นประกันหนี้ก็ไม่ใช่คู่กรณีโดยตรงเนื่องจากมีผู้คัดค้านปฏิบัติหน้าที่แทนตามกฎหมาย แต่โจทก์มีอำนาจกำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้คัดค้านหากเห็นว่าบกพร่องก็ร้องขอต่อศาลให้สั่งแก้ไขตามมาตรา 146 เมื่อผู้คัดค้านแถลงหมดพยาน ทนายโจทก์แถลงขอสืบพยานโดยไม่ได้ให้เหตุผลว่าพยานหลักฐานที่ผู้คัดค้านนำมาสืบแล้วนั้นยังบกพร่องหรือไม่สมบูรณ์ส่วนใดจึงขอสืบพยานเพิ่มเติมให้ครบถ้วนบริบูรณ์ คดีนี้พิพาทกันเกี่ยวกับเรื่องสิทธิตามสัญญาและผลของกฎหมายเมื่อสัญญาสิ้นสุดโดยการบอกเลิก เป็นเรื่องเกี่ยวกับเอกสารแทบทั้งสิ้น ผู้ร้องและผู้คัดค้านนำเสนอเอกสารเป็นพยานครบถ้วนแล้ว ศาลชั้นต้นมีอำนาจตาม ป.วิ.พ. มาตรา 86 ในการดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานหลักฐาน เมื่อพยานหลักฐานที่ผู้คัดค้านนำสืบมาเพียงพอแล้ว พยานหลักฐานที่โจทก์ขอสืบย่อมเป็นพยานที่ฟุ่มเฟือยเกินสมควร จึงไม่อนุญาตให้โจทก์นำเข้าสืบได้ตามมาตรา 86 วรรคสอง
ผลของการเลิกสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 ที่กำหนดให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมนั้น เป็นหลักทั่วไปของนิติกรรมสัญญา กฎหมายไม่ได้ห้ามคู่สัญญาที่จะทำนิติกรรมตกลงกันให้ผลของการเลิกสัญญาเป็นประการอื่น หากข้อตกลงนั้นไม่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นการพ้นวิสัย หรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแล้ว ข้อตกลงนั้นย่อมมีผลบังคับได้ตามหลักความศักดิ์สิทธิ์ของการแสดงเจตนา หนังสือสัญญาเช่าที่ดินข้อ 4 ที่ว่า "...เมื่อครบกำหนดระยะเวลาการเช่าตามสัญญาข้อ 3 หรือเมื่อสัญญานี้สิ้นสุดลงด้วยเหตุใด ๆ ก็ตาม ให้อาคารและสิ่งปลูกสร้างในที่ดินตามสัญญานี้ทั้งหมดตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่าทั้งสิ้น รวมทั้งส่วนควบและอุปกรณ์ทั้งหมด..." ข้อ 11 ที่ว่า "ถ้าผู้เช่า...ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย ผู้ให้เช่ามีสิทธิบอกเลิกสัญญานี้ได้ทันที" และข้อ 12 ที่ว่า "เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาแห่งการเช่าตามสัญญาข้อ 3 หรือสัญญาเช่านี้สิ้นสุดตามสัญญาข้อ 11... ผู้เช่าจะต้องส่งมอบทรัพย์สินทั้งหมดของผู้เช่าตามสัญญานี้ให้แก่ผู้ให้เช่าในสภาพที่เรียบร้อยภายในระยะเวลาหนึ่งเดือนนับแต่วันที่สัญญาสิ้นสุดลง" นั้น เป็นข้อตกลงที่ไม่เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือเป็นการพ้นวิสัย หรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่อย่างใด จึงมีผลใช้บังคับกันได้
ผลของการเลิกสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 ที่กำหนดให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมนั้น เป็นหลักทั่วไปของนิติกรรมสัญญา กฎหมายไม่ได้ห้ามคู่สัญญาที่จะทำนิติกรรมตกลงกันให้ผลของการเลิกสัญญาเป็นประการอื่น หากข้อตกลงนั้นไม่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นการพ้นวิสัย หรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแล้ว ข้อตกลงนั้นย่อมมีผลบังคับได้ตามหลักความศักดิ์สิทธิ์ของการแสดงเจตนา หนังสือสัญญาเช่าที่ดินข้อ 4 ที่ว่า "...เมื่อครบกำหนดระยะเวลาการเช่าตามสัญญาข้อ 3 หรือเมื่อสัญญานี้สิ้นสุดลงด้วยเหตุใด ๆ ก็ตาม ให้อาคารและสิ่งปลูกสร้างในที่ดินตามสัญญานี้ทั้งหมดตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่าทั้งสิ้น รวมทั้งส่วนควบและอุปกรณ์ทั้งหมด..." ข้อ 11 ที่ว่า "ถ้าผู้เช่า...ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย ผู้ให้เช่ามีสิทธิบอกเลิกสัญญานี้ได้ทันที" และข้อ 12 ที่ว่า "เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาแห่งการเช่าตามสัญญาข้อ 3 หรือสัญญาเช่านี้สิ้นสุดตามสัญญาข้อ 11... ผู้เช่าจะต้องส่งมอบทรัพย์สินทั้งหมดของผู้เช่าตามสัญญานี้ให้แก่ผู้ให้เช่าในสภาพที่เรียบร้อยภายในระยะเวลาหนึ่งเดือนนับแต่วันที่สัญญาสิ้นสุดลง" นั้น เป็นข้อตกลงที่ไม่เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือเป็นการพ้นวิสัย หรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่อย่างใด จึงมีผลใช้บังคับกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6031/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 350 จำเลยต้องผูกพันตามสัญญา แม้ไม่ได้รับเงิน
มูลหนี้เดิมที่เปลี่ยนแปลงมาเป็นสัญญากู้เงินตามฟ้อง เป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 350 จำเลยต้องผูกพันรับผิดตามสัญญากู้เงินและสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์ จะอ้างว่าจำเลยไม่ได้รับเงินไปตามสัญญากู้เงินเพื่อปฏิเสธความรับผิดไม่ได้
การนำสืบว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่ เป็นการนำสืบถึงที่มาแห่งหนี้ตามสัญญากู้ตามฟ้องไม่เป็นการต้องห้าม
การนำสืบว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่ เป็นการนำสืบถึงที่มาแห่งหนี้ตามสัญญากู้ตามฟ้องไม่เป็นการต้องห้าม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8660/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันการทำงาน การยอมรับของจำเลย และผลของการไม่ปิดอากรแสตมป์
แม้จำเลยที่ 3 จะให้การว่า สัญญาค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ โจทก์ไม่อาจนำมาฟ้องให้จำเลยที่ 3 รับผิดได้ ทำให้คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 หรือไม่ แต่ต่อมาในระหว่างการพิจารณาของศาลแรงงานกลาง จำเลยที่ 3 แถลงรับว่าได้ทำสัญญาค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 จริง โดยโจทก์นำแบบพิมพ์สัญญาสำเร็จรูปมาให้จำเลยที่ 3 กรอกข้อความในช่องว่าง ประเด็นข้อพิพาทที่ว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 หรือไม่ จึงเป็นอันยุติตามคำแถลงรับของจำเลยที่ 3 โจทก์ไม่ต้องนำสืบในประเด็นนี้อีกเพราะจำเลยที่ 3 ยอมรับแล้ว กรณีไม่จำต้องพิจารณาว่าโจทก์มีพยานหลักฐานเรื่องดังกล่าวมาแสดงหรือไม่ ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าแม้สัญญาค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 จะไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ก็ฟังได้ว่า จำเลยที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 จึงถูกต้องแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7828/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมโดยอายุความ: การใช้ทางต่อเนื่องสิบปีโดยเปิดเผยและสงบ ย่อมก่อให้เกิดภาระจำยอมได้ แม้เจ้าของที่ดินมิได้ใช้เอง
เรื่องการจำยอมนั้น ป.พ.พ. มาตรา 1387 กำหนดว่า อสังหาริมทรัพย์อาจตกอยู่ในภาระจำยอมอันเป็นเหตุให้เจ้าของต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน หรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้น เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น ซึ่งแสดงให้เห็นว่า กฎหมายเพ่งเล็งถึงความสำคัญของตัวอสังหาริมทรัพย์คือที่ดินไม่ใช่ตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของ ตามคำฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างว่าโจทก์ได้ภาระจำยอมถนนที่ใช้เป็นทางเข้าออกผ่านที่ดินจำเลยโดยอายุความ ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๔๐๑ ประกอบด้วยมาตรา ๑๓๘๒ นั้น ภาระจำยอมเดินทางเข้าออกอาจได้มาโดยการใช้ทางดังกล่าวโดยสงบเปิดเผยด้วยเจตนาให้เป็นทางภาระจำยอมติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี กรณีจึงเห็นได้แจ้งชัดอยู่ว่ากฎหมายมุ่งความสำคัญตรงที่มีการใช้ทางพิพาท โดยไม่มีใครห้ามปรามและไม่ต้องรับอนุญาตจากใคร ก็เกิดภาระจำยอมโดยอายุความได้โดยไม่ต้องคำนึงว่าผู้เป็นเจ้าของที่ดินที่ใช้ทางนั้นจะต้องเป็นผู้ใช้ติดต่อกันสิบปีด้วยหรือไม่ คดีนี้โจทก์จึงอาจนำสืบว่ามีการใช้ทางพิพาทในที่ดินของจำเลยติดต่อกันจนได้อายุความแล้วได้ การที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานแล้วพิพากษายกฟ้องจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7455/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีและการมอบอำนาจช่วง: การมอบอำนาจช่วงก่อนยื่นฟ้องมีผลสมบูรณ์ แม้การมอบอำนาจภายหลังมีข้อบกพร่อง
น. ได้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนโจทก์และมีอำนาจแต่งตั้งตัวแทนช่วงกระทำการดังกล่าวได้ ขณะยื่นฟ้องคดี น. มอบอำนาจช่วงให้ ว. เป็นโจทก์ยื่นฟ้องจำเลย ดังนี้ ว. ผู้รับมอบอำนาจช่วงจึงมีอำนาจยื่นคำฟ้องแทนโจทก์โดยชอบ แม้ภายหลังเมื่อ ว. ลาออกจากบริษัทโจทก์แล้ว น. จะมอบอำนาจช่วงให้ ช. เป็นผู้ดำเนินคดีแทนและหนังสือมอบอำนาจช่วงฉบับหลังนี้ไม่ได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์ให้ถูกต้องครบถ้วนก็หามีผลกระทบไปถึงการฟ้องที่ ว. ได้ดำเนินการไปแล้วโดยชอบตามหนังสือมอบอำนาจช่วงฉบับแรกซึ่งได้ปิดอากรแสตมป์และขีดฆ่าโดยถูกต้องครบถ้วนแล้วแต่ประการใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7455/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีและการมอบอำนาจช่วง การกระทำที่ชอบตามหนังสือมอบอำนาจเดิมย่อมไม่กระทบจากการเปลี่ยนแปลงตัวผู้รับมอบอำนาจ
น. ได้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนโจทก์และมีอำนาจแต่งตั้งตัวแทนช่วยกระทำการดังกล่าวได้ ขณะยื่นฟ้องคดี น. มอบอำนาจช่วงให้ ว. เป็นโจทก์ยื่นฟ้องจำเลย ดังนี้ ว. ผู้รับมอบอำนาจช่วงจึงมีอำนาจยื่นคำฟ้องแทนโจทก์โดยชอบ แม้ภายหลังเมื่อ ว. ลาออกจากบริษัทโจทก์แล้ว น. จะมอบอำนาจช่วงให้ ช. เป็นผู้ดำเนินคดีแทนและหนังสือมอบอำนาจช่วงฉบับหลังนี้ไม่ได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์ให้ถูกต้องครบถ้วนก็หามีผลกระทบไปถึงการฟ้องที่ ว. ได้ดำเนินการไปแล้วโดยชอบตามหนังสือมอบอำนาจช่วงฉบับแรกซึ่งได้ปิดอากรแสตมป์และขีดฆ่าโดยถูกต้องครบถ้วนแล้วแต่ประการใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 839/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญากู้ยืมเงิน การตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อ และการร่วมรับผิดของลูกหนี้ร่วม
ตามรายงานการตรวจพิสูจน์ของผู้เชี่ยวชาญของศาลที่ได้ตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อผู้กู้ในสัญญากู้เงินเปรียบเทียบกับลายมือชื่อในเอกสารดังกล่าวที่กองพิสูจน์หลักฐานขอให้ศาลชั้นต้นจัดส่งไป ผลการตรวจพิสูจน์ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่า น่าจะเป็นลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกันเจือสมกับพยานหลักฐานของโจทก์ว่าจำเลยที่ 1 ได้ลงลายมือชื่อในสัญญากู้เงิน ถึงแม้ว่าจำเลยที่ 1 จะยื่นคำร้องขอยกเลิกการตรวจพิสูจน์โดยอ้างว่าจำเลยไม่สามารถชำระค่าตรวจพิสูจน์ได้ แล้วมีรอยขีดฆ่าและตกเติมข้อความใหม่ในคำร้องว่าจำเลยไม่ประสงค์จะชำระค่าตรวจพิสูจน์ เพราะเป็นอัตราที่สูงมากซึ่งขัดต่อคำเบิกความและคำร้องของจำเลยที่ 1 ที่อ้างว่ามีฐานะทางการเงินดี แต่ค่าตรวจพิสูจน์ที่กองพิสูจน์หลักฐานเรียกให้ชำระเป็นเพียงจำนวนเล็กน้อยที่จำเลยที่ 1 สามารถชำระได้โดยไม่เดือดร้อน การขอยกเลิกการตรวจพิสูจน์ดังกล่าวจึงส่อพิรุธว่าจำเลยที่ 1 ได้รู้ผลการตรวจพิสูจน์แล้วจึงขอยกเลิก อย่างไรก็ดีแม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้ยกเลิกการตรวจพิสูจน์ตามคำขอของจำเลยที่ 1 แต่ในขณะที่ศาลมีคำสั่งดังกล่าวผู้เชี่ยวชาญของศาลได้ตรวจพิสูจน์เสร็จเรียบร้อยและได้แจ้งผลการตรวจพิสูจน์ไปยังศาลชั้นต้นแล้ว คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกเลิกการตรวจพิสูจน์จึงไม่อาจลบล้างผลการตรวจพิสูจน์ของผู้เชี่ยวชาญได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 803/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการงดกระบวนพิจารณาที่ไม่จำเป็น เพื่อความรวดเร็วและยุติธรรมในการพิจารณาคดี
ศาลมีอำนาจพิเคราะห์ว่า กระบวนพิจารณาใดจำเป็นจะต้องกระทำเพียงใดหรือไม่ ถ้าเห็นว่ากระบวนพิจารณาใดเป็นการฟุ่มเฟือยเกินสมควรหรือประวิงให้ชักช้าหรือไม่เกี่ยวแก่ประเด็น ศาลย่อมมีอำนาจงดดำเนินกระบวนพิจารณาในทำนองนั้นเสียได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 86 วรรคสอง คดีนี้จำเลยขอเลื่อนนัดไต่สวนมาหลายนัดแล้ว ประกอบกับการเดินเผชิญสืบอาคารพิพาทก็ไม่เป็นประโยชน์แก่คดี ทั้งการออกคำสั่งกำหนดเดินเผชิญสืบก็เป็นเรื่องดุลพินิจของศาลโดยเฉพาะตาม ป.วิ.พ. มาตรา 99 วรรคแรก เมื่อศาลชั้นต้นไม่เห็นประโยชน์ที่จะทำการไต่สวนพยานจำเลยต่อไปโดยเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้แล้ว การเดินเผชิญสืบตามคำขอของจำเลยก็มีแต่จะทำให้เกิดความล่าช้า ประวิง และยุ่งยาก การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดไต่สวนคำร้องและไม่อนุญาตให้เดินเผชิญสืบอาคารพิพาท จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 278/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์, การประวิงคดี, และการฟ้องซ้ำ: สิทธิในที่ดินจากการเช่าและการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
ศาลชั้นต้นให้โอกาสจำเลยที่ 5 ในการนำพยานมาสืบเกือบ 1 ปี แต่ก็ไม่สามารถนำพยานมาสืบได้โดยอ้างเหตุเดิมๆ คือ พยานติดธุระบ้าง ย้ายไปรับราชการที่อื่นบ้าง ส่งหมายเรียกให้ไม่ได้บ้างตลอดมา พฤติการณ์ของจำเลยที่ 5 ดังกล่าวเห็นได้ว่าเป็นการประวิงคดีให้ชักช้าตาม ป.วิ.พ. มาตรา 86 วรรคสอง ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยที่ 5 จึงชอบแล้ว
คดีก่อนศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีเนื่องจากโจทก์ขาดนัดพิจารณา จึงไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่เป็นคดีนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 201 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
จำเลยที่ 5 อยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิการเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 9 การอยู่ในที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 5 จึงไม่ใช่การครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ จำเลยที่ 5 จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทด้วยการครอบครองปรปักษ์
คดีก่อนศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีเนื่องจากโจทก์ขาดนัดพิจารณา จึงไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่เป็นคดีนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 201 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
จำเลยที่ 5 อยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิการเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 9 การอยู่ในที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 5 จึงไม่ใช่การครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ จำเลยที่ 5 จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทด้วยการครอบครองปรปักษ์