คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 86

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 790 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3775/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขีดฆ่าอากรแสตมป์หลังพิจารณาคดี, ผลของการจำนองโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภริยา, และการแยกแยะนิติกรรมสัญญา
โจทก์ชอบที่จะยื่นคำร้องขออนุญาตทำการขีดฆ่าอากรแสตมป์ในหนังสือสัญญากู้หรือขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ขีดฆ่าอากรแสตมป์ก่อนหรือในขณะที่ได้นำเอกสารนั้นมาอ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งหรือก่อนที่ศาลชั้นต้นจะตัดสินชี้ขาดคดี การที่โจทก์เพิ่งมายื่นคำร้องหลังจากที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีแล้ว โดยศาลอุทธรณ์ปฏิเสธที่จะรับฟังหนังสือสัญญากู้ดังกล่าว ย่อมล่วงเลยเวลาที่จะอนุญาตให้ทำการแก้ไข จึงมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ขีดฆ่าอากรแสตมป์ในหนังสือสัญญากู้
การที่จำเลยทำสัญญาจำนองโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภริยา คงมีผลเพียงว่า ภริยาจำเลยอาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมจำนองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 แต่ตราบใดสัญญาจำนองยังไม่ถูกศาลเพิกถอน ย่อมยังคงมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย
สัญญากู้เงินและสัญญาจำนอง เป็นนิติกรรมคนละประเภทที่สามารถแยกออกจากกันได้ โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงิน เมื่อสัญญากู้เงินไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐาน ย่อมไม่อาจนำเอาอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ในสัญญาจำนองมาบังคับการกู้เงินรายนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 692/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาที่ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย และผลกระทบต่อการฟ้องร้องบังคับคดี
โจทก์ฟ้องจำเลยโดยอาศัยสัญญากู้ยืมเงิน จำเลยให้การว่ากู้เงินจากโจทก์จริงแต่รับเงินไม่ถึงจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญา จึงเป็นการกล่าวอ้างว่าสัญญาบางส่วนไม่สมบูรณ์ ศาลจำต้องใช้สัญญากู้ยืมเงินมาเป็นพยานหลักฐานในคดี การรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวโจทก์ต้องปิดอากรแสตมป์บนสัญญากู้ยืมเงินให้ถูกต้องบริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 118 เมื่อสัญญากู้ยืมเงินปิดอากรแสตมป์เพียง20 บาท ซึ่งตามบัญชีอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากรฯ ต้องปิดอากรแสตมป์จำนวน30 บาท สัญญากู้ยืมเงินจึงปิดอากรแสตมป์ไม่บริบูรณ์ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ เมื่อโจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จึงฟ้องร้องให้บังคับจำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 493/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทรัพย์สินของผู้เช่า: สิทธิของผู้เช่าเมื่อเจ้าของขายทรัพย์สินระหว่างสัญญาเช่า
ที่ดินพร้อมตึกแถวเป็นของจำเลยที่ 1 แต่โจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินและตึกแถวกับอ. ในระหว่างอายุสัญญาเช่าจำเลยที่ 1 ขายที่ดินและตึกแถวให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 โจทก์จึงฟ้องจำเลยทั้งสามให้เพิกถอนการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินและตึกแถว แต่ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ได้รู้เห็นยินยอมเชิดให้ อ. เป็นผู้ทำสัญญาเช่าแทน เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่เคยมอบอำนาจให้ อ. ทำสัญญาเช่ากับโจทก์และโจทก์ไม่ได้ให้การตั้งประเด็นเรื่องตัวแทนเชิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821 ไว้ โจทก์จึงไม่สามารถนำสืบว่าจำเลยที่ 1 รู้เห็นยินยอมเชิดให้ อ. ทำสัญญาเช่าแทนตน ฉะนั้นจำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวชอบที่จะขายทรัพย์สินดังกล่าวได้เมื่อโจทก์ไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 1 ขายที่ดินและตึกแถวให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 241/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องหลังสืบพยาน: ศาลมีอำนาจแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยในคำฟ้องได้ หากไม่ทำให้คู่ความเสียเปรียบ
ตามสำเนาสัญญาเช่าซื้ออันเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องระบุไว้ชัดเจนว่าได้ทำขึ้นระหว่างโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อโดย ว. ผู้รับมอบอำนาจตามหนังสือมอบอำนาจฝ่ายหนึ่งกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เช่าซื้ออีกฝ่ายหนึ่ง เมื่ออ่านคำฟ้องแล้วจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สัญญาย่อมเข้าใจได้ดีว่า โจทก์ได้มอบอำนาจให้ ว. เป็นผู้ลงนามในสัญญาเช่าซื้อแทนโจทก์การที่โจทก์ระบุในคำฟ้องว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ส. เป็นผู้ลงนามในสัญญาแทน และส่งสำเนาหนังสือมอบอำนาจฉบับที่โจทก์มอบอำนาจให้ ส. มีอำนาจลงนามแทนโจทก์ประกอบคำฟ้องนั้นเป็นเพียงข้อผิดพลาดเล็กน้อย ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องได้ แม้จะเป็นการขอแก้ไขคำฟ้องหลังจากสืบพยานโจทก์เสร็จสิ้นแล้วและมิได้มีการส่งสำเนาคำร้องให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง เพราะเป็นการแก้ไขคำฟ้องให้ตรงกับข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สัญญาทราบดีอยู่แล้วและเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย จึงถือมิได้ว่าทำให้จำเลยที่ 1 เสียเปรียบในทางคดีแต่อย่างใด เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับตัวผู้รับมอบอำนาจแล้ว ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจรับฟังหนังสือมอบอำนาจฉบับใหม่ที่ถูกต้องแทนฉบับเดิมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4079/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อนุญาตสืบพยานเพิ่มเติมหลังศาลถือว่าโจทก์ไม่ติดใจสืบพยาน ต้องพิจารณาเหตุผลสมควรเพื่อให้ความเป็นธรรม
ศาลชั้นต้นกำชับมิให้ฝ่ายจำเลยขอเลื่อนคดีไว้แล้ว การที่ในนัดสุดท้ายซึ่งเป็นวันสืบพยานจำเลยพร้อมสืบพยานโจทก์ โจทก์มิได้ไปศาล และศาลชั้นต้นขึ้นนั่งพิจารณาคดีสืบพยานจำเลยในเวลา 11 นาฬิกา จนเสร็จโดยถือว่าโจทก์ไม่ติดใจสืบพยาน แล้วมีคำสั่งให้รอฟังคำพิพากษาในวันเดียวกัน ต่อมาในเวลาบ่ายทนายโจทก์ได้ไปศาลจึงทราบเหตุและยื่นคำร้องขอสืบพยานโจทก์โดยให้เหตุผลว่าจดเวลานัดผิดพลาดเป็นเวลาบ่าย ซึ่งในขณะนั้นศาลชั้นต้นยังไม่ได้มีคำพิพากษา ศาลชั้นต้นชอบที่จะพิจารณาว่ามีเหตุผลสมควรที่จะอนุญาตให้โจทก์นำพยานเข้าสืบต่อไปหรือไม่ การที่ทนายโจทก์จดเวลานัดผิดพลาด ถือว่าเป็นเหตุผลสมควรที่จะให้โจทก์มีโอกาสนำพยานเข้าสืบเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2301/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งรังวัดที่ดินระหว่างพิจารณาคดี, แผนที่วิวาท, การรับฟังพยานเพิ่มเติม, และการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินทำการรังวัดที่ดินและทำแผนที่วิวาทตามคำขอของโจทก์ แม้จะมีคำสั่งภายหลังโจทก์และจำเลยสืบพยานเสร็จสิ้นแล้วก็เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อจำเลยไม่ได้โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ทำแผนที่วิวาทเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรคท้าย ซึ่งสามารถสั่งได้เองโดยไม่ต้องมีฝ่ายใดร้องขอหรือจะสั่งตามที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอก็ได้ เมื่อศาลอนุญาตแล้วแม้คู่ความจะมิได้ระบุพยานเพิ่มเติมศาลก็สามารถรับฟังพยานหลักฐานที่มีการสืบเพิ่มเติมนั้นได้ตามมาตรา 87(2) ส่วนพยานหลักฐานนั้นจะมีน้ำหนักรับฟังได้เพียงใดเป็นเรื่องของการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1189/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ vs สิทธิผู้รับจำนองโดยสุจริต: ข้อจำกัดในการอ้างสิทธิโดยมิได้จดทะเบียน
ผู้ร้องได้ที่ดินพิพาทมาโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 อันเป็นการได้มาโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมและสิทธิอันยังมิได้จดทะเบียนของผู้ร้อง ห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ผู้รับจำนองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสอง การที่ผู้ร้องจะอ้างการได้มาของผู้ร้องขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ในคดีร้องขัดทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 ได้นั้น เมื่อบทบัญญัติดังกล่าวอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งมาตรา 55 ผู้ร้องจึงต้องบรรยายมาในคำร้องขอว่ามีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ระหว่างผู้ร้องกับโจทก์ตามกฎหมายแพ่ง ผู้ร้องจึงจะมีสิทธินำพยานหลักฐานเข้ามาสืบไปตามข้ออ้างได้ การที่ผู้ร้องมิได้กล่าวในคำร้องขอว่าโจทก์รับจำนองโดยไม่สุจริต จึงไม่มีประเด็นที่ผู้ร้องจะนำพยานเข้ามาสืบเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1189/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองปรปักษ์ vs. สิทธิผู้รับจำนองสุจริต: การบรรยายข้อโต้แย้งในคำร้องขอ
สิทธิของผู้ร้องเป็นการได้ที่ดินพิพาทมาโดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 อันเป็นการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม แต่สิทธิอันยังมิได้ จดทะเบียนของผู้ร้อง ห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ผู้รับจำนองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง การที่ผู้ร้องจะอ้างการได้มาของผู้ร้องขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับจำนอง ป.วิ.พ. มาตรา 288 ได้นั้น เมื่อบทบัญญัติดังกล่าวบัญญัติให้อยู่ ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งมาตรา 55 เช่นนี้ ผู้ร้องจึงต้องบรรยายมาในคำร้องขอโดยชัดแจ้งให้เห็นว่ามีข้อโต้แย้ง เกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ระหว่างผู้ร้องกับโจทก์ตามกฎหมายแพ่ง อันเป็นข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น แต่ผู้ร้องมิได้บรรยายในคำร้องขอว่าโจทก์รับจำนองโดยไม่สุจริต จึงไม่มีประเด็นที่ผู้ร้องจะนำพยานเข้ามาสืบเป็น ข้อต่อสู้โจทก์ในประเด็นดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1183/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการ: เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่ต้องรอคำพิพากษาถึงที่สุด
พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/26 บัญญัติแสดงโดยแจ้งชัดว่าหากเจ้าหนี้ประสงค์ที่จะได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการจะต้องยื่นคำรับชำระหนี้ตามวิธีการที่กฎหมายได้ระบุไว้ โดยบทบัญญัติวรรคหนึ่งของมาตรานี้ส่วนท้ายแยกเป็น 2 กรณี คือ กรณีแรกเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา กรณีที่สองเป็นเจ้าหนี้ที่ได้ฟ้องคดีแพ่งไว้แล้ว แต่คดียังอยู่ระหว่างพิจารณาซึ่งหมายถึงศาลยังไม่มีคำพิพากษา
การยื่นคำขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/26 วรรคหนึ่ง ในกรณีแรก หากรอให้ศาลพิพากษาในชั้นที่สุดเสียก่อน เจ้าหนี้ก็ไม่อาจยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ได้ ทำให้เจ้าหนี้หมดสิทธิได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 90/61 การที่เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการหรือไม่ จึงมิใช่เป็นเพราะหนี้นั้นเป็นมูลหนี้ตามคำพิพากษาเพียงประการเดียวแต่ต้องประกอบด้วยการพิสูจน์หนี้ของเจ้าหนี้ การสอบสวนและคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รวมทั้งคำสั่งของศาลในกรณีที่มีผู้ยื่นคำร้องคัดค้านเป็นสำคัญ กฎหมายจึงเปิดโอกาสให้มีผู้โต้แย้งมูลหนี้ดังกล่าวได้ แต่เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนแล้วมีคำสั่งให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ในมูลหนี้ตามคำพิพากษา และผู้บริหารแผนร้องคัดค้านต่อศาลล้มละลายหากศาลล้มละลายได้พิจารณาคำร้องคัดค้านคำคัดค้านของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และเจ้าหนี้แล้วเห็นว่าคดีพอวินิจฉัย จึงให้งดไต่สวน ย่อมถือได้ว่าเป็นอำนาจของศาลล้มละลายที่กระทำได้โดยชอบ
ลูกหนี้อุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลล้มละลายเรื่องขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ตามคำพิพากษา ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียงฉบับละ 25 บาท ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 179(2) ประกอบด้วยมาตรา 90/2 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 598/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, การโอนเช็ค, การฉ้อฉล, การสืบพยาน: ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้สืบพยานเพิ่มเติมเพื่อพิสูจน์การฉ้อฉล
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ให้การต่อสู้ไว้แล้วว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้ออกเช็คพิพาททั้ง 4 ฉบับ เพื่อชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ต้องคืนเช็คพิพาททั้ง 4 ฉบับ ให้แก่จำเลยที่ 1 เนื่องจากไม่มีหนี้สินต่อกัน ซึ่งโจทก์ก็ทราบดีอยู่แล้ว จำเลยที่ 3 นำเช็คพิพาททั้ง 4 ฉบับ ไปฝากไว้กับโจทก์ โดยจำเลยที่ 3 กับโจทก์มีความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้ง โจทก์ครอบครองเช็คพิพาทแทนจำเลยที่ 3 จึงไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้อง จำเลยที่ 3 เคยทำหนังสือยอมรับว่าเช็คพิพาท 3 ฉบับ ไม่มี
หนี้สินต่อกันตามสำเนาเอกสารท้ายคำให้การ ตามคำให้การดังกล่าวเห็นได้ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ให้การไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยที่ 3 โอนเช็คพิพาททั้ง 4 ฉบับ ให้แก่โจทก์โดยคบคิดกันฉ้อฉลจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 916 เป็นคำให้การที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง ทำให้มีประเด็นข้อพิพาทที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 สามารถนำสืบว่าโจทก์กับจำเลยที่ 3 ร่วมกันโอนเช็คพิพาททั้ง 4 ฉบับ โดยคบคิดกันฉ้อฉลหรือไม่ ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาฉบับลงวันที่ 19 มิถุนายน 2541 ให้งดสืบพยานจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในประเด็นดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ
ประเด็นตามข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ดังกล่าวเป็นการยกข้อต่อสู้ว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นประเด็นในเรื่องที่โต้แย้งว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ยกขึ้นต่อสู้ตลอดมาทั้งในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกา แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะมิได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นให้งดสืบพยานจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาและจำเลยไม่อาจยกประเด็นดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์ได้ก็ตาม แต่ศาลฎีกาก็มีอำนาจที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสืบพยานจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในประเด็นที่ได้ให้การต่อสู้ไว้เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญแห่งคดีจนสิ้นกระแสความ และพิพากษาให้ตรงตามประเด็นข้อพิพาทได้ ทั้งนี้อาศัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243(2) ประกอบมาตรา 247
of 79