คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 86

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 790 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7252/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าและอำนาจฟ้องขับไล่ แม้ผู้ให้เช่ามิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ แต่มีสิทธิฟ้องได้หากมีสัญญาเช่า
ในเรื่องเช่าทรัพย์ ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าผู้ให้เช่าจะต้องเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ให้เช่า ดังนั้น เมื่อจำเลยให้การรับว่าจำเลยได้ทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทจากโจทก์จริง ทั้งสองฝ่ายก็ย่อมต้องผูกพันตามสัญญาเช่า จำเลยเข้าไปอยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่า เมื่อครบกำหนดระยะเวลาเช่าแล้วโจทก์ไม่ต่ออายุสัญญาสัญญาเช่าย่อมระงับสิ้นไป โจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยในฐานะผู้เช่าได้ ส่วนข้อพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับวัด ช. ตามที่จำเลยกล่าวอ้างจะมีอยู่อย่างไรก็ไม่ใช่ข้อสำคัญเพราะกรณีนี้เป็นข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาในสัญญาเช่าเท่านั้น จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะต้องให้คู่ความนำพยานเข้าสืบเพื่อฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยชอบหรือไม่ และการที่จำเลยไม่ยอมออกไปจากที่ดินพิพาทตามหนังสือบอกกล่าวของโจทก์ย่อมเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ในเรื่องค่าเสียหายจึงไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบ แม้โจทก์ยังคงมีภาระการพิสูจน์ตามข้อกล่าวอ้างในคำฟ้อง แต่ก็ปรากฏว่าคู่ความได้แถลงรับกันแล้วว่าค่าเสียหายที่โจทก์เรียกมานั้นเป็นค่าเสียหายที่คิดคำนวณจากฐานค่าเช่าเดิม ประกอบกับในเรื่องค่าเสียหายนั้น ศาลมีอำนาจวินิจฉัยและกำหนดตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438 อยู่แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นที่ศาลต้องฟังพยานหลักฐานของคู่ความในประเด็นข้อนี้อีกต่อไป ที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานโจทก์และจำเลยแล้วพิจารณาให้โจทก์ชนะคดีจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6981/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดสืบพยานและคำขอพิจารณาใหม่: จำเลยมิได้อุทธรณ์คำสั่งงดสืบพยานและไม่มีเหตุขอพิจารณาใหม่
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานจำเลยเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2541และนัดฟังคำพิพากษาวันที่ 26 พฤศจิกายน 2541 จำเลยมิได้โต้แย้งคำสั่งงดสืบพยานดังกล่าวซึ่งเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226จำเลยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น แต่กลับมายื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ทั้งที่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาและพิพากษาให้จำเลยแพ้คดีเพราะเหตุขาดนัด รูปคดีจึงไม่มีทางขอให้พิจารณาใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6981/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นและข้อจำกัดในการขอพิจารณาใหม่
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานจำเลยและนัดฟังคำพิพากษา จำเลยมิได้โต้แย้งคำสั่งงดสืบพยานดังกล่าวซึ่งเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 226 จำเลยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น แต่กลับมายื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ ทั้งที่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งว่า จำเลยขาดนัดพิจารณาและพิพากษาให้จำเลยแพ้คดีเพราะเหตุขาดนัด รูปคดีจึงไม่มีทางขอให้พิจารณาใหม่ได้ไม่ว่าศาลฎีกาจะวินิจฉัยข้อกฎหมายของจำเลยเป็นประการใดก็ตาม คดีของจำเลยย่อมจะไม่มีทางขอให้พิจารณาใหม่ได้เช่นเดิม ฎีกาของจำเลยเช่นนี้ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6981/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งงดสืบพยานและคำขอพิจารณาใหม่ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากจำเลยไม่ได้อุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานจำเลยและนัดฟังคำพิพากษาจำเลยมิได้โต้แย้งคำสั่งงดสืบพยานดังกล่าวซึ่งเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226 จำเลยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น แต่กลับมายื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ ทั้งที่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งว่า จำเลยขาดนัดพิจารณาและพิพากษาให้จำเลยแพ้คดีเพราะเหตุขาดนัดรูปคดีจึงไม่มีทางขอให้พิจารณาใหม่ได้ไม่ว่าศาลฎีกาจะวินิจฉัยข้อกฎหมายของจำเลยเป็นประการใดก็ตาม คดีของจำเลยย่อมจะไม่มีทางขอให้พิจารณาใหม่ได้เช่นเดิม ฎีกาของจำเลยเช่นนี้ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4664/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบพยานนอกประเด็นคำให้การ ถือเป็นกระบวนการที่ไม่ชอบ ศาลล่างพิพากษาถูกต้องแล้ว
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระค่าจ้างก่อสร้างในส่วนที่ค้างเนื่องจากโจทก์ก่อสร้างเสร็จตามสัญญา จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่าจำเลยชำระค่าจ้างครบถ้วนทั้งเกินไปกว่าที่โจทก์ฟ้อง ดังนี้ การที่จำเลยนำสืบว่าโจทก์ก่อสร้างไม่แล้วเสร็จและไม่เรียบร้อย จำเลยต้องจ้างผู้รับเหมารายอื่นเข้าทำงานแทน ทั้งต้องสั่งซื้อวัสดุเครื่องมือก่อสร้างให้โจทก์ด้วยจำเลยสามารถนำค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปหักออกจากค่าจ้างที่จะต้องจ่ายได้นั้น เป็นการสืบนอกประเด็นไปจากคำให้การ หาใช่เป็นการนำสืบพยานในรายละเอียดเพื่อขยายข้อความในคำให้การไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4126/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อมูลสอบคัดเลือกไม่ใช่ข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่เปิดเผยได้ ศาลยืนตามคำวินิจฉัยเดิม
คำว่า "ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล" ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540 มาตรา 4 หมายถึง สิ่งที่แสดงถึงเรื่องราวความเป็นมาที่เกี่ยวพันกับชีวิตความเป็นอยู่ของบุคคลหนึ่งบุคคลใดอันเป็นเรื่องราวเฉพาะตัวของบุคคลผู้นั้นซึ่งจำแนกให้เห็นความแตกต่างจากเรื่องราวของบุคคลอื่น ทั้งนี้ ไม่ว่าจะบันทึกหรือทำให้ปรากฏในเอกสารหรือวัตถุใด ๆ
กระดาษคำตอบข้อสอบคัดเลือกเข้าเรียนในสถานศึกษาของทางราชการ เป็นเพียงเอกสารที่ผู้เข้าสอบแข่งขันจัดทำขึ้นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สถานศึกษากำหนดขึ้น เพื่อแสดงถึงภูมิความรู้และใช้เป็นเกณฑ์ชี้วัดความรู้ความสามารถของผู้เข้าสอบแข่งขันแต่ละคนโดยนำกระดาษคำตอบและบัญชีคะแนนของแต่ละคนไปพิจารณาเปรียบเทียบกันเพื่อสรรหาผู้ที่สามารถแสดงภูมิความรู้ได้ดีกว่าผู้อื่นเป็นผู้ผ่านการสอบแข่งขัน กระดาษคำตอบและบัญชีคะแนนของผู้เข้าสอบแข่งขันจึงมิใช่เรื่องราวความเป็นมาที่เกี่ยวพันกับชีวิตความเป็นอยู่อันเป็นเรื่องเฉพาะตัวของโจทก์ จึงไม่เป็นข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลอันได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายไม่ให้เปิดเผย
ข้อเท็จจริงที่โจทก์ทั้งหนึ่งร้อยเก้าบรรยายมาในคำฟ้องเกี่ยวกับกระดาษคำตอบและบัญชีคะแนนของผู้เข้าสอบแข่งขันเข้าศึกษาในโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีรายละเอียดเพียงพอให้วินิจฉัยชี้ขาดในปัญหาข้อกฎหมายโดยไม่จำต้องสืบพยานหลักฐานของคู่ความ ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540 มาตรา 15,24
แม้ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540มาตรา 37 วรรคสอง ที่บัญญัติให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลเป็นที่สุด แต่บทบัญญัติดังกล่าวมีความหมายเพียงว่าเมื่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร หรือไม่รับฟังคำคัดค้านมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารเป็นประการใดแล้ว บุคคลผู้มีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องกับคำวินิจฉัยนั้นจะโต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยนั้นต่อไปอีกไม่ได้ แต่ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามคณะกรรมการชุดดังกล่าวพิจารณาทบทวนและเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขคำวินิจฉัยนั้น คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารเป็นคำสั่งทางปกครองตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 5ซึ่งตามมาตรา 49 บัญญัติว่า "เจ้าหน้าที่หรือผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนคำสั่งทางปกครองได้ตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 51 มาตรา 52และมาตรา 53" การที่คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารพิจารณาทบทวนคำวินิจฉัยเดิมและมีคำวินิจฉัยใหม่จึงเป็นการกระทำภายในกรอบของกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4126/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อมูลส่วนบุคคลในข้อสอบ: ไม่เข้าข่ายข้อมูลที่ต้องคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารฯ
คำว่า "ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล" ตาม พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 มาตรา 4 มีความหมายโดยสรุปว่า หมายถึง สิ่งที่แสดงถึงเรื่องราวความเป็นมาที่เกี่ยวพันกับชีวิตความเป็นอยู่ของบุคคลหนึ่งบุคคลใด อันเป็นเรื่องราวเฉพาะตัวของบุคคลผู้นั้น ซึ่งจำแนกให้เห็นความแตกต่างจากเรื่องราวของบุคคลอื่น ทั้งนี้ ไม่ว่าจะบันทึกหรือทำให้ปรากฏในเอกสารหรือวัตถุใด ๆ
กระดาษคำตอบข้อสอบคัดเลือกเข้าเรียนในสถานศึกษาของทางราชการเป็นเพียงเอกสารที่ผู้เข้าสอบแข่งขันจัดทำขึ้นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สถานศึกษากำหนดขึ้น เพื่อแสดงถึงภูมิความรู้และใช้เป็นเกณฑ์ชี้วัดความรู้ความสามารถของผู้เข้าสอบแข่งขันแต่ละคน โดยนำกระดาษคำตอบและบัญชีคะแนนของแต่ละคนไปพิจารณาเปรียบเทียบกัน เพื่อสรรหาผู้ที่สามารถแสดงภูมิความรู้ได้ดีกว่าผู้อื่นเป็นผู้ผ่านการสอบแข่งขัน กระดาษคำตอบและบัญชีคะแนนของผู้เข้าสอบแข่งขันจึงมิใช่เรื่องราวความเป็นมาที่เกี่ยวพันกับชีวิตความเป็นอยู่ อันเป็นเรื่องเฉพาะตัวของโจทก์ จึงไม่เป็นข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลอันได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายไม่ให้เปิดเผย
เมื่อข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายมาในคำฟ้องเกี่ยวกับกระดาษคำตอบและบัญชีคะแนนของผู้เข้าสอบแข่งขันเข้าศึกษาในโรงเรียนสาธิตมีรายละเอียดเพียงพอให้วินิจฉัยชี้ขาดในปัญหาข้อกฎหมายโดยไม่จำต้องสืบพยานหลักฐานของคู่ความ ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์เห็นพ้องด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่งดสืบพยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมายไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 มาตรา 15 , 24
แม้ตาม พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 มาตรา 37 วรรคสอง บัญญัติให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารเป็นที่สุดก็ตาม แต่บทบัญญัติดังกล่าวมีความหมายเพียงว่า เมื่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร หรือไม่รับฟังคำคัดค้านมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารเป็นประการใดแล้ว บุคคลผู้มีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องกับคำวินิจฉัยนั้นจะโต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยนั้นต่อไปอีกไม่ได้ แต่ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามคณะกรรมการชุดดังกล่าวพิจารณาทบทวนและเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขคำวินิจฉัยนั้น นอกจากนี้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารยังเป็นคำสั่งทางปกครอง ตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 5 ซึ่งตามมาตรา 49 บัญญัติว่า "เจ้าหน้าที่หรือผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนคำสั่งทางปกครองได้ตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 51 มาตรา 52 และมาตรา 53..." การที่คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารพิจารณาทบทวนคำวินิจฉัยเดิมและมีคำวินิจฉัยใหม่ให้จำเลยที่ 8 เปิดเผยกระดาษคำตอบและบัญชีคะแนนของโจทก์ถือว่าเป็นการกระทำภายในกรอบของกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3281/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อสู้คดีหย่าและการไม่รับฟังข้อเท็จจริงของศาลชั้นต้น
จำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยประพฤติตนตามที่โจทก์กล่าวอ้างทั้งสิ้น โจทก์ทำตัวเองไม่เหมาะสมในการเป็นหัวหน้าครอบครัวไปติดพันหญิงอื่น หาเรื่องคอยทุบตีจำเลยอยู่เสมอ ไม่เคยกลับมาให้ความอบอุ่นแก่บุตรและครอบครัว เมื่อผู้บังคับบัญชาหรือเพื่อนฝูงว่ากล่าวตักเตือน โจทก์จึงโกรธและทำร้ายทุบตีจำเลยและหาเหตุที่จะไม่ยอมเข้าบ้าน เห็นได้ว่าจำเลยให้การต่อสู้ว่า โจทก์เป็นฝ่ายหาเหตุออกจากบ้านไปเอง จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยยอมรับในประเด็นจงใจละทิ้งร้างโจทก์ดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้หย่าขาดโดยไม่ฟังข้อเท็จจริงตามที่คู่ความนำสืบ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142
ปัญหาว่าคำให้การจำเลยถือว่าเป็นการยอมรับหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างโต้แย้งคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3281/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหย่าขาดจากกรณีจงใจละทิ้งร้างและการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบตามกฎหมาย
จำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยประพฤติตนตามที่โจทก์กล่าวอ้างทั้งสิ้น โจทก์ทำตัวเองไม่เหมาะสมในการเป็นหัวหน้าครอบครัวไปติดพันหญิงอื่น หาเรื่องคอยทุบตีจำเลยอยู่เสมอ ไม่เคยกลับมาให้ความอบอุ่นแก่บุตรและครอบครัวเมื่อผู้บังคับบัญชาหรือเพื่อนฝูงว่ากล่าวตักเตือน โจทก์จึงโกรธและทำร้ายทุบตีจำเลยและหาเหตุที่จะไม่ยอมเข้าบ้านเห็นได้ว่าจำเลยให้การต่อสู้ว่า โจทก์เป็นฝ่ายหาเหตุออกจากบ้านไปเองจึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยยอมรับในประเด็นจงใจละทิ้งร้างโจทก์ดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้หย่าขาดโดยไม่ฟังข้อเท็จจริงตามที่คู่ความนำสืบ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
ปัญหาว่าคำให้การจำเลยถือว่าเป็นการยอมรับหรือไม่เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างโต้แย้งคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1530/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนคดีหลายครั้งโดยมีเหตุผลอันสมควร ศาลต้องพิจารณาเหตุผลประกอบการตัดสินว่าเป็นการประวิงคดีหรือไม่
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองมีทุนทรัพย์ถึง 2,560,462.57 บาท แม้จะปรากฏว่ามีการเลื่อนคดีติดต่อกัน ตั้งแต่นัดแรกจนถึงวันนัดสุดท้าย รวม 7 นัด เป็นเวลา 1 ปีเศษ แต่ทนายโจทก์ขอเลื่อนคดีเนื่องจากไม่มีพยานมาศาลในนัดที่สองเพียงนัดเดียว ส่วนนัดแรกเหตุเลื่อนคดีก็เนื่องมาจากทนายจำเลยที่ 1 และทนายจำเลยที่ 2 ขออนุญาตยื่นคำให้การส่วนวันนัดสืบพยานโจทก์ครั้งที่สาม ทนายโจทก์คนใหม่ติดว่าความที่ศาลอื่นซึ่งนับว่ามีเหตุจำเป็น เพราะทนายโจทก์คนใหม่เพิ่งได้รับการแต่งตั้ง การนัดความในวันดังกล่าวทนายโจทก์คนใหม่มิได้มีส่วนรับรู้ด้วย การเลื่อนคดีในนัดสืบพยานโจทก์ครั้งที่สี่ที่พยานโจทก์มาศาลก็เนื่องมาจากทนายจำเลยทั้งสองเพิ่งมาแถลงต่อศาลในวันนัดว่ายังไม่ได้รับสำเนาเอกสารบางฉบับซึ่งเป็นเอกสารสำคัญจากโจทก์หากไม่มีเหตุดังกล่าวก็คงจะมีการสืบพยานโจทก์ไปได้ ศาลชั้นต้นเห็นว่าการส่งสำเนาเอกสารยังไม่เรียบร้อยจึงให้เลื่อนคดีไป เมื่อถึงในวันนัดครั้งที่ห้าทนายโจทก์ขอถอนตัวเนื่องจาก มีความคิดเห็นไม่ตรงกับโจทก์และไม่สามารถตกลงกันเรื่องค่าทนายความได้ นัดนี้ทนายจำเลยที่ 2 ขอเลื่อนคดีเช่นกันโดยอ้างว่าติดว่าความที่ศาลอื่นและมีนัดที่ต่างจังหวัด การเลื่อนคดีในนัดนี้จึงไม่ใช่ความผิดของโจทก์ ส่วนวันนัดสืบพยานโจทก์ครั้งที่หก ซึ่งทนายโจทก์ขอเลื่อนคดีเนื่องจากเพิ่งได้รับการแต่งตั้งและยังไม่ได้รับเอกสารจากโจทก์ และวันนัดสืบพยานครั้งที่เจ็ดทนายโจทก์ขอเลื่อนคดีเนื่องจากเอกสารสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันยังไม่ได้รับคืนจากทนายโจทก์คนเดิมและยังติดตามตัวทนายโจทก์คนเดิมไม่พบ กรณีดังกล่าวแม้จะนับได้ว่าเป็นความบกพร่องของ ทนายโจทก์ที่ไม่จัดเตรียมเอกสารให้เรียบร้อยก่อนวัดนัดก็ตาม แต่เมื่อเอกสารที่ต้องการใช้อยู่กับทนายโจทก์คนเดิม และเหตุที่ไม่ได้เอกสารมาก็เนื่องจากติดตามตัวทนายโจทก์คนเดิมไม่ได้ ตามข้อเท็จจริงดังกล่าวยังไม่พอฟังว่าโจทก์มีเจตนาประวิงคดีให้ล่าช้า
of 79