คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 86

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 790 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3812-3826/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากนายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อ ศาลต้องสืบข้อเท็จจริงว่าลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างหรือไม่
การเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 วรรคสองหมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อ ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงตามที่จำเลยแถลงเพียงว่า จำเลยปิดกิจการเนื่องจากไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ แต่จำเลยมิได้เลิกจ้างโจทก์ย่อมไม่เพียงพอฟังว่าโจทก์ไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างหรือไม่อันเป็นข้อเท็จจริงที่ต้องใช้วินิจฉัยว่าเป็นการเลิกจ้างในกรณีนายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 46 วรรคสองหรือไม่ การที่ศาลแรงงานมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลย แล้ววินิจฉัยว่าการที่จำเลยปิดกิจการเนื่องจากไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโจทก์โดยไม่มีความผิดจึงไม่ชอบ ศาลแรงงานอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องจากอัตราค่าจ้าง วันละ160 บาท เป็นวันละ 162 บาทแล้ว แต่ศาลแรงงานพิพากษาให้โจทก์ ได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า โดยคำนวณจากค่าจ้างวันละ160 บาทเป็นการไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3487/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดสืบพยาน-ประเด็นสินสมรส: ศาลต้องฟังข้อเท็จจริงครบถ้วนก่อนพิพากษา
คำแถลงโต้แย้งคำสั่ง ศาลชั้นต้นของจำเลยมีความว่าที่ศาลกำหนดประเด็นข้อพิพาทแล้วมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยและนัดฟังคำพิพากษาจำเลยไม่เห็นพ้องด้วยเพราะข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลย ยังไม่อาจรับฟังเป็นยุติได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ให้งดสืบพยานและนัดฟังคำพิพากษาจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เห็นได้ว่าจำเลยโต้แย้งคำสั่งศาลที่ให้งดสืบพยานเพียงอย่างเดียว ส่วนการกำหนดประเด็นข้อพิพาทจำเลยไม่ได้โต้แย้งไว้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นในเรื่อง กำหนดประเด็นข้อพิพาท ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) โจทก์ฟ้องว่า ป. ได้กู้เงินและรับเงินไปจำนวน4,000,000 บาท และให้ถือสัญญาจำนองที่ดินเป็นหลักฐานการกู้เงินด้วย จำเลยให้การว่า จำนวนเงินที่โจทก์จ่ายจริงไม่ถึง 4,000,000 บาท การที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคำให้การของจำเลยไม่ชัดแจ้ง ไม่กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทว่าต้นเงินถูกต้องหรือไม่ จึงให้งดสืบพยานข้อนี้และถือว่าป. รับเงินไปแล้ว 4,000,000 บาท จึงชอบแล้ว จำเลยให้การว่า ทรัพย์จำนองเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ป. การจำนองที่ดินดังกล่าวจำเลยมีส่วนรู้เห็นหรือให้ความยินยอมโจทก์รู้อยู่แล้วว่า จำเลยเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ป. ชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า สัญญาจำนองชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ดังนี้หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ทรัพย์จำนองเป็นสินสมรส ระหว่าง ป. กับจำเลยแล้ว การที่ ป. ทำนิติกรรมจำนองโดยปราศจากความยินยอมของจำเลย นิติกรรมนั้นจะสมบูรณ์ ต่อเมื่อจำเลยได้ให้สัตยาบันแก่สัญญาจำนองแล้ว หรือในขณะที่ ทำนิติกรรมนั้นโจทก์ผู้รับจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ได้กระทำโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 การที่ศาลล่างทั้งสอง พิพากษาคดีไปโดยมิได้ฟังข้อเท็จจริงให้ครบถ้วนจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3487/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดประเด็นข้อพิพาท, งดสืบพยาน, และผลของสัญญาจำนองสินสมรส
คำแถลงโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นของจำเลยมีความว่า ที่ศาลกำหนดประเด็นข้อพิพาทแล้วมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยและนัดฟังคำพิพากษา จำเลยไม่เห็นพ้องด้วย เพราะข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลยยังไม่อาจรับฟังเป็นยุติได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานและนัดฟังคำพิพากษาจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เห็นได้ว่าจำเลยโต้แย้งคำสั่งศาลที่ให้งดสืบพยานเพียงอย่างเดียวส่วนการกำหนดประเด็นข้อพิพาท จำเลยไม่ได้โต้แย้งไว้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นในเรื่องกำหนดประเด็นข้อพิพาท ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 226 (2)
โจทก์ฟ้องว่า ป.ได้กู้เงินและรับเงินไปจำนวน 4,000,000 บาทและให้ถือสัญญาจำนองที่ดินเป็นหลักฐานการกู้เงินด้วย จำเลยให้การว่า จำนวนเงินที่โจทก์จ่ายจริงไม่ถึง 4,000,000 บาท การที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคำให้การของจำเลยไม่ชัดแจ้ง ไม่กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทว่าต้นเงินถูกต้องหรือไม่ จึงให้งดสืบพยานข้อนี้และถือว่า ป.รับเงินไปแล้ว 4,000,000 บาท จึงชอบแล้ว
จำเลยให้การว่า ทรัพย์จำนองเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ป.การจำนองที่ดินดังกล่าวจำเลยไม่มีส่วนรู้เห็นหรือให้ความยินยอม โจทก์รู้อยู่แล้วว่าจำเลยเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ป. ชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า สัญญาจำนองชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ดังนี้ หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าทรัพย์จำนองเป็นสินสมรสระหว่าง ป.กับจำเลยแล้ว การที่ ป.ทำนิติกรรมจำนองโดยปราศจากความยินยอมของจำเลย นิติกรรมนั้นจะสมบูรณ์ต่อเมื่อจำเลยได้ให้สัตยาบันแก่สัญญาจำนองแล้ว หรือในขณะที่ทำนิติกรรมนั้นโจทก์ผู้รับจำนองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้กระทำโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนตาม ป.พ.พ.มาตรา 1480 การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาคดีไปโดยมิได้ฟังข้อเท็จจริงให้ครบถ้วนจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3487/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดสืบพยานในคดีจำนองและประเด็นสินสมรส: ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลล่างให้พิจารณาใหม่
คำแถลงโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นและจำเลยมีความว่าที่ศาลกำหนดประเด็นข้อพิพาทแล้วมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลย และนัดฟังคำพิพากษา จำเลยไม่เห็นพ้องด้วย เพราะข้อเท็จจริง ตามคำฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลยยังไม่อาจ รับฟังเป็นยุติได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานและนัดฟังคำพิพากษาจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เห็นได้ว่าจำเลยโต้แย้งคำสั่งศาลที่ให้งดสืบพยานเพียงอย่างเดียวส่วนการกำหนดประเด็นข้อพิพาท จำเลยไม่ได้โต้แย้งไว้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นในเรื่องกำหนดประเด็นข้อพิพาท ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) โจทก์ฟ้องว่า ป.ได้กู้เงินและรับเงินไปจำนวน 4,000,000 บาทและให้ถือสัญญาจำนองที่ดินเป็นหลักฐานการกู้เงินด้วย จำเลย ให้การว่า จำนวนเงินที่โจทก์จ่ายจริงไม่ถึง 4,000,000 บาท การที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคำให้การของจำเลยไม่ชัดแจ้ง ไม่กำหนด เป็นประเด็นข้อพิพาทว่าต้นเงินถูกต้องหรือไม่ จึงให้งดสืบพยาน ข้อนี้และถือว่าป.รับเงินไปแล้ว 4,000,000 บาท จึงชอบแล้ว จำเลยให้การว่า ทรัพย์จำนองเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับป.การจำนองที่ดินดังกล่าวจำเลยไม่มีส่วนรู้เห็นหรือให้ความยินยอม โจทก์รู้อยู่แล้วว่าจำเลยเป็นภริยาโดยชอบด้วย กฎหมายของป.ชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า สัญญาจำนองชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ดังนี้หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าทรัพย์จำนองเป็นสินสมรสระหว่าง ป.กับจำเลยแล้ว การที่ป.ทำนิติกรรมจำนองโดยปราศจากความยินยอมของจำเลย นิติกรรมนั้นจะสมบูรณ์ต่อเมื่อจำเลยได้ให้สัตยาบัน แก่สัญญาจำนองแล้ว หรือในขณะที่ทำนิติกรรมนั้นโจทก์ ผู้รับจำนองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้กระทำโดยสุจริตและเสีย ค่าตอบแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาคดีไปโดยมิได้ฟังข้อเท็จจริงให้ครบถ้วนจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2161/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ร่วมสามีภริยาจากการกู้ยืมเงินและการจำนองทรัพย์สิน แม้ฟ้องผิดฐานแต่ศาลสามารถแก้ไขได้
แม้หนี้เงินกู้จำนวน 3,500,000 บาท ซึ่งอ. สามีจำเลยกู้ยืมจากโจทก์ เป็นหนี้ที่อ. ก่อขึ้นในระหว่างสมรสเพื่อประโยชน์ของอ.ฝ่ายเดียวก็ตามแต่จำเลยก็ยินยอมให้อ.กู้ยืมเงินดังกล่าวจากโจทก์ การที่จำเลยได้ร่วมรับรู้ถึงหนี้เงินกู้ที่อ. ได้ก่อให้เกิดขึ้นและจำเลยได้ให้สัตยาบันในหนี้ดังกล่าว หนี้นั้นจึงเป็นหนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490(4)จำเลยในฐานะภริยาย่อมต้องร่วมกับอ. ผู้เป็นสามีรับผิดชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าวให้แก่โจทก์ หลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง มิใช่แบบของนิติกรรม ทั้งกฎหมายก็มิได้บัญญัติว่าหลักฐานดังกล่าวจะต้องมีในขณะที่ให้กู้ยืม หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือจึงอาจมีก่อนหรือหลังการกู้ยืมเงินก็ได้ หนี้เงินกู้ที่อ.กู้ยืมจากโจทก์เป็นหนี้ที่อ. และจำเลยภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันต่อโจทก์ การที่อ. สามีจำเลยยินยอมให้จำเลยจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างประกันเงินกู้ โดยอ.ทำนิติกรรมยืมเงินจากโจทก์ และตามหนังสือให้ความยินยอมดังกล่าวอ. ได้ลงลายมือชื่อไว้ด้วย ดังนั้น หนังสือให้ความยินยอมจึงเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือแล้วกรณีไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมของจำเลยซ้ำอีกจำเลยต้องรับผิดชำระหนี้ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินต่อโจทก์ แม้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพื่อ เป็นประกันการกู้ยืมเงินที่จำเลยเอาไปจากโจทก์ก็ตามแต่การนำสืบถึงหนี้ตามคำฟ้องโจทก์ย่อมต้องนำสืบถึงที่มาแห่งหนี้ โดยละเอียดว่าหนี้เงินกู้ดังกล่าวมีมูลมาอย่างไร การที่ โจทก์นำสืบว่าการกู้ยืมเงินดังกล่าวมีมูลหนี้เดิมมาจาก อ. สามีจำเลยเป็นผู้กู้ยืมโดยจำเลยให้ความยินยอมและจำเลย ยอมจดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้ดังกล่าว ซึ่งเป็นหนี้ที่อ. และจำเลยเป็นลูกหนี้ร่วมกันเช่นนี้ จึงเป็นการนำสืบตามประเด็นแห่งคดี มิใช่เป็นการนำสืบนอกประเด็น แม้ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินระบุให้คิดดอกเบี้ยในหนี้จำนองอัตราร้อยละ 16 ต่อปี และตกลงนำส่งดอกเบี้ยเดือนละครั้งเสมอไปจะเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3 ก็ตามแต่เมื่อจำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างแล้วต่อมาอ. ได้ชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยให้แก่โจทก์หลังจากนั้นอ. และจำเลยมิได้ชำระหนี้ให้โจทก์อีกเมื่อจำเลยตกลงชำระดอกเบี้ยให้โจทก์เดือนละครั้งแต่เมื่อถึงกำหนดงวดวันที่ระบุไว้ในสัญญาในวันที่21 เมษายน 2537 จำเลยไม่ชำระ จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันที่ 22 เมษายน 2537 เป็นต้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่งมิใช่ผิดนัดตั้งแต่วันที่ตกลงทำสัญญาให้คิดดอกเบี้ยฝ่าฝืนกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2161/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ร่วมสามีภริยาจากการกู้ยืมและจำนองทรัพย์สิน แม้ภริยาไม่ได้กู้โดยตรง แต่ให้ความยินยอมและสัตยาบันถือเป็นลูกหนี้ร่วม
แม้หนี้เงินกู้ซึ่ง อ. สามีจำเลยกู้ยืมจากโจทก์เป็นหนี้ที่ อ. ก่อขึ้นในระหว่างสมรสเพื่อประโยชน์ของอ.ฝ่ายเดียวก็ตามแต่จำเลยก็ยินยอมให้อ. กู้ยืมเงินดังกล่าวจากโจทก์ การที่จำเลยได้ร่วมรับรู้ถึงหนี้เงินกู้ที่ อ. ได้ก่อให้เกิดขึ้นและจำเลยได้ให้สัตยาบันในหนี้ดังกล่าว หนี้นั้นจึงเป็นหนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490(4) จำเลย ในฐานะภริยาย่อมต้องร่วมกับ อ. ผู้เป็นสามีรับผิดชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าวให้แก่โจทก์ หลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่งมิใช่แบบของนิติกรรม ทั้งกฎหมายก็มิได้บัญญัติว่าหลักฐาน ดังกล่าวจะต้องมีในขณะที่ให้กู้ยืม หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็น หนังสือจึงอาจมีก่อนหรือหลังการกู้ยืมเงินก็ได้ หนี้เงินกู้ที่ อ. กู้ยืมจากโจทก์เป็นหนี้ที่ อ. และจำเลยภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันต่อโจทก์ การที่ อ. สามีจำเลยยินยอมให้จำเลยจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ประกันเงินกู้ โดย อ. ทำนิติกรรมยืมเงินจากโจทก์และตามหนังสือให้ความยินยอมดังกล่าว อ. ได้ลงลายมือชื่อไว้ด้วย ดังนั้น หนังสือให้ความยินยอมจึงเป็นหลักฐาน แห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือแล้ว กรณีไม่จำเป็นต้องมี หลักฐานแห่งการกู้ยืมของจำเลยซ้ำอีก ดังนี้ เมื่อ อ. ผิดนัดจำเลยจึงต้องรับผิดชำระหนี้ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินต่อโจทก์ แม้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพื่อ เป็นประกันการกู้ยืมเงินที่จำเลยเอาไปจากโจทก์ก็ตามแต่การนำสืบถึงหนี้ตามคำฟ้องโจทก์ย่อมต้องนำสืบถึงที่มาแห่งหนี้ โดยละเอียดว่าหนี้เงินกู้ดังกล่าวมีมูลมาอย่างไรการที่โจทก์ นำสืบว่าการกู้ยืมเงินดังกล่าวมีมูลหนี้เดิมมาจาก อ. สามีจำเลยเป็นผู้กู้ยืมโดยจำเลยให้ความยินยอม และจำเลยยอม จดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้ดังกล่าว ซึ่งเป็นหนี้ที่ อ. และจำเลยเป็นลูกหนี้ร่วมกันเช่นนี้จึงเป็นการนำสืบตามประเด็นแห่งคดี มิใช่เป็นการนำสืบนอกประเด็น แม้ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินระบุให้คิดดอกเบี้ยในหนี้จำนอง อัตราร้อยละ 16 ต่อปี และตกลงนำส่งดอกเบี้ยเดือนละครั้งเสมอไป จะเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3 ก็ตาม แต่เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2537 จำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ต่อมาวันที่ 21 มีนาคม 2537 อ. ชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยให้แก่โจทก์หลังจากนั้น อ. และจำเลยมิได้ชำระหนี้ให้โจทก์อีก เมื่อจำเลยตกลงชำระดอกเบี้ยให้โจทก์เดือนละครั้ง แต่เมื่อถึงกำหนดงวด วันที่ 21 เมษายน 2537 จำเลยไม่ชำระ จำเลยจึงตกเป็น ผู้ผิดนัดจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 22 เมษายน 2537 เป็นต้นไปตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง มิใช่ผิดนัด ตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2537

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2161/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ร่วมสามีภริยาจากการกู้ยืม และผลของการผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาจำนอง
แม้หนี้เงินกู้ซึ่ง อ.สามีจำเลยกู้ยืมจากโจทก์ เป็นหนี้ที่ อ.ก่อขึ้นในระหว่างสมรสเพื่อประโยชน์ของ อ.ฝ่ายเดียวก็ตาม แต่จำเลยก็ยินยอมให้ อ.กู้ยืมเงินดังกล่าวจากโจทก์ การที่จำเลยได้ร่วมรับรู้ถึงหนี้เงินกู้ที่ อ.ได้ก่อให้เกิดขึ้นและจำเลยได้ให้สัตยาบันในหนี้ดังกล่าว หนี้นั้นจึงเป็นหนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันตาม ป.พ.พ.มาตรา 1490 (4) จำเลยในฐานะภริยาย่อมต้องร่วมกับ อ.ผู้เป็นสามีรับผิดชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าวให้แก่โจทก์
หลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ.มาตรา 653วรรคหนึ่ง มิใช่แบบของนิติกรรม ทั้งกฎหมายก็มิได้บัญญัติว่าหลักฐานดังกล่าวจะต้องมีในขณะที่ให้กู้ยืม หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือจึงอาจมีก่อนหรือหลังการกู้ยืมเงินก็ได้
หนี้เงินกู้ที่ อ.กู้ยืมจากโจทก์เป็นหนี้ที่ อ.และจำเลยภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันต่อโจทก์ การที่ อ.สามีจำเลยยินยอมให้จำเลยจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างประกันเงินกู้ โดย อ.ทำนิติกรรมยืมเงินจากโจทก์ และตามหนังสือให้ความยินยอมดังกล่าว อ.ได้ลงลายมือชื่อไว้ด้วย ดังนั้น หนังสือให้ความยินยอมจึงเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือแล้ว กรณีไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมของจำเลยซ้ำอีก ดังนี้ เมื่อ อ.ผิดนัด จำเลยจึงต้องรับผิดชำระหนี้ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินต่อโจทก์
แม้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพื่อเป็นประกันการกู้ยืมเงินที่จำเลยเอาไปจากโจทก์ก็ตาม แต่การนำสืบถึงหนี้ตามคำฟ้องโจทก์ย่อมต้องนำสืบถึงที่มาแห่งหนี้โดยละเอียดว่าหนี้เงินกู้ดังกล่าวมีมูลมาอย่างไรการที่โจทก์นำสืบว่าการกู้ยืมเงินดังกล่าวมีมูลหนี้เดิมมาจาก อ.สามีจำเลยเป็นผู้กู้ยืมโดยจำเลยให้ความยินยอม และจำเลยยอมจดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้ดังกล่าว ซึ่งเป็นหนี้ที่ อ.และจำเลยเป็นลูกหนี้ร่วมกันเช่นนี้ จึงเป็นการนำสืบตามประเด็นแห่งคดี มิใช่เป็นการนำสืบนอกประเด็น
แม้ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินระบุให้คิดดอกเบี้ยในหนี้จำนองอัตราร้อยละ 16 ต่อปี และตกลงนำส่งดอกเบี้ยเดือนละครั้งเสมอไป จะเป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 ก็ตาม แต่เมื่อวันที่ 22กุมภาพันธ์ 2537 จำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ต่อมาวันที่ 21มีนาคม 2537 อ.ชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ หลังจากนั้น อ.และจำเลยมิได้ชำระหนี้ให้โจทก์อีก เมื่อจำเลยตกลงชำระดอกเบี้ยให้โจทก์เดือนละครั้ง แต่เมื่อถึงกำหนดงวดวันที่ 21 เมษายน 2537 จำเลยไม่ชำระ จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 22 เมษายน 2537เป็นต้นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง มิใช่ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2537

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1947/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ซื้อมีหน้าที่ตรวจสอบสภาพที่ดินก่อนประมูล เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ต้องรับผิดชอบ
ประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดีเรื่องการขายทอดตลาดที่ดินได้ระบุที่ดินที่จะขายที่ดินระวาง เลขที่ดิน หน้าสำรวจ เลขที่โฉนด แขวง เขต ที่ที่ดินตั้งอยู่ซึ่งมีชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ โดยระบุเนื้อที่ตามโฉนดขนาดกว้างยาวของที่ดินทั้งสี่ด้าน รวมทั้งรายชื่อเจ้าของที่ดินทั้งสี่ทิศ กับระบุว่าเป็นที่ว่างเปล่ารถยนต์เข้าถึงทั้งได้ระบุการไป ให้ดูตามแผนที่สังเขปท้ายประกาศ กับมีคำเตือนผู้ซื้อว่า การรอนสิทธิค่าภาษีอากรต่าง ๆ เรื่องเขตเนื้อที่ กับระบุว่า การบอกประเภทและสภาพของทรัพย์เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่รับรองและไม่รับผิดชอบ เป็นหน้าที่ของผู้ซื้อที่จะต้องไปตรวจสอบสถานที่ด้วยตนเอง ดังนี้ ประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าวได้ระบุข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับที่ดินที่จะขายพอสมควรแก่กรณีแล้ว หากผู้ซื้อมีความสงสัยหรือต้องการทราบรายละเอียดสิ่งใดเพิ่มเติม ก็ย่อมสามารถตรวจสอบสภาพที่ดินตลอดจนหลักฐานของทางราชการได้ก่อนทำการประมูล
ผู้ร้องได้ทราบข่าวการประกาศขายทอดตลาดที่ดินของเจ้าพนักงานบังคับคดีมาก่อน และผู้ร้องได้ซื้อประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดีมาดูรายละเอียดจนทราบที่ตั้งของที่ดินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาด กับผู้ร้องได้ขับรถยนต์ไปดูที่ดินเห็นที่ดินแปลงอื่นซึ่งอยู่ห่างจากถนนประมาณ 150 เมตร ตามแผนที่ท้ายประกาศ ก็เข้าใจว่าเป็นที่ดินแปลงที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาด เมื่อผู้ร้องทราบว่ามีการประกาศขายทอดตลาดที่ดินพิพาทตั้งแต่เดือนธันวาคม 2537 จนถึงวันที่ประมูลที่ดินได้เป็นเวลาเกือบ 6 เดือน ผู้ร้องย่อมมีเวลาสามารถตรวจสอบที่ดินได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน การที่ผู้ร้องไม่ได้ทำการตรวจสอบสภาพที่ดิน ตำแหน่งที่ดินที่ขายทอดตลาดให้ดีก่อนทำการประมูล จึงเป็นความบกพร่องของผู้ร้องเอง เพราะตามประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ระบุคำเตือนผู้ซื้อไว้แล้วว่า เรื่องเขตเนื้อที่ ประเภทและสภาพของทรัพย์เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่รับรองและไม่รับผิดชอบ เป็นหน้าที่ผู้ซื้อที่จะต้องไปตรวจสอบสถานที่ด้วยตนเอง เช่นนี้ฟังไม่ได้ว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการบังคับคดีผู้ร้องย่อมไม่อาจร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดได้
หลังจากไต่สวนพยานผู้ร้องมาแล้ว 3 ปาก ศาลชั้นต้นตรวจสำนวนแล้วปรากฏว่า โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายตาม ป.วิ.พ.มาตรา 24 ตามคำร้องและคำแถลงคัดค้านของผู้ร้อง แล้วศาลชั้นต้นเห็นว่าพยานหลักฐานที่ผู้ร้องไต่สวนมาพอวินิจฉัยคำร้องได้แล้ว จึงให้งดการไต่สวนคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นการใช้ดุลพินิจพิเคราะห์พยานหลักฐานในคดีประกอบกับข้อที่โจทก์ขอให้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายโดยฟังว่าคดีพอวินิจฉัยได้แล้วจึงให้งดสืบพยาน คำสั่งศาลชั้นต้นในกรณีนี้จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1947/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประมูลขายทอดตลาดที่ดิน: ความรับผิดชอบของผู้ซื้อในการตรวจสอบสภาพที่ดิน และความชอบด้วยกฎหมายของการบังคับคดี
ประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดีเรื่องการขายทอดตลาด ที่ดินได้ระบุที่ดินที่จะขายที่ดินระวาง เลขที่ดิน หน้าสำรวจ เลขที่โฉนด แขวง เขต ที่ที่ดินตั้งอยู่ซึ่งมีชื่อจำเลย เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ โดยระบุเนื้อที่ตามโฉนดขนาดกว้างยาว ของที่ดินทั้งสี่ด้าน รวมทั้งรายชื่อเจ้าของที่ดินทั้งสี่ทิศ กับระบุว่าเป็นที่ว่างเปล่ารถยนต์เข้าถึงทั้งได้ระบุการไป ให้ดูตามแผนที่สังเขปท้ายประกาศ กับมีคำเตือนผู้ซื้อว่า การรอนสิทธิค่าภาษีอากรต่าง ๆ เรื่องเขตเนื้อที่ กับระบุว่า การบอกประเภทและสภาพของทรัพย์เจ้าพนักงานบังคับคดี ไม่รับรองและไม่รับผิดชอบ เป็นหน้าที่ของผู้ซื้อที่จะต้อง ไปตรวจสอบสถานที่ด้วยตนเอง ดังนี้ ประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดี ดังกล่าวได้ระบุข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับที่ดินที่จะขายพอสมควร แก่กรณีแล้ว หากผู้ซื้อมีความสงสัยหรือต้องการทราบรายละเอียด สิ่งใดเพิ่มเติม ก็ย่อมสามารถตรวจสอบสภาพที่ดินตลอดจน หลักฐานของทางราชการได้ก่อนทำการประมูล ผู้ร้องได้ทราบข่าวการประกาศขายทอดตลาดที่ดินของเจ้าพนักงานบังคับคดีมาก่อน และผู้ร้องได้ซื้อประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดีมาดูรายละเอียดจนทราบที่ตั้งของที่ดินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาด กับผู้ร้อง ได้ขับรถยนต์ไปดูที่ดินเห็นที่ดินแปลงอื่นซึ่งอยู่ห่างจากถนนประมาณ 150 เมตร ตามแผนที่ท้ายประกาศ ก็เข้าใจว่าเป็นที่ดิน แปลงที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาด เมื่อผู้ร้อง ทราบว่ามีการประกาศขายทอดตลาดที่ดินพิพาทตั้งแต่เดือนธันวาคม 2537จนถึงวันที่ประมูลที่ดินได้เป็นเวลาเกือบ 6 เดือน ผู้ร้องย่อมมีเวลาสามารถตรวจสอบที่ดินได้อย่างละเอียดถี่ ถ้วน การที่ผู้ร้องไม่ได้ทำการตรวจสอบสภาพที่ดิน ตำแหน่งที่ดินที่ขายทอดตลาด ให้ดีก่อนทำการประมูล จึงเป็นความบกพร่องของผู้ร้องเอง เพราะตามประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ระบุคำเตือนผู้ซื้อ ไว้แล้วว่า เรื่องเขตเนื้อที่ ประเภทและสภาพของทรัพย์ เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่รับรองและไม่รับผิดชอบ เป็นหน้าที่ ผู้ซื้อที่จะต้องไปตรวจสอบสถานที่ด้วยตนเอง เช่นนี้ฟังไม่ได้ว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ ของกฎหมายว่าด้วยการบังคับคดีผู้ร้องย่อมไม่อาจร้องขอให้ เพิกถอนการขายทอดตลาดได้ หลังจากไต่สวนพยานผู้ร้องมาแล้ว 3 ปาก ศาลชั้นต้นตรวจสำนวนแล้วปรากฏว่า โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัย ชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ตามคำร้อง และคำแถลงคัดค้านของผู้ร้อง แล้วศาลชั้นต้นเห็นว่าพยานหลักฐาน ที่ผู้ร้องไต่สวนมาพอวินิจฉัยคำร้องได้แล้ว จึงให้งดการไต่สวน คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นการใช้ดุลพินิจพิเคราะห์ พยานหลักฐานในคดีประกอบกับข้อที่โจทก์ขอให้วินิจฉัยชี้ขาด เบื้องต้นในข้อกฎหมายโดยฟังว่าคดีพอวินิจฉัยได้แล้วจึงให้งดสืบพยาน คำสั่งศาลชั้นต้นในกรณีนี้จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1947/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประมูลขายทอดตลาด: ผู้ซื้อต้องตรวจสอบสภาพที่ดินเอง ศาลไม่รับเพิกถอนกรณีสำคัญผิด
ประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดีเรื่องการขายทอดตลาดที่ดินได้ระบุที่ดินที่จะขายที่ดินระวาง เลขที่ดิน หน้าสำรวจเลขที่โฉนด แขวง เขต ที่ที่ดินตั้งอยู่ ซึ่งมีชื่อจำเลยที่ 2เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ โดยระบุเนื้อที่ตามโฉนดขนาดกว้างยาวของที่ดินทั้งสี่ด้าน รวมทั้งรายชื่อเจ้าของที่ดินทั้งสี่ทิศกับระบุว่าเป็นที่ว่างเปล่ารถยนต์เข้าถึง ทั้งได้ระบุการไปที่ดินตามแผนที่สังเขปท้ายประกาศ กับมีคำเตือนผู้ซื้อว่า การรอนสิทธิ ค่าภาษีอากรต่าง ๆ เรื่องเขตเนื้อที่การบอกประเภทและสภาพของทรัพย์ เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่รับรองและไม่รับผิดชอบเป็นหน้าที่ของผู้ซื้อที่จะต้องไปตรวจสอบสถานที่ด้วยตนเอง เห็นได้ว่า ประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าวได้ระบุข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับที่ดินที่จะขายพอสมควรแก่กรณีแล้ว หากผู้ซื้อมีความสงสัยหรือต้องการทราบรายละเอียดสิ่งใดเพิ่มเติม ก็ย่อมสามารถตรวจสอบสภาพที่ดินตลอดจนหลักฐานของทางราชการได้ก่อนทำการ ประมูล ผู้ร้องได้ทราบข่าวการประกาศขายทอดตลาดที่ดิน ของเจ้าพนักงานบังคับคดีมาก่อน และผู้ร้องได้ซื้อประกาศ เจ้าพนักงานบังคับคดีมาดูรายละเอียดจนทราบที่ตั้งของที่ดิน ดังกล่าว กับผู้ร้องได้ขับรถยนต์ไปดูที่ดิน เห็นที่ดิน แปลงหนึ่งห่างจากถนนประมาณ 150 เมตร ตามแผนที่ท้ายประกาศ ก็เข้าใจว่าเป็นที่ดินแปลงที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศ ขายทอดตลาดเมื่อผู้ร้องทราบว่า มีการประกาศขายทอดตลาด ที่ดินพิพาทตั้งแต่เดือนธันวาคม 2537 จนถึงวันที่ประมูลที่ดินได้เป็นเวลาเกือบ 6 เดือน ผู้ร้องย่อมมีเวลาสามารถตรวจสอบ ที่ดินได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน การที่ผู้ร้องไม่ได้ทำการ ตรวจสอบสภาพที่ดิน ตำแหน่งที่ดินที่ขายทอดตลาดให้ดีก่อน ทำการประมูล จึงเป็นความบกพร่องของผู้ร้องเองเพราะ ตามประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ระบุคำเตือนผู้ซื้อไว้แล้วว่า เรื่องเขตเนื้อที่ ประเภทและสภาพของทรัพย์เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่รับรองและไม่รับผิดชอบเป็นหน้าที่ผู้ซื้อที่จะต้องไปตรวจสอบสถานที่ด้วยตนเองเช่นนี้ฟังไม่ได้ว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการบังคับคดีผู้ร้องย่อมไม่อาจร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดได้ หลังจากไต่สวนพยานผู้ร้องมาแล้ว 3 ปาก ศาลชั้นต้นตรวจสำนวนแล้วปรากฏว่า โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ตามคำร้องและคำแถลงคัดค้านของผู้ร้องแล้วเห็นว่า พยานหลักฐานที่ผู้ร้องไต่สวนมาพอวินิจฉัยคำร้องได้แล้ว จึงให้งดการไต่สวน คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว เป็นการใช้ดุลพินิจพิเคราะห์พยานหลักฐานในคดีประกอบกับข้อที่โจทก์ ขอให้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายโดยฟังว่าคดี พอวินิจฉัยได้แล้วจึงให้งดสืบพยาน คำสั่ง ศาลชั้นต้น ในกรณีนี้จึงชอบแล้ว
of 79