พบผลลัพธ์ทั้งหมด 790 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1500/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดสืบพยานในคดีแพ่งหลังมีคำพิพากษาคดีอาญาถึงที่สุดแล้ว ศาลต้องเปิดโอกาสให้คู่ความสืบพยานเพื่อพิสูจน์ประเด็นที่ยังไม่ตัดสิน
คดีอาญาโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานบุกรุก ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 และ 365 โดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยบุกรุกเข้าไปในที่ดินแปลงที่ 35 และแปลงที่ 36 เนื้อที่รวม 25 ไร่ 1 งาน 85 ตารางวา ซึ่งอยู่ภายในเขตที่ดินบางส่วนของนิคมสหกรณ์ที่กันไว้เป็น ที่สาธารณประโยชน์ ประเภทพลเมืองใช้ร่วมกันและโจทก์ได้ ขึ้นทะเบียนเป็นที่สาธารณประโยชน์ตามกฎหมายแล้ว จำเลย ให้การว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทตั้งแต่ปี 2498 และ ทางราชการได้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่จำเลย แล้วก่อนที่ พระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพฯ และ พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสหกรณ์ฯ มีผลใช้บังคับ หากโจทก์ ได้ขึ้นทะเบียนให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ก็ขึ้นทะเบียนโดยมิชอบ คดีจึงมีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยว่าการกันที่ดินพิพาท และขึ้นทะเบียนที่ดินพิพาทเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ซึ่งศาลได้มีคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ถึงที่สุดว่า ที่ดินตามฟ้องเป็นที่ดินที่ไม่ได้จัดสรรให้ราษฎรเข้า ทำประโยชน์ หากแต่เป็นที่ดินที่สงวนไว้สำหรับพลเมือง ใช้ประโยชน์ร่วมกัน จึงยังคงเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ของแผ่นดิน หาใช่เป็นที่ดินที่มีเอกชนเป็นเจ้าของหรือผู้เสียหายมีกรรมสิทธิ์ อย่างเอกชนไม่ คดีส่วนอาญาซึ่งถึงที่สุดดังกล่าวไม่มี ประเด็นโดยตรงว่า การกันที่ดินพิพาทและขึ้นทะเบียนที่ดินพิพาทเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์นั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ดังนั้น ในคดีนี้ซึ่งเป็นคดีส่วนแพ่งจำเลยจึงมีสิทธินำพยานหลักฐานเข้าสืบตามประเด็นดังกล่าวได้ และการพิจารณาคดีนี้ศาลไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษา คดีส่วนอาญา การที่ศาลชั้นต้นให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยจึงมิชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1500/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกันที่ดินเป็นที่สาธารณประโยชน์: ศาลไม่ผูกพันคำพิพากษาคดีอาญา และจำเลยมีสิทธิสืบพยานในคดีแพ่ง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยบุกรุกเข้าไปในที่ดินแปลงที่ 35และแปลงที่ 36 เนื้อที่รวม 25 ไร่ 1 งาน 85 ตารางวา ซึ่งอยู่ภายในเขตที่ดินบางส่วนของนิคมสหกรณ์อำเภอพนาที่โจทก์และสมาชิกนิคมสหกรณ์อำเภอพนาได้ร่วมกันกันไว้เป็นที่สาธารณประโยชน์ ประเภทพลเมืองใช้ร่วมกัน และโจทก์ได้ขึ้นทะเบียนคุมที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวเป็นที่สาธารณประโยชน์ตามกฎหมายแล้ว จำเลยให้การว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทตั้งแต่ พ.ศ.2498 และทางราชการได้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่จำเลยเมื่อ พ.ศ.2503 ก่อนที่พระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 และพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสหกรณ์ในท้องที่อำเภอพนา จังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. 2519 มีผลใช้บังคับหากตัวแทนโจทก์ได้ขึ้นทะเบียนคุมที่ดินทั้งสองแปลงให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ก็ขึ้นทะเบียนโดยมิชอบ จึงมีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยในคดีนี้คือ การกันที่ดินพิพาทและขึ้นทะเบียนที่ดินพิพาทเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ แต่ในคดีอาญาที่จำเลยถูกฟ้องซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้มีคำพิพากษาคดีส่วนอาญาถึงที่สุดแล้ว อ้างเหตุผลที่ยกฟ้องในฐานความผิดตาม ป.อ.มาตรา 362 และ365 ว่า ที่ดินตามฟ้องเป็นที่ดินที่ไม่ได้จัดสรรให้ราษฎรเข้าทำประโยชน์ เป็นที่ดินที่สงวนไว้สำหรับพลเมืองใช้ประโยชน์ร่วมกัน ที่ดินตามฟ้องจึงยังคงเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ของแผ่นดิน หาใช่เป็นที่ดินที่มีเอกชนเป็นเจ้าของหรือกรมส่งเสริมสหกรณ์ผู้เสียหายมีกรรมสิทธิ์อย่างเอกชนไม่ คดีส่วนอาญาซึ่งถึงที่สุดดังกล่าวไม่มีประเด็นโดยตรงว่า การกันที่ดินพิพาทและขึ้นทะเบียนที่ดินพิพาทเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์นั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ดังนั้น ในคดีนี้ซึ่งเป็นคดีส่วนแพ่ง จำเลยจึงมีสิทธินำพยานหลักฐานเข้าสืบตามประเด็นดังกล่าวได้ และการพิจารณาคดีนี้ศาลไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยจึงมิชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1277/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนคดี – ดุลพินิจศาล – เจตนาประวิงคดี – การตรวจอาการป่วยของทนาย
คู่ความจะร้องขอเลื่อนคดีติดต่อกันได้ ต้องเป็นกรณีที่มี เหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 40 วรรคหนึ่งและการอนุญาตให้เลื่อนคดีหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาลแม้ตามคำร้องทนายจำเลยอ้างว่าปวดศีรษะแต่ไม่มี ใบรับรองแพทย์มาแสดงว่าเป็นความเจ็บป่วยจนถึงกับไม่สามารถ มาศาลได้ นอกจากนี้ ทนายจำเลยก็ไม่ได้แสดงให้เป็นที่พอใจ ของศาลชั้นต้นว่าถ้าศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปอีก จะทำให้เสียความยุติธรรม ตามพฤติการณ์แสดงว่าจำเลย มีเจตนาหน่วงเหนี่ยวให้คดีล่าช้าปราศจากเหตุอันสมควร จึงเป็นการประวิงคดี ศาลชั้นต้นจะตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือแพทย์ไปตรวจอาการ เจ็บป่วยของทนายจำเลยว่าทนายจำเลยป่วยจริงหรือไม่ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 41 วรรคหนึ่ง ต้องเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอ ศาลชั้นต้นจึงจะมีคำสั่งได้ แต่กรณีไม่มีคู่ความฝ่ายใดร้องขอ การที่ศาลชั้นต้น พิจารณาถึงพฤติการณ์ต่าง ๆ และเห็นว่าทนายจำเลยยังสามารถ ว่าความได้ ไม่เชื่อว่าทนายจำเลยป่วยจริงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจว่าไม่สมควรมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือแพทย์ ไปตรวจอาการเจ็บป่วยของทนายจำเลย ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะ ไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและงดสืบพยานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1149/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประวิงคดีโดยจำเลยและทนายความ ศาลมีสิทธิงดสืบพยานได้
ในระหว่างนัดสืบพยานจำเลยทั้งสาม ทนายจำเลยที่ 1และที่ 2 ได้ขอเลื่อนคดีมาแล้วรวม 3 ครั้งติดต่อกันนัดที่หนึ่งอ้างเหตุว่า ตัวจำเลยที่ 1 ติดธุระสำคัญที่กรุงเทพฯ นัดที่สองอ้างว่า ทนายจำเลยที่ 1 และที่ 2ติดธุระที่จังหวัดพิษณุโลก และนัดที่สามอ้างว่าทนายจำเลยที่ 1และที่ 2 มีอาการป่วย สำหรับนัดที่สี่ทนายจำเลยที่ 1และที่ 2 แถลงขอเลื่อนคดีอีกอ้างว่า ไม่สามารถติดตามพยานมาได้ทั้ง ๆ ที่ในวันนัดสืบพยานจำเลยนัดที่สามนั้นศาลชั้นต้นได้กำชับว่า นัดหน้าให้จำเลยทั้งสามเตรียมพยานมาให้พร้อม หากมีการขอเลื่อนคดีเพราะเหตุขัดข้องทางฝ่ายจำเลยอีก จะถือว่าประวิงคดีและศาลจะสั่งงดสืบพยานจำเลยเสีย ซึ่งทนายจำเลยที่ 2 ก็ยอมรับเงื่อนไขตามคำสั่งของศาลดังกล่าว พฤติการณ์ของทนายจำเลยที่ 2 ส่อแสดงถึงความไม่เอาใจใส่คดีของตนที่ทำหน้าที่อยู่ กับไม่นำพาต่อคำสั่งศาลที่กำชับนั้น เพราะถ้าหากสนใจคดีแล้วทนายจำเลยที่ 2ก็ย่อมติดต่อหรือนำตัวพยานมาสืบในวันนัดได้แต่หาได้ดำเนินการเช่นนั้นไม่ กลับจะขอเลื่อนคดีไปเรื่อย ๆ โดยไร้จุดมุ่งหมายถือว่าจำเลยที่ 2 ประวิงคดีให้ชักช้า ทั้งเหตุที่ทนายจำเลยที่ 2อ้างขอเลื่อนคดีเป็นนัดที่สี่ดังกล่าวก็มิใช่เหตุเกิดจากความเจ็บป่วยของทนายจำเลยที่ 2 จนไม่อาจดำเนินคดีได้จึงไม่เป็นกรณีมีความจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ดังนั้น คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่ให้เลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยที่ 2 ชอบแล้ว ความตามมาตรา 40 ตอนท้ายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งซึ่งบัญญัติว่า ถ้าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนต่อไปอีก จะทำให้เสียความยุติธรรมนั้น ต้องพิจารณาการกระทำหรือการดำเนินคดีของจำเลยที่ 2 ทั้งมวลประกอบการพิจารณาด้วย มิใช่ว่าศาลต้องเลื่อนคดีไปตามเหตุซึ่งจำเลยที่ 2 จะยกขึ้นอย่างไรก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6624/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการได้รับเงินค่าทดแทนเวนคืนจำกัดเฉพาะผู้เสียสิทธิทางจำเป็น ไม่รวมผู้มีภารจำยอม
ที่ดินของ ซ. ถูกเวนคืน เป็นเหตุให้จำเลยเสียสิทธิในการใช้ทางภารจำยอมในที่ดินดังกล่าว ไม่ว่าจำเลยจะได้จ่ายค่าทดแทนในการใช้ทางภารจำยอมนั้นแก่ ซ. หรือไม่ก็ตามจำเลยก็ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 18(6) เนื่องจาก มาตราดังกล่าวกำหนดบุคคลที่มีสิทธิได้รับค่าทดแทน คือ เฉพาะบุคคลผู้เสียสิทธิในการใช้ทางผ่านที่ดินที่ต้องเวนคืน ในฐานะที่เป็นทางจำเป็นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 และบุคคลนั้นได้จ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่ซึ่งได้ถูกเวนคืนเท่านั้นมิได้หมายความรวม ถึงบุคคลผู้เสียสิทธิในการใช้ทางภารจำยอมตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1387 ถึงมาตรา 1401ดังกรณีของโจทก์แต่อย่างใด ทั้งเมื่อข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำฟ้องและคำให้การเพียงพอที่จะวินิจฉัยได้ คดีไม่จำต้องสืบพยานโจทก์จำเลยต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5722/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องและการอายัดเงินค่างาน: ศาลมีอำนาจงดการไต่สวนหากไม่เกี่ยวข้องกับประเด็น
ตามคำแถลงของโจทก์ โจทก์มิได้กล่าวถึงเรื่องตามที่ โจทก์ฎีกาว่า ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 261 วรรคแรก ได้บัญญัติไว้แต่เฉพาะจำเลยที่อาจมีคำขอต่อศาลให้ถอนหมายยึดหรืออายัดหรือคำสั่งห้ามหรือสั่งอื่นใดเช่นว่านั้น แต่ไม่ได้กล่าวถึงบุคคลภายนอกหรือผู้ร้อง ส่วนคำว่าบุคคลภายนอก ตามมาตรา 312 วรรคแรกหมายถึงบุคคลที่ได้รับหมายอายัด หรือ ส. ซึ่งมิใช่ผู้ร้องการใช้ดุลพินิจและมีคำสั่งของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จึงยังไม่ถูกต้อง และในชั้นอุทธรณ์โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องอุทธรณ์ ไว้แต่เพียงว่า ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 261 บัญญัติว่า"จำเลยหรือบุคคลภายนอก" การยื่นคำร้องคัดค้านของผู้ร้องจึงต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 288 โดยอนุโลม ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงคนละอย่างกับฎีกา ของโจทก์ดังกล่าว ฎีกาโจทก์ข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาที่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคแรก เมื่อค่างานในงวดที่ 5 เกิดขึ้นจากสิทธิเรียกร้องค่าจ้างงานที่จำเลยมีต่อ ส. และสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจำเลยได้โอนให้ผู้ร้องโดยชอบไปแล้วตั้งแต่ก่อนที่โจทก์จะยื่นฟ้องจำเลยคดีนี้เป็นเวลา 7 เดือนเศษ อีกทั้งผู้ร้องได้รับเงินค่างวดการจ้างงานไปก่อนแล้วถึง 4 งวดโดยเงินทุกงวดก็ต้องถือเป็นเงินอันเกิดจากสิทธิเรียกร้องซึ่งเป็นของผู้ร้องโดยแท้เช่นเดียวกัน ผู้ร้องจึงยังคงมีสิทธิได้รับเงินค่าจ้างงานในงวดที่ 5 อย่างเช่นในงวดก่อน ๆ เหมือนเดิม โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิขออายัดเงินค่างาน ในงวดที่ 5 ดังกล่าว แม้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 288 วรรคสอง บัญญัติให้ศาลพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีเหมือนอย่างคดีธรรมดา หรือตามมาตรา 312 บัญญัติให้ศาลอาจทำการไต่สวนก็ตาม แต่ก็เป็นดุลพินิจของศาลในอันที่จะ ฟังว่าคดีใดไม่สมควรสืบพยานเพราะไม่เกี่ยวแก่ประเด็น หรือเป็นการประวิงให้ชักช้า หรือฟุ่มเฟือยเกินสมควร ศาลก็มีอำนาจงดการสืบพยานหลักฐานเช่นว่านั้นหรืองดการ ไต่สวนเสียได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรคสอง โดยให้ถือว่าคดีเสร็จการพิจารณา และพิพากษาคดีไปตามนั้นตามมาตรา 37
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5722/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการรับเงินค่างานของผู้รับโอนสิทธิเรียกร้อง และการห้ามฎีกาประเด็นใหม่ที่ไม่เคยว่ากันในศาลล่าง
ตามคำแถลงของโจทก์ โจทก์มิได้กล่าวถึงเรื่องตามที่โจทก์ฎีกาว่า ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 261 วรรคแรก ได้บัญญัติไว้แต่เฉพาะจำเลยที่อาจมีคำขอต่อศาลให้ถอนหมายยึดหรืออายัดหรือคำสั่งห้ามหรือสั่งอื่นใดเช่นว่านั้น แต่ไม่ได้กล่าวถึงบุคคลภายนอกหรือผู้ร้อง ส่วนคำว่าบุคคลภายนอก ตามมาตรา 312วรรคแรก หมายถึงบุคคลที่ได้รับหมายอายัด หรือ ส. ซึ่งมิใช่ผู้ร้อง การใช้ดุลพินิจและมีคำสั่งของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จึงยังไม่ถูกต้อง และในชั้นอุทธรณ์โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องอุทธรณ์ ไว้แต่เพียงว่า ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 261 บัญญัติว่า"จำเลยหรือบุคคลภายนอก..." การยื่นคำร้องคัดค้านของผู้ร้องจึงต้องดำเนินการตาม ป.วิ.พ.มาตรา 288 โดยอนุโลม ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงคนละอย่างกับฎีกาของโจทก์ดังกล่าว ฎีกาโจทก์ข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาที่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคแรก
เมื่อค่างานในงวดที่ 5 เกิดขึ้นจากสิทธิเรียกร้องค่าจ้างงานที่จำเลยมีต่อ ส. และสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจำเลยได้โอนให้ผู้ร้องโดยชอบไปแล้วตั้งแต่ก่อนที่โจทก์จะยื่นฟ้องจำเลยคดีนี้เป็นเวลา 7 เดือนเศษ อีกทั้งผู้ร้องได้รับเงินค่างวดการจ้างงานไปก่อนแล้วถึง 4 งวด โดยเงินทุกงวดก็ต้องถือเป็นเงินอันเกิดจากสิทธิเรียกร้องซึ่งเป็นของผู้ร้องโดยแท้เช่นเดียวกัน ผู้ร้องจึงยังคงมีสิทธิได้รับเงินค่าจ้างงานในงวดที่ 5 อย่างเช่นในงวดก่อน ๆ เหมือนเดิม โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิขออายัดเงินค่างานในงวดที่ 5 ดังกล่าว
แม้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 288 วรรคสอง บัญญัติให้ศาลพิจารณาและชี้ขาดคัดสินคดีเหมือนอย่างคดีธรรมดา หรือตามมาตรา 312 บัญญัติให้ศาลอาจทำการไต่สวนก็ตาม แต่ก็เป็นดุลพินิจของศาลในอันที่จะฟังว่าคดีใดไม่สมควรสืบพยานเพราะไม่เกี่ยวแก่ประเด็นหรือเป็นการประวิงให้ชักช้า หรือฟุ่มเฟือยเกินสมควร ศาลก็มีอำนาจงดการสืบพยานหลักฐานเช่นว่านั้นหรืองดการไต่สวนเสียได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 86 วรรคสอง โดยให้ถือว่าคดีเสร็จการพิจารณาและพิพากษาคดีไปตามนั้นตามมาตรา 37
เมื่อค่างานในงวดที่ 5 เกิดขึ้นจากสิทธิเรียกร้องค่าจ้างงานที่จำเลยมีต่อ ส. และสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจำเลยได้โอนให้ผู้ร้องโดยชอบไปแล้วตั้งแต่ก่อนที่โจทก์จะยื่นฟ้องจำเลยคดีนี้เป็นเวลา 7 เดือนเศษ อีกทั้งผู้ร้องได้รับเงินค่างวดการจ้างงานไปก่อนแล้วถึง 4 งวด โดยเงินทุกงวดก็ต้องถือเป็นเงินอันเกิดจากสิทธิเรียกร้องซึ่งเป็นของผู้ร้องโดยแท้เช่นเดียวกัน ผู้ร้องจึงยังคงมีสิทธิได้รับเงินค่าจ้างงานในงวดที่ 5 อย่างเช่นในงวดก่อน ๆ เหมือนเดิม โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิขออายัดเงินค่างานในงวดที่ 5 ดังกล่าว
แม้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 288 วรรคสอง บัญญัติให้ศาลพิจารณาและชี้ขาดคัดสินคดีเหมือนอย่างคดีธรรมดา หรือตามมาตรา 312 บัญญัติให้ศาลอาจทำการไต่สวนก็ตาม แต่ก็เป็นดุลพินิจของศาลในอันที่จะฟังว่าคดีใดไม่สมควรสืบพยานเพราะไม่เกี่ยวแก่ประเด็นหรือเป็นการประวิงให้ชักช้า หรือฟุ่มเฟือยเกินสมควร ศาลก็มีอำนาจงดการสืบพยานหลักฐานเช่นว่านั้นหรืองดการไต่สวนเสียได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 86 วรรคสอง โดยให้ถือว่าคดีเสร็จการพิจารณาและพิพากษาคดีไปตามนั้นตามมาตรา 37
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5626/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินรวมและการพิพากษาตามข้อตกลงของคู่ความ ศาลสามารถงดสืบพยานและพิพากษาตามที่ตกลงกันได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 104ให้อำนาจแก่ศาลที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่จำเลยและโจทก์นำเข้าสู่กระบวนพิจารณานั้นเป็นการเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีหรือไม่ คดีนี้ศาลชั้นต้นได้ดำเนิน กระบวนพิจารณาอันเป็นสาระสำคัญ โดยสั่งให้ทำแผนที่ วิวาทตามที่คู่ความนำชี้ เมื่อคู่ความแถลงรับว่าแผนที่ วิวาทถูกต้อง และแถลงรับข้อเท็จจริงต่อศาลชั้นต้น ก็เป็น การเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดี การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง งดสืบพยานทั้งสองฝ่าย จึงเป็นการใช้อำนาจศาลตามกฎหมายภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2534 ซึ่งใช้บังคับอยู่ ในขณะนั้นและเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยไปรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างโจทก์กับจำเลยยังมิได้แบ่งแยกกรรมสิทธิ์ กันเป็นส่วนสัด เมื่อโจทก์และจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมโดยมิได้แบ่งแยกการครอบครองกันเป็นส่วนสัด ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามส่วน โดยกำหนดวิธีการแบ่งตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 บัญญัติไว้ได้ไม่เป็นการพิพากษานอกประเด็น หรือพิพากษาเกินคำขอ โจทก์และจำเลยตกลงกันให้โจทก์ครอบครองที่ดินที่เป็น กรรมสิทธิ์รวมด้านทิศเหนือและจำเลยครอบครองด้านทิศใต้ ตามแผนที่วิวาทซึ่งคู่ความรับว่าถูกต้องและจำเลยได้ปลูกบ้าน อยู่ในที่ดินพิพาททางด้านทิศใต้แล้ว หากจะให้เอาที่ดิน พิพาทประมูลขายทอดตลาดแล้วเอาเงินแบ่งให้โจทก์ จำเลยตามส่วนตามบทบัญญัติของกฎหมาย จำเลยอาจ ได้รับความเดือดร้อน ดังนี้ศาลให้แบ่งแยกที่ดินพิพาทตามแนว แผนที่วิวาทดังกล่าว โจทก์ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์ในฐานะเจ้าของรวมจำเลยให้การกล่าวแก้ว่าวิธีการแบ่งทรัพย์ตามที่โจทก์บรรยายฟ้องนั้นไม่ถูกต้อง ขอให้ยกฟ้องมิได้ขอ บังคับให้ที่ดินส่วนใดเป็นของจำเลยเกินกว่าสิทธิของจำเลยเมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งกรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5626/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการวินิจฉัยพยานหลักฐานเพียงพอ และการแบ่งทรัพย์สินรวมโดยอาศัยแผนที่ที่คู่ความรับรอง
ป.วิ.พ.มาตรา 104 ให้อำนาจแก่ศาลที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่จำเลยและโจทก์นำเข้าสู่กระบวนพิจารณานั้นเป็นการเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีหรือไม่ คดีนี้ศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาอันเป็นสาระสำคัญ โดยสั่งให้ทำแผนที่วิวาทตามที่คู่ความนำชี้ เมื่อคู่ความแถลงรับว่าแผนที่วิวาทถูกต้อง และแถลงรับข้อเท็จจริงต่อศาลชั้นต้น ก็เป็นการเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดี การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานทั้งสองฝ่าย จึงเป็นการใช้อำนาจศาลตามกฎหมายภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นและเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยไปรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างโจทก์กับจำเลยยังมิได้แบ่งแยกกรรมสิทธิ์กันเป็นส่วนสัด เมื่อโจทก์และจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมโดยมิได้แบ่งแยกการครอบครองกันเป็นส่วนสัด ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามส่วน โดยกำหนดวิธีการแบ่งตามที่ ป.พ.พ.มาตรา1364 บัญญัติไว้ได้ ไม่เป็นการพิพากษานอกประเด็น หรือพิพากษาเกินคำขอ
โจทก์และจำเลยตกลงกันให้โจทก์ครอบครองที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์รวมด้านทิศเหนือและจำเลยครอบครองด้านทิศใต้ ตามแผนที่วิวาทซึ่งคู่ความรับว่าถูกต้องและจำเลยได้ปลูกบ้านอยู่ในที่ดินพิพาททางด้านทิศใต้แล้ว หากจะให้เอาที่ดินพิพาทประมูลขายทอดตลาดแล้วเอาเงินแบ่งให้โจทก์จำเลยตามส่วนตามบทบัญญัติของกฎหมาย จำเลยอาจได้รับความเดือดร้อน ดังนี้ศาลให้แบ่งแยกที่ดินพิพาทตามแนวแผนที่วิวาทดังกล่าว
โจทก์ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์ในฐานะเจ้าของรวม จำเลยให้การกล่าวแก้ว่าวิธีการแบ่งทรัพย์ตามที่โจทก์บรรยายฟ้องนั้นไม่ถูกต้อง ขอให้ยกฟ้องมิได้ขอบังคับให้ที่ดินส่วนใดเป็นของจำเลยเกินกว่าสิทธิของจำเลย เมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งกรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยไปรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างโจทก์กับจำเลยยังมิได้แบ่งแยกกรรมสิทธิ์กันเป็นส่วนสัด เมื่อโจทก์และจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมโดยมิได้แบ่งแยกการครอบครองกันเป็นส่วนสัด ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามส่วน โดยกำหนดวิธีการแบ่งตามที่ ป.พ.พ.มาตรา1364 บัญญัติไว้ได้ ไม่เป็นการพิพากษานอกประเด็น หรือพิพากษาเกินคำขอ
โจทก์และจำเลยตกลงกันให้โจทก์ครอบครองที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์รวมด้านทิศเหนือและจำเลยครอบครองด้านทิศใต้ ตามแผนที่วิวาทซึ่งคู่ความรับว่าถูกต้องและจำเลยได้ปลูกบ้านอยู่ในที่ดินพิพาททางด้านทิศใต้แล้ว หากจะให้เอาที่ดินพิพาทประมูลขายทอดตลาดแล้วเอาเงินแบ่งให้โจทก์จำเลยตามส่วนตามบทบัญญัติของกฎหมาย จำเลยอาจได้รับความเดือดร้อน ดังนี้ศาลให้แบ่งแยกที่ดินพิพาทตามแนวแผนที่วิวาทดังกล่าว
โจทก์ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์ในฐานะเจ้าของรวม จำเลยให้การกล่าวแก้ว่าวิธีการแบ่งทรัพย์ตามที่โจทก์บรรยายฟ้องนั้นไม่ถูกต้อง ขอให้ยกฟ้องมิได้ขอบังคับให้ที่ดินส่วนใดเป็นของจำเลยเกินกว่าสิทธิของจำเลย เมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งกรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5392/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดสืบพยานในคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา และหน้าที่การนำสืบมูลหนี้
การที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาจึงมีคำสั่งให้งดสืบพยานแล้วฟังข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาคดีส่วนอาญาและพิพากษาให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ทั้งสี่ เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตามป.วิ.พ.มาตรา 24 ไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 227 จำเลยย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้โดยไม่ต้องโต้แย้งไว้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 226
จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า จำเลยไม่เคยกู้ยืมเงินจากโจทก์ ซึ่งถือได้ว่าจำเลยปฏิเสธว่าไม่มีมูลหนี้ โจทก์จึงยังมีหน้าที่ต้องนำสืบถึงมูลหนี้ตามสัญญากู้เพื่อให้จำเลยรับผิด เมื่อปัญหาว่าหนี้ที่ ม.นำที่ดินโจทก์ไปจำนองธนาคารได้มีการชำระหนี้ให้แก่ธนาคารเสร็จสิ้นไปแล้วหรือไม่ และ ม.นำโฉนดที่ดินมาคืนโจทก์แล้วหรือไม่ ยังไม่เป็นที่ยุติ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์ทั้งสี่และจำเลยแล้วพิพากษาคดีไปโดยยังมิได้ฟังข้อเท็จจริงให้ครบถ้วนเสียก่อน จึงถือว่าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 243 (2) การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ในปัญหาดังกล่าวจึงชอบแล้ว
จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า จำเลยไม่เคยกู้ยืมเงินจากโจทก์ ซึ่งถือได้ว่าจำเลยปฏิเสธว่าไม่มีมูลหนี้ โจทก์จึงยังมีหน้าที่ต้องนำสืบถึงมูลหนี้ตามสัญญากู้เพื่อให้จำเลยรับผิด เมื่อปัญหาว่าหนี้ที่ ม.นำที่ดินโจทก์ไปจำนองธนาคารได้มีการชำระหนี้ให้แก่ธนาคารเสร็จสิ้นไปแล้วหรือไม่ และ ม.นำโฉนดที่ดินมาคืนโจทก์แล้วหรือไม่ ยังไม่เป็นที่ยุติ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์ทั้งสี่และจำเลยแล้วพิพากษาคดีไปโดยยังมิได้ฟังข้อเท็จจริงให้ครบถ้วนเสียก่อน จึงถือว่าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 243 (2) การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ในปัญหาดังกล่าวจึงชอบแล้ว