พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7339/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัยคุ้มครองตลอด: การตีความขอบเขตความคุ้มครองและผลบังคับใช้
สัญญาที่โจทก์ทำกับจำเลยมีข้อตกลงว่าจำเลยจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่โจทก์ในกรณีที่มีวินาศภัยดังที่ระบุไว้เกิดขึ้น และโจทก์ตกลงจะจ่ายเบี้ยประกันภัยให้แก่จำเลย จึงเป็นสัญญาประกันภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 861 สัญญาประกันภัยที่โจทก์กับจำเลยทำไว้ต่อกันมีชื่อเรียกว่าOPENCOVER เพื่อคุ้มครองการขนส่งทางทะเลสำหรับสินค้าที่โจทก์สั่งซื้อจากต่างประเทศโดยโจทก์มีหน้าที่ต้องแจ้งรายละเอียดของสินค้าที่สั่งซื้อทุกครั้งให้จำเลยทราบเพื่อให้จำเลยคำนวณเบี้ยประกันภัย ซึ่งโจทก์จะแจ้งจำเลยหลังจากสินค้าที่สั่งซื้อถูกขนลงเรือประมาณ 2 ถึง 4 สัปดาห์ จำเลยรับชำระเบี้ยประกันภัยไว้ทุกครั้ง และออกใบรับรองตามสัญญาประกันภัยให้โดยมิได้มีการทำสัญญาประกันภัยใหม่ และจำเลยไม่คำนึงว่าขณะโจทก์ชำระเบี้ยประกันภัยสินค้าในเรือจะมีอยู่หรือเรือที่ขนส่งสินค้าจมทะเลไปแล้วสัญญาประกันภัยดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประกันภัยแบบคุ้มครองตลอดที่ให้ความคุ้มครองแก่สินค้าของโจทก์ที่ขนส่งทางทะเลทุกเที่ยวโดยอัตโนมัติ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7339/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญา Open Cover คือสัญญาประกันภัยคุ้มครองตลอดที่ให้ความคุ้มครองโดยอัตโนมัติ แม้ชำระเบี้ยหลังสินค้าลงเรือ
สัญญาที่โจทก์ทำกับจำเลยมีข้อตกลงว่าจำเลยจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่โจทก์ในกรณีที่มีวินาศภัยดังที่ระบุไว้เกิดขึ้น และโจทก์ตกลงจะจ่ายเบี้ยประกันภัยให้แก่จำเลย จึงเป็นสัญญาประกันภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 861
สัญญาประกันภัยที่โจทก์กับจำเลยทำไว้ต่อกันมีชื่อเรียกว่า OPENCOVER เพื่อคุ้มครองการขนส่งทางทะเลสำหรับสินค้าที่โจทก์สั่งซื้อจากต่างประเทศโดยโจทก์มีหน้าที่ต้องแจ้งรายละเอียดของสินค้าที่สั่งซื้อทุกครั้งให้จำเลยทราบเพื่อให้จำเลยคำนวณเบี้ยประกันภัย ซึ่งโจทก์จะแจ้งจำเลยหลังจากสินค้าที่สั่งซื้อถูกขนลงเรือประมาณ 2 ถึง 4 สัปดาห์ จำเลยรับชำระเบี้ยประกันภัยไว้ทุกครั้ง และออกใบรับรองตามสัญญาประกันภัยให้โดยมิได้มีการทำสัญญาประกันภัยกันใหม่ และจำเลยไม่คำนึงว่าขณะโจทก์ชำระเบี้ยประกันภัยสินค้าในเรือจะมีอยู่หรือเรือที่ขนส่งสินค้าจมทะเลไปแล้ว สัญญาประกันภัยดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประกันภัยแบบคุ้มครองตลอดที่ให้ความคุ้มครองแก่สินค้าของโจทก์ที่ขนส่งทางทะเลทุกเที่ยวโดยอัตโนมัติ
สัญญาประกันภัยที่โจทก์กับจำเลยทำไว้ต่อกันมีชื่อเรียกว่า OPENCOVER เพื่อคุ้มครองการขนส่งทางทะเลสำหรับสินค้าที่โจทก์สั่งซื้อจากต่างประเทศโดยโจทก์มีหน้าที่ต้องแจ้งรายละเอียดของสินค้าที่สั่งซื้อทุกครั้งให้จำเลยทราบเพื่อให้จำเลยคำนวณเบี้ยประกันภัย ซึ่งโจทก์จะแจ้งจำเลยหลังจากสินค้าที่สั่งซื้อถูกขนลงเรือประมาณ 2 ถึง 4 สัปดาห์ จำเลยรับชำระเบี้ยประกันภัยไว้ทุกครั้ง และออกใบรับรองตามสัญญาประกันภัยให้โดยมิได้มีการทำสัญญาประกันภัยกันใหม่ และจำเลยไม่คำนึงว่าขณะโจทก์ชำระเบี้ยประกันภัยสินค้าในเรือจะมีอยู่หรือเรือที่ขนส่งสินค้าจมทะเลไปแล้ว สัญญาประกันภัยดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประกันภัยแบบคุ้มครองตลอดที่ให้ความคุ้มครองแก่สินค้าของโจทก์ที่ขนส่งทางทะเลทุกเที่ยวโดยอัตโนมัติ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6649/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องค่าสินไหมทดแทนประกันภัยทะเล – การนำบทบัญญัติใกล้เคียงมาปรับใช้
บริษัท ฟ.ได้ส่งสินค้าให้โจทก์ทางทะเล โดยโจทก์เอาประกันภัยสินค้าดังกล่าวไว้แก่จำเลย การประกันภัยดังกล่าวเป็นสัญญาประกันภัยทะเลตามป.พ.พ.มาตรา 868 ซึ่งจะต้องบังคับตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายทะเล แต่ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายทะเลเกี่ยวกับสัญญาประกันภัยทะเล ทั้งไม่มีจารีตประเพณีเกี่ยวกับสัญญาเช่นว่านั้น เรื่องอายุความฟ้องเรียกให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญา-ประกันภัยในคดีนี้จึงต้องนำ ป.พ.พ.มาตรา 882 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบทบัญญัติในบรรพ 3 ลักษณะ 20 หมวด 2 ว่าด้วยการประกันวินาศภัย อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับคดีตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 4 วรรคสาม (เดิม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6649/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องค่าสินไหมทดแทนประกันภัยทางทะเล กรณีไม่มีกฎหมายเฉพาะ
บริษัท ฟ. ได้ส่งสินค้าให้โจทก์ทางทะเล โดยโจทก์เอาประกันภัยสินค้าดังกล่าวไว้แก่จำเลย การประกันภัยดังกล่าวเป็นสัญญาประกันภัยทะเลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 868 ซึ่งจะต้องบังคับตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายทะเลแต่ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายทะเลเกี่ยวกับสัญญาประกันภัยทะเล ทั้งไม่มีจารีตประเพณีเกี่ยวกับสัญญาเช่นว่านั้น เรื่องอายุความฟ้องเรียกให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยในคดีนี้จึงต้องนำไปประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบทบัญญัติในบรรพ 3 ลักษณะ 20 หมวด 2 ว่าด้วยการประกันวินาศภัย อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับคดีตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 4 วรรคสาม (เดิม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1215/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระเบียบวิธีเสนอคำเรียกร้องประกันภัยทางทะเล มิใช่สาระสำคัญ หากผู้รับประกันภัยเต็มใจรับคำเรียกร้อง ผู้เอาประกันภัยมีสิทธิฟ้องได้
สัญญาประกันภัยการขนส่งทางทะเลมีข้อความว่า "บริษัทจะไม่ยอมรับข้อเรียกร้องใดๆ เว้นไว้แต่จะได้มีการแจ้งความโดยทันทีแก่ผู้ที่กล่าวนามข้างใต้นี้ และได้รับรายงานการสำรวจแล้ว ในกรณีความสูญหายหรือบุบสลายนั้น ให้ทำข้อเรียกร้องเป็นลายลักษณ์อักษรโดยทันทีต่อเรือหรือผู้ขนส่งอื่น และให้แนบข้อเรียกร้องและคำตอบข้อเรียกร้องไปกับข้อเรียกร้องใดๆ ที่ได้เสนอตามกรมธรรม์ประกันภัยนี้ ฯลฯ" ข้อความดังกล่าวนี้มิใช่ข้อกำหนดที่ยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้รับประกันภัยแต่ประการใด หากเป็นเพียงข้อกำหนด เรื่องระเบียบวิธีปฏิบัติในการเสนอข้อเรียกร้องต่อผู้รับประกันภัยเพื่อขอรับเงินประกันภัยนั้นควรจะมีอะไรเสนอพร้อมกันไปด้วยบ้างเท่านั้นเอง หากผู้รับประกันแสดงพฤติการณ์ให้เห็นว่ามิได้ถือเอาข้อกำหนดดังกล่าวเป็นข้อสาระสำคัญสำหรับวิธีปฏิบัติการเสนอคำเรียกร้องของผู้เอาประกันภัย และผู้รับประกันภัยเต็มใจยอมรับข้อเรียกร้องของผู้เอาประกันภัยไว้ดำเนินการโดยไม่ติดใจในเรื่องข้อบกพร่องอันเกี่ยวกับระเบียบปฏิบัติประการใด คำเรียกร้องของผู้เอาประกันภัยโดยไม่ได้แนบข้อเรียกร้องต่อเรือและคำตอบข้อเรียกร้องได้เสนอไปด้วย ย่อมเป็นไปโดยชอบ ผู้เอาประกันภัยย่อมมีสิทธิฟ้องผู้รับประกันภัยได้โดยสมบูรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1215/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระเบียบวิธีเสนอคำเรียกร้องประกันภัยทางทะเล ไม่เป็นสาระสำคัญ หากจำเลยเต็มใจรับคำเรียกร้อง ผู้เอาประกันมีสิทธิฟ้องได้
สัญญาประกันภัยการขนส่งทางทะเลมีข้อความว่า "บริษัทจะไม่ยอมรับข้อเรียกร้องใด ๆ เว้นไว้แต่จะได้มีการแจ้งความโดยทันทีแก่ผู้ที่กล่าวนามข้างใต้นี้ และได้รับรายงานการสำรวจแล้ว ในกรณีความสูญหายหรือบุบสลายนั้นให้ทำข้อเรียกร้องเป็นลายลักษณ์อักษรโดยทันทีต่อเรือหรือผู้ขนส่งอื่น และให้แนบข้อเรียกร้องและคำตอนข้อเรียกร้องไปกับข้อเรียกร้องใด ๆ ที่ได้เสนอตามกรมธรรม์ประกันภัยนี้ ฯลฯ ข้อความดังกล่าวนี้มิใช่ข้อกำหนดที่ยกเว้น หรือจำกัดความรับผิดของผู้รับประกันภัย แต่ประการใด หากเป็นเพียงข้อกำหนดเรื่องระเบียบวิธีปฏิบัติในการเสนอข้อเรียกร้องต่อผู้รับประกันภัยเพื่อขอรับเงินประกันภัยนั้น ควรจะมีอะไรเสนอพร้อมกันไปด้วยบ้างเท่านั้นเอง หากผู้รับประกันแสดงพฤติการณ์ให้เห็นว่ามิได้ถือเอาข้อกำหนดดังกล่าว เป็นข้อสาระสำคัญสำหรับวิธีปฏิบัติการเสนอคำเรียกร้องของผู้เอาประกันภัย และผู้รับประกันภัยเต็มใจยอมรับข้อเรียกร้องของผู้เอาประกันภัยไว้ดำเนินการโดยไม่ติดใจในเรื่องข้อบกพร่องอันเกี่ยวกับระเบียบปฏิบัติประการใด คำเรียกร้องของผู้เอาประกันภัยโดยไม่ได้แนบข้อเรียกร้องต่อเรือและคำตอบข้อเรียกร้องได้เสนอไปด้วย ย่อมเป็นไปโดยชอบ ผู้เอาประกันภัยย่อมมีสิทธิฟ้องผู้รับประกันภัยได้โดยสมบูรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 999/2496
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกันภัยทางทะเล: 'อันตรายทางทะเล' ครอบคลุมความเสียหายจากเหตุสุดวิสัยที่ทำให้เรืออับปางและสินค้าเสียหาย
กฎหมายทะเลของประเทศไทยในขณะนี้ยังไม่มี ทั้งจารีตประเพณีก็ไม่ปรากฏ เมื่อเกิดมีคดีขึ้น จึงควรเทียบวินิจฉัยตามหลักกฎหมายทั่วไป
สัญญาประกันภัยทางทะเลทำขึ้นเป็นภาษาอังกฤษ จึงควรถือกฎหมายว่าด้วยการประกันภัยทางทะเลของประเทศอังกฤษเป็นกฎหมายทั่วไปเพื่อเทียบเคียงวินิจฉัย
คำว่า "อันตรายทางทะเล" หรือ "ภยันตรายแห่งทะเล" ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า "PERILOFTHESEA" นั้น ย่อมหมายถึงภยันตรายใดๆ ที่เกิดขึ้นอันเป็นวิสัยที่ท้องทะเลจะบันดาลได้ หาจำจะต้องคำนึงถึงว่า ขณะนั้นทะเลเรียบร้อยอยู่หรือทะเลเป็นบ้าอย่างใดไม่ การที่เรือเกิดรั่วต้องอับปางลงในระหว่างเดินทางในทะเลโดยไม่ใช่ความผิดของใคร ย่อมเป็นอันตรายที่เรือนั้นจะต้องประสพโดยวิสัยในการเดินทางผ่านทะเลอยู่แล้ว เป็นอันตรายทางทะเลตามความหมายแห่งการประกันภัยทางทะเลแล้ว ตามที่ศาลอังกฤษถือตามกันมาก็ถืออันตรายที่เกิดขึ้นโดยโชคกรรมจากทะเลหรือเนื่องจากทะเล
โจทก์ได้ประกันภัยปูนซิเมนต์จำนวนหนึ่ง บรรทุกเรือยนต์ตรังกานูไปจังหวัดสงขลา ไว้กับจำเลย เรือตรังกานูออกจากท่ากรุงเทพฯจะไปจังหวัดสงขลา พ้นสันดอนปากน้ำเจ้าพระยาไปแล้วประมาณ 10 ไมล์เศษเกิดมีคลื่นลมจัด เรือโคลงมาก และน้ำเข้าเรือมาก ถ้าไม่กลับเรือจะจมเรือตรังกานูจึงได้แล่นกลับ พยายามแก้ไขและวิดน้ำก็ไม่ดีขึ้น ในที่สุดน้ำท่วมเครื่องดับนายเรือให้สัญญาณบอกเหตุเรืออับปาง มีเรือยนต์อื่นมาช่วยถ่ายคนและลากเรือตรังกานูมาปล่อยไว้ที่กลางน้ำหน้าที่ทำการไปรษณีย์ปากน้ำแล้ว ได้จ้างเรือเล็กลากเข้าฝั่งเกยตื้นจมอยู่ที่ฝั่งป้อมผีเสื้อสมุทร ปูนซิเมนต์ถูกน้ำท่วมเสียหายสิ้นเชิงดังนี้ ถือได้ว่าเป็นความเสียหายที่เนื่องจากเรือได้สูญเสียสิ้นเชิงเนื่องจากอันตรายทางทะเลแล้ว บริษัทผู้รับประกันต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
สัญญาประกันภัยทางทะเลทำขึ้นเป็นภาษาอังกฤษ จึงควรถือกฎหมายว่าด้วยการประกันภัยทางทะเลของประเทศอังกฤษเป็นกฎหมายทั่วไปเพื่อเทียบเคียงวินิจฉัย
คำว่า "อันตรายทางทะเล" หรือ "ภยันตรายแห่งทะเล" ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า "PERILOFTHESEA" นั้น ย่อมหมายถึงภยันตรายใดๆ ที่เกิดขึ้นอันเป็นวิสัยที่ท้องทะเลจะบันดาลได้ หาจำจะต้องคำนึงถึงว่า ขณะนั้นทะเลเรียบร้อยอยู่หรือทะเลเป็นบ้าอย่างใดไม่ การที่เรือเกิดรั่วต้องอับปางลงในระหว่างเดินทางในทะเลโดยไม่ใช่ความผิดของใคร ย่อมเป็นอันตรายที่เรือนั้นจะต้องประสพโดยวิสัยในการเดินทางผ่านทะเลอยู่แล้ว เป็นอันตรายทางทะเลตามความหมายแห่งการประกันภัยทางทะเลแล้ว ตามที่ศาลอังกฤษถือตามกันมาก็ถืออันตรายที่เกิดขึ้นโดยโชคกรรมจากทะเลหรือเนื่องจากทะเล
โจทก์ได้ประกันภัยปูนซิเมนต์จำนวนหนึ่ง บรรทุกเรือยนต์ตรังกานูไปจังหวัดสงขลา ไว้กับจำเลย เรือตรังกานูออกจากท่ากรุงเทพฯจะไปจังหวัดสงขลา พ้นสันดอนปากน้ำเจ้าพระยาไปแล้วประมาณ 10 ไมล์เศษเกิดมีคลื่นลมจัด เรือโคลงมาก และน้ำเข้าเรือมาก ถ้าไม่กลับเรือจะจมเรือตรังกานูจึงได้แล่นกลับ พยายามแก้ไขและวิดน้ำก็ไม่ดีขึ้น ในที่สุดน้ำท่วมเครื่องดับนายเรือให้สัญญาณบอกเหตุเรืออับปาง มีเรือยนต์อื่นมาช่วยถ่ายคนและลากเรือตรังกานูมาปล่อยไว้ที่กลางน้ำหน้าที่ทำการไปรษณีย์ปากน้ำแล้ว ได้จ้างเรือเล็กลากเข้าฝั่งเกยตื้นจมอยู่ที่ฝั่งป้อมผีเสื้อสมุทร ปูนซิเมนต์ถูกน้ำท่วมเสียหายสิ้นเชิงดังนี้ ถือได้ว่าเป็นความเสียหายที่เนื่องจากเรือได้สูญเสียสิ้นเชิงเนื่องจากอันตรายทางทะเลแล้ว บริษัทผู้รับประกันต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 999/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกันภัยทางทะเล: การสูญเสียสิ้นเชิงจากภัยทางทะเลและการพิจารณาความเสียหายของสินค้าบรรทุก
กฎหมายทะเลของประเทศไทยในขณะนี้ยังไม่มี ทั้งจารีตประเพณีก็ไม่ปรากฎ เมื่อเกิดมีคดีขึ้น จึงควรเทียบวินิจฉัย ตามหลักกฎหมายทั่วไป.
สัญญาประกันภัยทางทะเลทำขึ้นเป็นภาษาอังกฤษ จึงควรยึดกฎหมายว่าด้วยการประกันภัยทางทะเลของประเทศ อังกฤษเป็นกฎหมายทั่วไปเพื่อเทียบเคียงวินิจฉีย.
คำว่า "อันตรายทางทะเล" หรือ "ภยันตรายแห่งทะเล" ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า "Peril of the sea" นั้น ย่อมหมาย ถึงภยันตรายใด ๆ ที่เกิดขึ้นอันเป็นวิสัยที่ท้องทะเลจะบันดาลได้หาจำจะต้องคำนึงถึงว่า ขณะนั้นทะเลเรียบร้อยอยู่ หรือทะเลเป็นบ้าอย่างใดไม่ การที่เรือเกิดรั่วต้องอับปางลงในระหว่างเดินทางในทะเลโดยไม่ใช่ความผิดของใคร ย่อมเป็นอันตรายที่เรือนั้นจะต้องประสพโดยวิสัยในการเดินทางผ่านทะลอยู่แล้ว เป็นอันตรายทางทะเลตามความ หมายแห่งการประกันภัยทางทะเลแล้ว ตามที่ศาลอังกฤษถือตามกันมาก็ถืออันตรายที่เกิดขึ้นโดยโชคกรรมจากทะเล หรือเนื่องจากทะเล.
โจทก์ได้ประกันภัยปูนซิเมนต์จำนวนหนึ่ง บรรทุกเรือยนต์ตรังกานูไปจังหวัดสงขลา ไว้กับจำเลย หรือตรังกานูออก จากท่ากรุงเทฯ จะไปจังหวัดสงขลา พ้นสันดอนปากน้ำเจ้าพระยาไปแล้วประมาณ 10 ไมล์เศษเกิดมีคลื่นลมจัด เรือ โคลงมาก และน้ำเข้าเรือมาก ถ้าไม่กลับเรือจะจม เรือตรังกานูจึงได้แล่นกลับ พยายามแก้ไขและวิดน้ำก็ไม่ดีขึ้น ใน ที่สุดน้ำท่วมเครื่องดับนายเรือให้สัญญาณบอกเหตุเรืออับปาง มีเรือยนต์อื่นมาช่วยถ่ายคนและลากเรือตรังกานูมา ปล่อยไว้ที่กลางน้ำหน้าที่ทำการไปรษณีย์ปากน้ำ,แล้วได้จ้างเรือเล็กลากเข้าฝั่งเกยตื้นจมอยู่ที่ฝั่ง ป้อมผีเสื้อสมุทร ปูน ซิเมนต์ถูกน้ำท่วมเสียหายสิ้นเชิง ดังนี้ ถือได้ว่าเป็นความเสียหายที่เนื่องจากเรือได้สูญเสียสิ้นเชิงเนื่องจากอัน ตรายทางทะเล แล้วบริษัทผู้รับประกันต้องรับผิด ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก./
สัญญาประกันภัยทางทะเลทำขึ้นเป็นภาษาอังกฤษ จึงควรยึดกฎหมายว่าด้วยการประกันภัยทางทะเลของประเทศ อังกฤษเป็นกฎหมายทั่วไปเพื่อเทียบเคียงวินิจฉีย.
คำว่า "อันตรายทางทะเล" หรือ "ภยันตรายแห่งทะเล" ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า "Peril of the sea" นั้น ย่อมหมาย ถึงภยันตรายใด ๆ ที่เกิดขึ้นอันเป็นวิสัยที่ท้องทะเลจะบันดาลได้หาจำจะต้องคำนึงถึงว่า ขณะนั้นทะเลเรียบร้อยอยู่ หรือทะเลเป็นบ้าอย่างใดไม่ การที่เรือเกิดรั่วต้องอับปางลงในระหว่างเดินทางในทะเลโดยไม่ใช่ความผิดของใคร ย่อมเป็นอันตรายที่เรือนั้นจะต้องประสพโดยวิสัยในการเดินทางผ่านทะลอยู่แล้ว เป็นอันตรายทางทะเลตามความ หมายแห่งการประกันภัยทางทะเลแล้ว ตามที่ศาลอังกฤษถือตามกันมาก็ถืออันตรายที่เกิดขึ้นโดยโชคกรรมจากทะเล หรือเนื่องจากทะเล.
โจทก์ได้ประกันภัยปูนซิเมนต์จำนวนหนึ่ง บรรทุกเรือยนต์ตรังกานูไปจังหวัดสงขลา ไว้กับจำเลย หรือตรังกานูออก จากท่ากรุงเทฯ จะไปจังหวัดสงขลา พ้นสันดอนปากน้ำเจ้าพระยาไปแล้วประมาณ 10 ไมล์เศษเกิดมีคลื่นลมจัด เรือ โคลงมาก และน้ำเข้าเรือมาก ถ้าไม่กลับเรือจะจม เรือตรังกานูจึงได้แล่นกลับ พยายามแก้ไขและวิดน้ำก็ไม่ดีขึ้น ใน ที่สุดน้ำท่วมเครื่องดับนายเรือให้สัญญาณบอกเหตุเรืออับปาง มีเรือยนต์อื่นมาช่วยถ่ายคนและลากเรือตรังกานูมา ปล่อยไว้ที่กลางน้ำหน้าที่ทำการไปรษณีย์ปากน้ำ,แล้วได้จ้างเรือเล็กลากเข้าฝั่งเกยตื้นจมอยู่ที่ฝั่ง ป้อมผีเสื้อสมุทร ปูน ซิเมนต์ถูกน้ำท่วมเสียหายสิ้นเชิง ดังนี้ ถือได้ว่าเป็นความเสียหายที่เนื่องจากเรือได้สูญเสียสิ้นเชิงเนื่องจากอัน ตรายทางทะเล แล้วบริษัทผู้รับประกันต้องรับผิด ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก./