พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9135/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัยทางทะเล: การไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการจดทะเบียนเรือ ทำให้ผู้รับประกันภัยหลุดพ้นจากความรับผิด
โจทก์เป็นเจ้าของเรือชื่อเบญจมาศ ขอทำประกันภัยไว้กับจำเลยโดยรับรองว่าเรืออยู่ในสภาพดีพร้อมที่จะเดินทาง จำเลยตกลงรับประกันภัยโดยระบุในกรมธรรม์ประกันภัยโดยระบุเงื่อนไขและข้อยกเว้นความรับผิดที่สำคัญไว้หลายประการ คือ การประกันภัยให้บังคับตามกฎหมายและประเพณีปฏิบัติของประเทศอังกฤษ ผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่เปิดเผยข้อเท็จจริงทั้งปวงให้ผู้รับประกันภัยทราบ ผู้เอาประกันภัยให้คำรับรองว่าเรือต้องมีใบอนุญาตพร้อมและได้รับการจดทะเบียนจากกรมขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีตลอดอายุกรมธรรม์ประกันภัย (WARRENTED THE VESSEL IS LICENSED AND REGISTERRED BY HARBOUR DEPARTMENT THROUGHOUT THE CURRENCY OF THE POLICY) และผู้เอาประกันภัยให้คำรับรองว่าเรือจะต้องติดตั้งอุปกรณ์ให้เหมาะสมตามข้อบังคับของกรมขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี (WARRENTED VESSEL BE PROPERLY EQUIPPED IN ACCORDANCE WITH THE REQUIREMENT OF THE HARBOUR DEPARTMENT) แต่ปรากฏจากผลการสำรวจความเสียหายของบริษัทผู้สำรวจภัยรายงานว่าเหตุที่เรือจม เกิดจากสาเหตุที่ตัวเรือและเครื่องจักรมีอายุใช้งานมานาน และไม่ได้รับการซ่อมแซมดูแลอย่างเพียงพอ ซึ่งในทางประกันภัยถือว่าไม่มีความเหมาะสมในการเดินทะเล และไม่ปรากฏพยานหลักฐานแสดงว่าเรือชนวัตถุใต้น้ำหรือเผชิญสภาวะอากาศเลวร้าย ทั้งจากการตรวจสอบหลักฐานทะเบียนทางเรือแล้ว ไม่ปรากฏว่าเรือได้รับการจดทะเบียนจากทางราชการเพราะเอกสารตามที่โจทก์กล่าวอ้างว่าได้รับใบอนุญาตให้ใช้เรือชั่วคราวนั้น มิใช่เอกสารที่ออกโดยกรมขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ถือว่าเป็นกรณีที่ไม่ได้มีการปฏิบัติตามข้อรับรองที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย คดีจึงฟังได้ว่าโจทก์ผิดเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยในข้อคำรับรองว่าเรือต้องได้รับใบอนุญาตและได้รับการจดทะเบียนจากการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี และเรือต้องมีอุปกรณ์เครื่องมือที่ถูกต้องเหมาะสมตามเงื่อนไขของกรมขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี (Breach of warranty on Seaworthiness of ship) อันเป็นผลให้ผู้รับประกันภัยหลุดพ้นจากการรับผิดในทันที ฉะนั้น ขณะเกิดเหตุกรมธรรม์ประกันภัยจึงไม่ให้ความคุ้มครอง ไม่ว่าภัยที่เกิดแก่เรือจะได้เกิดขึ้นเพราะสาเหตุตามที่โจทก์กล่าวอ้างหรือไม่ จำเลยผู้รับประกันภัยจึงไม่ต้องรับผิดจ่ายเงินค่าสินไหมทดแทนความเสียหายให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1145/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดค่าสินไหมทดแทนประกันภัย: สินค้าเสียหายจนต้องซื้อใหม่ ไม่ต้องหักค่าซาก
จำเลยให้การว่า สินค้าที่รับประกันภัยไม่ได้เสียหายโดยสิ้นเชิง สามารถซ่อมแซมให้ใช้การได้โดยเสียค่าซ่อมไม่เกิน 1,297,375 บาท โดยจำเลยไม่ได้ให้การว่า ซากสินค้าเป็นของโจทก์และต้องหักค่าซากสินค้าออกจากค่าเสียหาย คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทให้ต้องวินิจฉัยเรื่องการหักค่าซากสินค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4731/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายของผู้รับประกันภัย: ค่าสินไหมทดแทนสินค้าเสียหาย vs. ค่าตรวจสอบความเสียหาย
โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยความเสียหายของสินค้าระหว่างการขนส่งจากประเทศไทยไปยังประเทศสาธารณรัฐสังคมเวียดนามกับเป็นผู้ว่าจ้างและชำระค่าตรวจสอบความเสียหายให้แก่บริษัทผู้ตรวจสอบความเสียหายโดยตรง ค่าใช้จ่ายดังกล่าวจึงไม่ใช่ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายที่โจทก์ได้จ่ายให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปแล้ว ทั้งไม่ปรากฏว่าการที่ที่โจทก์จ่ายแทนผู้เอาประกันภัยไปนั้นเป็นเพราะผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่หรือความจำเป็นต้องจ่ายค่าใช้จ่ายส่วนนี้ ดังนั้น โจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายเฉพาะที่รับช่วงสิทธิในค่าเสียหายของสินค้าที่โจทก์ได้ชำระให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปโดยตรงเท่านั้น ไม่มีสิทธิเรียกร้องในค่าตรวจสอบความเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4712/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรมธรรม์ประกันภัยทางทะเลคุ้มครองสินค้าตั้งแต่ยังไม่ลงเรือ การรับช่วงสิทธิไล่เบี้ยจากผู้รับฝาก
ตามกรมธรรม์ประกันภัยทางทะเลมีข้อความว่า "VOYAGE : At and from LAEM CHABANG , THAILAND TO HOCHI MINH" แปลว่าคุ้มครองที่และจากแหลมฉบัง ประเทศไทย ถึง โฮจิมินห์ ในประเทศเวียดนาม คำว่า ที่และจากแหลมฉบังย่อมเป็นการชัดแจ้งอยู่แล้วว่าคุ้มครองภัยที่เกิดที่ท่าเรือแหลมฉบังด้วย ไม่ใช่เฉพาะนับจากเรือออกจากท่าเรือแหลมฉบัง
สินค้าที่โจทก์รับประกันภัยไว้สูญหายไปขณะเก็บอยู่ในคลังสินค้าของจำเลยที่ 5 ที่บริเวณท่าเรือแหลมฉบัง โจทก์ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนเพื่อสินค้าที่สูญหายตามความผูกพันในกรมธรรม์ประกันภัยไปแล้ว ย่อมรับช่วงสิทธิมาฟ้องไล่เบี้ยเอาค่าเสียหายจากจำเลยที่ 5 ได้
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 5 รับผิดในฐานะที่เป็นผู้รับฝากตู้สินค้าไว้แล้วสินค้าได้สูญหายไปในระหว่างที่จำเลยที่ 5 รับฝาก เป็นการฟ้องให้ใช้ราคาทรัพย์ ไม่ใช่เรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวแก่การฝากทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 671 กรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
สินค้าที่โจทก์รับประกันภัยไว้สูญหายไปขณะเก็บอยู่ในคลังสินค้าของจำเลยที่ 5 ที่บริเวณท่าเรือแหลมฉบัง โจทก์ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนเพื่อสินค้าที่สูญหายตามความผูกพันในกรมธรรม์ประกันภัยไปแล้ว ย่อมรับช่วงสิทธิมาฟ้องไล่เบี้ยเอาค่าเสียหายจากจำเลยที่ 5 ได้
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 5 รับผิดในฐานะที่เป็นผู้รับฝากตู้สินค้าไว้แล้วสินค้าได้สูญหายไปในระหว่างที่จำเลยที่ 5 รับฝาก เป็นการฟ้องให้ใช้ราคาทรัพย์ ไม่ใช่เรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวแก่การฝากทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 671 กรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2081/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับประกันภัยขนส่งสินค้าทางทะเล: ความรับผิดของผู้รับประกันภัยและขอบเขตความคุ้มครอง
ผู้รับประกันภัยรับประกันภัยจากผู้เอาประกันภัยสำหรับความเสียหายในการขนส่งอุปกรณ์ไฟฟ้าทางทะเลจากประเทศญี่ปุ่นมายังประเทศไทย เมื่ออุปกรณ์ไฟฟ้าที่เอาประกันภัยได้รับความเสียหายและผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยแล้ว ผู้รับประกันภัยย่อมเข้ารับช่วงสิทธิที่จะฟ้องจำเลยที่ 1 ผู้ทำละเมิดและจำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนของผู้ทำละเมิดได้ แม้กรมธรรม์ประกันภัยระหว่างผู้รับประกันภัยและ ผู้เอาประกันภัยจะลงลายมือชื่อกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคลไม่ถูกต้องตามตราสารข้อบังคับ ก็เป็นเรื่องระหว่างผู้รับประกันภัยกับผู้เอาประกันภัยที่จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้เมื่ออีกฝ่ายหนึ่งฟ้องร้องให้บังคับคดีตามสัญญา ประกันภัย จำเลยร่วมซึ่งมิได้เป็นคู่สัญญาในสัญญาประกันภัยนั้นหาอาจยกมาเป็นเหตุให้ตนหลุดพ้นจากความรับผิดได้ไม่
หม้อแปลงไฟฟ้าที่ขนส่งซึ่งได้รับความเสียหายมีขนาดใหญ่ไม่ปรากฏว่า มีบริษัทหรือหน่วยงานแห่งใดในประเทศไทยเคยสร้างและซ่อมแซมมาก่อน เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นย่อมต้องจัดการซ่อมแซมให้ดีที่สุด เพราะหาก ซ่อมแซมไม่ดีแล้วการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยนำไปใช้งานก็อาจกระทบกระเทือนถึงประชาชนโดยส่วนรวม ดังนั้น การที่บริษัท ซ. ในประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นบริษัทที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยว่าจ้างให้ออกแบบก่อสร้างสถานีไฟฟ้าย่อยที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์และจังหวัดราชบุรีพร้อมทั้งจัดหาและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าและการไฟฟ้า ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยตัดสินใจส่งหม้อแปลงไฟฟ้านั้นกลับไปให้บริษัท ฟ. ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้ผลิตซ่อมแซม จึงเป็นเรื่องที่สมเหตุผลแล้ว และค่าเสียหายที่บริษัท ซ. และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยสามารถเรียกร้องจากโจทก์ผู้รับประกันภัยได้นอกจากค่าซ่อมแซมแล้ว ย่อมรวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นอันจำเป็น เช่น ค่าขนส่งและค่าภาษีอากรในการส่งมอบหม้อแปลงไฟฟ้าไปซ่อมและส่งกลับมาติดตั้งยังสถานีไฟฟ้าย่อยจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ด้วย
จำเลยที่ 1 ประกอบธุรกิจรับจ้างขนส่งรับขนส่งสิ่งของจากการท่าเรือแห่งประเทศไทยไปส่งยังสถานที่ต่าง ๆ จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญารับจ้างขนส่งหม้อแปลงไฟฟ้ากับบริษัท ซ. ไปส่งที่จังหวัดราชบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ขอบเขตของงานตามสัญญาจ้าง นับแต่จำเลยที่ 1 รับมอบสินค้าจากเรือไปส่งและขนถ่ายลงยังสถานที่ตั้งของแต่ละโครงการเป็นไปตามที่กำหนดโดยผู้ว่าจ้างคือที่จังหวัดราชบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จึงไม่มีเหตุที่จำเลยที่ 1 จะทำสัญญาประกันภัยกับจำเลยร่วมเพื่อประกันความเสียหายเฉพาะการขนถ่ายสินค้าในบริเวณการท่าเรือแห่งประเทศไทยตามที่จำเลยร่วมกล่าวอ้าง ทั้งปรากฏว่าหลังจากเกิดเหตุแล้วจำเลยร่วมก็ได้ว่าจ้างบริษัท ศ. และบริษัท ย. เข้าสำรวจความเสียหายของหม้อแปลงไฟฟ้า และเป็นผู้ชำระเงินค่าสำรวจความเสียหายให้แก่บริษัททั้งสอง ซึ่งหากจำเลยร่วมเห็นว่าจำเลยร่วมไม่มีความรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยในกรณีดังกล่าวแล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นที่จำเลยร่วมจะต้องเข้ามาเป็นธุระดำเนินการสำรวจความเสียหาย สำหรับถ้อยคำว่า Terminal ในกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งแปลว่าสถานีนั้นมีความหมายได้ทั้งสถานีต้นทางและปลายทาง เมื่อพิจารณาถ้อยคำในกรมธรรม์ประกันภัยประกอบพยานหลักฐานและพฤติการณ์อื่นแล้ว สถานีปลายทางตามกรมธรรม์ประกันภัย ย่อมมีความหมายถึงสถานที่ที่จำเลยที่ 1 จะต้องนำหม้อแปลงไฟฟ้าไปส่งให้แก่ผู้ว่าจ้างที่จังหวัดราชบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์หาได้หมายความถึงการขนถ่ายสินค้าเฉพาะบริเวณการท่าเรือแห่งประเทศไทยตามที่จำเลยร่วมกล่าวอ้างไม่ ดังนั้นเมื่อหม้อแปลงไฟฟ้าเกิดความเสียหายขณะที่ยกลงจากรถยนต์บรรทุกเพื่อวางยังสถานที่ตั้งสถานีไฟฟ้าย่อยจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ซึ่งเป็นสถานีปลายทาง จำเลยร่วมจึงต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัย
หม้อแปลงไฟฟ้าที่ขนส่งซึ่งได้รับความเสียหายมีขนาดใหญ่ไม่ปรากฏว่า มีบริษัทหรือหน่วยงานแห่งใดในประเทศไทยเคยสร้างและซ่อมแซมมาก่อน เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นย่อมต้องจัดการซ่อมแซมให้ดีที่สุด เพราะหาก ซ่อมแซมไม่ดีแล้วการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยนำไปใช้งานก็อาจกระทบกระเทือนถึงประชาชนโดยส่วนรวม ดังนั้น การที่บริษัท ซ. ในประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นบริษัทที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยว่าจ้างให้ออกแบบก่อสร้างสถานีไฟฟ้าย่อยที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์และจังหวัดราชบุรีพร้อมทั้งจัดหาและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าและการไฟฟ้า ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยตัดสินใจส่งหม้อแปลงไฟฟ้านั้นกลับไปให้บริษัท ฟ. ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้ผลิตซ่อมแซม จึงเป็นเรื่องที่สมเหตุผลแล้ว และค่าเสียหายที่บริษัท ซ. และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยสามารถเรียกร้องจากโจทก์ผู้รับประกันภัยได้นอกจากค่าซ่อมแซมแล้ว ย่อมรวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นอันจำเป็น เช่น ค่าขนส่งและค่าภาษีอากรในการส่งมอบหม้อแปลงไฟฟ้าไปซ่อมและส่งกลับมาติดตั้งยังสถานีไฟฟ้าย่อยจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ด้วย
จำเลยที่ 1 ประกอบธุรกิจรับจ้างขนส่งรับขนส่งสิ่งของจากการท่าเรือแห่งประเทศไทยไปส่งยังสถานที่ต่าง ๆ จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญารับจ้างขนส่งหม้อแปลงไฟฟ้ากับบริษัท ซ. ไปส่งที่จังหวัดราชบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ขอบเขตของงานตามสัญญาจ้าง นับแต่จำเลยที่ 1 รับมอบสินค้าจากเรือไปส่งและขนถ่ายลงยังสถานที่ตั้งของแต่ละโครงการเป็นไปตามที่กำหนดโดยผู้ว่าจ้างคือที่จังหวัดราชบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จึงไม่มีเหตุที่จำเลยที่ 1 จะทำสัญญาประกันภัยกับจำเลยร่วมเพื่อประกันความเสียหายเฉพาะการขนถ่ายสินค้าในบริเวณการท่าเรือแห่งประเทศไทยตามที่จำเลยร่วมกล่าวอ้าง ทั้งปรากฏว่าหลังจากเกิดเหตุแล้วจำเลยร่วมก็ได้ว่าจ้างบริษัท ศ. และบริษัท ย. เข้าสำรวจความเสียหายของหม้อแปลงไฟฟ้า และเป็นผู้ชำระเงินค่าสำรวจความเสียหายให้แก่บริษัททั้งสอง ซึ่งหากจำเลยร่วมเห็นว่าจำเลยร่วมไม่มีความรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยในกรณีดังกล่าวแล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นที่จำเลยร่วมจะต้องเข้ามาเป็นธุระดำเนินการสำรวจความเสียหาย สำหรับถ้อยคำว่า Terminal ในกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งแปลว่าสถานีนั้นมีความหมายได้ทั้งสถานีต้นทางและปลายทาง เมื่อพิจารณาถ้อยคำในกรมธรรม์ประกันภัยประกอบพยานหลักฐานและพฤติการณ์อื่นแล้ว สถานีปลายทางตามกรมธรรม์ประกันภัย ย่อมมีความหมายถึงสถานที่ที่จำเลยที่ 1 จะต้องนำหม้อแปลงไฟฟ้าไปส่งให้แก่ผู้ว่าจ้างที่จังหวัดราชบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์หาได้หมายความถึงการขนถ่ายสินค้าเฉพาะบริเวณการท่าเรือแห่งประเทศไทยตามที่จำเลยร่วมกล่าวอ้างไม่ ดังนั้นเมื่อหม้อแปลงไฟฟ้าเกิดความเสียหายขณะที่ยกลงจากรถยนต์บรรทุกเพื่อวางยังสถานที่ตั้งสถานีไฟฟ้าย่อยจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ซึ่งเป็นสถานีปลายทาง จำเลยร่วมจึงต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9319/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลและการประกันภัยสินค้า: การรับช่วงสิทธิและข้อยกเว้นความรับผิด
ผู้ขายได้รับค่าสินค้าที่ขนส่งและได้โอนใบตราส่งให้แก่บริษัท อ. ผู้ซื้อสินค้าซึ่งเป็นผู้รับตราส่งแล้ว บริษัท อ. จึงเป็นผู้ทรงใบตราส่งซึ่งมีสิทธิรับสินค้านั้นได้ และเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกรมธรรม์ประกันภัยสินค้าทางทะเลแบบเปิดที่โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยในขณะที่เกิดวินาศภัยนั้นแล้ว แม้จะฟังว่าการซื้อขายสินค้าที่ขนส่งเป็นการซื้อขายระบบซีไอเอฟ ซึ่งผู้ขายเป็นผู้เอาประกันภัยก็เป็นการเอาประกันภัยของผู้ขายกับผู้รับประกันภัยอื่นซึ่งมิใช่โจทก์ผู้รับประกันภัยสินค้าที่ขนส่งทางทะเลแบบเปิด และเป็นผู้รับช่วงสิทธิตามสัญญาประกันภัยดังกล่าวมาฟ้องเป็นคดีนี้ แม้ตามกรมธรรม์ประกันภัยสินค้าทางทะเลแบบเปิดเลขที่ 10170 จะเป็นกรมธรรม์ประกันภัยที่ทำกันระหว่างโจทก์กับบริษัท ช. ก็ตาม แต่ตามกรมธรรม์ฉบับนี้ได้ระบุรายละเอียดเงื่อนไขทั่วไปของกรมธรรม์ไว้ในข้อ 02.1 โดยได้กล่าวถึงผู้ถือกรมธรรม์ว่าคือบริษัท ช. และระบุว่าผู้เอาประกันภัยคือบริษัททุกบริษัทที่ผู้ถือกรมธรรม์ถือหุ้นอยู่กว่าร้อยละ 50 หรือบริษัทที่ผู้ถือกรมธรรม์มีความรับผิดชอบทางด้านจัดการตามภาคผนวก 1 อันแสดงว่านอกจากบริษัท ช. จะเป็นคู่สัญญาประกันภัยกับโจทก์ในฐานะเป็นผู้ถือกรมธรรม์แล้ว ยังมีบริษัทอื่นที่บริษัทดังกล่าวเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ในอัตราเกินกว่าร้อยละ 50 หรือมีบริษัทอื่นที่บริษัทนั้นเป็นผู้รับผิดชอบทางด้านจัดการเป็นคู่สัญญาประกันภัยกับโจทก์ในฐานะที่เป็นผู้เอาประกันภัยอีกด้วย ทั้งนี้ไม่มีกฎหมายบังคับว่าสัญญาประกันภัยทางทะเลต้องลงลายมือชื่อคู่สัญญาจึงจะผูกพันโจทก์ผู้รับประกันภัย
สาเหตุแห่งความเสียหายเป็นผลมาจากการยกหีบไม้โดยไม่เอาใจใส่และไม่ระมัดระวังในระหว่างการขนส่ง ความเสียหายของสินค้าที่ขนส่งดังกล่าวจึงเป็นผลมาจากการที่จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งหรือตัวแทนหรือลูกจ้างของผู้ขนส่งกระทำการโดยไม่เอาใจใส่ ทั้งที่รู้ว่าความเสียหายนั้นอาจเกิดขึ้นได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่สินค้าเต็มจำนวน ไม่อาจอ้างเอาข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งจำนวนเพียง 10,000 บาทต่อ 1 หน่วยการขนส่ง ตามมาตรา 58 แห่ง พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาเป็นประโยชน์แก่ตนได้
สาเหตุแห่งความเสียหายเป็นผลมาจากการยกหีบไม้โดยไม่เอาใจใส่และไม่ระมัดระวังในระหว่างการขนส่ง ความเสียหายของสินค้าที่ขนส่งดังกล่าวจึงเป็นผลมาจากการที่จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งหรือตัวแทนหรือลูกจ้างของผู้ขนส่งกระทำการโดยไม่เอาใจใส่ ทั้งที่รู้ว่าความเสียหายนั้นอาจเกิดขึ้นได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่สินค้าเต็มจำนวน ไม่อาจอ้างเอาข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งจำนวนเพียง 10,000 บาทต่อ 1 หน่วยการขนส่ง ตามมาตรา 58 แห่ง พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาเป็นประโยชน์แก่ตนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9319/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลกรณีสินค้าเสียหายจากการยกขนไม่ระมัดระวัง ไม่อาจอ้างจำกัดความรับผิด
โจทก์รับประกันภัยสินค้านำเข้าทุกชนิดของบริษัท อ. โดยออกกรมธรรม์ประกันภัยทางทะเลแบบเปิดให้ผู้เอาประกันภัยไว้เป็นหลักฐาน และมีหลักปฏิบัติว่าเมื่อมีสินค้าเข้าผู้เอาประกันภัยจะแจ้งให้โจทก์ทราบหรืออาจแจ้งภายหลังสินค้าถูกขนส่งมาแล้วก็ได้ โจทก์จะออกใบรับรองการประกันภัยสำหรับสินค้างวดนั้นให้แก่ผู้เอาประกันภัยโจทก์ได้ออกใบรับรองการประกันภัยสินค้าของบริษัท อ. ซึ่งขนส่งโดยเรือเดินทะเลของจำเลยที่ 3 จากต่างประเทศมายังประเทศไทยโดยที่จำเลยที่ 3 ได้ออกใบตราส่งให้แก่ผู้ส่ง และได้มีการโอนใบตราส่งให้แก่บริษัท อ. แล้ว เมื่อเรือเดินทะเลของจำเลยที่ 3 มาถึงประเทศไทยได้มีการส่งมอบสินค้าแก่บริษัท อ.ผู้เอาประกันภัยในสภาพที่เสียหายบริษัทอ. จึงเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ตามสัญญาประกันภัยโจทก์ได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เอาประกันภัยไป ดังนี้เมื่อบริษัท อ. ได้รับโอนใบตราส่งมาจากผู้ขายสินค้าบริษัท อ.จึงเป็นผู้ทรงใบตราส่งซึ่งมีสิทธิรับสินค้านั้นและเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกรมธรรม์ประกันภัยสินค้าทางทะเลแบบเปิดที่โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยในขณะที่เกิดวินาศภัยนั้น แม้การซื้อขายสินค้าที่ขนส่งเป็นการซื้อขายระบบ CIF ซึ่งผู้ขายเป็นผู้เอาประกันภัยก็เป็นการเอาประกันภัยของผู้ขายกับผู้รับประกันภัยอื่น โจทก์จึงรับช่วงสิทธิตามสัญญาประกันภัยมาฟ้องจำเลยได้
กรมธรรม์ประกันภัยสินค้าทางทะเลแบบเปิดที่ทำกันระหว่างโจทก์กับบริษัท ไอ.ได้มีการระบุรายละเอียดเงื่อนไขทั่วไปว่าผู้ถือกรมธรรม์คือบริษัทไอ.และผู้เอาประกันภัยคือบริษัททุกบริษัทที่ผู้ถือกรมธรรม์ถือหุ้นอยู่กว่าร้อยละ 50หรือบริษัทที่ผู้ถือกรมธรรม์มีความรับผิดชอบทางด้านจัดการ ดังนี้ นอกจากบริษัท ไอ.จะเป็นคู่สัญญาประกันภัยกับโจทก์ในฐานะเป็นผู้ถือกรมธรรม์แล้ว ยังมีบริษัทอื่นที่บริษัท ไอ.เป็นผู้ถือหุ้นอยู่ในอัตราเกินกว่าร้อยละ50หรือบริษัทอื่นที่บริษัทไอ. เป็นผู้รับผิดชอบทางด้านจัดการเป็นคู่สัญญาประกันภัยกับโจทก์ในฐานะที่เป็นผู้เอาประกันภัยอีกด้วย เมื่อบริษัท ไอ.ถือหุ้นอยู่ในบริษัทอ. ร้อยละ 50 จึงถือว่าบริษัท อ.เป็นผู้เอาประกันภัยไว้แก่โจทก์ตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยสินค้าทางทะเลเปิด โจทก์ย่อมต้องผูกพันตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าว และหาได้มีกฎหมายบังคับว่าสัญญาประกันภัยทางทะเลต้องลงลายมือชื่อคู่สัญญาจึงจะผูกพันโจทก์ผู้รับประกันภัยไม่ เมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นแก่สินค้าที่เอาประกันภัยโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่บริษัท อ. ผู้เอาประกันภัย เมื่อโจทก์จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่บริษัท อ.แล้วย่อมมีสิทธิที่จะรับช่วงสิทธิของบริษัทอ.มาฟ้องได้
แม้เรือที่ใช้ในการขนส่งเป็นของจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 3 เป็นผู้ออกใบตราส่งแต่บริษัท อ.มิได้ว่าจ้างให้จำเลยที่3ขนสินค้าดังกล่าวบริษัทอ. มอบหมายให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ดำเนินการให้ทั้งหมดเพื่อส่งมอบสินค้าให้แก่บริษัท อ. โดยสัญญาขนส่งระบุว่าจำเลยที่ 1 มีสิทธิที่จะเลือกจ้างผู้รับขนส่งช่วงชั้นดีในการขนส่งได้แต่จำเลยที่ 1 ยังคงต้องรับผิดเต็มที่ต่อบริษัท อ. ในการปฏิบัติตามสัญญา และผู้ขนส่งช่วงอื่นที่จำเลยที่ 1 ได้ว่าจ้างให้ถือว่าเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ที่จะต้องรับผิดโดยตรงต่อบริษัท อ.ดังนี้บริษัทอ. จึงเป็นผู้ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ให้ขนส่งสินค้าและจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับจ้างขนสินค้าโดยได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดำเนินการทั้งหมดในการนำสินค้ามายังประเทศไทยตามสัญญาขนส่งการที่จำเลยที่ 3 ทำการขนส่งสินค้าดังกล่าว จึงเป็นการดำเนินการแทนจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งสินค้า จำเลยที่ 1ก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการขนส่งของจำเลยที่ 3 ด้วย
ความเสียหายของสินค้าที่ขนส่งเกิดขึ้นในระหว่างการขนส่งเป็นผลมาจากการที่จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งหรือตัวแทนหรือลูกจ้างของผู้ขนส่งยกหีบไม้โดยไม่เอาใจใส่และไม่ระมัดระวังในระหว่างการขนส่ง ถือว่าเป็นกระทำการโดยไม่เอาใจใส่ทั้งที่รู้ว่าความเสียหายนั้นอาจเกิดขึ้นได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่สินค้าเต็มจำนวนไม่อาจอ้างเอาข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่ง มาตรา 58 แห่งพระราชบัญญัติ การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534มาเป็นประโยชน์แก่ตนได้
กรมธรรม์ประกันภัยสินค้าทางทะเลแบบเปิดที่ทำกันระหว่างโจทก์กับบริษัท ไอ.ได้มีการระบุรายละเอียดเงื่อนไขทั่วไปว่าผู้ถือกรมธรรม์คือบริษัทไอ.และผู้เอาประกันภัยคือบริษัททุกบริษัทที่ผู้ถือกรมธรรม์ถือหุ้นอยู่กว่าร้อยละ 50หรือบริษัทที่ผู้ถือกรมธรรม์มีความรับผิดชอบทางด้านจัดการ ดังนี้ นอกจากบริษัท ไอ.จะเป็นคู่สัญญาประกันภัยกับโจทก์ในฐานะเป็นผู้ถือกรมธรรม์แล้ว ยังมีบริษัทอื่นที่บริษัท ไอ.เป็นผู้ถือหุ้นอยู่ในอัตราเกินกว่าร้อยละ50หรือบริษัทอื่นที่บริษัทไอ. เป็นผู้รับผิดชอบทางด้านจัดการเป็นคู่สัญญาประกันภัยกับโจทก์ในฐานะที่เป็นผู้เอาประกันภัยอีกด้วย เมื่อบริษัท ไอ.ถือหุ้นอยู่ในบริษัทอ. ร้อยละ 50 จึงถือว่าบริษัท อ.เป็นผู้เอาประกันภัยไว้แก่โจทก์ตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยสินค้าทางทะเลเปิด โจทก์ย่อมต้องผูกพันตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าว และหาได้มีกฎหมายบังคับว่าสัญญาประกันภัยทางทะเลต้องลงลายมือชื่อคู่สัญญาจึงจะผูกพันโจทก์ผู้รับประกันภัยไม่ เมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นแก่สินค้าที่เอาประกันภัยโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่บริษัท อ. ผู้เอาประกันภัย เมื่อโจทก์จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่บริษัท อ.แล้วย่อมมีสิทธิที่จะรับช่วงสิทธิของบริษัทอ.มาฟ้องได้
แม้เรือที่ใช้ในการขนส่งเป็นของจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 3 เป็นผู้ออกใบตราส่งแต่บริษัท อ.มิได้ว่าจ้างให้จำเลยที่3ขนสินค้าดังกล่าวบริษัทอ. มอบหมายให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ดำเนินการให้ทั้งหมดเพื่อส่งมอบสินค้าให้แก่บริษัท อ. โดยสัญญาขนส่งระบุว่าจำเลยที่ 1 มีสิทธิที่จะเลือกจ้างผู้รับขนส่งช่วงชั้นดีในการขนส่งได้แต่จำเลยที่ 1 ยังคงต้องรับผิดเต็มที่ต่อบริษัท อ. ในการปฏิบัติตามสัญญา และผู้ขนส่งช่วงอื่นที่จำเลยที่ 1 ได้ว่าจ้างให้ถือว่าเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ที่จะต้องรับผิดโดยตรงต่อบริษัท อ.ดังนี้บริษัทอ. จึงเป็นผู้ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ให้ขนส่งสินค้าและจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับจ้างขนสินค้าโดยได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดำเนินการทั้งหมดในการนำสินค้ามายังประเทศไทยตามสัญญาขนส่งการที่จำเลยที่ 3 ทำการขนส่งสินค้าดังกล่าว จึงเป็นการดำเนินการแทนจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งสินค้า จำเลยที่ 1ก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการขนส่งของจำเลยที่ 3 ด้วย
ความเสียหายของสินค้าที่ขนส่งเกิดขึ้นในระหว่างการขนส่งเป็นผลมาจากการที่จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งหรือตัวแทนหรือลูกจ้างของผู้ขนส่งยกหีบไม้โดยไม่เอาใจใส่และไม่ระมัดระวังในระหว่างการขนส่ง ถือว่าเป็นกระทำการโดยไม่เอาใจใส่ทั้งที่รู้ว่าความเสียหายนั้นอาจเกิดขึ้นได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่สินค้าเต็มจำนวนไม่อาจอ้างเอาข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่ง มาตรา 58 แห่งพระราชบัญญัติ การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534มาเป็นประโยชน์แก่ตนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4580/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาลฟ้องจำเลยต่างประเทศ, การรับประกันภัยทางทะเล, และการรับช่วงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
ป.วิ.พ. มาตรา 3 เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับเขตอำนาจศาลที่ให้โอกาสโจทก์ที่จะเสนอคำฟ้องต่อศาลในกรณีที่จำเลยไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรได้ หากจำเลยประกอบหรือเคยประกอบกิจการทั้งหมดหรือ แต่บางส่วน ในราชอาณาจักรทั้งโดยตนเองหรือตัวแทน หรือเพียงแต่จำเลยมีผู้ติดต่อในการประกอบกิจการในราชอาณาจักรเท่านั้น ก็ถือว่าสถานที่ที่ใช้หรือเคยใช้ประกอบกิจการหรือติดต่อดังกล่าว หรือสถานที่อันเป็นถิ่นที่อยู่ของตัวแทนหรือ ของผู้ติดต่อในวันที่มีการเสนอคำฟ้องหรือภายในกำหนด 2 ปี ก่อนนั้นเป็นภูมิลำเนาของจำเลย ซึ่งโจทก์สามารถเสนอคำฟ้องต่อศาลที่สถานที่ดังกล่าวอยู่ในเขตศาลได้
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ติดต่อในการประกอบกิจการขนส่งของจำเลยที่ 1 โดยเป็นผู้ติดต่อในการนำเรือให้ถึง ท่าปลายทางและติดต่อนำเรือออกจากท่าปลายทาง ตลอดจนติดต่อทำหน้าที่เป็นตัวแทนเรือในกิจการขนส่งทางทะเลอันเป็นธุรกิจบริการของจำเลยที่ 2 แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ใช่ผู้ร่วมขนส่งกับจำเลยที่ 1 แต่ก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ติดต่อในการประกอบกิจการขนส่งของจำเลยที่ 1 ในราชอาณาจักร เมื่อปรากฏตามคำฟ้องว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ติดต่อในการประกอบกิจการของจำเลยที่ 1 มีภูมิลำเนาในเขตศาลแพ่งกรุงเทพใต้ จึงถือว่าภูมิลำเนาของจำเลยที่ 2 เป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ อันเป็นศาลที่ถือว่าจำเลยที่ 1 มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1)
โจทก์ได้ทำสัญญาประกันภัยทางทะเลกับผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นผู้รับตราส่งสินค้าที่เอาประกันภัยดังกล่าว เมื่อโจทก์ผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยดังกล่าวแก่ผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นผู้รับตราส่งสินค้าที่เอาประกันภัย โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งมาฟ้องจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งสินค้าดังกล่าวได้
การรับประกันภัยของโจทก์เป็นการรับประกันภัยสินค้าตามจำนวนหน่วย การระบุน้ำหนักไว้เป็นเพียงให้ทราบถึงน้ำหนักของสินค้ารวมทุกหน่วยเท่านั้น และความเสียหายที่เกิดแก่สินค้าเป็นกรณีที่สินค้านั้นสูญหายไปบางส่วนจำนวน 10 หน่วย และสินค้าเสียหายเพราะเหล็กบุบย่นไปบางส่วน ซึ่งตามสัญญาประกันภัยได้ให้ความคุ้มครอง โจทก์ผู้รับประกันภัยจึงต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยทางทะเลต่อผู้รับตราส่งซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัย แม้โจทก์จะรับประกันภัยสินค้าที่ขนส่งทางทะเลไว้จากผู้รับตราส่งภายหลังจากที่เรือซึ่งรับขนส่งสินค้าดังกล่าวออกเดินทางจาก ท่าเรือต้นทางแล้วก็ตาม แต่ก็ปรากฏว่าเรือดังกล่าวถึงท่าปลายทางภายหลังวันที่โจทก์รับประกันภัยสินค้าที่ขนส่ง ทางทะเล ซึ่งจำเลยที่ 1 มิได้นำสืบโต้แย้งว่าความเสียหายมิได้เกิดขึ้นในระหว่างการขนส่งของจำเลยที่ 1 และ มิได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าวโดยโจทก์รู้อยู่แล้วเช่นนั้นยังจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้รับตราส่งไป การจ่ายค่าสินไหมทดแทนของโจทก์แก่ผู้รับตราส่งจึงเป็นการชำระหนี้ไปตามความรับผิดตามสัญญาประกันภัย ทางทะเล หาใช่การชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระและไม่สุจริต
มาตรา 61 แห่ง พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 เป็นเรื่องการคำนวณราคาของที่สูญหายหรือ เสียหายว่าผู้ขนส่งทางทะเลจะต้องรับผิดตามสัญญารับขนของทางทะเลเพียงใด ไม่อาจนำมาใช้บังคับแก่โจทก์ซึ่งเป็น ผู้รับประกันภัยทางทะเลได้
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ติดต่อในการประกอบกิจการขนส่งของจำเลยที่ 1 โดยเป็นผู้ติดต่อในการนำเรือให้ถึง ท่าปลายทางและติดต่อนำเรือออกจากท่าปลายทาง ตลอดจนติดต่อทำหน้าที่เป็นตัวแทนเรือในกิจการขนส่งทางทะเลอันเป็นธุรกิจบริการของจำเลยที่ 2 แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ใช่ผู้ร่วมขนส่งกับจำเลยที่ 1 แต่ก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ติดต่อในการประกอบกิจการขนส่งของจำเลยที่ 1 ในราชอาณาจักร เมื่อปรากฏตามคำฟ้องว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ติดต่อในการประกอบกิจการของจำเลยที่ 1 มีภูมิลำเนาในเขตศาลแพ่งกรุงเทพใต้ จึงถือว่าภูมิลำเนาของจำเลยที่ 2 เป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ อันเป็นศาลที่ถือว่าจำเลยที่ 1 มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1)
โจทก์ได้ทำสัญญาประกันภัยทางทะเลกับผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นผู้รับตราส่งสินค้าที่เอาประกันภัยดังกล่าว เมื่อโจทก์ผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยดังกล่าวแก่ผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นผู้รับตราส่งสินค้าที่เอาประกันภัย โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งมาฟ้องจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งสินค้าดังกล่าวได้
การรับประกันภัยของโจทก์เป็นการรับประกันภัยสินค้าตามจำนวนหน่วย การระบุน้ำหนักไว้เป็นเพียงให้ทราบถึงน้ำหนักของสินค้ารวมทุกหน่วยเท่านั้น และความเสียหายที่เกิดแก่สินค้าเป็นกรณีที่สินค้านั้นสูญหายไปบางส่วนจำนวน 10 หน่วย และสินค้าเสียหายเพราะเหล็กบุบย่นไปบางส่วน ซึ่งตามสัญญาประกันภัยได้ให้ความคุ้มครอง โจทก์ผู้รับประกันภัยจึงต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยทางทะเลต่อผู้รับตราส่งซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัย แม้โจทก์จะรับประกันภัยสินค้าที่ขนส่งทางทะเลไว้จากผู้รับตราส่งภายหลังจากที่เรือซึ่งรับขนส่งสินค้าดังกล่าวออกเดินทางจาก ท่าเรือต้นทางแล้วก็ตาม แต่ก็ปรากฏว่าเรือดังกล่าวถึงท่าปลายทางภายหลังวันที่โจทก์รับประกันภัยสินค้าที่ขนส่ง ทางทะเล ซึ่งจำเลยที่ 1 มิได้นำสืบโต้แย้งว่าความเสียหายมิได้เกิดขึ้นในระหว่างการขนส่งของจำเลยที่ 1 และ มิได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าวโดยโจทก์รู้อยู่แล้วเช่นนั้นยังจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้รับตราส่งไป การจ่ายค่าสินไหมทดแทนของโจทก์แก่ผู้รับตราส่งจึงเป็นการชำระหนี้ไปตามความรับผิดตามสัญญาประกันภัย ทางทะเล หาใช่การชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระและไม่สุจริต
มาตรา 61 แห่ง พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 เป็นเรื่องการคำนวณราคาของที่สูญหายหรือ เสียหายว่าผู้ขนส่งทางทะเลจะต้องรับผิดตามสัญญารับขนของทางทะเลเพียงใด ไม่อาจนำมาใช้บังคับแก่โจทก์ซึ่งเป็น ผู้รับประกันภัยทางทะเลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7350/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกันภัยทางทะเล: ผลของการไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการตรวจสภาพเรือและการรับรองของผู้เอาประกันภัย
สัญญาประกันภัยทางทะเลที่ทำขึ้นนั้น เมื่อประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายทะเล ทั้งไม่มีจารีตประเพณี จึงต้องวินิจฉัยคดีตามหลักกฎหมายทั่วไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4เมื่อกรมธรรม์ทำเป็นภาษาอังกฤษ จึงควรถือกฎหมายของอังกฤษเป็นกฎหมายทั่วไป ตามกรมธรรม์ประกันภัยมีข้อความให้ผู้เอาประกันภัยนำเรือไปตรวจสภาพ และปฏิบัติตามคำแนะนำให้ซ่อมแซมเรือ ตามกฎหมายอังกฤษข้อความดังกล่าวเป็นคำรับรองของผู้เอาประกันภัย เป็นคำมั่นสัญญาที่ผู้เอาประกันต้องปฏิบัติโดยเคร่งครัด และไม่จำต้องมีข้อความต่อท้ายว่า ถ้าผู้เอาประกันภัยไม่ปฏิบัติแล้วผู้รับประกันภัยจะหลุดพ้นความรับผิด ผู้เอาประกันภัยมิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยก่อนนำเรือออกทะเล เมื่อเรืออับปางที่ต่างประเทศ ผู้รับประกันภัยจึงไม่ต้องรับผิดการที่บริษัทรับประกันภัยต่อได้จ่ายเงินให้จำเลยในรูปสินไหมกรุณา ซึ่งเป็นเงินที่ผู้รับประกันภัยจ่ายให้แม้จะมีความเห็นว่าผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดชอบตามเงื่อนไขในกรมธรรม์โจทก์ในฐานะผู้รับจำนองจึงไม่อาจเข้ารับช่วงทรัพย์เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7350/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกันภัยทางทะเล: การไม่ปฏิบัติตามคำรับรองในกรมธรรม์ ทำให้ผู้รับประกันภัยหลุดพ้นจากความรับผิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า น. จดทะเบียนจำนองเรือพิพาทเป็นประกันหนี้ที่บุคคลต่าง ๆ มีต่อโจทก์ ส่วนจำเลยได้รับประกันภัยเรือพิพาทจากผู้รับโอนกรรมสิทธิ์เรือ เรือพิพาทเกิดอุบัติเหตุไม่สามารถใช้การได้ จำเลยต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามจำนวนที่ได้รับประกันภัยแก่โจทก์ แต่จำเลยได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เอาประกันภัยทำให้โจทก์ไม่มีหลักประกันที่จะบังคับชำระหนี้ได้อีกต่อไปจึงขอให้บังคับเอาเงินประกันภัย เป็นการฟ้องโดยอาศัยอำนาจแห่งกฎหมายในเรื่องช่วงทรัพย์ ไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่า บุคคลต่าง ๆ ดังกล่าวเป็นหนี้โจทก์จำนวนเท่าไร และหนี้ถึงกำหนดชำระแล้วหรือไม่ และโจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับชำระหนี้เอาแก่บุคคลต่าง ๆ ดังกล่าวแล้วหรือไม่ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม สัญญาประกันภัยทางทะเลตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 868 ให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายทะเล แต่กฎหมายทะเลของประเทศไทยยังไม่มี ทั้งจารีตประเพณีก็ไม่ปรากฏ จึงต้องวินิจฉัยคดีตามหลักกฎหมายทั่วไป กรมธรรม์ประกันภัยทางทะเลทำขึ้นเป็นภาษาอังกฤษ จึงควรถือกฎหมายว่าด้วยการประกันภัยทางทะเลของประเทศอังกฤษเป็นกฎหมายทั่วไปเพื่อเทียบเคียงวินิจฉัย เงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยมีข้อความเป็นคำรับรอง(Warranty) ของผู้เอาประกันภัยว่า เรือพิพาทจะได้รับการตรวจสภาพและจะปฏิบัติตามคำแนะนำภายใน 30 วัน นับแต่วันเริ่มคุ้มครองจึงเป็นคำมั่นสัญญาของผู้เอาประกันภัยที่จะต้องปฏิบัติโดยเคร่งครัดตาม พระราชบัญญัติ ประกันภัยทางทะเล 1906 ของประเทศอังกฤษมาตรา 33 เมื่อเรือพิพาทเกิดอุบัติเหตุอับปางซึ่งจะเกิดจากการที่ผู้เอาประกันภัยไม่ปฏิบัติตามคำรับรองหรือไม่ก็ตาม การที่ผู้เอาประกันภัยฝ่าฝืนคำรับรองผู้รับประกันภัยย่อมปฏิเสธความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยได้