คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.พนักงานอัยการ พ.ศ.2498 ม. 11

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 22 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5523/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจพนักงานอัยการดำเนินคดีบังคับตามสัญญาประกัน: หน้าที่ขอออกหมายบังคับคดี ไม่ใช่หน้าที่นำยึดทรัพย์
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119 เมื่อศาลมีคำสั่งบังคับตามสัญญาประกันแล้ว ถ้าผู้ประกันไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล ตามพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 11(8)บัญญัติให้พนักงานอัยการมีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญา และตามมาตรา 4 ให้คำจำกัดความของคำว่าดำเนินคดีว่าหมายถึงการดำเนินการไปตามอำนาจและหน้าที่ในทางอรรถคดีของทางพนักงานอัยการ ดังนั้น เมื่อมีการผิดสัญญาประกันจำเลยเกิดขึ้น พนักงานอัยการซึ่งเป็นทนายความของแผ่นดินเป็นผู้ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญา ซึ่งหมายถึงการขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีการนำยึดและจัดการอื่นใดในทางอรรถคดีเพื่อเป็นผลให้ได้เงินค่าปรับตามคำสั่งศาล หาใช่หน้าที่ของศาลเจ้าหน้าที่ศาลหรือนายประกันที่จะเป็นผู้นำยึดทรัพย์ที่วางประกันไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 667/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจพนักงานอัยการจำกัดเฉพาะคดีผิดสัญญาประกัน ไม่ครอบคลุมการขอคืนหลักประกันหลังความรับผิดสิ้นสุด
พนักงานอัยการมีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในส่วนที่เกี่ยวกับสัญญาประกันจำเลย เฉพาะกรณีที่มีการผิดสัญญาประกันเพื่อดำเนินการบังคับให้เป็นไปตามสัญญาประกันเท่านั้น การที่ผู้ประกันขอรับหลักประกันคืนภายหลังความรับผิดตามสัญญาประกันหมดไปแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 118 แม้ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งเป็นประการใด พนักงานอัยการก็ไม่มีอำนาจที่จะอุทธรณ์ฎีกาต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2604/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจปกครองและการใช้จ่ายเงินบุตรผู้เยาว์: บิดาใช้อำนาจปกครอง เงินบุตรต้องใช้เพื่อประโยชน์บุตร
บุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดาแต่อำนาจปกครองโดยแท้จริงคงอยู่ที่บิดา บิดาจึงเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองและผู้ใช้อำนาจปกครองเท่านั้นที่มีสิทธิเอาเงินของบุตรมาใช้ได้ตามสมควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1545 มารดาหามีสิทธิไม่
บิดาเปิดบัญชีเงินฝากประจำที่ธนาคารให้บุตรผู้เยาว์ โดยมอบหมายให้มารดาเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ถอนเงินจากธนาคารมาใช้จ่ายเพื่อการศึกษาของบุตร แล้วบิดามารดาต่างได้นำเงินเข้าฝากในบัญชีดังกล่าวระคนปนกับเงินได้ของบุตร โดยมีเจตนายกเงินที่นำเข้าฝากนั้นให้แก่บุตรดังนี้ เงินในบัญชีเงินฝากจึงเป็นของบุตรทั้งสิ้น หาใช่เป็นเงินที่บิดามารดาฝากไว้เป็นของตนเอง โดยฝากไว้ในนามของบุตรทำนองลงชื่อบุตรเป็นนามแฝงไม่ แม้จะมีข้อตกลงกับธนาคารว่าผู้ใดจะเป็นผู้ลงชื่อถอนเงินจากธนาคารได้นั้น ก็เป็นเรื่องระเบียบและวิธีการตามธรรมดาของธนาคารซึ่งเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก ทั้งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1545 และ 1546 ก็บัญญัติให้อำนาจและวิธีการแก่ผู้ใช้อำนาจปกครองที่จะนำเงินของบุตรไปใช้จ่ายได้ ย่อมจำเป็นที่จะต้องระบุชื่อผู้มีอำนาจหน้าที่ในการถอนเงินของบุตรจากธนาคารไว้ด้วย มิฉะนั้นจะเกิดความยุ่งยากในกรณีที่จะต้องนำเงินมาใช้จ่ายตามอำนาจ ที่บิดามอบหมายให้มารดาเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ถอนเงินจากธนาคารมาใช้จ่ายเพื่อการศึกษาของบุตรจึงเป็นเรื่องการมอบหมายให้มารดาทำหน้าที่แทนบิดาตามธรรมดานั่นเองมารดาหามีสิทธิถอนเงินของบุตรไปใช้สอยส่วนตัวไม่
พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องคดีอุทลุมในนามของตนเองแทนเด็กตามอำนาจและหน้าที่ในกฎหมาย โดยไม่มีการแต่งตั้งทนายศาลไม่สั่งให้ค่าทนายความ
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2516 แต่ไม่ลงมติ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2604/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจปกครองและการใช้เงินของบุตรผู้เยาว์: สิทธิของบิดามารดาและเจตนายกเงิน
บุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดาแต่อำนาจปกครองโดยแท้จริงคงอยู่ที่บิดา บิดาจึงเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองและผู้ใช้อำนาจปกครองเท่านั้นที่มีสิทธิเอาเงินของบุตรมาใช้ได้ตามสมควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1545 มารดาหามีสิทธิไม่
บิดาเปิดบัญชีเงินฝากประจำที่ธนาคารให้บุตรผู้เยาว์ โดยมอบหมายให้มารดาเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ถอนเงินจากธนาคารมาใช้จ่ายเพื่อการศึกษาของบุตร แล้วบิดามารดาต่างได้นำเงินเข้าฝากในบัญชีดังกล่าวระคนปนกับเงินได้ของบุตร โดยมีเจตนายกเงินที่นำเข้าฝากนั้นให้แก่บุตรดังนี้ เงินในบัญชีเงินฝากจึงเป็นของบุตรทั้งสิ้น หาใช่เป็นเงินที่บิดามารดาฝากไว้เป็นของตนเอง โดยฝากไว้ในนามของบุตรทำนองลงชื่อบุตรเป็นนามแฝงไม่ แม้จะมีข้อตกลงกับธนาคารว่าผู้ใดจะเป็นผู้ลงชื่อถอนเงินจากธนาคารได้นั้น ก็เป็นเรื่องระเบียบและวิธีการตามธรรมดาของธนาคารซึ่งเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก ทั้งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1545 และ 1546 ก็บัญญัติให้อำนาจและวิธีการแก่ผู้ใช้อำนาจปกครองที่จะนำเงินของบุตรไปใช้จ่ายได้ ย่อมจำเป็นที่จะต้องระบุชื่อผู้มีอำนาจหน้าที่ในการถอนเงินของบุตรจากธนาคารไว้ด้วย มิฉะนั้นจะเกิดความยุ่งยากในกรณีที่จะต้องนำเงินมาใช้จ่ายตามอำนาจ ที่บิดามอบหมายให้มารดาเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ถอนเงินจากธนาคารมาใช้จ่ายเพื่อการศึกษาของบุตรจึงเป็นเรื่องการมอบหมายให้มารดาทำหน้าที่แทนบิดาตามธรรมดานั่นเองมารดาหามีสิทธิถอนเงินของบุตรไปใช้สอยส่วนตัวไม่
พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องคดีอุทลุมในนามของตนเองแทนเด็กตามอำนาจและหน้าที่ในกฎหมาย โดยไม่มีการแต่งตั้งทนาย ศาลไม่สั่งให้ค่าทนายความ
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2516 แต่ไม่ลงมติ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของอัยการและขอบเขตการคุ้มครองผลประโยชน์มรดก
เดิมพนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่โดย ป.ผู้ดำรงตำแหน่งอัยการจังหวัดเชียงใหม่เป็นโจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดกมีพินัยกรรมของ ค.จากจำเลยซึ่งเป็นบุพพการีของ บ.โดยอาศัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1534. ต่อมาป.ย้ายไปรับราชการประจำกรมอัยการ ดังนี้ เห็นว่าป.เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะพนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่ มิได้ฟ้องเป็นส่วนตัว โดยได้รับมอบอำนาจจากบรรดาทายาท. ฉะนั้น ในการดำเนินคดี หากป.ไม่อยู่หรือถูกย้ายไปพนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่คนอื่นๆ ก็มีอำนาจดำเนินคดีแทนป.ได้โดยไม่ต้องได้รับมอบอำนาจจากป.อีก.
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาบังคับจำเลยแบ่งที่นาพิพาทให้แก่บรรดาทายาทตามพินัยกรรมของค.. จำเลยต่อสู้ว่าที่นาพิพาททั้งหมดเป็นของจำเลย มิใช่มรดกของค.. ดังนี้คำฟ้องและคำขอของโจทก์เพียงขอให้แบ่งที่นาพิพาทบางส่วนแก่ทายาทตามพินัยกรรมของค.เท่านั้น มิได้ฟ้องและมีคำขอให้ใช้ค่าเสียหายในการที่บรรดาทายาทมิได้รับประโยชน์จากที่นาพิพาทในระหว่างคดี. ฉะนั้น การที่โจทก์ร้องขอให้ตั้งผู้จัดการผลประโยชน์ที่นาพิพาทเพื่อรวบรวมผลประโยชน์ในระหว่างคดีแบ่งให้แก่ทายาท จึงเป็นการนอกฟ้องและเกินคำขอ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจดำเนินคดีของพนักงานอัยการ และการขอคุ้มครองประโยชน์ระหว่างคดีมรดก
เดิมพนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่โดย ป.ผู้ดำรงตำแหน่งอัยการจังหวัดเชียงใหม่เป็นโจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดกมีพินัยกรรมของ ค.จากจำเลยซึ่งเป็นบุพพการีของ บ.โดยอาศัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1534 ต่อมา ป.ย้ายไปรับราชการประจำกรมอัยการ ดังนี้ เห็นว่า ป.เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะพนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่ มิได้ฟ้องเป็นส่วนตัว โดยได้รับมอบอำนาจจากบรรดาทายาท ฉะนั้น ในการดำเนินคดี หาก ป.ไม่อยู่หรือถูกย้ายไปพนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่คนอื่นๆ ก็มีอำนาจดำเนินคดีแทน ป.ได้ โดยไม่ต้องได้รับมอบอำนาจจาก ป.อีก
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาบังคับจำเลยแบ่งที่นาพิพาทให้แก่บรรดาทายาทตามพินัยกรรมของค. จำเลยต่อสู้ว่าที่นาพิพาททั้งหมดเป็นของจำเลย มิใช่มรดกของค. ดังนี้คำฟ้องและคำขอของโจทก์เพียงขอให้แบ่งที่นาพิพาทบางส่วนแก่ทายาทตามพินัยกรรมของ ค.เท่านั้น มิได้ฟ้องและมีคำขอให้ใช้ค่าเสียหายในการที่บรรดาทายาทมิได้รับประโยชน์จากที่นาพิพาทในระหว่างคดี ฉะนั้น การที่โจทก์ร้องขอให้ตั้งผู้จัดการผลประโยชน์ที่นาพิพาทเพื่อรวบรวมผลประโยชน์ในระหว่างคดีแบ่งให้แก่ทายาท จึงเป็นการนอกฟ้องและเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของพนักงานอัยการ และการขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างคดีแบ่งมรดก
เดิมพนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่โดย ป. ผู้ดำรงตำแหน่งอัยการจังหวัดเชียงใหม่เป็นโจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดกมีพินัยกรรมของ ค. จากจำเลยซึ่งเป็นบุพการีของ บ. โดยอาศัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1534 ต่อมา ป. ย้ายไปรับราชการประจำกรมอัยการ ดังนี้ เห็นว่าป. เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะพนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่ มิได้ฟ้องเป็นส่วนตัว โดยได้รับมอบอำนาจจากบรรดาทายาท ฉะนั้น ในการดำเนินคดี หาก ป. ไม่อยู่หรือถูกย้ายไปพนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่คนอื่นๆ ก็มีอำนาจดำเนินคดีแทน ป. ได้โดยไม่ต้องได้รับมอบอำนาจจาก ป. อีก
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาบังคับจำเลยแบ่งที่นาพิพาทให้แก่บรรดาทายาทตามพินัยกรรมของ ค. จำเลยต่อสู้ว่าที่นาพิพาททั้งหมดเป็นของจำเลย มิใช่มรดกของ ค. ดังนี้คำฟ้องและคำขอของโจทก์เพียงขอให้แบ่งที่นาพิพาทบางส่วนแก่ทายาทตามพินัยกรรมของ ค. เท่านั้น มิได้ฟ้องและมีคำขอให้ใช้ค่าเสียหายในการที่บรรดาทายาทมิได้รับประโยชน์จากที่นาพิพาทในระหว่างคดี ฉะนั้น การที่โจทก์ร้องขอให้ตั้งผู้จัดการผลประโยชน์ที่นาพิพาทเพื่อรวบรวมผลประโยชน์ในระหว่างคดีแบ่งให้แก่ทายาท จึงเป็นการนอกฟ้องและเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 400/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจพนักงานอัยการรับแก้ต่างให้เจ้าพนักงานที่ถูกฟ้อง พิจารณาตามหน้าที่ ไม่ใช่ข้อหาของโจทก์
พ.ร.บ.พนักงานอัยการ 2498 มาตรา 11 ให้อำนาจพนักงานอัยการที่จะพิจารณาว่า เจ้าพนักงานที่ถูกฟ้องนั้นได้กระทำไปตามหน้าที่หรือไม่ และสมควรจะรับแก้ต่างให้หรือไม่ ไม่ใช่พิจารณาตามข้อหาของโจทก์ ดังนี้เมื่อปรากฏว่า จำเลยได้ปฏิบัติการตามหน้าที่ จึงอยู่ในอำนาจที่จะรับแก้ต่างแทนจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1004-1005/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันในคดีอาญา: ผลผูกพันหลังศาลชั้นต้นยกฟ้อง และความรับผิดของผู้ประกัน
ในคดีอาญา ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โดยศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้สั่งให้ขังจำเลยไว้หรือให้เรียกประกันระหว่างฎีกา แต่ในขณะที่คดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ผู้ประกันได้ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวโดยมีประกันและศาลชั้นต้นได้สั่งอนุญาต สัญญาประกันดังกล่าวนี้ยังคงมีผลสมบูรณ์ตลอดถึงคดีอยู่ระหว่างฎีกา เพราะสัญญาประกันในคดีอาญาจะสิ้นสุดก็ต่อเมื่อคดีถึงที่สุด เว้นแต่มีการถอน การตาย การผิดสัญญาประกัน หรือศาลสั่งยกเลิก ผู้ประกันจะอ้างว่าได้ทำสัญญาประกันโดยเข้าใจผิดหาได้ไม่ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16/2503)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1004-1005/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันในคดีอาญา: ผลผูกพันต่อเนื่องแม้ศาลชั้นต้นยกฟ้อง & ศาลไม่มีหน้าที่วินิจฉัยเหตุจำเลยไม่มาศาล
ในคดีอาญา ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โดยศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้สั่งให้ขังจำเลยไว้ หรือให้เรียกประกันระหว่างฎีกา แต่ในขณะที่คดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ผู้ประกันได้ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวโดยมีประกันและศาลชั้นต้นได้สั่งอนุญาต สัญญาประกันดังกล่าวนี้ ยังคงมีผลสมบูรณ์ตลอดถึง คดีอยู่ระหว่างฎีกา เพราะสัญญาประกันในคดีอาญาจะสิ้นสุดก็ต่อเมื่อคดีถึงที่สุด เว้นแต่มีการถอนการตาย การผิดสัญญาประกัน หรือศาลสั่งยกเลิก ผู้ประกันจะอ้างว่าได้ทำสัญญาประกันโดยเข้าใจผิดหาได้ไม่ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16/2503)
ถ้าผู้ประกันร้องเป็นประเด็นแต่ข้อเดียวว่า สัญญาประกันไม่ผูกพันเพราะไม่มีเหตุหรือมูลหนี้เท่านั้นศาลก็ย่อมไม่มีหน้าที่ที่จะเอื้อมไปวินิจฉัยว่าจำเลยไม่ไปศาลตามหมายนัดเพราะอะไร
ในคดีอาญา แม้โจทก์จำเลยต่างเป็นราษฎรด้วยกัน เมื่อมีการผิดสัญญาประกัน หรือมีกรณีเกี่ยวกับการบังคับตามสัญญาประกันเกิดขึ้น อัยการก็ย่อมมีอำนาจฎีกาได้
of 3