คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.พนักงานอัยการ พ.ศ.2498 ม. 11 (7)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 118/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจพนักงานอัยการในการฎีกาคดีละเมิดอำนาจศาล และการพิพากษาคดีละเมิดอำนาจศาล
พ.ร.บ.พนักงานอัยการฯ มาตรา 11 (7) บัญญัติว่า ในคดีที่ศาลชั้นต้นลงโทษบุคคลใดโดยลำพัง ถ้าศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ปล่อยผู้นั้น เมื่อพนักงานอัยการเห็นสมควรจะฎีกาก็ได้ และมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชาอาณาจักรไทย บัญญัติว่า ผู้พิพากษาและตุลาการมีอิสระในการพิจารณาอรรถคดีให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย คดีนี้ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกผู้ถูกกล่าวหาว่าร่วมกับพวกประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล เป็นการละเมิดอำนาจศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 31 (1), 33 ประกอบ ป.อ. มาตรา 83 ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษากลับว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่มีความผิด พนักงานอัยการจึงยื่นฎีกาขอให้ลงโทษผู้ถูกกล่าวหาตามคำสั่งศาลชั้นต้น การยื่นฎีกาของพนักงานอัยการดังกล่าวเป็นไปตามอำนาจหน้าที่ตาม พ.ร.บ.พนักงานอัยการฯ มาตรา 11 (7) แม้ศาลชั้นต้นจะเป็นผู้ทำการไต่สวนมาแต่แรก พนักงานอัยการก็มีอำนาจยื่นฎีกาคดีนี้ได้ และไม่เป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่ประกาศใช้อยู่ในขณะนั้นแต่ประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2882/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจฎีกาของพนักงานอัยการในคดีละเมิดอำนาจศาล: การรอการลงโทษไม่ใช่การปล่อยตัว
ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ลงโทษจำคุกผู้กระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เป็นว่าให้รอการลงโทษผู้กระทำผิด ผู้กระทำผิดยังคงถูกพิพากษาลงโทษจำคุก แต่รอการลงโทษไว้ มิใช่ให้ปล่อยผู้กระทำผิด กรณีไม่ต้องด้วยพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 11 (7) พนักงานอัยการฎีกาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 102/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดอำนาจศาล: ทนายยุยงให้ตัวความหลีกเลี่ยงหมายศาล ศาลฎีกาพิพากษายืนโทษ
ทนายจำเลยถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้แนะนำไม่ให้จำเลยมาศาลเพื่อฟังคำสั่งศาลและเป็นผู้ยุยงส่งเสริมให้จำเลยหลีกเลี่ยงที่จะไม่รับหมายต่างๆ ของศาลศาลชั้นต้นจึงได้ทำการไต่สวนในข้อหาว่ากระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาล และได้มีคำสั่งให้ทนายจำเลยมาศาลด้วยตนเองทุกนัดที่มีการนัดไต่สวนกรณีเช่นนี้ ทนายจำเลยไม่มีฐานะเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 19 ฉะนั้น การที่ทนายจำเลยไม่มาศาลตามคำสั่งศาล จึงไม่มีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา31(5)และ มาตรา 19
เมื่อปรากฏต่อศาลว่า ผู้ใดกระทำละเมิดอำนาจศาล จะปรากฏโดยผู้นั้นกระทำต่อหน้าศาล หรือปรากฏจากหลักฐานอื่นใดศาลก็ย่อมสั่งลงโทษได้ ในระหว่างที่ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีที่คู่ความพิพาทกัน มีหลักฐานแสดงต่อศาลว่า ทนายจำเลยกระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาลแต่ศาลยังมิได้ลงโทษทนายจำเลยศาลยังได้สั่งให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปเกี่ยวกับเรื่องละเมิดอำนาจศาลโดยเฉพาะอีก และให้โอกาสทนายจำเลยที่จะอ้างอิงพยานหลักฐานมาสืบแสดงต่อศาลครั้นถึงวันนัดทนายจำเลยก็ไม่มาศาล และไม่แจ้งเหตุขัดข้องอย่างไร แม้ภายหลังที่ศาลสั่งลงโทษทนายจำเลยแล้ว ทนายจำเลยก็มิได้แจ้งเหตุขัดข้องอย่างไรต่อศาลซึ่งแสดงว่าทนายจำเลยจงใจไม่อ้างอิงพยานหลักฐานมาสืบ และหลบเลี่ยงการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลในเรื่องละเมิดอำนาจศาลดังนี้ศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาในเรื่องทนายจำเลยละเมิดอำนาจศาลมาชอบแล้ว
เมื่อศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณารับฟังได้ว่า ทนายจำเลยเป็นผู้ยุยงเสี้ยมสอนให้ตัวความหลบเลี่ยงไม่รับหมายของศาลตลอดมาการกระทำของทนายจำเลยย่อมมีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา31(3)(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 12/2507)
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ลงโทษผู้กระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งพนักงานอัยการฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 102/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายยุยงให้ตัวความหลีกเลี่ยงหมายศาล: ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลและการเป็นตัวการ
ทนายจำเลยถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้แนะนำไม่ให้จำเลยมาศาลเพื่อฟังคำสั่งศาล และเป็นผู้ยุยงส่งเสริมให้จำเลยหลีกเลี่ยงที่จะไม่รับหมายต่าง ๆ ของศาล ศาลชั้นต้นจึงได้ทำการไต่สวนในข้อหาว่ากระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาล และได้มีคำสั่งให้ทนายจำเลยมาศาลด้วยตนเองทุกนัดที่มีการนัดไต่สวน กรณีเช่นนี้ทนายจำเลยไม่มีฐานะเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 19 ฉะนั้น การที่ทนายจำเลยไม่มาศาลตามคำสั่งของศาล จึงไม่มีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 31(5) และมาตรา 19
เมื่อปรากฎต่อศาลว่าผู้ใดกระทำละเมิดอำนาจศาลจะปรากฎโดยผู้นั้นกระทำต่อหน้าศาลหรือปรากฎจากหลักฐานอื่นใด ศาลก็ย่อมสั่งลงโทษได้ ในระหว่างที่ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีที่คู่ความพิพาทกัน มีหลักฐานแสดงต่อศาลว่าทนายจำเลยกระผิดฐานละเมิดอำนาจศาลแต่ศาลยังมิได้ลงโทษทนายจำเลย ศาลยังได้สั่งให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปเกี่ยวกับเรื่องละเมิดอำนาจศาลโดยเฉพาะอีก และให้โอกาสทนายจำเลยที่จะอ้างอิงพยานหลักฐานมาสืบแสดงต่อศาล ครั้นถึงวันนัดทนายจำเลยก็ไม่มาศาล และไม่แจ้งเหตุขัดข้องอย่างไร แม้ภายหลังที่ศาลสั่งลงโทษทนายจำเลยแล้ว ทนายจำเลยก็มิได้แจ้งเหตุขัดข้องอย่างไรต่อศาลซึ่งแสดงว่าทนายจำเลยจงใจไม่อ้างอิงพยานหลักฐานมาสืบ และหลบเลี่ยงการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลในเรื่องละเมิดอำนาจศาล ดังนี้ ศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาในเรื่องทนายจำเลยละเมิดอำนาจศาลมาชอบแล้ว
เมื่อศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณารับฟังได้ว่าทนายจำเลยเป็นผู้ยุยงเสี้ยมสอนให้ตัวความหลบเลี่ยงไม่รับหมายของศาลตลอดมา การกระทำของทนายจำเลยย่อมมีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 31(3)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1,2/2507)