คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 293

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 314 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1341/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดบังคับคดีต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง การอ้างเหตุวิกฤตเศรษฐกิจโดยไม่เข้าหลักเกณฑ์จึงไม่อาจงดบังคับคดีได้
กรณีที่จะงดการบังคับคดีได้ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 292 และ 293 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง คือกรณีที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่หรือได้ยื่นฟ้องเป็นคดีเรื่องอื่นในศาลเดียวกันนั้นซึ่งศาลยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาด แต่ตามคำร้องของจำเลยหาได้อ้างเหตุตามบทบัญญัติดังกล่าวเพื่อขอให้ศาลงดการบังคับคดีไม่ กลับอ้างวิกฤติทางเศรษฐกิจซึ่งเกิดขึ้นนอกประเทศไทยและในประเทศไทยเป็นเหตุสุดวิสัยทำให้จำเลยไม่สามารถชำระหนี้ได้มาของดการบังคับคดี โดยอ้างว่าได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150,205 และ 219 อันเป็นกฎหมายในส่วนสารบัญญัติซึ่งไม่ได้บัญญัติเกี่ยวกับการงดการบังคับคดีแต่อย่างใด ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลยจึงชอบแล้ว
ปัญหาที่ว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ถึงมาตรา 305(ว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง) ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 3,4,6,30 และ 48 จำเลยเพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ทั้งมิได้กล่าวโดยชัดแจ้งว่าบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271 ถึงมาตรา 305 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญเพราะเหตุใด จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้และไม่จำต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 796/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาคดีแพ่งถึงที่สุดย่อมไม่เปลี่ยนแปลงตามคำพิพากษาคดีอาญาที่ฟ้องเรื่องเบิกความเท็จ
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์แม้ศาลจะพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชนะคดีอาญาที่ฟ้องขอให้ลงโทษผู้รับมอบอำนาจโจทก์ฐานเบิกความเท็จ ศาลก็ลงโทษผู้รับมอบอำนาจโจทก์ทางอาญาเท่านั้น คำพิพากษาคดีอาญาหามีผลทำให้คำพิพากษาคดีแพ่งซึ่งถึงที่สุดไปแล้วเปลี่ยนแปลงไปได้ไม่ ฉะนั้นการที่จำเลยที่ 2 ฟ้องผู้รับมอบอำนาจโจทก์เป็นคดีอาญาฐานเบิกความเท็จ จึงหาเป็นเหตุเพียงพอให้งดการบังคับคดีแพ่งไว้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 478/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: กรรมสิทธิ์ตกเป็นของจำเลยเมื่อวางเงินค่าทดแทน แม้มีการปรับเปลี่ยนแนวเขตภายหลังก็ไม่คืนกรรมสิทธิ์ให้เจ้าของเดิม
ที่ดินโจทก์ทั้งสี่อยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ พ.ศ. 2534 มีผลใช้บังคับในวันที่ 1 มกราคม 2535 เพื่อสร้างทางพิเศษ คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นได้กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินและนำไปวางโดยฝากธนาคารออมสินให้แก่โจทก์ทั้งสี่แล้ว ถือว่าได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินนับแต่วันที่วางเงิน แม้ภายหลังต่อมาจะมีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ พ.ศ. 2538 ออกใช้บังคับ และคณะรัฐมนตรีมีมติปรับเปลี่ยนแนวเขตทางพิเศษใหม่ อันเป็นเหตุให้เนื้อที่ดินที่ถูกเวนคืนลดน้อยลงก็ไม่เป็นเหตุให้ที่ดินที่ไม่อยู่ในแนวเขตทางพิเศษใหม่ดังกล่าวซึ่งตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยสมบูรณ์แล้วกลับคืนมาเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทั้งสี่เจ้าของที่ดินเดิมอีก และไม่มีกฎหมายใดให้สิทธิหรืออำนาจจำเลยคืนที่ดินที่เวนคืนไปแล้วไม่ได้ใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของการเวนคืนแก่โจทก์ทั้งสี่ และเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินที่จ่ายไปคืนจากโจทก์ทั้งสี่หรือขอหักลบกันกับเงินค่าทดแทนที่ดินที่ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระเพิ่มขึ้นแก่โจทก์ทั้งสี่ กรณีจึงไม่มีเหตุที่จำเลยจะขอให้งดการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 293 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 478/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การเปลี่ยนแปลงแนวเขตไม่กระทบสิทธิที่ดินที่เวนคืนไปแล้ว แม้จะใช้ประโยชน์ไม่เต็มที่
ที่ดินของโจทก์ทั้งสี่เนื้อที่ 165 ตารางวา อยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนเพื่อสร้างทางพิเศษตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 และคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ได้กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ทั้งสี่ ซึ่งจำเลยได้นำเงินค่าทดแทนที่ดินดังกล่าวไปวางโดยฝากธนาคารออมสินไว้และแจ้งให้โจทก์ทั้งสี่ทราบแล้ว กรณีเช่นนี้ตามมาตรา 11 วรรคสอง ประกอบมาตรา 13 วรรคสองและวรรคท้าย ให้ถือว่าได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินของโจทก์ทั้งสี่เนื้อที่ 165 ตารางวา เป็นของจำเลยแล้วตั้งแต่วันที่วางเงินค่าทดแทนที่ดินดังกล่าว แม้ภายหลังจะมีการออกพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 6 อีกฉบับ และคณะรัฐมนตรี มีมติให้ปรับเปลี่ยนแนวเขตทางพิเศษใหม่ เป็นเหตุให้ที่ดินดังกล่าวอยู่ในแนวเขตทางพิเศษที่เปลี่ยนแปลงใหม่นี้เพียง 42 ตารางวา ลดลงจากเดิม 123 ตารางวา ตามคำร้องขอให้งดการบังคับคดีของจำเลยก็ตาม ก็ไม่เป็นเหตุให้ที่ดินเนื้อที่ 123 ตารางวา ที่ไม่ได้อยู่ในแนวเขตทางพิเศษใหม่ดังกล่าว ซึ่งตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยสมบูรณ์แล้ว กลับคืนมาเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินเดิมอีก และไม่มีกฎหมายใดที่ให้สิทธิหรืออำนาจจำเลยคืนที่ดินที่เวนคืนไปแล้วไม่ได้ใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของการเวนคืนแก่โจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินเดิม และเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินที่จ่ายไปคืนจากโจทก์ทั้งสี่ หรือขอหักลบกันกับเงินค่าทดแทนที่ดินที่ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระเพิ่มขึ้นแก่โจทก์ทั้งสี่ จึงไม่มีเหตุที่จำเลยจะขอให้งดการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 293

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2267/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดบังคับคดีเพื่อหักกลบลบหนี้ต้องฟ้องในศาลเดียวกัน และคำสั่งศาลเป็นที่สุด
แม้คำร้องของจำเลยจะระบุว่าขอให้งดการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 292(2) แต่เนื้อหาในคำร้องเป็นการขอให้งดการบังคับคดีเพื่อขอหักกลบลบหนี้ตามมาตรา 293 วรรคหนึ่ง ซึ่งต้องเป็นกรณีที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ฟ้องเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเป็นคดีเรื่องอื่นในศาลเดียวกัน คดีนี้จำเลยฟ้องโจทก์ที่ศาลอื่นจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะหักกลบลบหนี้ได้ และเมื่อศาลมีคำสั่งตามคำร้องดังกล่าวไม่ว่าจะสั่งให้มีผลในทางใด คำสั่งของศาลย่อมเป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 293 วรรคสาม จำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 210/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เกี่ยวกับการงดบังคับคดีเป็นที่สุดตามกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติม
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เกี่ยวกับคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งงดการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 293 เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2543 อันเป็นเวลาภายหลังจากบทบัญญัติมาตรา 293 วรรคสาม ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2542 มีผลบังคับใช้แล้ว (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2542) คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุด ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 293 วรรคสาม ประกอบมาตรา 223 และมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1714/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งงดบังคับคดี: ศาลชั้นต้นมีอำนาจพิจารณาโดยไม่ต้องไต่สวน และคำสั่งเป็นที่สุดตามกฎหมาย
จำเลยยื่นคำร้องขอให้งดการบังคับคดีโดยแนบสำเนาคำฟ้องของศาลชั้นต้นตามที่จำเลยอ้างเป็นเหตุขอให้งดการบังคับคดีมาท้ายคำร้อง เมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่สมควรให้งดการบังคับคดี ก็มีอำนาจยกคำร้องโดยไม่ต้องทำการไต่สวนก่อน อันเป็นการใช้ดุลพินิจออกคำสั่งเรื่องการ งดการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 293
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 293 วรรคสาม ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2542 และ มีผลใช้บังคับก่อนเวลาที่จำเลยยื่นฎีกา บัญญัติให้คำสั่งของศาลชั้นต้น ตามมาตรา 293 นี้เป็นที่สุด จำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1714/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการงดบังคับคดีและการสิ้นสุดสิทธิฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 293
จำเลยยื่นคำร้องขอให้งดการบังคับคดีโดยแนบสำเนาคำฟ้องของศาลชั้นต้นตามที่จำเลยอ้างเป็นเหตุขอให้งดการบังคับคดีมาท้ายคำร้อง เมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่สมควรให้งดการบังคับคดี ก็มีอำนาจยกคำร้องโดยไม่ต้องทำการไต่สวนก่อน อันเป็นการใช้ดุลพินิจออกคำสั่งเรื่องการงดการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 293
ป.วิ.พ.มาตรา 293 วรรคสาม ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 11แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ.(ฉบับที่ 18) พ.ศ.2542 และมีผลใช้บังคับก่อนเวลาที่จำเลยยื่นฎีกา บัญญัติให้คำสั่งของศาลชั้นต้นตามมาตรา 293 นี้เป็นที่สุดจำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1531/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลเกี่ยวกับการงดบังคับคดีตามมาตรา 293 วรรคสาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง ถือเป็นที่สุด ไม่อุทธรณ์ฎีกาได้
จำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้งดการบังคับคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 293(ที่ยังไม่แก้ไข) ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนแล้วมีคำสั่งยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ก่อนจำเลยยื่นฎีกาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 293 โดยให้ตัดข้อความบางส่วนของวรรคสอง และเพิ่มวรรคสามของมาตรา 293 ว่า"คำสั่งของศาลตามมาตรานี้ให้เป็นที่สุด" ซึ่งมีผลใช้บังคับทันทีนับแต่วันที่ 4พฤษภาคม 2542 ตามบทบัญญัติมาตรา 293 วรรคสาม ที่ว่า "คำสั่งของศาลตามมาตรานี้ให้เป็นที่สุด" นั้น หมายความว่าคำสั่งของศาลตามมาตราดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นการอนุญาตให้งดการบังคับคดีหรือยกคำร้อง คำสั่งดังกล่าวย่อมเป็นที่สุด จะอุทธรณ์ฎีกาต่อไปไม่ได้ทั้งนี้ก็เพื่อให้กระบวนการบังคับคดีสามารถดำเนินการไปด้วยความรวดเร็ว เมื่อจำเลยยื่นฎีกาภายหลังที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 293 วรรคสาม มีผลใช้บังคับแล้ว คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงถึงที่สุดตามมาตราดังกล่าว ประกอบด้วยมาตรา 246 ฎีกาของจำเลยจึงต้องห้ามตามมาตรา 293 วรรคสาม ประกอบมาตรา 223 และมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1531/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ งดบังคับคดี: คำสั่งศาลตามมาตรา 293 เป็นที่สุด หลังแก้ไขเพิ่มเติม
จำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้งดการบังคับคดี ตาม ป.วิ.พ.มาตรา293 (ที่ยังไม่แก้ไข) ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนแล้วมีคำสั่งยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ก่อนจำเลยยื่นฏีกาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ.มาตรา 293 โดยให้ตัดข้อความบางส่วนของวรรคสอง และเพิ่มวรรคสามของมาตรา 293 ว่า "คำสั่งของศาลตามมาตรานี้ให้เป็นที่สุด" ซึ่งมีผลใช้บังคับทันทีนับแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2542ตามบทบัญญัติมาตรา 293 วรรคสาม ที่ว่า "คำสั่งของศาลตามมาตรานี้ให้เป็นที่สุด"นั้น หมายความว่าคำสั่งของศาลตามมาตราดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นการอนุญาตให้งดการบังคับคดีหรือยกคำร้อง คำสั่งดังกล่าวย่อมเป็นที่สุด จะอุทธรณ์ฎีกาต่อไปไม่ได้ทั้งนี้ก็เพื่อให้กระบวนการบังคับคดีสามารถดำเนินการไปด้วยความรวดเร็ว เมื่อจำเลยยื่นฎีกาภายหลังที่ ป.วิ.พ.มาตรา 293 วรรคสาม มีผลใช้บังคับแล้ว คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงถึงที่สุดตามมาตราดังกล่าว ประกอบด้วยมาตรา 246 ฎีกาของจำเลยจึงต้องห้ามตามมาตรา 293 วรรคสาม ประกอบมาตรา 223 และมาตรา 247
of 32