พบผลลัพธ์ทั้งหมด 397 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 46/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการชำระหนี้จากทรัพย์สินร่วม: สิทธิของเจ้าหนี้เฉพาะตัวและเจ้าหนี้บุริมสิทธิ
โจทก์นำยึดที่ดินมีโฉนดพร้อมสิ่งปลูกสร้างมาขายทอดตลาดในฐานที่เป็นทรัพย์สินที่จำเลยมีกรรมสิทธิ์ร่วมกับ ส. ภริยาจำเลยซึ่งมีชื่อ ส.ถือกรรมสิทธิ์อยู่โดยกองมรดกของส. ซึ่งถึงแก่กรรมไปแล้วมิได้ยื่นคำคัดค้านหรือขอใช้สิทธิอย่างใดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ส่วนผู้ร้องเพียงแต่ยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ในเงินที่ขายทอดตลาดก่อนเจ้าหนี้อื่นในฐานเจ้าหนี้บุริมสิทธิจำนองเท่านั้น ซึ่งศาลชั้นต้นได้สั่งอนุญาตแล้ว สำหรับเงินส่วนที่เหลือผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้จำเลยตามคำพิพากษาในคดีอื่น ซึ่งเป็นบุคคลคนเดียวกันกับจำเลยคดีนี้ มิได้ยื่นคำขอเฉลี่ยทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 290 ดังนั้น เมื่อไม่มีเจ้าหนี้รายอื่นมายื่นคำขอเฉลี่ยทรัพย์ ภายในระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว ก็ชอบที่จะต้องจ่ายเงินสุทธิที่หักจากหนี้บุริมสิทธิให้ผู้ร้องแล้วให้แก่โจทก์ไปตามที่โจทก์พึงมีสิทธิได้รับเต็มจำนวน ผู้ร้องจะมายื่นคำแถลงคัดค้านขอให้งดการจ่ายเงินที่เหลือทั้งหมดให้แก่โจทก์โดยอ้างเหตุว่าทรัพย์ที่ขายเป็นกรรมสิทธิ์ของ ส. มิใช่ของจำเลยเงินส่วนที่เหลือต้องตกเป็นกองมรดกของ ส. ซึ่งผู้ร้องได้ขอยึดไว้ในคดีอื่นแล้วหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6326/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้จำนองร่วม: การเฉลี่ยหนี้จากทรัพย์จำนองเมื่อมีเจ้าหนี้หลายราย
ผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในหนี้จำนอง มีสิทธิร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์จำนองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 และร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ในฐานะเจ้าหนี้สามัญตามมาตรา 290 ได้ด้วย การที่ผู้ร้องและโจทก์ในคดีนี้เป็นบุคคลคนเดียวกัน และเป็นผู้รับจำนองทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ในสัญญาจำนองฉบับเดียวกันบุริมสิทธิของผู้ร้องและโจทก์เป็นบุริมสิทธิที่จะบังคับและได้รับชำระหนี้ร่วมกันจากทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 1 ได้เพียงไม่เกินวงเงินจำนอง จะขอรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้บุริมสิทธิเต็มตามจำนวนหนี้หาได้ไม่ ส่วนหนี้ที่เหลือผู้ร้องคงยื่นคำร้องขอเฉลี่ยได้อย่างเจ้าหนี้สามัญ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5531/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความยินยอมจำนองและการสัตยาบันหนี้: หนี้ร่วมผูกพันสินสมรสและสินส่วนตัว
ผู้ร้องในฐานะภรรยาของจำเลยที่ 2 ลงชื่อให้ความยินยอมในการทำนิติกรรมจำนองที่ดิน แม้หนังสือยินยอมจะไม่ได้ทำที่สำนักงานที่ดิน และต่อเจ้าพนักงานที่ดินก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายไม่ขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 1479 หนังสือยินยอมระบุว่า กิจการใดที่จำเลยที่ 2 ได้กระทำไปผู้ร้องร่วมรับผิดชอบในนิติกรรมนั้นด้วย เสมือนหนึ่งผู้ร้องได้กระทำเองทุกประการ แสดงให้เห็นว่าผู้ร้องได้รับรู้ถึงหนี้สินที่จำเลยที่ 2ได้ก่อให้เกิดขึ้น และถือได้ว่าผู้ร้องให้สัตยาบันหนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ร่วมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490 ต้องผูกพันที่ดินและทรัพย์สินอื่นรวมทั้งส่วนของผู้ร้องด้วย ไม่ว่าจะเป็นสินสมรสและสินส่วนตัว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1489 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอกันส่วน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5478/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฝากเงินเป็นประกันหนี้และการบังคับคดี: สิทธิของผู้ฝากและผู้รับฝากเมื่อมีคำสั่งอายัดทรัพย์
ป.พ.พ. มาตรา 672 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้รับฝากไม่พึงต้องส่งคืนเป็นเงินอันเดียวกันกับที่รับฝาก ผู้รับฝากมีสิทธิจะเอาเงินซึ่งฝากนั้นออกใช้ก็ได้ เงินที่ฝากจึงตกเป็นของผู้รับฝากซึ่งคงมีแต่หน้าที่คืนเงินให้ครบจำนวน เมื่อผู้ฝากฝากเงินไว้กับผู้รับฝากและตกลงมอบเงินฝากพร้อมสมุดบัญชีฝากประจำไว้เพื่อเป็นประกันหนี้ที่จะพึงมีต่อผู้รับฝาก แล้วยินยอมให้นำเงินจากบัญชีไปชำระหนี้ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าว เป็นเรื่องความตกลงในการฝากเงินเพื่อเป็นประกัน หาทำให้ตัวเงินตามจำนวนในบัญชีเงินฝากยังคงเป็นของผู้ฝาก อันผู้รับฝากได้ยึดไว้เป็นประกันการชำระหนี้ไม่จึงไม่เป็นการจำนำเงินฝาก ส่วนใบรับฝากประจำเป็นเพียงหลักฐานการรับฝากและถอนเงินที่ผู้รับฝากออกให้ผู้ฝากยึดถือไว้ เพื่อความสะดวกในการฝากและถอนเงินในบัญชีฝากประจำของผู้ฝากไม่อยู่ในลักษณะของสิทธิซึ่งมีตราสาร การมอบใบรับฝากประจำให้ผู้รับฝากยึดถือไว้เป็นประกันหนี้จึงมิใช่เป็นการจำนำสิทธิซึ่งมีตราสาร ตาม ป.พ.พ. มาตรา 750
เมื่อผู้รับฝากเงินมิใช่เจ้าหนี้บุริมสิทธิ (จำนำ) ใช้สิทธิหักเงินของผู้ฝากไปชำระให้แก่ผู้ว่าจ้างผู้ฝาก หลังจากที่ได้รับหมายอายัดของศาล จึงเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามในคำสั่งอายัดทรัพย์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 311 วรรคสาม ผู้รับฝากจะอ้าง ป.วิ.พ. มาตรา 287และการกระทำไปโดยสุจริตตามประเพณีปฏิบัติของธนาคาร หรือเป็นการอายัดซ้ำกัน มาเป็นเหตุไม่ต้องนำเงินตามจำนวนที่อายัดไปชำระต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีหาได้ไม่
เมื่อผู้รับฝากเงินมิใช่เจ้าหนี้บุริมสิทธิ (จำนำ) ใช้สิทธิหักเงินของผู้ฝากไปชำระให้แก่ผู้ว่าจ้างผู้ฝาก หลังจากที่ได้รับหมายอายัดของศาล จึงเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามในคำสั่งอายัดทรัพย์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 311 วรรคสาม ผู้รับฝากจะอ้าง ป.วิ.พ. มาตรา 287และการกระทำไปโดยสุจริตตามประเพณีปฏิบัติของธนาคาร หรือเป็นการอายัดซ้ำกัน มาเป็นเหตุไม่ต้องนำเงินตามจำนวนที่อายัดไปชำระต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5478/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินฝากเพื่อเป็นประกันหนี้ ไม่ใช่การจำนำสิทธิ และการหักเงินหลังมีหมายอายัดเป็นข้อกฎหมาย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 672 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้รับฝากไม่พึงต้องส่งคืนเป็นเงินอันเดียวกันกับที่รับฝากผู้รับฝากมีสิทธิจะเอาเงินซึ่งฝากนั้นออกใช้ก็ได้ เงินที่ฝากจึงตกเป็นของผู้รับฝากซึ่งคงมีแต่หน้าที่คืนเงินให้ครบจำนวน เมื่อผู้ฝากฝากเงินไว้กับผู้รับฝากและตกลงมอบเงินฝากพร้อมสมุดบัญชีฝากประจำไว้เพื่อเป็นประกันหนี้ที่จะพึงมีต่อผู้รับฝาก แล้วยินยอมให้นำเงินจากบัญชีไปชำระหนี้ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าว เป็นเรื่องความตกลงในการฝากเงินเพื่อเป็นประกัน หาทำให้ตัวเงินตามจำนวนในบัญชีเงินฝากยังคงเป็นของผู้ฝาก อันผู้รับฝากได้ยึดไว้เป็นประกันการชำระหนี้ไม่ จึงไม่เป็นการจำนำเงินฝาก ส่วนใบรับฝากประจำเป็นเพียงหลักฐานการรับฝากและถอนเงินที่ผู้รับฝากออกให้ผู้ฝากยึดถือไว้ เพื่อความสะดวกในการฝากและถอนเงินในบัญชีฝากประจำของผู้ฝากไม่อยู่ในลักษณะของสิทธิซึ่งมีตราสารการมอบใบฝากประจำให้ผู้รับฝากยึดถือไว้เป็นประกันหนี้จึงมิใช่เป็นการจำนำสิทธิซึ่งมีตราสาร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 750 เมื่อผู้รับฝากเงินมิใช่เจ้าหนี้บุริมสิทธิ (จำนำ) ใช้สิทธิหักเงินของผู้ฝากไปชำระให้แก่ผู้ว่าจ้างผู้ฝาก หลังจากที่ได้รับหมายอายัดของศาล จึงเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามในคำสั่งอายัดทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 311 วรรคสาม ผู้รับฝากจะอ้าง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 และการกระทำไปโดยสุจริตตามประเพณีปฏิบัติของธนาคาร หรือเป็นการอายัดซ้ำกันมาเป็นเหตุไม่ต้องนำเงินตามจำนวนที่อายัดไปชำระต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5477/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงฝากเงินเพื่อประกันหนี้ ไม่ใช่การจำนำ แม้มีการสลักหลังจำนำสมุดคู่ฝาก
ธนาคารผู้ร้องค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ซึ่งซื้อเชื่อสินค้าจากโจทก์ในวงเงิน 50,000 บาท โดยมีข้อตกลงว่าจำเลยที่ 1 ได้มอบสมุดคู่ฝากประจำจำนวนเงิน 50,000 บาท ที่ฝากไว้กับธนาคารผู้ร้องและสลักหลังจำนำเงินฝากตามสมุดคู่ฝากดังกล่าวต่อผู้ร้องด้วย แม้ผู้ร้องได้ยินยอมให้นำเงินฝากดังกล่าวเป็นประกันความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการที่ผู้ร้องค้ำประกันจำเลยที่ 1 แต่เงินฝากดังกล่าวย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องมาตั้งแต่มีการฝากเงิน จำเลยที่ 1 ผู้ฝากคงมีสิทธิที่จะถอนเงินที่ฝากไปได้ผู้ร้องมีหน้าที่ต้องคืนเงินให้ครบจำนวนที่ขอถอนเท่านั้น จึงไม่ใช่การส่งมอบสังหาริมทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ให้แก่ผู้ร้องตามลักษณะจำนำแต่อย่างใด การที่จำเลยที่ 1 ตกลงนำเงินฝากในสมุดคู่ฝากประจำมาค้ำประกันต่อผู้ร้องเป็นเพียงแต่ตกลงว่าจะไม่ถอนเงินไปจากบัญชี และหากจำเลยที่ 1 มีหนี้ค้างชำระอยู่เท่าไร จำเลยที่ 1 ยอมให้ธนาคารผู้ร้องหักเงินฝากมาชำระต้นเงินและดอกเบี้ยให้เสร็จสิ้นไปทันที ข้อตกลงระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 คงเป็นการฝากเงินเพื่อประกันหนี้เท่านั้น ไม่ใช่การจำนำ ทั้งข้อเท็จจริงก็ไม่ปรากฏว่าผู้ร้องได้ชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 ตามสัญญาค้ำประกันไปแล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาจากเงินฝากที่ผู้ร้องได้นำส่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีตามที่โจทก์ได้ขออายัดไว้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3965/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรวมและคดีล้มละลาย: สิทธิในการยึดทรัพย์และแบ่งส่วนของเจ้าหนี้
ที่ดินพิพาทมีลูกหนี้เป็นเจ้าของรวม เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีสิทธิยึดมาแบ่งแก่เจ้าหนี้ในคดีล้มละลายได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 19,22(1) และ 109(1) แม้ผู้ร้องกับพวกเป็นเจ้าของรวมฝ่ายข้างมากเห็นว่าไม่ควรขายที่ดินพิพาททั้งแปลงก็จะนำบทบัญญัติมาตรา 1361 วรรคสอง แห่ง ป.พ.พ. มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ไม่ได้ เพราะกรรมสิทธิ์ของเจ้าของรวมแต่ละคนย่อมครอบไปเหนือทรัพย์สินทั้งหมดจนกว่าจะมีการแบ่งทรัพย์สินหรือโดยการขาย ดังนั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจยึดที่ดินพิพาทออกขายได้ทั้งแปลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 ผู้ร้องย่อมใช้สิทธิเรียกขอแบ่งส่วนของตน ตามสิทธิของเจ้าของรวมได้ในทางการบังคับคดี ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 287 ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 153.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3575/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับชำระหนี้จำนองต้องเกิดหลังผิดนัดชำระหนี้ หากยังไม่ผิดนัดสิทธิการบังคับยังไม่เกิด
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 2 ได้นำยึดที่ดินซึ่งจำเลยที่ 2 จำนองเป็นประกันหนี้เงินกู้ผู้ร้องอยู่มาบังคับคดีชำระหนี้ตามคำพิพากษา เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอบังคับชำระหนี้จำนอง ก่อนกำหนดชำระหนี้ตามสัญญากู้ 1 วัน ซึ่งจำเลยที่ 2ยังไม่ผิดนัดชำระหนี้ หนี้จำนองของผู้ร้องจึงยังมิใช่หนี้จำนองที่อาจบังคับได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 ดังนี้ผู้ร้องจะบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 โดยอาศัยอำนาจแห่งการจำนองหาได้ไม่ แต่การบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาก็ไม่กระทบกระทั่งถึงสิทธิของผู้ร้อง (ผู้รับจำนอง)ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2517/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนำแล้วให้เช่าทรัพย์สินจำนำทำให้สิทธิจำนำระงับสิ้น และไม่มีสิทธิขอกันส่วนตามกฎหมาย
การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนำให้จำเลยผู้จำนำเช่าเครื่องจักรอันเป็นทรัพย์สินจำนำ ย่อมเป็นการยอมให้ทรัพย์สินจำนำกลับคืนไปสู่การครอบครองของผู้จำนำตามความหมายของบทบัญญัติมาตรา 769(2) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สิทธิจำนำของผู้ร้องจึงระงับสิ้นไปตามมาตรา ดังกล่าว ผู้ร้องจึงมิใช่เจ้าหนี้ผู้รับจำนำที่จะร้องขอกันส่วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 287 ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2517/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนำแล้วให้เช่าทรัพย์คืน สิทธิจำนำระงับสิ้น ไม่สามารถขอกันส่วนได้
การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนำให้จำเลยผู้จำนำเช่าเครื่องจักรอันเป็นทรัพย์สินจำนำย่อมเป็นการยอมให้ทรัพย์สินจำนำกลับคืนไปสู่การครอบครองของผู้จำนำตามความหมายของบทบัญญัติมาตรา 769(2) แห่ง ป.พ.พ. สิทธิจำนำของผู้ร้องจึงระงับสิ้นไปตามมาตราดังกล่าว ผู้ร้องจึงมิใช่เจ้าหนี้ผู้รับจำนำที่จะร้องขอกันส่วนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 ได้.