คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 287

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 397 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2889/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับจำนองและการเฉลี่ยทรัพย์: คำร้องของผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
จำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้ทั้งหลายที่จำเลยมีต่อโจทก์หรือผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลคนเดียวกันต่อมาโจทก์และผู้ร้องได้แยกฟ้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้และบังคับจำนอง เป็นคดีนี้กับอีก 2 คดีตามที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนอง ดังนั้น คำร้องทั้งสองฉบับดังกล่าวของผู้ร้องหาใช่เป็นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองจากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองของจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาโดยอาศัยอำนาจแห่งการจำนองซึ่งผู้ร้องมีบุริมสิทธิ์ในการที่จะได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้รายอื่นดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289ซึ่งผู้ร้องจะต้องยื่นคำร้องขอก่อนเอาทรัพย์นั้นออกขายทอดตลาดตามมาตรา 289 วรรคสองไม่ แต่เป็นคำร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์จำนองดังกล่าวตามมาตรา 287 และเป็นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ในฐานะผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเช่นเดียวกับโจทก์จากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยตามมาตรา 290

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2889/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับชำระหนี้จำนอง: คำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์จากเจ้าหนี้บุริมสิทธิที่ยื่นหลังการขายทอดตลาด
จำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้ทั้งหลายที่จำเลยมีต่อโจทก์หรือผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลคนเดียวกันต่อมาโจทก์และผู้ร้องได้แยกฟ้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้และบังคับจำนองเป็นคดีนี้ กับอีก 2 คดีตามที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนอง ดังนั้น คำร้องทั้งสองฉบับดังกล่าวของผู้ร้องหาใช่เป็นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองจากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองของจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาโดยอาศัยอำนาจแห่งการจำนองซึ่งผู้ร้องมีบุริมสิทธิในการที่จะได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้รายอื่นดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 289 ซึ่งผู้ร้องจะต้องยื่นคำร้องขอก่อนเอาทรัพย์นั้นออกขายทอดตลาดตามมาตรา 289 วรรคสองไม่ แต่เป็นคำร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์จำนองดังกล่าว ตามมาตรา 287 และเป็นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ในฐานะผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเช่นเดียวกับโจทก์จากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยตามมาตรา 290.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2620/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สามีร่วมรู้เห็นการยักยอกเงิน-ซื้อทรัพย์สิน ย่อมไม่มีสิทธิขอรับส่วนเงินจากการขายทอดตลาด
ผู้ร้องซึ่งเป็นสามีของจำเลยได้ร่วมรู้เห็นในการที่จำเลยยักยอกเงินของโจทก์แล้วนำไปซื้อที่ดิน (พร้อมสิ่งปลูกสร้าง) และเครื่องอิเล็กโทนที่โจทก์นำยึดไว้มาโดยตลอด จึงไม่อาจอ้างได้ว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นทรัพย์สินอันชอบด้วยกฎหมายของผู้ร้องตามส่วนที่พึงได้รับตามกฎหมาย และได้รับความคุ้มครองในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วม เมื่อโจทก์นำยึดทรัพย์ดังกล่าว แล้วผู้ร้องมาขอกันส่วนเงินอันได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์นั้น จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอกันส่วน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1380/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ไม้ยืนต้นปลูกชั่วคราวไม่เป็นส่วนควบของที่ดิน สิทธิในต้นสนเป็นกรรมสิทธิ์รวม ผู้รับจำนองบังคับคดีไม่ได้
ไม้ยืนต้นเป็นส่วนควบกับที่ดินที่ปลูกไม้นั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 108 วรรคแรก แต่ถ้าไม้ยืนต้นนั้น ผู้ปลูกมีเจตนาจะปลูกลงในที่ดินชั่วระยะเวลาอันมีจำกัดเพียงชั่วคราว ย่อมถือได้ว่าเป็นทรัพย์ที่ติดกับที่ดินเพียงชั่วคราวไม่กลายเป็นส่วนควบของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 109
จำเลยตกลงให้ผู้ร้องปลูกต้นสนลงในที่ดินของจำเลย เมื่อต้นสนโตเต็มที่จะตัดขายเอาเงินมาแบ่งกัน ต้นสนไม่ตกเป็นส่วนควบของที่ดิน แต่เป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างจำเลยกับผู้ร้อง จำเลยนำที่ดินไปจำนองไว้กับโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับคดีเอาจากต้นสนส่วนของผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ผู้ร้องมีสิทธิขอกันส่วนได้
(วรรคแรก วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2532)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1380/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ต้นสนบนที่ดินจำนอง: การพิจารณาความเป็นส่วนควบหรือทรัพย์สินชั่วคราว
ไม้ยืนต้นเป็นส่วนควบกับที่ดินที่ปลูกไม้นั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 108 วรรคแรก แต่ ถ้า ไม้ยืนต้นนั้น ผู้ปลูกมีเจตนาจะปลูกลงในที่ดินชั่วระยะเวลาอันมีจำกัดเพียงชั่วคราว ย่อมถือได้ว่าเป็นทรัพย์ที่ติด กับที่ดินเพียงชั่วคราวไม่กลายเป็นส่วนควบของที่ดินตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 109 จำเลยตกลง ให้ผู้ร้องปลูกต้นสน ลงในที่ดินของจำเลย เมื่อต้นสนโต เต็มที่จะตัด ขายเอาเงินมาแบ่งกัน ต้นสน ไม่ตกเป็นส่วนควบของที่ดินแต่ เป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างจำเลยกับผู้ร้อง จำเลยนำที่ดินไปจำนองไว้กับโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับคดีเอาจากต้นสนส่วนของผู้ร้องซึ่ง เป็นบุคคลภายนอก ผู้ร้องมีสิทธิขอกันส่วนได้ (วรรคแรก วินิจฉัยโดย มติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2532)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 679/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรสและสินส่วนตัว: การได้มาซึ่งทรัพย์สินระหว่างสมรส, การยึดทรัพย์เพื่อชำระหนี้, และความรับผิดในหนี้ละเมิด
ที่ดินที่จำเลยได้รับมาหลังจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ใช้บังคับแล้ว แม้จำเลยกับผู้ร้องจะสมรสกันก่อนกฎหมายใหม่ใช้บังคับ ก็ยังต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่นี้มาใช้บังคับ เมื่อจำเลยฝ่ายเดียวได้ที่ดินดังกล่าวมาระหว่างสมรสโดยการยกให้โดยเสน่หา จึงเป็นสินส่วนตัวของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471(3) ส่วนที่ดินที่จำเลยได้มาในระหว่างสมรสก่อนหน้านี้ เมื่อไม่ปรากฏว่า บิดายกให้จำเลยแต่ผู้เดียวหรือให้ผู้ร้องด้วย จึงต้องเป็นไปตามบทสันนิษฐานของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474 ตอนท้าย ที่ให้ถือว่าเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลย. แม้ผู้ร้องกับจำเลยจะร่วมกันกระทำหนี้ละเมิด แต่ก็เป็นการเฉพาะตัวของผู้ร้องกับจำเลยไม่เกี่ยวกับกิจการอันจำเป็นในครอบครัวหรือเกี่ยวข้องกับสินสมรส หรือเกิดจากการงานที่ทำด้วยกันในฐานะที่เป็นสามีภริยา จึงไม่เป็นหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1490 เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลยด้วย จึงไม่อาจจะบังคับคดีให้กระทบกระทั่งถึงสิทธิของผู้ร้องที่มีอยู่เหนือสินสมรสตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 679/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรสและการบังคับคดีหนี้ที่เกิดจากการกระทำละเมิด
ที่ดินที่จำเลยได้รับมาหลังจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ที่ได้ ตรวจ ชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ใช้ บังคับแล้ว แม้จำเลยกับผู้ร้องจะสมรสกันก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5ที่ได้ ตรวจ ชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ใช้ บังคับ ก็ยังต้อง นำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ ตรวจ ชำระใหม่ พ.ศ. 2519มาใช้ บังคับ เมื่อจำเลยฝ่ายเดียวได้ ที่ดินดังกล่าวมาระหว่างสมรสโดย การยกให้โดยเสน่หา จึงเป็นสินส่วนตัวของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471(3) สำหรับที่ดินที่จำเลยได้รับมาระหว่างสมรส ซึ่ง ไม่ปรากฏว่าบิดายกให้จำเลยแต่ผู้เดียวหรือให้ผู้ร้องด้วย จึงต้อง เป็นไปตาม บทสันนิษฐานของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474 ตอน ท้ายที่ให้ถือว่าเป็นสินสมรส ที่ดินดังกล่าวย่อมเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลยตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474(1) การร่วมกันกระทำละเมิดเป็นหนี้ร่วมธรรมดา โจทก์มิได้ฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลยด้วย ย่อมจะบังคับคดีให้กระทบกระทั่งถึง สิทธิของผู้ร้องที่มีอยู่เหนือสินสมรสมิได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ทั้งการทำละเมิดของจำเลยก็เป็นการเฉพาะตัว ของผู้กระทำโดยตรง ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการอันจำเป็นในครอบครัว หรือเกี่ยวข้องกับสินสมรสหรือเกิดจากการงานที่ผู้ร้องกับจำเลยทำด้วยกันในฐานะ ที่เป็นสามีภริยากันจึงไม่เป็นหนี้ร่วมตาม นัยมาตรา 1490 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ผู้ร้องไม่ต้องผูกพันในมูลหนี้ดังกล่าว และมีสิทธิร้องขอกันส่วนของตนได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 679/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรสและการบังคับคดีหนี้ที่เกิดจากการกระทำละเมิด
ที่ดินที่จำเลยได้รับมาหลังจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519ใช้บังคับแล้วแม้จำเลยกับผู้ร้องจะสมรสกันก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519ใช้บังคับก็ยังต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519มาใช้บังคับเมื่อจำเลยฝ่ายเดียวได้ที่ดินดังกล่าวมาระหว่างสมรสโดยการยกให้โดยเสน่หาจึงเป็นสินส่วนตัวของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1471(3) สำหรับที่ดินที่จำเลยได้รับมาระหว่างสมรสซึ่งไม่ปรากฏว่าบิดายกให้จำเลยแต่ผู้เดียวหรือให้ผู้ร้องด้วยจึงต้องเป็นไปตามบทสันนิษฐานของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1474ตอนท้ายที่ให้ถือว่าเป็นสินสมรสที่ดินดังกล่าวย่อมเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1474(1) การร่วมกันกระทำละเมิดเป็นหนี้ร่วมธรรมดาโจทก์มิได้ฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลยด้วยย่อมจะบังคับคดีให้กระทบกระทั่งถึงสิทธิของผู้ร้องที่มีอยู่เหนือสินสมรสมิได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา287ทั้งการทำละเมิดของจำเลยก็เป็นการเฉพาะตัวของผู้กระทำโดยตรงไม่เกี่ยวข้องกับกิจการอันจำเป็นในครอบครัวหรือเกี่ยวข้องกับสินสมรสหรือเกิดจากการงานที่ผู้ร้องกับจำเลยทำด้วยกันในฐานะที่เป็นสามีภริยากันจึงไม่เป็นหนี้ร่วมตามนัยมาตรา1490แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ผู้ร้องไม่ต้องผูกพันในมูลหนี้ดังกล่าวและมีสิทธิร้องขอกันส่วนของตนได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 407/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของผู้ร้องตามคำพิพากษา vs. สิทธิของเจ้าหนี้ในการยึดทรัพย์ก่อนมีคำพิพากษา
แม้โจทก์ยึดที่พิพาทก่อนศาลพิพากษาให้จำเลยโอนขายที่พิพาทให้แก่ผู้ร้องก็ตาม แต่ต่อมาเมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยขายที่พิพาทให้แก่ผู้ร้องย่อมถือได้ว่าผู้ร้องมีสิทธิตามคำพิพากษาที่จะบังคับให้จดทะเบียนสิทธิได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 ตราบใดที่ยังไม่มีการขายทอดตลาดที่ดินพิพาท ผู้ร้องย่อมใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ได้.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 407/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบังคับตามคำพิพากษาหลังยึดทรัพย์ก่อนศาลตัดสิน: ผู้ร้องมีสิทธิจดทะเบียนได้จนกว่าจะมีการขายทอดตลาด
แม้โจทก์ยึดที่พิพาทก่อนศาลพิพากษาให้จำเลยโอนขายที่พิพาทให้แก่ผู้ร้องก็ตาม แต่ ต่อมาเมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยขายที่พิพาทให้แก่ผู้ร้องย่อมถือได้ว่าผู้ร้องมีสิทธิตาม คำพิพากษาที่จะบังคับให้จดทะเบียนสิทธิได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300ตราบใด ที่ยังไม่มีการขายทอดตลาดที่ดินพิพาท ผู้ร้องย่อมใช้ สิทธิตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ได้(คำพิพากษาฎีกาที่ 738/2511 ประชุมใหญ่).
of 40