คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 287

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 397 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2986/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการจดทะเบียนสิทธิในทรัพย์สินหลังมีคำพิพากษาประนีประนอมยอมความ: ผู้ร้องย่อมมีสิทธิก่อนเจ้าหนี้รายอื่น
โจทก์และผู้ร้องต่างเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมในคดีที่จำเลยเป็นคนคนเดียวกัน จำเลยยอมใช้หนี้เงินให้โจทก์พร้อมดอกเบี้ยภายใน 10 วันนับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความจำเลยยอมโอนที่พิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้ผู้ร้องเป็นการใช้หนี้แทนภายใน 10 วันนับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความปรากฏว่าโจทก์นำยึดเรือนและที่พิพาทของจำเลยในวันเดียวกันกับที่ผู้ร้องกับจำเลยตกลงประนีประนอมยอมความกัน โดยโจทก์นำยึดภายหลังการทำยอมระหว่างจำเลยกับผู้ร้อง ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะที่จะจดทะเบียนสิทธิได้ก่อนโจทก์นำยึด แม้จำเลยจะยังมิได้กระทำการโอนกรรมสิทธิ์ทางทะเบียนให้ผู้ร้อง ผู้ร้องก็ขอให้เพิกถอนการยึดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2961/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของผู้มีคำพิพากษาถึงที่สุดก่อนการยึดทรัพย์ของเจ้าหนี้
โจทก์นำยึดที่ดินมีโฉนดของจำเลยเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินใช้หนี้เงินกู้ตามคำพิพากษา ปรากฏว่าที่ดินแปลงนี้จำเลยได้ขายให้ผู้ร้องขัดทรัพย์แล้วตั้งแต่ พ.ศ. 2511 แต่การโอนขัดข้อง ผู้ร้องขัดทรัพย์ได้ฟ้องจำเลย ศาลพิพากษาให้จำเลยโอนที่ดินให้เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้อง หากจำเลยไม่จัดการโอน ให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของจำเลย คดีถึงที่สุดแล้ว แม้ศาลได้พิพากษาให้จำเลยใช้เงินให้แก่โจทก์ และโจทก์ยึดทรัพย์จำเลยก่อนที่ศาลจะพิพากษาให้ผู้ร้องชนะคดีจำเลยดังกล่าว และกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดนี้ยังไม่ได้เปลี่ยนมือและยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องก็ตาม แต่เมื่อผู้ร้องได้สิทธิที่จะจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงนี้โดยผลแห่งคำพิพากษาคดีที่ผู้ร้องฟ้องจำเลยให้โอนที่ดินให้ซึ่งถึงที่สุดแล้วเช่นนี้ ผู้ร้องจึงมีสิทธิที่จะจดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินนี้ก่อนโจทก์ ซึ่งเพียงแต่ยึดที่ดินแปลงนี้ไว้เพื่อบังคับคดีเท่านั้น ผู้ร้องย่อมจะขอให้เพิกถอนการยึดของโจทก์ได้ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 เช่นกัน กรณีต่างกับมาตรา 1299 ซึ่งเป็นเรื่องของการได้มาซึ่งทรัพย์สิทธิซึ่งยังไม่บริบูรณ์จนกว่าจะได้จดทะเบียนทรัพย์สิทธินั้น ๆ แล้ว
ในกรณีที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานผู้ร้องและพยานโจทก์และพิพากษายกคำร้องของผู้ร้องขัดทรัพย์ แม้ผู้ร้องขัดทรัพย์จะอุทธรณ์ขอให้มีการสืบพยานใหม่เท่านั้นก็ตาม แต่เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าคดีมีพยานหลักฐานพร้อมที่จะตรวจดูได้เพียงพอที่จะชี้ขาดได้แล้วศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะชี้ขาดพิพากษาคดีไปได้เลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 240 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2961/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ที่ดินของผู้มีคำพิพากษาถึงที่สุดก่อนการยึดทรัพย์ของเจ้าหนี้
โจทก์นำยึดที่ดินมีโฉนดของจำเลยเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินใช้หนี้เงินกู้ตามคำพิพากษา. ปรากฏว่าที่ดินแปลงนี้จำเลยได้ขายให้ผู้ร้องขัดทรัพย์แล้วตั้งแต่ พ.ศ.2511 แต่การโอนขัดข้อง ผู้ร้องขัดทรัพย์ได้ฟ้องจำเลย ศาลพิพากษาให้จำเลยโอนที่ดินให้เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้อง หากจำเลยไม่จัดการโอน ให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของจำเลย คดีถึงที่สุดแล้ว แม้ศาลได้พิพากษาให้จำเลยใช้เงินให้แก่โจทก์ และโจทก์ยึดทรัพย์จำเลยก่อนที่ศาลจะพิพากษาให้ผู้ร้องชนะคดีจำเลยดังกล่าว และกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดนี้ยังไม่ได้เปลี่ยนมือและยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องก็ตาม แต่เมื่อผู้ร้องได้สิทธิที่จะจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงนี้โดยผลแห่งคำพิพากษาคดีที่ผู้ร้องฟ้องจำเลยให้โอนที่ดินให้ซึ่งถึงที่สุดแล้วเช่นนี้ ผู้ร้องจึงมีสิทธิที่จะจดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินนี้ก่อนโจทก์ ซึ่งเพียงแต่ยึดที่ดินแปลงนี้ไว้เพื่อบังคับคดีเท่านั้น ผู้ร้องย่อมจะขอให้เพิกถอนการยึดของโจทก์ได้ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 เช่นกัน กรณีต่างกับมาตรา 1299 ซึ่งเป็นเรื่องของการได้มาซึ่งทรัพย์สิทธิซึ่งยังไม่บริบูรณ์จนกว่าจะได้จดทะเบียนทรัพย์สิทธินั้นๆ แล้ว
ในกรณีที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานผู้ร้องและพยานโจทก์และพิพากษายกคำร้องของผู้ร้องขัดทรัพย์ แม้ผู้ร้องขัดทรัพย์จะอุทธรณ์ขอให้มีการสืบพยานใหม่เท่านั้นก็ตาม แต่เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าคดีมีพยานหลักฐานพร้อมที่จะตรวจดูได้เพียงพอที่จะชี้ขาดได้แล้วศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะชี้ขาดพิพากษาคดีไปได้เลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 240 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2877/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดค่าฤชาธรรมเนียมบังคับคดีตกแก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดี แม้ผู้ร้องได้รับประโยชน์จากการบังคับคดีก็ไม่ต้องรับผิด
ความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 วรรคสองให้รวมถึงค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีด้วยย่อมตกแก่คู่ความเฉพาะฝ่ายที่แพ้คดี จำเลยเป็นคู่ความและเป็นฝ่ายที่แพ้คดีจำเลยจึงต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมแต่ผู้เดียวผู้ร้องซึ่งเป็นภริยาของจำเลยยื่นคำร้องเข้ามาในชั้นบังคับคดีขอรับส่วนแบ่งจากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาด มิได้เป็นคู่ความที่แพ้คดีด้วย จึงไม่มีส่วนต้องรับผิดร่วมด้วยในค่าธรรมเนียมในการบังคับคดี (อ้างฎีกาที่ 193/2502)
มาตรา 153 (2), 318 และ 319 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเป็นบทบัญญัติกำหนดวิธีการจ่ายเงิน โดยให้หักค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดีออกจากเงินได้จากการขายทรัพย์เสียก่อนเหลือเงินสุทธิเท่าใดจึงจ่ายแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา หาใช่เป็นบทบัญญัติที่กำหนดความรับผิดในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2877/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดค่าฤชาธรรมเนียมบังคับคดีตกแก่คู่ความที่แพ้คดี แม้ผู้ร้องได้รับประโยชน์จากการขายทอดตลาดก็ไม่ต้องรับผิด
ความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 161 วรรคสองให้รวมถึงค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีด้วย ย่อมตกแก่คู่ความเฉพาะฝ่ายที่แพ้คดี จำเลยเป็นคู่ความและเป็นฝ่ายที่แพ้คดีจำเลยจึงต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมแต่ผู้เดียวผู้ร้องซึ่งเป็นภริยาของจำเลยยื่นคำร้องเข้ามาในชั้นบังคับคดีขอรับส่วนแบ่งจากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาด มิได้เป็นคู่ความที่แพ้คดีด้วย จึงไม่มีส่วนต้องรับผิดร่วมด้วยในค่าธรรมเนียมในการบังคับคดี (อ้างฎีกาที่ 193/2502)
มาตรา 153(2),318 และ 319 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเป็นบทบัญญัติกำหนดวิธีการจ่ายเงิน โดยให้หักค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดีออกจากเงินได้จากการขายทรัพย์เสียก่อน เหลือเงินสุทธิเท่าใดจึงจ่ายแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา หาใช่เป็นบทบัญญัติที่กำหนดความรับผิดในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2049/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความกับการสละมรดก: การตกลงชำระหนี้และสละสิทธิในทรัพย์มรดก
การที่ผู้ร้องเจาะจงสละที่ดินมรดกส่วนของผู้ร้องให้จำเลยโดยเฉพาะ ไม่ใช่การสละมรดกตามความในมาตรา 1612 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่การที่ผู้ร้องและจำเลยตกลงกันโดยทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อไว้ทั้งสองฝ่ายให้จำเลยเป็นผู้ใช้หนี้โจทก์แทนนาง อ. และผู้ร้องยอมสละที่ดินมรดกส่วนของตนให้จำเลย เช่นนี้มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 850 ใช้บังคับได้ และเมื่อผู้ร้องยอมสละส่วนมรดกของตนให้จำเลยไปแล้ว จึงไม่มีสิทธิขอกันส่วนจากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินรายนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2049/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สละมรดกโดยเจาะจง vs. สัญญาประนีประนอมยอมความ: การสละมรดกเฉพาะเจาะจงไม่ใช่การสละมรดกตามกฎหมาย แต่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
การที่ผู้ร้องเจาะจงสละที่ดินมรดกส่วนของผู้ร้องให้จำเลยโดยเฉพาะ ไม่ใช่การสละมรดกตามความในมาตรา 1612 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่การที่ผู้ร้องและจำเลยตกลง กันโดยทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อไว้ทั้งสองฝ่าย ให้จำเลยเป็นผู้ใช้หนี้โจทก์แทนนาง อ. และผู้ร้องยอมสละที่ดินมรดกส่วนของตนให้จำเลย เช่นนี้มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา850 ใช้บังคับได้ และเมื่อผู้ร้องยอมสละส่วนมรดกของตนให้จำเลยไปแล้ว จึงไม่มีสิทธิขอกันส่วนจากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินรายนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3094/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ร่วมจากกิจการงานสมรส: สิทธิในการกันส่วนทรัพย์สินจากการบังคับคดี
ผู้ร้องรู้เห็นด้วยในการที่ภรรยาผู้ร้องออกเช็คแลกเงินสด ไปจากโจทก์เงินที่นำมาใช้จ่ายในการซื้อที่ดินและตึกแถวที่ถูกโจทก์บังคับคดี ส่วนหนึ่งเป็นเงินที่ภรรยาผู้ร้องยืมไปจากโจทก์โดยวิธีออกเช็คแลกเงินสดนั้นเองดังนี้ ผู้ร้องจึงขอกันส่วนในจำนวนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดไม่ได้เพราะหนี้ที่ภรรยาผู้ร้องเป็นหนี้โจทก์ เป็นหนี้ที่เกิดขึ้นจากการงานที่ผู้ร้องและภรรยาทำด้วยกัน จึงเป็นหนี้ร่วมผูกพันสินสมรสส่วนของผู้ร้องด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3094/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ร่วมสินสมรส: สามีรู้เห็นภรรยาทำหนี้จากการทำงานร่วมกัน ไม่มีสิทธิขอส่วนแบ่งทรัพย์สินจากการบังคับคดี
ผู้ร้องรู้เห็นด้วยในการที่ภรรยาผู้ร้องออกเช็คแลกเงินสดไปจากโจทก์ เงินที่นำมาใช้จ่ายในการซื้อที่ดินและตึกแถวที่ถูกโจทก์บังคับคดี ส่วนหนึ่งเป็นเงินที่ภรรยาผู้ร้องยืมไปจากโจทก์โดยวิธีออกเช็คแลกเงินสดนั้นเองดังนี้ ผู้ร้องจึงขอกันส่วนในจำนวนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดไม่ได้เพราะหนี้ที่ภรรยาผู้ร้องเป็นหนี้โจทก์เป็นหนี้ที่เกิดขึ้นจากการงานที่ผู้ร้องและภรรยาทำด้วยกัน จึงเป็นหนี้ร่วมผูกพันสินสมรสส่วนของผู้ร้องด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2594/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมสามีต่อการฟ้องคดีและการร่วมรับผิดในหนี้ที่เกิดจากการประนีประนอมยอมความ
สามีโจทก์อนุญาตให้โจทก์ฟ้องจำเลยเรื่องที่ดิน โดยสามีโจทก์ยินยอมรับผิดร่วมด้วยกับโจทก์ ในความเสียหายที่จะเกิดขึ้นเกี่ยวกับการดำเนินคดีทุกประการ ในระหว่างที่โจทก์ดำเนินคดีดังกล่าว โจทก์จำเลยตกลงกันต่อศาลให้โจทก์ทำนาพิพาทจนกว่าคดีจะถึงที่สุดโดยโจทก์ยอมเสียค่าเช่าไร่ละ 7 ถังข้าวเปลือกคิดเป็นเงินถังละ13 บาท ถ้าจำเลยชนะคดีโจทก์จะนำค่าเช่าดังกล่าวชำระให้จำเลยภายใน 1 เดือนนับแต่เสร็จคดี การที่โจทก์ตกลงกับจำเลยเช่นนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินคดีที่ฟ้อง ซึ่งสามีได้อนุญาตให้โจทก์กระทำได้ตามที่อนุญาตไว้นั่นเอง สามีโจทก์จะเถียงว่าข้อที่โจทก์ได้ตกลงกับจำเลยต่อศาลเรื่องการทำนาพิพาทนั้น ไม่เกี่ยวกับการที่สามีโจทก์ได้อนุญาตให้กระทำได้นั้น ย่อมฟังไม่ขึ้น ดังนั้น เมื่อศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยชนะคดี โจทก์ไม่ยอมชำระค่าเช่า จำเลยย่อมมีสิทธินำยึดสินบริคณห์ระหว่างโจทก์กับสามีเพื่อบังคับคดีเอาชำระค่าเช่าตามที่ตกลงกันไว้ได้ โดยจำเลยไม่ต้องขอให้แยกสินบริคณห์ออกเป็นส่วนของโจทก์ก่อน สามีโจทก์จะขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดนั้นไม่ได้
of 40