คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 287

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 397 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2594/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความยินยอมสามีต่อการดำเนินคดีและการรับผิดชอบหนี้ที่เกิดจากการประนีประนอมยอมความ
สามีโจทก์อนุญาตให้โจทก์ฟ้องจำเลยเรื่องที่ดิน โดยสามีโจทก์ยินยอมรับผิดร่วมด้วยกับโจทก์ ในความเสียหายที่จะเกิดขึ้นเกี่ยวกับการดำเนินคดีทุกประการ ในระหว่างที่โจทก์ดำเนินคดีดังกล่าว โจทก์จำเลยตกลงกันต่อศาลให้โจทก์ทำนาพิพาทจนกว่าคดีจะถึงที่สุดโดยโจทก์ยอมเสียค่าเช่าไร่ละ 7 ถังข้าวเปลือกคิดเป็นเงินถังละ 13 บาท ถ้าจำเลยชนะคดีโจทก์จะนำค่าเช่าดังกล่าวชำระให้จำเลยภายใน 1 เดือนนับแต่เสร็จคดี การที่โจทก์ตกลงกับจำเลยเช่นนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินคดีที่ฟ้อง ซึ่งสามีได้อนุญาตให้โจทก์กระทำได้ตามที่อนุญาตไว้นั่นเอง สามีโจทก์จะเถียงว่าข้อที่โจทก์ได้ตกลงกับจำเลยต่อศาลเรื่องการทำนาพิพาทนั้นไม่เกี่ยวกับการที่สามีโจทก์ได้อนุญาตให้กระทำได้นั้นย่อมฟังไม่ขึ้น ดังนั้น เมื่อศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยชนะคดี โจทก์ไม่ยอมชำระค่าเช่า จำเลยย่อมมีสิทธินำยึดสินบริคณห์ระหว่างโจทก์กับสามีเพื่อบังคับคดีเอาชำระค่าเช่าตามที่ตกลงกันไว้ได้ โดยจำเลยไม่ต้องขอให้แยกสินบริคณห์ออกเป็นส่วนของโจทก์ก่อน สามีโจทก์จะขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดนั้นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1486/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัพย์มรดกยังคงรับผิดชอบหนี้สินของผู้ตาย แม้มีการโอนชื่อในโฉนดเป็นผู้รับมรดก
โฉนดที่พิพาทมีชื่อ พ. เจ้ามรดกเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์อยู่ และ พ.ได้มอบให้เจ้าหนี้ยึดไว้เป็นประกันเงินกู้ ต่อมา พ. ตาย ผู้ร้องและจำเลยได้ไปขอออกโฉนดใหม่ใส่ชื่อผู้ร้องและจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในใบแทนโฉนด ดังนี้ ไม่ทำให้ที่พิพาทนั้นพ้นจากสภาพเป็นทรัพย์ในกองมรดกของ พ. ที่จะต้องรับผิดต่อหนี้สินของ พ.ที่จะต้องชำระให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของศาล ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอกันส่วนได้ในกองมรดกจนกว่าจะได้จัดการชำระหนี้สินของ พ.ให้เสร็จสิ้นเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1486/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับชำระหนี้จากกองมรดก: โอนโฉนดรับมรดกไม่ทำให้ทรัพย์พ้นจากหนี้สินของผู้ตาย
โฉนดที่พิพาทมีชื่อ พ. เจ้ามรดกเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์อยู่ และ พ. ได้มอบให้เจ้าหนี้ยึดไว้เป็นประกันเงินกู้ต่อมา พ. ตาย ผู้ร้องและจำเลยได้ไปขอออกโฉนดใหม่ใส่ชื่อผู้ร้องและจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในใบแทนโฉนด ดังนี้ ไม่ทำให้ที่พิพาทนั้นพ้นจากสภาพเป็นทรัพย์ในกองมรดกของ พ.ที่จะต้องรับผิดต่อหนี้สินของพ.ที่จะต้องชำระให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของศาล ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอกันส่วนได้ในกองมรดกจนกว่าจะได้จัดการชำระหนี้สินของ พ. ให้เสร็จสิ้นเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 751/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้ภาษีอากรในการเฉลี่ยหนี้จากเงินที่ถูกอายัด ต้องมีสิทธิเหนือทรัพย์สินนั้นโดยตรง ไม่เทียบเคียงบุริมสิทธิ
สิทธิอื่นๆ ซึ่งบุคคลภายนอกอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ได้ตามกฎหมายในมาตรา 287 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนั้น จะต้องเป็นสิทธิที่บุคคลภายนอกมีอยู่เหนือทรัพย์สินของลูกหนี้นั้นเอง และจะต้องเป็นสิทธิเทียบเคียงได้กับบุริมสิทธิอันเป็นสิทธิประเภทแรกด้วย
ข้อเท็จจริงได้ความว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ภาษีอากรค้างชำระของจำเลย ผู้ร้องไม่ใช่เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและไม่ใช่เจ้าหนี้บุริมสิทธิ และผู้ร้องไม่เคยใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 สั่งอายัดหรือยึดเงินค่าจ้างรายพิพาทมาก่อน ดังนั้น ที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยเงินค่าจ้างรายพิพาทตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา287 โดยอ้างแต่เพียงว่า ในฐานะที่ตนเป็นเจ้าพนักงานมีสิทธิที่จะบังคับเหนือเงินรายนี้ได้ ตามนัยแห่งมาตรา 12 ประมวลรัษฎากรนั้น เห็นได้ว่าอำนาจของผู้ร้องหากจะมีตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ผู้ร้องก็ยังหาได้ใช้อำนาจบังคับเอาแก่เงินจำนวนนี้โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายดังกล่าวไม่ ผู้ร้องจึงมีฐานะไม่ต่างกับเจ้าหนี้ธรรมดา จึงไม่อาจถือได้ว่าสิทธิของผู้ร้องเป็น"สิทธิอื่น" ซึ่งเจ้าหนี้ในฐานะบุคคลภายนอกอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ตามกฎหมาย ตามนัยแห่งบทบัญญัติมาตรา 287 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 751/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้ภาษีอากรในการเฉลี่ยหนี้จากเงินค่าจ้างรายพิพาท ต้องเป็นสิทธิอื่นที่เทียบเคียงบุริมสิทธิ
สิทธิอื่นๆ ซึ่งบุคคลภายนอกอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ได้ตามกฎหมายในมาตรา 287 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนั้น จะต้องเป็นสิทธิที่บุคคลภายนอกมีอยู่เหนือทรัพย์สินของลูกหนี้นั้นเอง และจะต้องเป็นสิทธิเทียบเคียงได้กับบุริมสิทธิอันเป็นสิทธิประเภทแรกด้วย
ข้อเท็จจริงได้ความว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ภาษีอากรค้างชำระของจำเลยผู้ร้องไม่ใช่เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและไม่ใช่เจ้าหนี้บุริมสิทธิ และผู้ร้องไม่เคยใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 สั่งอายัดหรือยึดเงินค่าจ้างรายพิพาทมาก่อน ดังนั้น ที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยเงินค่าจ้างรายพิพาทตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 โดยอ้างแต่เพียงว่าในฐานะที่ตนเป็นเจ้าพนักงานมีสิทธิที่จะบังคับเหนือเงินรายนี้ได้ตามนัยแห่งมาตรา 12 ประมวลรัษฎากรนั้น เห็นได้ว่าอำนาจของผู้ร้องหากจะมีตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ผู้ร้องก็ยังหาได้ใช้อำนาจบังคับเอาแก่เงินจำนวนนี้โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายดังกล่าวไม่ผู้ร้องจึงมีฐานะไม่ต่างกับเจ้าหนี้ธรรมดา จึงไม่อาจถือได้ว่าสิทธิของผู้ร้องเป็น"สิทธิอื่น" ซึ่งเจ้าหนี้ในฐานะบุคคลภายนอกอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ตามกฎหมาย ตามนัยแห่งบทบัญญัติมาตรา 287ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 993/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการบังคับคดีหลังคำพิพากษาถึงที่สุด แม้ยังไม่ได้จดทะเบียน โจทก์ไม่อาจยึดทรัพย์ได้ หากกระทบสิทธิผู้รับโอน
ศาลพิพากษาเสร็จเด็ดขาดให้จำเลยโอนขายที่พิพาทซึ่งเป็นที่ดินมี น.ส. 3 ให้ผู้ร้องแล้ว แม้จำเลยจะยังครอบครองที่พิพาทอยู่และยังไม่ได้แก้ทะเบียนโอนให้แก่ผู้ร้อง โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เงินกู้และเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมก็ไม่อาจบังคับคดียึดที่ดินพิพาทอันเป็นการกระทบกระทั่งสิทธิของผู้ร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 เพราะผู้ร้องอยู่ในฐานะที่จะบังคับให้จดทะเบียนสิทธิของตนตามคำพิพากษาได้อยู่ก่อนแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 และโจทก์ไม่อาจอ้างสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยนั้นมาลบล้างสิทธิของผู้ร้องเกี่ยวกับที่ดินพิพาทนี้ได้ ผู้ร้องจึงไม่จำต้องฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นเสียก่อนมาร้องขอให้ปล่อยที่พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 993/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของผู้รับโอนที่ดินตามคำพิพากษาเหนือกว่าเจ้าหนี้ที่ยึดทรัพย์ แม้ยังไม่ได้จดทะเบียน
ศาลพิพากษาเสร็จเด็ดขาดให้จำเลยโอนขายที่พิพาทซึ่งเป็นที่ดินมี น.ส.3 ให้ผู้ร้องแล้ว แม้จำเลยจะยังครอบครองที่พิพาทอยู่และยังไม่ได้แก้ทะเบียนโอนให้แก่ผู้ร้อง โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เงินกู้และเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมก็ไม่อาจบังคับคดียึดที่ดินพิพาทอันเป็นการกระทบกระทั่งสิทธิของผู้ร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 287 เพราะผู้ร้องอยู่ในฐานะที่จะบังคับให้จดทะเบียนสิทธิของตนตามคำพิพากษาได้อยู่ก่อนแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1300 และโจทก์ไม่อาจอ้างสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยนั้นมาลบล้างสิทธิของผู้ร้องเกี่ยวกับที่ดินพิพาทนี้ได้ ผู้ร้องจึงไม่จำต้องฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นเสียก่อนมาร้องขอให้ปล่อยที่พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 619/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันของภริยา จำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากสามี หากไม่ได้รับอนุญาต สัญญาเป็นโมฆียะ
การที่หญิงมีสามีทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของผู้อื่นก็ถือว่า ทำการที่จะผูกพันสินบริคณห์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 38 แล้ว ถ้าทำไปโดยมิได้รับอนุญาตของสามี สัญญานั้นย่อมเป็นโมฆียะ เมื่อสามีบอกล้างแล้วสัญญานั้นก็ตกเป็นโมฆะไม่ผูกพันสินบริคณห์ แต่โมฆะกรรมในกรณีเช่นนี้มิได้ทำให้สัญญาที่หญิงมีสามีไปทำไว้นั้นไม่มีผลเสียเลย หญิงนั้นยังคงต้องรับผิดใช้หนี้เป็นส่วนตัว คือให้ใช้ด้วยสินส่วนตัวของหญิงนั้นก่อน เมื่อไม่พอหรือไม่ปรากฏว่าหญิงนั้นมีสินส่วนตัว เจ้าหนี้จะต้องร้องขอต่อศาลให้แยกสินบริคณห์ออกเป็นส่วนของหญิงนั้นตามมาตรา 1483 เพื่อดำเนินการตามคำพิพากษา โจทก์จะยึดสินบริคณห์ก่อนขอแยกไม่ได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9 -10/2514)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 619/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันของภริยาที่ทำโดยไม่ได้รับอนุญาตจากสามี: โมฆียะ & ผลกระทบต่อสินบริคณห์
การที่หญิงมีสามีทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของผู้อื่นก็ถือว่าทำการที่จะผูกพันสินบริคณห์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 38 แล้ว ถ้าทำไปโดยมิได้รับอนุญาตของสามี สัญญานั้นย่อมเป็นโมฆียะ เมื่อสามีบอกล้างแล้ว สัญญานั้น.ก็ตกเป็นโมฆะไม่ผูกพันสินบริคณห์ แต่โมฆะกรรมในกรณีเช่นนี้มิได้ทำให้สัญญาที่หญิงมีสามีไปทำไว้นั้นไม่มีผลเสียเลย หญิงนั้นยังคงต้องรับผิดใช้หนี้เป็นส่วนตัว คือให้ใช้ด้วยสินส่วนตัวของหญิงนั้นก่อน เมื่อไม่พอหรือไม่ปรากฏว่าหญิงนั้นมีสินส่วนตัว เจ้าหนี้จะต้องร้องขอต่อศาลให้แยกสินบริคณห์ออกเป็นส่วนของหญิงนั้นตามมาตรา 1483 เพื่อดำเนินการตามคำพิพากษา โจทก์จะยึดสินบริคณห์ก่อนขอแยกไม่ได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9-10/2514)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 81/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองโดยผู้แทนที่ไม่ชอบ ธนาคารสุจริตมีสิทธิบังคับได้ ผู้รับมรดกไม่มีสิทธิเรียกร้อง
จำเลยและผู้ร้องเป็นผู้รับมรดกในที่ดินร่วมกัน จำเลยไปโอนรับมรดกที่ดินใส่ชื่อตนแต่ผู้เดียว ครั้นแล้วจำเลยนำไปจำนองไว้แก่ธนาคารโจทก์ผู้ทำการโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน ดังนี้ นิติกรรมการจำนองระหว่างโจทก์กับจำเลยมีผลสมบูรณ์ ธนาคารโจทก์มีสิทธิบังคับจำนองได้เต็มตามสัญญา ผู้ร้องจะขอกันส่วนของผู้ร้องจากจำนวนเงินที่ขายทอดตลาดที่ดินจากการบังคับจำนองหาได้ไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1046/2480)
of 40