คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 287

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 397 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 737/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการจดทะเบียนเรือนพิพาทหลังสัญญาประนีประนอมยอมความ: ลำดับสิทธิเหนือเจ้าหนี้
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยยอมชำระเงินให้ผู้ร้องจำนวนหนึ่ง. โดยจะโอนเรือนพิพาทให้ผู้ร้องแทนการชำระหนี้. ถ้าจำเลยขัดขืนไม่ไปโอน. ให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทน. และศาลได้พิพากษาให้คดีเสร็จเด็ดขาดไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นแล้ว. ผู้ร้องย่อมมีสิทธิตามคำพิพากษาที่จะบังคับให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อนผู้อื่น. แม้โจทก์จะเป็นเจ้าหนี้จำเลย ก็หามีสิทธิยึดเรือนพิพาทไม่. (มติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 13/2511).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 737/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการจดทะเบียนเรือนพิพาทหลังสัญญาประนีประนอมยอมความ: ผู้รับโอนมีสิทธิก่อนเจ้าหนี้
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยยอมชำระเงินให้ผู้ร้องจำนวนหนึ่งโดยจะโอนเรือนพิพาทให้ผู้ร้องแทนการชำระหนี้ถ้าจำเลยขัดขืนไม่ไปโอนให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทน และศาลได้พิพากษาให้คดีเสร็จเด็ดขาดไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นแล้วผู้ร้องย่อมมีสิทธิตามคำพิพากษาที่จะบังคับให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อนผู้อื่นแม้โจทก์จะเป็นเจ้าหนี้จำเลย ก็หามีสิทธิยึดเรือนพิพาทไม่
(มติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 13/2511)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 737/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการจดทะเบียนสิทธิในทรัพย์สิน: สิทธิของผู้รับโอนตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยยอมชำระเงินให้ผู้ร้องจำนวนหนึ่ง โดยจะโอนเรือนพิพาทให้ผู้ร้องแทนการชำระหนี้ ถ้าจำเลยขัดขืนไม่ไปโอน ให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทน และศาลได้พิพากษาให้คดีเสร็จเด็ดขาดไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นแล้ว ผู้ร้องย่อมมีสิทธิตามคำพิพากษาที่จะบังคับให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อนผู้อื่น แม้โจทก์จะเป็นเจ้าหนี้จำเลย ก็หามีสิทธิยึดเรือนพิพาทไม่
(มติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 13/2511)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 209/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ร่วมทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาโดยไม่จดทะเบียน: การขัดทรัพย์และการร้องขัดทรัพย์ซ้ำ
ผู้ร้องเคยร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ และศาลได้สั่งยกคำร้องโดยฟังว่าทรัพย์นั้นเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ผู้ร้องมายื่นคำร้องใหม่ในคดีนี้ว่า ทรัพย์ที่ถูกยึดนั้นได้มาระหว่างที่ผู้ร้องและลูกหนี้ตามคำพิพากษาอยู่กินกันฉันสามีภริยาโดยไม่จดทะเบียน ดังนี้ ปัญหาที่ว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นของผู้ร้องกึ่งหนึ่งด้วยหรือไม่ ศาลยังไม่ได้วินิจฉัย เพราะในคดีร้องขัดทรัพย์ไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าทรัพย์ที่ยึดเป็นของลูกหนี้ทั้งหมดหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าทรัพย์ที่ถูกยึดนั้นได้มาระหว่างที่ผู้ร้องและลูกหนี้ตามคำพิพากษาอยู่กินกันฉันสามีภริยาโดยไม่จดทะเบียน ศาลก็ยกคำร้องขัดทรัพย์เสียได้ ที่ผู้ร้องมาร้องคดีนี้จึงมิใช่เป็นการร้องซ้ำในประเด็นเดียวกับที่ศาลได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 209/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างคบหากันฉันสามีภริยา โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส ไม่ถือเป็นการฟ้องซ้ำ
ผู้ร้องเคยร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ และศาลได้สั่งยกคำร้องโดยฟังว่าทรัพย์นั้นเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาผู้ร้องมายื่นคำร้องใหม่ในคดีนี้ว่า ทรัพย์ที่ถูกยึดนั้นได้มาระหว่างที่ผู้ร้องและลูกหนี้ตามคำพิพากษาอยู่กินกันฉันสามีภริยาโดยไม่จดทะเบียนดังนี้ ปัญหาที่ว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นของผู้ร้องกึ่งหนึ่งด้วยหรือไม่ ศาลยังไม่ได้วินิจฉัยเพราะในคดีร้องขัดทรัพย์ไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าทรัพย์ที่ยึดเป็นของลูกหนี้ทั้งหมดหรือไม่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าทรัพย์ที่ถูกยึดนั้นได้มาระหว่างที่ผู้ร้องและลูกหนี้ตามคำพิพากษาอยู่กินกันฉันสามีภริยาโดยไม่จดทะเบียน ศาลก็ยกคำร้องขัดทรัพย์เสียได้ ที่ผู้ร้องมาร้องคดีนี้จึงมิใช่เป็นการร้องซ้ำในประเด็นเดียวกับที่ศาลได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 209/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ร่วมทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาโดยไม่จดทะเบียน: การขัดทรัพย์และการร้องขัดทรัพย์ซ้ำ
ผู้ร้องเคยร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ และศาลได้สั่งยกคำร้องโดยฟังว่าทรัพย์นั้นเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษา. ผู้ร้องมายื่นคำร้องใหม่ในคดีนี้ว่า ทรัพย์ที่ถูกยึดนั้นได้มาระหว่างที่ผู้ร้องและลูกหนี้ตามคำพิพากษาอยู่กินกันฉันสามีภริยาโดยไม่จดทะเบียน. ดังนี้ ปัญหาที่ว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นของผู้ร้องกึ่งหนึ่งด้วยหรือไม่. ศาลยังไม่ได้วินิจฉัย.เพราะในคดีร้องขัดทรัพย์ไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าทรัพย์ที่ยึดเป็นของลูกหนี้ทั้งหมดหรือไม่. เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าทรัพย์ที่ถูกยึดนั้นได้มาระหว่างที่ผู้ร้องและลูกหนี้ตามคำพิพากษาอยู่กินกันฉันสามีภริยาโดยไม่จดทะเบียน. ศาลก็ยกคำร้องขัดทรัพย์เสียได้ ที่ผู้ร้องมาร้องคดีนี้จึงมิใช่เป็นการร้องซ้ำในประเด็นเดียวกับที่ศาลได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1195/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการแบ่งเงินจากการขายทอดตลาดของเจ้าของร่วมในทรัพย์สินที่ถูกยึดชำระหนี้
เจ้าของร่วมในทรัพย์ที่ถูกยึดมาขายทอดตลาดยื่นคำร้องขอแบ่งเงินที่ได้จากการขายภายหลังจากการขายทอดตลาดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1195/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการแบ่งเงินจากการขายทอดตลาดของเจ้าของร่วมในทรัพย์สินหลังการบังคับคดี
เจ้าของร่วมในทรัพย์ที่ถูกยึดมาขายทอดตลาดยื่นคำร้องขอแบ่งเงินที่ได้จากการขายภายหลังจากการขายทอดตลาดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1048/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ร่วม สินสมรส และการยึดทรัพย์: ผู้ไม่รู้เห็นการก่อหนี้มีสิทธิร้องขอแบ่งแยกส่วนของตน
ผู้ร้องร้องว่า การที่จำเลยไปทำนิติกรรมกู้ยืมเงินโจทก์ ผู้ร้องมิได้มีส่วนรู้เห็นด้วย และมิได้ให้สัตยาบันรับรองการกู้ยืมรายนี้ และผู้ร้องได้บอกล้างนิติกรรมรายนี้แล้ว ผู้ร้องมิได้กล่าวอ้างเลยว่าหนี้รายนี้ไม่ใช่หนี้ร่วม และที่โจทก์ให้การคัดค้าน โจทก์ก็ไม่ได้โต้แย้งหรือกล่าวแก้ว่าผู้ร้องได้ร่วมรู้เห็นในการกู้ยืมรายนี้ หรือกล่าวแก้ว่าหนี้รายนี้เป็นหนี้ร่วมที่ผู้ร้องจะต้องรับผิดร่วมด้วย ดังนั้น หนี้รายนี้จะเป็นหนี้ร่วมหรือไม่ ทั้งสองฝ่ายหาได้ยกขึ้นมาเป็นข้อกล่าวอ้างหรือเป็นข้อต่อสู้แต่อย่างใดไม่ จึงไม่มีประเด็นที่ศาลจะวินิจฉัย
ผู้ร้องอ้างว่า หนี้สินระหว่างโจทก์กับจำเลยผู้ร้องมิได้รู้เห็นและไม่ได้ให้สัตยาบันรับรองการกู้ยืม โจทก์ก็ไม่ได้ปฏิเสธหรือคัดค้านว่าผู้ร้องได้รู้เห็นยินยอมด้วย โจทก์เป็นแต่อ้างว่าทรัพย์ที่โจทก์นำยึดเป็นทรัพย์ที่เป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ร้องซึ่งเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายเป็นเจ้าของร่วมกัน ผู้ร้องมีแต่สิทธิที่จะขอกันส่วนของตน จึงต้องฟังว่าหนี้รายนี้ผู้ร้องมิได้รู้เห็นยินยอมด้วยตามที่ผู้ร้องอ้างนั้น เพราะโจทก์มิได้ปฏิเสธข้อที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง
นิติกรรมระหว่างโจทก์จำเลยเป็นนิติกรรมที่เกี่ยวกับหนี้เงินมิใช่นิติกรรมที่จำเลยทำขึ้นผูกพันสินบริคณห์โดยเฉพาะ เพราะไม่ได้เป็นนิติกรรมในการจัดการหรือจำหน่ายสินบริคณห์ จึงไม่ต้องด้วยลักษณะที่จะบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 38 และมาตรา 138 แม้ผู้ร้องซึ่งเป็นสามีจะได้บอกล้างแล้ว จำเลยก็ยังคงต้องรับผิดเป็นส่วนตัวตามมาตรา 37 และมาตรา 1479โดยเจ้าหนี้มีสิทธิที่จะบังคับเอาชำระหนี้ด้วยสินส่วนตัวของฝ่ายภริยาผู้ก่อหนี้นั้นก่อนได้ เมื่อไม่พอก็เอาชำระหนี้จากสินบริคณห์ที่เป็นส่วนของฝ่ายภริยาต่อไปอีกได้
โจทก์ยึดสินบริคณห์คือสินสมรสส่วนของจำเลย ผู้ร้องซึ่งมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมหามีอำนาจร้องขัดทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 ไม่ คงมีแต่สิทธิร้องขอแบ่งแยกส่วนของตนออกตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ประกอบกับ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1483 (อ้างฎีกาที่ 541/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1048/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ร่วม สินสมรส และการยึดทรัพย์: อำนาจร้องขัดทรัพย์ของผู้มีส่วนได้เสีย
ผู้ร้องร้องว่า การที่จำเลยไปทำนิติกรรมกู้ยืมเงินโจทก์ผู้ร้องมิได้มีส่วนรู้เห็นด้วย และมิได้ให้สัตยาบันรับรองการกู้ยืมรายนี้ และผู้ร้องได้บอกล้างนิติกรรมรายนี้แล้ว ผู้ร้องมิได้กล่าวอ้างเลยว่าหนี้รายนี้ไม่ใช่หนี้ร่วม และที่โจทก์ให้การคัดค้าน โจทก์ก็ไม่ได้แย้งหรือกล่าวแก้ว่าผู้ร้องได้ร่วมรู้เห็นในการกู้ยืมรายนี้ หรือกล่าวแก้ว่าหนี้รายนี้เป็นหนี้ร่วมที่ผู้ร้องจะต้องรับผิดร่วมด้วย ดังนั้น หนี้รายนี้จะเป็นหนี้ร่วมหรือไม่ ทั้งสองฝ่ายหาได้ยกขึ้นมาเป็นข้อกล่าวอ้างหรือเป็นข้อต่อสู้แต่อย่างใดไม่ จึงไม่มีประเด็นที่ศาลจะวินิจฉัย
ผู้ร้องอ้างว่า หนี้สินระหว่างโจทก์กับจำเลยผู้ร้องมิได้รู้เห็นและไม่ได้ให้สัตยาบันรับรองการกู้ยืม โจทก์ก็ไม่ได้ปฏิเสธหรือคัดค้านว่าผู้ร้องได้รู้เห็นยินยอมด้วย โจทก์เป็นแต่อ้างว่าทรัพย์ที่โจทก์นำยึดเป็นทรัพย์ที่เป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ร้องซึ่งเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย เป็นเจ้าของร่วมกัน ผู้ร้องมีแต่สิทธิที่จะขอกันส่วนของตน จึงต้องฟังว่าหนี้รายนี้ผู้ร้องมิได้รู้เห็นยินยอมด้วยตามที่ผู้ร้องอ้างนั้น เพราะโจทก์มิได้ปฏิเสธข้อที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง
นิติกรรมระหว่างโจทก์จำเลยเป็นนิติกรรมที่เกี่ยวกับหนี้เงิน มิใช่นิติกรรมที่จำเลยทำขึ้นผูกพันสินบริคณห์โดยเฉพาะ เพราะไม่ได้เป็นนิติกรรมในการจัดการหรือจำหน่ายสินบริคณห์ จึงไม่ต้องด้วยลักษณะที่จะบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 38 และมาตรา 138 แม้ผู้ร้องซึ่งเป็นสามีจะได้บอกล้างแล้ว จำเลยก็ยังคงต้องรับผิดเป็นส่วนตัวตามมาตรา 37 และมาตรา 1479 โดยเจ้าหนี้มีสิทธิที่จะบังคับเอาชำระหนี้ด้วยสินส่วนตัวของฝ่ายภริยาผู้ก่อหนี้นั้นก่อนได้ เมื่อไม่พอก็เอาชำระหนี้จากสินบริคณห์ที่เป็นส่วนของฝ่ายภริยาต่อไปอีกได้
โจทก์ยึดสินบริคณห์คือสินสมรสส่วนของจำเลย ผู้ร้องซึ่งมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมหามีอำนาจร้องขัดทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 ไม่ คงมีแต่สิทธิร้องขอแบ่งแยกส่วนของตนออกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ประกอบกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1483 (อ้างฎีกาที่ 541/2509)
of 40