พบผลลัพธ์ทั้งหมด 397 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 516/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของร่วมในทรัพย์สินที่ได้มาจากการใช้ชีวิตร่วมกัน แม้ไม่ได้จดทะเบียนสมรส เจ้าหนี้บังคับคดีเอาทรัพย์ส่วนเจ้าของร่วมไม่ได้
หญิงชายอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส ได้ร่วมกันซื้อนาและทำกินเป็นการแสดงเจตนาให้ถือได้ว่าเป็นเจ้าของร่วมกัน ส่วนเงินที่ซื้อฝ่ายใดจะยืมใครมาเป็นอีกเรื่องหนึ่งไม่เกี่ยวกับตัวทรัพย์ เพราะหญิงชายนั้นระคนปนทรัพย์กันใช้สอยและทำมาหากินด้วยกัน ต้องถือว่าต่างสิทธิเป็นเจ้าของคนละครึ่ง
เจ้าหนี้ของสามีจะเอาทรัพย์ส่วนของภริยาที่มิได้จดทะเบียนและมิได้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษามาชำระหนี้ไม่ได้
(อ้างฎีกาที่ 303/2488)
เจ้าหนี้ของสามีจะเอาทรัพย์ส่วนของภริยาที่มิได้จดทะเบียนและมิได้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษามาชำระหนี้ไม่ได้
(อ้างฎีกาที่ 303/2488)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 23/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการยึดหุ้น: สิทธิของเจ้าหนี้ vs. สิทธิของบริษัทในการริบหุ้น
การที่บริษัทจำกัดจะริบหุ้นของผู้ถือหุ้นที่ยังค้างชำระเงินค่าหุ้นเอาออกขายทอดตลาดนั้น จะต้องปฏิบัติการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ให้บริบูรณ์เสียก่อน มิฉะนั้นต้องถือว่าหุ้นนั้นยังเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ถือหุ้นอยู่ ซึ่งเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของผู้ถือหุ้นมีอำนาจขอให้ศาลสั่งยึดหรืออายัดหุ้นนั้นได้
ชั้นบังคับคดี เมื่อยังมีข้อเท็จจริงที่ยังโต้เถียงกันอยู่ ศาลอาจไม่สั่งให้ดำเนินการไต่สวน แต่สั่งให้ไปฟ้องกันเป็นคดีใหม่ก็ได้ ในเมื่อเห็นว่าอาจมีเหตุอย่างอื่นที่เป็นข้อยุ่งยากและไม่สะดวกแก่ศาลและคู่ความทุกฝ่าย
ชั้นบังคับคดี เมื่อยังมีข้อเท็จจริงที่ยังโต้เถียงกันอยู่ ศาลอาจไม่สั่งให้ดำเนินการไต่สวน แต่สั่งให้ไปฟ้องกันเป็นคดีใหม่ก็ได้ ในเมื่อเห็นว่าอาจมีเหตุอย่างอื่นที่เป็นข้อยุ่งยากและไม่สะดวกแก่ศาลและคู่ความทุกฝ่าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 23/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการยึดหุ้นค้างชำระ: สิทธิของเจ้าหนี้และบริษัทจำกัดในการริบหุ้น
การที่บริษัทจำกัดจะริบหุ้นของผู้ถือหุ้นที่ยังค้างชำระเงินค่าหุ้นเอาออกขายทอดตลาดนั้นจะต้องปฏิบัติการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ให้บริบูรณ์เสียก่อนมิฉะนั้นต้องถือว่าหุ้นนั้นยังเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ถือหุ้นอยู่ซึ่งเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของผู้ถือหุ้นมีอำนาจขอให้ศาลสั่งยึดหรืออายัดหุ้นนั้นได้
ชั้นบังคับคดี เมื่อยังมีข้อเท็จจริงที่ยังโต้เถียงกันอยู่ศาลอาจไม่สั่งให้ดำเนินการไต่สวน แต่สั่งให้ไปฟ้องกันเป็นคดีใหม่ก็ได้ในเมื่อเห็นว่าอาจมีเหตุอย่างอื่นที่เป็นข้อยุ่งยากและไม่สะดวกแก่ศาลและคู่ความทุกฝ่าย
ชั้นบังคับคดี เมื่อยังมีข้อเท็จจริงที่ยังโต้เถียงกันอยู่ศาลอาจไม่สั่งให้ดำเนินการไต่สวน แต่สั่งให้ไปฟ้องกันเป็นคดีใหม่ก็ได้ในเมื่อเห็นว่าอาจมีเหตุอย่างอื่นที่เป็นข้อยุ่งยากและไม่สะดวกแก่ศาลและคู่ความทุกฝ่าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 466/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดินร่วม: การแบ่งแยกทรัพย์สินตามข้อตกลง และขอบเขตสิทธิบังคับคดี
(1) เมื่อผู้ร้องไม่ได้ตั้งประเด็นว่าได้ครอบครองเป็นส่วนสัดมาเกิน 10 ปีจนได้กรรมสิทธิ์ในส่วนที่ครอบครองดังนี้ แต่ศาลไปวินิจฉัยว่าผู้ร้องครอบครองมาเกิน 10ปี ได้กรรมสิทธิ์มาโดยทางครอบครองตามมาตรา 1382 ย่อมเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
(2) เมื่อจำเลยและผู้ร้องซึ่งมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันได้ตกลงแบ่งแยกที่พิพาทกันก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยนานแล้วข้อตกลงนี้ย่อมผูกมัดผู้ร้องและจำเลยตามมาตรา 1364 โจทก์มีสิทธิบังคับคดีได้เท่าที่จำเลยมีสิทธิอยู่ในที่พิพาทนั้น เพราะโจทก์ไม่ใช่บุคคลภายนอกตามมาตรา 1299 วรรค 2ไม่มีสิทธิเอาส่วนของผู้ร้องมาขายทอดตลาด
(3) การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ซึ่งไม่ใช่ยื่นคำร้องขัดทรัพย์ตามมาตรา 288 นั้น ไม่ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียม ค่าขึ้นศาล ฯลฯ ค่าตัดสิน ฯลฯ อย่างคดีธรรมดา
(2) เมื่อจำเลยและผู้ร้องซึ่งมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันได้ตกลงแบ่งแยกที่พิพาทกันก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยนานแล้วข้อตกลงนี้ย่อมผูกมัดผู้ร้องและจำเลยตามมาตรา 1364 โจทก์มีสิทธิบังคับคดีได้เท่าที่จำเลยมีสิทธิอยู่ในที่พิพาทนั้น เพราะโจทก์ไม่ใช่บุคคลภายนอกตามมาตรา 1299 วรรค 2ไม่มีสิทธิเอาส่วนของผู้ร้องมาขายทอดตลาด
(3) การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ซึ่งไม่ใช่ยื่นคำร้องขัดทรัพย์ตามมาตรา 288 นั้น ไม่ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียม ค่าขึ้นศาล ฯลฯ ค่าตัดสิน ฯลฯ อย่างคดีธรรมดา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 466/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการแบ่งแยกทรัพย์สินร่วม: สิทธิของผู้ร้องที่มีกรรมสิทธิ์ร่วมและการตกลงแบ่งแยกก่อนฟ้อง
(1) เมื่อผู้ร้องไม่ได้ตั้งประเด็นว่าได้ครอบครองเป็นส่วนสัดมาเกิน 10 ปี จนได้กรรมสิทธิ์ในส่วนที่ครอบครอง ดังนี้ แต่ศาลไปวินิจฉัยว่าผู้ร้องครอบครองมาเกิน 10 ปี ได้กรรมสิทธิ์โดยทางครอบครองตามมาตรา 1382 ย่อมเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
(2) เมื่อจำเลยและผู้ร้องซึ่งมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันได้ตกลงแบ่งแยกที่พิพาทกันก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยนานแล้ว ข้อตกลงนี้ย่อมผูกมัดผู้ร้องและจำเลยตามมาตรา 1364 โจทก์มีสิทธิบังคับคดีได้เท่าที่จำเลยมีสิทธิอยู่ในที่พิพาทนั้น เพราะโจทก์ไม่ใช่บุคคลภายนอกตามมาตรา 1299 วรรค 2 ไม่มีสิทธิเอาส่วนของผู้ร้องมาขายอทดตลาด
(3) การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ซึ่งไม่ใช่ยื่นคำร้องขัดทรัพย์ตามมาตรา 288 นั้น ไม่ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมค่าขึ้นศาล ฯลฯ ค่าตันสิน ฯลฯ อย่างคดีธรรมดา
(2) เมื่อจำเลยและผู้ร้องซึ่งมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันได้ตกลงแบ่งแยกที่พิพาทกันก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยนานแล้ว ข้อตกลงนี้ย่อมผูกมัดผู้ร้องและจำเลยตามมาตรา 1364 โจทก์มีสิทธิบังคับคดีได้เท่าที่จำเลยมีสิทธิอยู่ในที่พิพาทนั้น เพราะโจทก์ไม่ใช่บุคคลภายนอกตามมาตรา 1299 วรรค 2 ไม่มีสิทธิเอาส่วนของผู้ร้องมาขายอทดตลาด
(3) การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ซึ่งไม่ใช่ยื่นคำร้องขัดทรัพย์ตามมาตรา 288 นั้น ไม่ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมค่าขึ้นศาล ฯลฯ ค่าตันสิน ฯลฯ อย่างคดีธรรมดา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 228/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฉ้อฉลในการโอนทรัพย์สินและการบังคับคดี: ศาลมีอำนาจวินิจฉัยการฉ้อฉลในชั้นบังคับคดีได้
ผู้ร้องร้องขัดทรัพย์ว่าทรัพย์ที่โจทก์นำยึดเป็นของผู้ร้อง โจทก์ต่อสู้ว่าทรัพย์นั้นเป็นของจำเลยทั้งนั้นไม่ใช่ของผู้ร้อง ที่ผู้ร้องร้องขัดทรัพย์ก็เพื่ออุบายฉ้อโกงไม่ชำระหนี้แก่โจทก์เท่านั้น ดังนี้ ย่อมมีความหมายอยู่ในตัวแล้วว่าอย่างน้อยก็เป็นการสมยอมกัน เป็นการฉ้อฉล การที่ศาลยกประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 ขึ้นวินิจฉัยจึงไม่ใช่นอกฟ้องนอกประเด็น
ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11/2505)
เรื่องการฉ้อฉลนี้ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยในชั้นร้องขัดทรัพย์ดังกล่าวแล้ว และเมื่อฟังว่าการโอนทรัพย์ระหว่างจำเลย (สามี) กับผู้ร้อง (ภรรยา) เป็นการฉ้อฉลตามมาตรา 237 ก็มีอำนาจที่จะพิพากษาว่าโจทก์นำยึดทรัพย์รายนี้ได้ ผู้ร้องไม่ชอบที่จะมาร้องขัดทรัพย์ และเมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ผู้ร้องจะโต้แย้งว่าเป็นเรื่องของโจทก์ที่จะขอแบ่งแยกสินบริคณห์แล้วนำยึดเฉพาะส่วนของจำเลย ดังนี้ย่อมฟังไม่ขึ้น
ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11/2505)
เรื่องการฉ้อฉลนี้ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยในชั้นร้องขัดทรัพย์ดังกล่าวแล้ว และเมื่อฟังว่าการโอนทรัพย์ระหว่างจำเลย (สามี) กับผู้ร้อง (ภรรยา) เป็นการฉ้อฉลตามมาตรา 237 ก็มีอำนาจที่จะพิพากษาว่าโจทก์นำยึดทรัพย์รายนี้ได้ ผู้ร้องไม่ชอบที่จะมาร้องขัดทรัพย์ และเมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ผู้ร้องจะโต้แย้งว่าเป็นเรื่องของโจทก์ที่จะขอแบ่งแยกสินบริคณห์แล้วนำยึดเฉพาะส่วนของจำเลย ดังนี้ย่อมฟังไม่ขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 228/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขัดทรัพย์และการฉ้อฉล: ศาลมีอำนาจวินิจฉัยเรื่องฉ้อฉลในชั้นขัดทรัพย์ได้ แม้ไม่ใช่ประเด็นหลัก
ผู้ร้องขัดทรัพย์ว่าทรัพย์ที่โจทก์นำยึดเป็นของผู้ร้องโจทก์ต่อสู้ว่าทรัพย์นั้นเป็นของจำเลยทั้งนั้นไม่ใช่ของผู้ร้อง ที่ผู้ร้องร้องขัดทรัพย์ก็เพื่ออุบายฉ้อโกงไม่ชำระหนี้แก่โจทก์เท่านั้น ดังนี้ ย่อมมีความหมายอยู่ในตัวแล้วว่าอย่างน้อยก็เป็นการสมยอมกัน เป็นการฉ้อฉล การที่ศาลยกประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 ขึ้นวินิจฉัยจึงไม่ใช่นอกฟ้องนอกประเด็น (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2505)
เรื่องการฉ้อฉลนี้ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยในชั้นร้องขัดทรัพย์ดังกล่าวแล้วได้และเมื่อฟังว่าการโอนทรัพย์ระหว่างจำเลย (สามี) กับผู้ร้อง (ภรรยา) เป็นการฉ้อฉลตามมาตรา 237 ก็มีอำนาจที่จะพิพากษาว่าโจทก์นำยึดทรัพย์รายนี้ได้ ผู้ร้องไม่ชอบที่จะมาร้องขัดทรัพย์และเมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ผู้ร้องจะโต้แย้งว่าเป็นเรื่องของโจทก์ที่จะขอแบ่งแยกสินบริคณห์แล้วนำยึดเฉพาะส่วนของจำเลยดังนี้ ย่อมฟังไม่ขึ้น
เรื่องการฉ้อฉลนี้ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยในชั้นร้องขัดทรัพย์ดังกล่าวแล้วได้และเมื่อฟังว่าการโอนทรัพย์ระหว่างจำเลย (สามี) กับผู้ร้อง (ภรรยา) เป็นการฉ้อฉลตามมาตรา 237 ก็มีอำนาจที่จะพิพากษาว่าโจทก์นำยึดทรัพย์รายนี้ได้ ผู้ร้องไม่ชอบที่จะมาร้องขัดทรัพย์และเมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ผู้ร้องจะโต้แย้งว่าเป็นเรื่องของโจทก์ที่จะขอแบ่งแยกสินบริคณห์แล้วนำยึดเฉพาะส่วนของจำเลยดังนี้ ย่อมฟังไม่ขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมให้จำนองทรัพย์สินร่วม: ผลผูกพันทางกฎหมายและการรับรองความสมบูรณ์ของสัญญา
จำเลยกับผู้ร้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส ระหว่างนั้นได้ออกเงินช่วยกันซื้อที่ดินและร่วมกันครอบครองมา เมื่อจำเลยผู้เป็นสามีนำรังวัดที่ดินนี้เพื่อออกโฉนดและใบไต่สวน ผู้ร้องก็ทราบแต่ก็ยอมให้ลงชื่อจำเลยเป็นเจ้าของแต่ผู้เดียวภายหลังจำเลยนำที่ดินนี้ไปจำนองไว้กับโจทก์ เมื่อโจทก์บอกกล่าวการบังคับจำนอง ผู้ร้องก็ติดต่อขอผ่อนผันกับโจทก์โดยได้รับมอบอำนาจจากจำเลย ต่อมาผู้ร้องปลูกห้องแถวลงในที่ดินนี้ ผู้ร้องก็ขออนุญาตโจทก์ และยังยอมให้สิ่งปลูกสร้างตกอยู่ในสัญญาจำนองด้วย เมื่อจำเลยถูกโจทก์ฟ้องบังคับจำนองตลอดจนกระทั่งโจทก์ชนะคดีแล้วยึดที่ดินจำนองขายทอดตลาด ผู้ร้องก็ไม่เคยโต้แย้งเลยดังนี้ ผู้ร้องจะเพิ่งมาโต้แย้งภายหลังที่ขายทอดตลาดแล้วว่าทรัพย์รายนี้เป็นของผู้ร้องร่วมอยู่ด้วย และว่าจำเลยไม่มีอำนาจจำนองทรัพย์ส่วนของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงขอแบ่งเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดเช่นนี้หาได้ไม่เพราะตามพฤติการณ์ของผู้ร้องแสดงชัดแจ้งแล้วว่าผู้ร้องรับรองต่อโจทก์ว่าที่จำเลยจำนองที่ดินนี้แก่โจทก์นั้นเป็นการสมบูรณ์และโดยมีอำนาจ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับการจำนองของผู้อื่นโดยปริยาย แม้เป็นเจ้าของร่วม ไม่สามารถเรียกร้องภายหลังได้
จำเลยกับผู้ร้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา โดยมิได้จดทะเบียนสมรส ระหว่างนั้นได้ออกเงินช่วยกันซื้อที่ดินและร่วมกันครอบครองมา เมื่อจำเลยผู้เป็นสามีนำรังวัดที่ดินนี้เพื่อออกโฉนดและใบไต่สวนผู้ร้องก็ทราบ แต่ก็ยอมให้ลงชื่อจำเลยเป็นเจ้าของแต่ผู้เดียว ภายหลังจำเลยนำที่ดินนี้ไปจำนองไว้กับโจทก์ เมื่อโจทก์บอกกล่าวการบังคับจำนองผู้ร้องก็ติดต่อขอผ่อนผันกับโจทก์โดยได้รับมอบอำนาจจากจำเลย ต่อมาผู้ร้องปลูกป้องแถวลงในที่ดินนี้ ผุ้ร้องก็ขออนุญาตโจทก์ และยังยอมให้สิ่งปลูกสร้างตกอยู่ในสัญญาจำนองด้วย เมื่อจำเลยถูกโจทก์ฟ้องบังคับจำนองตลอดจนกระทั่งโจทก์ชนะคดีแล้วนำยึดที่ดินจำนองขายทอดตลาด ผู้ร้องก็ไม่เคยโต้แย้งเลย ดังนี้ ผู้ร้องจะเพิ่งมาโต้แย้งภายหลังที่ขายทอดตลาดแล้วว่าทรัพย์รายนี้เป็นของผู้ร้องร่วมอยู่ด้วย และว่าจำเลยไม่มีอำนาจจำนองทรัพย์ส่วนของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงขอแบ่งเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดเช่นนี้หาได้ไม่ เพราะตามพฤติการณ์ของผู้ร้องแสดงชัดแจ้งแล้วว่าผู้ร้องรับรองต่อโจทก์ว่าที่จำเลยจำนองที่ดินนี้แก่โจทก์นั้นเป็นการสมบูรณ์และโดยมีอำนาจ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 961/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนำเรือยนต์เป็นประกันหนี้ การบังคับคดีและการได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่น
จำเลยกู้เงินผู้ร้องไปโดยนำเรือยนต์(ขนาด 3 ตัน) มามอบให้ผู้ร้องยึดถือไว้เป็นประกันการชำระหนี้ แล้วไม่มีเรือใช้ จึงเช่าเรือไปจากผู้ร้อง ต้องถือว่าจำเลยครอบครองเรือแทนผู้ร้องในฐานะเป็นผู้เช่า ย่อมเป็นการจำนำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 747
คำร้องบรรยายไว้แล้วว่า จำเลยได้มอบเรือยนต์ให้ผู้ร้องยึดถือเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ผู้ร้อง ถือว่าผู้ร้องอ้างสิทธิจำนำแล้ว
สิทธิของผู้ร้องผู้รับจำนำจะเรียกว่าบุริมสิทธิดังที่ผู้ร้องเรียกในคำร้องหรือไม่ก็ตาม เมื่อเห็นความมุ่งหมายของผู้ร้องได้ว่าประสงค์จะขอรับชำระหนี้ของตนให้ครบถ้วนก่อนเจ้าหนี้อื่น และคำขอนี้ก็มีมาตรา 758 สนับสนุนอยู่แล้ว ศาลก็ย่อมมีคำสั่งให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้จากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์ที่จำนำนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นได้.
คำร้องบรรยายไว้แล้วว่า จำเลยได้มอบเรือยนต์ให้ผู้ร้องยึดถือเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ผู้ร้อง ถือว่าผู้ร้องอ้างสิทธิจำนำแล้ว
สิทธิของผู้ร้องผู้รับจำนำจะเรียกว่าบุริมสิทธิดังที่ผู้ร้องเรียกในคำร้องหรือไม่ก็ตาม เมื่อเห็นความมุ่งหมายของผู้ร้องได้ว่าประสงค์จะขอรับชำระหนี้ของตนให้ครบถ้วนก่อนเจ้าหนี้อื่น และคำขอนี้ก็มีมาตรา 758 สนับสนุนอยู่แล้ว ศาลก็ย่อมมีคำสั่งให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้จากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์ที่จำนำนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นได้.