พบผลลัพธ์ทั้งหมด 49 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4474/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการฎีกาในประเด็นที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้ว
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีไว้ชั่วคราวจนกว่าคดีร้องขัดทรัพย์จะถึงที่สุด คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องของจำเลยที่ 3 ที่ขอให้ยกคดีนี้ขึ้นพิจารณาใหม่และยกคำร้องขอเฉลี่ยของผู้ร้อง จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นซึ่งไม่ทำให้คดีตามคำร้องขอเฉลี่ยของผู้ร้องเสร็จไปจากศาล และมิใช่เป็นคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 227, 228 ที่ย่อมต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตามมาตรา 226 (1) ที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 และศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษามาจึงไม่ชอบ แม้จำเลยที่ 3 ฎีกาต่อมา ก็ต้องถือว่าฎีกาของจำเลยที่ 3 เป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วยมาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4474/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ชอบ ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์พิพากษามาแล้ว ฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คดีนี้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีไว้ชั่วคราวจนกว่าคดีร้องขัดทรัพย์ที่ สข.8/2554 จะถึงที่สุด จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น ดังนั้น คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องของจำเลยที่ 3 ที่ขอให้ยกคดีนี้ขึ้นพิจารณาใหม่และยกคำร้องขอเฉลี่ยของผู้ร้อง ซึ่งไม่ทำให้คดีตามคำร้องขอเฉลี่ยของผู้ร้องเสร็จไปจากศาล และมิใช่เป็นคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 227, 228 ย่อมต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตามมาตรา 226 (1) ที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 และศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษามาจึงไม่ชอบ แม้จำเลยที่ 3 ฎีกาต่อมา ก็ต้องถือว่าฎีกาของจำเลยที่ 3 เป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วยมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13857-13858/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบเมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งระหว่างพิจารณาคดี และการฎีกาที่ไม่ชัดเจนโต้แย้งเหตุผลคำสั่ง
คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยแล้วถือว่าคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 คำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 1 ที่ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการเรียกให้จำเลยนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควร จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาคำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247 ประกอบมาตรา 226 (1) ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาข้อนี้ของจำเลยเป็นการไม่ชอบ จำเลยฎีกาคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 1 เกี่ยวกับการงดการบังคับคดีโดยอ้างเพียงว่า ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่ได้ระบุชัดแจ้งว่าจำเลยต้องปฏิบัติอย่างไร เช่นนี้ฎีกาของจำเลยจึงมิได้โต้แย้งคัดค้านคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 1 ดังกล่าวว่าไม่ถูกต้องอย่างไร ด้วยเหตุผลใด จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5698/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาคำสั่งศาลอุทธรณ์ระหว่างพิจารณาคดี: คำสั่งอนุญาตให้สวมสิทธิเป็นคู่ความต้องห้ามฎีกา
คำสั่งศาลอุทธรณ์ที่อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 นั้น เป็นคำสั่งก่อนที่ศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี และมิใช่คำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228 แห่ง ป.วิ.พ. จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาคำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247 จำเลยที่ 1 จึงยังไม่มีสิทธิฎีกา คงมีสิทธิเพียงโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้เพื่อใช้สิทธิฎีกาต่อไปเมื่อศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีนั้นแล้วเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8977/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งอนุญาตให้สวมสิทธิเป็นคู่ความระหว่างพิจารณาคดี ต้องห้ามอุทธรณ์จนกว่ามีคำพิพากษา
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ผู้ร้องสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น ต้องห้ามอุทธรณ์จนกว่าศาลชั้นต้นจะได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8321/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่รับอุทธรณ์ ผู้ร้องต้องโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาภายในเวลา หากไม่ทำสิทธิอุทธรณ์ระงับ
คำร้องขอขยายระยะเวลาของผู้ร้องที่ยื่นต่อศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 เป็นอำนาจและดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่จะสั่งตามที่เห็นสมควร คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินของผู้ร้อง ฉบับลงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2548 จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณานอกเหนือจากคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 227, 228 ผู้ร้องจะต้องโต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นไว้จึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อไป เว้นแต่ผู้ร้องจะไม่มีโอกาสที่จะโต้แย้งได้ การที่ทนายผู้ร้องได้ลงชื่อรับทราบในคำร้องฉบับดังกล่าวเพื่อให้มาฟังคำสั่งในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2548 กรณีย่อมต้องถือว่า ผู้ร้องได้ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน 2548 ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2548 ให้จำหน่ายคดีของผู้ร้องออกจากสารบบความ อันเป็นเวลาหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งถึง 4 วัน ผู้ร้องย่อมมีโอกาสเพียงพอที่จะโต้แย้งคัดค้านคำสั่งนี้ได้ แต่ผู้ร้องก็มิได้โต้แย้ง เป็นการไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7981/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีทิ้งฟ้องได้ หากมีเหตุผลสมควรและมิได้จงใจทิ้งฟ้อง ศาลมีอำนาจไต่สวนและเพิกถอนคำสั่งเดิมได้
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 132 (1) ทำให้คดีเสร็จไปจากศาล เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีแล้วคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งใหม่ให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีเช่นนี้เกิดขึ้นภายหลังคำสั่งจำหน่ายคดี จึงไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาอันต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1) จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้
แม้ศาลชั้นต้นจะได้สั่งจำหน่ายคดีโดยเห็นว่าโจทก์ทิ้งฟ้องไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มายื่นคำร้องแสดงเหตุอันสมควร ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะทำการไต่สวนคำร้องของโจทก์เพื่อทราบข้อเท็จจริงและหากเห็นว่ามีการกระทำหรือดำเนินกระบวนพิจารณาโดยผิดหลงและเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม ศาลชั้นต้นก็ย่อมมีอำนาจเพิกถอนกระบวนพิจารณาพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าวโดยสั่งเพิกถอนคำสั่งที่ว่าโจทก์ทิ้งฟ้องและให้จำหน่ายคดีจากสารบบความนั้นเสียได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27
แม้ตามคำร้องของโจทก์ไม่ได้กล่าวอ้างอย่างตรงไปตรงมาว่า คำสั่งทิ้งฟ้องของศาลชั้นต้นเป็นคำสั่งมิชอบอย่างไร แต่เมื่อพิเคราะห์คำร้องของโจทก์แล้วก็พอแปลได้ว่าเป็นการกล่าวอ้างว่ามีการดำเนินกระบวนพิจารณาไปโดยเข้าใจผิดในข้อเท็จจริงและถึงแม้ความเข้าใจผิดของผู้กระทำไม่ว่าจะเป็นศาลหรือคู่ความหรือเจ้าพนักงานก็เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ คำร้องของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย
ศาลชั้นต้นไต่สวนโจทก์ได้ความว่า ทนายโจทก์และผู้รับมอบอำนาจโจทก์ไม่สามารถมาศาลในวันนัดพร้อมได้ทันตามกำหนดเนื่องจากรถยนต์เสียระหว่างเดินทางมาศาล ได้แจ้งให้ศาลทราบทางโทรศัพท์ 2 ครั้ง โดยมี ช. เจ้าพนักงานศาลซึ่งเป็นหัวหน้ากลุ่มงานช่วยพิจารณาคดีเบิกความรับรองข้อเท็จจริงดังกล่าว โดยได้ทำรายงานเจ้าหน้าที่เสนอต่อศาล ทนายโจทก์และผู้รับมอบอำนาจโจทก์มาถึงศาลล่าช้ากว่ากำหนดและได้ยื่นคำร้องต่อศาลในวันเดียวกันนั้น จำเลยทั้งสองมิได้นำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น ข้อเท็จจริงน่าเชื่อว่า ทนายโจทก์และผู้รับมอบอำนาจโจทก์รถเสียไม่อาจมาศาลได้ทันตามกำหนด แม้การที่ทนายโจทก์ขอเลื่อนคดีโดยแจ้งให้ศาลทราบทางโทรศัพท์จะไม่ชอบด้วยกฎหมายดังที่จำเลยทั้งสองอ้างก็ตาม แต่ก็แสดงให้เห็นว่าทนายโจทก์และผู้รับมอบอำนาจโจทก์มิได้จงใจที่จะไม่มาศาล ที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจสั่งให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีชอบแล้ว
แม้ศาลชั้นต้นจะได้สั่งจำหน่ายคดีโดยเห็นว่าโจทก์ทิ้งฟ้องไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มายื่นคำร้องแสดงเหตุอันสมควร ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะทำการไต่สวนคำร้องของโจทก์เพื่อทราบข้อเท็จจริงและหากเห็นว่ามีการกระทำหรือดำเนินกระบวนพิจารณาโดยผิดหลงและเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม ศาลชั้นต้นก็ย่อมมีอำนาจเพิกถอนกระบวนพิจารณาพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าวโดยสั่งเพิกถอนคำสั่งที่ว่าโจทก์ทิ้งฟ้องและให้จำหน่ายคดีจากสารบบความนั้นเสียได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27
แม้ตามคำร้องของโจทก์ไม่ได้กล่าวอ้างอย่างตรงไปตรงมาว่า คำสั่งทิ้งฟ้องของศาลชั้นต้นเป็นคำสั่งมิชอบอย่างไร แต่เมื่อพิเคราะห์คำร้องของโจทก์แล้วก็พอแปลได้ว่าเป็นการกล่าวอ้างว่ามีการดำเนินกระบวนพิจารณาไปโดยเข้าใจผิดในข้อเท็จจริงและถึงแม้ความเข้าใจผิดของผู้กระทำไม่ว่าจะเป็นศาลหรือคู่ความหรือเจ้าพนักงานก็เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ คำร้องของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย
ศาลชั้นต้นไต่สวนโจทก์ได้ความว่า ทนายโจทก์และผู้รับมอบอำนาจโจทก์ไม่สามารถมาศาลในวันนัดพร้อมได้ทันตามกำหนดเนื่องจากรถยนต์เสียระหว่างเดินทางมาศาล ได้แจ้งให้ศาลทราบทางโทรศัพท์ 2 ครั้ง โดยมี ช. เจ้าพนักงานศาลซึ่งเป็นหัวหน้ากลุ่มงานช่วยพิจารณาคดีเบิกความรับรองข้อเท็จจริงดังกล่าว โดยได้ทำรายงานเจ้าหน้าที่เสนอต่อศาล ทนายโจทก์และผู้รับมอบอำนาจโจทก์มาถึงศาลล่าช้ากว่ากำหนดและได้ยื่นคำร้องต่อศาลในวันเดียวกันนั้น จำเลยทั้งสองมิได้นำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น ข้อเท็จจริงน่าเชื่อว่า ทนายโจทก์และผู้รับมอบอำนาจโจทก์รถเสียไม่อาจมาศาลได้ทันตามกำหนด แม้การที่ทนายโจทก์ขอเลื่อนคดีโดยแจ้งให้ศาลทราบทางโทรศัพท์จะไม่ชอบด้วยกฎหมายดังที่จำเลยทั้งสองอ้างก็ตาม แต่ก็แสดงให้เห็นว่าทนายโจทก์และผู้รับมอบอำนาจโจทก์มิได้จงใจที่จะไม่มาศาล ที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจสั่งให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3302/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยคำสั่งระหว่างพิจารณาคดีอุทธรณ์ เนื่องจากคดียังไม่ถึงที่สุด
ศาลชั้นต้นยังมิได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟัง ถือว่าคดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 140 (3) คำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่ให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพิ่มให้ถูกต้อง ไม่ใช่คำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งที่ระบุไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 227 และ 228 จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อคดียังไม่เสร็จไปจากศาลอุทธรณ์จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาคำสั่งนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1) ประกอบมาตรา 247
1/1
1/1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1359/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งไม่อนุญาตยื่นคำให้การเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ไม่อุทธรณ์ได้ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์มิชอบ
จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การโดยยื่นคำร้องเมื่อพ้นกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การได้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตเพราะเห็นว่าไม่มีเหตุอันสมควร จึงมีผลเท่ากับศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การ ซึ่งเมื่อสั่งไม่อนุญาตแล้ว ก็ไม่จำต้องสั่งไม่รับคำให้การอีก คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวยังอยู่ในขั้นตอนของคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การและเป็นคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การ มิใช่คำสั่งไม่รับคำให้การของจำเลยทั้งสองอันจะถือเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 กรณีจึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดี จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1) ดังนั้น การที่จำเลยทั้งสองยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การ ก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาชี้ขาดตัดสินคดีชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสอง แต่เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยทั้งสองมา ศาลอุทธรณ์ก็ชอบที่จะพิพากษายกอุทธรณ์นั้นเสียโดยไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นแห่งอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยทั้งสอง จึงมิชอบด้วยบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7280/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลที่เกี่ยวข้องกับการโอนคดีระหว่างพิจารณาคดีต้องห้ามอุทธรณ์ หากไม่ใช่คำสั่งคุ้มครองประโยชน์คู่ความ
ศาลชั้นต้นได้สั่งรับคำฟ้องแล้ว เป็นคดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งยกคำร้องขอโอนคดีฉบับที่สองของจำเลย จึงเป็นคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดก่อนศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 และคำร้องขอโอนคดีไปศาลอื่นนั้นเป็นวิธีการเกี่ยวกับเขตอำนาจศาลที่จะพิจารณาคดี มิใช่คำสั่งอันเกี่ยวด้วยคำขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์อย่างใดของคู่ความในระหว่างการพิจารณาดังเช่นที่บัญญัติไว้ในมาตรา 264 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 288 (2) คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งยกคำร้องขอโอนคดีของจำเลยจึงต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 226 (1)