คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 226 (1)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 49 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8833/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การหลังชี้สองสถาน และคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่สามารถอุทธรณ์ได้
จำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การและฟ้องแย้งหลังจากศาลชี้สองสถานแล้ว ตามคำให้การเดิมจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย ส่วนคำให้การที่จำเลยจะขอแก้ไขใหม่จำเลยก็อ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย ซึ่งแสดงว่า จำเลยรู้ตั้งแต่เวลาที่ยื่นคำให้การเดิมแล้วว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยหรือไม่ไม่ใช่จำเลยเพิ่งรู้ในวันที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยดูแผนที่วิวาทซึ่งเป็นวันเดียวกับวันชี้สองสถาน จึงไม่ใช่กรณีมีเหตุอันสมควรที่จะอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การ
เมื่อศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้เรียกกรมที่ดินเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมตามคำร้องของจำเลยจึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 226 (1) แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะรับวินิจฉัยปัญหานี้ให้ ก็เป็นการไม่ชอบ ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 2ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งไม่อนุญาตยื่นคำให้การไม่ใช่คำสั่งไม่รับคำคู่ความ ห้ามอุทธรณ์ระหว่างพิจารณา
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตเพราะเห็นว่า การขาดนัดเป็นไปโดยจงใจและไม่มีเหตุสมควรให้ยกคำร้อง คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวมิใช่คำสั่งไม่รับคำให้การของจำเลย อันถือเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 แต่เป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณาก่อนที่ศาลชั้นต้นจะได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดี จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวในระหว่างพิจารณาคดีตาม มาตรา 226 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งไม่อนุญาตยื่นคำให้การเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาคดี ไม่อุทธรณ์ได้ตามมาตรา 226(1)
จำเลยยื่นคำร้อง ขอให้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยยื่น คำให้การศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตเพราะเห็นว่าการขาดนัด เป็นไปโดยจงใจและไม่มีเหตุสมควรให้ยกคำร้อง คำสั่ง ศาลชั้นต้นดังกล่าวมิใช่คำสั่งไม่รับคำให้การของจำเลย อันถือเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 แต่เป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณาก่อนที่ศาลชั้นต้น จะได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดี จึงต้องห้ามมิให้ อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวในระหว่างพิจารณาคดีตาม มาตรา 226(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8269/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตยื่นคำให้การ และผลกระทบต่อการพิจารณาคดีในชั้นอุทธรณ์และฎีกา
จำเลยไม่ยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและนัดสืบพยานโจทก์ไป จำเลยยื่นคำร้องว่า จำเลยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ จึงขออนุญาตยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ จึงขออนุญาตยื่นคำให้การ ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี จำเลยอุทธรณ์ทั้งคำสั่งและคำพิพากษาของศาลชั้นต้น สำหรับคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การและยกคำร้องดังกล่าวเป็นคำสั่งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 199 วรรคสอง และเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น เมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งคำสั่งดังกล่าว จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 226 (1) ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ และศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษายกอุทธรณ์คำสั่งนั้นเสียและวินิจฉัยอุทธรณ์คำพิพากษาของจำเลยต่อไป การที่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยอุทธรณ์คำพิพากษาของจำเลย แต่กลับไปวินิจฉัยถึงพฤติการณ์ของจำเลยว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและมีเหตุสมควรรับคำให้การของจำเลยไว้ การวินิจฉัยดังกล่าวเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงในอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยว่า จำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การหรือไม่นั่นเองคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วยกระบวนวิธีพิจารณาพิพากษา ถือว่าอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยในปัญหาที่ว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การหรือไม่ เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาดังกล่าวตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย และเนื่องจากศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์คำพิพากษาของจำเลย เพื่อให้การวินิจฉัยคดีเป็นไปตามลำดับชั้นศาล ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์คำพิพากษาของจำเลยเสียก่อน เนื่องจากผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อาจเกี่ยวโยงไปถึงสิทธิในการฎีกาคดีนี้ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8269/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ยื่นคำให้การ และผลกระทบต่อการพิจารณาคดีในชั้นอุทธรณ์
จำเลยไม่ยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและนัดสืบพยานโจทก์ไป จำเลยยื่นคำร้องว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ จึงขออนุญาตยื่นคำให้การศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ จึงขออนุญาตยื่นคำให้การ ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี จำเลยอุทธรณ์ทั้งคำสั่งและคำพิพากษาของศาลชั้นต้น สำหรับคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การและยกคำร้องดังกล่าวเป็นคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 วรรคสองและเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น เมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งคำสั่งดังกล่าว จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 226(1) ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ และศาลอุทธรณ์ไม่มี อำนาจพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษายกอุทธรณ์คำสั่งนั้นเสียและวินิจฉัยอุทธรณ์คำพิพากษาของจำเลยต่อไป การที่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยอุทธรณ์คำพิพากษาของจำเลย แต่กลับไปวินิจฉัยถึงพฤติการณ์ของจำเลยว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและมีเหตุสมควรรับคำให้การของจำเลยไว้ การวินิจฉัยดังกล่าวเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงในอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยว่า จำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การหรือไม่นั่นเองคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วยกระบวนวิธีพิจารณาพิพากษา ถือว่าอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยในปัญหาที่ว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การหรือไม่ เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย และเนื่องจากศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์คำพิพากษาของจำเลย เพื่อให้การวินิจฉัยคดีเป็นไปตามลำดับชั้นศาล ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์คำพิพากษาของจำเลยเสียก่อนเนื่องจากผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อาจเกี่ยวโยงไปถึงสิทธิในการฎีกาคดีนี้ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6206/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่หลังมีคำพิพากษาแล้ว ต้องยื่นภายใน 1 เดือน
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ภายหลังที่ได้พิพากษาคดีแล้วมิใช่คำสั่งระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา226(1)โจทก์ต้องอุทธรณ์ภายใน1เดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำสั่งโจทก์อุทธรณ์คำสั่งพร้อมอุทธรณ์คำพิพากษาในวันที่เกินกำหนด1เดือนอุทธรณ์คำสั่งของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6206/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งอนุญาตพิจารณาคดีใหม่หลังมีคำพิพากษาต้องทำภายใน 1 เดือน หากเกินกำหนด อุทธรณ์ไม่ชอบ
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ ภายหลังที่ได้พิพากษาคดีแล้ว มิใช่คำสั่งระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1)โจทก์ต้องอุทธรณ์ภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ได้อ่านคำสั่ง โจทก์อุทธรณ์คำสั่งพร้อมอุทธรณ์คำพิพากษาในวันที่เกินกำหนด 1 เดือน อุทธรณ์คำสั่งของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2981/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อนุญาตซักค้านพยานในคดีตั้งผู้จัดการมรดก ศาลมีดุลพินิจในการพิจารณาคำร้องและไม่ชอบด้วยกฎหมายหากไม่ได้โต้แย้งคำสั่ง
คดีร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ประเด็นมีเพียงว่า สมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่ การที่จะซักค้านพยานผู้ร้องในเรื่องเกี่ยวกับการจัดการมรดกเดิมและการจะจัดการมรดกต่อไปอย่างไรนั้น จึงไม่เป็นประโยชน์แก่การวินิจฉัยคดีประกอบกับการที่ศาลจะตั้งผู้ใดเป็นผู้จัดการมรดกเป็นดุลพินิจของศาลโดยเฉพาะ ดังนั้น ที่ศาลไม่อนุญาตให้ผู้คัดค้านซักค้านพยานผู้ร้องในเรื่องดังกล่าวนั้นชอบแล้ว คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ผู้คัดค้านซักค้านพยานผู้ร้องเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อผู้คัดค้านไม่ได้โต้แย้งคำสั่งไว้ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(1) ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2981/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อนุญาตซักค้านพยานในคดีผู้จัดการมรดก ศาลมีดุลพินิจในการวินิจฉัยคดีและตั้งผู้จัดการมรดก
คดีร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ประเด็นมีเพียงว่า สมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่ การที่จะซักค้านพยานผู้ร้องในเรื่องเกี่ยวกับการจัดการมรดกเดิมและการจะจัดการมรดกต่อไปอย่างไรนั้น จึงไม่เป็นประโยชน์แก่การวินิจฉัยคดี ประกอบกับการที่ศาลจะตั้งผู้ใดเป็นผู้จัดการมรดกเป็นดุลพินิจของศาลโดยเฉพาะ ดังนั้น ที่ศาลไม่อนุญาตให้ผู้คัดค้านซักค้านพยานผู้ร้องในเรื่องดังกล่าวนั้นชอบแล้ว
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ผู้คัดค้านซักค้านพยานผู้ร้องเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อผู้คัดค้านไม่ได้โต้แย้งคำสั่งไว้ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1) ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 966/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลที่ไม่รับคำให้การ: การจำกัดสิทธิอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งยก คำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การของจำเลยมิใช่คำสั่งไม่รับคำให้การของจำเลย อันถือว่าเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 จึงเป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณา ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวในระหว่างพิจารณาคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226(1)
of 5