พบผลลัพธ์ทั้งหมด 49 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5682/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องเรียกทายาทบุคคลภายนอกเข้าสู่คดีไม่ใช่คำคู่ความ อุทธรณ์ฎีกาคำสั่งระหว่างพิจารณาไม่ได้
คำร้องที่จำเลยขอให้ศาลชั้นต้นเรียกทายาทของบุคคลภายนอกเข้ามาในคดีมิใช่คำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(5)เพราะไม่ได้ตั้งประเด็นระหว่างคู่ความ เมื่อศาลชั้นต้นยกคำร้องจึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาและศาลชั้นต้นยังไม่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีจำเลยทั้งสองจะอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งระหว่างพิจารณาดังกล่าวไม่ได้ ต้องห้ามตามมาตรา 226(1) ประกอบกับมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5682/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดีที่ไม่ใช่คู่ความ และข้อจำกัดในการอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งระหว่างพิจารณา
คำร้องที่จำเลยขอให้ศาลเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดีมิใช่คำคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1(5) เพราะไม่ได้ตั้งประเด็นระหว่างคู่ความ เมื่อศาลชั้นต้นยกคำร้อง จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาจำเลยจะอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งระหว่างพิจารณาไม่ได้ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 226(1) ประกอบกับ มาตรา 247.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5496/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลเรื่องค่าขึ้นศาล และผลของการใช้คำสั่งระหว่างพิจารณา
เดิมศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำร้องขัดทรัพย์โดยให้ผู้ร้องเสียค่าธรรมเนียมตามทุนทรัพย์ที่ผู้ร้องอ้างว่าเป็นราคาที่เจ้าพนักงานที่ดินประเมินไว้ก่อน ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มโดยให้คำนวณทุนทรัพย์ตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีตีราคาไว้ภายในกำหนด 20 วัน ผู้ร้องทราบคำสั่งโดยชอบแล้วไม่ปฏิบัติตาม ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่รับคำร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้องไว้ และจำหน่ายคดีของผู้ร้องคำสั่งดังกล่าวหาใช่คำสั่งที่ไม่รับหรือให้คืนคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 วรรคสุดท้าย เนื่องจากมิใช่คำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี แต่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(1) ผู้ร้องต้องทำคำคัดค้านโต้แย้งไว้เพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) เมื่อผู้ร้องไม่นำเงินค่าขึ้นศาลที่ต้องเสียเพิ่มมาชำระภายในเวลาที่ศาลกำหนดถือว่าผู้ร้องเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดไว้ เป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 174(2) แม้ปรากฏว่าศาลชั้นต้นใช้คำว่า "สั่งไม่รับคำร้องขัดทรัพย์"รวมอยู่ในคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้รับคำร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้องด้วย แต่ก็ได้มีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความไว้ด้วยถือว่าเป็นการใช้ถ้อยคำคลาดเคลื่อน ซึ่งมีผลเป็นว่าให้จำหน่ายคดีด้วยเหตุที่ผู้ร้องทิ้งคำร้องนั่นเอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3139/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้มีกรรมสิทธิ์ร่วมในการรับเงินจากการขายทอดตลาด และอำนาจศาลในการไต่สวนคำร้อง
ผู้มีกรรมสิทธิ์ร่วมตามส่วนในทรัพย์ที่ถูกยึดมาขายทอดตลาดมีสิทธิร้องขอให้จ่ายเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา287การร้องขอไม่มีกำหนดระยะเวลาไว้ร้องขอภายหลังจากการขายทอดตลาดแล้วได้ ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้จ่ายเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินซึ่งผู้ร้องมีกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยให้แก่ผู้ร้องตามส่วนศาลชั้นต้นสั่งจ่ายเงินให้แก่ผู้ร้องโดยมิได้สอบถามโจทก์ก่อนต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องคัดค้านอ้างว่าผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องผู้ร้องไม่มีกรรมสิทธิ์ร่วมและเป็นหนี้ร่วมขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งจ่ายเงินให้แก่ผู้ร้องการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งโดยมิได้ยกคำร้องของผู้ร้องแต่ให้ทำการไต่สวนคำร้องต่อไปถือได้ว่าศาลชั้นต้นรับคำร้องของผู้ร้องไว้พิจารณาและคำร้องของผู้ร้องไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องโดยไม่ต้องทำการไต่สวนก่อนเมื่อโจทก์คัดค้านคำร้องศาลชั้นต้นมีอำนาจทำการไต่สวนก่อนที่จะสั่งคำร้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา21(4)คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งทำการไต่สวนคำร้องของผู้ร้องจึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาเมื่อคดีอยู่ระหว่างไต่สวนพิจารณาสั่งคำร้องของผู้ร้องโจทก์ไม่มีสิทธิอุทธรณ์ขอให้ยกเลิกคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ทำการไต่สวนคำร้องของผู้ร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา226(1).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3139/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์ที่ถูกยึดขายทอดตลาด: ศาลมีอำนาจไต่สวนก่อนสั่ง
ผู้มีกรรมสิทธิ์ร่วมตามส่วนในทรัพย์ที่ถูกยึดมาขายทอดตลาดมีสิทธิร้องขอให้จ่ายเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 การร้องขอไม่มีกำหนดระยะเวลาไว้ ร้องขอภายหลังจากการขายทอดตลาดแล้วได้
ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้จ่ายเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินซึ่งผู้ร้องมีกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยให้แก่ผู้ร้องตามส่วน ศาลชั้นต้นสั่งจ่ายเงินให้แก่ผู้ร้องโดยมิได้สอบถามโจทก์ก่อน ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องคัดค้านอ้างว่าผู้ร้องไม่มีสิทธิร้อง ผู้ร้องไม่มีกรรมสิทธิ์ร่วมและเป็นหนี้ร่วม ขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งจ่ายเงินให้แก่ผู้ร้อง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งโดยมิได้ยกคำร้องของผู้ร้อง แต่ให้ทำการไต่สวนคำร้องต่อไป ถือได้ว่าศาลชั้นต้นรับคำร้องของผู้ร้องไว้พิจารณา และคำร้องของผู้ร้องไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องโดยไม่ต้องทำการไต่สวนก่อน เมื่อโจทก์คัดค้านคำร้อง ศาลชั้นต้นมีอำนาจทำการไต่สวนก่อนที่จะสั่งคำร้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 21 (4) คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งทำการไต่สวนคำร้องของผู้ร้องจึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อคดีอยู่ระหว่างไต่สวนพิจารณาสั่งคำร้องของผู้ร้อง โจทก์ไม่มีสิทธิอุทธรณ์ขอให้ยกเลิกคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ทำการไต่สวนคำร้องของผู้ร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 (1)
ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้จ่ายเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินซึ่งผู้ร้องมีกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยให้แก่ผู้ร้องตามส่วน ศาลชั้นต้นสั่งจ่ายเงินให้แก่ผู้ร้องโดยมิได้สอบถามโจทก์ก่อน ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องคัดค้านอ้างว่าผู้ร้องไม่มีสิทธิร้อง ผู้ร้องไม่มีกรรมสิทธิ์ร่วมและเป็นหนี้ร่วม ขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งจ่ายเงินให้แก่ผู้ร้อง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งโดยมิได้ยกคำร้องของผู้ร้อง แต่ให้ทำการไต่สวนคำร้องต่อไป ถือได้ว่าศาลชั้นต้นรับคำร้องของผู้ร้องไว้พิจารณา และคำร้องของผู้ร้องไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องโดยไม่ต้องทำการไต่สวนก่อน เมื่อโจทก์คัดค้านคำร้อง ศาลชั้นต้นมีอำนาจทำการไต่สวนก่อนที่จะสั่งคำร้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 21 (4) คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งทำการไต่สวนคำร้องของผู้ร้องจึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อคดีอยู่ระหว่างไต่สวนพิจารณาสั่งคำร้องของผู้ร้อง โจทก์ไม่มีสิทธิอุทธรณ์ขอให้ยกเลิกคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ทำการไต่สวนคำร้องของผู้ร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1692/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดี: จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์และฎีกาได้หากคำสั่งจำหน่ายคดีเป็นการหลงผิด
คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดี ไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาอันต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(1) จำเลยจึงอุทธรณ์และฎีกาคำสั่งดังกล่าวนี้ได้
ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีเพราะศาลหลงผิดว่าโจทก์และจำเลยขาดนัดพิจารณา คำสั่งดังกล่าวย่อมไม่มีผลบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 200 และถือได้ว่าเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นไม่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยเรื่องการพิจารณาโดยขาดนัดศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบโดยหลงผิดนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 (วรรคแรก วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16/2516)
ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีเพราะศาลหลงผิดว่าโจทก์และจำเลยขาดนัดพิจารณา คำสั่งดังกล่าวย่อมไม่มีผลบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 200 และถือได้ว่าเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นไม่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยเรื่องการพิจารณาโดยขาดนัดศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบโดยหลงผิดนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 (วรรคแรก วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16/2516)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1692/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย: สิทธิในการอุทธรณ์และฎีกา
คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดี ไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาอันต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226 (1) จำเลยจึงอุทธรณ์และฎีกาคำสั่งดังกล่าวนี้ได้
ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีเพราะศาลหลงผิดว่าโจทก์และจำเลยขาดนัดพิจารณา คำสั่งดังกล่าวย่อมไม่มีผลบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 200 และถือได้ว่าเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นไม่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยเรื่องการพิจารณาโดยขาดนัดศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบโดยหลงผิดนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27
(วรรคแรก วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16/2516)
ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีเพราะศาลหลงผิดว่าโจทก์และจำเลยขาดนัดพิจารณา คำสั่งดังกล่าวย่อมไม่มีผลบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 200 และถือได้ว่าเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นไม่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยเรื่องการพิจารณาโดยขาดนัดศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบโดยหลงผิดนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27
(วรรคแรก วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16/2516)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1247/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งระหว่างพิจารณาคดีขัดทรัพย์: ศาลสั่งให้ฟ้องดำเนินคดีกับคู่กรณีอื่นก่อน ไม่สามารถอุทธรณ์ได้
ในกรณีร้องขัดทรัพย์ เมื่อศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์ไปจัดการฟ้องคดีเพื่อดำเนินคดีกับผู้ร้องเสียใหม่ และให้รอคดีร้องขัดทรัพย์ไว้รอฟังผลคดีใหม่ คำสั่งเช่นนี้เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1247/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งระหว่างพิจารณาคดีขัดทรัพย์: การสั่งให้ฟ้องคดีใหม่เป็นคำสั่งที่ไม่อุทธรณ์ได้
ในกรณีร้องขัดทรัพย์ เมื่อศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์ไปจัดการฟ้องคดีเพื่อดำเนินคดีกับผู้ร้องเสียใหม่ และให้รอคดีร้องขัดทรัพย์ไว้รอฟังผลคดีใหม่ คำสั่งเช่นนี้เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1209/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลที่ไม่รับคำร้องเรียกบุคคลภายนอกเป็นจำเลยร่วม ถือเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่สามารถอุทธรณ์ได้
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้อง ไม่เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมตามคำร้องขอของโจทก์ เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในระหว่างพิจารณา