พบผลลัพธ์ทั้งหมด 167 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1319/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้แบบพิมพ์ในคดีล้มละลาย: การปฏิบัติตามข้อกำหนดของศาลและความถูกต้องของเอกสาร
ตามประกาศและข้อกำหนดคดีล้มละลาย เรื่องแบบพิมพ์ของศาลล้มละลายกลาง กำหนดแบบพิมพ์ต่างๆ เพื่อใช้ในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีล้มละลาย สำหรับคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตามพระราชบัญญัติล้มละลาย (คดีสาขา) ซึ่งรวมถึงการคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในหนังสือยืนยันหนี้ต่อศาลเพื่อให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เช่นกรณีของผู้ร้อง จะต้องใช้แบบพิมพ์ ล.27 ของศาลล้มละลายกลาง หรือเอกสารที่มีรูปแบบแห่งแบบพิมพ์อย่างเดียวกัน การที่ผู้ร้องใช้แบบพิมพ์ ล.8 อันเป็นแบบพิมพ์สำหรับคำร้องทั่วไป และมีรูปแบบแตกต่างจากแบบพิมพ์ ล.27 ผิดข้อกำหนดคดีล้มละลาย พ.ศ.2549 เมื่อศาลล้มละลายกลางตรวจพบในชั้นตรวจคำคู่ความจึงชอบที่จะมีคำสั่งให้ผู้ร้องไปดำเนินการแก้ไขมาใหม่ให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนดได้ ผู้ร้องทราบคำสั่งศาลแล้วไม่ดำเนินการภายในเวลาที่ศาลกำหนด ที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งไม่รับคำร้องคัดค้านของผู้ร้องจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6374/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการบังคับคดีหลังการพิทักษ์ทรัพย์: ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องไม่สามารถใช้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้
แม้ผู้ถูกทวงหนี้มิได้ปฏิเสธหนี้เป็นหนังสือไปยังเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลา 14 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ ซึ่งถือว่าเป็นหนี้เด็ดขาดตามกฎหมาย และต่อมาเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้นำสิทธิเรียกร้องดังกล่าวออกขายโดยวิธีประมูลซึ่งผู้ร้องเป็นผู้ซื้อได้ แต่การขอออกคำบังคับ การขอออกหมายบังคับคดี และการขอให้ศาลมีคำสั่งยึด หรืออายัดทรัพย์สินของผู้ถูกทวงหนี้ไว้ชั่วคราวก่อนศาลมีคำสั่งในเรื่องนี้นั้นเป็นอำนาจเฉพาะของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวในการเก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้ หรือซึ่งลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่นตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 119 ประกอบมาตรา 22 (2) ผู้ร้องในฐานะผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องมาจากลูกหนี้จึงมีเพียงสิทธิเรียกร้องตามสัญญาเช่าซื้อพิพาทที่จะดำเนินการทวงถามและฟ้องร้องดำเนินคดีแก่ผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกันในทางแพ่งต่อไป แต่ไม่อาจขอเข้าสวมสิทธิอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามบทบัญญัติดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9716/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้จากการซื้อขายหลักทรัพย์: สิทธิเรียกร้องของตัวแทนต่อตัวการ และผลของการตายของลูกหนี้
การที่ลูกหนี้ในคดีล้มละลายซื้อและขายหลักทรัพย์ตามสัญญานายหน้าตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์และกู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ให้แก่ ช. ผู้ตายมีลักษณะเป็นตัวการตัวแทน การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คักค้านใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้เรียกเอาเงินที่ลูกหนี้ได้ทดรองจ่ายไปแทน ช. เป็นเรื่องการใช้สิทธิเรียกร้องของตัวแทนเรียกเอาเงินชดใช้จากตัวการ ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ มีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 จึงเป็นกรณีที่สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ที่มีต่อ ช. มีกำหนดอายุความเกินกว่า 10 ปี ตามมาตรา 1754 วรรคสาม ห้ามมิให้เจ้าหนี้ฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของ ช.
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านซึ่งมีอำนาจแต่ผู้เดียวในการติดตามเก็บรวบรวมและรับเงินซึ่งลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่นตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 (2) ประกอบมาตรา 119 ได้รู้ถึงการตายของ ช. นับแต่วันที่ 16 มีนาคม 2547 เมื่อผู้คัดค้านมีหนังสือทวงหนี้ไปยังผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทของ ช. โดยวิธีการปิดหมายวันที่ 11 พฤษภาคม 2547 จึงยังไม่พ้นกำหนดอายุความ 1 ปี จึงเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14 (5) มูลหนี้พิพาทที่ผู้คัดค้านมีหนังสือทวงหนี้และแจ้งยืนยันหนี้ไปยังผู้ร้องจึงยังไม่ขาดอายุความตามมาตรา 1754 วรรคสาม
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านซึ่งมีอำนาจแต่ผู้เดียวในการติดตามเก็บรวบรวมและรับเงินซึ่งลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่นตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 (2) ประกอบมาตรา 119 ได้รู้ถึงการตายของ ช. นับแต่วันที่ 16 มีนาคม 2547 เมื่อผู้คัดค้านมีหนังสือทวงหนี้ไปยังผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทของ ช. โดยวิธีการปิดหมายวันที่ 11 พฤษภาคม 2547 จึงยังไม่พ้นกำหนดอายุความ 1 ปี จึงเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14 (5) มูลหนี้พิพาทที่ผู้คัดค้านมีหนังสือทวงหนี้และแจ้งยืนยันหนี้ไปยังผู้ร้องจึงยังไม่ขาดอายุความตามมาตรา 1754 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2273/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการคัดค้านหนี้ในคดีล้มละลาย: ต้องรอการแจ้งยืนยันหนี้จากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก่อน จึงจะสามารถร้องต่อศาลได้
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 119 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ที่บุคคลซึ่งถูกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้จะใช้สิทธิทางศาลเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายชื่อของตนออกจากบัญชีลูกหนี้ของลูกหนี้ได้ก็ต่อเมื่อบุคคลนั้นได้มีหนังสือปฏิเสธหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องสอบสวนแล้วมีหนังสือแจ้งยืนยันจำนวนหนี้ไปยังบุคคลนั้นอีกครั้งหนึ่งก่อนด้วย หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังมิได้มีหนังสือแจ้งยืนยันจำนวนหนี้แล้ว สิทธิที่จะร้องขอต่อศาลก็ยังไม่อาจกระทำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2273/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอให้ศาลจำหน่ายชื่อออกจากบัญชีลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ต้องรอหนังสือยืนยันหนี้จากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 119 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ที่บุคคลซึ่งถูกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้จะใช้สิทธิทางศาลเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายชื่อของตนออกจากบัญชีลูกหนี้ของลูกหนี้ได้ก็ต่อเมื่อบุคคลนั้นได้มีหนังสือปฏิเสธหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องสอบสวนแล้วมีหนังสือแจ้งยืนยันจำนวนหนี้ไปยังบุคคลนั้นอีกครั้งก่อนด้วย ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าภายหลังจากผู้ร้องมีหนังสือปฏิเสธตามหนังสือทวงหนี้ของผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านมิได้มีหนังสือแจ้งยืนยันหนี้ไปยังผู้ร้องเนื่องจากผู้คัดค้านได้นำสิทธิเรียกร้องที่ลูกหนี้มีต่อผู้ร้องออกประมูลขายโดยวิธีอื่นไปแล้วตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ตามมาตรา 123 ผู้ร้องจึงยังไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายชื่อผู้ร้องออกจากบัญชีลูกหนี้ของลูกหนี้ได้
ที่ผู้ร้องฎีกาขอให้ผู้คัดค้านปฏิบัติตามขั้นตอนใน พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 119 และขอให้เพิกถอนคำสั่งของผู้คัดค้านที่ทวงถามหนี้มายังผู้ร้องนั้น ล้วนเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 28
ที่ผู้ร้องฎีกาขอให้ผู้คัดค้านปฏิบัติตามขั้นตอนใน พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 119 และขอให้เพิกถอนคำสั่งของผู้คัดค้านที่ทวงถามหนี้มายังผู้ร้องนั้น ล้วนเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 28
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1371/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟื้นฟูกิจการต้องแสดงมูลค่าสินทรัพย์ที่แท้จริง การปรับลดมูลค่าโดยไม่สมเหตุผลทำให้เจ้าหนี้เสียประโยชน์
การพิจารณาปัญหาว่าเมื่อการดำเนินการตามแผนสำเร็จจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/58 (3) หรือไม่นั้น ศาลจะต้องพิจารณาประกอบข้อมูลจากแผนฟื้นฟูกิจการในส่วนรายการรายละเอียดแห่งสินทรัพย์ หนี้สินและภาระผูกพันต่าง ๆ ที่แท้จริงของลูกหนี้ในขณะที่ศาลสั่งให้ฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/42 (2) เมื่อมีข้อคัดค้านของเจ้าหนี้ในชั้นพิจารณาแผนว่าการลงรายการในแผนฟื้นฟูกิจการในส่วนสินทรัพย์ของลูกหนี้ไม่ถูกต้อง ผู้ทำแผนจึงมีหน้าที่นำสืบว่าแผนนั้นชอบด้วยกฎหมายแล้วและศาลควรมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน
เมื่อไม่ปรากฏหลักฐานใดแน่ชัดตามแผนฟื้นฟูกิจการและคำชี้แจงของผู้ทำแผนว่าสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ของลูกหนี้ที่มีต่อบริษัทย่อยของลูกหนี้และบริษัทที่เกี่ยวข้องในทางบัญชีถือได้ว่าเป็นหนี้สูญที่ลูกหนี้ติดตามทวงถามจนถึงที่สุดแล้วยังมิได้รับชำระ หรือเป็นหนี้สงสัยจะสูญที่ปรากฏพฤติการณ์ใด ๆ ที่ลูกหนี้คาดได้ว่ามิอาจเรียกเก็บได้แล้ว การที่แผนฟื้นฟูกิจการกำหนดมูลค่าสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ดังกล่าวจำนวน 607,652,315 บาท ให้เป็นศูนย์ทั้งหมด ทั้งที่สิทธิเรียกร้องดังกล่าวยังคงเป็นสินทรัพย์ที่แม้ลูกหนี้ล้มละลายหรือเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ยังอาจดำเนินการทวงหนี้และขอต่อศาลให้บังคับคดีบริษัทดังกล่าวชำระหนี้เพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/39 และมาตรา 119 จึงเป็นการปกปิดมูลค่าที่แท้จริงของกิจการลูกหนี้โดยการปรับลดสินทรัพย์ทางบัญชีซึ่งเมื่อรวมกับสินทรัพย์รายการอื่นที่ถูกกำหนดจำนวนเป็นศูนย์เช่นเดียวกันตามตารางผลตอบแทนในกรณีศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายในแผนฟื้นฟูกิจการส่วนที่ 13 รายการสินทรัพย์ของลูกหนี้ที่กำหนดจำนวนเป็นศูนย์ในแผนทั้งหมดจึงมียอดเงินเป็นจำนวนมากรวม 662,201,701 บาท ทั้งผู้ทำแผนปรับลดสินทรัพย์ดังกล่าวเป็นศูนย์แล้วมิได้กำหนดให้นำสินทรัพย์ดังกล่าวมาจัดสรรชำระหนี้ในแผนฟื้นฟูกิจการเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย ย่อมเป็นผลทำให้เจ้าหนี้ทุกกลุ่มได้รับชำระหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการในอัตราส่วนที่น้อยกว่าปกติ และไม่อาจนำสินทรัพย์ที่มีการปรับลดโดยไม่ปรากฏเหตุผลอันสมควรดังกล่าวมาประมาณการเปรียบเทียบให้ถูกต้องได้ว่าเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้เป็นจำนวนใดกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือเมื่อการดำเนินการตามแผนสำเร็จแล้ว พยานหลักฐานของผู้ทำแผนจึงไม่มีน้ำหนักนำมารับฟังได้ว่าเมื่อดำเนินการตามแผนสำเร็จจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/58 (3)
เมื่อไม่ปรากฏหลักฐานใดแน่ชัดตามแผนฟื้นฟูกิจการและคำชี้แจงของผู้ทำแผนว่าสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ของลูกหนี้ที่มีต่อบริษัทย่อยของลูกหนี้และบริษัทที่เกี่ยวข้องในทางบัญชีถือได้ว่าเป็นหนี้สูญที่ลูกหนี้ติดตามทวงถามจนถึงที่สุดแล้วยังมิได้รับชำระ หรือเป็นหนี้สงสัยจะสูญที่ปรากฏพฤติการณ์ใด ๆ ที่ลูกหนี้คาดได้ว่ามิอาจเรียกเก็บได้แล้ว การที่แผนฟื้นฟูกิจการกำหนดมูลค่าสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ดังกล่าวจำนวน 607,652,315 บาท ให้เป็นศูนย์ทั้งหมด ทั้งที่สิทธิเรียกร้องดังกล่าวยังคงเป็นสินทรัพย์ที่แม้ลูกหนี้ล้มละลายหรือเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ยังอาจดำเนินการทวงหนี้และขอต่อศาลให้บังคับคดีบริษัทดังกล่าวชำระหนี้เพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/39 และมาตรา 119 จึงเป็นการปกปิดมูลค่าที่แท้จริงของกิจการลูกหนี้โดยการปรับลดสินทรัพย์ทางบัญชีซึ่งเมื่อรวมกับสินทรัพย์รายการอื่นที่ถูกกำหนดจำนวนเป็นศูนย์เช่นเดียวกันตามตารางผลตอบแทนในกรณีศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายในแผนฟื้นฟูกิจการส่วนที่ 13 รายการสินทรัพย์ของลูกหนี้ที่กำหนดจำนวนเป็นศูนย์ในแผนทั้งหมดจึงมียอดเงินเป็นจำนวนมากรวม 662,201,701 บาท ทั้งผู้ทำแผนปรับลดสินทรัพย์ดังกล่าวเป็นศูนย์แล้วมิได้กำหนดให้นำสินทรัพย์ดังกล่าวมาจัดสรรชำระหนี้ในแผนฟื้นฟูกิจการเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย ย่อมเป็นผลทำให้เจ้าหนี้ทุกกลุ่มได้รับชำระหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการในอัตราส่วนที่น้อยกว่าปกติ และไม่อาจนำสินทรัพย์ที่มีการปรับลดโดยไม่ปรากฏเหตุผลอันสมควรดังกล่าวมาประมาณการเปรียบเทียบให้ถูกต้องได้ว่าเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้เป็นจำนวนใดกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือเมื่อการดำเนินการตามแผนสำเร็จแล้ว พยานหลักฐานของผู้ทำแผนจึงไม่มีน้ำหนักนำมารับฟังได้ว่าเมื่อดำเนินการตามแผนสำเร็จจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/58 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 578/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการจัดการทรัพย์สินลูกหนี้และดุลพินิจการเข้าว่าคดี
อำนาจในการจัดกิจการและทรัพย์สินของจำเลยที่ตกอยู่แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 ย่อมรวมทั้งอำนาจในการรวบรวมทรัพย์สินโดยการทวงหนี้ด้วย ทั้งการเข้าว่าคดีแพ่งที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลแทนจำเลยเป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะเข้าว่าคดีแทนหรือไม่ เมื่อจำเลยมีข้อต่อสู้ว่าโจทก์ยังมีหนี้ค้างชำระแก่จำเลยซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ได้ดำเนินการทวงหนี้ที่โจทก์ค้างชำระตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 119 แล้ว และหากการสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ฟังได้ยุติว่าโจทก์ไม่มีหนี้ค้างชำระ หรือมีหนี้ค้างชำระแต่โจทก์ได้ชำระหนี้ครบถ้วนแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็มีอำนาจดำเนินการไถ่ถอนจำนองให้แก่โจทก์ได้ตามความประสงค์ อันจะทำให้ข้อพิพาททั้งปวงระหว่างโจทก์จำเลยเสร็จสิ้นไปในคราวเดียว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ชอบที่จะไม่เข้าว่าคดีแทนจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5610/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แผนฟื้นฟูกิจการต้องมีรายละเอียดสินทรัพย์ครบถ้วนและจัดทำด้วยความสุจริต ศาลมีอำนาจตรวจสอบเนื้อหาแผนได้
การที่กฎหมายกำหนดขั้นตอนในการพิจารณาให้ความเห็นชอบด้วยแผนไว้ว่าเมื่อที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติยอมรับแผนตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/46 แล้วให้ศาลพิจารณาให้ความเห็นชอบด้วยแผนอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งเป็นบทบาทในทางเศรษฐกิจที่จะคุ้มครองเจ้าหนี้เสียงข้างน้อยและให้แผนฟื้นฟูกิจการก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่เจ้าหนี้ตลอดจนประเทศชาติโดยรวม ศาลจึงมีอำนาจในการที่จะตรวจสอบถึงเนื้อหาของแผนตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/58 ซึ่งบัญญัติว่า "ให้ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน เมื่อศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า (1)...(3)..." ก็หมายความเพียงว่าเมื่อแผนมีลักษณะครบถ้วนตามบทกฎหมายดังกล่าวแล้ว ถือว่าเป็นมาตรฐานขั้นต่ำที่ให้ศาลมีดุลพินิจที่จะเห็นชอบด้วยแผนได้ แต่ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบด้วยแผนนั้น ศาลมีอำนาจนำข้อเท็จจริงหรือหลักกฎหมายอื่นนอกเหนือจากมาตรา 90/58 มาประกอบพิจารณาได้ ซึ่งไม่ได้หมายความว่า ถ้าแผนฟื้นฟูกิจการมีลักษณะครบถ้วนตามมาตรา 90/58 แล้ว ศาลจะต้องมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนทุกกรณีไป
การพิจารณาว่าแผนชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ แผนนั้นจะต้องมีรายละเอียดตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/42 บัญญัติว่า "ในแผนให้มีรายการต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย... (2) รายละเอียดแห่งสินทรัพย์ หนี้สินและภาระผูกพันต่างๆ ของลูกหนี้ในขณะที่ศาลสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ..." คำว่า สินทรัพย์ หมายถึง ทรัพยากรที่อยู่ในความควบคุมของกิจการและประโยชน์ที่ได้รับในเชิงเศรษฐกิจจากทรัพยากรนั้นในอนาคต สินทรัพย์จึงรวมทั้งทรัพย์สินและสิทธิเรียกร้อง กรณีนี้ลูกหนี้มีหนี้เงินให้กู้ยืมซึ่งมีสิทธิเรียกร้องในหนี้ดังกล่าว แต่ในแผนไม่ปรากฏว่าสิทธิเรียกร้องในหนี้เงินดังกล่าว ผู้ทำแผนได้กำหนดวิธีการจัดการไว้อย่างไรที่จะให้เจ้าหนี้ได้ประโยชน์สูงสุด รวมทั้งหนี้ให้กู้ยืมเงินจำนวนมากที่กรรมการของลูกหนี้มีส่วนประมาทก่อให้เกิดความเสียหาย ลูกหนี้อาจฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนแก่กรรมการได้ซึ่งในการเรียกร้องนั้นเจ้าหนี้ของลูกหนี้จะเป็นผู้เรียกบังคับได้เท่าที่เจ้าหนี้ยังมีสิทธิเรียกร้องแก่ลูกหนี้อยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1169 หากลูกหนี้ล้มละลายเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สามารถใช้วิธีการทวงหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 118 หรือมาตรา 119 เรียกร้องหนี้ดังกล่าวได้ หรือหากเป็นหนี้เด็ดขาดตามคำพิพากษาก็มีระยะเวลาการบังคับคดี 10 ปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ดังนั้น ถือได้ว่าแผนกล่าวถึงรายละเอียดแห่งสินทรัพย์ไม่ครบถ้วน ไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/42 (2)
การพิจารณาว่าแผนชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ แผนนั้นจะต้องมีรายละเอียดตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/42 บัญญัติว่า "ในแผนให้มีรายการต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย... (2) รายละเอียดแห่งสินทรัพย์ หนี้สินและภาระผูกพันต่างๆ ของลูกหนี้ในขณะที่ศาลสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ..." คำว่า สินทรัพย์ หมายถึง ทรัพยากรที่อยู่ในความควบคุมของกิจการและประโยชน์ที่ได้รับในเชิงเศรษฐกิจจากทรัพยากรนั้นในอนาคต สินทรัพย์จึงรวมทั้งทรัพย์สินและสิทธิเรียกร้อง กรณีนี้ลูกหนี้มีหนี้เงินให้กู้ยืมซึ่งมีสิทธิเรียกร้องในหนี้ดังกล่าว แต่ในแผนไม่ปรากฏว่าสิทธิเรียกร้องในหนี้เงินดังกล่าว ผู้ทำแผนได้กำหนดวิธีการจัดการไว้อย่างไรที่จะให้เจ้าหนี้ได้ประโยชน์สูงสุด รวมทั้งหนี้ให้กู้ยืมเงินจำนวนมากที่กรรมการของลูกหนี้มีส่วนประมาทก่อให้เกิดความเสียหาย ลูกหนี้อาจฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนแก่กรรมการได้ซึ่งในการเรียกร้องนั้นเจ้าหนี้ของลูกหนี้จะเป็นผู้เรียกบังคับได้เท่าที่เจ้าหนี้ยังมีสิทธิเรียกร้องแก่ลูกหนี้อยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1169 หากลูกหนี้ล้มละลายเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สามารถใช้วิธีการทวงหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 118 หรือมาตรา 119 เรียกร้องหนี้ดังกล่าวได้ หรือหากเป็นหนี้เด็ดขาดตามคำพิพากษาก็มีระยะเวลาการบังคับคดี 10 ปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ดังนั้น ถือได้ว่าแผนกล่าวถึงรายละเอียดแห่งสินทรัพย์ไม่ครบถ้วน ไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/42 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7966/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการทวงหนี้จากลูกหนี้ของจำเลยหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจเก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่จำเลยหรือซึ่งจำเลยมีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 22(2) การที่ลูกจ้างและกรรมการของจำเลยชำระหนี้เงินกู้ให้แก่ อ. ม. และ ส. ซึ่งเคยเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลย โดยบุคคลทั้งสามไม่มีอำนาจรับชำระหนี้แทนจำเลยจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการชำระหนี้โดยชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 315 หนี้เงินกู้ยังไม่ระงับสิ้นไปและการรับชำระหนี้ดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ระหว่างจำเลยและบุคคลทั้งสาม เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ชอบที่จะต้องใช้สิทธิในการทวงถามหนี้เงินกู้ดังกล่าวจากลูกจ้างและกรรมการของจำเลยผู้กู้ยืมเงินจำนวนนั้นต่อไป ไม่อาจใช้อำนาจตามมาตรา 119 เรียกร้องให้อ. ม. และ ส. ชำระเงินจำนวนดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7966/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการทวงหนี้หลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และการชำระหนี้โดยไม่ชอบ
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว มีอำนาจเก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่จำเลยหรือซึ่งจำเลยมิสิทธิจะได้รับจากผู้อื่นตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 (2)
ลูกจ้างและกรรมการของบริษัทจำเลยชำระหนี้เงินกู้ให้แก่ผู้ที่ไม่มีอำนาจรับชำระหนี้แทนจำเลยผู้ให้กู้ จึงถือ ไม่ได้ว่าเป็นการชำระหนี้โดยชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 315 หนี้เงินกู้ยังไม่ระงับสิ้นไป และการรับชำระหนี้ดังกล่าว ไม่ก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ระหว่างจำเลยและบุคคลผู้ที่ไม่มีอำนาจรับชำระหนี้นั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้อง ใช้สิทธิในการทวงถามหนี้เงินกู้จากลูกจ้างและกรรมการของจำเลยผู้กู้และไม่อาจใช้อำนาจตามมาตรา 119 แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 เรียกร้องให้ผู้ที่ไม่มีอำนาจรับชำระหนี้แทนจำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวได้
ลูกจ้างและกรรมการของบริษัทจำเลยชำระหนี้เงินกู้ให้แก่ผู้ที่ไม่มีอำนาจรับชำระหนี้แทนจำเลยผู้ให้กู้ จึงถือ ไม่ได้ว่าเป็นการชำระหนี้โดยชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 315 หนี้เงินกู้ยังไม่ระงับสิ้นไป และการรับชำระหนี้ดังกล่าว ไม่ก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ระหว่างจำเลยและบุคคลผู้ที่ไม่มีอำนาจรับชำระหนี้นั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้อง ใช้สิทธิในการทวงถามหนี้เงินกู้จากลูกจ้างและกรรมการของจำเลยผู้กู้และไม่อาจใช้อำนาจตามมาตรา 119 แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 เรียกร้องให้ผู้ที่ไม่มีอำนาจรับชำระหนี้แทนจำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวได้