คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 119

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 167 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกค่าหุ้นค้างชำระไม่ผูกติดกรอบเวลา 10 ปี แต่เกิดขึ้นเมื่อมีคำบอกกล่าวเรียกชำระจากกรรมการ
การที่จะเรียกเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกในแต่ละคราวนั้นเป็นดุลพินิจของกรรมการที่จะเรียกจากผู้ถือหุ้นเมื่อใด เป็นจำนวนเท่าใด ก็ได้ตราบเท่าที่บริษัทยังคงดำรงอยู่ หาใช่ว่าจะต้องเรียกภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันจดทะเบียนตั้งกรรมการบริษัทไม่แม้เมื่อเลิกบริษัท ผู้ชำระบัญชีจะเรียกให้ผู้ถือหุ้นส่งใช้เงินลงหุ้นอันเป็นส่วนที่ยังค้างชำระอยู่นั้นก็ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1265 ดังนั้นสิทธิเรียกร้องของบริษัทจำเลยในการเรียกเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีก จึงเกิดขึ้นในแต่ละคราวที่กรรมการส่งคำบอกกล่าวเรียกเงินค่าหุ้นนั้น และเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์บริษัทจำเลยเด็ดขาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 และ 119เรียกให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยชำระเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกทั้งหมดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกค่าหุ้นค้างชำระของบริษัทและการบังคับชำระหลังล้มละลาย
การที่จะเรียกเงินค่าหุ้นซึ่ง ยังจะต้อง ส่งอีกในแต่ละคราวนั้นเป็นดุลพินิจ ของกรรมการที่จะเรียกจากผู้ถือหุ้นเมื่อใด เป็นจำนวนเท่าใด ก็ได้ ตราบเท่าที่บริษัทยังคงดำรง อยู่ หาใช่ว่าจะต้อง เรียกภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันจดทะเบียนตั้ง กรรมการบริษัทไม่แม้เมื่อเลิกบริษัท ผู้ชำระบัญชีจะเรียกให้ผู้ถือหุ้นส่งใช้ เงินลงหุ้นอันเป็นส่วนที่ยังค้างชำระอยู่นั้นก็ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1265 ดังนั้นสิทธิเรียกร้องของบริษัทจำเลยในการเรียกเงินค่าหุ้นซึ่ง ยังจะต้อง ส่งอีก จึงเกิดขึ้นในแต่ละคราวที่กรรมการส่งคำบอกกล่าวเรียกเงินค่าหุ้นนั้นและเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์บริษัทจำเลยเด็ดขาดเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจตาม พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 22 และ 119 เรียกให้ผู้ร้องซึ่ง เป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยชำระเงินค่าหุ้นซึ่ง ยังจะต้อง ส่งอีกทั้งหมดได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกค่าหุ้นค้างชำระไม่จำกัดระยะเวลา หากยังไม่ได้รับชำระและบริษัทฯ ยังดำรงอยู่
การที่จะเรียกเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกในแต่ละคราวนั้นเป็นดุลพินิจของกรรมการที่จะเรียกจากผู้ถือหุ้นเมื่อใด เป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ตราบเท่าที่บริษัทยังคงดำรงอยู่ หาใช่ว่าจะต้องเรียกภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันจดทะเบียนตั้งกรรมการบริษัทไม่ แม้เมื่อเลิกบริษัท ผู้ชำระบัญชีจะเรียกให้ผู้ถือหุ้นส่งใช้เงินลงหุ้นอันเป็นส่วนที่ยังค้างชำระอยู่นั้นก็ได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1265ดังนั้น สิทธิเรียกร้องของบริษัทจำเลยในการเรียกเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกจึงเกิดขึ้นในแต่ละคราวที่กรรมการส่งคำบอกกล่าวเรียกเงินค่าหุ้นนั้น และเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์บริษัทจำเลยเด็ดขาดเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 และมาตรา 119 เรียกให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยชำระเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกทั้งหมดได้.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3913/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นที่บริษัทรู้เห็น vs. การไม่จดแจ้งทะเบียน และความรับผิดในค่าหุ้นค้างชำระ
การโอนหุ้นทำที่บริษัทจำเลยต่อหน้ากรรมการผู้จัดการของบริษัทจำเลย บริษัทจำเลยจึงมีหน้าที่จดแจ้งการโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น โดยไม่จำต้องให้ผู้โอนหรือผู้รับโอนแจ้งอีก การที่บริษัทจำเลยไม่จดแจ้งการโอนลงในทะเบียนจึงเป็นความผิดของบริษัทจำเลยเอง แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 วรรคสาม จะบัญญัติถึงการโอนหุ้นที่ไม่จดแจ้งการโอนลงในทะเบียนว่าจะนำมาใช้ยันแก่บริษัทไม่ได้ แต่ก็หมายถึงว่าเป็นเรื่องที่ผู้โอนและผู้รับโอนโอนหุ้นกันเองโดยบริษัทมิได้รู้เห็นด้วย กฎหมายจึงให้ถือตามที่ปรากฏอยู่ในทะเบียน เมื่อการโอนหุ้นได้โอนกันที่บริษัทจำเลย กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยรู้เห็นเป็นพยาน จึงมิใช่กรณีที่จะอ้างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 วรรคสามมาใช้ได้
ในขณะที่ผู้ร้องโอนหุ้นให้แก่ผู้รับโอน หุ้นของผู้ร้องยังมิได้ส่งใช้เงินเต็มจำนวนค่าหุ้น ผู้ร้องในฐานะผู้โอนจึงยังคงต้องรับผิดในจำนวนเงินที่ยังไม่ได้ส่งใช้ให้ครบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3913/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นที่บริษัทรู้เห็น & ความรับผิดของผู้โอนหุ้นค้างชำระค่าหุ้น
การโอนหุ้นทำที่บริษัทจำเลยต่อหน้ากรรมการผู้จัดการของบริษัทจำเลย บริษัทจำเลยจึงมีหน้าที่จดแจ้งการโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นโดยไม่จำต้องให้ผู้โอนหรือผู้รับโอนแจ้งอีก การที่บริษัทจำเลยไม่จดแจ้งการโอนลงในทะเบียนจึงเป็นความผิดของบริษัทจำเลยเองแม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 วรรคสาม จะบัญญัติถึงการโอนหุ้นที่ไม่ได้จดแจ้งการโอนลงในทะเบียนว่าจะนำมาใช้ยันแก่บริษัทไม่ได้ แต่ก็หมายถึงว่าเป็นเรื่องที่ผู้โอนและผู้รับโอนโอนหุ้นกันเองโดยบริษัทมิได้รู้เห็นด้วย กฎหมายจึงให้ถือตามที่ปรากฏอยู่ในทะเบียน เมื่อการโอนหุ้นได้โอนกันที่บริษัทจำเลยกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยรู้เห็นเป็นพยาน จึงมิใช่กรณีที่จะอ้างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 วรรคสามมาใช้ได้ ในขณะที่ผู้ร้องโอนหุ้นให้แก่ผู้รับโอน หุ้นของผู้ร้องยังมิได้ส่งใช้เงินเต็มจำนวนค่าหุ้น ผู้ร้องในฐานะผู้โอนจึงยังคงต้องรับผิดในจำนวนเงินที่ยังไม่ได้ส่งใช้ให้ครบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3036/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สิ้นสุดหลังจำหน่ายคดีล้มละลาย ห้ามใช้กระบวนการเดิมในคดีอื่น
ในคดีล้มละลายเรื่องก่อนซึ่งศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราวเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ได้มีหนังสือทวงหนี้ไปยังผู้ร้อง และเรียกผู้รับมอบอำนาจผู้ร้องมาทำารสอบสวนแล้วขณะคดีอยู่ในระหว่างการดำเนินการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จำเลยได้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีนี้ ศาลจึงสั่งจำหน่ายคดีล้มละลายเรื่องก่อนดังนี้ อำนาจของเจ้าพนักงนพิทักษ์ทรัพย์ในคดีก่อนย่อมหมดไปกระบวนพิจารณาล้มละลายที่ดำเนินไปแล้วซึ่งมีผลเฉพาะคดีนั้นเป็นอันยุติ แม้จะเป็นมูลหนี้รายเดียวกันหรือผู้ที่จะต้องรับผิดเป็นบุคคลคนเดียวกัน ก็ไม่อาจนำกระบวนพิจารณาที่ดำเนินไปแล้วนั้นมาใช้กับคดีนี้หรือคดีอื่นได้ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหนังสือยืนยันให้ผู้ร้องชำระหนี้ที่ค้างชำระโดยไม่ได้แจ้งความเป็นหนังสือให้ผู้ร้องชำระหนี้ ไม่ให้โอกาสผู้ร้องปฏิเสธหนี้ และไม่มีการสอบสวน โดยถือเอากระบวนพิจารณาที่กระทำไปแล้วในคดีก่อนมาเป็นกระบวนพิพากษาคดีนี้นั้น หนังสือยืนยันหนี้ดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยมาตรา 119 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3036/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สิ้นสุดเมื่อศาลจำหน่ายคดีล้มละลาย แม้หนี้สินจะยังคงอยู่
ในคดีล้มละลายเรื่องก่อนซึ่งศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มีหนังสือทวงหนี้ไปยังผู้ร้อง และเรียกผู้รับมอบอำนาจผู้ร้องมาทำการสอบสวนแล้ว ขณะคดีอยู่ในระหว่างการดำเนินการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จำเลยได้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีนี้ ศาลจึงสั่งจำหน่ายคดีล้มละลายเรื่องก่อน ดังนี้ อำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีก่อนย่อมหมดไป กระบวนพิจารณาล้มละลายที่ดำเนินไปแล้วซึ่งมีผลเฉพาะคดีนั้นเป็นอันยุติ แม้จะเป็นมูลหนี้รายเดียวกันหรือผู้ที่จะต้องรับผิดเป็นบุคคลคนเดียวกัน ก็ไม่อาจนำกระบวนพิจารณาที่ดำเนินไปแล้วนั้นมาใช้กับคดีนี้หรือคดีอื่นได้ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหนังสือยืนยันให้ผู้ร้องชำระหนี้ที่ค้างชำระโดยไม่ได้แจ้งความเป็นหนังสือให้ผู้ร้องชำระหนี้ ไม่ให้โอกาสผู้ร้องปฏิเสธหนี้ และไม่มีการสอบสวนโดยถือเอากระบวนพิจารณาที่กระทำไปแล้วในคดีก่อนมาเป็นกระบวนพิพากษาคดีนี้ หนังสือยืนยันหนี้ดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยมาตรา 119 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3036/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สิ้นสุดเมื่อศาลจำหน่ายคดีล้มละลาย แม้เป็นหนี้เดิมก็ไม่อาจใช้กระบวนพิจารณาเดิมได้
ในคดีล้มละลายเรื่องก่อนซึ่งศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราวเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ได้มีหนังสือทวงหนี้ไปยังผู้ร้อง และเรียกผู้รับมอบอำนาจผู้ร้องมาทำารสอบสวนแล้วขณะคดีอยู่ในระหว่างการดำเนินการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ ทรัพย์จำเลยได้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีนี้ ศาลจึงสั่งจำหน่ายคดีล้มละลายเรื่องก่อนดังนี้ อำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีก่อนย่อมหมดไปกระบวนพิจารณาล้มละลายที่ดำเนินไปแล้วซึ่งมีผลเฉพาะคดีนั้นเป็นอันยุติ แม้จะเป็นมูลหนี้รายเดียวกันหรือผู้ที่จะต้องรับผิดเป็นบุคคลคนเดียวกัน ก็ไม่อาจนำกระบวนพิจารณาที่ดำเนินไปแล้วนั้นมาใช้กับคดีนี้หรือคดีอื่นได้ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหนังสือยืนยันให้ผู้ร้องชำระหนี้ที่ค้างชำระโดยไม่ได้แจ้งความเป็นหนังสือให้ผู้ร้องชำระหนี้ ไม่ให้โอกาสผู้ร้องปฏิเสธหนี้ และไม่มีการสอบสวน โดยถือเอากระบวนพิจารณาที่กระทำไปแล้วในคดีก่อนมาเป็นกระบวนพิพากษาคดีนี้นั้น หนังสือยืนยันหนี้ดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยมาตรา 119 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2583/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการอุทธรณ์คำสั่งศาลและการปฏิเสธหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นอกจากเป็นเจ้าพนักงานศาลแล้วยังมีหน้าที่รวบรวมทรัพย์สินและฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้รวมทั้งกระทำการต่าง ๆ ในนามลูกหนี้อีกฐานะหนึ่งจึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นได้ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ผู้ร้องถอนคำร้องเพื่อให้ผู้ร้องไปยื่นคำคัดค้านต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายใน 14 วันนั้น ไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่จำต้องโต้แย้งคำสั่งไว้แต่ประการใด การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องปฏิเสธหนี้ต่อศาลชั้นต้นโดยปฏิบัติไม่ถูกต้องตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483 มาตรา 119 นั้น เมื่อผู้ร้องขอถอนคำร้องเพื่อนำไปยื่นตามขั้นตอนที่ถูกต้องศาลก็เพียงแต่ชอบที่จะอนุญาตให้ถอนคำร้องได้เท่านั้นไม่ชอบที่จะก้าวล่วงไปกำหนดระยะเวลาในการยื่นคำร้องปฏิเสธหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้ผิดแผกแตกต่างไปจากบทบัญญัติของกฎหมาย ซึ่งต่างกับกรณีการฟ้องคดีต่อศาลที่ไม่มีเขตอำนาจ จึงไม่อาจนำบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 18 วรรคสาม มาปรับแก่กรณีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2583/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการอุทธรณ์คำสั่งศาลและการปฏิบัติตามขั้นตอนการยื่นคำร้องในคดีล้มละลาย
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นอกจากเป็นเจ้าพนักงานศาลแล้วยังมีหน้าที่รวบรวมทรัพย์สินและฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้รวมทั้งกระทำการต่าง ๆ ในนามลูกหนี้อีกฐานะหนึ่งจึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นได้
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ผู้ร้องถอนคำร้องเพื่อให้ผู้ร้องไปยื่นคำคัดค้านต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายใน 14 วันนั้น ไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่จำต้องโต้แย้งคำสั่งไว้แต่ประการใด
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องปฏิเสธหนี้ต่อศาลชั้นต้นโดยปฏิบัติไม่ถูกต้องตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483 มาตรา 119 นั้นเมื่อผู้ร้องขอถอนคำร้องเพื่อนำไปยื่นตามขั้นตอนที่ถูกต้อง ศาลก็เพียงแต่ชอบที่จะอนุญาตให้ถอนคำร้องได้เท่านั้นไม่ชอบที่จะก้าวล่วงไปกำหนดระยะเวลาในการยื่นคำร้องปฏิเสธหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้ผิดแผกแตกต่างไปจากบทบัญญัติของกฎหมาย ซึ่งต่างกับกรณีการฟ้องคดีต่อศาลที่ไม่มีเขตอำนาจ จึงไม่อาจนำบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 วรรคสาม มาปรับแก่กรณีนี้ได้.
of 17