พบผลลัพธ์ทั้งหมด 167 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1573/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเงินบำเหน็จข้าราชการที่ถูกอายัดในคดีล้มละลาย เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิรับเงินบำเหน็จแล้ว
จำเลยเป็นข้าราชการสังกัดหน่วยงานของผู้ร้อง หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และมีคำพิพากษาให้จำเลยล้มละลายเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหนังสือขออายัดเงินซึ่งอ้างว่าจำเลยมีสิทธิได้รับบำเหน็จจากผู้ร้อง เพื่อรวบรวมไว้ในกองทรัพย์สิน ตามมาตรา 121 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายฯ ดังนั้นแม้ผู้ร้องได้ส่งเงินดังกล่าวให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ โดยมิได้ปฏิเสธสิทธิเป็นหนังสือมายังเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ตามมาตรา 119 ก็ไม่ถือว่าผู้ร้องเป็นหนี้กองทรัพย์สินตามจำนวนที่แจ้งไปเป็นการเด็ดขาด เพราะกรณีไม่เข้าข่าย มาตรา 119 การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะรวบรวมเงินบำเหน็จ ของจำเลยได้นั้น ต้องได้ความว่าจำเลยมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จ จากผู้ร้อง เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง และผู้ร้องได้มีคำสั่งให้ไล่จำเลยออกจากราชการ ซึ่งมีผลให้จำเลย ไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จ ตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ส่วนท้องถิ่นฯ เงินบำเหน็จที่ผู้ร้องส่งให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จึงไม่ใช่ทรัพย์สินในคดีล้มละลายอันอาจแบ่งให้แก่เจ้าหนี้ได้ตาม มาตรา 109 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ไม่มีอำนาจจัดการเก็บรวบรวมและรับเงินไว้ตาม มาตรา 22 และต้องคืนเงินดังกล่าวให้ผู้ร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 92/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายเพิ่มเติม, เช็คลงวันที่ล่วงหน้า, การเรียกร้องหนี้ในคดีล้มละลาย, สละสิทธิเงื่อนเวลา
ผู้ร้องทำสัญญาซื้อเรือยนต์จากจำเลย โดยชำระด้วยเงินสดบางส่วนหนี้ที่เหลือผู้ร้องชำระด้วยเช็คลงวันที่ล่วงหน้าแต่ละเดือน รวม 13 ฉบับ ภายหลังจำเลยได้โอนเช็คดังกล่าวให้แก่บุคคลภายนอก สัญญาระหว่างจำเลยและผู้ร้องเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด ซึ่งจำเลยได้โอนกรรมสิทธิ์เรือยนต์ให้แก่ผู้ร้องแล้ว และผู้ร้องต้องชำระหนี้ค่าเรือยนต์ให้ครบถ้วนในวันเดียวกัน การที่จำเลยและผู้ร้องตกลงกันให้ผู้ร้องชำระหนี้เป็นรายเดือนตามจำนวนเงินในเช็คเป็นเวลา 1 ปี จึงเป็นสัญญาเพิ่มเติมสัญญาซื้อขายเดิม จำเลยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญาจำเลยจะคืนเช็คก่อนถึงกำหนด แล้วขอให้ผู้ร้องชำระหนี้ทั้งหมดทันที หรือขอให้ผู้ร้องชำระหนี้ตามจำนวนเงินในเช็คแต่ละฉบับเมื่อเช็คนั้นยังไม่ถึงกำหนดไม่ได้ แม้จะถือว่ามูลหนี้เดิมตามสัญญาซื้อขายยังไม่ระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคท้ายและต่อมาจำเลยถูกฟ้องเป็นคดีล้มละลายและศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ร้องมีส่วนผิดสัญญา เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ไม่มีสิทธิเรียกให้ผู้ร้องชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขาย ส่วนหนี้ตามเช็คฉบับที่ผู้ร้องนำเงินมาวางศาลแล้วกับเช็คอีก 3ฉบับ ที่ผู้ทรงเช็คซึ่งรับโอนไปจากจำเลยได้นำมาขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นั้น ปรากฏตามอุทธรณ์ของผู้ร้องว่าผู้ร้องยินยอมชำระเงินตามเช็คทั้งสี่ฉบับนี้ให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ถือว่าผู้ร้องสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลานั้นแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีสิทธิเรียกร้องเงินตามเช็คทั้งสี่ฉบับดังกล่าวได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 92/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายเพิ่มเติมและการเรียกร้องหนี้ในคดีล้มละลาย: สิทธิของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ผู้ร้องทำสัญญาซื้อเรือยนต์จากจำเลย โดยชำระเงินสดบางส่วนหนี้ที่เหลือผู้ร้องชำระด้วยเช็คลงวันที่ล่วงหน้าแต่ละเดือน รวม13 ฉบับ ภายหลังจำเลยได้โอนเช็คดังกล่าวให้แก่บุคคลภายนอกสัญญาระหว่างจำเลยและผู้ร้องเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด ซึ่งจำเลยได้โอนกรรมสิทธิ์เรือยนต์ให้แก่ผู้ร้องแล้วและผู้ร้องต้องชำระหนี้ค่าเรือยนต์ให้ครบถ้วนในวันเดียวกัน การที่จำเลยและผู้ร้องตกลงกันให้ผู้ร้องชำระหนี้เป็นรายเดือนตามจำนวนเงินในเช็คเป็นเวลา 1 ปี จึงเป็นสัญญาเพิ่มเติมสัญญาซื้อขายเดิม จำเลยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญา จำเลยจะคืนเช็คก่อนถึงกำหนด แล้วขอให้ผู้ร้องชำระหนี้ทั้งหมดทันที หรือขอให้ผู้ร้องชำระหนี้ตามจำนวนเงินในเช็คแต่ละฉบับเมื่อเช็คนั้นยังไม่ถึงกำหนดไม่ได้ แม้จะถือว่ามูลหนี้เดิมตามสัญญาซื้อขายยังไม่ระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคท้าย และต่อมาจำเลยถูกฟ้องเป็นคดีล้มละลายและศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ร้องมีส่วนผิดสัญญา เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ไม่มีสิทธิเรียกให้ผู้ร้องชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขาย ส่วนหนี้ตามเช็คฉบับที่ผู้ร้องนำเงินมาวางศาลแล้วกับเช็คอีก 3 ฉบับที่ผู้ทรงเช็คซึ่งรับโอนไปจากจำเลยได้นำมาขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นั้น ปรากฏตามอุทธรณ์ของผู้ร้องว่าผู้ร้องยินยอมชำระเงินตามเช็คทั้งสี่ฉบับนี้ให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถือว่าผู้ร้องสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลานั้นแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีสิทธิเรียกร้องเงินตามเช็คทั้งสี่ฉบับดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 92/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการตกลงผ่อนชำระหนี้ด้วยเช็ค และสิทธิของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย
ผู้ร้องทำสัญญาซื้อเรือยนต์จากจำเลย โดยชำระด้วยเงินสดบางส่วนหนี้ที่เหลือผู้ร้องชำระด้วยเช็คลงวันที่ล่วงหน้าแต่ละเดือน รวม 13 ฉบับ ภายหลังจำเลยได้โอนเช็คดังกล่าวให้แก่บุคคลภายนอก สัญญาระหว่างจำเลยและผู้ร้องเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด ซึ่งจำเลยได้โอนกรรมสิทธิ์เรือยนต์ให้แก่ผู้ร้องแล้ว และผู้ร้องต้องชำระหนี้ค่าเรือยนต์ให้ครบถ้วนในวันเดียวกัน การที่จำเลยและผู้ร้องตกลงกันให้ผู้ร้องชำระหนี้เป็นรายเดือนตามจำนวนเงินในเช็คเป็นเวลา 1 ปี จึงเป็นสัญญาเพิ่มเติมสัญญาซื้อขายเดิม จำเลยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญา จำเลยจะคืนเช็คก่อนถึงกำหนด แล้วขอให้ผู้ร้องชำระหนี้ทั้งหมดทันที หรือขอให้ผู้ร้องชำระหนี้ตามจำนวนเงินในเช็คแต่ละฉบับ เมื่อเช็คนั้นยังไม่ถึงกำหนดไม่ได้ แม้จะถือว่ามูลหนี้เดิมตามสัญญาซื้อขายยังไม่ระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคท้ายและต่อมาจำเลยถูกฟ้องเป็นคดีล้มละลายและศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ร้องมีส่วนผิดสัญญา เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ไม่มีสิทธิเรียกให้ผู้ร้องชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขาย ส่วนหนี้ตามเช็คฉบับที่ผู้ร้องนำเงินมาวางศาลแล้วกับเช็คอีก 3 ฉบับ ที่ผู้ทรงเช็คซึ่งรับโอนไปจากจำเลยได้นำมาขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นั้น ปรากฏตามอุทธรณ์ของผู้ร้องว่าผู้ร้องยินยอมชำระเงินตามเช็คทั้งสี่ฉบับนี้ให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ถือว่าผู้ร้องสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลานั้นแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีสิทธิเรียกร้องเงินตามเช็คทั้งสี่ฉบับดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5606/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งเอกสารทางไปรษณีย์ตอบรับต้องส่งให้ผู้มีอำนาจรับเอกสาร การรับเอกสารโดยบุคคลที่ไม่มีอำนาจทำให้การส่งไม่ชอบ
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มีหนังสือแจ้งความและเตือนให้ผู้ร้องชำระหนี้โดยส่งทางไปรษณีย์ตอบรับ ปรากฏว่าหุ้นส่วนผู้จัดการของผู้ร้องมิได้รับหนังสือดังกล่าวด้วยตนเอง แต่มีบุตรของหุ้นส่วนผู้จัดการผู้ร้องซึ่งมีอายุไม่เกินยี่สิบปีเป็นผู้รับแทนทั้งสองครั้ง การส่งเอกสารดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา73 ทวิ,76 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช2483มาตรา 119.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5606/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับหนังสือแจ้งหนี้โดยผู้เยาว์ทำให้การส่งเอกสารไม่ชอบตามกฎหมาย
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มีหนังสือแจ้งความและเตือนให้ผู้ร้องชำระหนี้โดยส่งทางไปรษณีย์ตอบรับ ปรากฏว่าหุ้นส่วนผู้จัดการของผู้ร้องมิได้รับหนังสือดังกล่าวด้วยตนเอง แต่มีบุตรของหุ้นส่วนผู้จัดการผู้ร้องซึ่งมีอายุไม่เกินยี่สิบปีเป็นผู้รับแทนทั้งสองครั้ง การส่งเอกสารดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 73 ทวิ, 76 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 119.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3358/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าเช่าซื้อ: สัญญาเช่าซื้อสังหาริมทรัพย์มีอายุความ 2 ปีตามมาตรา 105(6) ไม่ใช่ 10 ปี
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 5 ว่าด้วยการเช่าซื้อ ไม่ได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยตรง แต่ค่าเช่าซื้อก็เป็นค่าเช่าในการใช้ทรัพย์สินอย่างหนึ่ง ดังนั้น หากผู้ให้เช่าซื้อซึ่งเป็นพ่อค้าฟ้องเรียกร้องเอาค่าเช่าซื้อสังหาริมทรัพย์ (เครื่องรับโทรทัศน์) ที่ค้างชำระอยู่ จึงต้องฟ้องเสียภายในอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (6) ไม่ใช่ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3358/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าเช่าซื้อ: สิทธิเรียกร้องของพ่อค้าต้องฟ้องภายใน 2 ปี ตามมาตรา 105(6)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 5 ว่าด้วยการเช่าซื้อ ไม่ได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยตรง แต่ค่าเช่าซื้อก็เป็นค่าเช่าในการใช้ทรัพย์สินอย่างหนึ่ง ดังนั้น หากผู้ให้เช่าซื้อซึ่งเป็นพ่อค้าฟ้องเรียกร้องเอาค่าเช่าซื้อสังหาริมทรัพย์(เครื่องรับโทรทัศน์) ที่ค้างชำระอยู่ จึงต้องฟ้องเสียภายในอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(6) ไม่ใช่10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2181/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้นที่ยังมิได้จดแจ้งผลกระทบต่อหนี้ค่าหุ้นในคดีล้มละลาย ผู้โอนยังคงเป็นหนี้อยู่
ผู้ร้องมีหนังสือปฏิเสธหนี้ค่าหุ้นซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งว่าผู้ร้องยังค้างชำระต่อบริษัทลูกหนี้(จำเลย) โดยส่งสำเนาภาพถ่ายหนังสือโอนหุ้นเป็นพยานต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไปแล้ว แม้ในชั้นสอบสวนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะได้ออกหมายนัดให้ผู้ร้องไปให้การเพื่อสอบสวนโดยระบุว่า ถ้า ไม่ไป ถือว่าไม่ติดใจให้สอบสวนก็ตามผู้ร้องก็ยังมีสิทธิยกข้ออ้างเกี่ยวกับการที่ผู้ร้องโอนหุ้นให้แก่ผู้มีชื่อ ขึ้นต่อสู้ในชั้นศาลและนำพยานหลักฐานเข้าสืบได้ ไม่ถือว่าการนำพยานหลักฐานดังกล่าวเป็นอันยุติไปตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ทำการสอบสวนไว้ ผู้ร้องเป็นผู้ถือหุ้นชนิดระบุชื่อ ผู้ถือหุ้นของบริษัทลูกหนี้(จำเลย) การโอนหุ้นจึงต้องจดแจ้งการโอนทั้งชื่อ และสำนักงานผู้รับโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรค 3มิฉะนั้นจะอ้างเพื่อให้ตนเองหลุดพ้นจากความรับผิดในหนี้ที่ค้างชำระหุ้นมิได้ ดังนั้น เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกให้ผู้ร้องชำระค่าหุ้นที่ยังค้างชำระต่อบริษัทลูกหนี้ ผู้ร้องจึงไม่อาจยกเอาการโอนหุ้นซึ่งยังมิได้จดแจ้งการโอนหุ้นขึ้นยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2181/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยืนยันหนี้ค่าหุ้นในคดีล้มละลาย ผู้ถือหุ้นต้องแจ้งการโอนหุ้นเพื่อหลุดพ้นความรับผิด
แม้ผู้ร้องไม่ไปให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนตามกำหนดนัดเมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านการยืนยันหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต่อศาล ตามมาตรา 119 วรรคสาม ศาลมีอำนาจพิจารณาว่าผู้ร้องเป็นหนี้กองทรัพย์สินของบริษัทลูกหนี้ (จำเลย) หรือไม่ ผู้ร้องจึงมีสิทธิยกขึ้นเป็นข้ออ้างข้อต่อสู้ในชั้นศาล และนำพยานหลักฐานเข้าสืบได้ ไม่ถือว่าการนำสืบพยานหลักฐานเป็นอันยุติไปตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ทำการสอบสวนแต่อย่างใด
การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อระหว่างผู้ร้องกับ น. และ ธ. ยังมิได้จดแจ้งการโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น ผู้ร้องจึงไม่อาจอ้างเหตุผลใด ๆ มาเป็นข้อยกเว้นบทบัญญัติของ มาตรา 1129 วรรคสาม แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เพื่อให้ตนเองหลุดพ้นไปจากความรับผิดในค่าหุ้นที่ค้างได้ เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทลูกหนี้ (จำเลย) แล้ว พระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483 มาตรา 22 (2) ให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวในการเก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่บริษัทลูกหนี้ (จำเลย) หรือซึ่งบริษัทลูกหนี้ (จำเลย) มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น ฉะนั้น เมื่อผู้ร้องต้องห้ามมิให้ยกการโอนหุ้นขึ้นยันบริษัทลูกหนี้ (จำเลย) ดังกล่าวแล้ว ผู้ร้องก็ย่อมไม่อาจยกการโอนหุ้นขึ้นยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เช่นเดียวกัน
การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อระหว่างผู้ร้องกับ น. และ ธ. ยังมิได้จดแจ้งการโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น ผู้ร้องจึงไม่อาจอ้างเหตุผลใด ๆ มาเป็นข้อยกเว้นบทบัญญัติของ มาตรา 1129 วรรคสาม แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เพื่อให้ตนเองหลุดพ้นไปจากความรับผิดในค่าหุ้นที่ค้างได้ เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทลูกหนี้ (จำเลย) แล้ว พระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483 มาตรา 22 (2) ให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวในการเก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่บริษัทลูกหนี้ (จำเลย) หรือซึ่งบริษัทลูกหนี้ (จำเลย) มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น ฉะนั้น เมื่อผู้ร้องต้องห้ามมิให้ยกการโอนหุ้นขึ้นยันบริษัทลูกหนี้ (จำเลย) ดังกล่าวแล้ว ผู้ร้องก็ย่อมไม่อาจยกการโอนหุ้นขึ้นยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เช่นเดียวกัน