คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 119

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 167 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2134/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิริบเงินมัดจำจากการซื้อขายที่ดิน แม้มีการล้มละลายของคู่สัญญา ผู้ขายยังคงมีสิทธิริบได้
จำเลยทำสัญญาจะซื้อที่ดินและวางเงินมัดจำไว้จำนวนหนึ่ง ต่อมาจำเลยไม่สามารถชำระราคา เกรงจะถูกริบเงินมัดจำ จึงให้ผู้ร้องชำระราคาที่เหลือให้ผู้ร้องครอบครองและรับโอนมา โดยผู้ร้องกับจำเลยตกลงกันว่า ผู้ร้องจะต้องขายที่ดินนี้ให้แก่จำเลยภายใน 1 ปี และให้ถือว่าเงินที่จำเลยวางมัดจำไว้เป็นเงินมัดจำที่จำเลยวางกับผู้ร้อง ดังนี้เป็นการแสดงเจตนาร่วมกันให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิของเจ้าของที่ดินนั้นเอง ปรับได้กับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 377 ข้อเท็จจริงที่ปรากฏว่าผู้ร้องมิได้รับเงินมัดจำเป็นตัวเงินนั้น หาได้ลบล้างการแสดงเจตนาของคู่กรณีหรือทำให้ผลในการกฎหมายของกรณีนี้เปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใดไม่ เงินนี้จึงเป็นเงินมัดจำ
การที่เจ้าพนักงานพิทักทรัพย์ไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาที่ลูกหนี้มีอยู่ต่อบุคคลใดตามความในมาตรา 122 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายนั้น มีความหมายว่า ในฐานะที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาที่ลูกหนี้จะพึงได้รับมา มิใช่หมายถึงว่าจะไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาที่ผู้อื่นเช่นผู้ร้องจะพึงได้รับไป ฉะนั้น ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาระหว่างผู้ร้องกับจำเลยดังกล่าว จึงมิได้ทำให้สิทธิของผู้ร้องตามสัญญาในการที่จะริบเงินมัดจำต้องสูญสิ้นไปแต่ประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2134/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิริบเงินมัดจำจากสัญญาจะซื้อขายหลังล้มละลาย: การสวมสิทธิเจ้าของเดิม & ผลกระทบจากคำสั่งไม่ยอมรับสิทธิ
จำเลยทำสัญญาจะซื้อที่ดินและวางเงินมัดจำไว้จำนวนหนึ่ง ต่อมาจำเลยไม่สามารถชำระราคา เกรงจะถูกริบเงินมัดจำ จึงให้ผู้ร้องชำระราคาที่เหลือให้ผู้ร้องครอบครองและรับโอนมา โดยผู้ร้องกับจำเลยตกลงกันว่าผู้ร้องจะต้องขายที่ดินนี้ให้แก่จำเลยภายใน 1 ปี และให้ถือว่าเงินที่จำเลยวางมัดจำไว้เป็นเงินมัดจำที่จำเลยวางกับผู้ร้อง ดังนี้เป็นการแสดงเจตนาร่วมกันให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิของเจ้าของที่ดินนั่นเอง ปรับได้กับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 377 ข้อเท็จจริงที่ปรากฏว่าผู้ร้องมิได้รับเงินมัดจำเป็นตัวเงินนั้น หาได้ลบล้างการแสดง เจตนาของคู่กรณีหรือทำให้ผลในกฎหมายของกรณีนี้เปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใดไม่ เงินนี้จึงเป็นเงินมัดจำ
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาที่ลูกหนี้มีอยู่ต่อบุคคลใดตามความในมาตรา 122 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายฯนั้น มีความหมายว่า ในฐานะที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาที่ลูกหนี้จะพึงได้รับมา มิใช่หมายถึงว่าจะไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาที่ผู้อื่นเช่นผู้ร้องจะพึงได้รับไป ฉะนั้น ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาระหว่างผู้ร้องกับจำเลยดังกล่าว จึงมิได้ทำให้สิทธิของผู้ร้องตามข้อสัญญาในการที่จะริบเงินมัดจำต้องสูยเสีบไปแต่ประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1955/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับหนังสือทวงหนี้และการปฏิเสธหนี้เกินกำหนด แม้ส่งโดยชอบ แต่ต้องพิสูจน์การรับจริง
แม้จะถือว่าหนังสือของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มีการส่งโดยชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 76ตั้งแต่เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2515 แล้วก็ตาม ก็ยังถือเป็นเด็ดขาดไม่ได้ว่าผู้ร้องได้รับในวันที่ส่งนั้นผู้ร้องอาจนำสืบความจริงว่าตนได้รับเมื่อใด เพื่อเป็นข้อแก้ตัวว่าตนได้ตอบปฏิเสธหนี้มาภายใน 14 วันนับแต่วันได้รับหนังสือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะยืนยันให้ถือว่าผู้ร้องไม่ปฏิเสธหนี้ภายในกำหนดในเหตุที่ว่าหนังสือของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ส่งไปยังสำนักทำการงานของผู้ร้องโดยชอบแล้วแต่ประการเดียวหาได้ไม่ แต่การที่ผู้ร้องแถลงไม่ติดใจนำพยานเข้าสืบ และมิได้นำสืบตามข้ออ้างของตนที่ว่าผู้ร้องเพิ่งทราบการเรียกร้องให้ชำระหนี้เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2515 ข้ออ้างดังกล่าวของผู้ร้องจึงไม่อาจรับฟังได้ ต้องถือว่าผู้ร้องรับทราบหนังสือทวงหนี้แล้วตั้งแต่วันที่ 6 มกราคม 2515 นั่นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1955/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับหนังสือทวงหนี้และการปฏิเสธหนี้ภายในกำหนดตามกฎหมายล้มละลาย การไม่นำสืบทำให้ข้ออ้างไม่รับฟัง
แม้จะถือว่าหนังสือของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มีการส่งโดยชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 76 ตั้งแต่เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2515 แล้วก็ตาม ก็ยังถือเป็นเด็ดขาดไม่ได้ว่าผู้ร้องได้รับในวันที่ส่งนั้นผู้ร้องอาจนำสืบความจริงว่าตนได้รับเมื่อใด เพื่อเป็นข้อแก้ตัวว่าตนได้ตอบปฏิเสธหนี้มาภายใน 14 วันนับแต่วันได้รับหนังสือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะยืนยันให้ถือว่าผู้ร้องไม่ปฏิเสธหนี้ภายในกำหนดในเหตุที่ว่าหนังสือของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ส่งไปยังสำนักทำการงานของผู้ร้องโดยชอบแล้วแต่ประการเดียวหาได้ไม่ แต่การที่ผู้ร้องแถลงไม่ติดใจนำพยานเข้าสืบ และมิได้นำสืบตามข้ออ้างของตนที่ว่าผู้ร้องเพิ่งทราบการเรียกร้องให้ชำระหนี้เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2515 ข้ออ้างดังกล่าวของผู้ร้องจึงไม่อาจรับฟังได้ ต้องถือว่าผู้ร้องรับทราบหนังสือทวงหนี้แล้วตั้งแต่วันที่ 6 มกราคม 2515 นั่นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3235/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดต่อบุคคลภายนอก: หลักสันนิษฐาน & การพิสูจน์ความสุจริต
ที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(1)บัญญัติว่า คำสั่งเรื่องล้มละลายอาจใช้ยันบุคคลภายนอกได้นั้นต้องพิจารณาประกอบกับพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 28 ซึ่งบัญญัติให้มีการประกาศโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ในหนังสือราชกิจจานุเบกษา และในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่งฉบับ ในมาตรานี้มิได้บัญญัติไว้ด้วยว่าเมื่อได้มีการประกาศโฆษณาดังกล่าวแล้วให้ถือว่าบุคคลภายนอกทุกคนต้องทราบ จึงจะถือว่าบุคคลภายนอกที่ไม่ทราบได้ทราบคำสั่งนั้นแล้ว ย่อมไม่เป็นธรรม แต่ตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติมาตรานี้อนุมานได้ว่าประสงค์จะให้การประกาศโฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาเป็นข้อสันนิษฐานเบื้องต้น ว่า บุคคลภายนอกทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดที่ได้ประกาศโฆษณานั้นแล้ว ฉะนั้น เมื่อผู้ใดอ้างว่าตนไม่ทราบก็ย่อมนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานนี้ได้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่งประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยซึ่งเป็นข้าราชการกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ไปให้กระทรวงการคลังทราบ โดยระบุว่ามีอาชีพค้าขายหัวหน้ากองกลางผู้ได้รับประกาศนั้นไม่รู้จักจำเลย จึงได้สั่งให้รวมเก็บ และทางปฏิบัติเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ส่งประกาศเกี่ยวกับลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ไปให้กระทรวงการคลังทุกราย ไม่ว่าลูกหนี้นั้นจะเป็นข้าราชการหรือไม่ในพฤติการณ์ดังกล่าว กรมสรรพสามิตและกระทรวงการคลังอาจนำสืบแสดงว่าตนไม่ทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้นได้
กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ได้จ่ายเงินสะสมพร้อมด้วยดอกเบี้ยให้แก่จำเลยซึ่งลาออกจากราชการไป โดยไม่ทราบว่า จำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก่อนวันจ่ายเงิน ย่อมต้องถือว่าเป็นการชำระหนี้โดยสุจริต จึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวอีกครั้งหนึ่งให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
(วรรคแรกและวรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 30/2516)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3235/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อสันนิษฐานเบื้องต้นเรื่องการทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และการชำระหนี้โดยสุจริต
ที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(1) บัญญัติว่า คำสั่งเรื่องล้มละลายอาจใช้ยันบุคคลภายนอกได้นั้น ต้องพิจารณาประกอบกับพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 28 ซึ่งบัญญัติให้มีการประกาศโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ในหนังสือราชกิจจานุเบกษา และในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่งฉบับ ในมาตรานี้มิได้บัญญัติไว้ด้วยว่า เมื่อได้มีการประกาศโฆษณาดังกล่าวแล้วให้ถือว่าบุคคลภายนอกทุกคนต้องทราบ จึงจะถือว่าบุคคลภายนอกที่ไม่ทราบ ได้ทราบคำสั่งนั้นแล้ว ย่อมไม่เป็นธรรม แต่ตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติมาตรานี้อนุมานได้ว่าประสงค์จะให้การประกาศโฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาเป็นข้อสันนิษฐานเบื้องต้นว่า บุคคลภายนอกทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดที่ได้ประกาศโฆษณานั้นแล้ว ฉะนั้น เมื่อผู้ใดอ้างว่าตนไม่ทราบก็ย่อมนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานนี้ได้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่งประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยซึ่งเป็นข้าราชการกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ไปให้กระทรวงการคลังทราบ โดยระบุว่ามีอาชีพค้าขายหัวหน้ากองกลางผู้ได้รับประกาศนั้นไม่รู้จักจำเลย จึงได้สั่งให้รวมเก็บ และทางปฏิบัติเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ส่งประกาศเกี่ยวกับลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ไปให้กระทรวงการคลังทุกราย ไม่ว่าลูกหนี้นั้นจะเป็นข้าราชการหรือไม่ ในพฤติการณ์ดังกล่าว กรมสรรพสามิตและกระทรวงการคลังอาจนำสืบแสดงว่าตนไม่ทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้นได้
กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ได้จ่ายเงินสะสมพร้อมด้วยดอกเบี้ยให้แก่จำเลยซึ่งลาออกจากราชการไป โดยไม่ทราบว่าจำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก่อนวันจ่ายเงิน ย่อมต้องถือว่าเป็นการชำระหนี้โดยสุจริต จึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวอีกครั้งหนึ่งให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ (วรรคแรกและวรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 30/2516)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2046/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการเรียกร้องหนี้จากสัญญาจะซื้อขายที่ดินที่ถูกเพิกถอนสิทธิ โดยการไม่อุทธรณ์ถือเป็นการยอมรับหนี้
กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างลูกหนี้ผู้ล้มละลายกับผู้ขายตามอำนาจในมาตรา 122 และดำเนินการเรียกร้องเงินค่าที่ดินที่ผู้ขายได้รับไว้จากลูกหนี้คือตามอำนาจในมาตรา 119 เมื่อดำเนินการมาจนถึงขั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหนังสือยืนยันหนี้ให้ผู้ขายคืนเงินค่าที่ดินและแจ้งให้ผู้ขายร้องคัดค้านต่อศาลภายในกำหนดเวลาสิบสี่วัน แต่ผู้ขายมิได้ร้องคัดค้านต่อศาลแต่อย่างใด ดังนี้ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำขอต่อศาลขอให้บังคับผู้ขายชำระหนี้เงินค่าที่ดินดังกล่าว ศาลก็ต้องมีคำสั่งบังคับไปตามคำขอ ไม่มีปัญหาที่ศาลจะต้องวินิจฉัยว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิเรียกร้องเงินค่าที่ดินคืนจากผู้ขายหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2046/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการเรียกร้องหนี้จากสัญญาซื้อขายที่ดินหลังการล้มละลาย และผลของการไม่คัดค้านต่อศาล
กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างลูกหนี้ผู้ล้มละลายกับผู้ขายตามอำนาจในมาตรา 122 และดำเนินการเรียกร้องเงินค่าที่ดินที่ผู้ขายได้รับไว้จากลูกหนี้คือตามอำนาจในมาตรา 119 เมื่อดำเนินการมาจนถึงขั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหนังสือยืนยันหนี้ให้ผู้ขายคืนเงินค่าที่ดินและแจ้งให้ผู้ขายร้องคัดค้านต่อศาลภายในกำหนดเวลาสิบสี่วันแต่ผู้ขายมิได้ร้องคัดค้านต่อศาลแต่อย่างใด ดังนี้ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำขอต่อศาลขอให้บังคับผู้ขายชำระหนี้เงินค่าที่ดินดังกล่าว ศาลก็ต้องมีคำสั่งบังคับไปตามคำขอ ไม่มีปัญหาที่ศาลจะต้องวินิจฉัยว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิเรียกร้องเงินค่าที่ดินคืนจากผู้ขายหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2045/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขาดนัดพิจารณาคดีล้มละลาย ศาลจำหน่ายคดี และไม่อุทธรณ์ได้ แม้เข้าใจผิดเวลานัด
กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหนังสือแจ้งให้ผู้ร้องส่งมอบรถยนต์หรือชำระเงินต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาล แต่ผู้ร้องไม่มีศาลตามวันเวลาที่ศาลนัดไต่สวนนั้น พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม จึงต้องถือว่าผู้ร้องขาดนัดพิจารณาตามมาตรา 197 วรรคสอง
เมื่อผู้ร้องขาดนัดพิจารณาและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้ศาลสั่งตามรูปคดี ศาลจึงสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 นั้น แม้ผู้ร้องจะเข้าใจเวลานัดของศาลผิดไปโดยสุจริต ก็ไม่อาจดำเนินคดีต่อไปได้คงทำได้เพียงประการเดียว คือร้องเริ่มต้นคดีใหม่ แต่ทั้งนี้ต้องอยู่ในบังคับแห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 74/2512)
กรณีผู้ร้องขาดนัดพิจารณาซึ่งศาลสั่งจำหน่ายคดี กฎหมายห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งหรือมีคำขอให้พิจารณาคดีนั้นใหม่ ย่อมไม่มีความจำเป็นที่ศาลจะต้องไต่สวนคำร้องของผู้ร้องว่าจงใจขาดนัดหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2045/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขาดนัดพิจารณาคดีล้มละลาย ศาลจำหน่ายคดีตามกฎหมาย แม้เข้าใจผิดเรื่องเวลา
กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหนังสือแจ้งให้ผู้ร้องส่งมอบรถยนต์หรือชำระเงินต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาล แต่ผู้ร้องไม่มีศาลตามวันเวลาที่ศาลนัดไต่สวนนั้น พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม จึงต้องถือว่าผู้ร้องขาดนัดพิจารณาตามมาตรา 197 วรรคสอง
เมื่อผู้ร้องขาดนัดพิจารณาและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้ศาลสั่งตามรูปคดี ศาลจึงสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 นั้น แม้ผู้ร้องจะเข้าใจเวลานัดของศาลผิดไปโดยสุจริต ก็ไม่อาจดำเนินคดีต่อไปได้คงทำได้เพียงประการเดียว คือร้องเริ่มต้นคดีใหม่ แต่ทั้งนี้ต้องอยู่ในบังคับแห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 74/2512)
กรณีผู้ร้องขาดนัดพิจารณาซึ่งศาลสั่งจำหน่ายคดี กฎหมายห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งหรือมีคำขอให้พิจารณาคดีนั้นใหม่ ย่อมไม่มีความจำเป็นที่ศาลจะต้องไต่สวนคำร้องของผู้ร้องว่าจงใจขาดนัดหรือไม่
of 17