พบผลลัพธ์ทั้งหมด 167 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2787/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิเสธหนี้และการไต่สวนข้อเท็จจริง: ศาลต้องไต่สวนการได้รับแจ้งหนี้ก่อนมีคำสั่ง
ตามคำร้องของผู้ร้องได้อ้างเหตุโดยปฏิเสธว่าไม่เคยได้รับแจ้งการยืนยันหนี้จากผู้คัดค้านมาก่อน ซึ่งในข้อเท็จจริงที่ว่าผู้ร้องได้รับการแจ้งยืนยันหนี้จากผู้คัดค้านโดยชอบแล้วหรือไม่ ยังไม่เป็นที่ยุติ ชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องไต่สวนให้เสร็จสิ้นกระแสความเสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2784/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในชั้นฎีกา: ทุนทรัพย์พิพาทต่ำกว่าเกณฑ์
มูลค่าหุ้นที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านมีหนังสือยืนยันให้ผู้ร้องชำระมีราคาเพียง 75,000 บาท จึงต้องถือว่าคดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาเพียง 75,000 บาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2784/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อมีทุนทรัพย์พิพาทน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดในคดีล้มละลาย
มูลค่าหุ้นที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านมีหนังสือยืนยันให้ผู้ร้องชำระมีราคาเพียง75,000บาทจึงต้องถือว่าคดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาเพียง75,000บาทต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2784/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงตามทุนทรัพย์คดีล้มละลาย: มูลค่าหุ้น 75,000 บาท
มูลค่าหุ้นที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านมีหนังสือยืนยันให้ผู้ร้องชำระมีราคาเพียง 75,000 บาทจึงต้องถือว่าคดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาเพียง75,000 บาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4758/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสะดุดหยุดจากหนังสือแจ้งหนี้ในคดีล้มละลาย และดอกเบี้ยหลังแจ้งหนี้
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านแจ้งความไปยังผู้ร้องให้ชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 119 วรรคแรก เป็นการบังคับตามสิทธิเรียกร้องของจำเลยถือได้ว่าเป็นการทำการอื่นใดอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องคดีซึ่งเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 เดิมเมื่อผู้คัดค้านได้แจ้งความเป็นหนังสือให้ผู้ร้องชำระหนี้เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2524 ซึ่งอยู่ภายในระยะเวลาสิบปีนับแต่วันที่12 มกราคม 2522 ซึ่งเป็นวันที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้อายุความจึงสะดุดหยุดลงเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2524สิทธิเรียกร้องของผู้คัดค้านจึงยังไม่ขาดอายุความ และมิใช่ผู้คัดค้านเพิ่งมาใช้สิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้เมื่อวันที่12 มกราคม 2537 อันเป็นวันที่ผู้คัดค้านมีหนังสือยืนยันหนี้ไปยังผู้ร้องให้ชำระหนี้ตามมาตรา 119 วรรคสอง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 เดิม ใช้บังคับแก่ดอกเบี้ยที่ค้างส่งอยู่ก่อนวันฟ้อง เมื่อการแจ้งความ เป็นหนังสือให้ผู้ร้องชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 119 มีผลเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องคดีแล้วดอกเบี้ยภายหลังจากนั้นจึงไม่ใช่ดอกเบี้ยค้างส่งจะใช้มาตรา 166 เดิมมาบังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2838/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมศาลในคดีล้มละลาย: การพิจารณาประเภทคดีและผลของการไม่ชำระค่าธรรมเนียม
พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา119วรรคสองและวรรคสามบัญญัติให้บุคคลที่ได้รับแจ้งความยืนยันหนี้คัดค้านต่อศาลโดยทำเป็นคำร้องภายในกำหนดเวลาสินสี่วันนับแต่ได้รับแจ้งความยืนยันและตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา179มิได้บัญญัติเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมคำร้องไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำตาราง2(3)ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งซึ่งกำหนดให้คู่ความเสียค่าธรรมเนียมการยื่นคำขออื่นๆที่ต้องทำเป็นคำร้องเพียง20บาทมาใช้บังคับสำหรับชั้นอุทธรณ์นั้นตามบทบัญญัติดังกล่าวมิได้ให้คู่ความทำเป็นคำร้องและตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา179วรรคท้ายบัญญัติให้คิดอัตราเดียวกับค่าธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเมื่อผู้ร้องอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ว่าผู้ร้องไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ตามที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของผู้ร้องที่ขอให้ยกคำสั่งของผู้คัดค้านที่ยืนยันให้ผู้ร้องชำระหนี้โดยอ้างว่าไม่มีหนี้ที่จะต้องชำระตามจำนวนที่ผู้คัดค้านแจ้งยืนยันหากศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้ผู้ร้องชนะคดีทุกข์ของผู้ร้องย่อมปลดเปลื้องไปเท่ากับจำนวนเงินที่ผู้ร้องไม่ต้องรับผิดชำระหนี้อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงเป็นคำฟ้องซึ่งมีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ตามจำนวนหนี้ที่ผู้ร้องไม่ต้องรับผิดตามที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของผู้ร้องนั้นอันเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ตามตาราง1ข้อ(1)(ก)ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา179วรรคท้ายซึ่งผู้ร้องต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์ ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ผู้ร้องนำค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ที่ยังขาดอยู่มาชำระแต่ผู้ร้องไม่ชำระจึงเป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา174(2),246ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153ศาลอุทธรณ์ต้องมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตามมาตรา132(1)ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าผู้ร้องไม่นำเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ที่ยังขาดอยู่มาชำระภายในกำหนดอุทธรณ์ของผู้ร้องจึงเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตามกฎหมายและพิพากษายกอุทธรณ์ของผู้ร้องเช่นนี้คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2838/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลในคดีล้มละลาย: การคำนวณทุนทรัพย์และผลของการไม่ชำระค่าขึ้นศาล
พระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา119วรรคสองและวรรคสามบัญญัติให้ผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลที่ได้รับแจ้งความยืนยันหนี้จากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์คัดค้านต่อศาลโดยทำเป็นคำร้องและตามมาตรา179มิได้บัญญัติเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมคำร้องไว้โดยเฉพาะจึงต้องเสียค่าธรรมเนียมคำร้องเพียง20บาทเช่นเดียวกับการยื่นคำขออื่นๆต่อศาลชั้นต้นที่ต้องทำเป็นคำร้องตามตาราง2(3)ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งสำหรับชั้นอุทธรณ์นั้นหากศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้ผู้ร้องชนะคดีทุกข์ของผู้ร้องย่อมปลดเปลื้องไปเท่ากับจำนวนเงินที่ผู้ร้องไม่ต้องรับผิดชำระหนี้อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงเป็นคำฟ้องที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ตามตาราง1ข้อ(1)(ก)ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งประกอบพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา179วรรคท้ายซึ่งผู้ร้องต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์ การที่ศาลอุทธรณ์สั่งให้ผู้ร้องนำค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ที่ยังขาดอยู่มาชำระแต่ผู้ร้องเพิกเฉยจึงเป็นการทิ้งฟ้องศาลอุทธรณ์ต้องมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา132(1),174(2)และมาตรา246ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา153ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าอุทธรณ์ของผู้ร้องต้องห้ามตามกฎหมายพิพากษายกอุทธรณ์ของผู้ร้องจึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2838/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมศาลในคดีล้มละลาย: การเปลี่ยนแปลงประเภทคดีจากคำร้องเป็นการฟ้องมีผลต่อค่าธรรมเนียม
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119วรรคสองและวรรคสาม บัญญัติให้บุคคลที่ได้รับแจ้งความยืนยันหนี้คัดค้านต่อศาลโดยทำเป็นคำร้องภายในกำหนดเวลาสินสี่วันนับแต่ได้รับแจ้งความยืนยัน และตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 179 มิได้บัญญัติเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมคำร้องไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำตาราง 2(3) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งกำหนดให้คู่ความเสียค่าธรรมเนียมการยื่นคำขออื่น ๆ ที่ต้องทำเป็นคำร้องเพียง20 บาท มาใช้บังคับ สำหรับชั้นอุทธรณ์นั้น ตามบทบัญญัติดังกล่าวมิได้ให้คู่ความทำเป็นคำร้อง และตาม พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา179 วรรคท้าย บัญญัติให้คิดอัตราเดียวกับค่าธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเมื่อผู้ร้องอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ว่า ผู้ร้องไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ตามที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของผู้ร้องที่ขอให้ยกคำสั่งของผู้คัดค้านที่ยืนยันให้ผู้ร้องชำระหนี้โดยอ้างว่าไม่มีหนี้ที่จะต้องชำระตามจำนวนที่ผู้คัดค้านแจ้งยืนยัน หากศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้ผู้ร้องชนะคดี ทุกข์ของผู้ร้องย่อมปลดเปลื้องไปเท่ากับจำนวนเงินที่ผู้ร้องไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงเป็นคำฟ้องซึ่งมีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ตามจำนวนหนี้ที่ผู้ร้องไม่ต้องรับผิดตามที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของผู้ร้องนั้นอันเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ตามตาราง 1 ข้อ (1)(ก) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 179 วรรคท้ายซึ่งผู้ร้องต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์ ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ผู้ร้องนำค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ที่ยังขาดอยู่มาชำระ แต่ผู้ร้องไม่ชำระ จึงเป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2),246ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153ศาลอุทธรณ์ต้องมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตามมาตรา 132(1) ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153 ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ผู้ร้องไม่นำเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ที่ยังขาดอยู่มาชำระภายในกำหนดอุทธรณ์ของผู้ร้องจึงเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตามกฎหมายและพิพากษายกอุทธรณ์ของผู้ร้อง เช่นนี้ คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2838/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลในคดีล้มละลาย: การคำนวณทุนทรัพย์และผลของการไม่ชำระค่าขึ้นศาล
พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119 วรรคสองและวรรคสาม บัญญัติให้บุคคลที่ได้รับแจ้งความยืนยันหนี้คัดค้านต่อศาลโดยทำเป็นคำร้องภายในกำหนดเวลาสิบสี่วันนับแต่ได้รับแจ้งความยืนยัน และตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 179 มิได้บัญญัติเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมคำร้องไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำตาราง 2 (3) ท้าย ป.วิ.พ. ซึ่งกำหนดให้คู่ความเสียค่าธรรมเนียมการยื่นคำขออื่น ๆ ที่ต้องทำเป็นคำร้องเพียง 20 บาท มาใช้บังคับ สำหรับชั้นอุทธรณ์นั้น ตามบทบัญญัติดังกล่าวมิได้ให้คู่ความทำเป็นคำร้อง และตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 179 วรรคท้าย บัญญัติให้คิดอัตราเดียวกับค่าธรรมเนียมตามป.วิ.พ. เมื่อผู้ร้องอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ว่า ผู้ร้องไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ตามที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของผู้ร้องที่ขอให้ยกคำสั่งของผู้คัดค้านที่ยืนยันให้ผู้ร้องชำระหนี้โดยอ้างว่าไม่มีหนี้ที่จะต้องชำระตามจำนวนที่ผู้คัดค้านแจ้งยืนยัน หากศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้ผู้ร้องชนะคดี ทุกข์ของผู้ร้องย่อมปลดเปลื้องไปเท่ากับจำนวนเงินที่ผู้ร้องไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงเป็นคำฟ้องซึ่งมีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ตามจำนวนหนี้ที่ผู้ร้องไม่ต้องรับผิดตามที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของผู้ร้องนั้น อันเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ตามตาราง 1 ข้อ (1) (ก) ท้าย ป.วิ.พ. ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 179 วรรคท้าย ซึ่งผู้ร้องต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์
ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ผู้ร้องนำค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ที่ยังขาดอยู่มาชำระ แต่ผู้ร้องไม่ชำระ จึงเป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2),246 ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 ศาลอุทธรณ์ต้องมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตามมาตรา 132 (1) ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 153 ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ผู้ร้องไม่นำเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ที่ยังขาดอยู่มาชำระภายในกำหนด อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตามกฎหมาย และพิพากษายกอุทธรณ์ของผู้ร้อง เช่นนี้ คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วยกระบวนวิธีพิจารณา
ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ผู้ร้องนำค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ที่ยังขาดอยู่มาชำระ แต่ผู้ร้องไม่ชำระ จึงเป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2),246 ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 ศาลอุทธรณ์ต้องมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตามมาตรา 132 (1) ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 153 ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ผู้ร้องไม่นำเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ที่ยังขาดอยู่มาชำระภายในกำหนด อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตามกฎหมาย และพิพากษายกอุทธรณ์ของผู้ร้อง เช่นนี้ คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วยกระบวนวิธีพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2769/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการสั่งงดการบังคับคดี: ศาลที่ได้รับมอบหมายบังคับคดีแทนศาลต้นสังกัด ไม่มีอำนาจสั่งงดการบังคับคดี
คำร้องที่ขอให้ศาลงดการบังคับคดีเป็นคำร้องที่เกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีศาลที่มีอำนาจทำคำวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องคือศาลแพ่งซึ่งเป็นศาลที่พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนี้ในศาลชั้นต้นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา302วรรคหนึ่งศาลจังหวัดตราดซึ่งเป็นศาลที่ได้รับมอบหมายจากศาลแพ่งให้ดำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์โดยขายทอดตลาดแทนไม่มีอำนาจสั่งให้งดการบังคับคดีตามคำร้องของผู้ร้อง