คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 119

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 167 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2769/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการสั่งงดการบังคับคดี: ศาลที่ได้รับมอบหมายบังคับคดีแทนศาลต้นสังกัด ไม่มีอำนาจสั่งงดการบังคับคดี
คำร้องที่ขอให้ศาลงดการบังคับคดีเป็นคำร้องที่เกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีศาลที่มีอำนาจทำคำวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องคือศาลแพ่งซึ่งเป็นศาลที่พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนี้ในศาลชั้นต้นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา302วรรคหนึ่งศาลจังหวัดตราดซึ่งเป็นศาลที่ได้รับมอบหมายจากศาลแพ่งให้ดำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์โดยขายทอดตลาดแทนไม่มีอำนาจสั่งให้งดการบังคับคดีตามคำร้องของผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 698/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระค่าหุ้น, เอกสารหลักฐาน, อายุความ และการฟ้องล้มละลาย: ศาลฎีกายืนตามศาลชั้นต้น
ผู้ร้องฎีกาว่าพยานหลักฐานผู้คัดค้านไม่มีน้ำหนักหักล้างพยานหลักฐานผู้ร้องฟังได้ว่าผู้ร้องได้ชำระค่าหุ้นเต็มตามมูลค่าครบถ้วนแล้วเป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติ ล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153แม้ศาลชั้นต้นรับฎีกามาก็เป็นการไม่ชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย บัญชีผู้ถือหุ้นในวันประชุมสามัญเป็นเอกสารที่จำเลยจัดทำส่งต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทโดยกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องตรงกับ สมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1141ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็น พยานหลักฐานอันถูกต้องและตามมาตรา1024ก็ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบรรดาสมุดบัญชีเอกสารของบริษัทย่อมเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้องตามข้อความที่ได้บันทึกไว้ในนั้นทุกประการการที่พยานผู้ร้องเบิกความว่าผู้ร้องชำระค่าหุ้นตามมูลค่าแล้วโดยไม่มีพยานหลักฐานอื่นใดสนับสนุนจึงไม่สามารถหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายได้ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าบัญชีผู้ถือหุ้นเป็นเอกสารที่ถูกต้องแท้จริงผู้ร้องต้องรับผิดในหนี้ที่ค้างชำระตามที่ผู้คัดค้านมีหนังสือยืนยันหนี้ไป การที่บริษัทจะเรียกเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกเป็นดุลพินิจของกรรมการที่จะเรียกจากผู้ถือหุ้นเมื่อใดเป็นจำนวนเงินเท่าใดก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1120หาใช่จะต้องเรียกร้องภายในกำหนด10ปีนับแต่วันที่ผู้ร้องเข้าชื่อจองซื้อหุ้นไม่ดังนั้น สิทธิเรียกร้องของผู้คัดค้านในการเรียกให้ผู้ร้องส่งใช้เงินค่าหุ้นที่ค้างชำระนับแต่วันทำสัญญาเข้าชื่อจองซื้อหุ้นแม้จะเกิน10ปีก็ ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6908/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับเงินค่าหุ้นยันได้แม้ไม่จดแจ้งทะเบียน ผู้รับชำระรับฟังได้
ผู้ร้องมีหนังสือของบริษัทจำเลยซึ่ง ม.กรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัทจำเลยลงลายมือชื่อโดยประทับตราของบริษัทจำเลยยืนยันว่าบริษัทจำเลยได้รับเงินค่าหุ้นที่ค้างจากผู้ร้องแล้วมาแสดง ซึ่งผู้ร้องได้อ้างส่งไว้ในชั้นสอบสวนของผู้คัดค้าน ที่ผู้คัดค้านอ้างว่าจากการตรวจสอบบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลย ปรากฏว่าผู้ร้องยังค้างชำระค่าหุ้นแก่บริษัทจำเลยอยู่ เมื่อผู้คัดค้านไม่ได้ปฏิเสธว่าหนังสือรับเงินค่าหุ้นดังกล่าวบริษัทจำเลยไม่ได้ทำขึ้น หรือทำไว้ไม่ถูกต้องหรือไม่อย่างไร หนังสือรับเงินค่าหุ้นดังกล่าวจึงรับฟังได้
การชำระเงินค่าหุ้นไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องจดแจ้งลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นด้วย จึงใช้ยันแก่บริษัทจำเลยรวมทั้งผู้คัดค้านได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6908/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับเงินค่าหุ้นมีน้ำหนักกว่าบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น แม้ไม่มีการจดแจ้งการชำระในทะเบียน
ผู้ร้องมีหนังสือของบริษัทจำเลยซึ่งม. กรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัทจำเลยลงลายมือชื่อโดยประทับตราของบริษัทจำเลยยืนยันว่าบริษัทจำเลยได้รับเงินค่าหุ้นที่ค้างจากผู้ร้องแล้วมาแสดงซึ่งผู้ร้องได้อ้างส่งไว้ในชั้นสอบสวนของผู้คัดค้านที่ผู้คัดค้านอ้างว่าจากการตรวจสอบบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยปรากฏว่าผู้ร้องยังค้างชำระค่าหุ้นแก่บริษัทจำเลยอยู่เมื่อผู้คัดค้านไม่ได้ปฏิเสธว่าหนังสือรับเงินค่าหุ้นดังกล่าวบริษัทจำเลยไม่ได้ทำขึ้นหรือทำไว้ไม่ถูกต้องหรือไม่อย่างไรหนังสือรับเงินค่าหุ้นดังกล่าวจึงรับฟังได้ การชำระเงินค่าหุ้นไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องจดแจ้งลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นด้วยจึงใช้ยันแก่บริษัทจำเลยรวมทั้งผู้คัดค้านได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5858/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการทวงหนี้หลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ สิทธิเรียกร้องต้องเกิดขึ้นก่อนพิทักษ์ทรัพย์
กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้าน จะใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยดำเนินการทวงหนี้จากลูกหนี้ของจำเลยตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119 นั้น สิทธิเรียกร้องของจำเลยต้องมีอยู่ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เพราะเหตุว่าเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ไม่ว่าจะพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวหรือพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็ตามจำเลยย่อมไม่มีอำนาจจัดกิจการและทรัพย์สินของตนเอง อำนาจดังกล่าวตกอยู่แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านเพียงผู้เดียวตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 6,22,24

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5858/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการทวงหนี้หลังพิทักษ์ทรัพย์: สิทธิเรียกร้องต้องมีก่อนคำสั่งศาล
กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านจะใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยดำเนินการทวงหนี้จากลูกหนี้ของจำเลยตามพระราชบัญญัติ ล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา119นั้นสิทธิเรียกร้องของจำเลยต้องมีอยู่ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เพราะเหตุว่าเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้วไม่ว่าจะพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวหรือพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็ตามจำเลยย่อมไม่มีอำนาจจัดกิจการและทรัพย์สินของตนเองอำนาจดังกล่าวตกอยู่แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านเพียงผู้เดียวตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา6,22,24

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5858/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการทวงหนี้: สิทธิเรียกร้องต้องมีอยู่ก่อนคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านจะใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยดำเนินการทวงหนี้จากลูกหนี้ของจำเลยตามพระราชบัญญัติ ล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา119นั้นสิทธิเรียกร้องของจำเลยต้องมีอยู่ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เพราะเหตุว่าเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้วไม่ว่าจะพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวหรือพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็ตามจำเลยย่อมไม่มีอำนาจจัดกิจการและทรัพย์สินของตนเองอำนาจดังกล่าวตกอยู่แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านเพียงผู้เดียวตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา6,22,24

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2605/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดนัดชำระหนี้เมื่อใด? มติที่ประชุมเจ้าหนี้มีผลอย่างไร? การคิดดอกเบี้ยหลังผิดนัด
การที่ผู้ร้องปฏิบัติการชำระหนี้ตามที่ได้รับการผ่อนผันตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 2 และที่ 6 โดยตามหลักฐานการชำระหนี้มิได้เป็นไปอย่างสม่ำเสมอทุกเดือนตามกำหนดระยะเวลาแต่ผู้คัดค้านก็ยอมรับชำระหนี้ในลักษณะนี้มาโดยตลอดโดยมิได้ทักท้วงย่อมถือได้ว่าผู้คัดค้านได้สละสิทธิที่จะถือเอาประโยชน์จากเงื่อนเวลาแล้ว ประกอบกับเมื่อผู้ร้องนำเงินมาชำระครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2534 ยังเหลือหนี้ที่ต้องชำระอีก 95,460.45บาท แต่ผู้คัดค้านยังไม่ถือว่าผู้ร้องผิดนัด โดยขยายเวลาให้ผู้ร้องนำเงินส่วนที่เหลือมาชำระภายในวันที่ 5 มิถุนายน 2534 หากไม่นำมาชำระภายในกำหนดจึงจะถือว่าผิดนัด เมื่อผู้ร้องไม่ได้นำเงินไปชำระหนี้ที่เหลือภายในวันดังกล่าวเช่นนี้ ถือว่าผู้ร้องผิดนัดตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2534 ตามที่กำหนดไว้ หาใช่ผิดนัดเมื่อครบ 3 ปี ตามกำหนดระยะเวลาเดิมตามที่ผู้คัดค้านอนุมัติตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 2 ไม่ มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 12 ให้ยกเลิกมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 6 ได้ระบุไว้ไม่ให้กระทบถึงลูกหนี้ซึ่งได้รับอนุญาตให้ผ่อนชำระหนี้ตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 6 และอยู่ในระหว่างผ่อนชำระอยู่ แต่เมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามที่ตกลงไว้ลูกหนี้ก็ไม่อาจได้รับประโยชน์ในการผ่อนชำระหนี้นั้นตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 6 อยู่อีกต่อไป จึงต้องปฏิบัติตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 12 ข้อ 1.3 วรรคสอง ตอนท้าย โดยจะต้องชำระเงินต้นเต็มจำนวนพร้อมดอกเบี้ยทันทีนับแต่วันที่ยื่นคำร้องขอชำระหนี้นั้น เมื่อผู้ร้องเป็นผู้ที่ได้รับสิทธิในการผ่อนผันชำระหนี้โดยไม่เสียดอกเบี้ยตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 6จนผ่อนชำระเงินต้นไปรวมทั้งสิ้น 149,600 บาท ยังคงค้างชำระอยู่อีก95,460.45 บาท จึงตกเป็นผู้ผิดนัดเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2534ฉะนั้นเงินต้นที่ค้างชำระที่ผู้ร้องจะต้องชำระทันทีตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 12 ดังกล่าว จึงต้องคิด ณ วันที่มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 12 มีผลบังคับคือวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2534มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 12 ดังกล่าวไม่ได้กำหนดให้มีผลย้อนหลังไปลบล้างหรือยกเลิกผลการปฏิบัติการชำระหนี้ที่ผู้ร้องได้ปฏิบัติมาแล้ว ตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 2 และที่ 6 ก่อนที่จะผิดนัดแต่อย่างใด ผู้ร้องจะต้องชำระหนี้เฉพาะเงินต้นที่ยังคงค้างอยู่จำนวน95,460.45 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี นับแต่วันที่ผู้ร้องผิดนัดอันเป็นเวลาที่ผู้ร้องไม่ได้รับการผ่อนผันอีกต่อไป คือตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2534 ผู้ร้องผิดนัดไม่ชำระหนี้ตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2534แต่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าผู้ร้องผิดนัดตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน 2534เมื่อผู้ร้องไม่ได้อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ก็มิได้แก้ไข จึงต้องบังคับไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยถือว่าผู้ร้องผิดนัดตั้งแต่วันที่23 เมษายน 2534

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2605/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดนัดชำระหนี้ตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ การคิดดอกเบี้ย และผลของการผิดนัด
การที่ผู้ร้องปฏิบัติการชำระหนี้ตามที่ได้รับการผ่อนผันตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่2และที่6โดยตามหลักฐานการชำระหนี้มิได้เป็นไปอย่างสม่ำเสมอทุกเดือนตามกำหนดระยะเวลาแต่ผู้คัดค้านก็ยอมรับชำระหนี้ในลักษณะนี้มาโดยตลอดโดยมิได้ทักท้วงย่อมถือได้ว่าผู้คัดค้านได้สละสิทธิที่จะถือเอาประโยชน์จากเงื่อนเวลาแล้วประกอบกับเมื่อผู้ร้องนำเงินมาชำระครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่22เมษายน2534ยังเหลือหนี้ที่ต้องชำระอีก95,460.45บาทแต่ผู้คัดค้านยังไม่ถือว่าผู้ร้องผิดนัดโดยขยายเวลาให้ผู้ร้องนำเงินส่วนที่เหลือมาชำระภายในวันที่5มิถุนายน2534หากไม่นำมาชำระภายในกำหนดจึงจะถือว่าผิดนัดเมื่อผู้ร้องไม่ได้นำเงินไปชำระหนี้ที่เหลือภายในวันดังกล่าวเช่นนี้ถือว่าผู้ร้องผิดนัดตั้งแต่วันที่5มิถุนายน2534ตามที่กำหนดไว้หาใช่ผิดนัดเมื่อครบ3ปีตามกำหนดระยะเวลาเดิมตามที่ผู้คัดค้านอนุมัติตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่2ไม่ มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่12ให้ยกเลิกมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่6ได้ระบุไว้ไม่ให้กระทบถึงลูกหนี้ซึ่งได้รับอนุญาตให้ผ่อนชำระหนี้ตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่6และอยู่ในระหว่างผ่อนชำระอยู่แต่เมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามที่ตกลงไว้ลูกหนี้ก็ไม่อาจได้รับประโยชน์ในการผ่อนชำระหนี้นั้นตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่6อยู่อีกต่อไปจึงต้องปฏิบัติตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่12ข้อ1.3วรรคสองตอนท้ายโดยจะต้องชำระเงินต้นเต็มจำนวนพร้อมดอกเบี้ยทันทีนับแต่วันที่ยื่นคำร้องขอชำระหนี้นั้นเมื่อผู้ร้องเป็นผู้ที่ได้รับสิทธิในการผ่อนผันชำระหนี้โดยไม่เสียดอกเบี้ยตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่6จนผ่อนชำระเงินต้นไปรวมทั้งสิ้น149,600บาทยังคงค้างชำระอยู่อีก95,460.45บาทจึงตกเป็นผู้ผิดนัดเมื่อวันที่5มิถุนายน2534ฉะนั้นเงินต้นที่ค้างชำระที่ผู้ร้องจะต้องชำระทันทีตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่12ดังกล่าวจึงต้องคิดณวันที่มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่12มีผลบังคับคือวันที่21กุมภาพันธ์2534มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่12ดังกล่าวไม่ได้กำหนดให้มีผลย้อนหลังไปลบล้างหรือยกเลิกผลการปฏิบัติการชำระหนี้ที่ผู้ร้องได้ปฏิบัติมาแล้วตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่2และที่6ก่อนที่จะผิดนัดแต่อย่างใดผู้ร้องจะต้องชำระหนี้เฉพาะเงินต้นที่ยังคงค้างอยู่จำนวน95,460.45บาทพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ19ต่อปีนับแต่วันที่ผู้ร้องผิดนัดอันเป็นเวลาที่ผู้ร้องไม่ได้รับการผ่อนผันอีกต่อไปคือตั้งแต่วันที่5มิถุนายน2534 ผู้ร้องผิดนัดไม่ชำระหนี้ตั้งแต่วันที่5มิถุนายน2534แต่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าผู้ร้องผิดนัดตั้งแต่วันที่23เมษายน2534เมื่อผู้ร้องไม่ได้อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ก็มิได้แก้ไขจึงต้องบังคับไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยถือว่าผู้ร้องผิดนัดตั้งแต่วันที่23เมษายน2534

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2605/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดนัดชำระหนี้ตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ การคำนวณดอกเบี้ย และผลของการผิดนัด
การที่ผู้ร้องปฏิบัติการชำระหนี้ตามที่ได้รับการผ่อนผันตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่2และที่6โดยตามหลักฐานการชำระหนี้มิได้เป็นไปอย่างสม่ำเสมอทุกเดือนตามกำหนดระยะเวลาแต่ผู้คัดค้านก็ยอมรับชำระหนี้ในลักษณะนี้มาโดยตลอดโดยมิได้ทักท้วงย่อมถือได้ว่าผู้คัดค้านได้สละสิทธิที่จะถือเอาประโยชน์จากเงื่อนเวลาแล้วประกอบกับเมื่อผู้ร้องนำเงินมาชำระครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่22เมษายน2534ยังเหลือหนี้ที่ต้องชำระอีก95,460.45บาทแต่ผู้คัดค้านยังไม่ถือว่าผู้ร้องผิดนัดโดยขยายเวลาให้ผู้ร้องนำเงินส่วนที่เหลือมาชำระภายในวันที่5มิถุนายน2534หากไม่นำมาชำระภายในกำหนดจึงจะถือว่าผิดนัดเมื่อผู้ร้องไม่ได้นำเงินไปชำระหนี้ที่เหลือภายในวันดังกล่าวเช่นนี้ถือว่าผู้ร้องผิดนัดตั้งแต่วันที่5มิถุนายน2534ตามที่กำหนดไว้หาใช่ผิดนัดเมื่อครบ3ปีตามกำหนดระยะเวลาเดิมตามที่ผู้คัดค้านอนุมัติตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่2ไม่ มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่12ให้ยกเลิกมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่6ได้ระบุไว้ไม่ให้กระทบถึงลูกหนี้ซึ่งได้รับอนุญาตให้ผ่อนชำระหนี้ตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่6และอยู่ในระหว่างผ่อนชำระอยู่แต่เมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามที่ตกลงไว้ลูกหนี้ก็ไม่อาจได้รับประโยชน์ในการผ่อนชำระหนี้นั้นตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่6อยู่อีกต่อไปจึงต้องปฏิบัติตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่12ข้อ1.3วรรคสองตอนท้ายโดยจะต้องชำระเงินต้นเต็มจำนวนพร้อมดอกเบี้ยทันทีนับแต่วันที่ยื่นคำร้องขอชำระหนี้นั้นเมื่อผู้ร้องเป็นผู้ที่ได้รับสิทธิในการผ่อนผันชำระหนี้โดยไม่เสียดอกเบี้ยตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่6จนผ่อนชำระเงินต้นไปรวมทั้งสิ้น149,600บาทยังคงค้างชำระอยู่อีก95,460.45บาทจึงตกเป็นผู้ผิดนัดเมื่อวันที่5มิถุนายน2534ฉะนั้นเงินต้นที่ค้างชำระที่ผู้ร้องจะต้องชำระทันทีตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่12ดังกล่าวจึงต้องคิดณวันที่มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่12มีผลบังคับคือวันที่21กุมภาพันธ์2534มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่12ดังกล่าวไม่ได้กำหนดให้มีผลย้อนหลังไปลบล้างหรือยกเลิกผลการปฏิบัติการชำระหนี้ที่ผู้ร้องได้ปฏิบัติมาแล้วตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่2และที่6ก่อนที่จะผิดนัดแต่อย่างใดผู้ร้องจะต้องชำระหนี้เฉพาะเงินต้นที่ยังคงค้างอยู่จำนวน95,460.45บาทพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ19ต่อปีนับแต่วันที่ผู้ร้องผิดนัดอันเป็นเวลาที่ผู้ร้องไม่ได้รับการผ่อนผันอีกต่อไปคือตั้งแต่วันที่5มิถุนายน2534 ผู้ร้องผิดนัดไม่ชำระหนี้ตั้งแต่วันที่5มิถุนายน2534แต่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าผู้ร้องผิดนัดตั้งแต่วันที่23เมษายน2534เมื่อผู้ร้องไม่ได้อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ก็มิได้แก้ไขจึงต้องบังคับไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยถือว่าผู้ร้องผิดนัดตั้งแต่วันที่23เมษายน2534
of 17