พบผลลัพธ์ทั้งหมด 167 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2605/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดนัดชำระหนี้ตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ การคำนวณดอกเบี้ย และผลของการผิดนัด
การที่ผู้ร้องปฏิบัติการชำระหนี้ตามที่ได้รับการผ่อนผันตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่2และที่6โดยตามหลักฐานการชำระหนี้มิได้เป็นไปอย่างสม่ำเสมอทุกเดือนตามกำหนดระยะเวลาแต่ผู้คัดค้านก็ยอมรับชำระหนี้ในลักษณะนี้มาโดยตลอดโดยมิได้ทักท้วงย่อมถือได้ว่าผู้คัดค้านได้สละสิทธิที่จะถือเอาประโยชน์จากเงื่อนเวลาแล้วประกอบกับเมื่อผู้ร้องนำเงินมาชำระครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่22เมษายน2534ยังเหลือหนี้ที่ต้องชำระอีก95,460.45บาทแต่ผู้คัดค้านยังไม่ถือว่าผู้ร้องผิดนัดโดยขยายเวลาให้ผู้ร้องนำเงินส่วนที่เหลือมาชำระภายในวันที่5มิถุนายน2534หากไม่นำมาชำระภายในกำหนดจึงจะถือว่าผิดนัดเมื่อผู้ร้องไม่ได้นำเงินไปชำระหนี้ที่เหลือภายในวันดังกล่าวเช่นนี้ถือว่าผู้ร้องผิดนัดตั้งแต่วันที่5มิถุนายน2534ตามที่กำหนดไว้หาใช่ผิดนัดเมื่อครบ3ปีตามกำหนดระยะเวลาเดิมตามที่ผู้คัดค้านอนุมัติตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่2ไม่ มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่12ให้ยกเลิกมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่6ได้ระบุไว้ไม่ให้กระทบถึงลูกหนี้ซึ่งได้รับอนุญาตให้ผ่อนชำระหนี้ตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่6และอยู่ในระหว่างผ่อนชำระอยู่แต่เมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามที่ตกลงไว้ลูกหนี้ก็ไม่อาจได้รับประโยชน์ในการผ่อนชำระหนี้นั้นตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่6อยู่อีกต่อไปจึงต้องปฏิบัติตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่12ข้อ1.3วรรคสองตอนท้ายโดยจะต้องชำระเงินต้นเต็มจำนวนพร้อมดอกเบี้ยทันทีนับแต่วันที่ยื่นคำร้องขอชำระหนี้นั้นเมื่อผู้ร้องเป็นผู้ที่ได้รับสิทธิในการผ่อนผันชำระหนี้โดยไม่เสียดอกเบี้ยตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่6จนผ่อนชำระเงินต้นไปรวมทั้งสิ้น149,600บาทยังคงค้างชำระอยู่อีก95,460.45บาทจึงตกเป็นผู้ผิดนัดเมื่อวันที่5มิถุนายน2534ฉะนั้นเงินต้นที่ค้างชำระที่ผู้ร้องจะต้องชำระทันทีตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่12ดังกล่าวจึงต้องคิดณวันที่มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่12มีผลบังคับคือวันที่21กุมภาพันธ์2534มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่12ดังกล่าวไม่ได้กำหนดให้มีผลย้อนหลังไปลบล้างหรือยกเลิกผลการปฏิบัติการชำระหนี้ที่ผู้ร้องได้ปฏิบัติมาแล้วตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่2และที่6ก่อนที่จะผิดนัดแต่อย่างใดผู้ร้องจะต้องชำระหนี้เฉพาะเงินต้นที่ยังคงค้างอยู่จำนวน95,460.45บาทพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ19ต่อปีนับแต่วันที่ผู้ร้องผิดนัดอันเป็นเวลาที่ผู้ร้องไม่ได้รับการผ่อนผันอีกต่อไปคือตั้งแต่วันที่5มิถุนายน2534 ผู้ร้องผิดนัดไม่ชำระหนี้ตั้งแต่วันที่5มิถุนายน2534แต่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าผู้ร้องผิดนัดตั้งแต่วันที่23เมษายน2534เมื่อผู้ร้องไม่ได้อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ก็มิได้แก้ไขจึงต้องบังคับไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยถือว่าผู้ร้องผิดนัดตั้งแต่วันที่23เมษายน2534
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2531/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้น: สิทธิและความรับผิดของผู้โอนเมื่อบริษัทร่วมรู้เห็นและไม่จดแจ้งการโอน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1129วรรคสามที่บัญญัติถึงการโอนหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นที่ยังไม่ได้จดแจ้งการโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นว่าจะนำมาใช้ยันแก่บริษัทไม่ได้นั้นหมายถึงกรณีที่ผู้โอนและผู้รับโอนโอนหุ้นกันเองโดยบริษัทมิได้ร่วมรู้เห็นอยู่ด้วย ขณะที่มีการโอนขายหุ้นกันส. ผู้รับโอนเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยแม้ส. จะรับโอนหุ้นไว้ในฐานะส่วนตัวแต่ในฐานะที่ส. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยอยู่ด้วยจึงต้องถือว่าบริษัทจำเลยร่วมรู้เห็นและยินยอมให้มีการโอนหุ้นแล้วบริษัทจำเลยมีหน้าที่ต้องดำเนินการจดแจ้งการโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นโดยไม่จำต้องให้ผู้โอนหรือผู้รับโอนคนหนึ่งคนใดแจ้งให้ดำเนินการอีกการที่บริษัทจำเลยไม่ดำเนินการจดแจ้งการโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นจึงเป็นความผิดของบริษัทจำเลยเองและการที่บริษัทจำเลยยกเหตุที่ไม่มีการจดแจ้งการโอนขึ้นเป็นข้ออ้างเพื่อให้ผู้โอนต้องรับผิดย่อมเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา5บริษัทจำเลยหรือผู้คัดค้านจะเรียกให้ผู้ร้องชำระเงินค่าหุ้นที่ยังค้างชำระโดยอ้างว่าการโอนหุ้นไม่สมบูรณ์ตามมาตรา1129วรรคสามไม่ได้ส่วนมาตรา1133เกี่ยวกับความรับผิดของผู้โอนหุ้นสำหรับจำนวนเงินที่ยังส่งใช้ไม่ครบตามมูลค่าของหุ้นที่โอนหมายถึงความรับผิดต่อเจ้าหนี้ของบริษัทที่ผู้โอนเคยถือหุ้นอยู่ไม่ได้หมายถึงว่าผู้โอนจะต้องรับผิดต่อบริษัทในเงินค่าหุ้นซึ่งตนยังส่งใช้ไม่ครบแม้จะได้โอนหุ้นไปแล้วผู้คัดค้านจึงเรียกให้ผู้ร้องชำระเงินแก่ผู้คัดค้านตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา119ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2531/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้นและการรับผิดชอบค่าหุ้นค้างชำระ กรณีผู้รับโอนเป็นกรรมการบริษัท
การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นที่ยังไม่ได้จดแจ้งการโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นจะนำมาใช้ยันแก่บริษัทไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคสามนั้น หมายถึงกรณีที่ผู้โอนและผู้รับโอนโอนหุ้นกันเองโดยบริษัทมิได้ร่วมรู้เห็นอยู่ด้วยกฎหมายจึงบัญญัติให้ถือตามที่ปรากฏอยู่ในทะเบียนผู้ถือหุ้น
ขณะโอนขายหุ้นกัน ส. ผู้รับโอนเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลย แม้ ส. จะรับโอนหุ้นไว้ในฐานะส่วนตัวก็ต้องถือว่าบริษัทจำเลยร่วมรู้เห็นและยินยอมให้มีการโอนหุ้นแล้ว บริษัทจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องดำเนินการจดแจ้งการโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นโดยไม่จำต้องให้ผู้โอนหรือผู้รับโอนคนหนึ่งคนใดแจ้งให้ดำเนินการอีก การที่บริษัทจำเลยไม่ดำเนินการจดแจ้งการโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นจึงเป็นความผิดของบริษัทจำเลยเอง นอกจากนี้ยังเป็นที่เห็นได้ว่า การที่บริษัทจำเลยมีหน้าที่จดแจ้งการโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นแต่กลับละเลยเพิกเฉยไม่จดแจ้งการโอนแล้วจะกลับมายกเหตุที่ไม่มีการจดแจ้งการโอนขึ้นเป็นข้ออ้างเพื่อให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้โอนรับผิดเช่นนี้ย่อมเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 5 อีกด้วย บริษัทจำเลยหรือผู้คัดค้านจะเรียกให้ผู้ร้องชำระเงินค่าหุ้นที่ยังค้างชำระโดยอ้างเหตุว่าการโอนหุ้นไม่สมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคสาม ไม่ได้
ป.พ.พ. มาตรา 1133 เกี่ยวกับความรับผิดของผู้โอนหุ้นสำหรับจำนวนเงินที่ยังส่งใช้ไม่ครบตามมูลค่าของหุ้นที่โอนนั้น หมายถึงความรับผิดต่อเจ้าหนี้ของบริษัทที่ผู้โอนเคยถือหุ้นอยู่ หาได้หมายถึงว่าผู้โอนยังจะต้องรับผิดต่อบริษัทในเงินค่าหุ้นซึ่งตนยังส่งใช้ไม่ครบแม้จะได้โอนหุ้นดังกล่าวไปแล้วแต่อย่างใดไม่ ดังจะเห็นได้จากบทบัญญัติใน (1) และ (2) ที่ให้รับผิดเฉพาะในหนี้ของบริษัทซึ่งได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนโอน และให้รับผิดต่อเมื่อผู้ที่ยังถือหุ้นอยู่นั้นไม่สามารถออกส่วนใช้หนี้อันเขาจะพึงต้องออกใช้นั้นได้ ซึ่งแสดงถึงความเกี่ยวพันระหว่างเจ้าหนี้ของบริษัทกับผู้ถือหุ้นของบริษัทโดยเฉพาะ ฉะนั้นคดีนี้จึงไม่ใช่กรณีที่บริษัทจำเลยมีสิทธิเรียกร้องให้ผู้ร้องชำระเงินค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบ อันผู้คัดค้านจะเรียกให้ผู้ร้องชำระเงินแก่ผู้คัดค้านตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 119 ได้
ขณะโอนขายหุ้นกัน ส. ผู้รับโอนเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลย แม้ ส. จะรับโอนหุ้นไว้ในฐานะส่วนตัวก็ต้องถือว่าบริษัทจำเลยร่วมรู้เห็นและยินยอมให้มีการโอนหุ้นแล้ว บริษัทจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องดำเนินการจดแจ้งการโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นโดยไม่จำต้องให้ผู้โอนหรือผู้รับโอนคนหนึ่งคนใดแจ้งให้ดำเนินการอีก การที่บริษัทจำเลยไม่ดำเนินการจดแจ้งการโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นจึงเป็นความผิดของบริษัทจำเลยเอง นอกจากนี้ยังเป็นที่เห็นได้ว่า การที่บริษัทจำเลยมีหน้าที่จดแจ้งการโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นแต่กลับละเลยเพิกเฉยไม่จดแจ้งการโอนแล้วจะกลับมายกเหตุที่ไม่มีการจดแจ้งการโอนขึ้นเป็นข้ออ้างเพื่อให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้โอนรับผิดเช่นนี้ย่อมเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 5 อีกด้วย บริษัทจำเลยหรือผู้คัดค้านจะเรียกให้ผู้ร้องชำระเงินค่าหุ้นที่ยังค้างชำระโดยอ้างเหตุว่าการโอนหุ้นไม่สมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคสาม ไม่ได้
ป.พ.พ. มาตรา 1133 เกี่ยวกับความรับผิดของผู้โอนหุ้นสำหรับจำนวนเงินที่ยังส่งใช้ไม่ครบตามมูลค่าของหุ้นที่โอนนั้น หมายถึงความรับผิดต่อเจ้าหนี้ของบริษัทที่ผู้โอนเคยถือหุ้นอยู่ หาได้หมายถึงว่าผู้โอนยังจะต้องรับผิดต่อบริษัทในเงินค่าหุ้นซึ่งตนยังส่งใช้ไม่ครบแม้จะได้โอนหุ้นดังกล่าวไปแล้วแต่อย่างใดไม่ ดังจะเห็นได้จากบทบัญญัติใน (1) และ (2) ที่ให้รับผิดเฉพาะในหนี้ของบริษัทซึ่งได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนโอน และให้รับผิดต่อเมื่อผู้ที่ยังถือหุ้นอยู่นั้นไม่สามารถออกส่วนใช้หนี้อันเขาจะพึงต้องออกใช้นั้นได้ ซึ่งแสดงถึงความเกี่ยวพันระหว่างเจ้าหนี้ของบริษัทกับผู้ถือหุ้นของบริษัทโดยเฉพาะ ฉะนั้นคดีนี้จึงไม่ใช่กรณีที่บริษัทจำเลยมีสิทธิเรียกร้องให้ผู้ร้องชำระเงินค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบ อันผู้คัดค้านจะเรียกให้ผู้ร้องชำระเงินแก่ผู้คัดค้านตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 119 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2499/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้ไม่ครบอากรแสตมป์ ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้
สัญญากู้เงินเป็นต้นฉบับแห่งเอกสารอันเป็นตราสารที่จะต้องปิดอากรแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 5 ท้ายหมวด 6 แห่งประมวลรัษฎากรแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10)พ.ศ.2496
เมื่อผู้คัดค้านอ้างและนำสืบว่า ผู้ร้องกู้เงินจำเลยจำนวน1,845,000 บาท ตามหนังสือสัญญากู้เงินซึ่งต้องปิดอากรแสตมป์เป็นเงิน 922 บาทแต่สัญญากู้ปิดอากรแสตมป์เพียง 1 บาท ไม่ครบถ้วน จึงเป็นตราสารที่ไม่ปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ จะใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 118 ดังนั้น จึงรับฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นหนี้จำเลยอยู่ตามหนังสือยืนยันหนี้ของผู้คัดค้าน
เมื่อผู้คัดค้านอ้างและนำสืบว่า ผู้ร้องกู้เงินจำเลยจำนวน1,845,000 บาท ตามหนังสือสัญญากู้เงินซึ่งต้องปิดอากรแสตมป์เป็นเงิน 922 บาทแต่สัญญากู้ปิดอากรแสตมป์เพียง 1 บาท ไม่ครบถ้วน จึงเป็นตราสารที่ไม่ปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ จะใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 118 ดังนั้น จึงรับฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นหนี้จำเลยอยู่ตามหนังสือยืนยันหนี้ของผู้คัดค้าน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2450/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกเก็บเงินค่าหุ้นค้างชำระหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจเรียกเก็บได้
การที่จะเรียกเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกในแต่ละคราวนั้นเป็นดุลพินิจของกรรมการที่จะเรียกจากผู้ถือหุ้นเมื่อใด เป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ตราบเท่าที่บริษัทยังคงดำรงอยู่ หาใช่ว่าต้องเรียกภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันจดทะเบียนบริษัทไม่
กรรมการบริษัทจำเลยไม่เคยส่งคำบอกกล่าวเรียกเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกไปยังผู้ถือหุ้น ดังนั้น เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์บริษัทจำเลยเด็ดขาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 22 และ 119 เรียกให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยชำระเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกทั้งหมดได้ สิทธิเรียกร้องของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่ขาดอายุความ
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์บริษัทจำเลยเด็ดขาดแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหนังสือยืนยันให้ผู้ร้องชำระค่าหุ้นที่ผู้ร้องค้างชำระแก่จำเลยผู้ร้องก็ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้สั่งยกคำสั่งยืนยันหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องโดยมิได้กำหนดให้ผู้ร้องชำระเงินค่าหุ้นแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ด้วยนั้น ยังไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 119วรรคสาม ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ผู้ร้องชำระค่าหุ้นแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
กรรมการบริษัทจำเลยไม่เคยส่งคำบอกกล่าวเรียกเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกไปยังผู้ถือหุ้น ดังนั้น เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์บริษัทจำเลยเด็ดขาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 22 และ 119 เรียกให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยชำระเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกทั้งหมดได้ สิทธิเรียกร้องของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่ขาดอายุความ
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์บริษัทจำเลยเด็ดขาดแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหนังสือยืนยันให้ผู้ร้องชำระค่าหุ้นที่ผู้ร้องค้างชำระแก่จำเลยผู้ร้องก็ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้สั่งยกคำสั่งยืนยันหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องโดยมิได้กำหนดให้ผู้ร้องชำระเงินค่าหุ้นแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ด้วยนั้น ยังไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 119วรรคสาม ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ผู้ร้องชำระค่าหุ้นแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1998/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องหลังพิทักษ์ทรัพย์: ผู้คัดค้านทวงหนี้จากผู้ดูแลทรัพย์ที่สูญหายไม่ได้ เพราะสิทธิเรียกร้องเกิดขึ้นหลังศาลมีคำสั่ง
การที่ผู้คัดค้านจะใช้ สิทธิเรียกร้องของจำเลยทวงหนี้จากลูกหนี้ของจำเลยตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา119ได้นั้นสิทธิเรียกร้องดังกล่าวต้องมีอยู่ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์และแม้มีบุคคลใดที่ต้องรับผิดชอบต่อผู้คัดค้านในกรณีทรัพย์สินที่ผู้คัดค้านได้ยึดไว้สูญหายไปก็เป็นเรื่องที่ผู้คัดค้านต้องติดตามเอาคืนมาหรือเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ที่ต้องรับผิดต่อไปเมื่อสิทธิเรียกร้องที่ผู้ร้องต้องรับผิดเนื่องจากทรัพย์สินที่ยึดสูญหายไปเกิดขึ้นภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านจึงไม่อาจใช้อำนาจตามมาตรา119เรียกร้องให้ผู้ร้องชำระเงินดังกล่าวแก่ผู้คัดค้านได้และเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ร่วมหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด: สิทธิเรียกร้องขาดอายุความเมื่อทวงหนี้เกิน 2 ปีหลังผิดนัด
การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัดพ. ให้การต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกี่ยวกับมูลหนี้ตามบันทึกรับสภาพหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดพ.ก่อนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้ไปยังผู้ร้องไม่ใช่ผู้ร้องยอมรับในส่วนของผู้ร้องว่าเป็นหนี้จำเลยบันทึกคำให้การของผู้ร้องไม่ใช่การรับสภาพความรับผิดโดยสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา18/8วรรคสาม(เดิม) แม้ผู้ร้องต้องร่วมรับผิดในหนี้ของห้างโดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1077แต่ผู้ร้องก็อยู่ในฐานะลูกหนี้ร่วมกับห้างซึ่งมีสิทธิยกอายุความขึ้นต่อสู้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา295แม้ห้างถูกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้จนศาลได้ออกคำบังคับเพราะเป็นหนี้เด็ดขาดตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา119แล้วก็ตามเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้ไปยังผู้ร้องให้ร่วมรับผิดในหนี้ของห้างเมื่อพ้น2ปีนับแต่ห้างผิดนัดชำระหนี้ในมูลหนี้ผู้เป็นพ่อค้าเรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบของสิทธิเรียกร้องให้ผู้ร้องชำระหนี้ย่อมขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความของหนี้ร่วม: หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดยกอายุความได้ แม้ต้องรับผิดชอบหนี้ของห้างหุ้นส่วน
แม้ผู้ร้องซึ่งเป็น หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ต้องร่วมรับผิดในหนี้ของห้างโดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1077แต่ผู้ร้องก็อยู่ในฐานะเป็น ลูกหนี้ร่วมกับห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ผู้ร้องย่อม ยกอายุความขึ้นต่อสู้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา295เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้ไปยังผู้ร้องให้ร่วมรับผิดในหนี้ของห้างเมื่อพ้น2ปีนับแต่ห้าง ผิดนัดชำระหนี้ในมูลหนี้ผู้เป็นพ่อค้าเรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบของสิทธิเรียกร้องให้ผู้ร้องชำระหนี้ย่อม ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดร่วมรับผิดในหนี้ห้างหุ้นส่วน และสิทธิยกอายุความ
การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้าง-หุ้นส่วนจำกัด พ.ให้การต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกี่ยวกับมูลหนี้ตามบันทึกรับสภาพหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด พ.ก่อนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้ไปยังผู้ร้อง ไม่ใช่ผู้ร้องยอมรับในส่วนของผู้ร้องว่าเป็นหนี้จำเลย บันทึกคำให้การของผู้ร้องไม่ใช่การรับสภาพ-ความรับผิดโดยสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 188 วรรคสาม (เดิม)
แม้ผู้ร้องต้องร่วมรับผิดในหนี้ของห้างโดยไม่จำกัดจำนวนตามป.พ.พ. มาตรา 1077 แต่ผู้ร้องก็อยู่ในฐานะลูกหนี้ร่วมกับห้างซึ่งมีสิทธิยกอายุความขึ้นต่อสู้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 295 แม้ห้างถูกเจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้จนศาลได้ออกคำบังคับเพราะเป็นหนี้เด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 119 แล้วก็ตาม เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้ไปยังผู้ร้องให้ร่วมรับผิดในหนี้ของห้างเมื่อพ้น 2 ปี นับแต่ห้างผิดนัดชำระหนี้ในมูลหนี้ผู้เป็นพ่อค้าเรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบของ สิทธิเรียกร้องให้ผู้ร้องชำระหนี้ย่อมขาดอายุความ
แม้ผู้ร้องต้องร่วมรับผิดในหนี้ของห้างโดยไม่จำกัดจำนวนตามป.พ.พ. มาตรา 1077 แต่ผู้ร้องก็อยู่ในฐานะลูกหนี้ร่วมกับห้างซึ่งมีสิทธิยกอายุความขึ้นต่อสู้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 295 แม้ห้างถูกเจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้จนศาลได้ออกคำบังคับเพราะเป็นหนี้เด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 119 แล้วก็ตาม เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้ไปยังผู้ร้องให้ร่วมรับผิดในหนี้ของห้างเมื่อพ้น 2 ปี นับแต่ห้างผิดนัดชำระหนี้ในมูลหนี้ผู้เป็นพ่อค้าเรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบของ สิทธิเรียกร้องให้ผู้ร้องชำระหนี้ย่อมขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้หุ้นส่วนจำกัด: ลูกหนี้ร่วมกับห้างสามารถยกอายุความได้ แม้เป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด
การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ให้การต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกี่ยวกับมูลหนี้ตามบันทึกรับสภาพหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด พ.ก่อนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้ไปยังผู้ร้อง ไม่ใช่ผู้ร้องยอมรับในส่วนของผู้ร้องว่าเป็นหนี้จำเลย บันทึกคำให้การของผู้ร้องไม่ใช่การรับสภาพความรับผิดโดยสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 188 วรรคสาม (เดิม) แม้ผู้ร้องต้องร่วมรับผิดในหนี้ของห้างโดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1077 แต่ผู้ร้องก็อยู่ในฐานะลูกหนี้ร่วมกับห้างซึ่งมีสิทธิยกอายุความขึ้นต่อสู้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 295 แม้ห้างถูกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้จนศาลได้ออกคำบังคับเพราะเป็นหนี้เด็ดขาดตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 119 แล้วก็ตาม เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้ไปยังผู้ร้องให้ร่วมรับผิดในหนี้ของห้างเมื่อพ้น 2 ปีนับแต่ห้างผิดนัดชำระหนี้ในมูลหนี้ผู้เป็นพ่อค้าเรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบของ สิทธิเรียกร้องให้ผู้ร้องชำระหนี้ย่อมขาดอายุความ