พบผลลัพธ์ทั้งหมด 167 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3182/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหนังสือยืนยันหนี้โดยผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปี ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ทำให้ระยะเวลาคัดค้านหนี้ยังไม่เริ่ม
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 73 ทวิ และมาตรา 76 บุคคลที่รับคำคู่ความหรือเอกสารไว้แทนจะต้องอายุเกินยี่สิบปีแต่คดีนี้เด็กหญิง ก. หลานสาวผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับหนังสือยืนยันหนี้ไว้แทนผู้ร้องมีอายุเพียง 14 ปี เท่านั้น การส่งหนังสือยืนยันหนี้ของผู้คัดค้านจึงไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ถือไม่ได้ว่าผู้ร้องได้รับหนังสือยืนยันหนี้ของผู้คัดค้านเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2533 การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านคำแจ้งความยืนยันหนี้ของผู้คัดค้านในวันที่ 3 มกราคม 2534 จึงไม่อาจถือได้ว่าผู้ร้องยื่นเกินกำหนดเวลาสิบสี่วันนับแต่วันได้รับแจ้งความยืนยันหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 119 วรรคสอง การส่งไปรษณีย์ภัณฑ์ตามไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ.2524 ข้อ 353 เป็นเรื่องการส่งจดหมายทั่วไปมิใช่การส่งคำคู่ความหรือเอกสารตาม ป.วิ.พ. มาตรา 73 ทวิ และมาตรา 76
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2215/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการจัดการสัญญาเช่าหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
ผู้ร้องทำสัญญาเช่าโรงงานประกอบรถยนต์ซึ่งเป็นทรัพย์ในกองทรัพย์สินของจำเลยกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดแล้ว กรณีจึงเป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าจัดการทรัพย์สินของจำเลยตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 (1) ฉะนั้นเมื่อมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่อันเนื่องมาจากสัญญาเช่าระหว่างเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กับผู้ร้อง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ชอบที่จะใช้สิทธิฟ้องผู้ร้องตามมาตรา 22 (3) จะใช้วิธีแจ้งความเป็นหนังสือให้ผู้ร้องชำระเงินตามมาตรา 119 หาได้ไม่ เพราะไม่ใช่กรณีที่จำเลยมีสิทธิเรียกร้องต่อผู้ร้องอันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะจัดการรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยตามมาตรา 22 (2) ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้ร้องยกขึ้นฎีกาได้ แม้จะไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2215/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการจัดการสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
ผู้ร้องทำสัญญาเช่าโรงงานประกอบรถยนต์ซึ่งเป็นทรัพย์ในกองทรัพย์สินของจำเลยจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดแล้ว จึงเป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าจัดการทรัพย์สินของจำเลยตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22(1) เมื่อมีข้อโต้แย้งสิทธิระหว่างเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กับผู้ร้อง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ชอบจะใช้สิทธิฟ้องผู้ร้องตาม มาตรา 22(3) จะใช้วิธีแจ้งความเป็นหนังสือตาม มาตรา 119 หาได้ไม่ เพราะไม่ใช่กรณีที่จำเลยมีสิทธิเรียกร้องต่อผู้ร้องอันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะจัดการตาม มาตรา 22(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2215/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการเรียกหนี้จากคู่สัญญาหลังการล้มละลาย: การแจ้งความ vs. การฟ้อง
ผู้ร้อง ทำ สัญญา เช่า โรงงาน ประกอบ รถยนต์ ซึ่ง เป็น ทรัพย์ ใน กอง ทรัพย์สิน ของ จำเลย กับ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ หลังจาก ศาล มี คำสั่ง พิทักษ์ทรัพย์ จำเลย เด็ดขาด แล้ว กรณี จึงเป็น เรื่อง ที่ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ เข้า จัดการ ทรัพย์สิน ของ จำเลย ตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22(1) ฉะนั้น เมื่อ มี ข้อโต้แย้ง เกี่ยวกับ สิทธิ และ หน้าที่ อัน เนื่อง มา จาก สัญญา เช่า ระหว่าง เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ กับ ผู้ร้อง เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ ก็ ชอบ ที่ จะ ใช้ สิทธิ ฟ้อง ผู้ร้อง ตาม มาตรา 22(3) จะ ใช้ วิธี แจ้งความ เป็น หนังสือ ให้ ผู้ร้อง ชำระเงิน ตาม มาตรา 119 หา ได้ ไม่ เพราะ ไม่ ใช่ กรณี ที่ จำเลย มี สิทธิ เรียกร้อง ต่อ ผู้ร้อง อัน เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ จะ จัด การ รวบ รวม ทรัพย์สิน ของ จำเลย ตาม มาตรา 22(1) ปัญหา นี้ เป็น ปัญหา ข้อกฎหมาย อัน เกี่ยว ด้วย ความ สงบ เรียบร้อย ของ ประชาชน ผู้ร้อง ยกขึ้น ฎีกา ได้ แม้ จะ ไม่ ได้ ยก ขึ้น ว่า กัน มา แล้ว ใน ศาลล่าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1822/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความตั๋วสัญญาใช้เงิน: เริ่มนับจากวันที่ทวงถาม และสะดุดหยุดเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งหนี้
ตั๋วสัญญาใช้เงินกำหนดใช้เงินเมื่อทวงถาม สิทธิเรียกร้องตามตั๋วสัญญาใช้เงินจึงเริ่มนับตั้งแต่เมื่อเจ้าหนี้ทวงถาม ผู้ชำระบัญชีของผู้ล้มละลายได้มีหนังสือทวงถาม เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2527 ถือเป็นวันเริ่มต้นถึงกำหนดใช้เงินต่อมาเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของผู้ล้มละลายได้ยื่นหนังสือแจ้งให้จำเลยชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2529 อายุความตามสิทธิเรียกร้องของผู้ล้มละลายย่อมสะดุดหยุดอยู่ในวันนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 178 เดิม เมื่อนับย้อน-หลังไปจนถึงวันเริ่มต้นถึงกำหนดใช้เงินแล้วไม่เกิน 3 ปี ตั๋วสัญญาใช้เงินจึงยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1822/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความตั๋วสัญญาใช้เงินและการสะดุดหยุดของอายุความจากหนังสือทวงหนี้และการพิพากษาให้ล้มละลาย
ตั๋วสัญญาใช้เงินกำหนดให้เงินเมื่อทวงถาม สิทธิเรียกร้องตามตั๋วสัญญาใช้เงินจึงเริ่มนับตั้งแต่เมื่อเจ้าหนี้ทวงถามผู้ชำระบัญชีของผู้ล้มละลายได้มีหนังสือทวงถาม เมื่อวันที่ 10มกราคม 2527 ถือเป็นวันเริ่มต้นถึงกำหนดใช้เงิน ต่อมาเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของผู้ล้มละลายได้ยื่นหนังสือแจ้งให้จำเลยชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2529 อายุความตามสิทธิเรียกร้องของผู้ล้มละลายย่อมสะดุดหยุดอยู่ในวันนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 178 เดิม เมื่อนับย้อนหลังไปจนถึงวันเริ่มต้นถึงกำหนดใช้เงินแล้วไม่เกิน 3 ปี ตั๋วสัญญาใช้เงินจึงยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1801/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายลดเช็คมีผลผูกพัน แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ อายุความ 10 ปี ดอกเบี้ย 21% ชอบด้วยกฎหมาย
สัญญาขายลดเช็คเป็นสัญญาต่างตอบแทนประเภทหนึ่ง กฎหมายมิได้บังคับให้ทำเป็นหนังสือ กรณีไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 115 เดิมแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อผู้ร้องรับว่าได้ทำสัญญาขายลดเช็คทั้งสองฉบับกับลูกหนี้ แม้สัญญาขายลดเช็คจะลงลายมือชื่อผู้ร้องฝ่ายเดียว ก็มีผลใช้บังคับแก่ผู้ร้องหาได้ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่อย่างใดไม่การที่ผู้ร้องนำเช็คทั้งสองฉบับไปขายลดแก่ลูกหนี้ ผู้ร้องจึงมีความผูกพันที่จะต้องรับผิดตามสัญญาขายลดเช็คซึ่งบังคับได้อีกส่วนหนึ่งต่างหากจากความรับผิดตามเช็ค ผู้คัดค้านเรียกร้องให้ผู้ร้องชำระหนี้ตามสัญญาขายลดเช็คมิใช่ให้รับผิดตามเช็คทั้งสองฉบับซึ่งลูกหนี้เป็นผู้ทรงเช็คจึงนำอายุความเรื่องเช็คมาใช้บังคับไม่ได้ สิทธิเรียกร้องตามสัญญาขายลดเช็คไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องบังคับตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม ซึ่งมีอายุความ 10 ปี ผู้ร้องได้ทำสัญญาขายลดเช็คกับลูกหนี้ และยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 21 ต่อปี ซึ่งอยู่ในช่วงระยะเวลาที่ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ให้บริษัทเงินทุนเรียกดอกเบี้ยหรือส่วนลดได้ไม่เกินร้อยละ 21 ต่อปี ดังนั้น การที่ผู้คัดค้านเรียกดอกเบี้ยจากผู้ร้องในอัตราร้อยละ 21 ต่อปี จึงไม่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1747/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิเสธหนี้หลังได้รับหนังสือทวงหนี้ในคดีล้มละลาย หากพ้นกำหนด 14 วัน ถือว่ายอมรับหนี้ตามกฎหมาย
เมื่อผู้ร้องไม่ได้ปฏิเสธต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลา 14 วัน นับจากวันที่ผู้ร้องได้รับหนังสือทวงหนี้นั้นต้องถือว่าผู้ร้องเป็นหนี้กองทรัพย์สินของจำเลยอยู่ตามจำนวนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งไปยังผู้ร้องเป็นการเด็ดขาด ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119 วรรคแรก ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิที่จะมาร้องขอต่อศาลให้วินิจฉัยว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหนังสือทวงหนี้ไปยังผู้ร้องโดยไม่ชอบเพราะผู้ร้องไม่ได้เป็นหนี้จำเลย หรือจำเลยไม่มีสิทธิเรียกค่าธรรมเนียมสำหรับหนี้ที่ค้างชำระ อันเป็นการคัดค้านว่าผู้ร้องไม่ได้เป็นหนี้กองทรัพย์สินของจำเลยตามจำนวนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งไปยังผู้ร้อง ซึ่งขัดต่อ มาตรา 119 วรรคแรกดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1125/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาการโอนหุ้น: แม้ไม่มีข้อความซื้อขาย ศาลต้องพิจารณาเจตนาของผู้โอนและผู้รับโอนเป็นสำคัญเพื่อวินิจฉัยว่าเป็นการรับโอนไว้แทนหรือไม่
แม้ในเอกสารโอนหุ้นจะไม่มีข้อความว่า ผู้ร้องรับโอนหุ้นไว้แทนแต่ก็ไม่มีข้อความว่าการโอนหุ้นรายนี้เป็นการซื้อขายหุ้น จึงต้องพิเคราะห์ถึงเจตนาของผู้โอนและผู้รับโอนเป็นสำคัญ จะฟังว่าเมื่อไม่มีคำว่ารับโอนไว้แทนย่อมเป็นการซื้อขายหาได้ไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้ร้องรับโอนหุ้นของบริษัทลูกหนี้ไว้แทนคณะกรรมการควบคุมบริษัทลูกหนี้ ผู้ร้องจึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ตามหนังสือทวงหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1538/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภูมิลำเนาเฉพาะการในการจัดตั้งบริษัทและการปฏิเสธหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่งหมายนัดชอบด้วยกฎหมาย
แม้ผู้ร้องจะมีชื่อในทะเบียนบ้านเลขที่ 507/292 แต่ผู้ร้องยังใช้บ้านเลขที่ 766/26 ซึ่งผู้ร้องเคยอยู่ในการขอจดทะเบียนตั้งบริษัทลูกหนี้และใช้บ้านเลขที่ดังกล่าวปฏิเสธหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ถือได้ว่าผู้ร้องเจตนาประสงค์จะใช้บ้านเลขที่ 766/26เป็นภูมิลำเนาเฉพาะการในการจัดตั้งบริษัทลูกหนี้และในการปฏิเสธหนี้การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่งหมายนัดไปยังผู้ร้องที่บ้านเลขที่ดังกล่าวโดยวิธีปิดหมายนั้น ถือว่าชอบแล้ว.