คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 119

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 167 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1538/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภูมิลำเนาเฉพาะการในการจัดตั้งบริษัทและการปฏิเสธหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่งหมายนัดชอบด้วยกฎหมาย
แม้ผู้ร้องจะมีชื่อในทะเบียนบ้านเลขที่ 507/292 แต่ผู้ร้องยังใช้บ้านเลขที่ 766/26 ซึ่งผู้ร้องเคยอยู่ในการขอจดทะเบียนตั้งบริษัทลูกหนี้และใช้บ้านเลขที่ดังกล่าวปฏิเสธหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ถือได้ว่าผู้ร้องเจตนาประสงค์จะใช้บ้านเลขที่ 766/26เป็นภูมิลำเนาเฉพาะการในการจัดตั้งบริษัทลูกหนี้และในการปฏิเสธหนี้การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่งหมายนัดไปยังผู้ร้องที่บ้านเลขที่ดังกล่าวโดยวิธีปิดหมายนั้น ถือว่าชอบแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1335/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลอุทธรณ์คดีล้มละลาย: การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ชำระค่าธรรมเนียม
คำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายชื่อผู้ร้องออกจากบัญชีลูกหนี้เนื่องจากผู้ร้องไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ตามตาราง 1 ข้อ (1)(ก) ท้าย ป.วิ.พ. ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 179 วรรคท้าย ผู้ร้องจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์ ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ผู้ร้องนำค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ที่ยังขาดอยู่มาชำระภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด แต่ผู้ร้องไม่ชำระภายในกำหนด เป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์จำหน่ายคดี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1335/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งอุทธรณ์เนื่องจากไม่ชำระค่าขึ้นศาลในคดีล้มละลาย การวินิจฉัยประเภทคดีและการคำนวณค่าขึ้นศาล
เจ้าพนักงานพิทักษ์มีหนังสือยืมยันหนี้ให้ผู้ร้องชำระหนี้เป็นเงินจำนวนหนึ่ง การที่ผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายชื่อผู้ร้องออกจากบัญชีลูกหนี้ เนื่องจากไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวเท่ากับให้ศาลวินิจฉัยว่าผู้ร้องไม่มีหนี้ที่จะต้องชำระตามจำนวนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์แจ้งยืนยันไป หากศาลมีคำสั่งให้ผู้ร้องชนะคดีทุกข์ของผู้ร้องย่อมปลดเปลื้องไปตามจำนวนเงินที่ผู้ร้องไม่ต้องชำระหนี้ คำร้องของผู้ร้องจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ตามตาราง 1 ข้อ (1)(ก) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 179 วรรคท้ายต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อศาลอุทธรณ์สั่งให้ผู้ร้องนำค่าขึ้นศาลที่ยังขาดอยู่มาชำระ แต่ผู้ร้องเพิกเฉย จึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 777/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิเสธหนี้ในคดีล้มละลายต้องกระทำภายใน 14 วัน หากพ้นกำหนด ถือเป็นหนี้กองทรัพย์สินโดยเด็ดขาด
ผู้ร้องได้รับหนังสือแจ้งความทวงหนี้จากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2532 จึงมีหน้าที่ยื่นคำร้องปฏิเสธหนี้ภายในกำหนด 14 วันคือภายในวันที่ 14 สิงหาคม 2532 การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องปฏิเสธหนี้ วันที่ 28 สิงหาคม 2532 พ้นกำหนด 14วัน ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 119 จึงต้องถือว่าผู้ร้องเป็นหนี้กองทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ตามจำนวนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งไปเป็นการเด็ดขาด ข้อปฏิเสธหนี้ของผู้ร้องที่มิได้หยิบยกขึ้นแสดงเหตุปฏิเสธภายในกำหนดเวลา 14 วัน ดังกล่าวศาลไม่วินิจฉัยให้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6370/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้และการรู้ถึงการตายของลูกหนี้: การสะดุดหยุดของอายุความเมื่อได้รับแจ้งการตายและหลักฐานการชำระหนี้
คำว่า การได้รู้หรือควรได้รู้ตามมาตรา 1754 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หมายความว่า ต้องเป็นการรู้โดยแน่นอนมีหลักฐานยืนยัน ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบจากรายงานการเดินหมายของเจ้าหน้าที่ซึ่งได้นำหนังสือขอให้ชำระหนี้ไปส่งให้แก่นาย ผ.ว่าพบหญิงคนหนึ่งแจ้งว่านายผ. ได้เสียชีวิตไปแล้วก็เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นยังฟังเป็นแน่นอนหาข้อยุติไม่ได้และต่อมาเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยมีหนังสือสอบถามไปยังนายทะเบียนท้องถิ่นตามภูมิลำเนาของนาย ผ.ก็ได้รับคำตอบว่า ได้แจ้งย้ายออกไปอยู่ ณ ที่แห่งอื่น ครั้นสอบถามไปยังนายทะเบียนท้องถิ่นที่ได้มีการแจ้งย้ายออกไปอยู่ดังกล่าวกลับได้รับแจ้งว่าไม่ปรากฏชื่อของนาย ผ. ในบ้านเลขที่ดังกล่าวเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่อาจตรวจสอบได้ว่า นาย ผ.ได้ถึงแก่กรรมไปแล้วจริงหรือไม่ ต่อมาโจทก์ได้แจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบว่า นาย ผ. ถึงแก่กรรมแล้วพร้อมทั้งแสดงใบมรณบัตร และผู้ร้องเป็นทายาทของนาย ผ. ดังนี้ ย่อมถือได้ว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รู้ถึงการตายของนาย ผ. แล้วนับแต่ได้รับแจ้งจากโจทก์ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหนังสือทวงหนี้ไปยังผู้ร้องในฐานะทายาทนาย ผ. ซึ่งเป็นระยะเวลาภายใน 1 ปี นับแต่ได้รู้หรือควรรู้การตายของลูกหนี้ดังกล่าว จึงเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง หนี้ไม่ขาดอายุความ ตามบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่จำเลยยื่นต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครระบุว่า นาย ผ. ถือหุ้นจำเลยอยู่ 200 หุ้นมูลค่าหุ้นละ 1,000 บาท ชำระเงินแล้วหุ้นละ 250 บาท ดังนี้เมื่อผู้ร้องนำสืบลอย ๆ ว่า นาย ผ. น่าจะได้ชำระค่าหุ้นครบถ้วนจึงไม่มีน้ำหนักหักล้างบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้องตามข้อความที่ได้บันทึกไว้ในนั้นทุกประการ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1024

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6370/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความทวงหนี้หลังเจ้ามรดกเสียชีวิต: การรู้หรือควรรู้ถึงการเสียชีวิตเป็นเหตุสะดุดอายุความ
ป.พ.พ. มาตรา 1754 ห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก กรณีต้องเป็นการรู้โดยแน่นอน มีหลักฐานยืนยัน โจทก์แจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบว่า เจ้ามรดกถึงแก่กรรมพร้อมทั้งแสดงใบมรณบัตรและมีผู้ร้องเป็นทายาท ต้องถือว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รู้ถึงการตายของเจ้ามรดกนับแต่นั้น เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหนังสือทวงหนี้ไปยังผู้ร้องในฐานะทายาทของเจ้ามรดกซึ่งเป็นระยะเวลาภายใน 1 ปีนับแต่ได้รู้หรือควรรู้ถึงการตายของลูกหนี้ซึ่งเป็นเจ้ามรดก จึงเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง ดังนี้หนี้ยังไม่ขาดอายุความ บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นนั้น ป.พ.พ. มาตรา 1024 สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้องตามข้อความที่ได้บันทึกไว้ทุกประการ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3957/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการติดตามหนี้จากบัญชีจำเลยที่ 1: ต้องพิสูจน์สิทธิเรียกร้องให้ชัดเจน
ทางสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 ได้ความ ว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะกรรมการของจำเลยที่ 1 สั่งให้ บ. ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากในธนาคารของจำเลยที่ 1 ไว้ใช้ในกิจการของจำเลย ที่ 1ก่อนที่จำเลยที่ 2 จะหลบหนีไป ต่อมา บ. ได้มอบเงินที่ถอนมา ให้ผู้ร้องรับไว้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 จึงมีหนังสือ ทวงหนี้ และหนังสือยืนยันหนี้ให้ผู้ร้องชำระเงินดังกล่าว แก่กองทรัพย์สิน ของจำเลยที่2 ผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านต่อ ศาลชั้นต้น ครั้นถึงวันนัด ไต่สวน ผู้ร้อง แถลงไม่สืบ พยานบุคคล แต่ขอให้ศาลชั้นต้นเรียกเอกสารบัญชีเงินฝากจากธนาคาร โดยอ้างว่าเป็น บัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 1 ซึ่งหากได้ความ ดังกล่าวก็อาจเป็นจริง ตามที่ผู้ร้องอ้างว่าเงินในบัญชีไม่ใช่เงินของ จำเลยที่ 2 และมี ปัญหาต่อไปว่า การที่จำเลยที่ 2 สั่งให้เบิกเงินจาก บัญชีเงินฝาก ของจำเลยที่ 1 แล้ว ต่อมามีการมอบเงินดังกล่าวให้ผู้ร้อง จะถือ ว่าเป็นสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 2 ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ของ จำเลยที่ 2 มีสิทธิเรียกให้ชำระหนี้หรือไม่ ซึ่งประเด็นดังกล่าว ศาลจะต้อง พิจารณาตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119 เมื่อ ผู้ร้องอ้าง เอกสาร ที่ยังไม่ เข้าสู่สำนวนศาล ศาลชั้นต้นจึงไม่มี ข้อเท็จจริงใดที่จะสั่งว่าเอกสารดังกล่าวไม่จำเป็นแก่คดี และหาก ได้เอกสารดังกล่าวมา แล้วผู้ร้องไม่สืบพยานอื่น หน้าที่นำสืบต่อไป ย่อมเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ที่จะต้องพิสูจน์ตามประเด็น ที่ตนยกขึ้นคัดค้านคำร้องของผู้ร้อง การที่ศาลชั้นต้นด่วนงดสืบพยาน ผู้ร้องโดยไม่เรียกเอกสารดังกล่าวให้แล้ววินิจฉัยว่าผู้ร้องไม่สามารถนำสืบได้ตามคำร้อง ให้ยกคำร้องของผู้ร้อง จึงเป็นการไม่ชอบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3957/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิจารณาความถูกต้องของหนี้ในคดีล้มละลาย และหน้าที่นำสืบของคู่ความ
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 119 กำหนดให้ศาลเป็นผู้พิจารณาว่าสิทธิเรียกร้องที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะเรียกร้องนั้นเป็นสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้หรือไม่ เมื่อผู้ร้องปฏิเสธว่ามิได้เป็นหนี้ลูกหนี้ ผู้ร้องมีหน้าที่นำสืบก่อนตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดและผู้ร้องยังติดใจอ้างเอกสารซึ่งยังไม่เข้าสู่สำนวนของศาล ศาลชั้นต้นจึงไม่มีข้อเท็จจริงใดที่จะสั่งว่าเอกสารดังกล่าวไม่จำเป็นแก่คดีและหากได้เอกสารดังกล่าวมาแล้วผู้ร้องไม่มีพยานอื่นอีกต่อไปหน้าที่นำสืบต่อไปย่อมเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะพิสูจน์ให้ได้ตามประเด็นที่ตนยกขึ้นคัดค้าน ศาลจึงจะวินิจฉัยว่าจะยกคำร้องของผู้ร้องหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นด่วนงดสืบพยานเพราะผู้ร้องแถลงไม่ติดใจสืบตัวผู้ร้องแต่ยังติดใจสืบพยานเอกสารซึ่งเป็นสาระสำคัญในการปฏิเสธหนี้ของผู้ร้องดังนี้เป็นการไม่ชอบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2568/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานเอกสาร การแก้ไขเอกสาร และการยืนยันหนี้เกินจำนวนที่ทวง
ไม่มีกฎหมายบังคับว่าการอ้างเอกสารเป็นพยานจะต้องมีผู้ทำเอกสารมาเบิกความรับรองจึงจะรับฟังได้ การที่เจ้าหน้าที่ผู้ตรวจเอกสารมาเบิกความประกอบเอกสารดังกล่าวเกี่ยวกับรายการและข้อผิดพลาดในเอกสาร ก็มิใช่พยานบอกเล่าเพราะเจ้าหน้าที่เบิกความไปตามที่ตรวจพบเห็นถือเป็นพยานโดยตรง แม้เอกสารมีรอยขูดลบแก้ไขโดยไม่มีผู้ใดรับรอง ก็ไม่ถึงกับรับฟังไม่ได้ สาระสำคัญอยู่ที่ว่าการแก้ไขนั้นถูกต้องหรือไม่ เอกสารที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รวบรวมได้จากเอกสารของลูกหนี้ รวมเป็นส่วนหนึ่งของสำนวนการสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งเรียกให้ผู้ร้องชำระหนี้ ถือเป็นเอกสารในสำนวนคดีเรื่องอื่นอันเป็นเอกสารเป็นชุด คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งทราบดีอยู่แล้วหรือสามารถตรวจสอบให้ทราบได้โดยง่ายถึงความมีอยู่และความแท้จริงแห่งเอกสารนั้น จึงไม่ต้องส่งสำเนาให้อีกฝ่ายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90(1) เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหนังสือยืนยันหนี้ไปยังผู้ร้องมีจำนวนเงินเกินกว่าที่มีหนังสือแจ้งให้ชำระหนี้ อ้างว่าเจ้าหนี้ที่ของลูกหนี้คิดยอดเงินดอกเบี้ยผิดไปเมื่อคิดใหม่แล้วคงมีดอกเบี้ยค้างอยู่จำนวนหนึ่ง แต่ไม่ปรากฏว่าคิดผิดอย่างไร และที่คิดใหม่ถูกต้องอย่างไร การเอาตัวเลขที่อ้างว่าคิดถูกบวกเข้าไปในจำนวนหนี้ที่เรียกให้ผู้ร้องชำระและยืนยันหนี้เพิ่มขึ้นโดยไม่มีเหตุผล จึงเป็นการยืนยันหนี้เกินกว่าที่ทวงไปเป็นการไม่ชอบต้องถือว่าผู้ร้องเป็นหนี้อยู่ตามจำนวนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งไปครั้งแรก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1871/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความตั๋วสัญญาใช้เงิน ผลกระทบจากการทวงหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และการนับอายุความตามกฎหมาย
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งความเป็นหนังสือไปยังผู้ร้องให้ชำระหนี้ตามตั๋ว สัญญาใช้เงินแก่ลูกหนี้ซึ่งถูกพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 119 วรรคแรก เป็นการบังคับตามสิทธิเรียกร้องลูกหนี้ ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจทำได้โดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาล ถือว่าเป็นการทำการอื่นใดอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องคดี อันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 173 โดยไม่ต้องรอให้มีการออกหนังสือแจ้งยืนยันหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 119 วรรคสอง เสียก่อน อายุความเป็นระยะเวลาอย่างหนึ่ง การนับอายุความจึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 158 ประกอบด้วย มาตรา 159 วรรคสองกล่าวคือ กรณีที่นับเป็นปี มิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลารวมคำนวณเข้าด้วย เมื่อระยะเวลามิได้เริ่มนับจากวันแรกของปี ระยะเวลาที่นับนั้นจึงสิ้นสุดลงในวันก่อนหน้าจะถึงวันแห่งปีสุดท้ายอันเป็นวันตรงกับเริ่มระยะเวลา อายุความตามตั๋ว สัญญาใช้เงินพิพาทมีกำหนด 3 ปี นับแต่วันทวงถาม คือ วันที่ 2 กันยายน 2526 วันสุดท้ายของอายุความจึงได้แก่วันที่ 2 กันยายน 2529เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหนังสือทวงหนี้ไปยังผู้ร้องตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 119 วรรคแรก เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2529 จึงยังไม่ขาดอายุความ.
of 17