คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ม. 21

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 114 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1983/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดค่าทดแทนที่ดินเวนคืนที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงราคาตลาด, สภาพที่ดิน, และระยะเวลาที่ล่าช้าในการชดเชย
เมื่อการฟ้องคดีนี้สืบเนื่องมาจากอธิบดีกรมทางหลวง ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกา กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงพิเศษสายพระประแดง-บางแคตลิ่งชัน-บางบัวทอง ตอนพระประแดง-บางแค-ตลิ่งชัน พ.ศ. 2533ในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้กำหนดค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืน เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2528ซึ่งแม่บทของกฎหมายเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงในขณะนั้น คือ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่28 พฤศจิกายน 2515 และต่อมาคือพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ในขณะที่ฝ่ายจำเลยกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์นั้น ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดเงินค่าทดแทนไว้เป็นพิเศษในพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดโดยเฉพาะฝ่ายจำเลยจึงกำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์โดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 และได้นำเงินค่าทดแทนที่ดินที่กำหนดให้แก่โจทก์ไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์กลางซึ่งยังอยู่ในอายุของพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ขั้นตอนการกำหนดค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ในชั้นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้ปฏิบัติไปโดยมีกฎหมายรับรองภายในอายุของพระราชกฤษฎีกาก่อนพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ในท้องที่ แขวงบางแค แขวงบางแคเหนือแขวงบางไผ่ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2533มีผลใช้บังคับทั้งพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับนี้ไม่ได้บัญญัติให้ใช้หลักเกณฑ์ในมาตรา 5 บังคับแก่การกำหนดราคาเบื้องต้นหรือการวางเงินค่าทดแทนที่ได้ดำเนินการไปแล้วด้วย และฝ่ายจำเลยก็มิได้ดำเนินการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์โดยอาศัยพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับดังกล่าว การอุทธรณ์ของโจทก์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมจึงเป็นการอุทธรณ์ว่าการดำเนินการในทางปกครองของเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์โดยอาศัยอำนาจตามพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางพิเศษ พ.ศ. 2523 และประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 นั้นไม่ชอบ กรณีเช่นนี้จึงไม่อาจนำหลักเกณฑ์การกำหนดเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 5แห่งพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงบางแค แขวงบางแคเหนือ แขวงบางไผ่ เขตภาษีเจริญกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2533 มาใช้บังคับแก่คดีนี้จึงต้องถือว่าคดีนี้เป็นกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดเงินค่าทดแทนไว้เป็นพิเศษในพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดโดยเฉพาะ เงินค่าทดแทนที่จะให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนจึงต้องกำหนดตามแม่บทของกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ และเมื่อ ปรากฎว่า ขณะที่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศ ของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2530 และพระราชบัญญัติว่าด้วย การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มีผลใช้บังคับการดำเนินการจ่ายเงินค่าทดแทนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวง พ.ศ. 2523 ยังไม่เสร็จสิ้น เพราะฝ่ายจำเลยยังไม่ได้แจ้งให้โจทก์มารับเงินค่าทดแทนที่ดินดังนั้น การดำเนินการต่อไปจึงต้องบังคับตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ซึ่งต่อมา ก่อนที่โจทก์จะฟ้องคดีนี้ได้มีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อย แห่งชาติ ฉบับที่ 44 เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ใช้บังคับแล้ว ตามข้อ 1 ของกฎหมายฉบับนี้ได้แก้ไขหลักเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินจากเดิมซึ่งให้กำหนดโดยถือราคาตาม มาตรา 21(2) หรือ (3) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่าเป็นเกณฑ์เป็นว่าให้กำหนดโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 ทั้งมาตรา และข้อ 5 บัญญัติว่าบทบัญญัติ ที่แก้ไขดังกล่าวให้มีผลใช้บังคับแก่การเวนคืนซึ่งการอุทธรณ์หรือการฟ้องคดียังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศฉบับดังกล่าวใช้บังคับด้วย ดังนั้น การกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดิน ให้แก่โจทก์นั้น ศาลต้องกำหนดโดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ ตามมาตรา 21(1) ถึง (5) ประกอบกัน ฝ่ายจำเลยเพิ่งนำเงินค่าทดแทนไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์กลางภายหลังจากวันพระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับเกือบ 10 ปี ทั้งไม่ปรากฏว่าได้แจ้งการวางเงินค่าทดแทนดังกล่าวให้แก่โจทก์หรือไม่อย่างไร ขณะที่โจทก์ทราบการวางค่าทดแทนที่ดินและไปขอรับเงินค่าทดแทนดังกล่าวก็เป็นเวลากว่า 10 ปี นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับแล้ว การที่ฝ่ายจำเลยไม่ดำเนินการให้มีการจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ภายในเวลาอันควรปล่อยระยะเวลามาเนิ่นนานกว่า 10 ปี เป็นการดำเนินการที่ไม่เป็นไปตามครรลองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2521 มาตรา 33 วรรคสาม ที่ใช้บังคับอยู่ ในขณะที่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับ ซึ่งทำให้โจทก์ ขาดโอกาสที่จะนำเอาเงินค่าทดแทนที่ดินไปซื้อที่ดินแปลงใหม่ที่มีราคาใกล้เคียงหรือสูงกว่าที่ดินโจทก์ที่ถูกเวนคืนไม่มากนักได้ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ดังนั้นการที่จะกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินโจทก์โดยคำนึงถึงมาตรา 21(1) ถึง (5) อย่างกรณีปกติย่อมไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ขัดต่อหลักการสำคัญของการกำหนดเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องกำหนดเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืน และสังคม หลักเกณฑ์ที่จะใช้ในการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้เป็นธรรมแก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืนและสังคมด้วยคือหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21(1) ถึง (5) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 เว้นแต่วันที่เป็นฐานที่ตั้งสำหรับราคาอสังหาริมทรัพย์เปลี่ยนจากวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกามาเป็นปี 2530 อันเป็นปีที่ฝ่ายจำเลยได้เจรจาเรื่องค่าทดแทนที่ดินกับโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1147/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: ศาลมีอำนาจตรวจสอบความถูกต้องของค่าทดแทน และกำหนดเพิ่มได้หากไม่เป็นธรรม
จำเลยฎีกาเพียงว่า ที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า การกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของจำเลยเป็นไปโดยถูกต้องเป็นธรรมตามกฎหมายหรือไม่ หากไม่เป็นธรรมจำเลยจะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนและดอกเบี้ยเพียงใดนั้นไม่ถูกต้อง จำเลยมิได้ฎีกาโต้แย้งคัดค้านว่าหากการกำหนดประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวไม่ถูกต้องจะทำให้ผลของคำวินิจฉัยเปลี่ยนแปลงไปเป็นคุณแก่จำเลยอย่างใด ฎีกาของจำเลยจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คดีนี้มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่า การกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ถูกต้องเป็นธรรมและชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ศาลชอบที่จะตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำของคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ และจำเลยซึ่งเป็นองค์กรทางฝ่ายปกครองได้ แม้โจทก์นำสืบไม่ได้ว่าราคาที่ดินของโจทก์มีราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดตามที่โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องก็หาได้หมายความว่าศาลจะต้องพิพากษายกฟ้อง หากพิจารณาได้ความว่าการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ไม่ถูกต้องเป็นธรรม ศาลก็ชอบที่จะกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มให้แก่โจทก์ได้ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 และ 26

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 463/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทดแทนการเวนคืนที่ดิน-สิ่งปลูกสร้าง: การประเมินความเสียหายจากการตกแต่ง, ดอกเบี้ย, และการกระทำละเมิด
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 421.ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 142,246,247.พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์
พ.ศ. 2530 มาตรา 6,18(3),21. โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินและอาคารพิพาทซึ่งเป็นการเช่าที่มีหลักฐานเป็นหนังสือและทำไว้ก่อนวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 แต่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ที่จะเวนคืน พ.ศ. 2530 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2531 โดยหลังจากวันที่ 1 กันยายน 2533โจทก์ยังคงอยู่ในสถานที่เช่าต่อไป ซึ่งถือเป็นการเช่ารายเดือนต่อไป ต่อมาโจทก์ออกจากสถานที่เช่าเมื่อปลายปี 2536 และจำเลยที่ 1 แจ้งให้โจทก์ทราบว่าคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นได้กำหนดเงินค่าทดแทนโดยเหตุที่ต้องออกจากทรัพย์สินที่เช่าก่อนสัญญาเช่าระงับซึ่งเท่ากับฝ่ายจำเลยยอมรับว่าโจทก์เป็นบุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 18(3)และได้กำหนดเงินค่าทดแทนที่โจทก์เสียหายจริงเพราะเหตุที่ต้องออกจากที่ดินและอาคารก่อนสัญญาเช่าระงับ ซึ่งโจทก์ได้รับเงินจำนวนนี้ไปแล้วโดยมิได้เรียกร้องค่าทดแทนในส่วนนี้เพิ่ม จึงไม่มีเหตุที่ศาลต้องวินิจฉัยว่า โจทก์เป็นบุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนส่วนนี้หรือไม่และไม่มีเหตุที่ศาลจะต้องกำหนดเงินค่าทดแทนส่วนนี้อีก โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินและอาคารที่ถูกเวนคืนโดยการเช่านั้น มีหลักฐานเป็นหนังสือซึ่งได้ทำไว้ก่อนวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 โจทก์จึงเป็นบุคคลตามมาตรา 18(3) ทั้งโจทก์ได้เข้าครอบครองที่ดินและอาคารที่ถูกเวนคืนตามสิทธิในฐานะผู้เช่าตามสัญญาเช่าโดยชอบจึงเป็นผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อโจทก์ได้ประกอบการค้าขายอยู่ในที่ดินและอาคารที่เช่าที่ถูกเวนคืนและได้รับความเสียหายเนื่องจากการที่ต้องออกจากทรัพย์สินที่เช่านั้น กรณีจึงถือได้ว่าโจทก์เป็นบุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนสำหรับความเสียหายตามมาตรา 21 วรรคท้าย ค่าโอนสิทธิการเช่าเป็นเงินค่าตอบแทนที่โจทก์ผู้เช่าจ่ายให้แก่ผู้เช่าเดิมเพื่อโจทก์จะได้รับโอนสิทธิการเช่าและเข้าครอบครองที่ดินและอาคารที่ถูกเวนคืน ซึ่งโจทก์ได้รับสิทธิตามสัญญาดังกล่าวไปแล้ว ดังนี้ เงินค่าตอบแทนการโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวมิใช่ความเสียหายโดยตรงเนื่องจากการที่ต้องออกจากที่ดินและอาคารที่ถูกเวนคืนโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนความเสียหายส่วนนี้ ก่อนทำสัญญาเช่าอาคารและก่อนตกแต่งอาคารที่เช่าที่ถูกเวนคืนโจทก์ผู้เช่าได้มีหนังสือสอบถามจำเลยที่ 1แล้วว่าที่ดินและอาคารที่เช่าจะถูกเวนคืนหรือไม่เมื่อหนังสือของจำเลยที่ 1 ที่มีถึงโจทก์มีข้อความชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 1 ยืนยันว่าที่ดินและอาคารที่โจทก์เช่าอยู่นี้อยู่ในเขตพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนเพื่อสร้างทางพิเศษ หาได้แจ้งว่าที่ดินและอาคารที่โจทก์เช่าไม่ถูกเวนคืน การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นการใช้สิทธิที่มีแต่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 463/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิค่าทดแทนการเวนคืนสำหรับผู้เช่า: การเยียวยาความเสียหายจากการออกจากที่เช่า และขอบเขตค่าทดแทน
โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินและอาคารพิพาทซึ่งเป็นการเช่าที่มีหลักฐานเป็นหนังสือและทำไว้ก่อนวันใช้บังคับ พ.ร.ฎ.ที่ออกตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 แต่ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ที่จะเวนคืน...พ.ศ.2530 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2531 โดยหลังจากวันที่ 1 กันยายน2533 โจทก์ยังคงอยู่ในสถานที่เช่าต่อไป ซึ่งถือเป็นการเช่ารายเดือนต่อไป ต่อมาโจทก์ออกจากสถานที่เช่าเมื่อปลายปี 2536 และจำเลยที่ 1 แจ้งให้โจทก์ทราบว่าคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นได้กำหนดเงินค่าทดแทนโดยเหตุที่ต้องออกจากทรัพย์สินที่เช่าก่อนสัญญาเช่าระงับซึ่งเท่ากับฝ่ายจำเลยยอมรับว่าโจทก์เป็นบุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 18 (3) และได้กำหนดเงินค่าทดแทนที่โจทก์เสียหายจริงเพราะเหตุที่ต้องออกจากที่ดินและอาคารก่อนสัญญาเช่าระงับ ซึ่งโจทก์ได้รับเงินจำนวนนี้ไปแล้วโดยมิได้เรียกร้องค่าทดแทนในส่วนนี้เพิ่ม จึงไม่มีเหตุที่ศาลต้องวินิจฉัยว่า โจทก์เป็นบุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนส่วนนี้หรือไม่ และไม่มีเหตุที่ศาลจะต้องกำหนดเงินค่าทดแทนส่วนนี้อีก
โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินและอาคารที่ถูกเวนคืนโดยการเช่านั้นมีหลักฐานเป็นหนังสือซึ่งได้ทำไว้ก่อนวันใช้บังคับ พ.ร.ฎ.ที่ออกตามมาตรา 6 แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 โจทก์จึงเป็นบุคคลตามมาตรา18 (3) ทั้งโจทก์ได้เข้าครอบครองที่ดินและอาคารที่ถูกเวนคืนตามสิทธิในฐานะผู้เช่าตามสัญญาเช่าโดยชอบ จึงเป็นผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อโจทก์ได้ประกอบการค้าขายอยู่ในที่ดินและอาคารที่เช่าที่ถูกเวนคืนและได้รับความเสียหายเนื่องจากการที่ต้องออกจากทรัพย์สินที่เช่านั้น กรณีจึงถือได้ว่าโจทก์เป็นบุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนสำหรับความเสียหายตามมาตรา 21 วรรคท้าย
ค่าโอนสิทธิการเช่าเป็นเงินค่าตอบแทนที่โจทก์ผู้เช่าจ่ายให้แก่ผู้เช่าเดิมเพื่อโจทก์จะได้รับโอนสิทธิการเช่าและเข้าครอบครองที่ดินและอาคารที่ถูกเวนคืน ซึ่งโจทก์ได้รับสิทธิตามสัญญาดังกล่าวไปแล้ว ดังนี้ เงินค่าตอบแทนการโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวมิใช่ความเสียหายโดยตรงเนื่องจากการที่ต้องออกจากที่ดินและอาคารที่ถูกเวนคืน โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนความเสียหายส่วนนี้
ก่อนทำสัญญาเช่าอาคารและก่อนตกแต่งอาคารที่เช่าที่ถูกเวนคืนโจทก์ผู้เช่าได้มีหนังสือสอบถามจำเลยที่ 1 แล้วว่าที่ดินและอาคารที่เช่าจะถูกเวนคืนหรือไม่ เมื่อหนังสือของจำเลยที่ 1 ที่มีถึงโจทก์มีข้อความชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 1ยืนยันว่าที่ดินและอาคารที่โจทก์เช่านี้อยู่ในเขต พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนเพื่อสร้างทางพิเศษ หาได้แจ้งว่าที่ดินและอาคารที่โจทก์เช่าไม่ถูกเวนคืนการกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นการใช้สิทธิที่มีแต่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7712/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: ศาลแก้ไขค่าทดแทนให้เป็นธรรม โดยคำนึงถึงราคาตลาด, สภาพที่ดิน, และผลกระทบต่อธุรกิจ
เมื่อที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนมีราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับ พ.ร.ฎ.เฉลี่ยแล้วสูงกว่าเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯกำหนดให้ และเมื่อคำนึงประกอบกับราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมซึ่งสูงกว่าราคาของที่ดินของโจทก์ที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่ที่ฝ่ายจำเลยนำมาใช้กำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ กับสภาพและที่ตั้งของที่ดินของโจทก์ดังกล่าวประกอบเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 21 (1) ถึง (5)กับประโยชน์ที่โจทก์ได้รับจากที่ดินที่เหลือจากการเวนคืน ซึ่งด้านหนึ่งเปลี่ยนสภาพเป็นที่ดินที่อยู่ติดกับถนนสาธารณะ อันมีมากกว่าส่วนที่เสียหายจากการสร้างทางพิเศษที่ทำให้เสียภูมิทัศน์ของโรงแรมโจทก์ กับมลภาวะทางอากาศและเสียงแล้ว ศาลกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืนและสังคมเพิ่มขึ้นจากที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯกำหนดได้
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ได้กำหนดขั้นตอนการกำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์และจำนวนเงินค่าทดแทนการจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทน การอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีและการฟ้องคดีต่อศาลไว้โดยให้คณะกรรมการตามมาตรา 9 หรือมาตรา 23 เป็นผู้กำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์และจำนวนเงินค่าทดแทนก่อน เมื่อคณะกรรมการดังกล่าวกำหนดแล้วผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไม่พอใจในราคาเบื้องต้นของอสังหา-ริมทรัพย์และจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการดังกล่าวกำหนดต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง เป็นลำดับต่อมาเพื่อให้รัฐมนตรีพิจารณาวินิจฉัย แล้วจึงจะถึงขั้นตอนการฟ้องคดีตามมาตรา 26 วรรคหนึ่งคือในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยังไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีตามมาตรา 25 หรือในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคสอง ก็มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีหรือนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วแต่กรณี
สำหรับความเสียหายของโจทก์ที่ต้องออกจากที่ดินแปลงที่ถูกเวนคืนที่โจทก์ใช้เป็นที่จอดรถในการประกอบกิจการโรงแรมอันเนื่องจากที่ดินส่วนนี้ถูกเวนคืนนั้นเข้ากรณีตามมาตรา 21 วรรคท้าย เป็นคนละส่วนกับค่าทดแทนที่ดินที่ต้องเวนคืน ดังนี้ เมื่อคณะกรรมการตามมาตรา 9 คือ คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นไม่ได้กำหนดเงินค่าทดแทนความเสียหายที่จะต้องออกจากที่ดินที่ต้องเวนคืน หากโจทก์ไม่พอใจการพิจารณาของคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้น โจทก์ต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้พิจารณาวินิจฉัยกำหนดเงินค่าทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่ต้องออกจากที่ดินที่ต้องเวนคืนนั้นให้แก่โจทก์เสียก่อน เมื่อโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกำหนดเงินค่าทดแทนให้สำหรับความเสียหายในส่วนนี้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนในส่วนนี้จากจำเลย
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราคงที่ร้อยละ 8.5 ต่อปีนับแต่วันที่จำเลยแจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนเป็นการขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 26 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7712/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การประเมินค่าทดแทนที่ดินและค่าเสียหายจากการจัดสร้างอาคารจอดรถใหม่ รวมถึงอัตราดอกเบี้ยที่ถูกต้อง
เมื่อที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนมีราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาเฉลี่ยแล้วสูงกว่าเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯ กำหนดให้ และเมื่อคำนึงประกอบกับราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมซึ่งสูงกว่าราคาของที่ดินของโจทก์ที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่ที่ฝ่ายจำเลยนำมาใช้กำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ กับสภาพและที่ตั้งของที่ดินของโจทก์ดังกล่าวประกอบเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21(1) ถึง (5)กับประโยชน์ที่โจทก์ได้รับจากที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนซึ่งด้านหนึ่งเปลี่ยนสภาพเป็นที่ดินที่อยู่ติดกับถนนสาธารณะอันมีมากกว่าส่วนที่เสียหายจากการสร้างทางพิเศษที่ทำให้เสียภูมิทัศน์ของโรงแรมโจทก์กับมลภาวะทางอากาศและเสียงแล้ว ศาลกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืนและสังคมเพิ่มขึ้นจากคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯ กำหนดได้ พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530ได้กำหนดขั้นตอนการกำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์และจำนวนเงินค่าทดแทนการจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทนการอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีและการฟ้องคดีต่อศาลไว้โดยให้คณะกรรมการตามมาตรา 9 หรือมาตรา 23 เป็นผู้กำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์และจำนวนเงินค่าทดแทนก่อนเมื่อคณะกรรมการดังกล่าวกำหนดแล้วผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไม่พอใจในราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์และจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการดังกล่าวกำหนดต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง เป็นลำดับต่อมาเพื่อให้รัฐมนตรีพิจารณาวินิจฉัย แล้วจึงจะถึงขั้นตอนการฟ้องคดีตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง คือในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยังไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีตามมาตรา 25 หรือในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคสอง ก็มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีหรือนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วแต่กรณี สำหรับความเสียหายของโจทก์ที่ต้องออกจากที่ดินแปลงที่ถูกเวนคืนที่โจทก์ใช้เป็นที่จอดรถในการประกอบกิจการโรงแรมอันเนื่องจากที่ดินส่วนนี้ถูกเวนคืนนั้นเข้ากรณีตามมาตรา 21 วรรคท้าย เป็นคนละส่วนกับค่าทดแทนที่ดินที่ต้องเวนคืน ดังนี้ เมื่อคณะกรรมการตามมาตรา 9 คือคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นไม่ได้กำหนดเงินค่าทดแทนความเสียหายที่จะต้องออกจากที่ดินที่ต้องเวนคืน หากโจทก์ไม่พอใจการพิจารณาของคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นโจทก์ต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้พิจารณาวินิจฉัยกำหนดเงินค่าทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่ต้องออกจากที่ดินที่ต้องเวนคืนนั้นให้แก่โจทก์เสียก่อนเมื่อโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกำหนดเงินค่าทดแทนให้สำหรับความเสียหายในส่วนนี้โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนในส่วนนี้จากจำเลย ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราคงที่ร้อยละ 8.5 ต่อปีนับแต่วันที่จำเลยแจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนเป็นการขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 26 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6893/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์การกำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินตาม พ.ร.บ.เวนคืน และสิทธิร่วมกันของเจ้าของที่ดิน
การดำเนินการเวนคืนในคดีนี้ แม้ขณะที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นได้กำหนดราคาโดยอาศัยหลักเกณฑ์โดยถือตามมาตรา 21(2) หรือ(3) ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 9 วรรคสี่บัญญัติไว้ก็ตาม แต่จำเลยทั้งสองยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ ต่อมาความในวรรคสี่ของมาตราดังกล่าวถูกยกเลิกและใช้ความใหม่แทนโดยข้อ 1 แห่งประกาศคณะรักษาความ-สงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มีผลบังคับใช้แก่การเวนคืนซึ่งการกำหนดราคาเบื้องต้น การจัดซื้อการจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทน การอุทธรณ์หรือการฟ้องคดียังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ใช้บังคับด้วย ดังนี้การที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นได้ถือเอาหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 เฉพาะข้อ (2) และ (3) มากำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์จึงไม่ถูกต้องตามกฎหมายที่บังคับใช้ในภายหลัง
เงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่ต้องเวนคืนนั้น พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 18 บัญญัติให้กำหนดให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งที่ดินที่ต้องเวนคืน เมื่อปรากฏว่าโจทก์ทั้งสี่เป็นเจ้าของในที่ดินพิพาทที่ถูกเวนคืนโดยมิได้มีการแบ่งแยกการครอบครองเป็นส่วนสัดโจทก์ทุกคนจึงมีส่วนเป็นเจ้าของทุกส่วนรวมกัน เมื่อโจทก์ทั้งสี่ใช้สิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนมาจำนวนเดียวกัน เป็นการใช้สิทธิร่วมกัน มิใช่เป็นกรณีที่โจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะตัว จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลรวมกัน
(วรรคสองวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 8/2540)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6893/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์การประเมินราคาชดเชยตามกฎหมายและผลกระทบจากประกาศคสช. รวมถึงการคำนวณค่าขึ้นศาลสำหรับเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วม
การดำเนินการเวนคืนในคดีนี้ แม้ขณะที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นได้กำหนดราคาโดยอาศัยหลักเกณฑ์โดยถือตามมาตรา 21(2) หรือ (3) ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 9 วรรคสี่ บัญญัติไว้ก็ตาม แต่จำเลยทั้งสองยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ ต่อมาความในวรรคสี่ของมาตราดังกล่าวถูกยกเลิกและใช้ความใหม่แทนโดยข้อ 1 แห่งประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มีผลบังคับใช้แก่การเวนคืนซึ่งการกำหนดราคาเบื้องต้น การจัดซื้อการจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทน การอุทธรณ์หรือการฟ้องคดียังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ใช้บังคับด้วย ดังนี้ การที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นได้ถือเอาหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 เฉพาะข้อ (2)และ (3) มากำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์จึงไม่ถูกต้องตามกฎหมายที่บังคับใช้ในภายหลัง
เงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่ต้องเวนคืนนั้นพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 18 บัญญัติให้กำหนดให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งที่ดินที่ต้องเวนคืน เมื่อปรากฏว่าโจทก์ทั้งสี่เป็นเจ้าของในที่ดินพิพาทที่ถูกเวนคืนโดยมิได้มีการแบ่งแยกการครอบครองเป็นส่วนสัด โจทก์ทุกคนจึงมีส่วนเป็นเจ้าของทุกส่วนรวมกัน เมื่อโจทก์ทั้งสี่ใช้สิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนมาจำนวนเดียวกัน เป็นการใช้สิทธิร่วมกัน มิใช่เป็นกรณีที่โจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะตัว จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลรวมกัน
(วรรคสองวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 8/2540)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6893/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์การประเมินราคาค่าทดแทนตามกฎหมาย และการคิดค่าขึ้นศาลสำหรับเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม
การดำเนินการเวนคืนในคดีนี้ แม้ขณะที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นได้กำหนดราคาโดยอาศัยหลักเกณฑ์โดยถือตามมาตรา 21(2) หรือ (3) ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 9 วรรคสี่ บัญญัติไว้ก็ตาม แต่จำเลยทั้งสองยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ ต่อมาความในวรรคสี่ของมาตราดังกล่าวถูกยกเลิกและใช้ความใหม่แทนโดยข้อ 1 แห่งประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มีผลบังคับใช้แก่การเวนคืนซึ่งการกำหนดราคาเบื้องต้น การจัดซื้อการจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทน การอุทธรณ์หรือการฟ้องคดียังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ใช้บังคับด้วย ดังนี้ การที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นได้ถือเอาหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 เฉพาะข้อ (2)และ (3) มากำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์จึงไม่ถูกต้องตามกฎหมายที่บังคับใช้ในภายหลัง
เงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่ต้องเวนคืนนั้นพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 18 บัญญัติให้กำหนดให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งที่ดินที่ต้องเวนคืน เมื่อปรากฏว่าโจทก์ทั้งสี่เป็นเจ้าของในที่ดินพิพาทที่ถูกเวนคืนโดยมิได้มีการแบ่งแยกการครอบครองเป็นส่วนสัด โจทก์ทุกคนจึงมีส่วนเป็นเจ้าของทุกส่วนรวมกัน เมื่อโจทก์ทั้งสี่ใช้สิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนมาจำนวนเดียวกัน เป็นการใช้สิทธิร่วมกัน มิใช่เป็นกรณีที่โจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะตัว จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลรวมกัน
(วรรคสองวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 8/2540)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6498/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดินโดยไม่แจ้งเขตที่ดินตามกฎหมาย ทำให้ต้องใช้หลักเกณฑ์ค่าทดแทนตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530
ที่ดินของโจทก์อยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่อำเภอปากเกร็ด? พ.ศ. 2530 ซึ่งหลังจากที่ พ.ร.ฎ. ฉบับดังกล่าวพ้นกำหนดอายุใช้บังคับแล้วได้มีการออก พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษสายบางโคล่ - แจ้งวัฒนะ และสายพญาไท - ศรีนครินทร์ ในท้องที่อำเภอปากเกร็ด? พ.ศ. 2535 เท่ากับว่ามีการใช้บังคับ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวโดยมิได้มีการออก พ.ร.ฎ. ตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 เป็นกรณีตามมาตรา 23 ซึ่งบัญญัติว่า ในกรณีที่มีการใช้บังคับ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 15 โดยมิได้มีการออก พ.ร.ฎ. ตามมาตรา 6 และ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับนั้นมิได้กำหนดเงินค่าทดแทนไว้เป็นอย่างอื่น ให้คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งกำหนดเงินค่าทดแทนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรา 21 โดยอนุโลม จึงต้องนำหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรา 21 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาใช้โดยอนุโลม คือต้องกำหนดเงินค่าทดแทนโดยคำนึงถึงราคากับสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 21 (1) ถึง (5) ในวันที่ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวมีผลใช้บังคับ
of 12