พบผลลัพธ์ทั้งหมด 114 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2107/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การคำนวณค่าทดแทนที่เหมาะสม, ดอกเบี้ย, และการชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียม
โจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่าค่าทดแทนที่ดินที่จำเลยที่1และที่2กำหนดให้แก่โจทก์ตำกว่าราคาซื้อขายกันตามปกติในท้องในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามมาตรา6แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ไม่เป็นธรรมจึงเป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องหาพยานมาสนับสนุนข้ออ้างของโจทก์ดังกล่าวให้มีน้ำหนักรับฟังได้ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ไม่มีบทบัญญัติให้จ่ายเงินค่าทดแทนสำหรับค่าเสียหายทางจิตใจไว้ผู้ถูกเวนคืนจึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้ ที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนเป็นที่ดินติดถนนซอยและที่มีทางสาธารณะเข้าออกได้หลายทางภายในที่ดินมีการปลูกผลอาสินจำพวกมะม่วงมะพร้าวและกล้วยมิได้ถูกขุดหน้าดินให้เป็นหลุมเป็นบ่อทั้งเป็นที่ดินแปลงเล็กเหมาะแก่การใช้เป็นที่ปลูกสร้างที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินของโจทก์ตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯมีราคาสูงกว่าที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กำหนดให้ที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์เพิ่มขึ้นจากที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กำหนดได้คำนึงถึงหลักเกณฑ์ของมาตรา21(1)ถึง(5)แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ซึ่งเป็นธรรมแก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืนและสังคมและไม่ขัดกับมาตรา22เพราะมาตรา22ให้เป็นดุลพินิจที่จะกำหนดเงินค่าทดแทนให้ต่ำกว่าเงินค่าทดแทนที่กำหนดตามมาตรา21ก็ได้ไม่ได้บังคับว่าต้องกำหนดให้ต่ำกว่ามาตรา21เสมอไปจึงไม่มีเหตุที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทดแทนแก่โจทก์เพิ่มขึ้นจากที่ศาลชั้นต้นกำหนดอีก พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา26วรรคสุดท้ายที่บัญญัติว่าในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นทั้งนี้นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้นเมื่อไม่ปรากฎว่าได้การตกลงทำสัญญาซื้อขายที่ดินที่จะถูกเวนคืนกันตามมาตรา10จึงไม่มีวันที่ต้องมีการจ่ายค่าทดแทนตามมาตรา11ดังนั้นวันเริ่มต้นนับดอกเบี้ยจึงต้องนับแต่วันที่วางเงินค่าทดแทนจำเลยที่2มีหนังสือลงวันที่8กุมภาพันธ์2534แจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนภายใน15วันนับแต่วันหนังสือโจทก์ได้รับหนังสือนี้เมื่อวันที่26กุมภาพันธ์2534แต่โจทก์ไม่ได้ไปรับเงินค่าทดแทนตามกำหนดเวลาในหนังสือดังกล่าวจำเลยที่2จึงมีหน้าที่ต้องนำเงินค่าทดแทนนั้นไปวางต่อศาลหรือสำนักงานวางทรัพย์หรือฝากไว้กับธนาคารออมสินในชื่อของโจทก์โดยพลันตามมาตรา28วรรคสองซึ่งเท่ากับว่าจำเลยที่2ต้องนำเงินค่าทดแทนไปวางในวันถัดจากวันครบกำหนด15วันนับแต่รับหนังสือดังกล่าวคือวันที่14มีนาคม2534จึงต้องเริ่มคิดดอกเบี้ยในเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่วันที่14มีนาคม2534หาใช่วันที่11สิงหาคม2533ซึ่งเป็นวันที่มีประกาศสำนักงานยกรัฐมนตรีเรื่องกำหนดให้การเวนคืนเป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วนและไม่ใช่นับแต่วันที่จำเลยที่2นำเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ไปฝากธนาคารออมสินเพราะเป็นวันภายหลังจากวันที่จำเลยที่2มีหน้าที่ต้องนำเงินค่าทดแทนไปวางแล้วสำหรับจำนวนเงินต้นในการคำนวณดอกเบี้ยนั้นเมื่อไม่ปรากฎว่าจำเลยที่1และที่2ได้ชำระดอกเบี้ยสำหรับเงินค่าทดแทนให้เพิ่มขึ้นตามที่รัฐมนตรีวินิจฉัยหรือไม่ตั้งแต่เมื่อใดและได้ชำระเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นตามคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีไปตั้งแต่เมื่อใดจึงนำเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นตามคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีมารวมกับที่ศาลวินิจฉัยเพิ่มเพื่อคำนวณดอกเบี้ยด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1495/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: หลักเกณฑ์การประเมินค่าทดแทนที่ดิน และการหักกลบราคาที่ดินส่วนที่เหลือที่สูงขึ้น
คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ ได้กำหนดค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์โดยนำราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดินปี 2531มาเป็นเกณฑ์ในการกำหนดค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้โจทก์ และเห็นว่าค่าทดแทนที่ดินที่โจทก์ได้รับดังกล่าวน้อยกว่าราคาที่ดินส่วนที่เหลือที่มีราคาเพิ่มขึ้น เมื่อนำมาหักกลบลบกันแล้วค่าทดแทนที่ดินย่อมหมดไป คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯจึงมีมติไม่จ่ายค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์ คงจ่ายให้เฉพาะค่าทดแทนอาคาร ค่าถมดินค่าพื้นคอนกรีต และค่าพืชผลต้นไม้ เมื่อปรากฏว่าในวันที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯมีการประชุมลงมตินั้น มีประกาศคณะผู้รักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 44 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ใช้บังคับแล้ว ดังนั้น การกำหนดค่าทดแทนจึงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 และมาตรา 21 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะผู้รักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44ดังนั้น ในการกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์ จึงต้องคำนึงถึงราคาที่ดินที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาด สภาพและสถานที่ตั้งของที่ดินมาประกอบการพิจารณาด้วยการที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯไม่ได้คำนึงถึงข้อนี้ในการพิจารณากำหนดค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์จึงไม่เป็นธรรมแก่โจทก์
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา21 วรรคสองและวรรคสาม เป็นบทบัญญัติที่เป็นหลักการสำคัญในการสนับสนุนให้การเวนคืนเป็นไปด้วยความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมโดยสมบูรณ์ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าการเวนคืนทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลืออยู่มีราคาสูงขึ้นแล้วหากไม่นำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทน ก็จะทำให้ผู้ถูกเวนคืนได้รับผลประโยชน์จากการเวนคืนแต่ฝ่ายเดียว ในทางตรงกันข้ามหากอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เหลือนั้นราคาลดลงแล้ว หากผู้ถูกเวนคืนไม่ได้รับเงินค่าทดแทนในส่วนนี้ ก็ย่อมไม่เป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืน ซึ่งขัดต่อหลักการสำคัญของมาตรา 21 ที่ให้กำหนดค่าทดแทนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม ส่วนมาตรา 21 วรรคสี่ เป็นเพียงวิธีการที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการสำคัญของมาตรา 21 เท่านั้น แม้ยังไม่มี พ.ร.ฎ.กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณว่าอสังหาริมทรัพย์ใดมีราคาสูงขึ้นตามวรรคสอง หรือราคาลดลงตามวรรคสามออกใช้บังคับตามที่บัญญัติไว้ตามมาตรา21 วรรคสี่ ก็ไม่ใช่กรณีที่จะถือเป็นเหตุที่จะทำให้หลักการสำคัญตามมาตรา 21วรรคสอง และวรรคสามใช้บังคับไม่ได้ ดังนั้นหากปรากฏชัดว่าที่ดินในส่วนที่เหลือของโจทก์มีราคาสูงขึ้นเพราะการเวนคืนแล้ว จำเลยทั้งสองและศาลย่อมนำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทนที่โจทก์ได้รับได้
เมื่อจำเลยทั้งสองต้องชำระเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ตามคำวินิจฉัยของศาล โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นตามมาตรา 26วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลง แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เพราะโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยจากที่ศาลชั้นต้นกำหนด โดยโจทก์ไม่ต้องนำสืบในเรื่องดอกเบี้ยดังกล่าวว่ามีอัตราเท่าใด เพราะเป็นกรณีที่มีกฎหมายเฉพาะกำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น ก็ต้องเป็นไปตามกฎหมายนั้น
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา21 วรรคสองและวรรคสาม เป็นบทบัญญัติที่เป็นหลักการสำคัญในการสนับสนุนให้การเวนคืนเป็นไปด้วยความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมโดยสมบูรณ์ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าการเวนคืนทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลืออยู่มีราคาสูงขึ้นแล้วหากไม่นำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทน ก็จะทำให้ผู้ถูกเวนคืนได้รับผลประโยชน์จากการเวนคืนแต่ฝ่ายเดียว ในทางตรงกันข้ามหากอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เหลือนั้นราคาลดลงแล้ว หากผู้ถูกเวนคืนไม่ได้รับเงินค่าทดแทนในส่วนนี้ ก็ย่อมไม่เป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืน ซึ่งขัดต่อหลักการสำคัญของมาตรา 21 ที่ให้กำหนดค่าทดแทนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม ส่วนมาตรา 21 วรรคสี่ เป็นเพียงวิธีการที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการสำคัญของมาตรา 21 เท่านั้น แม้ยังไม่มี พ.ร.ฎ.กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณว่าอสังหาริมทรัพย์ใดมีราคาสูงขึ้นตามวรรคสอง หรือราคาลดลงตามวรรคสามออกใช้บังคับตามที่บัญญัติไว้ตามมาตรา21 วรรคสี่ ก็ไม่ใช่กรณีที่จะถือเป็นเหตุที่จะทำให้หลักการสำคัญตามมาตรา 21วรรคสอง และวรรคสามใช้บังคับไม่ได้ ดังนั้นหากปรากฏชัดว่าที่ดินในส่วนที่เหลือของโจทก์มีราคาสูงขึ้นเพราะการเวนคืนแล้ว จำเลยทั้งสองและศาลย่อมนำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทนที่โจทก์ได้รับได้
เมื่อจำเลยทั้งสองต้องชำระเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ตามคำวินิจฉัยของศาล โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นตามมาตรา 26วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลง แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เพราะโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยจากที่ศาลชั้นต้นกำหนด โดยโจทก์ไม่ต้องนำสืบในเรื่องดอกเบี้ยดังกล่าวว่ามีอัตราเท่าใด เพราะเป็นกรณีที่มีกฎหมายเฉพาะกำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น ก็ต้องเป็นไปตามกฎหมายนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1495/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: หลักการคำนวณค่าทดแทนที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง, การหักลบราคาที่ดินที่สูงขึ้น, และดอกเบี้ยค่าทดแทน
คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ ได้กำหนดค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์โดยนำราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดินปี 2531 มาเป็นเกณฑ์ในการกำหนดค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้โจทก์ และเห็นว่าค่าทดแทนที่ดินที่โจทก์ได้รับดังกล่าวน้อยกว่าราคาที่ดินส่วนที่เหลือที่มีราคาเพิ่มขึ้น เมื่อนำมาหักกลบลบกันแล้วค่าทดแทนที่ดินย่อมหมดไป คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯจึงมีมติไม่จ่ายค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์ คงจ่ายให้เฉพาะค่าทดแทนอาคาร ค่าถมดิน ค่าพื้นคอนกรีต และค่าพืชผลต้นไม้เมื่อปรากฏว่าในวันที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯมีการประชุมลงมตินั้น มีประกาศคณะผู้รักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ใช้บังคับแล้ว ดังนั้นการกำหนดค่าทดแทนจึงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 และมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะผู้รักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44ดังนั้น ในการกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์ จึงต้องคำนึงถึงราคาที่ดินที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาด สภาพและสถานที่ตั้งของที่ดินมาประกอบการพิจารณาด้วย การที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ไม่ได้คำนึงถึงข้อนี้ในการพิจารณากำหนดค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์จึงไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 21 วรรคสองและวรรคสาม เป็นบทบัญญัติที่เป็นหลักการสำคัญในการสนับสนุนให้การเวนคืนเป็นไปด้วยความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมโดยสมบูรณ์เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าการเวนคืนทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลืออยู่มีราคาสูงขึ้นแล้วหากไม่นำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทน ก็จะทำให้ผู้ถูกเวนคืนได้รับผลประโยชน์จากการเวนคืนแต่ฝ่ายเดียว ในทางตรงกันข้ามหากอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เหลือนั้นราคาลดลงแล้ว หากผู้ถูกเวนคืนไม่ได้รับเงินค่าทดแทนในส่วนนี้ ก็ย่อมไม่เป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืน ซึ่งขัดต่อหลักการสำคัญของมาตรา 21 ที่ให้กำหนดค่าทดแทนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมส่วนมาตรา 21 วรรคสี่ เป็นเพียงวิธีการที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการสำคัญของมาตรา 21 เท่านั้น แม้ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณว่าอสังหาริมทรัพย์ใดมีราคาสูงขึ้นตามวรรคสอง หรือราคาลดลงตามวรรคสามออกใช้บังคับตามที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 21 วรรคสี่ก็ไม่ใช่กรณีที่จะถือเป็นเหตุที่จะทำให้หลักการสำคัญตามมาตรา 21 วรรคสอง และวรรคสามใช้บังคับไม่ได้ ดังนั้นหากปรากฎชัดว่าที่ดินในส่วนที่เหลือของโจทก์มีราคาสูงขึ้นเพราะการเวนคืนแล้ว จำเลยทั้งสองและศาลย่อมนำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทนที่โจทก์ได้รับได้ เมื่อจำเลยทั้งสองต้องชำระเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ตามคำวินิจฉัยของศาล โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นตามมาตรา 26 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลง แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เพราะโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยจากที่ศาลชั้นต้นกำหนด โดยโจทก์ไม่ต้องนำสืบในเรื่องดอกเบี้ยดังกล่าวว่ามีอัตราเท่าใด เพราะเป็นกรณีที่มีกฎหมายเฉพาะกำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น ก็ต้องเป็นไปตามกฎหมายนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1495/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: หลักการคำนวณค่าทดแทนที่เหมาะสม, การหักกลบลบราคาที่สูงขึ้น, และดอกเบี้ย
คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ได้กำหนดค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์โดยนำราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดินปี2531มาเป็นเกณฑ์ในการกำหนดค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้โจทก์และเห็นว่าค่าทดแทนที่ดินที่โจทก์ได้รับดังกล่าวน้อยกว่าราคาที่ดินส่วนที่เหลือที่มีราคาเพิ่มขึ้นเมื่อนำมาหักกลบลบกันแล้วค่าทดแทนที่ดินย่อมหมดไปคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯจึงมีมติไม่จ่ายค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์คงจ่ายให้เฉพาะค่าทดแทนอาคารค่าถมดินค่าพื้นคอนกรีตและค่าพืชผลต้นไม้เมื่อปรากฏว่าในวันที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯมีการประชุมลงมตินั้นมีประกาศคณะผู้รักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่44เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ใช้บังคับแล้วดังนั้นการกำหนดค่าทดแทนจึงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา9และมาตรา21แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะผู้รักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่44ดังนั้นในการกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์จึงต้องคำนึงถึงราคาที่ดินที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดสภาพและสถานที่ตั้งของที่ดินมาประกอบการพิจารณาด้วยการที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯไม่ได้คำนึงถึงข้อนี้ในการพิจารณากำหนดค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์จึงไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา21วรรคสองและวรรคสามเป็นบทบัญญัติที่เป็นหลักการสำคัญในการสนับสนุนให้การเวนคืนเป็นไปด้วยความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมโดยสมบูรณ์เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าการเวนคืนทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลืออยู่มีราคาสูงขึ้นแล้วหากไม่นำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทนก็จะทำให้ผู้ถูกเวนคืนได้รับผลประโยชน์จากการเวนคืนแต่ฝ่ายเดียวในทางตรงกันข้ามหากอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เหลือนั้นราคาลดลงแล้วหากผู้ถูกเวนคืนไม่ได้รับเงินค่าทดแทนในส่วนนี้ก็ย่อมไม่เป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนซึ่งขัดต่อหลักการสำคัญของมาตรา21ที่ให้กำหนดค่าทดแทนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมส่วนมาตรา21วรรคสี่เป็นเพียงวิธีการที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการสำคัญของมาตรา21เท่านั้นแม้ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณว่าอสังหาริมทรัพย์ใดมีราคาสูงขึ้นตามวรรคสองหรือราคาลดลงตามวรรคสามออกใช้บังคับตามที่บัญญัติไว้ตามมาตรา21วรรคสี่ก็ไม่ใช่กรณีที่จะถือเป็นเหตุที่จะทำให้หลักการสำคัญตามมาตรา21วรรคสองและวรรคสามใช้บังคับไม่ได้ดังนั้นหากปรากฎชัดว่าที่ดินในส่วนที่เหลือของโจทก์มีราคาสูงขึ้นเพราะการเวนคืนแล้วจำเลยทั้งสองและศาลย่อมนำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทนที่โจทก์ได้รับได้ เมื่อจำเลยทั้งสองต้องชำระเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ตามคำวินิจฉัยของศาลโจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นตามมาตรา26วรรคสามแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงแต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ7.5ต่อปีเพราะโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยจากที่ศาลชั้นต้นกำหนดโดยโจทก์ไม่ต้องนำสืบในเรื่องดอกเบี้ยดังกล่าวว่ามีอัตราเท่าใดเพราะเป็นกรณีที่มีกฎหมายเฉพาะกำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นก็ต้องเป็นไปตามกฎหมายนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1176/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณค่าทดแทนที่ดินเวนคืนและดอกเบี้ย กรณีราคาที่ดินเปลี่ยนแปลงและระยะเวลาการชำระ
เมื่อปรากฏว่า โจทก์อ้างมาในฟ้องตั้งแต่แรกแล้วว่าการกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ต้องคำนึงถึงหลักเกณฑ์อันเป็นหลักเกณฑ์ของการกำหนดค่าทดแทนที่ดินซึ่งแก้ไขโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 ข้อ 1 จำนวนเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ขอเรียกตามฟ้องและจำนวนเงินค่าทดแทนที่ดินที่ขอเพิ่มตามคำร้องขอแก้ไขฟ้องนั้นอาศัยหลักเกณฑ์เดียวกัน โจทก์สามารถที่จะขอแก้ไขได้ก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่ายี่สิบเอ็ดวันและเนื้อที่หาสาระที่ขอแก้ไขมิใช่ปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนี้คำร้องขอแก้ไขฟ้องของโจทก์จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 ที่ศาลล่างทั้งสองไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขฟ้องนั้นชอบแล้ว ขณะคดีนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นได้มีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ออกใช้บังคับ ซึ่งข้อ 1 บัญญัติให้ยกเลิกความในวรรคสี่และวรรคห้าของมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "ในการกำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์และจำนวนเงินค่าทดแทน ให้คณะกรรมการกำหนดโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามมาตรา 18 มาตรา 21 มาตรา 22 และมาตรา 24" และข้อ 5 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า บทบัญญัติมาตรา 9 วรรคสี่และวรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ให้มีผลใช้บังคับแก่การเวนคืนซึ่งการกำหนดราคาเบื้องต้น การจัดซื้อ การจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทนการอุทธรณ์หรือการฟ้องคดียังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ใช้บังคับด้วย ดังนั้นในการกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งที่ดินที่ต้องเวนคืนนั้นศาลต้องพิจารณาโดยคำนึงถึง (1) ถึง (5) ของมาตรา 21แห่ง พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ด้วย ตามคำอุทธรณ์ของโจทก์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ระบุว่า ที่ดินส่วนที่เหลือไม่สามารถทำประโยชน์ในกิจการที่เหมาะสมอีกต่อไปเนื่องจากต้องตกอยู่ใต้ทางด่วน ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์อย่างยิ่ง และข้อความดังกล่าวโจทก์ได้กล่าวอ้างรวมมากับข้อเรียกร้องให้ชำระเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนเพิ่มเติม เห็นได้ว่า โจทก์ประสงค์จะเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ในส่วนที่ราคาลดลงด้วย ถือว่าโจทก์ได้ร้องขอให้รัฐมนตรีฯ พิจารณาเกี่ยวกับที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือราคาลดลงแล้ว โจทก์จึงมีสิทธินำคดีส่วนนี้มาฟ้องต่อศาลได้ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 26 พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 26 วรรคสาม บัญญัติว่าในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นทั้งนี้ นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้น และมาตรา 11 วรรคหนึ่งบัญญัติว่าในกรณีที่มีการตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันได้ตามมาตรา 10 ให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่จ่ายเงินค่าอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวทั้งหมดให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ทำสัญญาซื้อขาย ปรากฏว่าโจทก์กับจำเลยได้ทำซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันตามมาตรา 10 เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2532ตามสำเนาสัญญาซื้อขายฯ นับแต่วันดังกล่าวไปอีกหนึ่งร้อยยี่สิบวันซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่จำเลยจะต้องจ่ายเงินให้แก่โจทก์คือวันที่6 กันยายน 2532 อันเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามมาตรา 26 วรรคสาม โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันดังกล่าวในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารออมสิน มิใช่นับแต่วันที่โจทก์ได้รับเงินค่าทดแทนจากจำเลยที่ 1 ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลง แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราตามคำขอของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1176/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณค่าทดแทนที่ดินเวนคืนและดอกเบี้ยตามกฎหมาย โดยพิจารณาจากราคาตลาดและอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก
เมื่อปรากฏว่าโจทก์อ้างมาในฟ้องตั้งแต่แรกแล้วว่าการกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ต้องคำนึงถึงหลักเกณฑ์อันเป็นหลักเกณฑ์ของการกำหนดค่าทดแทนที่ดินซึ่งแก้ไขโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่44ข้อ1จำนวนเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ขอเรียกตามฟ้องและจำนวนเงินค่าทดแทนที่ดินที่ขอเพิ่มตามคำร้องขอแก้ไขฟ้องนั้นอาศัยหลักเกณฑ์เดียวกันโจทก์สามารถที่จะขอแก้ไขได้ก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่ายี่สิบเอ็ดวันและเนื้อที่หาสาระที่ขอแก้ไขมิใช่ปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนดังนี้คำร้องขอแก้ไขฟ้องของโจทก์จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา180ที่ศาลล่างทั้งสองไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขฟ้องนั้นชอบแล้ว ขณะคดีนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นได้มีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่44เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ออกใช้บังคับซึ่งข้อ1บัญญัติให้ยกเลิกความในวรรคสี่และวรรคห้าของมาตรา9แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน"ในการกำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์และจำนวนเงินค่าทดแทนให้คณะกรรมการกำหนดโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามมาตรา18มาตรา21มาตรา22และมาตรา24"และข้อ5วรรคหนึ่งบัญญัติว่าบทบัญญัติมาตรา9วรรคสี่และวรรคห้าแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ให้มีผลใช้บังคับแก่การเวนคืนซึ่งการกำหนดราคาเบื้องต้นการจัดซื้อการจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทนการอุทธรณ์หรือการฟ้องคดียังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ใช้บังคับด้วยดังนั้นในการกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งที่ดินที่ต้องเวนคืนนั้นศาลต้องพิจารณาโดยคำนึงถึง(1)ถึง(5)ของมาตรา21แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ด้วย ตามคำอุทธรณ์ของโจทก์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ระบุว่าที่ดินส่วนที่เหลือไม่สามารถทำประโยชน์ในกิจการที่เหมาะสมอีกต่อไปเนื่องจากต้องตกอยู่ใต้ทางด่วนซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์อย่างยิ่งและข้อความดังกล่าวโจทก์ได้กล่าวอ้างรวมมากับข้อเรียกร้องให้ชำระเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนเพิ่มเติมเห็นได้ว่าโจทก์ประสงค์จะเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ในส่วนที่ราคาลดลงด้วยถือว่าโจทก์ได้ร้องขอให้รัฐมนตรีฯพิจารณาเกี่ยวกับที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือราคาลดลงแล้วโจทก์จึงมีสิทธินำคดีส่วนนี้มาฟ้องต่อศาลได้ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา26 พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา26วรรคสามบัญญัติว่าในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นทั้งนี้นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้นและมาตรา11วรรคหนึ่งบัญญัติว่าในกรณีที่มีการตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันได้ตามมาตรา10ให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่จ่ายเงินค่าอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวทั้งหมดให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ทำสัญญาซื้อขายปรากฏว่าโจทก์กับจำเลยได้ทำซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันตามมาตรา10เมื่อวันที่9พฤษภาคม2532ตามสำเนาสัญญาซื้อขายฯนับแต่วันดังกล่าวไปอีกหนึ่งร้อยยี่สิบวันซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่จำเลยจะต้องจ่ายเงินให้แก่โจทก์คือวันที่6กันยายน2532อันเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามมาตรา26วรรคสามโจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันดังกล่าวในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารออมสิน มิใช่นับแต่วันที่โจทก์ได้รับเงินค่าทดแทนจากจำเลยที่1ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงแต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราตามคำขอของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1176/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขฟ้องคดีเวนคืน การคิดดอกเบี้ยค่าทดแทน และสิทธิเรียกร้องเพิ่มเติมจากราคาที่ดิน
เมื่อปรากฏว่า โจทก์อ้างมาในฟ้องตั้งแต่แรกแล้วว่าการกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ต้องคำนึงถึงหลักเกณฑ์อันเป็นหลักเกณฑ์ของการกำหนดค่าทดแทนที่ดินซึ่งแก้ไขโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่44 ข้อ 1 จำนวนเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ขอเรียกตามฟ้องและจำนวนเงินค่าทดแทนที่ดินที่ขอเพิ่มตามคำร้องขอแก้ไขฟ้องนั้นอาศัยหลักเกณฑ์เดียวกัน โจทก์สามารถที่จะขอแก้ไขได้ก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่ายี่สิบเอ็ดวัน และเนื้อหาสาระที่ขอแก้ไขมิใช่ปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนี้คำร้องขอแก้ไขฟ้องของโจทก์จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 180 ที่ศาลล่างทั้งสองไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขฟ้องนั้นชอบแล้ว
ขณะคดีนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นได้มีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ออกใช้บังคับ ซึ่งข้อ 1 บัญญัติให้ยกเลิกความในวรรคสี่และวรรคห้าของมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหา-ริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "ในการกำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์และจำนวนเงินค่าทดแทน ให้คณะกรรมการกำหนดโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามมาตรา 18 มาตรา 21 มาตรา 22 และมาตรา 24..."และข้อ 5 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า บทบัญญัติมาตรา 9 วรรคสี่และวรรคห้า...แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ให้มีผลใช้บังคับแก่การเวนคืนซึ่งการกำหนดราคาเบื้องต้น การจัดซื้อ การจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทนการอุทธรณ์หรือการฟ้องคดียังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ใช้บังคับด้วย ดังนั้นในการกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งที่ดินที่ต้องเวนคืนนั้นศาลต้องพิจารณาโดยคำนึงถึง (1) ถึง (5) ของมาตรา 21แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ด้วย
ตามคำอุทธรณ์ของโจทก์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ระบุว่า ที่ดินส่วนที่เหลือไม่สามารถทำประโยชน์ในกิจการที่เหมาะสมอีกต่อไปเนื่องจากต้องตกอยู่ใต้ทางด่วน ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์อย่างยิ่ง และข้อความดังกล่าวโจทก์ได้กล่าวอ้างรวมมากับข้อเรียกร้องให้ชำระเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนเพิ่มเติม เห็นได้ว่า โจทก์ประสงค์จะเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ในส่วนที่ราคาลดลงด้วย ถือว่าโจทก์ได้ร้องขอให้รัฐมนตรีฯ พิจารณาเกี่ยวกับที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือราคาลดลงแล้ว โจทก์จึงมีสิทธินำคดีส่วนนี้มาฟ้องต่อศาลได้ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 26
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 26 วรรคสาม บัญญัติว่าในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นทั้งนี้ นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้น และมาตรา 11 วรรคหนึ่งบัญญัติว่าในกรณีที่มีการตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันได้ตามมาตรา 10 ให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่จ่ายเงินค่าอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวทั้งหมดให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ทำสัญญาซื้อขาย ปรากฏว่าโจทก์กับจำเลยได้ทำซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันตามมาตรา 10 เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2532 ตามสำเนาสัญญาซื้อขายฯ นับแต่วันดังกล่าวไปอีกหนึ่งร้อยยี่สิบวัน ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่จำเลยจะต้องจ่ายเงินให้แก่โจทก์คือวันที่ 6 กันยายน 2532 อันเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามมาตรา26 วรรคสาม โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันดังกล่าวในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารออมสิน มิใช่นับแต่วันที่โจทก์ได้รับเงินค่าทดแทนจากจำเลยที่ 1 ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลง แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราตามคำขอของโจทก์
ขณะคดีนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นได้มีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ออกใช้บังคับ ซึ่งข้อ 1 บัญญัติให้ยกเลิกความในวรรคสี่และวรรคห้าของมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหา-ริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "ในการกำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์และจำนวนเงินค่าทดแทน ให้คณะกรรมการกำหนดโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามมาตรา 18 มาตรา 21 มาตรา 22 และมาตรา 24..."และข้อ 5 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า บทบัญญัติมาตรา 9 วรรคสี่และวรรคห้า...แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ให้มีผลใช้บังคับแก่การเวนคืนซึ่งการกำหนดราคาเบื้องต้น การจัดซื้อ การจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทนการอุทธรณ์หรือการฟ้องคดียังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ใช้บังคับด้วย ดังนั้นในการกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งที่ดินที่ต้องเวนคืนนั้นศาลต้องพิจารณาโดยคำนึงถึง (1) ถึง (5) ของมาตรา 21แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ด้วย
ตามคำอุทธรณ์ของโจทก์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ระบุว่า ที่ดินส่วนที่เหลือไม่สามารถทำประโยชน์ในกิจการที่เหมาะสมอีกต่อไปเนื่องจากต้องตกอยู่ใต้ทางด่วน ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์อย่างยิ่ง และข้อความดังกล่าวโจทก์ได้กล่าวอ้างรวมมากับข้อเรียกร้องให้ชำระเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนเพิ่มเติม เห็นได้ว่า โจทก์ประสงค์จะเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ในส่วนที่ราคาลดลงด้วย ถือว่าโจทก์ได้ร้องขอให้รัฐมนตรีฯ พิจารณาเกี่ยวกับที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือราคาลดลงแล้ว โจทก์จึงมีสิทธินำคดีส่วนนี้มาฟ้องต่อศาลได้ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 26
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 26 วรรคสาม บัญญัติว่าในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นทั้งนี้ นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้น และมาตรา 11 วรรคหนึ่งบัญญัติว่าในกรณีที่มีการตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันได้ตามมาตรา 10 ให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่จ่ายเงินค่าอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวทั้งหมดให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ทำสัญญาซื้อขาย ปรากฏว่าโจทก์กับจำเลยได้ทำซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันตามมาตรา 10 เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2532 ตามสำเนาสัญญาซื้อขายฯ นับแต่วันดังกล่าวไปอีกหนึ่งร้อยยี่สิบวัน ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่จำเลยจะต้องจ่ายเงินให้แก่โจทก์คือวันที่ 6 กันยายน 2532 อันเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามมาตรา26 วรรคสาม โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันดังกล่าวในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารออมสิน มิใช่นับแต่วันที่โจทก์ได้รับเงินค่าทดแทนจากจำเลยที่ 1 ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลง แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราตามคำขอของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 589/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: ค่าทดแทน, ราคาที่ดินที่เหลือ, ดอกเบี้ย, และค่าฤชาธรรมเนียม
ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2534 ซึ่งขณะนั้นคดีนี้ยังอยู่ในระหว่างการดำเนินการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นดังนั้นการฟ้องคดีนี้ของโจทก์ผู้ถูกเวนคืนยังไม่เสร็จเด็ดขาดในขณะที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 ดังกล่าวมีผลใช้บังคับ ศาลย่อมมีอำนาจพิจารณากำหนด เงินค่าทดแทนโดยอาศัยกฎเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการ เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 9 วรรคสี่ ที่แก้ไข ใหม่ตามประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 ที่ให้กำหนดโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามมาตรา 18 มาตรา 21 มาตรา 22 และมาตรา 24 ได้ มิต้องพิจารณาเฉพาะมาตรา 21(2) หรือ (3) ตามที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นกำหนดให้แก่โจทก์ และ ไม่ต้องคำนึงถึงปัญหาว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะมี คำสั่งให้ดำเนินการแก้ไขราคาค่าทดแทนโดยความเห็นขอบของ คณะรัฐมนตรีแล้วหรือไม่ ดังนั้น การที่การทางพิเศษแห่ง ประเทศไทยจำเลยที่ 1 กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์โดยคำนึงถึงเฉพาะ (2) และ (3) ของมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530โดยใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดินโดยไม่ได้คำนึง ถึงมาตรา 21(1)(4) และ (5) ประกอบด้วย จึงยังไม่เป็นธรรม แก่โจทก์ ส่วนที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าทดแทนที่ดินในส่วน ที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์โดยได้คำนึงถึงหลักเกณฑ์ตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 21(1) ถึง (5) เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่โจทก์ ทั้งสองและสังคมนั้นเป็นการถูกต้องแล้ว เมื่อโจทก์นำสืบเพียงว่า ต้นไม้ของโจทก์จะให้ผลประโยชน์ประมาณปีละ 9,000 บาท ขอคิดค่าเสียหาย 5 ปีเป็นเงิน 45,000 บาท โดยไม่ได้นำสืบว่าต้นไม้ของโจทก์ที่ถูกเวนคืนมีราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดตาม ที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกา เป็นจำนวนเงินเท่าใดการที่จำเลยที่ 1 กำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ โดยคำนวณ ตามหลักเกณฑ์ที่กรมส่งเสริมพืชพันธุ์ กรมส่งเสริมการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นเกณฑ์มาตรฐานในการกำหนดเงินค่าทดแทนดังกล่าวจึงเป็นธรรมแก่โจทก์แล้ว โจทก์ผู้ถูกเวนคืนได้รับเงินค่าทดแทนก่อนการบังคับใช้กฎกระทรวง ฉบับที่ 184(พ.ศ. 2533) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง ฉบับที่ 126(พ.ศ. 2509) และฉบับที่ 182(พ.ศ. 2533) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร โดยกำหนดว่าเงินได้พึงประเมินประเภทเงินค่าทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ โดยใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับในปี 2532 เป็นต้นไป เมื่อโจทก์ได้รับเงินค่าทดแทนในปี 2531 จำเลยที่ 1 จึงต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายจากเงินค่าทดแทนที่จ่ายแก่โจทก์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 50(5) โจทก์จึงเรียกคืนภาษีเงินได้ นั้นไม่ได้ เงินค่าทดแทนสำหรับความเสียหายของเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่อาศัย หรือประกอบการค้าขายหรือการงานอันชอบด้วยกฎหมายอยู่ในอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืน ซึ่งได้รับความเสียหายเนื่องจากการที่ต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์นั้น ตามวรรคท้ายของมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530ต้องเป็นความเสียหายโดยตรงอันเนื่องมาจากการที่ต้องออกจาก อสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนแต่ดอกเบี้ยของเงินกู้ยืมที่ โจทก์อ้างว่าเพื่อนำใช้ปลูกบ้านใหม่นั้นมิใช่ความเสียหาย โดยตรงอันเกิดจากการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ ที่ศาลล่างทั้งสองไม่กำหนดค่าทดแทนในส่วนนี้ให้แก่โจทก์ จึงชอบแล้ว ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่อำเภอปากเกร็ด พ.ศ. 2530 กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทย จำเลยที่ 3 เป็นผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกา ในฐานะดังกล่าวจำเลยที่ 3 มีอำนาจหน้าที่แต่งตั้งคณะกรรมการ กำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ และวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 และเป็นผู้รักษาการตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 290 ซึ่งเป็นกฎหมายจัดตั้งการทางพิเศษแห่งประเทศไทยขึ้นให้มีอำนาจหน้าที่ในการสร้างทางพิเศษจำเลยที่ 3 มีอำนาจหน้าที่ดูแลให้การดำเนินการเวนคืนเพื่อสร้างทางพิเศษเป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย และการดำเนินการ เวนคืนตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวอยู่ในอำนาจหน้าที่และ วัตถุประสงค์ของกระทรวงมหาดไทยจำเลยที่ 2 ตามประกาศของ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 เรื่อง ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ข้อ 19 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 อีกหลายฉบับ ต่อมามีการ ยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 โดยพระราชบัญญัติ ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2534 มาตรา 3 และบัญญัติ อำนาจหน้าที่นี้ของจำเลยที่ 2 ไว้ในมาตรา 19 ดังนั้น เมื่อโจทก์ทั้งสองอ้างว่าการกำหนดค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่โจทก์ตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530โจทก์ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า ถ้าการงานหรือ กิจการอย่างใดที่ทำไปในการเวนคืน ได้กระทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลืออยู่นั้นมีราคาสูงขึ้น ให้เอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทน และวรรคสามที่บัญญัติว่า ถ้าต้องเวนคืนอสังหาริมทรัพย์แต่เพียงส่วนหนึ่ง และส่วนที่เหลือ นั้นราคาลดลงให้กำหนดเงินค่าทดแทนให้เฉพาะสำหรับส่วนที่เหลืออันราคาลดลงนั้นด้วย เป็นบทบัญญัติที่เป็นหลักการในการสนับสนุนให้การเวนคืนเป็นไปด้วยความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมโดยสมบูรณ์ เมื่อการเวนคืนทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลืออยู่มีราคาสูงขึ้นแล้ว หากไม่นำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทน ก็จะทำให้ผู้ถูกเวนคืนได้รับผลประโยชน์จากการเวนคืนแต่ฝ่ายเดียว ในทางตรงกันข้ามหากอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เหลือนั้นราคาลดลงแล้ว หากผู้ถือเวนคืนไม่ได้รับเงินค่าทดแทนในส่วนนี้ ก็ย่อมไม่เป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืน ซึ่งขัดต่อหลักการสำคัญของมาตรา 21วรรคหนึ่งที่ให้กำหนดค่าทดแทนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม ส่วนมาตรา 21 วรรคสี่ นั้น เป็นเพียงวิธีการที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการสำคัญของมาตรา 21 วรรคหนึ่งเท่านั้น แม้ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณออกใช้บังคับแล้วตามมาตรา 21 วรรคสี่ ก็ไม่ใช่กรณีที่จะทำให้หลักการตามมาตรา 21 วรรคสองและวรรคสามเป็นอันใช้ไม่ได้ เดิมที่ดินของโจทก์ก่อนถูกเวนคืนเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหลังถูกเวนคืนแล้วคงเหลือเนื้อที่ 73 ตารางวาเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู โดยมีด้านหนึ่งเป็นรูปเรียวแหลม และเมื่อทางพิเศษตัดผ่านซึ่งเป็นทางสัญจรของรถยนต์ที่ก่อให้เกิดเสียงดังและควันจากท่อไอเสีย ทำให้สภาพและที่ตั้งของที่ดินของโจทก์เปลี่ยนไปในทางที่ไม่ดี ย่อมต้องเสื่อมราคาลงตามสภาพดังกล่าว โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะได้รับค่าทดแทนในส่วนนี้ด้วย แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่า อัตราดอกเบี้ยสูงสุดของเงินฝากประเภทฝากประจำในวันที่มีการจ่ายมีอัตราเท่าไรและจะต้องคำนวณดอกเบี้ยถึงวันฟ้องว่ามีจำนวนเท่าไรเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์ในการฟ้องคดีก็ตามแต่หากโจทก์เสียค่าขึ้นศาลมาไม่ครบหรือไม่ถูกต้อง ศาลย่อมมีอำนาจสั่งให้เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มให้ครบถ้วนได้ และแม้การที่ศาลชั้นต้นมิได้เรียกค่าขึ้นศาลไว้ให้ครบเป็นการคลาดเคลื่อน ก็คงทำให้ผิดพลาดเฉพาะในการเรียกค่าธรรมเนียมศาลขาดเท่านั้นแต่หาได้กระทบถึงกระบวนพิจารณาอื่น ๆ หรือทำให้คำพิพากษาไม่มีผลบังคับแต่อย่างใดไม่ พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคสาม ที่บัญญัติว่า ในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้น และมาตรา 11 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่าในกรณีที่มีการตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันได้ตามมาตรา 10 ให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่จ่ายเงินค่าอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวทั้งหมดให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ทำสัญญาซื้อขาย เมื่อโจทก์กับจำเลยที่ 1ได้ทำสัญญาซื้อขายกันตามมาตรา 10 เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน2531 นับแต่วันดังกล่าวไปอีกหนึ่งร้อยยี่สิบวัน ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่จำเลยที่ 1 จะต้องจ่ายเงินให้แก่โจทก์คือวันที่ 16 มีนาคม 2532 อันเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามมาตา 26 วรรคสาม โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันดังกล่าวในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารออมสินส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลง แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 8 ต่อปี ตามคำขอของโจทก์ ส่วนช่วงเวลาใดมีอัตราดอกเบี้ยที่ต้องใช้ในการคำนวณอัตราเท่าใด เป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะเป็นผู้ดำเนินการในชั้นบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 29/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินค่าทดแทนที่ดินเวนคืน ต้องพิจารณาทั้งราคาตลาดและราคาประเมิน เพื่อความเป็นธรรม
ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา21ได้กำหนดเงินค่าทดแทนแก่ผู้มีสิทธิได้รับโดยคำนึงถึง(1)ถึง(5)ประกอบกันเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมโดยทั่วไปราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดตามมาตรา21(1)ย่อมมีราคาสูงกว่าราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามมาตรา21(3)การที่จำเลยทั้งสองกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์โดยใช้หลักเกณฑ์แต่เฉพาะมาตรา21(3)จึงเป็นไปโดยมิชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ เมื่อจำเลยต้องชำระเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ตามคำวินิจฉัยของศาลโจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน ในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯมาตรา26วรรคสามซึ่งอัตราดอกเบี้ยสูงสุดในเวลาที่ต่างกันอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ได้แม้ศาลล่างให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ7.5ต่อปีคงที่จะไม่ถูกต้องแต่เมื่อโจทก์มิได้ฎีกาศาลฎีกาไม่อาจบังคับให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราที่เกินกว่าที่ศาลล่างกำหนดและที่ศาลล่างพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่31ตุลาคม2534นั้นเป็นการเกินไปกว่าคำขอของโจทก์ที่ขอให้จำเลยทั้งสองใช้ดอกเบี้ยนับแต่วันที่13พฤศจิกายน2534ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 25/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเวนคืน และการหักกลบราคาที่ดินสูงขึ้นจากค่าทดแทน
พระราชบัญญัติ เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์ฯพ.ศ.2516ระบุเหตุที่ต้องเวนคืนไว้ว่าเพื่อประโยชน์ของรัฐในการสร้างทางและปรับปรุงระบบระบายน้ำสำหรับกรุงเทพมหานครโดยมาตรา3กำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์การสร้างทางและระบบระบายน้ำในเขตกรุงเทพมหานครเป็นหน้าที่โดยตรงของจำเลยที่1ตามมาตรา89(6)แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครพ.ศ.2528ดังนั้นการปฎิบัติหน้าที่ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจำเลยที่2จึงเป็นการปฎิบัติหน้าที่ในกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่1ในฐานะเป็นผู้แทนจำเลยที่1และจำเลยทั้งสองมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินทดแทนในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่โจทก์ผู้มีสิทธิได้รับเงินโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองให้ร่วมกันจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ได้ เจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มุ่งประสงค์ให้มีการนำเอาราคาที่ดินที่สูงขึ้นนั้นมาหักออกจากค่าทดแทนได้ตามมาตรา21วรรคสองดังนั้นแม้จะยังไม่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณราคาที่ดินที่สูงขึ้นตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา21วรรคสี่ออกมาใช้บังคับก็ตามเมื่อได้ความว่าที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาสูงขึ้นจำเลยทั้งสองย่อมมีสิทธิที่จะนำราคาที่ดินที่สูงขึ้นมาหักลบกันเงินค่าทดแทนที่จะต้องจ่ายให้แก่โจทก์ได้