พบผลลัพธ์ทั้งหมด 114 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9932/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การกำหนดค่าทดแทนตามราคาตลาดและผลกระทบจากถนนสาธารณะ
ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา21การกำหนดเงินค่าทดแทนนั้นต้องคำนึงถึงราคาซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกานอกจากนั้นยังต้องคำนึงถึงราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่ราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์นั้นรวมทั้งเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม การจะเวนคืนที่ดินตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าวเขตบึงกุ่มเขตบางกะปิเขตห้วยขวางเขตคลองเตยและเขตพระโขนงกรุงเทพมหานครพ.ศ.2533นั้นมีวัตถุประสงค์ในการเวนคืนที่ดินเพื่อสร้างทางพิเศษโครงการระบบทางด่วนสายรามอินทรา-อาจณรงค์ แต่ปรากฏว่าการเวนคืนที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวได้ดำเนินการสร้างทางพิเศษสายรามอินทรา-อาจณรงค์ ในส่วนกลางและสร้างถนนของกรุงเทพมหานครในพื้นราบด้านข้างขนานควบคู่กันไปด้วยอีกทั้งปรากฏว่าถนนของกรุงเทพมหานครในพื้นราบดังกล่าวตัดผ่านที่ดินโจทก์ดังนั้นจากการเวนคืนที่ดินของโจทก์บางส่วนดังกล่าวเนื้อที่ประมาณ11ไร่เศษทำให้ที่ดินของโจทก์ที่เหลือจำนวน32ไร่เศษมีหน้าที่ดินติดกับถนนของกรุงเทพมหานครทั้งสองฝั่งซึ่งเดิมปรากฏว่าที่ดินกลุ่มนี้ไม่มีถนนสาธารณะผ่านการเวนคืนในกรณีนี้จึงส่งผลในที่ดินของโจทก์ที่เหลืออยู่มีราคาสูงขึ้นโจทก์จึงได้ประโยชน์จากการเวนคืนมากกว่าราคาซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินที่ถูกเวนคืนซึ่งตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา21วรรคหนึ่งก็บัญญัติถึงหลักการและเจตนารมณ์ในการกำหนดค่าทดแทนที่นอกจะให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนแล้วยังต้องพิจารณาให้เกิดความเป็นธรรมแก่สังคมด้วยในกรณีนี้ที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นกำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์สำหรับที่ดินที่ถูกเวนคืนดังกล่าวจึงนับว่าเป็นประโยชน์แก่โจทก์อย่างมากอยู่แล้วการที่จะกำหนดราคาค่าทดแทนเพิ่มให้แก่โจทก์ย่อมไม่เป็นธรรมแก่สังคมและแม้ว่าที่ดินทางทิศใต้ของทางพิเศษที่เหลือมีความกว้าง20ถึง30เมตรไม่สามารถสร้างอาคารสูงได้ก็ตามแต่โจทก์ยังสามารถสร้างบ้านและอาคารชุดได้ตามที่โจทก์ประสงค์อยู่ตามเดิมไม่ทำให้เสียไปซึ่งวัตถุประสงค์เดิมของโจทก์ถือได้ว่าคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯได้กำหนดราคาค่าทดแทนให้แก่ที่ดินของโจทก์ทั้ง12แปลงในส่วนที่ถูกเวนคืนในคดีนี้เหมาะสมและเป็นธรรมทั้งเป็นประโยชน์แก่โจทก์มากอยู่แล้วจำเลยไม่ต้องจ่ายค่าทดแทนเพิ่มแก่โจทก์อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9932/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดินต้องพิจารณาปัจจัยหลายด้านเพื่อให้ความเป็นธรรมแก่เจ้าของที่ดินและสังคม
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 21 การกำหนดเงินค่าทดแทนนั้น ต้องคำนึงถึงราคาซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับ พ.ร.ฎ.นอกจากนั้นยังต้องคำนึงถึงราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่ ราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม สภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์นั้น รวมทั้งเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม
การจะเวนคืนที่ดินตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าว เขตบึงกุ่ม เขตบางกะปิ เขตห้วยขวาง เขต-คลองเตย และเขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2533 นั้น มีวัตถุประสงค์ในการเวนคืนที่ดินเพื่อสร้างทางพิเศษโครงการระบบทางด่วนสายรามอินทรา -อาจณรงค์ แต่ปรากฏว่าการเวนคืนที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.ดังกล่าวได้ดำเนินการสร้างทางพิเศษสายรามอินทรา - อาจณรงค์ ในส่วนกลางและสร้างถนนของกรุงเทพมหานครในพื้นราบด้านข้างขนานควบคู่กันไปด้วย อีกทั้งปรากฏว่าถนนของกรุงเทพมหานครในพื้นราบดังกล่าวตัดผ่านที่ดินโจทก์ ดังนั้นจากการเวนคืนที่ดินของโจทก์บางส่วนดังกล่าวเนื้อที่ประมาณ 11 ไร่เศษ ทำให้ที่ดินของโจทก์ที่เหลือจำนวน 32 ไร่เศษ มีหน้าที่ดินติดกับถนนของกรุงเทพมหานครทั้งสองฝั่งซึ่งเดิมปรากฏว่าที่ดินกลุ่มนี้ไม่มีถนนสาธารณะผ่าน การเวนคืนในกรณีนี้จึงส่งผลให้ที่ดิน(อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ - สุทธิ นิชโรจน์ - สุรินทร์ นาควิเชียร)ศาลแพ่ง นายจิรนิติ หะวานนท์ศาลอุทธรณ์ นายสุวิทย์ นรนุตกุล
นายสุพจน์ แสงประชากุล - ตรวจ
นายเกษมสันต์ วิลาวรรณ - ผู้ช่วยผู้พิพากษาฯ
นายธานิศ เกศวพิทักษ์ - ย่อ
วาสนา พ/ท
การจะเวนคืนที่ดินตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าว เขตบึงกุ่ม เขตบางกะปิ เขตห้วยขวาง เขต-คลองเตย และเขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2533 นั้น มีวัตถุประสงค์ในการเวนคืนที่ดินเพื่อสร้างทางพิเศษโครงการระบบทางด่วนสายรามอินทรา -อาจณรงค์ แต่ปรากฏว่าการเวนคืนที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.ดังกล่าวได้ดำเนินการสร้างทางพิเศษสายรามอินทรา - อาจณรงค์ ในส่วนกลางและสร้างถนนของกรุงเทพมหานครในพื้นราบด้านข้างขนานควบคู่กันไปด้วย อีกทั้งปรากฏว่าถนนของกรุงเทพมหานครในพื้นราบดังกล่าวตัดผ่านที่ดินโจทก์ ดังนั้นจากการเวนคืนที่ดินของโจทก์บางส่วนดังกล่าวเนื้อที่ประมาณ 11 ไร่เศษ ทำให้ที่ดินของโจทก์ที่เหลือจำนวน 32 ไร่เศษ มีหน้าที่ดินติดกับถนนของกรุงเทพมหานครทั้งสองฝั่งซึ่งเดิมปรากฏว่าที่ดินกลุ่มนี้ไม่มีถนนสาธารณะผ่าน การเวนคืนในกรณีนี้จึงส่งผลให้ที่ดิน(อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ - สุทธิ นิชโรจน์ - สุรินทร์ นาควิเชียร)ศาลแพ่ง นายจิรนิติ หะวานนท์ศาลอุทธรณ์ นายสุวิทย์ นรนุตกุล
นายสุพจน์ แสงประชากุล - ตรวจ
นายเกษมสันต์ วิลาวรรณ - ผู้ช่วยผู้พิพากษาฯ
นายธานิศ เกศวพิทักษ์ - ย่อ
วาสนา พ/ท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9930-9931/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การคำนวณค่าทดแทน ดอกเบี้ย และเหตุสุดวิสัยในการยื่นคำให้การ
ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่44มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่1มีนาคม2534และข้อ5วรรคหนึ่งบัญญัติว่าบทบัญญัติมาตรา9วรรคสี่และวรรคห้ามาตรา10ทวิและมาตรา28วรรคสามแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้บังคับแก่การเวนคืนซึ่งการกำหนดราคาเบื้องต้นการจัดซื้อการจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทนการอุทธรณ์หรือการฟ้องคดียังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ใช้บังคับด้วยกรณีของโจทก์ทั้งสองนี้โจทก์ทั้งสองได้รับเงินค่าทดแทนจากจำเลยตามจำนวนที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นกำหนดให้แล้วโจทก์ทั้งสองไม่พอใจจำนวนเงินค่าทดแทนจึงได้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเมื่อวันที่2มีนาคม2534และเมื่อโจทก์ทั้งสองไม่พอใจคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมก็ได้ใช้สิทธิฟ้องคดีขณะที่โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและฟ้องคดีทั้งสองสำนวนนี้นั้นเป็นเวลาภายหลังจากที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่44มีผลใช้บังคับแล้วศาลย่อมมีอำนาจพิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนโดยอาศัยกฎเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา9วรรคสี่ที่แก้ไขใหม่ตามประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่44โดยพิจารณาค่าทดแทนตามมาตรา18,21,22และ24ได้มิต้องพิจารณาเฉพาะมาตรา21(2)หรือ(3)ตามที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นกำหนดให้แก่โจทก์และไม่ต้องคำนึงถึงปัญหาว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมจะมีคำสั่งให้ดำเนินการแก้ไขราคาค่าทดแทนโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีแล้วหรือไม่ บัญชีพยานที่จำเลยขอระบุเพิ่มเติมเป็นพยานหลักฐานที่จะนำสืบว่าโจทก์ที่2ได้ขายที่ดินส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนไปเมื่อวันที่30มีนาคม2537โดยจดทะเบียนขายตามราคาประเมินตารางวาละประมาณ2,500บาทแต่ปรากฏจากฎีกาของจำเลยเองว่าราคาซื้อขายที่ดินดังกล่าวมิใช่ราคาซื้อขายกันจริงตามท้องตลาดราคาซื้อขายกันจริงอาจสูงกว่าตารางวาละ5,000บาทมากดังนั้นแม้จำเลยนำสืบได้ตามพยานหลักฐานที่ขอระบุพยานเพิ่มเติมดังกล่าวก็ไม่เป็นประโยชน์ในการที่นำมาประกอบการพิจารณากำหนดค่าทดแทนให้ต่ำลงกว่าที่ศาลกำหนดได้จึงไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะอนุญาตให้จำเลยระบุพยานนั้นเพิ่มเติม แม้เจ้าหน้าที่ของจำเลยเสนอสำเนาคำฟ้องและหมายเรียกให้อัยการจังหวัดขณะอัยการจังหวัดไม่อยู่ก็ต้องมีพนักงานอัยการอื่นที่รักษาราชการแทนและสามารถดำเนินการแทนกันได้และความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการนับวันของเจ้าหน้าที่รับสำนวนคดีแพ่งประจำสำนักงานอัยการจังหวัดของทนายจำเลยเป็นความบกพร่องของฝ่ายจำเลยการที่ทนายจำเลยเพิ่งได้รับสำเนาคำฟ้องและหมายเรียกซึ่งจำเลยกำหนดเวลายื่นคำให้การ1วันเพราะเหตุทั้งสองประการดังกล่าวข้างต้นมิใช่เหตุสุดวิสัยจำเลยไม่ยื่นคำให้การภายในกำหนดเพราะเกิดจากความบกพร่องของฝ่ายจำเลยถือได้ว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9777/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืน: หลักการคำนวณค่าทดแทนที่เป็นธรรมต่อผู้ถูกเวนคืนและสังคม โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อราคาที่ดินที่เหลือ
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ในคดีนี้เป็นการดำเนินการตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลสุรวงศ์ ตำบลสีลมอำเภอบางรัก และตำบลยานนาวา ตำบลทุ่งมหาเมฆ ตำบลทุ่งวัดดอน ตำบลช่องนนทรีอำเภอยานนาวา จังหวัดพระนคร พ.ศ.2511 และ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์ และแขวงสีลม เขตบางรัก และแขวงยานนาวา แขวงทุ่งมหาเมฆแขวงทุ่งวัดดอน และแขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2516แต่ภายหลังจาก พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 และประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มีผลใช้บังคับแล้ว การดำเนินการในเรื่องค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ที่ถูกเวนคืนก็ยังไม่เสร็จสิ้น ดังนั้นการดำเนินการต่อไปในเรื่องนี้จึงต้องดำเนินการตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหา-ริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ที่แก้ไขแล้ว ทั้งนี้เป็นไปตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 36 วรรคสอง และประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 ข้อ 4 วรรคหนึ่ง และเนื่องจาก พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์...พ.ศ. 2516 มิได้กำหนดเรื่องเงินค่าทดแทนไว้เป็นการเฉพาะ การกำหนดเงินค่าทดแทนจึงต้องบังคับตามบทบัญญัติมาตรา 21 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ซึ่งบัญญัติหลักการสำคัญไว้ในวรรคแรกว่า การกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้ถูกเวนคืนต้องให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม ส่วนที่มาตรา 21 วรรคสอง บัญญัติว่าถ้าการงานหรือกิจการอย่างใดที่ทำไปในการเวนคืน ได้กระทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลืออยู่นั้นมีราคาสูงขึ้น ให้เอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทน...และวรรคสามบัญญัติว่า ถ้าต้องเวนคืนอสังหาริมทรัพย์แต่เพียงส่วนหนึ่ง และส่วนที่เหลือนั้นราคาลดลงให้กำหนดเงินค่าทดแทนให้เฉพาะสำหรับส่วนที่เหลืออันราคาลดลงนั้นด้วยมาตรา 21 วรรคสองและวรรคสามนี้เป็นบทบัญญัติที่เป็นหลักการในการสนับสนุนให้การเวนคืนเป็นไปด้วยความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมโดยสมบูรณ์ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าการเวนคืนทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลืออยู่มีราคาสูงขึ้นแล้วหากไม่นำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทน ก็จะทำให้ผู้ถูกเวนคืนได้รับผลประโยชน์จากการเวนคืนแต่ฝ่ายเดียว ในทางตรงกันข้าม หากอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เหลือนั้นราคาลดลงแล้วหากผู้ถูกเวนคืนไม่ได้รับเงินค่าทดแทนในส่วนนี้ ก็ย่อมไม่เป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนซึ่งขัดต่อหลักการสำคัญของมาตรา 21 ที่ให้กำหนดค่าทดแทนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม ส่วนมาตรา 21 วรรคสี่นั้น เป็นเพียงวิธีการที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการสำคัญของมาตรา 21เท่านั้น แม้ยังไม่มี พ.ร.ฎ.กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณออกใช้บังคับแล้วตามมาตรา 21 วรรคสี่ ก็ไม่ใช่กรณีที่จะทำให้หลักการตามมาตรา 21 วรรคสองและวรรคสาม ใช้ไม่ได้ หากปรากฏชัดว่าที่ดินในส่วนที่เหลือของโจทก์มีราคาสูงขึ้นเพราะการเวนคืนแล้ว ก็ชอบที่จะนำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9777/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การประเมินราคาที่ดินที่สูงขึ้นจากการก่อสร้างถนนใหม่ และสิทธิเรียกร้องค่าทดแทน
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ในคดีนี้เป็นการดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกาเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลสุรวงศ์ตำบลสีลมอำเภอบางรักและตำบลยานนาวาตำบลทุ่งมหาเมฆตำบลทุ่งวัดดอนตำบลช่องนนทรีอำเภอยานนาวา จังหวัดพระนครพ.ศ.2511และพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์และแขวงสีลมเขตบางรักและแขวงยานนาวาแขวงทุ่งมหาเมฆแขวงทุ่งวัดดอนและแขวงช่องนนทรีเขตยานนาวา กรุงเทพมหานครพ.ศ.2516แต่ภายหลังจากพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530และประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่44เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มีผลใช้บังคับแล้วการดำเนินการในเรื่องค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ที่ถูกเวนคืนก็ยังไม่เสร็จสิ้นดังนั้นการดำเนินการต่อไปในเรื่องนี้จึงต้องดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ที่แก้ไขแล้วทั้งนี้เป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา36วรรคสองและประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่44ข้อ4วรรคหนึ่งและเนื่องจากพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์พ.ศ.2516มิได้กำหนดเรื่องเงินค่าทดแทนไว้เป็นการเฉพาะการกำหนดเงินค่าทดแทนจึงต้องบังคับตามบทบัญญัติมาตรา21แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ซึ่งบัญญัติหลักการสำคัญไว้ในวรรคแรกว่าการกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้ถูกเวนคืนต้องให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมส่วนที่มาตรา21วรรคสองบัญญัติว่าถ้าการงานหรือกิจการอย่างใดที่ทำไปในการเวนคืนได้กระทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลืออยู่นั้นมีราคาสูงขึ้นให้เอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทนและวรรคสามบัญญัติว่าถ้าต้องเวนคืนอสังหาริมทรัพย์แต่เพียงส่วนหนึ่งและส่วนที่เหลือนั้นราคาลดลงให้กำหนดเงินค่าทดแทนให้เฉพาะสำหรับส่วนที่เหลืออันราคาลดลงนั้นด้วยมาตรา21วรรคสองและวรรคสามนี้เป็นบทบัญญัติที่เป็นหลักการในการสนับสนุนให้การเวนคืนเป็นไปด้วยความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมโดยสมบูรณ์เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าการเวนคืนทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลืออยู่มีราคาสูงขึ้นแล้วหากไม่นำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทนก็จะทำให้ผู้ถูกเวนคืนได้รับผลประโยชน์จากการเวนคืนแต่ฝ่ายเดียวในทางตรงกันข้ามหากอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เหลือนั้นราคาลดลงแล้วหากผู้ถูกเวนคืนไม่ได้รับเงินค่าทดแทนในส่วนนี้ก็ย่อมไม่เป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนซึ่งขัดต่อหลักการสำคัญของมาตรา21ที่ให้กำหนดค่าทดแทนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมส่วนมาตรา21วรรคสี่นั้นเป็นเพียงวิธีการที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการสำคัญของมาตรา21เท่านั้นแม้ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณออกใช้บังคับแล้วตามมาตรา21วรรคสี่ก็ไม่ใช่กรณีที่จะทำให้หลักการตามมาตรา21วรรคสองและวรรคสามใช้ไม่ได้หากปรากฏชัดว่าที่ดินในส่วนที่เหลือของโจทก์มีราคาสูงขึ้นเพราะการเวนคืนแล้วก็ชอบที่จะนำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7276/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: หลักการกำหนดค่าทดแทนที่ยุติธรรมเมื่อราคาที่ดินที่เหลือสูงขึ้นจากการเวนคืน
กรณีของโจทก์ขณะที่ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2515 (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2530 มีผลใช้บังคับการดำเนินการตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างและขยายทางหลวง-เทศบาลฯ ยังไม่เสร็จสิ้น เพราะกรุงเทพมหานครจำเลยยังไม่ได้กำหนดค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืน ดังนั้น การดำเนินการต่อไปจึงต้องบังคับตามบทบัญญัติของพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ทั้งนี้เป็นไปตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2515(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2530 มาตรา 9 วรรคสอง และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหา-ริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 36 วรรคสอง แม้ต้องบังคับตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ซึ่งขณะที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์นั้นยังไม่มีการตรา พ.ร.ฎ.กำหนดวิธีการคำนวณว่าอสังหาริมทรัพย์ใดมีราคาสูงขึ้นหรือลดลงออกใช้บังคับก็ตาม แต่ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา21 วรรคสอง บัญญัติว่า ถ้าการงานหรือกิจการอย่างใด ที่ทำไปในการเวนคืน ได้กระทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลืออยู่นั้นมีราคาสูงขึ้นให้เอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทน...และวรรคสามบัญญัติว่า ถ้าต้องเวนคืนอสังหาริมทรัพย์แต่เพียงส่วนหนึ่ง และส่วนที่เหลือนั้นราคาลดลงให้กำหนดเงินค่าทดแทนให้เฉพาะสำหรับส่วนที่เหลืออันราคาลดลงนั้นด้วย มาตรา 21 วรรคสองและวรรคสามนี้เป็นบทบัญญัติที่เป็นหลักการในการสนับสนุนให้การเวนคืนเป็นไปตามด้วยความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมโดยสมบูรณ์เมื่อปรากฏว่าการเวนคืนทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลืออยู่มีราคาสูงขึ้นแล้วหากไม่นำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทน ก็จะทำให้ผู้ถูกเวนคืนได้รับผลประโยชน์จากการเวนคืนแต่ฝ่ายเดียว ในทางตรงกันข้าม หากอสังหา-ริมทรัพย์ส่วนที่เหลือนั้นราคาลดลงแล้วหากผู้ถูกเวนคืนไม่ได้รับเงินค่าทดแทนในส่วนนี้ ก็ย่อมไม่เป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนซึ่งขัดต่อหลักการสำคัญของมาตรา 21วรรคหนึ่ง ที่ให้กำหนดค่าทดแทนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม ส่วนมาตรา 21 วรรคสี่ นั้น เป็นเพียงวิธีการที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการสำคัญของมาตรา 21 วรรคหนึ่ง เท่านั้น แม้ยังไม่มี พ.ร.ฎ.กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณออกใช้บังคับแล้วตามมาตรา 21 วรรคสี่ ก็ไม่ใช่กรณีที่จะทำให้หลักการตามมาตรา 21 วรรคสอง และวรรคสาม ใช้ไม่ได้หากปรากฏชัดว่าที่ดินในส่วนที่เหลือของโจทก์มีราคาสูงขึ้นเพราะการเวนคืนแล้วฝ่ายจำเลยและศาลย่อมนำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทนที่โจทก์ได้รับได้
การเวนคืนที่ดินรายพิพาทนี้เป็นกรณีที่มีการใช้บังคับ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างและขยายทางหลวงเทศบาลฯ โดยมิได้มีการออกพ.ร.ฎ.และ พ.ร.บ.นี้มิได้กำหนดเรื่องเงินค่าทดแทนไว้เป็นอย่างอื่น กรณีจึงต้องตามมาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530ซึ่งหลักเกณฑ์ในการกำหนดค่าทดแทนต้องอนุโลมตามมาตรา 21 เมื่อที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนบางส่วนทำให้มีถนนผ่ากลางที่ดิน ที่ดินส่วนที่เหลือทั้งสองข้างกลายเป็นที่ดินติดถนนใหญ่กว้าง 40 เมตร คล้ายคลึงหรือใกล้เคียงกับถนนเพชรบุรีตัดใหม่โดยสภาพดังกล่าวย่อมเห็นประจักษ์ว่าที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนของโจทก์จะต้องมีราคาสูงขึ้นอย่างแน่นอน และพอจะนำมาเทียบเคียงกับราคาที่ดินที่ติดกับถนนเพชรบุรีตัดใหม่ได้ และจำเลยคำนวณราคาที่ดินที่สูงขึ้นเฉพาะส่วนที่ลึกจากริมถนนตัดใหม่ไม่เกิน 20 เมตร เท่านั้นเป็นเนื้อที่ 212 ตารางวา เป็นประโยชน์แก่โจทก์มากกว่าในบัญชีกำหนดราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมและนิติกรรมฯซึ่งกำหนดราคาในลักษณะนี้ไว้ไม่เกิน 40 เมตรอัตราส่วนของราคาประเมินที่ดินติดริมถนนเพชรบุรีกับราคาประเมินที่ดินติดถนนซอยสาธารณะลึกจากถนนเพชรบุรีตัดใหม่เข้าไปไม่เกิน 1 กิโลเมตร ตามบัญชีดังกล่าวทั้งหมดข้างต้นมีอัตราส่วนไม่ต่ำกว่า 4 : 1 จำนวนเนื้อที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนของโจทก์ที่มีราคาสูงขึ้นมีมากกว่าจำนวนที่ดินที่ถูกเวนคืนของโจทก์คือ212 : 166.5 ทั้งที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาประเมินต่อตารางวาสูงขึ้นจากเดิมมากกว่า 3 เท่าตัว และอัตราส่วนของราคาที่ดินดังกล่าวที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของแต่ละช่วงเวลาที่นำมาเปรียบเทียบข้างต้น คงมีอัตราส่วนที่ใกล้เคียงกันด้วย จึงเห็นได้ว่าการกำหนดค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนของโจทก์โดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 แล้ว แม้วันอันเป็นฐานที่ตั้งในการกำหนดเงินค่าทดแทนจะเปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็นวันใช้บังคับ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหา-ริมทรัพย์เพื่อสร้างและขยายทางหลวงเทศบาลฯ คือวันที่ 1 มกราคม 2522หรือวันหนึ่งวันใดหลังจากนั้น จนถึงวันฟ้องคือวันที่ 22 กันยายน 2535 ก็ตามผลก็จะปรากฏเหมือนกันว่า ที่ดินที่เหลือจากการถูกเวนคืนของโจทก์มีราคาสูงขึ้นจากเดิม อันเนื่องจากการเวนคืนตัดถนนเกินกว่าจำนวนเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่ถูกเวนคืนของโจทก์เสมอ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินส่วนที่ถูกเวนคืน
การเวนคืนที่ดินรายพิพาทนี้เป็นกรณีที่มีการใช้บังคับ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างและขยายทางหลวงเทศบาลฯ โดยมิได้มีการออกพ.ร.ฎ.และ พ.ร.บ.นี้มิได้กำหนดเรื่องเงินค่าทดแทนไว้เป็นอย่างอื่น กรณีจึงต้องตามมาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530ซึ่งหลักเกณฑ์ในการกำหนดค่าทดแทนต้องอนุโลมตามมาตรา 21 เมื่อที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนบางส่วนทำให้มีถนนผ่ากลางที่ดิน ที่ดินส่วนที่เหลือทั้งสองข้างกลายเป็นที่ดินติดถนนใหญ่กว้าง 40 เมตร คล้ายคลึงหรือใกล้เคียงกับถนนเพชรบุรีตัดใหม่โดยสภาพดังกล่าวย่อมเห็นประจักษ์ว่าที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนของโจทก์จะต้องมีราคาสูงขึ้นอย่างแน่นอน และพอจะนำมาเทียบเคียงกับราคาที่ดินที่ติดกับถนนเพชรบุรีตัดใหม่ได้ และจำเลยคำนวณราคาที่ดินที่สูงขึ้นเฉพาะส่วนที่ลึกจากริมถนนตัดใหม่ไม่เกิน 20 เมตร เท่านั้นเป็นเนื้อที่ 212 ตารางวา เป็นประโยชน์แก่โจทก์มากกว่าในบัญชีกำหนดราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมและนิติกรรมฯซึ่งกำหนดราคาในลักษณะนี้ไว้ไม่เกิน 40 เมตรอัตราส่วนของราคาประเมินที่ดินติดริมถนนเพชรบุรีกับราคาประเมินที่ดินติดถนนซอยสาธารณะลึกจากถนนเพชรบุรีตัดใหม่เข้าไปไม่เกิน 1 กิโลเมตร ตามบัญชีดังกล่าวทั้งหมดข้างต้นมีอัตราส่วนไม่ต่ำกว่า 4 : 1 จำนวนเนื้อที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนของโจทก์ที่มีราคาสูงขึ้นมีมากกว่าจำนวนที่ดินที่ถูกเวนคืนของโจทก์คือ212 : 166.5 ทั้งที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาประเมินต่อตารางวาสูงขึ้นจากเดิมมากกว่า 3 เท่าตัว และอัตราส่วนของราคาที่ดินดังกล่าวที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของแต่ละช่วงเวลาที่นำมาเปรียบเทียบข้างต้น คงมีอัตราส่วนที่ใกล้เคียงกันด้วย จึงเห็นได้ว่าการกำหนดค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนของโจทก์โดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 แล้ว แม้วันอันเป็นฐานที่ตั้งในการกำหนดเงินค่าทดแทนจะเปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็นวันใช้บังคับ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหา-ริมทรัพย์เพื่อสร้างและขยายทางหลวงเทศบาลฯ คือวันที่ 1 มกราคม 2522หรือวันหนึ่งวันใดหลังจากนั้น จนถึงวันฟ้องคือวันที่ 22 กันยายน 2535 ก็ตามผลก็จะปรากฏเหมือนกันว่า ที่ดินที่เหลือจากการถูกเวนคืนของโจทก์มีราคาสูงขึ้นจากเดิม อันเนื่องจากการเวนคืนตัดถนนเกินกว่าจำนวนเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่ถูกเวนคืนของโจทก์เสมอ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินส่วนที่ถูกเวนคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7276/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์การประเมินค่าทดแทนเมื่อที่ดินส่วนที่เหลือมีราคาสูงขึ้นจากการเวนคืน
กรณีของโจทก์ขณะที่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่295ลงวันที่28พฤศจิกายนพ.ศ.2515(ฉบับที่2)พ.ศ.2530มีผลใช้บังคับการดำเนินการตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างและขยายทางหลวงเทศบาลฯยังไม่เสร็จสิ้นเพราะกรุงเทพมหานครจำเลยยังไม่ได้กำหนดค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืนดังนั้นการดำเนินการต่อไปจึงต้องบังคับตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ทั้งนี้เป็นไปตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่295ลงวันที่28พฤศจิกายนพ.ศ.2515(ฉบับที่2)พ.ศ.2530มาตรา9วรรคสองและพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา36วรรคสองแม้ต้องบังคับตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ซึ่งขณะที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์นั้นยังไม่มีการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดวิธีการคำนวณว่าอสังหาริมทรัพย์ใดมีราคาสูงขึ้นหรือลดลงออกใช้บังคับก็ตามแต่พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา21วรรคสองบัญญัติว่าถ้าการงานหรือกิจการอย่างใดที่ทำไปในการเวนคืนได้กระทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลืออยู่นั้นมีราคาสูงขึ้นให้เอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทนและวรรคสามบัญญัติว่าถ้าต้องเวนคืนอสังหาริมทรัพย์แต่เพียงส่วนหนึ่งและส่วนที่เหลือนั้นราคาลดลงให้กำหนดเงินค่าทดแทนให้เฉพาะสำหรับส่วนที่เหลืออันราคาลดลงนั้นด้วยมาตรา21วรรคสองและวรรคสามนี้เป็นบทบัญญัติที่เป็นหลักการในการสนับสนุนให้การเวนคืนเป็นไปตามด้วยความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมโดยสมบูรณ์เมื่อปรากฏว่าการเวนคืนทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลืออยู่มีราคาสูงขึ้นแล้วหากไม่นำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทนก็จะทำให้ผู้ถูกเวนคืนได้รับผลประโยชน์จากการเวนคืนแต่ฝ่ายเดียวในทางตรงกันข้ามหากอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เหลือนั้นราคาลดลงแล้วหากผู้ถูกเวนคืนไม่ได้รับเงินค่าทดแทนในส่วนนี้ก็ย่อมไม่เป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนซึ่งขัดต่อหลักการสำคัญของมาตรา21วรรคหนึ่งที่ให้กำหนดค่าทดแทนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมส่วนมาตรา21วรรคสี่นั้นเป็นเพียงวิธีการที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการสำคัญของมาตรา21วรรคหนึ่งเท่านั้นแม้ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณออกใช้บังคับแล้วตามมาตรา21วรรคสี่ก็ไม่ใช่กรณีที่จะทำให้หลักการตามมาตรา21วรรคสองและวรรคสามใช้ไม่ได้หากปรากฏชัดว่าที่ดินในส่วนที่เหลือของโจทก์มีราคาสูงขึ้นเพราะการเวนคืนแล้วฝ่ายจำเลยและศาลย่อมนำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทนที่โจทก์ได้รับได้ การเวนคืนที่ดินรายพิพาทนี้เป็นกรณีที่มีการใช้บังคับพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างและขยายทางหลวงเทศบาลฯโดยมิได้มีการออกพระราชกฤษฎีกาและพระราชบัญญัตินี้มิได้กำหนดเรื่องเงินค่าทดแทนไว้เป็นอย่างอื่นกรณีจึงต้องตามมาตรา23แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ซึ่งหลักเกณฑ์ในการกำหนดค่าทดแทนต้องอนุโลมตามมาตรา21เมื่อที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนบางส่วนทำให้มีถนนผ่ากลางที่ดินที่ดินส่วนที่เหลือทั้งสองข้างกลายเป็นที่ดินติดถนนใหญ่กว้าง40เมตรคล้ายคลึงหรือใกล้เคียงกับถนนเพชรบุรีตัดใหม่โดยสภาพดังกล่าวย่อมเห็นประจักษ์ว่าที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนของโจทก์จะต้องมีราคาสูงขึ้นอย่างแน่นอนและพอจะนำมาเทียบเคียงกับราคาที่ดินที่ติดกับถนนเพชรบุรีตัดใหม่ได้และจำเลยคำนวณราคาที่ดินที่สูงขึ้นเฉพาะส่วนที่ลึกจากริมถนนตัดใหม่ไม่เกิน20เมตรเท่านั้นเป็นเนื้อที่212ตารางวาเป็นประโยชน์แก่โจทก์มากกว่าในบัญชีกำหนดราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมและนิติกรรมฯซึ่งกำหนดราคาในลักษณะนี้ไว้ไม่เกิน40เมตรอัตราส่วนของราคาประเมินที่ดินติดริมถนนเพชรบุรีกับราคาประเมินที่ดินติดถนนซอยสาธารณะลึกจากถนนเพชรบุรีตัดใหม่เข้าไปไม่เกิน1กิโลเมตรตามบัญชีดังกล่าวทั้งหมดข้างต้นมีอัตราส่วนไม่ต่ำกว่า4:1จำนวนเนื้อที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนของโจทก์ที่มีราคาสูงขึ้นมีมากกว่าจำนวนที่ดินที่ถูกเวนคืนของโจทก์คือ212:166.5ทั้งที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาประเมินต่อตารางวาสูงขึ้นจากเดิมมากกว่า3เท่าตัวและอัตราส่วนของราคาที่ดินดังกล่าวที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของแต่ละช่วงเวลาที่นำมาเปรียบเทียบข้างต้นคงมีอัตราส่วนที่ใกล้เคียงกันด้วยจึงเห็นได้ว่าการกำหนดค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนของโจทก์โดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ตามมาตรา21แล้วแม้วันอันเป็นฐานที่ตั้งในการกำหนดเงินค่าทดแทนจะเปลี่ยนไปไม่ว่าจะเป็นวันใช้บังคับพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างและขยายทางหลวงเทศบาลฯคือวันที่1มกราคม2522หรือวันหนึ่งวันใดหลังจากนั้นจนถึงวันฟ้องคือวันที่22กันยายน2535ก็ตามผลก็จะปรากฏเหมือนกันว่าที่ดินที่เหลือจากการถูกเวนคืนของโจทก์มีราคาสูงขึ้นจากเดิมอันเนื่องจากการเวนคืนตัดถนนเกินกว่าจำนวนเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่ถูกเวนคืนของโจทก์เสมอโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินส่วนที่ถูกเวนคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7102/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์การประเมินค่าทดแทนที่ถูกต้องตาม พ.ร.บ.เวนคืน และการกำหนดราคาตามปีที่ใช้บังคับ พ.ร.ฎ.แนวทางหลวง
ตาม พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดินสายคลองตัน - หนองงูเห่า และทางแยกเข้าหนองงูเห่า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2524และ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงหัวหมาก ฯ พ.ศ.2532 ที่กำหนดให้อธิบดีกรมทางหลวงเท่านั้นที่เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนก็เพื่อให้อธิบดีกรมทางหลวงเป็นผู้ดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินตามกฎหมายดังกล่าวเพื่อใช้ในการสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 343 สายคลองตัน - ลาดกระบัง ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 6 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะที่พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับนี้ประกาศใช้เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นอธิบดีของจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของจำเลยที่ 1 ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 เรื่อง ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ข้อ 32 ดังนั้นจึงแสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 2 ในฐานะอธิบดีกรมทางหลวงเป็นผู้แทนกรมทางหลวงจำเลยที่ 1 ในการดำเนินการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 343 สายคลองตัน - ลาดกระบัง โจทก์ทั้งสิบสองจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง แม้ในช่องคู่ความตามคำฟ้องของโจทก์มิได้ระบุโดยชัดแจ้งว่าฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะอธิบดีกรมทางหลวง แต่โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 2 เป็นอธิบดีกรมทางหลวงซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์และขอให้รับผิดชอบชำระเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนแก่โจทก์ทั้งสิบสอง ส่วนการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 2 ที่กรมการขนส่งทางบกก็เนื่องจากจำเลยที่ 2 ย้ายไปรับราชการที่กรมการขนส่งทางบกแล้ว จึงหาใช่ฟ้องจำเลยที่ 2ให้รับผิดเป็นส่วนตัวไม่
สำหรับโจทก์ที่ 8 ที่ไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวง-คมนาคมนั้น ปรากฏว่าโจทก์ที่ 7 และที่ 8 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันในที่ดินที่ถูกเวนคืน โจทก์ที่ 7 เป็นผู้ยื่นอุทธรณ์ ย่อมเป็นการใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอก อันเป็นผลถึงโจทก์ที่ 8 ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมด้วยตาม ป.พ.พ.มาตรา 1359 โจทก์ที่ 8 จึงมีอำนาจฟ้องเช่นเดียวกัน
คำฟ้องของโจทก์ทั้งสิบสองได้บรรยายความเป็นมาแห่งคดีเกี่ยวกับการที่จำเลยทั้งสองเวนคืนที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองว่า จำเลยทั้งสองได้นำเงินค่าทดแทนที่ดินไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์กลาง กรมบังคับคดี เมื่อวันที่ 13มีนาคม 2535 เพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 11 และนำไปวางที่สำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่ 5 เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2535 เพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์ที่ 12 โจทก์ทั้งสิบสองไม่พอใจจำนวนเงินค่าทดแทนที่ดินจึงอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มให้โจทก์ทั้งสิบสองเป็นตารางวาละ 12,000 บาท แต่โจทก์ทั้งสิบสองเห็นว่ายังไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ทั้งสิบสอง จึงขอบังคับให้จำเลยทั้งสองชำระเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มแก่โจทก์ทั้งสิบสอง คำฟ้องของโจทก์ทั้งสิบสองจึงแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับรวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ตามป.พ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ซึ่งจำเลยทั้งสองก็ให้การต่อสู้คดีได้ถูกต้องแสดงว่าจำเลยทั้งสองเข้าใจข้อกล่าวหาตามคำฟ้องเป็นอย่างดี ส่วนข้อที่ว่าโจทก์ทั้งสิบสองได้รับแจ้งให้ไปรับเงินค่าทดแทนเมื่อใดและยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการ-กระทรวงคมนาคมเมื่อใดก็เป็นเพียงรายละเอียดที่จะนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์ทั้งสิบสองจึงไม่เคลือบคลุม
ที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองถูกเวนคืนโดย พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ...กรุงเทพมหานคร เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 343 สายคลองตัน - ลาดกระบัง พ.ศ.2532 ซึ่งขณะนั้นพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ใช้บังคับอยู่ แต่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นได้กำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองที่ถูกเวนคืนและมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 11 ทราบเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2534 และแจ้งให้โจทก์ที่ 12 ทราบเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2535 อันเป็นเวลาภายหลังที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 ที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ซึ่งใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2534มีผลใช้บังคับแล้ว การที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นเพิ่งแจ้งราคาค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองให้โจทก์ทั้งสิบสองทราบภายหลังประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับและโจทก์ทั้งสิบสองฟ้องคดีนี้ต่อมาการกำหนดราคาค่าทดแทนจึงยังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติดังกล่าวมีผลใช้บังคับ การกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองจึงต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44ดังนั้น การกำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์ทั้งสิบสองของคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นจึงต้องพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 21 (1) ถึง (5) มิใช่กำหนดค่าทดแทนตามราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมแต่เพียงอย่างเดียวดังที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นปฏิบัติ แต่เนื่องจากที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองถูกเวนคืนโดย พ.ร.บ.เวนคืนอสังหา-ริมทรัพย์ในท้องที่แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ...กรุงเทพมหานคร เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 343 สายคลองตัน - ลาดกระบัง พ.ศ.2532 โดยมีการออก พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดินสายคลองตัน -หนองงูเห่า และทางแยกเข้าหนองงูเห่า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2524 ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2524 กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างไว้ก่อน และเมื่อพ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ...กรุงเทพ-มหานคร เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 343 สายคลองตัน - ลาดกระบังพ.ศ.2532 ไม่มีบทบัญญัติเป็นพิเศษในเรื่องเงินค่าทดแทนไว้ จึงต้องกำหนดเงินค่าทดแทนโดยใช้ราคาในวันใช้บังคับ พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดินสายคลองตัน - หนองงูเห่า และทางแยกเข้าหนองงูเห่า(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2524 คือวันที่ 20 มีนาคม 2524 เป็นเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทน แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่า คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นเพิ่งจะตกลงกำหนดเงินค่าทดแทนและแจ้งให้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 11 ทราบเมื่อวันที่ 23ธันวาคม 2534 และแจ้งให้โจทก์ที่ 12 ทราบเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2535หลังจาก พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดิน สายคลองตัน -หนองงูเห่า และทางแยกเข้าหนองงูเห่า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2524 ใช้บังคับนานถึง 10 ปีเศษ การที่จะกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสิบสองโดยใช้ราคาที่ดินในปี 2524 เป็นเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทนจึงย่อมไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ทั้งสิบสอง เพราะไม่ถูกต้องตามหลักการแห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 21 วรรคหนึ่ง ตอนท้ายที่ว่า "ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม" และขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 มาตรา 33 วรรคสาม ที่ใช้บังคับในขณะที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นพิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสิบสอง ซึ่งมีหลักการสำคัญว่าการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ต้องชดใช้ค่าทดแทนภายในเวลาอันสมควร ดังนั้นการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสิบสองโดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (5) แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 จึงต้องพิจารณาจากราคาที่ดินที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนประกอบราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่กับราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ตลอดจนสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์นั้นในปี 2532 ซึ่งเป็นปีที่ พ.ร.บ.ที่เวนคืนที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองใช้บังคับ จึงจะเป็นธรรมแก่โจทก์ทั้งสิบสอง ที่ศาลอุทธรณ์ให้นำราคาที่ดินในปี 2532 มาพิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสิบสอง จึงถูกต้องเหมาะสมและเป็นธรรมแล้ว
ในวันที่ 13 มีนาคม 2535 จำเลยที่ 1 นำเงินค่าทดแทนไปวางเพื่อชำระเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 11 และวันที่ 6 กรกฎาคม 2535จำเลยที่ 1 นำเงินค่าทดแทนไปวางเพื่อชำระเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ที่ 12 จำเลยทั้งสองจึงต้องชำระดอกเบี้ยในเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์ทั้งสิบสองนับแต่วันวางเงินค่าทดแทนดังกล่าว ส่วนจะได้รับดอกเบี้ยในอัตราเท่าใดก็เป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลง ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 26 วรรคสาม
เอกสารหมาย ล.59 และ ล.60 มิใช่หนังสืออุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 11 ที่ยื่นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม แต่เป็นหนังสือขอความเป็นธรรม และในขณะยื่นเอกสารดังกล่าว สิทธิในการยื่นอุทธรณ์เงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 11 ยังไม่เกิดขึ้น แต่ได้เกิดขึ้นภายหลังจากที่จำเลยทั้งสองแจ้งให้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 11 ไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินที่จำเลยทั้งสองนำไปวางไว้ ณ สำนักงานวางทรัพย์กลาง กรมบังคับคดีเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2535 ตามหนังสือแจ้งการวางทรัพย์ลงวันที่ 17 มีนาคม 2535การที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 11 ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2535 วันที่ 7 และ 12 พฤษภาคม 2535 โดยอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 7 ถือว่ายื่นในนามของโจทก์ที่ 8 ที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินที่ถูกเวนคืนด้วย จึงไม่ได้เป็นการยื่นอุทธรณ์ซ้ำซ้อน และเป็นการยื่นอุทธรณ์โดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งได้ยื่นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือจากจำเลยทั้งสองแจ้งให้ไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินที่จำเลยทั้งสองได้นำไปวางไว้ที่สำนักงานวางทรัพย์กลาง กรมบังคับคดี และโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 11 ได้ฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลชั้นต้น เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2536 ยังไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่พ้นกำหนด60 วัน ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้น คดีโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 11 จึงไม่ขาดอายุความ
สำหรับโจทก์ที่ 8 ที่ไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวง-คมนาคมนั้น ปรากฏว่าโจทก์ที่ 7 และที่ 8 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันในที่ดินที่ถูกเวนคืน โจทก์ที่ 7 เป็นผู้ยื่นอุทธรณ์ ย่อมเป็นการใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอก อันเป็นผลถึงโจทก์ที่ 8 ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมด้วยตาม ป.พ.พ.มาตรา 1359 โจทก์ที่ 8 จึงมีอำนาจฟ้องเช่นเดียวกัน
คำฟ้องของโจทก์ทั้งสิบสองได้บรรยายความเป็นมาแห่งคดีเกี่ยวกับการที่จำเลยทั้งสองเวนคืนที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองว่า จำเลยทั้งสองได้นำเงินค่าทดแทนที่ดินไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์กลาง กรมบังคับคดี เมื่อวันที่ 13มีนาคม 2535 เพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 11 และนำไปวางที่สำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่ 5 เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2535 เพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์ที่ 12 โจทก์ทั้งสิบสองไม่พอใจจำนวนเงินค่าทดแทนที่ดินจึงอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มให้โจทก์ทั้งสิบสองเป็นตารางวาละ 12,000 บาท แต่โจทก์ทั้งสิบสองเห็นว่ายังไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ทั้งสิบสอง จึงขอบังคับให้จำเลยทั้งสองชำระเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มแก่โจทก์ทั้งสิบสอง คำฟ้องของโจทก์ทั้งสิบสองจึงแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับรวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ตามป.พ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ซึ่งจำเลยทั้งสองก็ให้การต่อสู้คดีได้ถูกต้องแสดงว่าจำเลยทั้งสองเข้าใจข้อกล่าวหาตามคำฟ้องเป็นอย่างดี ส่วนข้อที่ว่าโจทก์ทั้งสิบสองได้รับแจ้งให้ไปรับเงินค่าทดแทนเมื่อใดและยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการ-กระทรวงคมนาคมเมื่อใดก็เป็นเพียงรายละเอียดที่จะนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์ทั้งสิบสองจึงไม่เคลือบคลุม
ที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองถูกเวนคืนโดย พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ...กรุงเทพมหานคร เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 343 สายคลองตัน - ลาดกระบัง พ.ศ.2532 ซึ่งขณะนั้นพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ใช้บังคับอยู่ แต่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นได้กำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองที่ถูกเวนคืนและมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 11 ทราบเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2534 และแจ้งให้โจทก์ที่ 12 ทราบเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2535 อันเป็นเวลาภายหลังที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 ที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ซึ่งใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2534มีผลใช้บังคับแล้ว การที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นเพิ่งแจ้งราคาค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองให้โจทก์ทั้งสิบสองทราบภายหลังประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับและโจทก์ทั้งสิบสองฟ้องคดีนี้ต่อมาการกำหนดราคาค่าทดแทนจึงยังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติดังกล่าวมีผลใช้บังคับ การกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองจึงต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44ดังนั้น การกำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์ทั้งสิบสองของคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นจึงต้องพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 21 (1) ถึง (5) มิใช่กำหนดค่าทดแทนตามราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมแต่เพียงอย่างเดียวดังที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นปฏิบัติ แต่เนื่องจากที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองถูกเวนคืนโดย พ.ร.บ.เวนคืนอสังหา-ริมทรัพย์ในท้องที่แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ...กรุงเทพมหานคร เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 343 สายคลองตัน - ลาดกระบัง พ.ศ.2532 โดยมีการออก พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดินสายคลองตัน -หนองงูเห่า และทางแยกเข้าหนองงูเห่า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2524 ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2524 กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างไว้ก่อน และเมื่อพ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ...กรุงเทพ-มหานคร เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 343 สายคลองตัน - ลาดกระบังพ.ศ.2532 ไม่มีบทบัญญัติเป็นพิเศษในเรื่องเงินค่าทดแทนไว้ จึงต้องกำหนดเงินค่าทดแทนโดยใช้ราคาในวันใช้บังคับ พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดินสายคลองตัน - หนองงูเห่า และทางแยกเข้าหนองงูเห่า(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2524 คือวันที่ 20 มีนาคม 2524 เป็นเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทน แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่า คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นเพิ่งจะตกลงกำหนดเงินค่าทดแทนและแจ้งให้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 11 ทราบเมื่อวันที่ 23ธันวาคม 2534 และแจ้งให้โจทก์ที่ 12 ทราบเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2535หลังจาก พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดิน สายคลองตัน -หนองงูเห่า และทางแยกเข้าหนองงูเห่า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2524 ใช้บังคับนานถึง 10 ปีเศษ การที่จะกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสิบสองโดยใช้ราคาที่ดินในปี 2524 เป็นเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทนจึงย่อมไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ทั้งสิบสอง เพราะไม่ถูกต้องตามหลักการแห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 21 วรรคหนึ่ง ตอนท้ายที่ว่า "ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม" และขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 มาตรา 33 วรรคสาม ที่ใช้บังคับในขณะที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นพิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสิบสอง ซึ่งมีหลักการสำคัญว่าการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ต้องชดใช้ค่าทดแทนภายในเวลาอันสมควร ดังนั้นการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสิบสองโดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (5) แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 จึงต้องพิจารณาจากราคาที่ดินที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนประกอบราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่กับราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ตลอดจนสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์นั้นในปี 2532 ซึ่งเป็นปีที่ พ.ร.บ.ที่เวนคืนที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองใช้บังคับ จึงจะเป็นธรรมแก่โจทก์ทั้งสิบสอง ที่ศาลอุทธรณ์ให้นำราคาที่ดินในปี 2532 มาพิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสิบสอง จึงถูกต้องเหมาะสมและเป็นธรรมแล้ว
ในวันที่ 13 มีนาคม 2535 จำเลยที่ 1 นำเงินค่าทดแทนไปวางเพื่อชำระเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 11 และวันที่ 6 กรกฎาคม 2535จำเลยที่ 1 นำเงินค่าทดแทนไปวางเพื่อชำระเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ที่ 12 จำเลยทั้งสองจึงต้องชำระดอกเบี้ยในเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์ทั้งสิบสองนับแต่วันวางเงินค่าทดแทนดังกล่าว ส่วนจะได้รับดอกเบี้ยในอัตราเท่าใดก็เป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลง ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 26 วรรคสาม
เอกสารหมาย ล.59 และ ล.60 มิใช่หนังสืออุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 11 ที่ยื่นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม แต่เป็นหนังสือขอความเป็นธรรม และในขณะยื่นเอกสารดังกล่าว สิทธิในการยื่นอุทธรณ์เงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 11 ยังไม่เกิดขึ้น แต่ได้เกิดขึ้นภายหลังจากที่จำเลยทั้งสองแจ้งให้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 11 ไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินที่จำเลยทั้งสองนำไปวางไว้ ณ สำนักงานวางทรัพย์กลาง กรมบังคับคดีเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2535 ตามหนังสือแจ้งการวางทรัพย์ลงวันที่ 17 มีนาคม 2535การที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 11 ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2535 วันที่ 7 และ 12 พฤษภาคม 2535 โดยอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 7 ถือว่ายื่นในนามของโจทก์ที่ 8 ที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินที่ถูกเวนคืนด้วย จึงไม่ได้เป็นการยื่นอุทธรณ์ซ้ำซ้อน และเป็นการยื่นอุทธรณ์โดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งได้ยื่นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือจากจำเลยทั้งสองแจ้งให้ไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินที่จำเลยทั้งสองได้นำไปวางไว้ที่สำนักงานวางทรัพย์กลาง กรมบังคับคดี และโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 11 ได้ฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลชั้นต้น เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2536 ยังไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่พ้นกำหนด60 วัน ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้น คดีโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 11 จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6720/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเวนคืน: เจ้าหน้าที่, รัฐมนตรี, และการคำนวณค่าทดแทนเมื่อราคาที่ดินสูงขึ้น
ในขณะที่ทางราชการเวนคืนที่ดินของโจทก์ จำเลยที่ 2ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจำเลยที่ 1 อยู่ แต่ขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ จำเลยที่ 2 พ้นจากตำแหน่งหน้าที่ดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่แขวงยานนาวาแขวงทุ่งวัดดอน และแขวงบางโคล่ เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2531อีกต่อไป การที่ พ.ร.ฎ.ดังกล่าวกำหนดให้ผู้ว่าราชการจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน เป็นการกำหนดโดยตำแหน่งหน้าที่ มิใช่เป็นการกำหนดในนามส่วนตัว ดังนั้นเมื่อขณะฟ้องคดีจำเลยที่ 2 พ้นจากตำแหน่งหน้าที่ผู้ว่าราชการจำเลยที่ 1 โดยมีจำเลยที่ 3 เข้ารับตำแหน่งหน้าที่แทนแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2
กระทรวงมหาดไทยจำเลยที่ 4 เป็นกระทรวงในรัฐบาลมีฐานะเป็นนิติบุคคลและมีรัฐมนตรีว่าการจำเลยที่ 4 เป็นผู้กำกับดูแลงานของจำเลยที่ 4 โดยตรง เมื่อ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่แขวงยานนาวา แขวงทุ่งวัดดอน และแขวงบางโคล่ เขตยานนาวากรุงเทพมหานคร พ.ศ.2531 บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการจำเลยที่ 4 รักษาการตาม พ.ร.ฎ.ฉบับดังกล่าว รัฐมนตรีว่าการจำเลยที่ 4 ก็มีอำนาจในการแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ และมีอำนาจวินิจฉัยหรือไม่วินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 อันเป็นหน้าที่ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่แขวงยานนาวา แขวงทุ่งวัดดอน และแขวงบางโคล่เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2531 ซึ่งหมายถึงว่ารัฐมนตรีว่าการจำเลยที่ 4 กระทำการดังกล่าวในนามจำเลยที่ 4 นั่นเอง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 4
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 21 วรรคสอง กำหนดเป็นหลักการไว้ว่า ถ้าการเวนคืนรายใดทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนนั้นมีราคาสูงขึ้นก็ให้เอาราคาที่สูงขึ้นหักออกจากเงินค่าทดแทนที่จะต้องจ่ายให้แก่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืน ส่วนในวรรคสี่ได้กำหนดถึงวิธีการคำนวณราคาที่สูงขึ้นของอสังหาริมทรัพย์ตามวรรคสองว่าให้ใช้หลักเกณฑ์ตามที่กำหนดใน พ.ร.ฎ. ดังนั้น หากการเวนคืนทำให้ที่ดินที่เหลือของโจทก์มีราคาสูงขึ้นจึงต้องเป็นไปตามหลักการที่มาตรา 21 วรรคสอง บัญญัติไว้ส่วนวิธีการคำนวณหาราคาที่สูงขึ้นดังกล่าว เมื่อขณะที่ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนยังไม่มี พ.ร.ฎ.ตามที่มาตรา 21 วรรคสี่ บัญญัติไว้ออกใช้บังคับ ก็จะต้องอาศัยหลักเกณฑ์ที่เห็นว่าเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมมาใช้ เมื่อปรากฏว่าที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาสูงขึ้นเป็นจำนวนมากกว่าเงินค่าทดแทนที่โจทก์มีสิทธิได้รับ จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนแก่โจทก์
กระทรวงมหาดไทยจำเลยที่ 4 เป็นกระทรวงในรัฐบาลมีฐานะเป็นนิติบุคคลและมีรัฐมนตรีว่าการจำเลยที่ 4 เป็นผู้กำกับดูแลงานของจำเลยที่ 4 โดยตรง เมื่อ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่แขวงยานนาวา แขวงทุ่งวัดดอน และแขวงบางโคล่ เขตยานนาวากรุงเทพมหานคร พ.ศ.2531 บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการจำเลยที่ 4 รักษาการตาม พ.ร.ฎ.ฉบับดังกล่าว รัฐมนตรีว่าการจำเลยที่ 4 ก็มีอำนาจในการแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ และมีอำนาจวินิจฉัยหรือไม่วินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 อันเป็นหน้าที่ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่แขวงยานนาวา แขวงทุ่งวัดดอน และแขวงบางโคล่เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2531 ซึ่งหมายถึงว่ารัฐมนตรีว่าการจำเลยที่ 4 กระทำการดังกล่าวในนามจำเลยที่ 4 นั่นเอง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 4
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 21 วรรคสอง กำหนดเป็นหลักการไว้ว่า ถ้าการเวนคืนรายใดทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนนั้นมีราคาสูงขึ้นก็ให้เอาราคาที่สูงขึ้นหักออกจากเงินค่าทดแทนที่จะต้องจ่ายให้แก่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืน ส่วนในวรรคสี่ได้กำหนดถึงวิธีการคำนวณราคาที่สูงขึ้นของอสังหาริมทรัพย์ตามวรรคสองว่าให้ใช้หลักเกณฑ์ตามที่กำหนดใน พ.ร.ฎ. ดังนั้น หากการเวนคืนทำให้ที่ดินที่เหลือของโจทก์มีราคาสูงขึ้นจึงต้องเป็นไปตามหลักการที่มาตรา 21 วรรคสอง บัญญัติไว้ส่วนวิธีการคำนวณหาราคาที่สูงขึ้นดังกล่าว เมื่อขณะที่ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนยังไม่มี พ.ร.ฎ.ตามที่มาตรา 21 วรรคสี่ บัญญัติไว้ออกใช้บังคับ ก็จะต้องอาศัยหลักเกณฑ์ที่เห็นว่าเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมมาใช้ เมื่อปรากฏว่าที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาสูงขึ้นเป็นจำนวนมากกว่าเงินค่าทดแทนที่โจทก์มีสิทธิได้รับ จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5776/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์การประเมินค่าทดแทนที่เป็นธรรม โดยพิจารณาจากราคาตลาดปัจจุบัน และหักค่าที่ดินเหลือจากการเวนคืน
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์.....พ.ศ.2516 เพิ่งแจ้งราคาค่าทดแทนที่ดินของ ส.ที่ถูกเวนคืนให้ ส.ทราบเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2534 และได้มีการฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2535 การกำหนดราคาค่าทดแทนเบื้องต้นจึงยังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 มีผลใช้บังคับการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนจึงต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 ดังนั้น การกำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้แก่ ส.ของคณะกรรมการฯจึงต้องพิจารณากำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 มาตรา 21
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของ ส.เป็นการเวนคืนตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์และแขวงสีลม เขตบางรัก และแขวงยานนาวา แขวงทุ่งมหาเมฆ แขวงทุ่งวัดดอน และแขวงช่องนนทรี เขตยานนาวากรุงเทพมหานคร พ.ศ.2516 โดยมีการออก พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลสุรวงศ์ ตำบลสีลม อำเภอบางรัก และตำบลยานนาวา ตำบลทุ่งมหาเมฆ ตำบลทุ่งวัดดอน ตำบลช่องนนทรี อำเภอยานนาวา จังหวัดพระนครพ.ศ.2506 และ พ.ศ.2511 ซึ่ง พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลสุรวงศ์... พ.ศ.2506 สิ้นอายุและได้มีการออก พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลสุรวงศ์.....พ.ศ.2511 ซึ่งมีผลใช้บังคับในวันที่ 16 ตุลาคม 2511 เมื่อ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์..... พ.ศ.2516 ไม่มีบทบัญญัติเป็นพิเศษในเรื่องเงินค่าทดแทนไว้จึงต้องกำหนดเงินค่าทดแทนโดยใช้ราคาในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลสุรวงศ์..... พ.ศ.2511 คือวันที่16 ตุลาคม 2511 เป็นเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทน แต่ได้ความต่อไปว่าหลังจากที่ได้มี พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์....พ.ศ.2516ใช้บังคับแล้ว ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 1 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จำเลยที่ 2 ก็มิได้ดำเนินการชดใช้ค่าทดแทนให้แก่ ส.ในเวลาอันควรและจำเลยที่ 2 เพิ่งจะมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหา-ริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์..... พ.ศ.2516 และคณะกรรมการดังกล่าวเพิ่งจะพิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้แก่ ส.ในปี 2531 เช่นนี้ ย่อมทำให้ส.ได้รับความเสียหายและเป็นระยะเวลาล่วงเลยหลังจากที่ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์.....พ.ศ.2516 ใช้บังคับแล้วนานเกินสมควร การที่จะกำหนดเงินค่าทดแทนให้โดยพิจารณาราคาที่ดินในปี พ.ศ.2511เป็นเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทนนั้นย่อมไม่เป็นธรรมแก่ ส.ไม่ถูกต้องตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 21 วรรคหนึ่งตอนท้าย และยังขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521มาตรา 33 วรรค 3 ดังนั้นการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของ ส.ที่ถูกเวนคืนโดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (5) จึงต้องพิจารณาจากราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนประกอบราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่รวมทั้งราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ตลอดจนสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์นั้น ในปี 2531 ซึ่งเป็นปีที่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงค์.....พ.ศ.2516 และเป็นปีที่คณะกรรมการดังกล่าวได้พิจารณาเงินค่าทดแทน จึงจะเป็นธรรมแก่ ส.ผู้ถูกเวนคืน
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 มาตรา14 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 21ต่างมีเจตนารมณ์ที่จะให้นำเอาราคาที่สูงขึ้นของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนและราคาที่สูงขึ้นนั้นเนื่องมาจากการงานหรือกิจการอย่างใดที่ทำไปในการเวนคืนนำไปหักออกจากเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนได้ แม้ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 21 วรรคสี่ ซึ่งใช้บังคับแก่การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในคดีนี้ จะบัญญัติให้การคำนวณอสังหาริมทรัพย์ใดมีราคาสูงขึ้นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาและไม่มีพ.ร.ฎ.กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการในการคำนวณราคาอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนก็ตาม แต่คณะกรรมการฯย่อมชอบที่จะนำเอาราคาที่สูงขึ้นของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนหักออกจากเงินค่าทดแทนได้ตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ 2530 ทั้งนี้โดยพิจารณาตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมเหตุสมผลและที่วิญญูชนจะพึงพิจารณา ทั้งนี้เพื่อมิให้เกิดการได้เปรียบต่อรัฐและมิให้เอกชนเจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนบางส่วนได้ประโยชน์เกินสมควรอันไม่เป็นธรรมแก่สังคม
การที่จะพิจารณาว่ามีที่ดินเหลือจากการเวนคืนหรือไม่ย่อมต้องพิจารณาถึงจำนวนเนื้อที่ดินทั้งหมดตามโฉนดของ ส.ที่มีอยู่ในขณะมีการดำเนินการเวนคืนไม่ใช่กรณีเกิดขึ้นภายหลังการเวนคืน แม้ภายหลัง ส.จะได้แบ่งแยกที่ดินโฉนดที่ถูกเวนคืนออกเป็นแปลงย่อยและโอนที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนให้แก่บุตรก็ยังถือว่าเป็นที่ดินแปลงเดียวกันกับที่ดินที่เหลือจากการเวนคืน และนำที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนที่มีราคาเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากการเวนคืนเพื่อตัดถนนและทำระบบระบายน้ำมาหักออกจากค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่ถูกเวนคืนได้
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของ ส.เป็นการเวนคืนตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์และแขวงสีลม เขตบางรัก และแขวงยานนาวา แขวงทุ่งมหาเมฆ แขวงทุ่งวัดดอน และแขวงช่องนนทรี เขตยานนาวากรุงเทพมหานคร พ.ศ.2516 โดยมีการออก พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลสุรวงศ์ ตำบลสีลม อำเภอบางรัก และตำบลยานนาวา ตำบลทุ่งมหาเมฆ ตำบลทุ่งวัดดอน ตำบลช่องนนทรี อำเภอยานนาวา จังหวัดพระนครพ.ศ.2506 และ พ.ศ.2511 ซึ่ง พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลสุรวงศ์... พ.ศ.2506 สิ้นอายุและได้มีการออก พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลสุรวงศ์.....พ.ศ.2511 ซึ่งมีผลใช้บังคับในวันที่ 16 ตุลาคม 2511 เมื่อ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์..... พ.ศ.2516 ไม่มีบทบัญญัติเป็นพิเศษในเรื่องเงินค่าทดแทนไว้จึงต้องกำหนดเงินค่าทดแทนโดยใช้ราคาในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลสุรวงศ์..... พ.ศ.2511 คือวันที่16 ตุลาคม 2511 เป็นเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทน แต่ได้ความต่อไปว่าหลังจากที่ได้มี พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์....พ.ศ.2516ใช้บังคับแล้ว ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 1 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จำเลยที่ 2 ก็มิได้ดำเนินการชดใช้ค่าทดแทนให้แก่ ส.ในเวลาอันควรและจำเลยที่ 2 เพิ่งจะมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหา-ริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์..... พ.ศ.2516 และคณะกรรมการดังกล่าวเพิ่งจะพิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้แก่ ส.ในปี 2531 เช่นนี้ ย่อมทำให้ส.ได้รับความเสียหายและเป็นระยะเวลาล่วงเลยหลังจากที่ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์.....พ.ศ.2516 ใช้บังคับแล้วนานเกินสมควร การที่จะกำหนดเงินค่าทดแทนให้โดยพิจารณาราคาที่ดินในปี พ.ศ.2511เป็นเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทนนั้นย่อมไม่เป็นธรรมแก่ ส.ไม่ถูกต้องตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 21 วรรคหนึ่งตอนท้าย และยังขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521มาตรา 33 วรรค 3 ดังนั้นการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของ ส.ที่ถูกเวนคืนโดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (5) จึงต้องพิจารณาจากราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนประกอบราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่รวมทั้งราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ตลอดจนสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์นั้น ในปี 2531 ซึ่งเป็นปีที่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงค์.....พ.ศ.2516 และเป็นปีที่คณะกรรมการดังกล่าวได้พิจารณาเงินค่าทดแทน จึงจะเป็นธรรมแก่ ส.ผู้ถูกเวนคืน
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 มาตรา14 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 21ต่างมีเจตนารมณ์ที่จะให้นำเอาราคาที่สูงขึ้นของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนและราคาที่สูงขึ้นนั้นเนื่องมาจากการงานหรือกิจการอย่างใดที่ทำไปในการเวนคืนนำไปหักออกจากเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนได้ แม้ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 21 วรรคสี่ ซึ่งใช้บังคับแก่การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในคดีนี้ จะบัญญัติให้การคำนวณอสังหาริมทรัพย์ใดมีราคาสูงขึ้นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาและไม่มีพ.ร.ฎ.กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการในการคำนวณราคาอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนก็ตาม แต่คณะกรรมการฯย่อมชอบที่จะนำเอาราคาที่สูงขึ้นของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนหักออกจากเงินค่าทดแทนได้ตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ 2530 ทั้งนี้โดยพิจารณาตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมเหตุสมผลและที่วิญญูชนจะพึงพิจารณา ทั้งนี้เพื่อมิให้เกิดการได้เปรียบต่อรัฐและมิให้เอกชนเจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนบางส่วนได้ประโยชน์เกินสมควรอันไม่เป็นธรรมแก่สังคม
การที่จะพิจารณาว่ามีที่ดินเหลือจากการเวนคืนหรือไม่ย่อมต้องพิจารณาถึงจำนวนเนื้อที่ดินทั้งหมดตามโฉนดของ ส.ที่มีอยู่ในขณะมีการดำเนินการเวนคืนไม่ใช่กรณีเกิดขึ้นภายหลังการเวนคืน แม้ภายหลัง ส.จะได้แบ่งแยกที่ดินโฉนดที่ถูกเวนคืนออกเป็นแปลงย่อยและโอนที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนให้แก่บุตรก็ยังถือว่าเป็นที่ดินแปลงเดียวกันกับที่ดินที่เหลือจากการเวนคืน และนำที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนที่มีราคาเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากการเวนคืนเพื่อตัดถนนและทำระบบระบายน้ำมาหักออกจากค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่ถูกเวนคืนได้