พบผลลัพธ์ทั้งหมด 92 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13678/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยสิ่งอื่นแทนเงิน การยอมรับของเจ้าหนี้ และผลของการตกลงเพิ่มเติมที่ขัดแย้งกับกฎหมาย
ป.พ.พ. มาตรา 321 วรรคหนึ่ง อันเป็นหลักทั่วไปในเรื่องหนี้ที่มีบทบัญญัติว่า "ถ้าเจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ ท่านว่าหนี้นั้นก็เป็นอันระงับสิ้นไป" ก็ดี และตาม ป.พ.พ. มาตรา 656 วรรคสอง อันเป็นบทบัญญัติเฉพาะในเรื่องเอกเทศสัญญา ลักษณะยืม ที่มีบทบัญญัติว่า "ถ้าทำสัญญากู้ยืมเงินกัน และผู้ให้กู้ยืมยอมรับเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นเป็นการชำระหนี้แทนเงินที่กู้ยืมไซร้ หนี้อันระงับไปเพราะการชำระเช่นนั้น ท่านให้คิดเป็นจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดแห่งสิ่งของหรือทรัพย์สินนั้นในเวลาและ ณ สถานที่ส่งมอบ" ก็ดี ล้วนมีองค์ประกอบสำคัญว่าต้องเป็นกรณีที่เจ้าหนี้หรือผู้ให้กู้ยืมยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ทั้งสิ้น ซึ่งตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 656 วรรคสาม มีบทบัญญัติว่า "ความตกลงกันอย่างใด ๆ ขัดกับข้อความดังกล่าวมานี้ ท่านว่าเป็นโมฆะ" นั้น มีความหมายว่า เมื่อผู้ให้กู้ยืมยินยอมรับเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นเป็นการชำระหนี้แทนเงินที่กู้ยืมแล้ว หากมีข้อตกลงให้คิดมูลค่าสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นที่ชำระนอกเหนือไปจากจำนวนราคาตามท้องตลาดในเวลาและ ณ สถานที่ส่งมอบ ก็ถือว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นโมฆะ ดังนี้ การยินยอมรับเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นเป็นการชำระหนี้แทนเงินที่กู้ยืมจึงเป็นสิทธิของผู้ให้กู้ยืมฝ่ายเดียวที่จะยินยอมหรือไม่ก็ได้ สัญญากู้ยืมเงิน ข้อ 6 ที่มีข้อความว่า "คู่สัญญาตกลงกันว่า ผู้กู้จะชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระเงินไม่ได้เป็นอันขาด" มิได้ฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมายใด จึงหาเป็นโมฆะไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3262/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย 2544: การโอนสิทธิโดยชอบตามกฎหมายเฉพาะไม่อยู่ภายใต้บทบัญญัติ ป.พ.พ.
พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 เป็นกฎหมายที่ตราออกมาใช้บังคับเพื่อการแก้ไขปัญหาที่ประเทศไทยประสบปัญหาวิกฤติทางเศรษฐกิจอย่างร้ายแรง เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เพื่อรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศตามหมายเหตุแนบท้าย พ.ร.ก. และข้อความในตอนต้นของ พ.ร.ก. ก็ระบุไว้อย่างแจ้งชัดแล้วว่า พ.ร.ก. นี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งเป็นการกระทำโดยอาศัยอำนาจตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้ทำได้โดยอาศัยบทบัญญัติของกฎหมาย พ.ร.ก. ดังกล่าวมิได้ใช้บังคับกับการทำนิติกรรมทั่ว ๆ ไป ดังเช่นที่ใช้ใน ป.พ.พ. แต่ใช้เป็นกรณีพิเศษเกี่ยวกับหนี้สินหรือทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงินต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ใน พ.ร.ก. เท่านั้น บทบัญญัติต่าง ๆ ที่ระบุไว้จึงย่อมแตกต่างไปจากที่ระบุไว้ใน ป.พ.พ. รวมทั้งเรื่องการบังคับจำนองหรือการเอาทรัพย์สินหลุดเป็นสิทธิของผู้รับจำนอง การที่โจทก์บังคับจำนองทรัพย์สินคือที่ดินพิพาทหลุดเป็นสิทธิโดยอาศัยอำนาจตามที่ พ.ร.ก. บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 มาตรา 76 ให้อำนาจไว้โดยชอบแล้ว แม้ไม่ได้ดำเนินการตามที่ ป.พ.พ. บัญญัติไว้ ก็ไม่ทำให้การโอนที่ดินพิพาทของโจทก์เป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 142/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้ที่มีข้อตกลงให้โอนที่ดินเพื่อชำระหนี้โดยไม่คำนึงถึงราคาตลาด เป็นโมฆะ
หนังสือสัญญากู้ยืมเงิน ระบุว่า "เพื่อเป็นหลักฐาน ข้าพเจ้าฯได้นำโฉนดที่ดินพร้อมหลักฐานต่างๆ มอบอำนาจในการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเมื่อข้าฯ ผิดสัญญาไม่ชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยทั้งหมดเมื่อครบสัญญาโดยไม่ต้องฟ้องร้องต่อศาลใดๆ" ตามข้อตกลงดังกล่าวหากโจทก์หากไม่ชำระหนี้เงินกู้ให้แก่ ส. บิดาจำเลย เมื่อครบกำหนดตามสัญญาก็ให้สิทธิ ส. โอนที่ดินพิพาทเพื่อชำระหนี้เงินกู้ได้ทันทีโดยไม่คำนึงถึงราคาที่ดินพิพาทว่าจะเท่ากับราคาท้องตลาดในเวลาและ ณ สถานที่ส่งมอบคือเวลาจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์หรือไม่ จึงขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 656 วรรคสองย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 656 วรรคสาม ส. ไม่มีสิทธิบังคับให้โจทก์กำหนดการโอนที่ดินพิพาท
การที่จำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยขัดต่อประมวบกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 656 วรรคสองและวรรคสาม เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงลเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247
โจทก์มีคำขอให้ใส่ชื่อโจทกืเป็นเจ้าของที่ดินตามเดิมและหากจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาให้ถือคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา แต่เมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทแล้ว โจทก์ย่อมกลับมามีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินตามเดิม จึงไม่จำเป็นต้องพิพากษาบังคับตามคำขอดังกล่าวของโจทก์อีก
การที่จำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยขัดต่อประมวบกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 656 วรรคสองและวรรคสาม เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงลเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247
โจทก์มีคำขอให้ใส่ชื่อโจทกืเป็นเจ้าของที่ดินตามเดิมและหากจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาให้ถือคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา แต่เมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทแล้ว โจทก์ย่อมกลับมามีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินตามเดิม จึงไม่จำเป็นต้องพิพากษาบังคับตามคำขอดังกล่าวของโจทก์อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 142/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงให้โอนที่ดินเพื่อชำระหนี้โดยไม่คำนึงถึงราคาตลาดเป็นโมฆะ เพราะเอารัดเอาเปรียบผู้กู้
ข้อตกลงที่กำหนดว่า หากโจทก์ผู้กู้ไม่ชำระหนี้เงินกู้ให้แก่ ส. ผู้ให้กู้ เมื่อครบกำหนดตามสัญญา ก็ให้สิทธิ ส. โอนที่ดินพิพาทเพื่อชำระหนี้เงินกู้ได้ทันทีตามหนังสือมอบอำนาจที่โจทก์ลงลายมือชื่อไว้โดยไม่กรอกข้อความให้ ส. ยึดถือไว้เป็นประกันโดยไม่คำนึงถึงราคาที่ดินพิพาทว่าจะเท่ากับราคาท้องตลาดในเวลาและ ณ สถานที่ส่งมอบคือเวลาจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์หรือไม่ ข้อตกลงดังกล่าวจึงขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 656 วรรคสอง ย่อมตกเป็นโมฆะตาม มาตรา 656 วรรคสาม ส. หามีสิทธิบังคับให้โจทก์ดำเนินการโอนที่ดินพิพาทไม่ การที่จำเลยบุตรของ ส. จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยขัดต่อ มาตรา 656 วรรคสอง และวรรคสาม ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เพราะเป็นเรื่องที่กฎหมายบัญญัติห้ามไว้โดยชัดแจ้งเพื่อป้องกันมิให้ผู้กู้ยืมถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ให้กู้ยืม ปัญหานี้จึงเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วย มาตรา 246 และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2533/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินชำระหนี้เช็ค ไม่ใช่หนี้กู้ยืมตามสัญญากู้ยืม ทำให้การโอนไม่เป็นโมฆะ
การที่จำเลยนำสืบพยานบุคคลว่า ศ. นำโฉนดที่ดินที่พิพาทไปมอบให้จำเลยเพื่อโอนชำระหนี้เงินยืม 1,500,000 บาท เป็นการนำสืบให้เห็นว่าจำเลยได้โฉนดที่ดินที่พิพาทมาอย่างไร โดยมิได้อ้างถึงหนังสือสัญญากู้เงินและมิได้เป็นกรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารหนังสือสัญญากู้เงินมาแสดง แม้จะมีข้อเท็จจริงแตกต่างไปจากข้อความในหนังสือสัญญากู้เงินที่ระบุว่ามอบโฉนดที่ดินพิพาทไว้เป็นประกันก็ไม่เป็นการสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความที่ห้ามมิให้ศาลรับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
จำเลยรับโอนที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของโจทก์เพื่อชำระหนี้ตามเช็คที่ ศ. ซึ่งเป็นบุตรโจทก์ค้างชำระอยู่ มิใช่หนี้ตามสัญญากู้ยืมที่มีการออกเช็คนั้นชำระหนี้ จึงไม่อาจนำ ป.พ.พ. มาตรา 656 มาปรับใช้ได้ ความตกลงในการโอนที่ดินพิพาทชำระหนี้ดังกล่าวจึงไม่เป็นโมฆะ
จำเลยรับโอนที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของโจทก์เพื่อชำระหนี้ตามเช็คที่ ศ. ซึ่งเป็นบุตรโจทก์ค้างชำระอยู่ มิใช่หนี้ตามสัญญากู้ยืมที่มีการออกเช็คนั้นชำระหนี้ จึงไม่อาจนำ ป.พ.พ. มาตรา 656 มาปรับใช้ได้ ความตกลงในการโอนที่ดินพิพาทชำระหนี้ดังกล่าวจึงไม่เป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6449/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินหลังศาลตั้งผู้จัดการมรดก: การโอนที่ดินโดยไม่คำนวณราคาตลาดเป็นโมฆะ
ศาลมีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ ป. เมื่อวันที่ 21พฤษภาคม 2540 นับแต่วันดังกล่าวทายาทย่อมหมดอำนาจจัดการทรัพย์มรดกและกระทำนิติกรรมใด ๆ กับบุคคลภายนอกโจทก์เท่านั้นที่มีอำนาจรับชำระหนี้เงินกู้ยืมแทน ป. จำเลยโอนที่ดินเพื่อชำระหนี้ดังกล่าวแก่จำเลยร่วมเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2540แม้จำเลยร่วมจะเป็นทายาทของ ป. ก็ไม่มีสิทธิรับชำระหนี้แทน ป. ประกอบกับการโอนที่ดินเพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมไม่มีการคิดเป็นหนี้เงินที่ค้างชำระโดยจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดแห่งที่ดินในวันที่จดทะเบียนอันเป็นการส่งมอบ ขัดกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 656 วรรคหนึ่ง และตกเป็นโมฆะตามมาตรา 656 วรรคท้ายจึงไม่ทำให้หนี้เงินกู้ระงับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6449/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินหลังศาลตั้งผู้จัดการมรดก การโอนที่ดินโดยไม่คำนวณราคาตลาดเป็นโมฆะ
เมื่อศาลได้มีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้ว ทายาทย่อมหมดอำนาจจัดการทรัพย์มรดกและกระทำ นิติกรรมใด ๆ กับบุคคลภายนอก ทั้งนี้จนกว่าจะแบ่งปันทรัพย์มรดกเสร็จ ผู้จัดการมรดกเท่านั้นที่รับชำระหนี้ แทนผู้ตายได้ จำเลยเพิ่งโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่อ้างว่าโอนเพื่อชำระหนี้ตามฟ้องภายหลังที่ศาลได้มีคำสั่งตั้งโจทก์เป็น ผู้จัดการมรดกแล้ว แม้จำเลยร่วมจะเป็นทายาทของผู้ตายก็ไม่มีสิทธิรับชำระหนี้แทนผู้ตาย
เอกสารที่จำเลยอ้างว่าเป็นข้อตกลงการโอนขายกรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อชำระหนี้เงินกู้แทนการชำระเงินที่จำเลยทำกับจำเลยร่วมไม่ปรากฏว่าได้มีการคิดเป็นหนี้เงินที่ค้างชำระโดยจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดแห่งที่ดินใน วันที่จดทะเบียนอันเป็นการส่งมอบ ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นการตกลงชำระหนี้เงินกู้ยืมด้วยทรัพย์สินอื่นแทน จำนวนเงินที่กู้ยืมโดยไม่มีการคำนวณหนี้เงินที่ค้างชำระเท่ากับราคาท้องตลาดของที่ดิน จึงเป็นข้อตกลงที่ขัดกับ ป.พ.พ.มาตรา 656 วรรคหนึ่ง และตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 656 วรรคท้าย ดังนั้นการจดทะเบียนโอน ขายกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่จำเลยร่วมและการทำข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่ทำให้หนี้เงินกู้ระงับลง จำเลยต้องชำระหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์
เอกสารที่จำเลยอ้างว่าเป็นข้อตกลงการโอนขายกรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อชำระหนี้เงินกู้แทนการชำระเงินที่จำเลยทำกับจำเลยร่วมไม่ปรากฏว่าได้มีการคิดเป็นหนี้เงินที่ค้างชำระโดยจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดแห่งที่ดินใน วันที่จดทะเบียนอันเป็นการส่งมอบ ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นการตกลงชำระหนี้เงินกู้ยืมด้วยทรัพย์สินอื่นแทน จำนวนเงินที่กู้ยืมโดยไม่มีการคำนวณหนี้เงินที่ค้างชำระเท่ากับราคาท้องตลาดของที่ดิน จึงเป็นข้อตกลงที่ขัดกับ ป.พ.พ.มาตรา 656 วรรคหนึ่ง และตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 656 วรรคท้าย ดังนั้นการจดทะเบียนโอน ขายกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่จำเลยร่วมและการทำข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่ทำให้หนี้เงินกู้ระงับลง จำเลยต้องชำระหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3249/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนชำระหนี้โดยไม่คิดราคาท้องตลาดเป็นโมฆะ – จำเป็นต้องสืบพยานเพื่อพิสูจน์ราคาตลาด
ในวันชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาท ไว้ 2 ข้อ ดังนี้ 1. ข้อตกลงโอนชำระหนี้ตามบันทึกเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 15 และ 16 เป็นโมฆะ เพราะคู่กรณีจัดการ แก่ทรัพย์จำนองผิดไปจากบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วย การบังคับจำนอง และเป็นกรณีที่จำเลยยอมรับเอาทรัพย์สินอื่น แทนการชำระหนี้เงินกู้ โดยไม่ได้คิดเป็นหนี้เงินค้างชำระ เป็นจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดแห่งสิ่งของหรือทรัพย์สิน ในเวลาและสถานที่ส่งมอบหรือไม่ และ 2. ข้อตกลงการโอนชำระหนี้ ตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 17 เป็นโมฆะ เพราะจำเลย รับเอาทรัพย์สินอื่นแทนการชำระหนี้เงินกู้โดยไม่ได้คิดเป็น หนี้เงินค้างชำระเป็นจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาด แห่งสิ่งของหรือทรัพย์สินนั้นในเวลาและสถานที่ส่งมอบหรือไม่ ประเด็นข้อพิพาททั้งสองข้อนี้คู่ความยังเถียงกันอยู่ แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลย ทั้ง ๆ ที่โจทก์แถลงขอสืบพยานเพื่อแสดงให้เห็นว่า ในขณะโอนนั้นทรัพย์ที่โอนมีราคาท้องตลาดสูงกว่าราคาที่จำเลย รับโอน กรณีจึงเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นได้ปฏิเสธไม่สืบพยาน ตามที่โจทก์ร้องขอแล้วพิพากษาคดีไปโดยมิได้ฟังข้อเท็จจริง ให้ครบถ้วนเสียก่อน เป็นการมิชอบ กรณีจึงมีเหตุอันสมควร ที่จะให้มีการสืบพยานโจทก์และจำเลยในประเด็นข้อพิพาท ดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(2) ประกอบด้วยมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3249/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดสืบพยานกรณีข้อพิพาทเรื่องการโอนชำระหนี้ด้วยทรัพย์สิน และผลกระทบต่อการพิพากษา
ในวันชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ 2 ข้อดังนี้ 1. ข้อตกลงโอนชำระหนี้ตามบันทึกเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 15 และ 16 เป็นโมฆะ เพราะคู่กรณีจัดการแก่ทรัพย์จำนองผิดไปจากบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการบังคับจำนอง และเป็นกรณีที่จำเลยยอมรับเอาทรัพย์สินอื่นแทนการชำระหนี้เงินกู้ โดยไม่ได้คิดเป็นหนี้เงินค้างชำระเป็นจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดแห่งสิ่งของหรือทรัพย์สินในเวลาและสถานที่ส่งมอบหรือไม่ และ 2.ข้อตกลงการโอนชำระหนี้ตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 17 เป็นโมฆะ เพราะจำเลยรับเอาทรัพย์สินอื่นแทนการชำระหนี้เงินกู้โดยไม่ได้คิดเป็นหนี้เงินค้างชำระเป็นจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดแห่งสิ่งของหรือทรัพย์สินนั้นในเวลาและสถานที่ส่งมอบหรือไม่ ประเด็นข้อพิพาททั้งสองข้อนี้คู่ความยังเถียงกันอยู่ แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลย ทั้ง ๆ ที่โจทก์แถลงขอสืบพยานเพื่อแสดงให้เห็นว่า ในขณะโอนนั้นทรัพย์ที่โอนมีราคาท้องตลาดสูงกว่าราคาที่จำเลยรับโอน กรณีจึงเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นได้ปฏิเสธไม่สืบพยานตามที่โจทก์ร้องขอแล้วพิพากษาคดีไปโดยมิได้ฟังข้อเท็จจริงให้ครบถ้วนเสียก่อน เป็นการมิชอบ กรณีจึงมีเหตุอันสมควรที่จะให้มีการสืบพยานโจทก์และจำเลยในประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวตามป.วิ.พ.มาตรา 243 (2) ประกอบด้วยมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2033/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเช่าซื้อเพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมที่ไม่ชัดเจนราคา และผลของการเป็นโมฆะต่อกรรมสิทธิ์
ส. สามีโจทก์กับ ล. สามีจำเลยมีนิติสัมพันธ์กันโดย ล. ซึ่งมีสิทธิได้โควต้าสลากกินแบ่งรัฐบาลจากสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยงวดละ 10 เล่มครึ่งเมื่อ ล. มอบบัตรโควต้าของตนให้ ส. ไปรับแทน โดย ส. ต้องชำระเงินค่าสลากกินแบ่งรัฐบาลให้แก่สภาสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในนามของ ล. ไปก่อน ย่อมถือได้ว่า ล.ตัวการให้ ส. เป็นตัวแทนของตนในการทำการรับสลากกินแบ่งรัฐบาลจากสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย อันเป็นสัญญาตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 797 ส. จ่ายเงินทดรองค่าสลากกินแบ่งรัฐบาลไปก่อนแทน ล. ตัวการ ส. จึงมีสิทธิเรียกเอาเงินชดใช้จาก ล. ตัวการรวมทั้งดอกเบี้ยได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 816 วรรคหนึ่ง และเมื่อ ส. กับ ล. ได้หักทอนบัญชีกันแล้วปรากฏว่า ล. ยังเป็นหนี้ ส. อยู่อีกจำนวนมากล. จึงได้ทำสัญญากู้ยืมเงินให้ไว้ แต่ ล. ยังไม่ได้ชำระหนี้ให้เสร็จสิ้น การที่จำเลยซึ่งเป็นภริยาของ ล.โอนสิทธิการเช่าซื้อที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นภริยาของ ส. ย่อมถือได้ว่า ล. กับจำเลยได้ชำระหนี้เงินกู้ยืมให้แก่ ส. โดยการโอนสิทธิการเช่าซื้อที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ จึงเป็นการที่ ส.ผู้ให้กู้ยอมรับเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นเป็นการชำระหนี้แทนเงินกู้ แต่ไม่ปรากฏว่าได้มีการตกลงว่าสิทธิการเช่าซื้อที่ดินและบ้านพิพาทที่ตีใช้หนี้เงินยืมมีราคาเท่าใด เท่ากับราคาในท้องตลาดในเวลาและสถานที่ส่งมอบหรือไม่ ข้อตกลงดังกล่าวจึงขัดต่อมาตรา 656 วรรคสองตกเป็นโมฆะตามมาตรา 656 วรรคสาม การโอนสิทธิการเช่าซื้อที่ดิน และบ้านพิพาทให้แก่โจทก์โดยความยินยอมของ ส. สามีโจทก์ย่อมไม่มีผลบังคับ ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้โอนสิทธิการเช่าซื้อที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ แม้จะมีการทำสัญญาโอนสิทธิการเช่าต่อการเคหะแห่งชาติ และโจทก์ได้ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่การเคหะแห่งชาติเสร็จสิ้น ทั้งได้จดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทมาเป็นของโจทก์แล้วก็ตาม ก็หาทำให้โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาท ที่ให้จำเลยเช่าซื้อไม่