พบผลลัพธ์ทั้งหมด 92 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2033/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินและการตกเป็นโมฆะของข้อตกลงราคา
ส.สามีโจทก์กับ ล.สามีจำเลยมีนิติสัมพันธ์กัน โดย ล.ซึ่งมีสิทธิได้โควต้าสลากกินแบ่งรัฐบาลจากสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยงวดละ 10 เล่มครึ่ง เมื่อ ล.มอบบัตรโควต้าของตนให้ ส.ไปรับแทน โดย ส.ต้องชำระเงินค่าสลากกินแบ่งรัฐบาลให้แก่สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในนามของ ล.ไปก่อน ย่อมถือได้ว่า ล.ตัวการให้ ส.เป็นตัวแทนของตนในการทำการรับสลากกินแบ่งรัฐบาลจากสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย อันเป็นสัญญาตัวแทน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 797
ส.จ่ายเงินทดรองค่าสลากกินแบ่งรัฐบาลไปก่อนแทน ล.ตัวการส.จึงมีสิทธิเรียกเอาเงินชดใช้จาก ล.ตัวการรวมทั้งดอกเบี้ยได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา816 วรรคหนึ่ง และเมื่อ ส.กับ ล.ได้หักทอนบัญชีกันแล้วปรากฏว่า ล.ยังเป็นหนี้ส.อยู่อีกจำนวนมาก ล.จึงได้ทำสัญญากู้ยืมเงินให้ไว้ แต่ ล.ยังไม่ได้ชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นการที่จำเลยซึ่งเป็นภริยาของ ล.โอนสิทธิการเช่าซื้อที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นภริยาของ ส. ย่อมถือได้ว่า ล.กับจำเลยได้ชำระหนี้เงินกู้ยืมให้แก่ ส.โดยการโอนสิทธิการเช่าซื้อที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ จึงเป็นการที่ ส.ผู้ให้กู้ยอมรับเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นเป็นการชำระหนี้แทนเงินกู้ แต่ไม่ปรากฏว่าได้มีการตกลงว่าสิทธิการเช่าซื้อที่ดินและบ้านพิพาทที่ตีใช้หนี้เงินยืมมีราคาเท่าใด เท่ากับราคาในท้องตลาดในเวลาและสถานที่ส่งมอบหรือไม่ ข้อตกลงดังกล่าวจึงขัดต่อมาตรา 656วรรคสอง ตกเป็นโมฆะตามมาตรา 656 วรรคสาม การโอนสิทธิการเช่าซื้อที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์โดยความยินยอมของ ส.สามีโจทก์ย่อมไม่มีผลบังคับ ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้โอนสิทธิการเช่าซื้อที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ แม้จะมีการทำสัญญาโอนสิทธิการเช่าต่อการเคหะแห่งชาติ และโจทก์ได้ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่การเคหะแห่งชาติเสร็จสิ้น ทั้งได้จดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทมาเป็นของโจทก์แล้วก็ตาม ก็หาทำให้โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทที่ให้จำเลยเช่าซื้อไม่
ส.จ่ายเงินทดรองค่าสลากกินแบ่งรัฐบาลไปก่อนแทน ล.ตัวการส.จึงมีสิทธิเรียกเอาเงินชดใช้จาก ล.ตัวการรวมทั้งดอกเบี้ยได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา816 วรรคหนึ่ง และเมื่อ ส.กับ ล.ได้หักทอนบัญชีกันแล้วปรากฏว่า ล.ยังเป็นหนี้ส.อยู่อีกจำนวนมาก ล.จึงได้ทำสัญญากู้ยืมเงินให้ไว้ แต่ ล.ยังไม่ได้ชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นการที่จำเลยซึ่งเป็นภริยาของ ล.โอนสิทธิการเช่าซื้อที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นภริยาของ ส. ย่อมถือได้ว่า ล.กับจำเลยได้ชำระหนี้เงินกู้ยืมให้แก่ ส.โดยการโอนสิทธิการเช่าซื้อที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ จึงเป็นการที่ ส.ผู้ให้กู้ยอมรับเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นเป็นการชำระหนี้แทนเงินกู้ แต่ไม่ปรากฏว่าได้มีการตกลงว่าสิทธิการเช่าซื้อที่ดินและบ้านพิพาทที่ตีใช้หนี้เงินยืมมีราคาเท่าใด เท่ากับราคาในท้องตลาดในเวลาและสถานที่ส่งมอบหรือไม่ ข้อตกลงดังกล่าวจึงขัดต่อมาตรา 656วรรคสอง ตกเป็นโมฆะตามมาตรา 656 วรรคสาม การโอนสิทธิการเช่าซื้อที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์โดยความยินยอมของ ส.สามีโจทก์ย่อมไม่มีผลบังคับ ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้โอนสิทธิการเช่าซื้อที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ แม้จะมีการทำสัญญาโอนสิทธิการเช่าต่อการเคหะแห่งชาติ และโจทก์ได้ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่การเคหะแห่งชาติเสร็จสิ้น ทั้งได้จดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทมาเป็นของโจทก์แล้วก็ตาม ก็หาทำให้โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทที่ให้จำเลยเช่าซื้อไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 355/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาชำระหนี้จากการโอนที่ดิน: ศาลฎีกาชี้ว่าการโอนที่ดินเพื่อชำระหนี้ไม่ใช่การถูกหลอกลวง และประเด็นราคาตลาดต้องยกขึ้นว่าในคำฟ้อง
โจทก์กู้เงินจากจำเลย 100,000 บาท กำหนดชำระคืนภายใน3 เดือน โดยโจทก์นำที่ดินพิพาทมาจดทะเบียนจำนองเป็นประกัน เมื่อครบกำหนดแล้วโจทก์ไม่ชำระหนี้ โจทก์จึงโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย โดยขณะทำนิติกรรมจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาท โจทก์รู้และเข้าใจดีว่ายังเป็นหนี้จำเลยตามสัญญากู้และสัญญาจำนองที่ทำกันไว้ เมื่อโจทก์โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยก็โดยเจตนาชำระหนี้ดังกล่าว กรณีจึงมิใช่เรื่องจำเลยหลอกลวงให้โจทก์โอนที่ดินพิพาทให้ชั่วคราวโดยมีข้อตกลงให้โจทก์มาไถ่คืนได้ในภายหลัง
ที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า นิติกรรมโอนที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยเป็นโมฆะ เนื่องจากโจทก์ไม่มีเจตนาโอนที่ดินพิพาทเพื่อชำระหนี้แก่จำเลยหรือไม่นั้น อันเป็นการกำหนดประเด็นตาม ป.พ.พ.มาตรา 154มิใช่การกำหนดประเด็นตาม ป.พ.พ.มาตรา 159 ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจหยิบยกคำเบิกความของ อ.ขึ้นวินิจฉัยแล้วฟังข้อเท็จจริงว่า ขณะที่ทำนิติกรรมจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาท โจทก์รู้และเข้าใจดีว่ายังเป็นหนี้จำเลยตามสัญญากู้และสัญญาจำนองที่ทำกันไว้ โจทก์โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยก็โดยเจตนาชำระหนี้ดังกล่าว มิใช่เรื่องจำเลยหลอกลวงให้โจทก์โอนที่ดินพิพาทให้ชั่วคราวโดยมีข้อตกลงให้โจทก์มาไถ่คืนได้ในภายหลังนั้น เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงไปตามประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีว่า โจทก์มีเจตนาทำนิติกรรมโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยโดยเจตนาชำระหนี้ตามที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดไว้ในวันชี้สองสถานดังกล่าวแล้วแม้จะมีถ้อยคำว่าหลอกลวงในคำวินิจฉัยก็เป็นเรื่องกล่าวเกินเลยไปเท่านั้น ศาลอุทธรณ์หาได้วินิจฉัยว่าเป็นเรื่องโจทก์ทำนิติกรรมเพราะถูกจำเลยหลอกลวงหรือเพราะถูกกลฉ้อฉลของจำเลยตาม ป.พ.พ.มาตรา 159 วรรคหนึ่ง จึงไม่ใช่เป็นการที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงนอกฟ้อง
ฎีกาของโจทก์ที่โจทก์อ้างว่า นิติกรรมที่โจทก์โอนที่ดินพิพาทให้จำเลยเป็นโมฆะ เพราะไม่มีการตีราคาที่ดินพิพาทตามราคาท้องตลาดในเวลาและสถานที่ที่ส่งมอบ ขัดต่อ ป.พ.พ.มาตรา 656 นั้น เมื่อข้อเท็จจริงที่ว่าราคาที่ดินที่โจทก์โอนที่ดินพิพาทชำระหนี้แก่จำเลยเป็นราคาเท่ากับท้องตลาดขณะที่โอนที่ดินแทนการชำระหนี้อันเป็นเหตุให้นิติกรรมเป็นโมฆะหรือไม่นั้น โจทก์มิได้ตั้งประเด็นนี้ขึ้นกล่าวอ้างไว้ในคำฟ้อง จึงไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาท และย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่คู่ความในการอุทธรณ์ฎีกา แม้โจทก์จะอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยปัญหานี้ให้แก่โจทก์ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า นิติกรรมโอนที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยเป็นโมฆะ เนื่องจากโจทก์ไม่มีเจตนาโอนที่ดินพิพาทเพื่อชำระหนี้แก่จำเลยหรือไม่นั้น อันเป็นการกำหนดประเด็นตาม ป.พ.พ.มาตรา 154มิใช่การกำหนดประเด็นตาม ป.พ.พ.มาตรา 159 ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจหยิบยกคำเบิกความของ อ.ขึ้นวินิจฉัยแล้วฟังข้อเท็จจริงว่า ขณะที่ทำนิติกรรมจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาท โจทก์รู้และเข้าใจดีว่ายังเป็นหนี้จำเลยตามสัญญากู้และสัญญาจำนองที่ทำกันไว้ โจทก์โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยก็โดยเจตนาชำระหนี้ดังกล่าว มิใช่เรื่องจำเลยหลอกลวงให้โจทก์โอนที่ดินพิพาทให้ชั่วคราวโดยมีข้อตกลงให้โจทก์มาไถ่คืนได้ในภายหลังนั้น เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงไปตามประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีว่า โจทก์มีเจตนาทำนิติกรรมโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยโดยเจตนาชำระหนี้ตามที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดไว้ในวันชี้สองสถานดังกล่าวแล้วแม้จะมีถ้อยคำว่าหลอกลวงในคำวินิจฉัยก็เป็นเรื่องกล่าวเกินเลยไปเท่านั้น ศาลอุทธรณ์หาได้วินิจฉัยว่าเป็นเรื่องโจทก์ทำนิติกรรมเพราะถูกจำเลยหลอกลวงหรือเพราะถูกกลฉ้อฉลของจำเลยตาม ป.พ.พ.มาตรา 159 วรรคหนึ่ง จึงไม่ใช่เป็นการที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงนอกฟ้อง
ฎีกาของโจทก์ที่โจทก์อ้างว่า นิติกรรมที่โจทก์โอนที่ดินพิพาทให้จำเลยเป็นโมฆะ เพราะไม่มีการตีราคาที่ดินพิพาทตามราคาท้องตลาดในเวลาและสถานที่ที่ส่งมอบ ขัดต่อ ป.พ.พ.มาตรา 656 นั้น เมื่อข้อเท็จจริงที่ว่าราคาที่ดินที่โจทก์โอนที่ดินพิพาทชำระหนี้แก่จำเลยเป็นราคาเท่ากับท้องตลาดขณะที่โอนที่ดินแทนการชำระหนี้อันเป็นเหตุให้นิติกรรมเป็นโมฆะหรือไม่นั้น โจทก์มิได้ตั้งประเด็นนี้ขึ้นกล่าวอ้างไว้ในคำฟ้อง จึงไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาท และย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่คู่ความในการอุทธรณ์ฎีกา แม้โจทก์จะอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยปัญหานี้ให้แก่โจทก์ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5034/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่มาแห่งมูลหนี้เงินกู้จากการเล่นแชร์: สัญญาเงินกู้สมบูรณ์ แม้ไม่มีการส่งมอบเงิน
มูลหนี้ของสัญญาเงินกู้มาจากการเล่นแชร์ อันเป็นมูลหนี้ที่ชอบด้วยกฎหมายและบังคับกันได้ และกรณีเช่นนี้ไม่จำต้องมีการส่งมอบเงินให้แก่จำเลยอีกเพราะถือเสมือนหนึ่งว่าได้มีการส่งมอบเงินกู้ให้แก่จำเลยไปแล้ว ดังนั้นสัญญาเงินกู้จึงมีผลสมบูรณ์ ที่โจทก์นำสืบว่า จำเลยเป็นหนี้ค่าเล่นแชร์ที่โจทก์ในฐานะนายวงแชร์ได้ใช้เงินแทนให้จำเลยไปแล้ว จำเลยจึงได้ทำสัญญาเงินกู้ให้ไว้แก่โจทก์นั้น เป็นการนำสืบถึงที่มาแห่งมูลหนี้ของหนี้เงินกู้ตามฟ้อง ซึ่งโจทก์ชอบที่จะนำสืบได้ มิใช่เป็นการนำสืบนอกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5034/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้มีผลสมบูรณ์เมื่อมีมูลหนี้จากการเล่นแชร์ การนำสืบถึงที่มาของหนี้ไม่เป็นการนำสืบนอกฟ้อง
มูลหนี้ของสัญญาเงินกู้มาจากการเล่นแชร์อันเป็นมูลหนี้ที่ชอบด้วยกฎหมายและบังคับกันได้และกรณีเช่นนี้ไม่จำต้องมีการส่งมอบเงินให้แก่จำเลยอีกเพราะถือเสมียนหนึ่งว่าได้มีการส่งมอบเงินกู้ให้แก่จำเลยไปแล้วดังนั้นสัญญาเงินกู้จึงมีผลสมบูรณ์ที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยเป็นหนี้ค่าเล่นแชร์ที่โจทก์ในฐานะนายวงแชร์ได้ใช้เงินแทนให้จำเลยไปแล้วจำเลยจึงได้ทำสัญญาเงินกู้ให้ไว้แก่โจทก์นั้นเป็นการนำสืบถึงที่มาแห่งมูลหนี้ของหนี้เงินกู้ตามฟ้องซึ่งโจทก์ชอบที่จะนำสืบได้มิใช่เป็นการนำสืบนอกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5689/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้เงินกู้ การคิดดอกเบี้ย และการรับชำระหนี้แทนการชำระตามสัญญา
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้จำนวน30,000 บาท จำเลยนำสืบว่า ในการกู้ยืมนี้จำเลยตกลงให้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3 ต่อเดือนและผ่อนชำระให้โจทก์แล้วเดือนละ 1,500 บาท โดยเป็นเงินต้นจำนวน 600 บาท และดอกเบี้ยจำนวน 900 บาท เป็นเวลา 44 เดือน รวมเป็นเงินต้นจำนวน2,400 บาท เป็นดอกเบี้ยจำนวน 39,600 บาท โดยนำสืบถึงวิธีการใช้เงินให้แก่โจทก์ว่า จำเลยเป็นพนักงานองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย โดยปฏิบัติงานประจำที่ชุมสายโทรศัพท์จังหวัดขอนแก่น ในการรับเงินเดือนหรือเงินอื่นใดจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย จำเลยจะรับผ่านบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ตามเอกสารหมาย ล.2 ซึ่งจำเลยเปิดบัญชีเงินฝากไว้ที่ธนาคารกรุงไทย จำกัด สาขาขอนแก่น และจำเลยได้มอบสมุดคู่ฝากเงินออมทรัพย์ตามบัญชีเงินฝากดังกล่าวพร้อมทั้งได้มอบฉันทะให้โจทก์มีอำนาจถอนเงินจากบัญชีเงินฝากเพื่อหักชำระหนี้แก่โจทก์ได้เดือนละ 1,500 บาท นับแต่เดือนมกราคม 2527 ถึงเดือนสิงหาคม 2530 ดังนี้ การที่จำเลยนำสืบการใช้เงินต้นโดยวิธีดังกล่าวข้างต้นจำเลยก็ชอบที่จะทำได้ เพราะเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5689/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยวิธีการมอบฉันทะให้หักเงินจากบัญชีเงินฝาก และการยอมรับการชำระหนี้รูปแบบอื่น
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้จำนวน 30,000 บาทจำเลยนำสืบว่า ในการกู้ยืมนี้จำเลยตกลงให้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3 ต่อเดือนและผ่อนชำระให้โจทก์แล้วเดือนละ 1,500 บาท โดยเป็นเงินต้นจำนวน 600 บาทและดอกเบี้ยจำนวน 900 บาท เป็นเวลา 44 เดือน รวมเป็นเงินต้นจำนวน2,400 บาท เป็นดอกเบี้ยจำนวน 39,600 บาท โดยนำสืบถึงวิธีการใช้เงินให้แก่โจทก์ว่า จำเลยเป็นพนักงานองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย โดยปฏิบัติงานประจำที่ชุมสายโทรศัพท์จังหวัดขอนแก่น ในการรับเงินเดือนหรือเงินอื่นใดจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย จำเลยจะรับผ่านบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ตามเอกสารหมาย ล.2 ซึ่งจำเลยเปิดบัญชีเงินฝากไว้ที่ธนาคารกรุงไทยจำกัด สาขาขอนแก่น และจำเลยได้มอบสมุดคู่ฝากเงินออมทรัพย์ตามบัญชีเงินฝากดังกล่าวพร้อมทั้งได้มอบฉันทะให้โจทก์มีอำนาจถอนเงินจากบัญชีเงินฝากเพื่อหักชำระหนี้แก่โจทก์ได้เดือนละ1,500 บาท นับแต่เดือนมกราคม 2527 ถึงเดือนสิงหาคม 2530 ดังนี้ การที่จำเลยนำสืบการใช้เงินต้นโดยวิธีดังกล่าวข้างต้นจำเลยก็ชอบที่จะทำได้ เพราะเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1560/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิการเช่า, การชำระหนี้ด้วยทรัพย์สิน, และการวินิจฉัยประเด็นนอกเหนือจากที่อุทธรณ์
ข้อที่โจทก์ฎีกาว่า การโอนสิทธิการเช่าเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องเมื่อไม่ได้ทำเป็นหนังสือ จึงไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 และเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคสอง ก็ดี การตกลงชำระหนี้ตามสัญญากู้ด้วยทรัพย์สินอื่นแทนโดยไม่คำนึงถึงราคาท้องตลาดในขณะส่งมอบขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 656 วรรคสอง จึงเป็นโมฆะก็ดี และจำเลยนำสืบนอกคำให้การและนอกประเด็นก็ดี ล้วนข้อที่โจทก์มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 768/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: ผลผูกพัน & สิทธิในการฟ้องเพิกถอนหลังคดีถึงที่สุด
สัญญาประนีประนอมยอมความที่คู่กรณีตกลงกันต่อหน้าศาล และศาลได้มีคำพิพากษาตามยอมแล้วนั้น มีผลทำให้หนี้เดิมระงับ เกิดหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งคู่กรณีต้องปฏิบัติตามสัญญานั้น หากโจทก์เห็นว่าคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ถูกต้องก็อาจจะอุทธรณ์ได้หากเข้ากรณีตามมาตรา 138 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อโจทก์ไม่อุทธรณ์และคดีถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนได้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อตกลงว่า จะบังคับชำระหนี้ด้วยวิธีการให้โจทก์โอนที่ดินทั้งแปลงให้แก่จำเลยเพื่อชำระหนี้เงินดังนี้ ข้อตกลงนั้นไม่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 768/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันคู่กรณี หากไม่โต้แย้งสิทธิในเวลาที่กำหนด ย่อมไม่อาจฟ้องเพิกถอนได้ภายหลัง
สัญญาประนีประนอมยอมความที่คู่กรณีตกลงกันต่อหน้าศาล และศาลได้มีคำพิพากษาตามยอมแล้วนั้น มีผลทำให้หนี้เดิมระงับ เกิดหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งคู่กรณีต้องปฏิบัติตามสัญญานั้น หากโจทก์เห็นว่าคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ถูกต้องก็อาจจะอุทธรณ์ได้หากเข้ากรณีตามมาตรา 138 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อโจทก์ไม่อุทธรณ์และคดีถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนได้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อตกลงว่า จะบังคับชำระหนี้ด้วยวิธีการให้โจทก์โอนที่ดินทั้งแปลงให้แก่จำเลยเพื่อชำระหนี้เงินกู้ ดังนี้ ข้อตกลงนั้นไม่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
สัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อตกลงว่า จะบังคับชำระหนี้ด้วยวิธีการให้โจทก์โอนที่ดินทั้งแปลงให้แก่จำเลยเพื่อชำระหนี้เงินกู้ ดังนี้ ข้อตกลงนั้นไม่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2008/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิครอบครองที่ดินเพื่อชำระหนี้: สิทธิของเจ้าหนี้เมื่อลูกหนี้เสียชีวิต
การที่ อ. ได้ทำหนังสือเจตนาสละสิทธิครอบครองที่พิพาทซึ่งเป็นที่ดินไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินไว้ล่วงหน้าว่า เมื่ออ. ตายแล้ว ให้ที่พิพาทเป็นสิทธิแก่จำเลยเจ้าหนี้แทนการชำระหนี้เมื่อจำเลยยินยอมตามนี้โดยได้ครอบครองเพื่อตนตั้งแต่ อ. ตายก็เป็นสิทธิที่คู่กรณีกระทำได้โดยชอบ ไม่เป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 656 วรรคสองและวรรคสุดท้ายการครอบครองที่ดินของ อ.จึงเป็นอันสิ้นสุดลงเมื่ออ. ตายนับแต่นั้นมาจำเลยหาได้ครอบครองที่พิพาทแทน อ. หรือโจทก์ผู้เป็นทายาท อ. ไม่ จำเลยจึงไม่ตกอยู่ในฐานะเป็นผู้ยึดถือแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 ไม่จำต้องบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะการครอบครองไปยังโจทก์ จำเลยย่อมได้สิทธิครอบครองที่พิพาทโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเอาที่พิพาทคืน