คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 656

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 92 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 286/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีและข้อตกลงเช่าที่จอดรถ ไม่ใช่การรับฝากทรัพย์
การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีนี้ ไม่จำต้องระบุบุคคลที่ต้องถูกฟ้องไว้โดยเฉพาะเจาะจงว่าเป็นจำเลยหรือผู้ใด และแม้ว่าขณะมอบอำนาจโจทก์ยังไม่มีสิทธิ์ไล่เบี้ยหรือรับช่วงสิทธิเรียกร้องเอาแก่จำเลย ก็ไม่ทำให้ใบมอบอำนาจนั้นเสียไป
ว. เช่าสถานที่สถานีบริการน้ำมันจอดรถ โดยนำรถเข้าไปจอดเองแล้วนำกุญแจรถกลับไปด้วย ต้องดูแลรับผิดชอบรถเอง โดยจำเลยจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการจอดรถ ทั้งยังมีข้อตกลงกันว่าให้เช่าเฉพาะที่จอดรถ ไม่รับผิดชอบในการที่รถสูญหายหรือเสียหายด้วย ใบเสร็จรับเงินที่ออกให้ก็เขียนไว้ทุกฉบับว่าเป็นค่าเช่าที่จอดรถดังนี้ ข้อตกลงและพฤติการณ์ที่ปฏิบัติต่อกันระหว่างจำเลยกับ ว. เป็นเรื่องให้เช่าที่จอดรถ จำเลยมิได้รับมอบรถเพื่อเก็บรักษาไว้ในความอารักขาแห่งตน จึงไม่เป็นการรับฝากทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 657 ไม่ต้องรับผิดในความเสียหายเกี่ยวกับรถที่สูญหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2410/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินย่อมรวมถึงสิ่งปลูกสร้างที่เป็นส่วนควบ หากไม่มีเงื่อนไขจำกัดสิทธิ
บ้านเรือนซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินแปลงใด ย่อมเป็นส่วนควบของที่ดินแปลงนั้น ถ้าไม่ปรากฏหลักฐานเป็นอย่างอื่นผู้ใดเป็นเจ้าของที่ดินแปลงใด ย่อมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในบ้านที่ปลูกอยู่ในที่ดินแปลงนั้น ดังนั้น การจำนองหรือการโอนที่ดินถ้าหากไม่ปรากฏว่ามีเงื่อนไขว่าจำนองหรือโอนไปโดยไม่รวมถึงบ้านอันเป็นส่วนควบของที่ดินแล้ว ก็ต้องถือว่าได้จำนองหรือโอนบ้านซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินแปลงนั้นด้วย โดยไม่จำต้องระบุว่าการจำนองหรือโอนนั้นให้รวมถึงสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินนั้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1582/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นแทนเงิน: การนำสืบและข้อจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่ง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 บัญญัติห้ามการนำสืบเฉพาะกรณีการใช้เงิน ไม่ห้ามการนำสืบกรณีใช้ทรัพย์สินอย่างอื่นชำระหนี้แทนเงิน มาตรา 321 จึงบัญญัติว่าถ้าเจ้าหนี้ยอมชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ ท่านว่าหนี้นั้นเป็นอันระงับสิ้นไป และมาตรา 656 วรรคสองก็บัญญัติถึงการที่ผู้ให้กู้ยืมยอมรับเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นเป็นการชำระหนี้แทนเงินที่กู้ยืมไว้ด้วย จำเลยจึงนำสืบว่าได้เอาที่ดินตีใช้หนี้เงินที่กู้โจทก์ไปแล้วได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1557/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเงินกู้ - มูลหนี้ - การแปลงหนี้ - หลักประกัน - ความรับผิด
จำเลยยอมตกลงว่าจะใช้เงินที่โจทก์เสียไปคืนให้แก่โจทก์หากบุตรโจทก์ไม่ได้ไปทำงานที่ต่างประเทศตามที่จำเลยชักนำ โดยจำเลยยอมทำสัญญากู้ให้โจทก์ไว้เพื่อเป็นหลักประกัน เมื่อบริษัทจัดหางานไม่สามารถส่งบุตรโจทก์ไปทำงานต่างประเทศได้ จำเลยก็ต้องรับผิดใช้หนี้ให้โจทก์ตามที่ตกลงทำสัญญากู้ไว้ จะอ้างว่าไม่มีมูลหนี้ต่อกันหาได้ไม่ เพราะการกู้ยืมเงินนั้น ผู้กู้ไม่จำต้องรับเงินไปจากผู้ให้กู้เสมอไป ผู้กู้อาจตกลงยอมรับเอาหนี้สินอย่างอื่นมาแปลงเป็นหนี้เงินกู้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 379/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินไม่ระบุราคา โมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และอำนาจศาลในการบังคับค่าฤชาธรรมเนียมคนอนาถา
จำเลยกู้เงินโจทก์ แล้วมอบนาพิพาทให้โจทก์ทำกินต่างดอกเบี้ย ในสัญญากู้มีข้อความว่า ถ้าจำเลยไม่นำเงินต้นและดอกเบี้ยมาชำระภายในหนึ่งปีนับแต่วันทำสัญญา จำเลยยอมยกที่ดินแปลงดังกล่าวให้เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์แทนเงินกู้ แต่มิได้ระบุว่าที่พิพาทมีราคาเท่าใด เท่ากับราคาในท้องตลาดในเวลาและ ณ สถานที่ส่งมอบหรือไม่ข้อสัญญาดังกล่าวนี้จึงขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 656 วรรคสอง และตกเป็นโมฆะตามวรรคสาม
จำเลยได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์อย่างคนอนาถา โดยได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมบางส่วน เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชนะคดี ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจกำหนดให้โจทก์ซึ่งจะต้องรับผิดเสียค่าฤชาธรรมเนียมนั้นเป็นผู้เสียค่าฤชาธรรมเนียมเฉพาะส่วนที่จำเลยได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์อย่างคนอนาถาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 158

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 267/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินที่เป็นโมฆะ และสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียในการตั้งผู้จัดการมรดก
ผู้ตายกู้ยืมเงินผู้ร้องไปโดยทำสัญญากับผู้ร้องว่าถ้าชำระหนี้ไม่ได้จะโอนที่ดินทั้งหมดให้แก่ผู้ร้องเป็นการชำระหนี้แทน เป็นการตกลงกันให้เอาทรัพย์สินชำระหนี้แทนเงินกู้ยืม โดยมิได้คำนึงถึงราคาทรัพย์สินในเวลาและสถานที่ส่งมอบ ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 656 วรรคสอง ตกเป็นโมฆะตามวรรคสาม ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิบังคับให้มีการโอนที่ดินมรดกเป็นการชำระหนี้แก่ผู้ร้องโดยเจาะจง คงมีแต่สิทธิขอให้บังคับชำระหนี้อันเป็นสิทธิของเจ้าหนี้โดยทั่วไป
ผู้มีสิทธิร้องขอต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกนั้นถ้ามิใช่ทายาทหรือพนักงานอัยการก็จะต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งหมายความว่าบุคคลผู้นั้นเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทางมรดกหรือในทางพินัยกรรม หรือเกี่ยวกับทรัพย์สินในกองมรดก ผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้มิใช่เป็นผู้ที่จะได้ประโยชน์ถ้าหากกองมรดกมีผู้จัดการมรดก หรือเสียประโยชน์ถ้าหากกองมรดกไม่มีผู้จัดการมรดก คดีนี้ผู้ตายยังมีทายาทอยู่ ถึงแม้ไม่มีผู้จัดการมรดก ผู้ร้องก็สามารถฟ้องร้องบังคับชำระหนี้ได้ ผู้ร้องจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียซึ่งมีสิทธิร้องขอต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2559/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินที่ไม่คำนึงถึงราคาตลาดเป็นโมฆะ ผู้กู้ต้องใช้เงินตามสัญญา
การที่ผู้ให้กู้และผู้กู้ตกลงกันในสัญญากู้ยืมเงินว่าผู้ให้กู้ยินยอมรับเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นชำระแทนจำนวนเงิน โดยไม่คำนึงถึงราคาท้องตลาดแห่งทรัพย์สินหรือสิ่งของในเวลาและสถานที่ที่ส่งมอบนั้น ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการขัดต่อมาตรา 656 วรรคสอง จึงตกเป็นโมฆะ ผู้กู้ต้องใช้เงินตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 351/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้เงินมีข้อตกลงโอนที่ดินชำระหนี้ หากไม่ชำระตามกำหนด เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 656 บังคับไม่ได้
กู้เงินมีข้อสัญญาว่า ถ้าไม่ใช้เงินคืนตามกำหนดยอมโอนที่ดินตามโฉนดชำระหนี้ให้โดยไม่คำนึงถึงราคาที่ดิน ฝ่าฝืน มาตรา656 วรรค 2,3 บังคับให้โอนที่ดินชำระหนี้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 315/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายแปลงหนี้จากเงินกู้ยืมมีผลใช้บังคับได้ หากราคาที่ตกลงไม่ขัดกับราคาท้องตลาด
จำเลยมิได้กล่าวในคำแก้อุทธรณ์ของโจทก์ว่าสัญญาจะซื้อขายที่พิพาทเป็นเอกสารปลอมและศาลอุทธรณ์ก็มิได้ยกประเด็นที่ว่าสัญญาจะซื้อขายที่พิพาทเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ขึ้นวินิจฉัยศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยในประเด็นดังกล่าวเพราะมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์
จำเลยกู้เงินโจทก์ 5,000 บาท ต่อมาจำเลยตกลงโอนที่พิพาทให้แก่โจทก์เป็นการชำระหนี้เงินกู้โดยทำเป็นหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่พิพาทเป็นการแปลงหนี้ใหม่มาจากหนี้เงินกู้ยืมและในสัญญาจะซื้อขายได้กำหนดราคาที่พิพาทไว้แน่นอนว่าเป็นราคา 5,000 บาทที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าที่พิพาทมีราคา 10,000 บาทสูงกว่าหนี้เงินกู้นั้นก็เป็นราคาที่ศาลชั้นต้นกำหนดเอาไว้สำหรับให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มขึ้นเท่านั้นหาใช่ราคาท้องตลาดแห่งที่พิพาทในเวลาที่ทำสัญญากันไม่เมื่อตามข้อสัญญาได้มีการกำหนดราคาที่พิพาทลงไว้แน่นอนว่าเป็นราคา 5,000 บาทและไม่ปรากฏว่าเป็นราคาผิดกับราคาท้องตลาดในขณะนั้นสัญญาจะซื้อขายที่พิพาทจึงมีผลใช้บังคับได้หาเป็นโมฆะเพราะขัดกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 656 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 315/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายแปลงหนี้ได้ แม้ราคาทรัพย์สินสูงกว่าหนี้เดิม หากราคาสัญญาเป็นราคาที่สมเหตุสมผล
จำเลยมิได้กล่าวในคำแก้อุทธรณ์ของโจทก์ว่า สัญญาจะซื้อขายที่พิพาทเป็นเอกสารปลอม และศาลอุทธรณ์ก็มิได้ยกประเด็นที่ว่าสัญญาจะซื้อขายที่พิพาทเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ขึ้นวินิจฉัย ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยในประเด็นดังกล่าว เพราะมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์
จำเลยกู้เงินโจทก์ 5,000 บาท ต่อมาจำเลยตกลงโอนที่พิพาทให้แก่โจทก์เป็นการชำระหนี้เงินกู้ โดยทำเป็นสัญญาจะซื้อขายที่พิพาท เป็นการแปลงหนี้ใหม่มาจากหนี้เงินกู้ยืมและในสัญญาจะซื้อขายได้กำหนดราคาที่พิพาทไว้แน่นอนว่าเป็นราคา 5,000 บาท ที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าที่พิพาทมีราคา 10,000 บาท สูงกว่าหนี้เงินกู้นั้น ก็เป็นราคาที่ศาลชั้นต้นกำหนดเอาไว้สำหรับให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มขึ้นเท่านั้น หาใช่ราคาท้องตลาดแห่งที่พิพาทในเวลาที่ทำสัญญากันไม่ เมื่อตามข้อสัญญาได้มีการกำหนดราคาที่พิพาทลงไว้แน่นอนว่าเป็นราคา 5,000 บาท และไม่ปรากฏว่าเป็นราคาผิดกับราคาท้องตลาดในขณะนั้น สัญญาจะซื้อขายที่พิพาทจึงมีผลใช้บังคับได้ หาเป็นโมฆะเพราะขัดกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 656 ไม่
of 10